Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย

ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย

Published by Guset User, 2022-05-20 18:24:10

Description: ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย

Search

Read the Text Version

ซากดึกดำบรรพ์ ที่พบใน ประเทศไทย สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๓๑ เรื่องที่๖ นางสาวจันทร์พร ศรีเมือง 6421126085 D3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขา ค.บ.สังคมศึกษา

คำนำ หนังสือ E-book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ประวัติศาสตร์ไทยที่มีการศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ที่พบใน ประเทศไทย ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ E-book เล่มนี้จะมี ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและต้องการที่จะศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ ในเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย ผู้จัดทำ นางสาวจันทร์พร ศรีเมือง

สารบัญ เรื่อง หน้าที่ คำนำ ก สารบัญ ข ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย 1 ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคพาลีโอโซอิก 2 ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคมีโซโซอิก 6 ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคซีโนโซอิก 8

1 ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทยมีหลาก ในที่นี้จะกล่าวถึง หลายเกือบทุกประเภท ได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูก ซากดึกดำบรรพ์ สันหลัง เช่น ปะการัง หอย ไทรโลไบต์ สัตว์มี ที่พบใน กระดูกสันหลัง เช่น เต่า ไดโนเสาร์ ปลา จระเข้ ประเทศไทยเพื่อ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนซากพืชพบหลาย ให้เห็นเป็น ชนิด มีทั้งส่วนของลำต้น ใบ และละอองเรณู ตัวอย่าง โดย นอกจากนี้ยังมีร่องรอยของสัตว์ดึกดำบรรพ์ เรียงลำดับ ตาม เช่น รอยเท้า และรอยทางเดินของไดโนเสาร์ รู อายุทาง และรอยชอนไชของหนอน ซากดึกดำบรรพ์เก่า ธรณีวิทยาจาก แก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย คือ ซากไทรโลไบต์ เก่าสุด ไปหาใหม่ มีอายุราว ๕๐๐ ล้านปี พบที่เกาะตะรุเตา ส่วน สุด ซากดึกดำบรรพ์ ที่มีอายุใหม่ ได้แก่ ซากหอย นางรมยักษ์ ที่พบจากชุดดินกรุงเทพฯ มีอายุ เพียง ๕,๕๐๐ ปี

ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคพาลีโอโซอิก 2 ๑. แหล่งซากดึกดำบรรพ์เกาะตะรุเตา อำเภอละงู จังหวัดสตูล แหล่งซากดึกดำบรรพ์เกาะตะรุเตา อยู่ห่างจากตัวจังหวัด สตูลไปทางทิศตะวันตก ราว ๔๕ กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มี ซากดึกดำบรรพ์ อายุเก่าแก่ ที่สุดในประเทศไทย มีการ สะสมตัวตั้งแต่ ยุคแคมเบรียนตอนปลาย ต่อเนื่องมา จนถึงยุคออร์โดวิเชียนตอนต้น ราว ๕๐๐ - ๔๗๐ ล้านปี มา แล้ว ได้พบซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินดินดาน และหินทราย จากหลายบริเวณ บนเกาะตะรุเตา ได้แก่ อ่าวตะโละโต๊ะโป๊ะ อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวมะละกา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ไทรโลไบต์ บราคิโอพอด นอติลอยด์ และร่องรอยสัตว์ ดึกดำบรรพ์ ไทรโลไบต์ ซึ่งมีอายุราว ๕๐๐ ล้าน แบรคิโอพอดพบในชั้นหินทรายสีแดง ปี พบที่เกาะตะรุเตา ที่เกาะตะรุเตา รอยชอนไชของหนอน พบที่เกาะตะรุเตา

3 ๒. แหล่งซากดึกดำบรรพ์บ้านป่าเสม็ด อำเภอละงู จังหวัดสตูล แหล่งซากดึกดำบรรพ์บ้านป่าเสม็ด อยู่ห่างจากตัว เมืองสตูลไปทางทิศเหนือประมาณ ๔๕ กิโลเมตร เป็นบริเวณที่ค้นพบ ซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด ได้แก่ แกรปโทไลต์ (Graptolite) และเทนทาคูไลต์ (Tentaculite) อายุราว ๔๐๐ - ๓๘๕ ล้านปี ในยุคดีโว เนียน เทนทาคูไลต์ ลักษณะคล้ายหอยขนาดเล็ก

4 ๓. แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาถ่าน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาถ่าน ตั้งอยู่บริเวณชายทะเล บ้านเขาถ่าน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชุมพรไปทางทิศใต้ ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร เป็นเขาหินปูน สลับกับหินดินดาน มีอายุตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนปลายจน ถึงยุคเพ อร์เมียนตอนต้น ราว ๓๐๐ - ๒๗๐ ล้านปี มาแล้ว พบ ซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด ได้แก่ หอยกาบคู่ ไบรโอซัว ไครนอยด์ บราคิโอพอด ฟองน้ำ และร่องรอยสัตว์ ดึกดำบรรพ์ หอยกาบคู่ ไครนอยด์ บางครั้งเรียกว่า พลับพลึงทะเล

5 ๔. แหล่งซากดึกดำบรรพ์วัดคีรีนาครัตนาราม อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี แหล่งซากดึกดำบรรพ์วัดคีรีนาครัตนารามตั้งอยู่ที่ตำบลชอนสารเดช เป็นเขาหินปูน ลูกโดด สูงประมาณ ๒๐ เมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือประมาณ ๔๕ กิโลเมตร พบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด ได้แก่ ฟิวซูลินิด แอมโมไนต์ (ammonite) ปะการัง และสาหร่าย การค้นพบซากสัตว์ทะเลโบราณหลายชนิดบริเวณนี้ แสดงว่า ใน ยุคเพอร์เมียนตอนกลาง ราว ๒๗๐ ล้านปี มาแล้ว บริเวณนี้เคยเป็นทะเลตื้นมาก่อน ซากดึกดำบรรพ์จำพวก ฟิวซูลินิด ซากปะการังพบในหินปูนบริเวณ ในหินปูนพบที่วัดคีรีนาครัตนาราม วัดคีรีนาครัตนาราม จ.ลพบุรี

6 ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคมีโซโซอิก ๑. แหล่งซากและรอยเท้าไดโนเสาร์ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มี ศักยภาพของการค้นพบซากไดโนเสาร์ ได้มากกว่าภา คอื่นๆ เนื่องจาก บริเวณที่ราบสูงโคราช ประกอบด้วย หินในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมหายุคนี้ถือกันว่า เป็นระยะ เวลาที่สัตว์เลื้อยคลานครองโลก โดยมีความหลาก หลายของสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด ทั้งไดโนเสาร์ จระเข้ และเต่า ตะกอนที่พบทั่วไป เป็นตะกอนที่ตก ทับถม ในลุ่มแม่น้ำ หรือในหนองน้ำจืด ซึ่งเป็นแหล่งหา อาหาร ของสัตว์เลื้อยคลานเหล่านั้น ซากกระดองเต่าน้ำจืดโบราณ อาคารพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว พบที่ จ.มุกดาหาร อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ที่ภูแฝก กิ่ง อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์

7 ๒. แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ภูน้ำจั้น ใกล้วัดพระพุทธบุตร พบในชั้น หินทราย มีอายุตั้งแต่ปลายยุคจูแรสสิก ถึงต้นยุคค รีเทเชียส ราว ๑๓๐ ล้านปี มาแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ปลาที่พบมีขากรรไกร ซึ่งต่างจาก ปลาโดยทั่วไปคือ ขากรรไกรสั้นต้องดูดอาหารที่อยู่ ใกล้ๆ ปากเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีเกล็ดแข็งเป็นเงา วาวเพื่อช่วยพยุงลำตัว เนื่องจาก ยังไม่มีการพัฒนา กระดูกสันหลังเท่าที่ควร จากการศึกษา พบว่า เป็น ซากดึกดำบรรพ์ปลาชนิดใหม่ของโลก ให้ชื่อว่า เลปิ โดเทส พุทธบุตรเอนซิส (Lepidotes buddhabutensis) จัดอยู่ในวงศ์ Semionotidae แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลาแห่งนี้มีซากปลาเลปิโดเท สที่สมบูรณ์มากกว่า ๑๐๐ ตัว ถือได้ว่า เป็นแหล่ง ซากดึกดำบรรพ์ปลาเลปิโดเทสที่ใหญ่ที่สุด ในทวีป เอเชีย สันนิษฐานว่า บริเวณนี้เคยเป็นแอ่งน้ำจืด ขนาดใหญ่มาก่อน

8 ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคซีโนโซอิก ๑. แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เริ่มมีแพร่หลายในมหายุคซี โนโซอิก ซึ่งเราเรียกยุคนี้ว่า เป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทย ซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบได้ตามเหมืองถ่านหิน และในบริเวณที่มีการ สะสมตัว ของตะกอนถ้ำทั่วประเทศไทย หัวกะโหลกสัตว์กินเนื้อ พบที่ แหล่งซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วย เหมืองถ่านหิน จ.กระบี่ นม เหมืองถ่านหิน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ฟันกรามด้านบนของไพรเมต แหล่งซากดึกดำบรรพ์ สัตว์เลี้ยงลูก ชั้นสูง ด้วยนม เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง อายุประมาณ ๑๓ ล้านปี กรามช้าง พบที่เหมืองถ่านหินเชียงม่วน แหล่งซากดึกดำบรรพ์บ่อทราย จ.พะเยา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา

9 ๒. สุสานหอยแหลมโพธิ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดกระบี่ สุสานหอยแหลมโพธิ์ตั้งอยู่บริเวณ ชายฝั่ ง ทะเลบ้านแหลมโพธิ์ ตำบลไสไทย ห่างจาก ตัวจังหวัดกระบี่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ราว ๒๐ กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน แห่งชาตินพรัตน์ธารา และหมู่เกาะพีพี สุสานหอยมีลักษณะเป็นแผ่นหินปูนหนา ตั้งแต่ ๐.๐๕ - ๑ เมตร มีเปลือกหอยขมน้ำ จืด วางทับถมกันเป็นจำนวนมาก และเชื่อม ประสานด้วยน้ำปูน จนยึดติดกันเป็นแผ่น เรียงซ้อนกัน คล้ายลานซีเมนต์ ชั้นหิน สุสานหอยโผล่ให้เห็นอยู่ตามริมหาดเป็น แนวยาว ประมาณ ๒ กิโลเมตร

10 ๓. แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลา บ้านหนอง ปลา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่บริเวณบ้านหนองปลา ตำบลน้ำเฮี้ย อยู่ห่างจากอำเภอหล่มสัก ไปทางทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือประมาณ ๗ กิโลเมตร สถานที่พบ เป็นบ่อขุด เพื่อเก็บน้ำ ชลประทาน กว้างประมาณ ๔๐ เมตร ยาว ประมาณ ๑๒๐ เมตร ลึกประมาณ ๔ เมตร เป็นหินโคลนสีเทาขาว อยู่ในยุคนีโอจีน ปัจจุบันน้ำท่วมหมดแล้ว

11 ๔. แหล่งไม้กลายเป็นหิน อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก แหล่งไม้กลายเป็นหิน อำเภอบ้านตาก อยู่ ห่างจากตัวจังหวัดตากไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ในพื้นที่เขตป่า สงวน แม่สลิด - โป่งแดง พบไม้ทั้งต้น กลายเป็นหิน ขนาดใหญ่หลายต้นอยู่ในชั้น กรวด ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๘ เมตร ยาวมากกว่า ๒๐ เมตร มีอายุ ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ ปี ประเทศไทยพบไม้ กลายเป็นหินจำนวนมาก ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ อยู่ในมหายุคซีโนโซอิก และมีโซ โซอิก

12 ๕. แหล่งซากหอยนางรมยักษ์ วัดเจดีย์ หอย จังหวัดปทุมธานี วัดเจดีย์หอยตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อเงิน อำเภอ ลาดหลุมแก้ว อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ปทุมธานี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร พบเปลือกหอย ทะเลหลายชนิดสะสมตัว ปนกับซากไม้ผุใน ตะกอนดินเหนียวทะเล ที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม มีสีเทาถึงเทาปนเขียว ซากหอยที่พบ มี หลายชนิด เช่น หอยแครง หอยกาบ หอย สังข์ และหอยลาย ซากหอยที่พบมากที่สุด เป็นหอยนางรมยักษ์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่าCrassostrea gigas เมื่อนำซากหอยนี้ ไปหาอายุ ด้วยวิธีกัมมันตภาพรังสีคาร์บอน ๑๔ พบว่ามีอายุประมาณ ๕,๕๐๐ ปี

บ ร ร ณ า นุ ก ร ม สืบค้นเมื่อวันที่20 พ.ค. 2565 เว็บไซต์ https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book. php?book=31&chap=6&page=t31-6-infodetail06.html


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook