Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วันฉัตรมงคล

วันฉัตรมงคล

Published by kingkarn.khu57, 2023-05-02 03:11:55

Description: วันฉัตรมงคล

Search

Read the Text Version

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) ๔ พฤษภาคม 2566 \"วันฉัตรมงคล\" วันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ส่งเสริมการอ่านโดย ห้องสมุดประชาชนอำเภอคำเขื่อนแก้ว

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) ความหมายของวันฉัตรมงคล ฉัตรมงคล (อ่านว่า ฉัด-ตระ-มง-คล) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า พระราชพิธี ฉลองพระเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ความสำคัญของวันฉัตรมงคล วันฉัตรมงคล เป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ของพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิ เบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น มีหลักฐานปรากฏในหลักศิลาจารึก วัดศรีชุมของพญาลิไทว่า เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบาง กลางหาว หรือพ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย จากนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ได้ทรงฟื้ นฟูพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้ถูกต้องสมบูรณ์ โดยพระมหา กษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า “พระบาท” นำหน้า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และคำสั่งของพระองค์ ก็ไม่เรียกว่า “พระบรม ราชโองการ” และอีกประการหนึ่งคือ จะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือ ฉัตร 9 ชั้น

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) ความเป็นมาของพระราชพิธีฉัตรมงคล ก่อนหน้ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธี ฉัตรมงคลถือเป็นพิธีของเจ้าพนักงานในพระราชฐาน ที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภค และพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีใน เดือนหก และเป็นงานส่วนตัว ไม่ถือเป็นงานหลวง จนกระทั่ง สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงกระทำพิธีฉัตรมงคลขึ้นเป็นครั้งแรกในวันบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2393 โดยมีพระราชดำริว่า วันบรมราชาภิเษกเป็นมหามงคลสมัยที่ ควรแก่การเฉลิมฉลองในประเทศที่มีพระเจ้าแผ่นดิน จึงถือให้วันนั้นเป็นวันนักขัต ฤกษ์มงคลกาล และควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ ราชสมบัติ แต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ ยากต่อการเข้าใจ อีกทั้งเผอิญที่วันบรม ราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงอธิบายว่า วันฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่อง ราชูปโภค จึงไม่มีใครติดใจสงสัย

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษก ตรงกับเดือน 12 จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 แต่ไม่ได้รับการยินยอม พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วย ตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงกับวันคล้ายบรม ราชาภิเษก ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรม ราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูปโภคอยู่ตามเดิม รูปแบบงาน วันฉัตรมงคลจึงเป็นเช่นนี้จนถึงปั จจุบัน

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) พระราชพิธีฉัตรมงคลนั้นเป็นพิธีจัดสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระบรม มหาราชวัง เจ้าพนักงานอัญเชิญเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐาน บนพระแท่นใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร จากนั้นพระราชครูหัวหน้าพราหมณ์อ่าน ประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์เย็น สำหรับเครื่องสิริ เบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วยส 1. พระมหาพิชัยมงกุฎ พระมหาพิชัยมงกุฎ ทำด้วยทองลงยาประดับเพชร มีค่าสำคัญเท่ากับราชกกุธภัณฑ์อื่น ภายหลังประเทศไทย ติดต่อกับประเทศในทวีปยุโรป จึงนิยมตามราชสำนักยุโรป ที่พระมหากษัตริย์สวมมงกุฎ จากนั้นมาจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ พระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) 2. พระแสงขรรค์ชัยศรี พระแสงขรรค์ชัยศรี ด้ามและฝั กทำด้วยทองลงยาประดับอัญมณี เป็นพระแสงราช ศัสตราวุธประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรม ราชาภิเศษ เมื่อ พ.ศ.2328 โดยพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ให้ข้าราชการเมืองพระตะบอง นำมาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 1 3. ธารพระกร รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างธารพระกรจากไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง หัวและส้นเป็นเหล็กคร่ำลาย ทอง ที่สุดส้นเป็นส้อมสามง่าม เรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์ ภายหลังรัชกาลที่ 4 โปรดให้ สร้างด้วยทองคำ ภายในมีพระเสน่า ยอดมีรูปเทวดา เรียกว่า ธารพระกรเทวรูป มีลักษณะ เป็นพระแสงดาบมากกว่า ครั้งถึงรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธารพระกร ชัยพฤกษ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบมาจนถึงรัชกาลที่ 9

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) 4. วาลวิชนี วาลวิชนี หรือ พัดและแส้ รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้น พัดเป็นใบตาลปิดทองทั้ง 2 ด้าน ขอบขลิบทองคำ ด้ามทำ ด้วยทองลงยา ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงพระราชดำริให้เรียก ตามภาษาพระบาลีว่า “วาลวิชนี” เป็นเครื่องโบกทำด้วยขน หางจามรี และขนหางช้างเผือกในเวลาต่อมา เป็นเครื่อง ราชกกุธภัณฑ์ใช้ควบคู่กับพัดใบตาล 5. ฉลองพระบาทเชิงงอน ฉลองพระบาทเชิงงอน เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามแบบอินเดียโบราณ ทำด้วยทองคำ ลงยาราชาวดีฝั งเพชร และพราหมณ์เป็นผู้สวมถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ส่งเสริมการอ่านออนไลน์ (E-Book) ขอบคุณข้อมูลจาก 1. https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2083001 2. http://www.3armyarea-rta.com/chuct/indexmain.php 3. https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php? nid=3277&filename=index

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์ เนื่องในวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ส่งเสริมการอ่านโดย ห้องสมุดประชาชนอำเภอคำเขื่อนแก้ว


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook