Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ตำบลยั่งยืน ทุ่งสะโตก 130165

ตำบลยั่งยืน ทุ่งสะโตก 130165

Published by phung_kz, 2022-01-13 02:29:04

Description: ตำบลยั่งยืน ทุ่งสะโตก 130165

Search

Read the Text Version

รายงานสรุปผลการดำเนินงาน ระหวา่ งเดือนกมุ ภาพนั ธ์ – ธันวาคม 2564 ตำบลยง่ั ยนื ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสนั ปา่ ตอง จังหวดั เชียงใหม่ โครงการยกระดับเศรษฐกิจ สังคม รายตำบลแบบบูรณาการ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่

บทสรุปผบู้ ริหาร จากปัญหาสถาณการณ์โควิดที่เกิดขึ้นทำให้คนไทยได้รับผลกระทบกันในทุกภาคส่วน จากผลการศึกษา คนไทยไม่มีงานทำและไม่สามารถเขา้ ถึงรายได้เปน็ จำนวนมาก ตำบลทุ่งสะโตกเองก็เป็นหนึ่งในพื้นท่ีที่มีคนได้รับ ผลกระทบจากสถานการ์ณโควิดเช่นกัน ตำบลทุ่งสะโตกเองเป็นตำบลที่มีทั้งศักยภาพในการประกอบอาชีพและ การดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่าในพื้นที่เองยังมีข้อจำกัดอยู่อีกหลายๆ ด้านที่อาจจะเป็น สาเหตุที่ทำให้การประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตเป็นไปไดไ้ ม้ดีเท่าที่ควร เช่น ในเรื่องของต้นทุนการศึกษาท่ี ยังถือวา่ ค่อนขา้ งตำ่ ต้นทนุ แหลง่ นำ้ ท่ีขาดแคลนในบางฤดูกาล เป็นต้น จงึ ทำให้ยังพบว่าประชาชนในชมุ ชนเองยัง มีความต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในอีกหลายด้าน อย่างเช่น การสร้างอาชีพให้กับคนใน ชุมชน การอบรมทักษะอาชีพต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ การพัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการทำการเกษตรให้มีใช้ เพียงพอตลอดทั้งปี ต้องการงบประมาณในโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชน เป็นต้น จึงนำมาซึ่งการได้รับความ รว่ มมอื เปน็ อยา่ งดใี นการดำเนนิ งานโครงการตา่ งๆท่ีทางหนว่ ยงานภายนอกเข้าไปสนับสนุนในพ้ืนที่ จากการที่ทางหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สถาบันวิจัยสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการ ทำงานร่วมกับในพื้นที่มีเป็นระยะเวลานานและจากกการร่วมกันวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนจึงได้เกิดเปน็ การดำเนินการโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำปูปลอดสารพิษจากวัตถุดิบในชุมชนเพื่อนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP ของชุมชน” รว่ มกนั ขน้ึ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสงั คมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวทิ ยาลยั ; U2T) ของทางกระทรวงการอดุ มศึกษา วทิ ยาศาสตร์ วจิ ัยและนวัตกรรม (อว) โดยรูปแบบกจิ กรรม โครงการ จะประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 2 ด้านคือ ด้านงานตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายจากทาง อว และ ด้านการพัฒนาที่จะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นความต้องการของตำบล ซึ่งทางโครงการมีการสนับสนุนให้เกิดการร่วม กลุ่ม และมีการจัดตั้งกลุม่ วสิ าหกิจชุมชน เพื่อให้เกิดเป็นทักษะใหม่อาชพี ใหม่ที่จะชว่ ยเสริมสร้างทักษะทางดา้ น อาชีพให้กับคนในชุมชน แล้วเกิดเป็นแหลง่ รายได้ใหม่ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมในส่วนนี้มีการดำเนินกิจกรรมหลัก 4 ด้านซ่งึ ประกอบไปดว้ ย 1) การสง่ เสรมิ สร้างอาชีพเพิม่ รายได้ ลดรายจ่าย เนน้ ในกลุ่มผู้สูงอายุ 50 ราย 2) การ บริการชุมชนด้วยการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชน เพ่ือ พัฒนาเป็นสนิ ค้า OTOP ที่มคี ุณภาพมาตรฐานสากล 3) การศึกษาดูงาน และแลกเปล่ียนเรียนรู้ภายในกลุ่ม เพื่อ รว่ มกนั แกไ้ ขปญั หาอย่างต่อเนื่อง และการศกึ ษาดงู านในพ้นื ทท่ี ี่ประสบความสำเร็จในดา้ นการสร้างสนิ คา้ OTOP เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน 4) การสนับสนุนการสร้าง และพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนของ ตำบล เพอื่ ใหเ้ กิดการดำเนนิ งานรว่ มกันท้ังในส่วนของชมุ ชน และหนว่ ยงานภาครฐั ในพืน้ ที่ ทำให้วสิ าหกิจมีความ ยั่งยนื และมั่นคงในอนาคต ในการดำเนินโครงการได้รับความร่วมมือและการยอมรับของสังคมเป้าหมายเป็นอย่างดี ซึ่งภายใต้ โครงการ U2T นี้ได้ทำงานร่วมกับทางเทศบาลตำบลทุง่ สะโตก และหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ทั้งหน่วยงานรัฐและ ก

หนว่ ยงานเอกชน ในการลงพื้นทที่ ำกิจกรรมต่างๆ กับทางชมุ ชน ซึง่ ทางพนื้ ทีไ่ ด้ให้ความชว่ ยเหลือท้ังเร่ืองสถานท่ี ปฏิบัติงาน การติดต่อประสานงาน กำลังคนเจ้าหน้าท่ีท่ีเขา้ มาช่วยเหลือ และต่างๆอีกมากมาย นอกจากนั้นแลว้ ยังได้รับความร่วมมือจากกลุ่มประชาชน วิสาหกิจชุมชน ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ทำให้เกิด กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุขภาพดีบ้านป่าจี้ ขึ้นมา 1 กลุ่ม และฟาร์มต้นแบบในการเพาะเลี้ยงปูจำนวน 7 ฟาร์ม ณ หมทู่ ่ี 1 บา้ นปา่ จี้ ตำบลทงุ่ สะโตก อำเภอสันปา่ ตอง จังหวดั เชียงใหม่ โดยการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมท้ัง ในเรื่องของการเพาะเลี้ยงปูปลอดสารพิษ การจัดสร้างฟาร์มเพาะเลี้ยง การถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ จากการ เพาะเลย้ี งปู เป็นต้น จนเกิดเป็นบทเรียนและองค์ความรู้ใหม่ๆ ทีส่ ามารถมานำไปถา่ ยถอดต่อไปได้ รวมไปถึงการ สร้างผลิตภัณฑ์ “น้ำปูปลอดสารพิษ” ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปวัตถุดิบปู ที่ทางคณะทำงานและกลุ่ม วิสาหกิจได้ร่วมกันสร้างขึน้ โดยมีการพัฒนาทัง้ สูตรและวิธีการทำเพ่ือใหเ้ ป็นสัดส่วนมาตรฐานของทางกลุ่มและมี ความโดดเด่นและมีความต่างจากผลิตภัณฑ์น้ำปูตามท้องตลาดซึ่งในผลติ ภัณฑ์น้ำปูจะเน้นเรื่องของสุขภาพด้วย โดยเปน็ ผลติ ภณั ฑ์น้ำปูปลอดสารพิษไดม้ าจากการเลี้ยงปูโดยระบบปิดไม่ปนเป้ือนสารเคมีทางส่ิงแวดล้อมและยัง มกี ารควบคุมคณุ ภาพมีการตรวจวเิ คราะห์รับรองสารเคมตี กคา้ งโดยหอ้ งปฏิบตั ิการทางเคมีที่ได้มาตรฐาน จากการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของโครงการพบว่าชุมชน เกิดความตระหนักต่อ เรื่องผลกระทบของสารเคมีต่อสุขภาพผู้บริโภค ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำสามารถสร้างรายได้เสริมรวมไปถึงการ ส่งเสริมสุขภาพร่างกาย เทศบาลสามารถนำองค์ความรู้ไปขยายผลเพื่อพัฒนาอาชีพใหม่ในพื้นที่ใหม่เพิ่มเติมได้ อีกทั้งยังเกิดความร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาใน ระดบั นโยบายของพืน้ ที่ตอ่ ไป - ข

คำนำ รายงานผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำปูปลอดสารพิษจากวัตถุดิบในชุมชนเพื่อนำไปสู่ ผลิตภัณฑ์ OTOP ของชุมชน” ฉบับนี้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ดำเนินกิจกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 – ธนั วาคม 2564 ซง่ึ ดำเนนิ การศึกษาในพื้นที่ ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชยี งใหม่ ภายใต้โครงการ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี วัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาผลิตภณั ฑน์ ้ำปปู ลอดสารพษิ จากวตั ถุดิบในชมุ ชนเพ่ือนำไปสผู่ ลิตภณั ฑ์ OTOP ของชุมชน เพิม่ รายได้ให้กับกล่มุ ผู้เข้าร่วมโครงการ สร้างอาชีพแก่กลุม่ ประชาชนในพื้นท่ี และสรา้ งรูปแบบการบริการชุมชน ด้านอาหารปลอดสารพิษน้นั การดำเนินกจิ กรรมโครงการน้ีได้ดำเนนิ ร่วมกบั ภาควี ิจัยจากหนว่ ยงานในพนื้ ทดี่ ้วยการสร้างความตระหนัก ด้านผลกระทบของสารเคมีต่อสุขภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจ และอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาเกี่ยวกับ สารเคมี เป็นต้น รวมทั้งเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงเพาะพันธ์ุปูนาปลอดสารพิษ ไปจนถึงการแปรรูปเพื่อ จัดจำหนา่ ย และวางแผนการสรา้ งแหลง่ อาหารปลอดภัยในชุมชนอยา่ งต่อเนือ่ ง สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ ทใ่ี ห้การสนบั สนุนงบประมาณในการดำเนนิ กจิ กรรมโครงการน้ี อ.ดร.สรุ ตั น์ หงษส์ ิบสอง ธันวาคม 2564 ค

สารบญั หนา้ ก บทสรปุ ผู้บรหิ าร ค คำนำ ง สารบัญ บทท่ี 1 บทนำ 1 1.1 รายละเอียดโครงการ 3 1.1.1 ชื่อโครงการ 8 1.1.2 พืน้ ทรี่ ับผดิ ชอบ 9 1.1.3 หวั หนา้ โครงการ และ คณะทำงาน 11 1.1.4 วตั ถุประสงค์ 1.1.5 ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 13 1.1.6 งบประมาณโครงการ 23 1.1.7 สถานทด่ี ำเนนิ โครงการ 23 1.2 บรบิ ทชมุ ชนก่อนการเร่ิมโครงการ 25 1.3 การมีสว่ นร่วมและการยอมรบั ของสงั คมเปา้ หมาย 25 1.4 การออกแบบ หรือพัฒนาชน้ิ งาน หรือแนวคดิ หรอื กิจกรรม 25 1.5 ความร้คู วามเชย่ี วชาญทีใ่ ชใ้ นการทำให้เกดิ การเปล่ียนแปลงนน้ั 26 ท่สี ามารถนำไปเปน็ “ต้นแบบ” ได้ 42 บทท่ี 2 การประเมินผลโครงการ 2.1 การประเมินผลผลิต ผลลพั ธ์ ผลกระทบท่ีเกดิ ขึ้น และปัจจัยท่ีเอื้อสู่ความสำเร็จ 2.2 การการคาดการณ์ส่ิงที่จะตามมาหลงั จากการเปลย่ี นแปลงไดเ้ กิดข้นึ แล้ว 2.3 การประเมินผลกระทบและสรุปแนวทางในการนำไปขยายผล หรอื ปรับปรุง ส่วนท่ี 3 ข้อเสนอแนะ 3.1 ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานระดับตำบลในอนาคต 3.2 ขอ้ เสนอแนะต่อแนวทางการเช่อื มโยง ผลการดำเนินงานในระดับตำบล กับพ้ืนที่ใกล้เคยี ง 3.3 ขอ้ เสนอแนะต่อการปรับปรุงการเรียน การสอน/หลักสูตร สว่ นที่ 4 ภาคผนวก 4.1 ภาพประกอบ 4.2 คมู่ ือ หรือ สอ่ื ประกอบทเ่ี กิดขนึ้ จากโครงการ ง

บทที่ 1 บทนำ 1.1 รายละเอียดโครงการ 1.1.1) ช่อื โครงการ การพฒั นาผลติ ภัณฑ์นำ้ ปปู ลอดสารพษิ จากวัตถดุ บิ ในชมุ ชนเพ่ือนำไปสู่ผลิตภณั ฑ์ OTOP ของชุมชน 1.1.2) พื้นทรี่ บั ผดิ ชอบ ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จงั หวดั เชยี งใหม่ 1.1.3) หัวหนา้ โครงการ และ คณะทำงาน อาจารย์ ดร.สุรัตน์ หงษ์สบิ สอง หวั หนา้ โครงการ นายอนุรกั ษ์ วงตา ผปู้ ระสานงาน นางสาวนุชกานต์ สวา่ ง ผู้ประสานงาน คณะทำงาน กลุ่มงานท่ี 1 Data Analytics นางสาวกลุ ธดิ า หนอ้ ยคำมา นางดาราวรรณ หลา้ ทา กลุ่มงานท่ี 2 ข้อมูลโควิด นางสาวธมลวรรณ วชิ ยั หอม นางจำปี กอ้ นแกว้ นางศรีจนั ทร์ ภัคตรา นางสาวอจั จมิ า นาสวน กลุ่มงานท่ี 3 Digitalizing government data นางสาวยพุ า ยาณวงศ์ นางสาวมัลลิกา กนั ทาดวง กลุ่มงานท่ี 4 ยกระดบั รายตำบล นายต่อม ปู่ออ นางสาวธมรวรรณ ทารยิ ะวงศ์ นางสาวอญั ชนา ดาวทอง นางสาววราภรณ์ ใจต้ือ นายประทวน สีระแปง นางสาวสุเมธินี ทิพย์ดวงตา นายจรูญ วงตา 1

กล่มุ งานที่ 5 พัฒนาทกั ษะอาชพี ใหม่ นายวศิ รุต วงตา นายสหัสวรรษ ไชยลว้ น นายอดุ มทรพั ย์ ใจธรรม นางสาวอรณี มะโนยานะ นายเกษม บญุ ปัน๋ นางระววิ รรณ คำวนจิ นายดำรง วงตา กลุ่มงานที่ 6 ถา่ ยทอดองคค์ วามรู้ นวัตกรรม นางสาวอัจฉราวดี คำเจยี งเงนิ นายรฐั การ แกว้ กาบคำ นางสาวณฐั นันท์ สรุ ยิ ะ นางสาวอภิชญา อาสาจารย์ นางสาวสมพร สรี ะแปง 1.1.4) วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพฒั นาผลิตภณั ฑน์ ้ำปูปลอดสารพิษจากวัตถุดิบในชุมชนเพือ่ นำไปสู่ผลิตภณั ฑ์ OTOP ของ ชมุ ชน 2) เพื่อเพิม่ รายไดใ้ ห้กบั กลุ่มผู้เข้ารว่ มโครงการ 3) เพอ่ื สรา้ งอาชพี แกก่ ลุ่มประชาชนในพน้ื ที่ 4) เพ่ือสรา้ งรปู แบบการบรกิ ารชุมชนด้านอาหารปลอดสารพษิ 1.1.5) ระยะเวลาในการดำเนนิ โครงการ เดอื นกุมภาพนั ธ์ 2564 – เดือนธันวาคม 2564 1.1.6) งบประมาณโครงการ งบประมาณรวม 3,646,400 บาท โดยแบง่ เปน็ ขอ้ ดังนี้ 1) การจา้ งงานตามภารกิจต่าง ๆ ของมหาวทิ ยาลยั จำนวน 20 อัตรา งบประมาณ 2,640,000 บาท 2) การวเิ คราะห์ข้อมลู ศกั ยภาพตำบล การกำกับ ติดตามและประเมนิ ผล ระดับ National System Integrator งบประมาณ 25,800 บาท 3) การวิเคราะห์ขอ้ มูลศักยภาพตำบล การกำกบั ติดตามและประเมินผล ระดับ Regional System Integrator งบประมาณ 34,400 บาท 4) การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของโครงการรายตำบล (ระดับ System Integrator) งบประมาณ 43,000 บาท 2

5) การส่งเสริมสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายแก่ประชากรในชุมชน ด้วยการผลิตภัณฑ์น้ำปู ปลอดสารพษิ จากวัตถุดิบในชุมชนเพื่อนำไปสู่ผลติ ภัณฑ์ OTOP ของชุมชน งบประมาณ 359,120 บาท 6) การบรกิ ารชมุ ชนด้วยการอบรมสร้างความรู้ ความเขา้ ใจ และฝกึ ปฏบิ ตั ิการสรา้ งผลติ ภัณฑท์ ี่มีอยู่ ในชมุ ชน เพอ่ื พฒั นาเป็นสนิ ค้า OTOP ทมี่ ีคณุ ภาพมาตรฐานสากล งบประมาณ 229,880 บาท 7) การศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง และ การศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในด้านการสร้างสินค้า OTOP เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ของกลุม่ งบประมาณ 158,600 บาท 8) การสนับสนุนการสร้าง และพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนของตำบล เพื่อให้เกิดการดำเนินงาน ร่วมกันทง้ั ในส่วนของชมุ ชน และหนว่ ยงานภาครฐั ในพ้ืนท่ี ทำให้วิสาหกจิ มีความยั่งยืน และมั่นคงในอนาคต งบประมาณ 52,400 บาท 9) งบบรหิ ารจัดการโครงการ 103,200 บาท 1.1.7) สถานทดี่ ำเนนิ โครงการ เทศบาลตำบลทุ่งสะโตก 1.2 บรบิ ทชุมชนก่อนการเริม่ โครงการ ตำบลทุ่งสะโตกมีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านป่าจ้ี, หมู่ 2 บ้านป่าลาน-ดอนแก้ว, หมู่ 3 บ้านพนัง, หมู่4 บ้านร้องส้มป่อย, หมู่ 5 บ้านป่าอ้อย, หมู่ 6 บ้านร้อง, หมู่ 7 บ้านดงก๋ำ, หมู่ 8 บ้านท่าจำปี, หมู่ 9 บ้านกลาง, หมู่ 10 บ้านทุ่งสะโตก, หมู่ 11 บ้านหัวริน และ หมู่ 12 บ้านทุ่งโค้ง โดยภายในตำบลมีบริบท ชุมชมทเ่ี กอ้ื หนนุ การประกอบอาชีพ แบง่ ตามหัวขอ้ ดงั น้ี 1.2.1) ข้อมลู โครงสร้างพ้ืนฐาน 1) ดา้ นสาธนูญปโภค เป็นรปู แบบประปาหมู่บ้าน ไฟฟา้ ภูมิภาค สญั ญาอนิ เตอร์เน็ตสว่ นบคุ คล ถนนคอนกรีต มีน้ำสะอาดบริโภค ขนสง่ สาธารณะ หอ้ งน้ำมสี ุขลกั ษณะทีด่ ี 2) ด้านสวสั ดิการ มีกองทุนหมบู่ า้ น สวัสดกิ ารจากรัฐบาล ธนาคารชุมชน 3) ด้านสาธารณปู การ มีวดั ประจำชมุ ชน ศาลาประชาคม บ้านพกั อาศยั เปน็ ของตนเอง มี บรกิ ารโรงพยาบาลสง่ เสริมสุขภาพท่ัวถึง 1.2.2) ข้อมลู อาชพี ของชุมชน การประกอบอาชีพของคนในชมุ ชนสงู สุด 3 อาชีพ ได้แก่ 1) เกษตรกรรม ได้แก่ ปลกู ข้าว ทำสวนลำไย ปลูกผัก ปลูกข้าวโพดปลกู หอมหัวใหญ่ 2) เจ้าของกิจการ/ธรุ กิจส่วนตวั ได้แก่ ร้านขายของชำ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ร้านเพ่ือการเกษตร ขายของตามตลาด ขายอาหาร 3) อาชพี เสริม/อาชีพรอง ไดแ้ ก่ รบั จา้ งเก็บลำไยตามฤดูกาล รบั จ้างทั่วไป จักสาน 3

1.2.3) รายได้เฉลีย่ รวมต่อเดือน/ครอบครวั รายไดเ้ ฉลยี่ รวมต่อเดือน/ครวั เรอื น จัดเปน็ 2 อันดับ ไดแ้ ก่ อันดบั ที่ 1 มรี ายได้ 10,001 - 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 83.33 อันดบั ท่ี 2 มรี ายได้ 5,000 - 10,000 บาท คิดเป็นรอ้ ยละ 16.67 1.2.4) ต้นทุนทางสังคม 1) การร่วมกลุ่มในชุมชน ไดแ้ ก่ กลุ่มแมบ่ ้าน กลุ่มผสู้ งู อายุ กลมุ่ วสิ าหกิจชมุ ชน 2) ประวัติศาสตร์ชุมชนที่โดดเด่น เช่น ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลาย ประกอบด้วย คนเมือง คนเขิน คนลัวะ เปน็ ตน้ 3) บุคคลสำคัญ ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านที่มีอยู่ในทุกชุมชน โดดเด่นทางด้านภูมิปัญญา เชน่ การทำถั่วเน่า นำ้ ปู การสานข้อง การสานดง้ เปน็ ตน้ 4) สถานทีส่ ำคญั ไดแ้ ก่ วัดทม่ี ีความเก่าแก่ อย่างเชน่ วัดทุ่งเกีย๋ งที่มีประวัติยาวนานกว่า 300 ปี วดั ท่าจำปที ีม่ คี รูบาดวงดี ซึ่งเป็นท่ีเคารพสกั การะของคนเปน็ จำนวนมาก เป็นต้น 5) จุดเด่นที่แสดงถึงความเข้มแข็งของชุมชน มีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความเข้มแข็งดา้ น อาชพี ร่วมกลุ่มชุมชน (กลมุ่ รักษ์หัวรนิ ) 6) แหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเป็นแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น รา้ นคาเฟ่สไตล์บ้านเมอื งเหนอื รา้ นอาหารทอ่ี ยู่ในสวนลำไย หรือมที พี่ กั แบบฟาร์มสเตย์ เปน็ ตน้ 1.2.5) ทุนทรพั ยากรมนุษย์ ตำบลทุ่งสะโตก มีจำนวนประชากรแบ่งเป็น ชาย ร้อยละ 47.69 และ หญิง ร้อยละ 52.31 ซึ่งตัวเลข จากการจดั แบง่ ประชากรตามช่วงวัยดังทแ่ี สดงในกราฟรูปท่ี 1 จะเหน็ ไดว้ า่ ประชากรกลมุ่ ใหญใ่ นพน้ื ที่นั้นคือกลุ่ม ที่มีอายุมากกว่า 51 ปีขึ้นไป และยังพบว่ามีอัตราการเกิดของประชากรท่ีน้อย โดยมีจำนวนของประชากรท่ีอายุ ตำ่ กว่า 11 ขวบตำ่ กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรท้ังหมด และสว่ นใหญข่ องประชากรในพื้นท่ีมีการศึกษาอยู่ในระดับ ประถมศึกษาซึ่งมีมากถึงร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดและหากรวมกับจำนวนประชากรที่มีการศึกษาใน ระดับต่ำกว่าประธมศึกษา พบว่ามีมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดดังที่แสดงไว้ในรูปที่ 2 ทำให้ อาชีพส่วนใหญ่ของชุมชนจึงจะมุ่งเน้นไปทางด้านเกษตรกรรม หัตกรรม หรือวัฒนธรรมพื้นบ้าน จนก่อให้เกิดมี องค์ความรู้ หรือบุคคลที่มีองค์ความรู้ เช่น ปราชญ์ชุมชนในหลายๆด้านที่เกี่ยวข้อง โดยจะเห็นว่าส่วนใหญ่ใน ชุมชนจะมีผู้เชี่ยวชาญทางการ เกษตรกรรม หัตกรรม และศิลปะ วัฒนธรรม เป็นจำนวนมากตามลำดับ ดังที่ได้ แสดงไว้ใรรูปที่ 3 และจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นประชาชนผู้สูงวัยนั้นทำให้ภาวะปัญหาด้าน สุขภาพของคนในชุมชนนั้นส่วนใหญ่พบว่าเป็น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหวั ใจ โดยมากกว่ารอ้ ยละ 35 ของประชาชนในพ้ืนทีพ่ บวา่ เป็นโรคความดันสงู ดงั ทแ่ี สดงไว้ในรปู ท่ี 4 4

รูปที่ 1 กราฟแสดงสัดส่วนของจำนวนประชากรแบง่ ตามช่วงอายุ (ร้อยละ) รปู ท่ี 2 กราฟแสดงสัดส่วนของจำนวนประชากรแบง่ ตามระดบั การศึกษา (ร้อยละ) รปู ท่ี 3 กราฟแสดงสัดส่วนของความเชี่ยวชาญดา้ นการประกอบอาชพี (ร้อยละ) 5

รปู ที่ 4 กราฟแสดงสัดส่วนของปญั หาสุขภาพขอประชากรในตำบล (ร้อยละ) หากพูดถึงศักยภาพของคนในชุมชน พบวา่ เปน็ ชมุ ชนท่ีมีความหวงแหนอัตลักษณ์ของชุมชน เป็นชุมชน ทม่ี คี วามรักความเปน็ ไทย มกี ารแสดงใหเ้ ห็นถึงการพร้อมในการเปน็ พลเมืองดี อีกทั้งยงั แสดงออกถึงความพร้อม ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ลักษณะโดยรวมของคนในตำบลนั้น มีสามัคคี ปรองดอง รักใคร่ ไปมาหาสู่เอื้อเฟื้อเผ่อื แผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันในชุมชนเป็นอย่างดี ในด้านทักษะโดยรวมของคนในตำบล สามารถแยกออกเป็นกลุ่มระดับของทักษะประกอบด้วย ทักษะที่อยู่ในระดับดี คือ การสื่อสารคำเมืองและการ สือ่ สารภาษาไทย ทกั ษะท่ีอยู่ในระดับพอใช้ คอื การใช้งานอินเตอร์เน็ต การคำนวนพ้ืนฐาน การใช้คอมพิวเตอร์ การทำบัญชีครัวเรือน และการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ส่วนทักษะที่อยู่ในระดับไม่ได้เลยของชุมชน คือ การ สอื่ สารภาษาจีน เปน็ ตน้ 1.2.6) ทุนทรพั ยากรธรรมชาติ สำหรับในส่วนของทรัพยากรธรรมชาตินั้นในพื้นที่ตำบลทุ่งสะโตกเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งเก็บน้ำน้อยส่วน ใหญ่แหล่งน้ำได้มาจากแม่น้ำลำคลองซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ไหลผ่านมาจากพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งเป็นพื้นที่สูงอย่างเช่น นำ้ แมข่ านและละนำ้ แมว่ าง เป็นต้น ในสว่ นของการกักเก็บนำ้ ส่วนใหญจ่ ะอาศยั ฝายธรรมชาติเปน็ ท่ีชะลอน้ำและ เป็นแหล่งเก็บน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตร ดังข้อมูลที่แสดงไว้ในรูปที่ 5 จึงเป็นสาเหตุให้ในพื้นที่ส่วนใหญ่การ ทำการเกษตรเป็นการทำเกษตรตามฤดูกาล ซึ่งอาจจะมีบ้างบางส่วนที่ทำการเกษตรกรนอกฤดูกาลแตก่ ็มีต้นทนุ สูงและเสี่ยงต่อการเสียหายของพืชนั้นเอง โดยในส่วนของลักษณะดินในพื้นที่ส่วน ใหญ่พบว่าเป็นดินร่วน ดิน ทราย และดินเหนียว ตามลำดับ ดังที่ได้แสดงไว้ในรูปที่ 6 ซึ่งจากความหลากหลายของชนิดดินที่พบนี้ทำให้ใน พืน้ ท่ีมีความหลากหลายของการทำเกษตรพนื้ ท่ี เชน่ การปลูกข้าว การปลูกหอมหวั ใหญ่ ขา้ วโพด ผักตา่ งๆ อีกท้ัง ยังมกี ารทำสวนลำไยเปน็ จำนวนมากอกี ดว้ ย 6

รปู ท่ี 5 กราฟแสดงสดั สว่ นของแหลง่ นำ้ บนดนิ ในพ้นื ท่ี (ร้อยละ) รูปท่ี 6 กราฟแสดงสัดส่วนของลกั ษณะของดินภายในพื้นที่ (ร้อยละ) และหากพูดถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมของพื้นที่นั้นจากการสำรวจพบว่า ในพื้นที่มีน้ำ สะอาดปริมาณเพียงพอตลอดทั้งปี คุณภาพอากาศส่วนใหญ่จะดีอาจจะมีบ้างบางฤดูการที่เกิดปัญหาหมอกควัน ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับปัญหาหลักของประเทศ ในส่วนของอุณหภูมิในพื้นที่เป็นไปตามฤดู กาล ส่วนเรื่อง สิ่งแวดล้อมทางเสียงนั้นค่อนข้างดีมีปัญหาเสียงดังรบกวนค่อนข้างน้อยเนื่องจากในพื้นที่ไม่ใช่แหล่งโรงงาน อุตสาหกรรม ปริมาณของเสียที่พบส่วนใหญ่ในสิ่งแวดล้อมนั้นมาจากครัวเรือนและจากการทำการเกษตร โดยกระบวนการจัดการของเสียนั้นมีทางเทศบาลตำบลทุ่งสะโตกเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งทางเทศบาลนั้นมีนโยบาย การการคัดแยกขยะเพ่อื สร้างรายได้อกี ทางหนึง่ ดว้ ย 1.2.7) ทุนทางวัฒนธรรม ในสว่ นของต้นทนุ ทางวฒั นธรรมในพื้นท่ีนน้ั ส่วนใหญ่จะคลา้ ยๆกันกับชุมชนตา่ งๆในภาคเหนือหรือพ้ืนท่ี ใกล้เคียง แต่ก็ยังพบว่ามีทุนทางวัตนธรรมบางอย่างที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ด้วยเช่นกัน โดยทุนทางวัฒนธรรม อาจจะแบ่งได้เป็นด้านๆประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เช่น การเลี้ยงผีบรรพบุรุษ (ผปี ูย่ า่ ) การเลี้ยงผีพอ่ บ้าน (เล้ยี งผปี ระจำหมบู่ ้าน) การรำวงยอ้ นยุค การสบื ชะตาหมบู่ า้ น การฟอ้ นเล็บ เป็นต้น 7

ทุนด้านประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เช่น ประเพณีสรงน้ำพระ ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประเพณียี่เป็ง ประเพณีสลากภัต เป็นต้น ทุนด้านอาชีพที่ใช้วัฒนธรรมเป็นฐานที่เป็นจุดเด่นของชุมชน เช่น การสานไซ, แซ่ การตีมีด หมอเมือง เปน็ ตน้ ทนุ ด้านอาหารพนื้ บ้านท่ีเปน็ เอกลักษณ์ของชุมชน เชน่ น้ำพริกหนุ่ม น้ำเงี้ยว น้ำพริกตาแดง น้ำพริกน้ำปู เป็นต้น ทุนด้านสมุนไพรพื้นบา้ นที่มีอยู่ และพร้อมที่พัฒนาสู่การเป็นแหล่ง รายได้ของชุมชน เช่น ขมิ้น ตะไคร้ ข่า ขิง มะกรูด เป็นต้น ทุนด้านงานหัตถกรรมที่มีอยู่และพร้อมที่จะพัฒนาสู่ การเปน็ แหลง่ รายได้ของชุมชน เช่น มีด เครอื่ งจกั รสาน สานมลู่ ่ี แห หมวก เป็นต้น ทนุ ดา้ นงานให้การบริการที่ ชุมชนมีอยู่ และพร้อมพัฒนาสู่การเป็นแหล่งรายได้ของชุมชน เช่น ร้านอาหารเด่นในพื้นท่ี โรงน้ำดื่มชุมชนที่ได้ มาตรฐาน และร้านคาเฟ่สวยๆ เช่น บ้านนอกของชิก Home&Cafe หรือ ร้านอาหารแม่วางคอนเนอร์ หรือจะ เปน็ บรกิ ารนวดแผนไทยในพื้นท่ีกม็ ีเช่นกนั 1.2.8) ความตอ้ งการของคนในชุมชน จากทุนเดิมต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นว่าตำบลทุ่งสะโตกเองเป็นตำบลที่มีทั้งศักยภาพในการ ประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ดีจะยังพบว่าในพื้นที่เองยังมีข้อจำกัดอยู่อีกหลายๆ ด้านที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้การประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตเป็นไปได้ไม้ดีเท่าที่ควร เช่น ในเรื่องของ ต้นทุนการศึกษาที่ยังถือว่าค่อนข้างต่ำ ต้นทุนแหล่งน้ำที่ขาดแคลนในบางฤดูกาล เป็นต้น จึงทำให้ยังพบว่า ประชาชนในชุมชนเองยังมีความต้องการทจ่ี ะไดร้ บั ความช่วยเหลือเพ่ือการพฒั นาในอีกหลายด้าน อยา่ งเช่น การสรา้ งอาชพี ใหก้ ับคนในชุมชน การอบรมทักษะอาชพี ตา่ งๆ เพือ่ สรา้ งรายได้ การพฒั นาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อ การทำการเกษตร ให้มีใช้เพียงพอตลอดทั้งปี ต้องการงบประมานในโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชน เป็นต้น จึงนำมาซึ่งการได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการดำเนินงานโครงการต่างๆที่ทางหน่วยงานภายนอกเข้าไป สนบั สนุนนัน้ เอง 1.3 การมสี ว่ นร่วมและการยอมรับของสงั คมเปา้ หมาย ในการดำเนินโครงการได้รับความร่วมมือและการยอมรับของสังคมเป้าหมายเป็นอย่างดี ซึ่งภายใต้ โครงการ U2T นี้ได้ทำงานร่วมกับทางเทศบาลตำบลทุ่งสะโตก และหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่ทั้งหน่วยงานรัฐและ หน่วยงานเอกชน ในการลงพน้ื ท่ีทำกิจกรรมต่างๆ กับทางชุมชน ซ่งึ ทางพ้นื ท่ีได้ให้ความชว่ ยเหลอื ท้งั เรื่องสถานท่ี ปฏิบัติงาน การติดต่อประสานงาน กำลังคนเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาชว่ ยเหลือ และต่างๆอีกมากมาย นอกจากนั้นแลว้ ยังได้รับความรวมมือจากกลุ่มประชาชน วิสาหกิจชุมชน ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ โดยการมี ส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทั้งในเรื่องของการเพาะเลี้ยงปูปลอดสารพิษ การจัดสร้างฟาร์มเพาะเลี้ยง การ ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ จากการเพาะเลี้ยงปู เป็นต้น จนเกิดเป็นบทเรียนและองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถมา นำไปถ่ายถอดต่อไปได้ ในส่วนของกระบวนการทำงานร่วมกันของทีมงาน U2T กับชุมชนจนเกิดเป็นผลลัพธ์ที่ สำเร็จเรียบร้อยแลว้ นั้นรายละเอียดของการทำงานน้ันเป็นดังทไี่ ด้แสดงไว้ในรปู ที่ 7 8

รูปท่ี 7 กระบวนการทำงานร่วมกนั ระหว่างทีมงาน U2T และ ชุมชนตำบลทงุ่ สะโตก 1.4 การออกแบบ หรอื พัฒนาช้นิ งาน หรือแนวคดิ หรอื กจิ กรรม การออกแบบกิจกรรม รูปแบบกิจกรรมโครงการ จะประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 2 ด้านคือ ด้านงานตามภาระงานที่ได้รับ มอบหมายจากทาง อว. และด้านการพัฒนาที่จะมุ่งเน้นไปที่ตำบลทุ่งสะโตก ซึ่งทางโครงการมีการสนับสนุนให้ เกิดการร่วมกลุ่ม และมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกิดเป็นทักษะใหม่อาชีพใหม่ท่ีจะช่วยเสริมสร้าง ทักษะทางด้านอาชีพให้กับคนในชมุ ชน แล้วเกดิ เปน็ แหล่งรายได้ใหม่ ซง่ึ การดำเนนิ กจิ กรรมในสว่ นน้ีมีการดำเนิน กิจกรรมหลัก 4 ด้านซึ่งประกอบไปด้วย 1) การส่งเสริมสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เน้นในกลุ่มผู้สูงอายุ 50 ราย 2) การบริการชุมชนด้วยการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และฝึกปฏิบัติการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มอี ยู่ใน ชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นสินค้า OTOP ที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล 3) การศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายในกลุ่ม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง และการศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในด้านการ สร้างสินค้า OTOP เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน 4) การสนับสนนุ การสร้าง และพัฒนากลุ่ม วิสาหกิจชุมชนของตำบล เพื่อให้เกิดการดำเนินงานร่วมกันทั้งในส่วนของชุมชน และหน่วยงานภาครัฐใ นพื้นท่ี 9

ทำให้วิสาหกิจมีความยั่งยืน และมั่นคงในอนาคต โดยกิจกรรมภาพรวมเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการความร่วมมือ ดังทก่ี ล่าวมาแล้วในหัวข้อกระบวนการมสี ่วนรว่ มและการยอมรับของสงั คมเป้าหมาย การพัฒนาชน้ิ งานการออกแบบและพัฒนาชนิ้ งาน การสร้างผลิตภัณฑ์ “น้ำปูปลอดสารพิษ” ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปวัตถุดิบปู ที่ทางคณะทำงาน และกลุ่มวิสาหกิจได้ร่วมกันสร้างขึ้นโดยมีการพัฒนาทั้งสูตรและวิธีการทำเพื่อให้เป็นสัดส่วนมาตรฐานของทาง กลุ่มและมีความโดดเด่นและมีความต่างจากผลิตภัณฑ์น้ำปูตามท้องตลาดซึ่งใ นผลิตภัณฑ์น้ำปูจะเน้นเรื่องของ สุขภาพด้วยโดยเป็นผลิตภัณฑ์น้ำปูปลอดสารพิษได้มาจากการเลี้ยงปูโดยระบบปิดไม่ปนเปื้อนสารเคมีทาง ส่ิงแวดลอ้ มและยงั มีการควบคมุ คณุ ภาพมกี ารตรวจวิเคราะห์รบั รองสารเคมีตกค้างโดยห้องปฏิบัติการทางเคมี การออกแบบบรรจภุ ัณฑส์ นิ คา้ ท่สี รา้ งจดุ เด่น จุดสนใจ เกดิ เป็นผลติ ภณั ฑ์ ภายใต้แบรนด์ “วิสาหกิจชุมชน สขุ ภาพดบี ้านป่าจ้ี” ชื่อแบรนด์ : วิสาหกิจชมุ ชน สขุ ภาพดบี า้ นป่าจี้ โลโก้ผลิตภัณฑ์ : มีการผสมผสานจุดเด่นและเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อสื่อให้เห็นถึงความสำคัญและที่มาของ ผลติ ภณั ฑ์ ดังไดแ้ สดงไว้ในรูปที่ 8 รปู ท่ี 8 โลโก้ผลติ ภัณฑน์ ้ำปูปลอดสารพษิ รูปปูดำ คือ สื่อถึงปนู า ซง่ึ เปน็ สายพันธท์ุ ้องถ่ินท่ีอาศัยอยู่ในพนื้ ทางการเกษตรของตำบลทุ่งสะโตก เป็น พนั ธทุ์ ี่ถูกเลอื กนำมาเพาะเลย้ี งในฟาร์ม เนือ่ งจากเป็นสายพันธุ์ทห่ี าไดง้ า่ ย คนุ้ เคยและตอ่ สภาพแวดล้อมในพน้ื ท่ี รูปขันโตก คือ สัญลักษณ์หนึ่งของตำบล “ทุ่งสะโตก” เป็นการสื่อความหมายถึงตำบล เพื่อสร้าง สัญลักษณ์ให้เปน็ ทีน่ า่ จดจำ รูปรวงข้าว คอื สือ่ ถงึ การทำเกษตร เน่ืองจากในพนื้ ท่ตี ำบลทงุ่ สะโตกเป็นพ้นื ทที่ ุ่งนาและมีการปลูกข้าว เปน็ หนึง่ ในอาชีพของของในชมุ ชน 10

ฉลากบรรจภุ ณั ฑ์ : รปู ท่ี 9 รปู ฉลากผลิตภัณฑน์ ำ้ ปปู ลอดสารพิษ ฉลากบรรจภุ ัณฑ์ บอกรายละเอียดข้อมลู ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ชื่อผลิตภณั ฑ์ ผู้ผลิต ส่วนประกอบ ปรมิ าณสุทธิ ดังแสดงในรูปท่ี 9 รูปแบบบรรจุภณั ฑ์ : บรรจุภัณฑ์ ใช้บรรจภุ ัณฑเ์ ปน็ ขวดแกว้ ใส มฝี าปดิ สนทิ สามารถมองเห็นเน้ือนำ้ ปไู ด้ดังที่ไดแ้ สดงไว้ในรูปท่ี 10 รูปท่ี 10 รูปบรรจภุ ัณฑ์ 1.5 ความรูค้ วามเช่ียวชาญทใ่ี ช้ในการทำให้เกดิ การเปลี่ยนแปลงน้นั ที่สามารถนำไปเป็น “ต้นแบบ” ได้ การเพาะเลีย้ งปปู ลอดสารพิษ ภายใต้โครงการน้ี ทำใหเ้ กดิ ฟาร์มต้นแบบในการเพาะเลย้ี งปูจำนวน 7 ฟาร์ม ณ หมู่ที่ 1 บ้านป่าจี้ ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทั้ง 7 ฟาร์ม เกิดการสร้าง จากสมาชิกภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งในการเพาะเลี้ยงปูสมาชิกกลุ่มจะมีการเรียนรู้ทุกขั้นตอนด้วยตนเอง ตัง้ แต่การทำบอ่ ปูจนกระทั้งการเพาะเลีย้ งปู แล้วทำใหป้ อู ยู่รอดในอตั ราทสี่ ูงทีส่ ุด โดยระยะเวลาที่เพาะเล้ยี ง จะมี ทมี คณะทำงานตดิ ตามผล ควบค่ไู ปกับการเรยี นรู้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงปู รวมถึงร่วมมือกัน แก้ไขปัญหา จนเกิดเป็นความรู้และความเชี่ยวชาญใหม่ๆ จนได้เป็นองค์ความรู้ของการเพาะเลี้ยงปูเฉพาะกลุ่ม ที่รวบรวมทั้งกระบวนการเลี้ยง เทคนิคต่างๆ รวมไปถึงปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหา จนเกิดเป็นคูม่ ือในการเพาะเลี้ยงและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลอดสารพิษขึ้นมาจากโครงการ นอกจากนั้นแลว้ ยัง 11

มคี ู่มือการดำเนนิ การของวิสาหกจิ ชุมชนซ่ึงไดจ้ ากการถอดบทเรียนองค์ความรู้จากวิสาหกิจชมุ ชนในพ้ืนท่ีอีกด้วย ซึ่งฟาร์มปูปลอดสารพิษที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้จะประกอบด้วย ฟาร์มที่ 1 นางสาวณัฐนันท์ สุริยะ ฟาร์มที่ 2 นางสาวสมพร สีระแปง ฟาร์มที่ 3 นางจำปี ก้อนแก้ว ฟาร์มที่ 4 นายเกษม บุญป๋ัน ฟาร์มที่ 5 นายจรูญ วงตา ฟาร์มที่ 6 นายดำรง วงตา และ ฟาร์มที่ 7 นางระวิวรรณ คำวินิจ โดยรูปภาพและ รายละเอียดของแตล่ ะฟาร์มนำเสนอไว้ในภาคผนวก 12

บทที่ 2 การประเมนิ ผลโครงการ 2.1 การประเมินผลผลติ ผลลพั ธ์ ผลกระทบทเี่ กดิ ขนึ้ และปจั จยั ท่ีเอือ้ สู่ความสำเรจ็ การวิจัยโครงการนี้เพื่อมุ่งเน้นการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และปัจจัยที่เอื้อต่อ ความสำเร็จ โดยกลุ่มวสิ าหกจิ ไดม้ ีการประเมินผลผลิตที่ได้จากการดำเนนิ งานเพื่อให้สอดคล้องกบั วัตถุประสงค์ที่ ตอ้ งการ โดยการประเมินผลผลติ จะแสดงใหเ้ ห็นถึงความกา้ วหน้าของโครงการ ปญั หาและอุปสรรคทเ่ี กิดข้ึน โดย โครงการได้มีการเพาะเลี้ยงปูของกลุ่มวิสาหกิจ ที่มีการเพาะเลี้ยงตั้งแต่เริ่มโครงการ ซึ่งมีการนำความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้จากการอบรม “การเลี้ยงปูแบบปลอดสารพิษ” ไปใช้ในการเพาะเลี้ยงปูของกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน และมีการพัฒนาอย่างต่อเน่ือง ซึ่งจากผลสำรวจการเพาะเลีย้ งปขู องกลุ่มฟาร์มปูทั้งหมด ปูที่เลี้ยงมีอัตรา การเจริญเติบโต การรรอดชีวิตของปูอยู่ในเกณฑ์ที่สูง โดยเมื่อเทียบกับก่อนการอบรมมีการอบรม “การเลี้ยงปู แบบปลอดสารพิษ” จะเหน็ ได้ว่าก่อนการอบรมอตั ราการรอดของปูอยู่ในระดบั ท่ีตำ่ มากเม่ือเทยี บกับปัจจุบันที่ได้ มีการอบรมและให้ความรูก้ ับกลุ่มวิสาหกิจ ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อที่จะสามารถนำ ข้อมูลที่ได้มาประมวลผล วิเคราะห์เพื่อให้ข้อมูลทีไ่ ด้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยทีมวิจัยไดม้ ีการเก็บข้อมูล จากกลุ่มวิสาหกิจ สอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทำการเพาะเลี้ยงปูเพื่อนำปัญหาดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อหา แนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมถึงการนำปูจากฟาร์มของกลุ่มวิสาหกิจมาทำการวิเคราะห์ในห้องแลปที่ได้ มาตรฐานของ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่ เพื่อนำมาวเิ คราะห์หาสารเคมีท่อี าจปนเป้ือนมาในตวั อย่างปูจากฟาร์มของ กลุ่มวิสาหกิจ โดยหลังจากการเก็บข้อมูลเรียบร้อย กลุ่มวิสาหกิจที่สามารถเลี้ยงปูได้สามารถนำความรู้ท่ีมีมาตอ่ ยอดในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับตนเอง โดยมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปูให้มี ความหลากหลาย เชน่ น้ำปปู ลอดสารพิษ ซง่ึ ไดม้ กี ารออกแบบผลติ ภณั ฑ์น้ำปู 3 สูตร ให้มีความน่าสนใจ และยัง มีผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกมากมาย เป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจและคนในชุมชนให้มีรายได้จากการแปรรปู ผลติ ภัณฑป์ ูปลอดสารพิษ ผลลัพธ์ที่ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์น้ำปูปลอดสารพิษจากวัตถุดิบในชุมชน ซึ่งไดใ้ ช้ประโยชนจ์ ากการอบรม “การเลีย้ งปแู บบปลอดสารพษิ ” ซึ่งจะมีการประเมินศักยภาพของผลลัพธ์ให้ตรง กับความต้องการของชุมชน โดยใช้วิธีการประเมินศักยภาพตำบล 16 เป้าหมายสามารถนำวิเคราะห์เจาะลึกได้ โดยอ้างอิงข้อมูลจากการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากชาวบ้านในตำบลทุ่งสะโตกโดยข้อมูลที่ได้จะอยู่ในลักษณะ ของขอ้ มูลเชิงกายภาพเนื่องจากเป็นการสอบถามด้วยวิธกี ารสมั ภาษณ์ สามารถสรุปแยกไดท้ ั้งหมด 16 เปา้ หมาย ตามแผนงานดังนี้ 13

เปา้ หมายที่ 1 องค์กรชมุ ชนสมรรถนะในการจดั การพ้ืนที่ตำบลทุ่งสะโตก เปา้ หมายท่ี 2 การจัดสรรทรัพยากรอยา่ งเป็นธรรมในชมุ ชน เป้าหมายที่ 3 ความสามารถวิเคราะหร์ ายรบั รายจา่ ยของสถาบนั การเงนิ ชมุ ชน ธนาคารชมุ ชน เปา้ หมายที่ 4 กลุ่มสมั มาอาชีพในชมุ ชน เปา้ หมายท่ี 5 ภาพรวมการส่งเสริมเกษตรทฤษฎใี หม่ในชุมชน เปา้ หมายที่ 6 การขดุ สระนำ้ ประจำครอบครัวในชุมชน เปา้ หมายท่ี 7 การจัดการวสิ าหกิจชุมชนในชมุ ชน เปา้ หมายที่ 8 การฝึกอบรมทักษะอาชีพ เป้าหมายท่ี 9 จดั โครงสรา้ งพ้ืนฐานทางกายภาพ สิง่ แวดลอ้ ม พลังงานในพื้นทช่ี ุมชน เป้าหมายที่ 10 การจดั การตำบลปลอดภัย เป้าหมายท่ี 11 พัฒนาคุณภาพกลมุ่ เปราะบาง เป้าหมายที่ 12 ระบบการดูแลสขุ ภาพชมุ ชนดแู ลประชาชนทกุ คน เป้าหมายที่ 13 ศนู ยก์ ารเรยี นรตู้ ำบล เป้าหมายที่ 14 ระบบยตุ ิธรรม เป้าหมายท่ี 15 ระบบสอ่ื สารชุมชนรวมสื่อดิจิทัล เป้าหมายที่ 16 ตำบลทำความดี ทีมวิจัยได้ใช้การประเมิน 16 ประการ เพื่อเป็นการประเมินศักยภาพของตำบล โดยสามารถทำตาม เป้าหมายและยกระดับตำบล เพื่อให้โครงการดำเนินงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์ โดยมีการจัดทำโครงการและ กิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย 16 ประการ เป็นการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับคนใน ตำบล เป้าหมายที่ 1 องค์กรชุมชนสมรรถนะในการจัดการพื้นที่ตำบลทุ่งสะโตก สมรรถนะหรือความสามารถ ในการบริหารจัดการชุมชนของเทศบาลทุ่งสะโตกนัน้ สามารถดำเนินการได้ผ่านกลุ่มผูน้ ำชุมชนท่ีซึ่งเป็นผู้บริหาร หรือที่เรียกว่า ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งในพื้นที่ตำบลทุ่งสะโตกประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้านดังน้ันการเก็บข้อมูลเก็บกับ สมรรถนะในการจัดการขององค์กรชุมชนจึงจำเป็นตอ้ งอ้างอิงข้อมูลจากกลุม่ ผู้ใหญ่บา้ น พบว่าแต่เดิมน้ันองค์กร ชุมชนมีความพร้อมในด้านการจัดการอยู่แล้วส่งผลดีต่อการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจ 14

และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 16 เป้าหมายเนื่องจากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของทั้งชุมชนเอง และตัวของผูน้ ำชุมชน โดยกิจกรรมท่ีทางทีมวจิ ัยได้จัดทำขึ้นนั้นเน้นไปที่การสร้างอาชีพเป็นหลักอนั เนื่องมาจาก ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดส่งผลประชาชนชาวบ้านหลายคนขาดรายได้จากงานประจำ ตลอดจนงานจ้าง ทั่วไปในหมู่บ้านต่างก็ได้รับผลกระทบกันทั้งสิ้น แต่เนื่องจากเป็นช่วงเรียนรู้ทดลองทำให้ยังเข้าถึงกลุ่มชาวบ้าน ไม่ได้มากเท่าที่ควร อาทิเช่นการส่งเสริมสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายแก่ประชากรในชุมชน ด้วยการ ผลิตภัณฑ์นำ้ ปปู ลอดสารพิษจากวัตถดุ ิบในชุมชนเพื่อนำไปสูผ่ ลิตภณั ฑ์ OTOP ของชมุ ชน แต่หากมองภาพรวมกิจกรรมอื่นๆ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่นำมาซึ่งอาชีพและความรู้มาสู่ชุมชนสามารถนำองค์ ความรู้ที่ได้ไปปรับใชเ้ พือ่ ประกอบเป็นอาชีพหรือใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ดังนั้นกิจกรรมโครงการท่ีจัดทำขึ้นมี การดำเนนิ กิจกรรมได้ครอบคลมุ ตามเป้าหมายสว่ นใหญแ่ ละสง่ ผลดกี ับชมุ ชนได้ไม่มากก็นอ้ ย ในส่วนโครงการเสริมสร้างอาชีพด้วยการผลิตภัณฑ์น้ำปูปลอดสารพิษจากวัตถดุ ิบในชุมชนเพื่อนำไปสูผ่ ลิตภัณฑ์ OTOP ของชุมชนซึ่งเป็นโครงการหลักได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม ชาวบา้ นที่สนใจ ต่อเนื่องมาจนขน้ั ทดลองเลยี้ งในฟาร์มเพาะเลย้ี งขนาดย่อมตลอดจนขัน้ ตอนการทำผลิตภัณฑ์น้ำ ปู ซง่ึ ยงั อยู่ในกรอบชว่ งขัน้ ตอนการทดลองก่อนที่จะดำเนนิ การจัดเตรยี มบรรจุภัณฑ์ โลโก้แบรนด์ รวมถงึ ขั้นตอน ในเรื่องของการทำการตลาดต่อไป เป้าหมายที่ 2 การจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมในชุมชน การจัดสรรทรัพยากรภายในชุมชนมักพบ เห็นไดใ้ นรปู แบบของกองทุนชุมชน อาทเิ ชน่ กองทุนเงินล้าน, กองทนุ แก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ) เป็นต้น โดยจะแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่ากองทุนภายในชุมชนมการจัดระเบียบจัดสรรได้อย่างชัดเจนเป็นธรรมผ่าน การยืนยันของเหล่าผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งภายในชุมชนมีความร่วมมือจัดต้องกองทุนทางการเงินที่มีการจัดระเบียบท่ี มั่นคง มีสมาชิกกองทุนมีตำแหน่งชัดเจนในการบริหารจัดการ โครงการหรือกิจกรรมที่นำเข้าไปจึงมีส่วนช่วยใน การเสริมกองทุนต่างๆในชุมชนให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อคอยช่วยเหลือผู้ที่ลำบาก หรือต้องการทรัพยากรแบบ เรง่ ดว่ น แต่ไม่มีกำลงั พอจะไปกูย้ มื จากสถาบนั การเงินอื่น กองทนุ การเงินในชุมชนจงึ เปรยี บเหมือนเป็นทรัพยากร ท่ที ุกคนในชุมชนสามารถเข้าถงึ ได้ ดังน้นั กิจกรรมหรือโครงการที่จัดทำขึ้นมานั้นคลอบคลุมเป้าหมายหลัก ท่ีเน้น ในเรื่องของการจัดสรรทรัพยากร จากทางหน่วยงานเทศบาลสู่ชุมชนให้ความรู้ในเรื่องการจัดการกองทุนผ่าน โครงการอาทิเช่นโครงการกองทุนเงินล้าน, กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น กิจกรรมส่วนใหญ่ล้วน เริ่มต้นมาจากความร่วมมือของคนในชุมชนที่มีความต้องการเดียวกันคือ ต้องการสร้างแหล่งรายได้สำรองเอาไว้ ใช้ยามฉุกเฉิน หรือแม้กระทั่งเอาไว้ใช้ภายหลังจากสิ้นอายุขัยเช่น โครงการกองทุนฌาปนกิจศพ ซึ่งเป็นกองทุน เงนิ สำรองเอาไวใ้ ช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เนือ่ งจากการจดั งานพธิ ีต้องใชเ้ งนิ จำนานมาก เปน็ ต้น สิ่ง ทีส่ ำคัญท่ีสุดของกองทุนจึงอยู่ท่ีการบริหารจดั การเงนิ ทุนและการเข้ามาช่วยเหลือดแู ลจากหนว่ ยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เป้าหมายท่ี 3 ความสามารถวเิ คราะหร์ ายรบั รายจา่ ยของสถาบนั การเงินชมุ ชน ธนาคารชมุ ชน 15

จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลตามเป้าหมาย สามารถวิเคราะห์รายรับรายจ่ายของสถาบันการเงินชุมชน ธนาคารชุมชนพบว่าแต่ละหมูบ่ ้านมีการจัดตั้งกลุ่มธนาคารชมุ ชนและกองทุนแยกย่อยออกไปตามแต่ละหมู่บ้าน เดิมทีชุมชนมีการจัดการตามเป้าหมายนี้อยู่แล้ว โดยมีสถาบันการเงินในของแต่ละชุมชนมีการตั้งคณะทำงาน ระดับหมู่บ้านขึ้นมาดูแลกิจกรรมภายใน มีการออกกฎระเบียบโดยคณะกรรมการ มีบริการของธนาคารชุมชน ตามวันที่กำหนดของแต่ละชุมชน ซึ่งจะต้องเรียนให้สมาชิกธนาคารทุกท่านทราบ การใช้บริการธนาคารชุมชนมี รูปแบบการเรียกเก็บเงินออม หรือดอกเบี้ยเงินกู้ต่างกันบางหมู่บ้านเลือกใช้วิธีเดินเข้าไปหาที่หมู่บ้าน ในบ้าง หมู่บ้านให้สมาชิกเดินทางมาเอง อาทิเช่นโครงการเบี้ยผู้สูงอายุ, โครงการเบี้ยยังชีพคนพิการ เป็นต้น ส่งผลให้ เป้าหมายหลักยังไม่สามารถสรุปออกมาได้ว่าคลอบคลุมตามเป้าหมาย เนื่องจากกิจกรรมส่วนใหญ่ในชุมชนน้ัน ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบเดิม โดยมีทมี กรรมการบรหิ ารคอยดูแลกิจกรรมอยู่แล้ว แตท่ ั้งนี้การบริหารงานต้องทำ โดยความสุจริตโปร่งใสสามารถตรวงสอบได้เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกบั เงินที่ซึ่งชาวบา้ นนำมาเก็บออมไว้เป็นเงิน สำรอง เป้าหมายที่ 4 กลุ่มสัมมาอาชีพในชุมชน หากกล่าวถึงกลุ่มสัมมาอาชีพในชุมชน คงต้องพูดถึงการสร้าง สัมมาชีพชุมชนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรือ่ ง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้าง โอกาสเข้าถึงบริการของภาครัฐ นำมาซึ่งการรวมกลุ่มสร้างอาชีพ โดยมีความสอดคล้องกับโครงการยกระดับ อยา่ งตรงไปตรงมา จากการจัดทำกิจกรรมและเกบ็ ข้อมูลแสดงให้เห็นความพยายามให้การสร้างรายได้และความ มั่นคงในชุมชนโดยเปา้ หมายหลกั อยู่ที่การสร้างอาชีพและรายไดไ้ ปพร้อมๆ กัน ทั้งกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่ม ผู้ด้อยโอกาสตลอดจนคนไร้ที่พึ่ง การสร้างอาชีพให้คนกลุ่มนี้ที่ถือเป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดในสังคมจะเปรียบเหมือน การวางฐานรากที่ม่ันคงให้สงั คม เพราะคนกลมุ่ นีส้ ว่ นใหญจ่ ะเขา้ สรู่ ะบบแรงงาน ตลอดจนการจัดตง้ั รา้ นค้าชุมชน และกองทุนภายในชุมชน ทั้ง 2 ปัจจัยนี้จะเปรยี บเหมือนทางในการดำเนินชีวิต หารายได้ หาโอกาสในการสรา้ ง อาชีพ ไปพร้อมๆ กบั การกระจายสินค้าทั้งสินค้าจากการเกษตรตลอดจนสินค้าแปรรปู การสรา้ งร้านค้าชุมชนจะ เปิดโอกาสให้ชุมชนนำสินค้าที่ตนมีมาจำหน่าย อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ OTOP ชุมชน สร้างเป็นแบรนด์และนำเสนอสู่สังคมและคนที่สนใจให้มากยิ่งขึ้นได้อีกด้วยดังนั้นด้วยผลลัพธ์ ณ ปัจจุบันกับ โอกาสในการเติบโตอันเน่อื งมากจากแผนกจิ กรรมทไี่ ด้ต้งั ขึน้ ส่งผลให้สามารถคลอบคลุมเปา้ หมายได้อยา่ งลงตวั เป้าหมายที่ 5 ภาพรวมการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในชุมชน เมื่อกล่าวถึงโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง แตเ่ ดมิ ทมี่ าของโครงการดงั กล่าวเกดิ จาก ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร การบริหารแบ่งสัดส่วนของที่ดินในมีอัตราส่วนที่ชัดเจน อาทิเช่นการแบ่งพื้นที่ 30% เป็นสระเก็บกักน้ำ ในส่วน ของพื้นที่ตำบลทุ่งสะโตกจะอยูต่ ิดลำคลอง แต่ถึงกระนั้นกม็ ีบางพื้นที่ ที่อยู่ห่างไกลจะแหล่งน้ำด้วยเหตุนีเ้ องการ เขา้ ไปมสี ว่ นช่วยเหลือ การให้ความร้ตู ลอดจนการทำไร่นาตวั อย่างเพ่ือให้ชาวบ้านได้เหน็ สถานที่จริงและสามารถ นำไปใช้ให้เข้ากับสวน, ไร่นา ของตนได้ ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่าแต่เดิมชุนชนมีการดำเนินการตาม 16

เป้าหมายอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งในชุมชนมีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ และ ใน ชุมชนมีกองทุนปุ๋ยที่รวมกันทำและจำหน่ายปุ๋ยราคาถูกให้แก่สมาชิก ดังนั้นหากอ้างอิงตามแผนปฏิบัติติงานจะ พบว่า นอกจากจุดเดน่ ทางดา้ นการเปน็ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ก็ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่ด้านการเกษตร แต่ยัง รวมไปถึงการสร้างสถานที่ทอ่ งเที่ยวภายในชมุ ชน นำเสนอแบบดงึ ดูดให้มากที่สุด หรือจะเป็นโครงการให้ความรู้ ในการทำปุ๋ยอินทรีย์แก่ผู้ที่สนใจ กล่าวสรุปได้ว่าโครงการที่ได้ดำเนินการไปนั้นเป็นเพียงส่วนเสริมแก่เป้าหมาย หลกั อนั เน่อื งมาจากภายในชุมชนมีหมู่บา้ นเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว ซึง่ ถ้าสามารถขยายองคค์ วามรู้ไปสู่ชาวบ้าน ได้ครอบคลุมยิ่งกว่านี้จะเห็นผลชัดเจน เพียงแต่เรายังขาดบุคคลากร มืออาชีพมาคอยชี้แนะให้สังคมเข้มแข็งมี คุณภาพยิง่ ขึ้น เป้าหมายที่ 6 การขุดสระน้ำประจำครอบครัวในชุมชน การขุดสระน้ำไว้ใช้ในครอบครัวนั้นจากการ สอบถามเหล่าผู้นำชุมชนพบว่านั้นส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ที่จะเอาไว้ใช้ในทางการเกษตร จากที่สำรวจข้อมูล พบว่า มีครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่ และประชาชนส่วนมากมีการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดเพอ่ื บรโิ ภคเพราะในชมุ ชมมีแหล่งผลติ น้ำดื่ม จากการทำงานส่งผลใหช้ มุ ชนมีประปาประจำหมบู่ ้านท่ีมคี ณะกรรมการ หมู่บา้ นควบคุมดูแล และมกี องทนุ น้ำด่ืมประจำหมู่บ้าน ท้ังข้นั ตอนควบคุมคุณภาพน้ำดม่ื กอ่ จัดตั้งกองทุนโรงน้ำ ด่มื ตลอดจนการขุดเจาะนำ้ บาดาลเพื่อการเกษตร ทั้งหมดน้คี รอบคลุมเป้าหมายที่ตั้งไว้ การดำเนนิ การต่อไปควร มุ่งไปที่การดแู ลเอาใจใสร่ ะบบที่สร้างขึ้นเพื่อรกั ษามาตราและนำ้ ดื่มสะอาดให้แก่คนในชมุ ชนตอ่ ไป เป้าหมายที่ 7 การจัดการวิสาหกิจชุมชนในชุมชน การบริหารกิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะชาวบ้านที่มีความผูกพันกันในชุมชน มีวิถีชีวิตร่วมกันและ รวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์ เพอื่ สร้างรายไดแ้ ละเพอ่ื การพึง่ พาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหวา่ งชมุ ชน โดยที่ \"ทนุ ของชุมชน\" นั้นไม่ได้ หมายถึงแต่เพียงเงิน แตร่ วมถงึ ทรัพยากร ผลผลติ ความรู้ ภูมิปัญญา ทนุ ทางวฒั นธรรม ทนุ ทางสงั คม ในกลุ่มตำบลทุ่งสะโตกก็มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยเป็นการรวมกลุ่มชาวบา้ นท่ีมีความรู้มีวถิ ีชีวติ ร่วมกันรวมตัวกัน เพื่อประกอบกิจการ โดยจากการเก็บข้อมูลจาก 12 หมู่บ้าน พบหมู่บ้านจำนวน 3 หมู่บ้านที่มีวิสาหกิจชุมชน เนื่องด้วยจำนวนวิสาหกิจชุมชนมีจำนวนไม่มาก การช่วยเหลือและบริหารงานจึงเป็นไปได้ง่ายส่วนใหญ่แล้วจะ เป็นการชว่ ยเหลือด้านงบประมาณ เนอ่ื งจากการบรหิ ารกิจการเป็นเรื่องภายในแต่ท้ังน้ีก็พร้อมที่จะให้ข้อมูลท่ีจะ ส่งเสริมผลกั ดันศักยภาพของผลิตภัณฑ์ทุกตวั เนื่องจากเป็นการส่งเสริมอาชีพแบบย่ังยืนจงึ ต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นถือได้ว่ากิจกรรมที่ส่งเสริมไปมีความครอบคลุมกับเปา้ หมายหลักในทางตรง การอุดหนุนส่งเสริมเงินลงทุน เพือ่ พฒั นาผลติ ภณั ฑ์สามารถเพม่ิ ศักยภาพและสร้างโอกาสในทางธุรกิจได้จรงิ เป้าหมายที่ 8 การฝึกอบรมทักษะอาชีพ มุ่งเน้นการฝึกทักษะอบรมอาชีพในชุมชนจากการสำรวจเก็บ ข้อมูลพบว่าภายในชุมชนแต่เดิมมีการกิจกรรมการฝึกอบรมทักษะอยู่แล้วซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานเทศบาลสู่กลุ่ม 17

ตา่ ง ๆ ในชมุ ชน อาทิเชน่ กลมุ่ สตรีแม่บา้ น กลมุ่ ผสู้ ูงอายุ จากการจำแนกขอ้ มลู โครงการออกไปตามแผนจะพบว่า มกี ารดำเนินกจิ กรรมได้ครอบคลุมตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างเห็นได้ชดั ซ่ึงจะเนน้ การเพ่ิมรายไดใ้ ห้แก่ชาวบ้านท้ัง กลมุ่ นกั เรยี น ผพู้ ิการ ตลอดจนผู้สูงอายุ นับไดว้ า่ เปน็ การสรา้ งขยายการเรยี นร้สู ู่ชุมชน แฝงไปดว้ ยเป้าหมายอยา่ ง การสร้างอาชีพ ซึ่งชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับทางสำนักงานเทศบาลที่ตั้งใจจัดให้แก่กลุ่มต่างๆใน ชุมชน ความน่าสนใจยังมุ่งเน้นไปยังเรือ่ งของการดำเนนิ กจิ กรรมในอนาคตที่จะมขี ึ้นเพื่อต่อยอดโครงการเหล่านี้ คือการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน เพื่อเผชิญกับความท้าทายด้วยวิธีการแก้ปัญหาแบบบูรณาการและใช้ได้ใน ระยะยาว การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ส่งผลให้ทรัพยากรแทบทั้งหมดถูกนำมาใช้เพื่อ ดึงดูดนักท่องเที่ยว แม้ว่าจะต้องรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่เราก็ต้องไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับ ความยัง่ ยืนดว้ ย เป้าหมายที่ 9 จัดโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม พลังงานในพื้นที่ชุมชน ในเป้าหมายนี้จะ กล่าวถึงแผนงานเป็นอับดับแรกเนื่องจากเป็นเป้าหมายเชิงกายภาพ ในเชิงกายภาพสิ่งอำนวยความสะดวกเป็น สิ่งจำเป็นการส่งเสรมิ ช่วยเหลือชมุ ชนด้วยการพัฒนาเชิงกายภาพ อาทิ การซ่อมถนน, การซ่อมไฟตามทาง, การ จัดการขยะที่ถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ยากต่อการจัดการเป็นอย่างมากเพราะขยะส่วนมากเป็นจำพวกพลาสติก ย่อยสลายได้ยากดังนัน้ แนวคิดการนำกลบั มาใชใ้ หมจ่ ึงเปน็ การแบ่งเบาภาระต่อสังคมไดเ้ ปน็ อยา่ งมาก เป้าหมายที่ 10 การจัดการตำบลปลอดภัย ความปลอดภัยในตำบลในตำบลเกี่ยวข้องกับความร่วมมือ ร่วมใจของคนในชุมชนและคณะทำงานท่ีมีหน้าทีด่ ูแลประชาชนท่ีลำบากเช่น ชาวบ้านครัวเรอื นยากจน ครวั เรือน ท่ีมผี ตู้ อ้ งการความชว่ ยเหลือ(ผูส้ งู วัย, ผปู้ ว่ ยเรือ้ รัง, คนพิการ, ผ้ปู ่วยตดิ เตียง, ปฐมวัย) หรอื ยามเกดิ ภัยพิบัติ สิ่งท่ี ขาดไม่ได้เลยคือความรูแ้ ละความเข้าใจยามเกิดเหตุฉุกเฉนิ ทางเทศบาลจึงจดั ตั้งกลุ่มอาสาสมัครในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ มีการออกตรวจพื้นที่โดยกลุ่มปกครองเป็นระยะเพื่อเฝ้าระวังเหตุร้าย รวมถงึ ยาเสพติด ตามแผนงานที่วางไว้ถือไดว้ ่าครอบคลุมตรงตามเปา้ หมายในดา้ นความปลอดภยั อีกท้ังการแฝง ด้วยการให้ความรู้หลากหลายด้าน ทั้งด้านการสอนให้หลีกเลี่ยงสารเสพติด, โครงการฝึกอบรมการจัดทำและ ฝกึ ซอ้ มแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, รวมถึงการฝึกซ้อมกชู้ ีพเบื้องตน้ หากพบเจออบุ ัตเิ หตุ และฝึกอบรม ทักษะการขับขี่ปลอดภัยกิจกรรมดังกล่าวที่กล่าวไปเป็นเพียงส่วนหนึ่งในโครงการที่ทางเทศบาลทุ่งสะโตกได้จัด ข้ึนเพ่ือใหช้ าวบา้ นมคี วามร้เู ร่ืองการช่วยเหลือเบื้องต้นประกอบกับการจัดศูนยป์ ระสานงานและระบบการส่ือสาร ข้อมูลเพ่ือความปลอดภยั หลายรปู แบบ หลายช่องทาง ในชุมชนถือไดว้ า่ เปน็ สิง่ ท่ีสำคัญท่ีสุด เป้าหมายที่ 11 พัฒนาคุณภาพกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเปราะบางในชุมชนจะกล่าวถึง “กลุ่มคนที่มีความ เสี่ยงสงู ทจ่ี ะไดร้ ับ ความเจบ็ ปว่ ยหรอื ได้รับอนั ตรายทาง สุขภาพ เน่อื งด้วยสถานะสุขภาพทาง ด้านตา่ งๆ ไมว่ ่าจะ เป็นทางกาย จติ ใจ หรือสงั คม ทใี่ หก้ ล่มุ คนเหล่านร้ี ับมือกับ ความเส่ยี งดังกลา่ วได้ไม่ดี หรือไม่สามารถจัดการกับ ความเสย่ี งหรือปจั จัยต่างๆ ทเี่ ขา้ มามีผลต่อสุขภาพของพวกเขาได้” โดยแตเ่ ดิมชุมชนมีการจัดการตามเป้าหมาย นี้อยู่ก่อนแล้วมีการจัดตั้งกลุ่ม อสม. ที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง มีการจ้างงานในระยะสั้นแก่ผู้ร่วมโครงการฯ มีหน้าที่ 18

คอยสอดส่องดแู ลผ้สู งู อายุในพ้ืนท่ี หรอื คนทต่ี ้องการความชว่ ยเหลือท้ังน้ีทุกคนมีโอกาสกลายเป็นกลุ่มเปราะบาง เนื่องด้วยร่างกาย สภาพสังคมที่มีผลต่อสภาพจิตใจ ดังนั้นการจดั บริการดแู ลสุขภาพต่อเนื่องท่ีบ้านโดยบุคลากร สาธารณสุขและอาสาสมัครชุมชนจงึ พึงดำเนินการอยา่ งเร่งด่วน ดังนั้นในโครงการทีจ่ ัดทำขึ้นสามารถตอบโจทย์ ครอบคลุมให้กับปัญหาเหล่านีได้ต้องการเพียงเวลาให้การคิดและวางแผนอย่างเป็นระบบต่อไป กลุ่มคนท่ี ชว่ ยเหลอื ตัวเองไม่ได้ กลมุ่ ผสู้ งู อายุรวมถึงกลุ่มคนไร้ท่ีพ่ึงภายในชุมชน จะถูกนับว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง เน่ืองจาก เป็นกลุม่ ที่ขาดความพรอ้ มทางกายทางใจและด้านทรัพยากรมักถูกเอาเปรยี บได้ง่าย เป้าหมายที่ 12 ระบบการดูแลสุขภาพชุมชนดูแลประชาชนทุกคน เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขกับ ความพร้อมในการเข้าถึงของประชาชนเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือการนัดตรวจโรคประจำเดือนของชาวบ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจงึ เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากเนื่องจากชาวบ้านไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยัง โรงพยาบาลประจำอำเภอแต่สามารถตรวจรักษาได้เลยทโี่ รงพยาบาลสง่ เสรมิ สุขภาพประจำตำบล การให้ความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพแก่ประชาชนก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการรักษาของหมอเนื่อ งจากหากสร้างกรอบความรู้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหากสามารถสื่อสารให้ชาวบ้านเข้าใจได้จริงๆแล้ว เชื่อว่าหลายต่อหลายคนอาจจะ เปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต เช่น การเตือนให้ชาวบ้านรับรู้ถึงโคเลสเตอรอลในอาหารจำพวกของทอดของมัน โดย ภายในชุมชนมีกลุ่ม อสม. ที่ทำหน้าที่เข้าไปดูแลสุขภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และโครงการอบรมเพิ่มทักษะของ เจ้าหน้าที่อยา่ งต่อเนื่องโดยเทศบาลร่วมกับทาง รพสต.ในพื้นท่ีโดยมกี ารอบรมเพิ่มทักษะให้ อสม อย่างต่อเนื่อง โดยเทศบาลร่วมกบั รพสต. นำไปสกู่ ารมกี ลมุ่ อสม ที่มคี วามรแู้ ละทำหน้าทด่ี แู ลผูป้ ว่ ยติดเตียงเปน็ กลุ่มท่ีมีความรู้ จริงผา่ นการเขา้ ร่วมอบรมเรียนรดู้ ังนั้นเป้าหมายนจ้ี งึ ครอบคลุมตวั ช้ีวัดไดอ้ ย่างสมบูรณแ์ ละเป็นระบบ เปา้ หมายท่ี 13 ศูนย์การเรยี นรตู้ ำบล จากการลงพ้นื ท่เี กบ็ ข้อมลู ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งสะโตกพบว่าสิ่ง ที่ตำบลยังขาดอยู่คือการสร้างศูนย์การเรียนรู้ตำบลที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ การถ่ายทอด การ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของชาวบ้านใน ชุมชน เป็นแหล่งกระจายข่าวสาร สาระความรู้ใหม่ๆ จากภายนอกสู่ชุมชนในลกั ษณะที่ชัดเจนและเป็นธรรมตอ่ ประชาชนทุกคนสามารถเข้าไปสบื คน้ ศึกษาและเรยี นรู้ได้ทกุ เวลา ซึง่ ลกั ษณะของสถานท่ีท่ีเหมาะสมของการเป็น ศนู ยก์ ารเรียนรูต้ ำบลมลี ักษณะโครงสร้างเป็นตัวอาคาร หรอื สถานทีอ่ นื่ ใดก็ได้ท่มี คี วามรู้ สามารถให้การเรยี นรู้แก่ ชาวบ้านทต่ี ้องการความรู้ การดำเนนิ การเชญิ วิทยากรบรรยายมามอบความรนู้ ้ันจะได้ประสิทธิภาพที่สุดต้องเกิด จากความต้องการทจ่ี ะเรียนรจู้ ากตวั ประชาชนเองก่อน ดงั น้ันโจทยส์ ำคัญของการสร้างความต้องการดังกล่าวนั้น จึงเป็นหนา้ ที่ของบุคคลากรทุกฝ่าย ซ่ึงจะสามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้นหากมีศนู ย์การเรียนรตู้ ำบล โดยเป้าหมาย ของศูนย์การเรียนรู้ตำบลนี้เองจะเป็นตัวชี้วัดว่าตำบลใดให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้มากน้อยเพียงใดเนื่องจาก การให้ความรู้แก่ชาวบ้านต้องมีการคิดวางแผนเตรียมพร้อมมาเป็นอย่างใด โดยที่ในการถ่ายทอดความรู้แต่ละ ครั้ง ทางเทศบาลขาดบุคคลากรก็สามารถว่าจ้างบุคคลากรจากภายนอกเข้ามามอบความรู้เฉพาะด้านในชาวบ้าน 19

ได้ ทางทีมวิจัยได้มีการจัดทำสื่อจากบทเรียนของโครงการ จัดทำข้อมูลเรื่องเด่น คนเด่น เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ โดยการดำเนนิ งานขั้นตอ่ ไปจะมงุ่ เน้นการสนับสนุนกลุ่มวิสาหกจิ ชุมชนขึ้นเปน็ ศนู ย์การเรียนรรู้ ะดับตำบลตอ่ ไป เป้าหมายที่ 14 ระบบยุติธรรม เป้าหมายที่วา่ ด้วยเร่ืองข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในชุมชนเช่นปัญหาที่ดิน, การ วิวาท, ปัญหาเสียงรบกวน ในชุมชนรวมถึงการควบคุมดูแลศูนย์ประสานงานพนักงานคุมประพฤติ ในชุมชนมี ตัวแทนเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยระดับตำบล และมีขบวนการไกล่เกลี่ยโดยเจ้าหน้าที่เทศบาลอีกรูปแบบด้วย นอกจากนั้นแล้วในชุมชนมีเจ้าหน้าคุมประพฤติประจำตำบลและมีเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยระดับตำบลอีกด้วย โดย ภาพรวมยงั ไมต่ รงตามเปา้ หมาย เพราะการขาดความยตุ ิธรรมในชุมชนตำบลทงุ่ สะโตกมักเกิดปัญหาจากความไม่ รู้และไม่เข้าใจในเรื่องกฎหมาย โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิความเป็นเจ้าของอาทิเช่นสิ่งของ , ที่ดิน เป็นต้น กระบวนการยุติธรรมของประชาชนในตำบลมักถูกยึดโยงกับผลประโยชน์จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสมอ และมักจะมี ฝ่ายที่ถูกเอาเปรียบอย่างเลี่ยงไม่ได้เหตุผลสำคัญเพราะประชาชนยังขาดความสนใจและการเข้ามามีส่วนร่วมใน การวางแผนด้านระบบยุติธรรมภายในหมูบ่ ้านของตนเอง โครงการต่างๆ จึงถูกจัดขึ้นเพื่อมุง่ หวังให้ชาวบา้ นไดม้ ี ความรคู้ วามเขา้ ใจเพม่ิ มากข้นึ เป้าหมายที่ 15 ระบบสื่อสารชุมชนรวมสื่อดิจิทัล ระบบการสื่อสารภายในตำบลทุ่งสะโตกใช้วิธีการ ประกาศเสยี งตามสาย ซ่งึ ทางเทศบาลจะประสานงานกบั ผู้ใหญ่บา้ นในการประกาศข่าวหรือเรื่องราวตา่ งๆ ให้แก่ ลูกบ้าน ระบบเสียงตามสายหรือระบบประชาสัมพันธ์ภายในตำบลทุ่งสะโตกจะถูกจัดการและบริหารแยกย่อย ออกไปอย่ใู นความดูแลของบุคคลากรของแต่ละหมบู่ า้ นมผี ู้ใหญ่บ้านเป็นผ้รู บั หน้าท่ีประกาศ ให้ขอ้ มูลขา่ วสาร สิ่ง ทส่ี ำคัญทส่ี ุดคอื ตอ้ งสามารถกระจายขา่ วสารได้รวดเรว็ และชดั เจนที่สุด ทั้งนกี้ ารแจ้งขอ้ มลู ทไี่ ด้ประสิทธิภาพมาก ทส่ี ดุ คือการเปดิ โอกาสให้ชาวบา้ นท่มี ีข้อสงสยั ได้แจ้งขอ้ สงสยั ดังกล่าว เชน่ การสง่ ขอ้ ความมายังผ้ใู หข้ ้อมูลซ่ึงผู้ให้ ข้อมลู ต้องทิ้งชอ่ งทางการตดิ ต่อไว้ เป้าหมายที่ 16 ตำบลทำความดี ในด้านของความดีที่มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของบรรทัดฐาน ค่านิยม เปน็ หลักในส่วนของบรรทดั ฐานความดีก็ไม่ต้องจากการตกี รอบใหก้ ารกระทำคำพูดที่แสดงออกถึงความถูกตอ้ ง ดี งาม การช่วยเหลือผู้อื่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งการปฏิบัติธรรม บรรทัดฐานทาง สังคมเหล่านี้เองที่จะเป็นตัวตัดสินว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นนิยามได้ว่าเป็นความดีหรือไม่ ในชุมชนทุ่งสะโตกการทำ ความดจี ะเกี่ยวข้องกับการเสียสละเวลาชว่ ยเหลือผู้อนื่ ชาวบ้านในตำบลเองมีกลมุ่ อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดเตียง มีการเชดิ ชคู นเดน่ องคก์ รเดน่ ตามโอกาสท่เี หมาะสม ตามเปา้ หมายของโครงการทไี่ ดจ้ ัดทำขน้ึ มีสว่ นทำให้รางวัล เช่น การประกาศมอบรางวัลแม่ตัวอย่าง, กลุ่มฟ้อนรำที่เป็นตัวแทนระดับตำบล, อสม ดีเด่นที่ไปแข่งขัน ระดับประเทศ สามารถเกดิ ขึ้นไดจ้ ริง ลักษณะการทำงานของ อสม. มกี ารดำเนนิ งานได้อย่างว่องไว มีกจิ กรรมไป เยี่ยมกลุ่มเด็กด้อยโอกาสกับกลุ่มเด็กที่ขาดแคลนการเรียนซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือสังคมไปพร้อมๆกัน สง่ ผลให้โครงการเหลา่ น้ีสามารถครอบคลุมเปา้ หมายตัวช้ีวดั ได้คอ่ นข้างมาก 20

โดยจากการสรุปข้อมูลทั้งหมด 16 เป้าหมาย ตำบลทุ่งสะโตกมีผลลัพท์เป็นไปตามเป้าหมายของ โครงการ เป็นตำบลมุ่งสู่ความดี และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปูปลอดสารพิษ สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์โดยได้แนวคิดจากการอบรมแลกเปลืย่ น ความรู้เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจมีจุดแข็งตรงเรื่องการปลอดสารเคมี เป็นสิ่งที่คนสมัยใหม่ต้องการสูง อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและนอก ชุมชนให้การสนับสนุนในเรื่องการขยายดอกาสในการจัดจำหน่าย รวมถึงผลิตภัณฑ์มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง สุขภาพ การปลอดสารเคมี ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคมีอยูต่ ลอดเวลา อีกทั้งในปัจจุบันกระแสผู้บริโภคใน ประเทศ กำลังนิยมสนิ ค้าและผลิตภัณฑเ์ กีย่ วกับสุขภาพและความปลอดภัยจจากสารเคมี จึงทำให้ผลิตภัณฑ์จาก ปูปลอดสารเคมีสามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ในส่วนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปูปลอดสารพิษ ซึ่งจะ นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑน์ ้ำปูให้เป็นสินค้า OTOP ระดับตำบลต่อไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสรา้ งกลุ่มสัมมาชีพท่ี ยั่งยืนเนื่องจากคนที่มีความรู้เรื่องปูเป็นอย่างดีนั้น สามารถไปดึงดูดและมอบความรู้ให้แก่คนในชุมชนต่อไปได้ โครงการผลิตน้ำปูจะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นต่อไป ในระยะเริ่มต้นนั้นการหาสมาชิกมาเข้าร่วมเป็นกลุ่มสัมมาชีพได้ ค่อยข้างลำบากเพราะต้องการผู้ที่สนใจจริงๆ โดยจะหวังพึ่งข้อมูลจากกลุ่มออกสำรวจข้อมูลพื้นฐานโดย อสม. และการอบรมอาชีพเสริมโดยเทศบาลตำบลทุ่งสะโตก ด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปูปลอดสารพิษ ที่ได้มีการ เพาะเลี้ยงจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นสินค้าของชุมชนและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบล ในสว่ นของโครงการได้มีการจดั อบรมเพื่อให้ความรเู้ กีย่ วกับการเลยี้ งปแู บบปลอดสารพษ ซงึ่ ทำใหก้ ลุ่มวิสาหกิจมี องค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปูแบบปลอดสารพิษ สามารถจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจหรือต้องการศึกษาดูงานในการเลี้ยงปูแบบปลอดสารพิษ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้และ ต่อยอดเพ่ือสรา้ งผลิตภัณฑ์จากปูปลอดสารพษิ และใชว้ ัตถุดิบภายในชุมชน เพ่ือลดอตั ราการว่างงาน และยังเป็น การสร้างรายไดจ้ ากวตั ถุดิบในชมุ ชน ผลกระทบที่เกิดขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาจมีปัญหาจากการขาดกำลังคนในการผลิต ทำให้เกิดความ ล่าช้า รวมไปถึงยอดการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ ประกอบกับสมาชิกบางคนที่เข้าร่วมโครงการต้องการทำเป็น อาชพี เสรมิ เท่านั้น เนอ่ื งจากสมาชิกสว่ นใหญ่มีการทำเกษตรกรรมเป้นหลัก อีกทง้ั คนรนุ่ ใหม่ที่มีการศึกษาก็เลือก ประกอบอาชีพตามท่ีเรยี นมา ปจั จยั ที่เอือ้ ต่อความสำเร็จ โดยโครงการท่ีสามารถจัดการและบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตาม เป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ทั้งจากกลุ่มวิสาหกิจ ภาคีครือข่าย และกลุ่มชาวบ้านภา ยใน ตำบลทุ่งสะโตก งบประมาณจากรัฐบาล และกรอบการทำงานที่ต้องมีการควบคุมที่ดี เพื่อให้เกิดคุณภาพและ ความคุ้มค่า โดยเมื่อรวมหลายปัจจัยเข้าด้วยกันทำให้โครงการน้ีสามารถเดนิ ทางมาจนเกือบบรรลเุ ป้าหมายที่ตัง้ ไว้ 21

ผลผลิตทีเ่ กิดขึน้ จากโครงการ - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ภายใต้โครงการเพื่อเพาะเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ 1 กลุ่ม “วิสาหกิจ ชมุ ชนสขุ ภาพดบี ้านป่าจ้ี” โดยมสี มาชกิ เร่มิ ตน้ 10 ราย - นำ้ ปปู ลอดสารพิษ ซ่ึงไดม้ ีการออกแบบผลิตภัณฑน์ ้ำปู 3 สูตร ประกอบไปด้วยสตู รดังเดมิ สูตรสมุนไพร ขงิ และสตู สมนุ ไพรใบย่านาง - คู่มือองค์ความรู้ต่างๆที่พัฒนาและถอดบทเรียนจากการดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย คู่มือการ เพาะเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ คู่มือผลิตภัณฑ์น้ำปูปลอดสารพิษ เล่มรายงานข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปูนา และคู่มือ การดำเนนิ การกลุม่ วสิ าหกจิ ชมุ ชน - องคค์ วามรู้เรอื่ งกระบวนการทำงานอย่างมสี ว่ นรว่ มของทีมวจิ ยั กบั ชมุ ชนสู่การพัฒนาพน้ื ทอี่ ย่างย่งั ยนื ผลลัพธ์ของโครงการ - กลุ่มเกษตรกรและผู้สูงอายุสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการประกอบอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้น ทั้งในรูปแบบ สว่ นตัวหรือร่วมกันเป็นกล่มุ วิสาหกจิ ชมุ ชน ซึ่งผลจากโครงการท่ีผ่านมาพบว่ากลมุ่ เกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนสามารถสรา้ งรายได้ ประมาณ 1,500 บาทต่อเดือน - คนในชุมชนมีแหล่งอาหารปลอดภยั เพิ่มข้ึนจากโครงการทั้งในรูปแบบของปูปลอดสาร หรือผลิตภัณฑท์ ่ี แปรรูปจากปปู ลอดสาร - เกิดเครือข่ายของคนในชุมชนระหวา่ งหมูบ่ ้านในการประสานงานเรื่องการเลี้ยงปูปลอดสาร ทั้งทางด้าน วธิ ีการเลย้ี ง วตั ถุดิบ และการจดั จำหน่ายสนิ ค้า ผลกระทบทเ่ี กิดขน้ึ - เกดิ ความตระหนักต่อเร่ืองผลกระทบของสารเคมีต่อสุขภาพผู้บริโภค ซ่งึ เกิดจากกจิ กรรมการอบรมและ การประชาสมั พันธข์ องทางโครงการรวมถึงกระแสขอ้ มูลจากการพูดถงึ กนั ในพ้นื ที่ - องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการทางเทศบาลในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียงสามารถนำไปขยายผลเพื่อพัฒนา อาชีพใหม่ในพน้ื ทใี่ หมเ่ พมิ่ เตมิ ได้ - เกิดความร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดการวางแผนการ พัฒนาต่อเนื่องในเชิงนโยบายของทางเทศบาล เช่น เกิดการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนการพัฒนา สินค้าชุมชนของเทศบาล - ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำสามารถสร้างรายได้เสริม รวมไปถึงการส่งเสริมสุขภาพร่างกายจากการได้ออก กำลงั กายและการไดบ้ รโิ ภคอาหารทีป่ ลอดสารพิษด้วย 22

ปจั จัยทีเ่ ออ้ื ตอ่ ความสำเร็จ โครงการสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ประกอบไปด้วยหลาย ปจั จยั ประกอบไปด้วย - การได้รับความร่วมมือในการดำเนินงานเป็นอย่างดีทั้งจากเทศบาล ฝ่ายปกครอง หน่วยงานราชการ กลมุ่ วสิ าหกจิ ภาคคี รอื ข่าย และกลมุ่ ชาวบา้ นภายในตำบลทงุ่ สะโตก - งบประมาณที่ไดร้ ับสนบั สนนุ จากทางภาครัฐบาล ภาคเอกชนในพ้นื ท่ี - การยอมรับองค์ความรู้ใหม่ๆของชุมชนที่ทางทีมวิจัยได้มีการค้นคว้าและนำไปร่วมพัฒนาภายใต้ โครงการ - หนว่ ยงานสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลยั ทค่ี อ่ ยตดิ ตามงานและช่วยเหลือโครงการในหลายๆด้าน 2.2 การคาดการณส์ ิง่ ที่จะตามมาหลงั จากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขน้ึ แล้ว จากผลการศึกษาการคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้ว พบว่า ปัจจัยที่ นำไปสู่การเปลย่ี นแปลงประกอบด้วย 3 องคป์ ระกอบคือ ทีมนักวจิ ยั กลุ่มวิสาหกจิ และคนภายในชมุ ชน ทีมนักวิจัย ในที่นี้หมายรวมถึงคณะทำงานภาคเครือข่ายด้วย ซึ่งคณะทำงานจะประสบการณ์และ ความสามารถในการทำงานประสานงาน และมีความสัมพนั ธ์ท่ีดีกับภาคีเครือข่ายในพ้ืนท่ีทำให้เกิดความเข้มแข็ง ของกลุ่มภาคีเครือข่ายในชุมชน ตลอดจนทีมวิจัยสามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ประกอบในการเพาะเล้ียงปู แบบปลอดสารพิษ โดยจัดทำคู่มือการเลี้ยงแบบปลอดสารพิษ เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจหรือกลุ่มคนที่สนใจสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ จนทำใหค้ ูม่ อื เปน็ ทีย่ อมรบั อย่างกว้างขวางและใชป้ ระโยชนไ์ ด้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มวิสาหกิจ ท่ีได้รับการอบรม “การเลี้ยงปูแบบปลอดสารพิษ” ได้เกิดการพัฒนากระบวนการเลี้ยงปู แบบปลอดสารพิษ มีความรู้ที่สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนที่สนใจในการเพาะเลี้ยงปูแบบ ปลอดสารพิษ นอกจากนี้กลุ่มวิสาหกิจยังสามารถจัดตั้งเป็นศูนย์ให้ความรู้ เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปูแบบปลอด สารพิษได้อีกด้วย คนภายในชุมชน สามารถสร้างรายได้จากวัตถุดิบในชุมชน และยังเป็นการการลดอัตราการว่างงานคน ภายในชุมชนให้มีการสร้างรายได้ การจัดตั้งรวมกลุ่มวิสาหกิจเพื่อเป็นการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์เพื่อผลักดันให้ สนิ คา้ กา้ วไปสู่สนิ คา้ ประจำตำบล และสามารถตอ่ ยอดเปน็ สนิ คา้ ระดับจงั หวดั 2.3 การประเมินผลกระทบและสรปุ แนวทางในการนำไปขยายผล หรอื ปรบั ปรงุ ทมี นักวิจยั - มีประสบการณ์และความสามารถในการทำงานประสานงาน ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคี เครือข่ายในพื้นที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยถือเป็นแนวทางในการ ทำงานเพ่ือการพัฒนาตอ่ ยอดไปสู่ชุมชนหรอื พื้นที่อื่นๆเพมิ่ ขึน้ ได้ 23

- เกิดนวัตกรรมการเพาะเลยี้ งปแู บบปลอดสารพิษ ด้วยรปู แบบ การเล้ียงปรู ะบบปิด แบบผสมผสานบอ่ ดนิ -บอ่ ปูน ข้ึนมา และจดั ทำคมู่ อื การเลย้ี งแบบปลอดสารพิษ เพื่อขายายผลให้กลมุ่ วิสาหกิจหรือกลุ่มคน ที่สนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ จนทำใหค้ ูม่ อื เป็นท่ียอมรับอย่างกว้างขวางและใช้ประโยชน์ได้อย่างมี ประสิทธภิ าพมากย่ิงขน้ึ กลุ่มวิสาหกิจ - ได้พัฒนากระบวนการเลี้ยงปแู บบปลอดสารพิษ มีความรู้ที่สามารถนำไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนท่ี สนใจในการเพาะเลี้ยงปูแบบปลอดสารพิษได้ ซึ่งในอนาคตสามารถจัดตั้งเป็นศูนย์ให้ความรู้ เกี่ยวกับการ เพาะเล้ยี งปแู บบปลอดสารพิษได้อีกดว้ ย - จากการที่กลุ่มวิสาหกิจเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้สูงอายุจึงจะมีปัญหาในการ ดำเนินงานขึ้นได้บ้างประเด็น เช่นในเรื่องการจัดจำหน่ายสินค้าซึ่งในปัจจุบันมักจะเป็นการขายสินค้า ทางออนไลนเ์ พื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกคา้ ได้หลากหลาย จึงจำเป็นอยา่ งยิ่งทจี่ ะต้องหาแนวทางแก้ไข อย่างเช่นการอบรมให้ความรู้ หรือการจัดการกลุ่มให้มีผู้รับผิดชอบที่สามารถดำเนินการแต่ละกิจกรรม ไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ คนภายในชุมชน - มรี ายไดจ้ ากวัตถดุ ิบในชุมชน อยา่ งเชน่ วัตถุดิบทเี่ ปน็ อาหารปู อปุ กรณ์ท่เี กีย่ วข้องกับการเล้ียง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตสามารถขยายผลไดอ้ ีกด้วยการพัฒนาการแปรรูปและผลติ อาหารเลีย้ งปูจากวัตถุดิบชุมชน หรือเศษอาหารจากครัวเรือนไดอ้ ีกดว้ ย - คนภายในชุมชนสามารถสร้างรายได้จากการรวมกลุ่มวิสาหกิจเพื่อเป็นการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ ซง่ึ ผลในเบือ้ งตน้ น้ันกลุม่ เกษตรกรท่เี ขา้ มาร่วมเล้ยี งและแปรรูปผลิตภณั ฑจ์ ากปูนาปลอดสารพิษสามารถ สร้างรายได้ประมาณ 1,500 บาทตอ่ เดือนตอ่ ครวั เรือนจากการท่พี ่ึงเริมการเล้ยี งในช่วง 5-6 เดอื นท่ีผ่าน มานี้เอง ซึ่งสามารถขยายผลโดยผลักดันให้สินค้าก้าวไปสู่สินค้าประจำตำบล และสามารถต่อยอดเป็น สินคา้ ระดบั จังหวดั ต่อไป - คนในชุมชนได้รับรู้เรื่องความไม่ปลอดภัยของอาหารที่เกิดจากการปนเปื้อนของาสารเคมีทาง การเกษตร จากการอบรมให้ความรู้ของทีมวิจัยภายใต้โครงการ U2T จนเกิดความตระหนักขึ้นในวง กว้าง ซึ่งจะสามารถขยายผลสู่การสร้างผู้บริโภคสินค้าปลอดสารขึ้นในอนาคตและก่อให้เกิดกลุ่มผู้ผลติ ผลติ ภัณฑท์ ่ีมคี วามปลอดภยั เพ่ิมมากขึน้ ตามไปด้วยน้นั เอง 24

บทท่ี 3 ข้อเสนอแนะ 3.1 ข้อเสนอแนะต่อการดำเนนิ งานระดับตำบลในอนาคต ควรมีส่งเสริมให้สมาชิกภายในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์พัฒนาผลิตภณั ฑ์ให้เกิดการร่วมมือกนั อยา่ งยั่งยืน สนบั สนนุ การประชุมกลุม่ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนการสร้างผลิตภณั ฑ์ให้เกดิ ความหลากหลาย และมอี ตั ลกั ษณ์ รวมท้ังการสร้างเครือข่ายกับหนว่ ยงานท้องถิ่น หรอื กลมุ่ ชุมชนโดยรอบเพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพใน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จัดตั้งขึ้น ต้องปรับใช้กลยุทธ์ทางการตลาด รวมถึงเรียนรู้การใช้ เคร่อื งมอื เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ อาทิ เว็บไซต์ และ สอ่ื สงั คมออนไลน์ เพอื่ ช่วยเพ่ิมประสิทธภิ าพทางการ จัดการและประชาสมั พนั ธ์ผลติ ภัณฑช์ มุ ชน ทา่ มกลางการแข่งขันของผลติ ภัณฑท์ สี่ งู ทงั้ นี้ควรใช้เครอื่ งมอื ดงั กล่าว เพื่อการประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่เพื่อเน้นขายผลิตภัณฑ์บนช่องทางออนไลน์ เนื่องจากการสร้างเนื้อหาและสร้าง กระบวนการรับรู้ท่ีมปี ระสิทธภิ าพจะชว่ ยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เดินทางเขา้ มาหาสนิ ค้าและยังเป็นการก่อให้เกิด กระบวนการทอ่ งเทีย่ วในชุมชนอยา่ งยง่ั ยืนและนำไปสกู่ ารพฒั นาชอ่ งทางการสรา้ งรายได้อื่นๆ ไดอ้ กี ดว้ ย 3.2 ขอ้ เสนอแนะตอ่ แนวทางการเชือ่ มโยง ผลการดำเนิน จากการดำเนินงานภายใตโ้ ครงการทำใหเ้ ห็นว่าภายในตำบลมีสิ่งท่ีน่าสนใจ และสามารถนำไปขยายผล พัฒนาต่อยอดได้ อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่างๆ ภายในตำบล โดยได้มีการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล สินค้า ทำให้ได้ข้อมูลสินค้า เช่น ลำไยอบแห้งสีทอง ทองม้วน น้ำพริกหนุ่ม จักสานไม้ไผ่ รวมถึงงานด้านภูมิ ปญั หาด้ังเดิมเชน่ การตมี ดี สินค้าเหล่าน้เี กิดขน้ึ โดยฝีมือคนในชมุ ชน เป็นทนุ เดิมของชมุ ชน ซึง่ มคี วามน่าสนใจที่ จะนำไปต่อยอดและขยายให้มีความแปลกใหม่ เพื่อช่วยเพิ่มเอกลักษณ์และจุดเด่นให้กับตัวสินค้า สร้างความ หลากหลาย จนเกิดเปน็ ทางเลือกใหม่สำหรบั การขายสินค้า 3.3 ข้อเสนอแนะตอ่ การปรบั ปรงุ การเรียน การสอน/หลักสูตร เสริมการสอนหลักสูตรการขายสินขายออนไลน์ เนื่องจากกลุ่มวิสาหกิจยังมีความเข้าใจในด้านการขาย สนิ ค้ารูปแบบออนไลน์น้อยและยังไม่มปี ระสบการณ์ จึงควรจะมีการเสริมในเร่ืองของการสอนและอธิบายวิธีการ ขายสนิ ค้าออนไลน์ และการสรา้ งแบรนด์สนิ คา้ ใหก้ บั ทางกล่มุ วิสาหกจิ เพ่ือให้มีความเข้าใจ จนสามารถทำเองได้ ซึ่งการขายสินค้ารูปแบบออนไลน์ในปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในกลุ่มของผู้ค้าที่มีการขายในรูปแบบ ออนไลน์มากขึ้น และกลุ่มลูกค้าที่เลือกการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีความ สะดวกสบายในเรื่องการซื้อ และความง่ายต่อความต้องการ และการเข้าถึงสินค้าสำหรับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ ห่างไกล เชน่ ต่างอำเภอ ตา่ งจงั หวัด เปน็ ต้น 25

บทที่ 4 ภาคผนวก 4.1 ภาพประกอบ 4.1.1) ภาพกิจกรรม กจิ กรรมท่ี 1 กจิ กรรมการปฐมนิเทศน์ กิจกรรมการปฐมนิเทศน์พนักงานโครงการใหม่เพื่อสร้างความเขา้ ใจในลักษณะงาน พรอ้ มท้งั อธิบาย รายละเอยี ดของกลุม่ งานแต่ละกลมุ่ สว่ นงานท่ีต้องรับผิดชอบ รูปภาพกจิ กรรมการปฐมนิเทศน์ 26

กจิ กรรมท่ี 2 กิจกรรม Covid-19 week กิจกรรม Covid-19 week เป็นกิจกรรมเสรมิ สร้างความตระหนักในการดูแลตนเองในระหว่างท่ีเกิดโรค ระบาดขึ้น การลงพื้นที่ทำความสะอาดศูนย์เด็กเล็กตำบลทุ่งสะโตก จัดวางเจลล้างมือตามจุดที่คนในชุมชนไป บ่อยๆ อย่างเช่น ร้านค้าในหมู่บ้าน ตลาดสด โรงเรียน และโรงพยาบาลเสริมสุขภาพตำบล พร้อมกับติดป้าย รณรงคเ์ ก่ยี วกบั การดูแลตัวเองใหป้ ลอดภภยั จากโควดิ ใหต้ ามจุดดังกล่าว รูปภาพกิจกรรมกรรม Covid-19 week 27

กจิ กรรมท่ี 3 กจิ กรรมอบรมการเลีย้ งปูนา กิจกรรมอบรมการเลี้ยงปูนา โดยวิทยากรที่เป็นคนในพื้นที่ นางสาวอัจฉรา จุมภูก๋า เกษตรกรต้นแบบ ทฤษฎีใหม่ ที่มีประสบการณ์การเลี้ยงปูมาหลายปีและได้นำความรู้นี้มาถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนที่สนใจ เพาะเลี้ยงปู การสาธิตวิธีการทำคลอดปู การแยกเพศปู รวมไปถึงการเลี้ยงปูในบอ่ ลักษณะที่ต่างกันออกไป เป็น การแชร์ความร้ใู ห้กับกล่มุ เกษตรกรท่ีสนใจเพาะเลี้ยงปู รูปภาพกิจกรรมอบรมการเลยี้ งปนู า 28

กจิ กรรมท่ี 4 กิจกรรมการแลกเปลยี่ นแนวทางการขยายผลการทำงาน กิจกรรมการแลกเปลี่ยนแนวทางการขยายผลการทำงาน เป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐในชุมชน เทศบาล อสม. และคณะทำงาน โดยในกิจกรรมนี้ได้มีหน่วยงานจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เขา้ ร่วมรบั ฟังแนวทางการขยายผลของโครงการและรับฟังการดำเนินงานที่ผ่านมาของ โครงการ รปู ภาพกิจกรรมการแลกเปลี่ยนแนวทางการขยายผลการทำงาน 29

กิจกรรมที่ 5 กจิ กรรมรายงานผลการดำเนนิ การ กจิ กรรมรายงานผลการดำเนินการ เป็นการรายงานผลการดำเนนิ งานให้กับกลุ่มภาคีเครือข่าย กลุ่มงาน ภาครัฐในชุมชนและนายกเทศบาล ได้เขา้ รว่ มรับฟังผลการดำเนินงานโครงการ่ีผ่านมาวา่ ได้ดำเนินการไปถึงระดับ ไหน ผลลัพธท์ คี่ าดว่าจะไดร้ ับละแนวทางการปฏบิ ตั ิงานต่อไปในอนาคต รปู ภาพกจิ กรรมรายงานผลการดำเนนิ การ 30

กจิ กรรมที่ 6 กิจกรรมพัฒนาสตู รน้ำปู ครั้งท่ี 1 กจิ กรรมพัฒนาสูตรนำ้ ปู ครัง้ ท่ี 1 เปน็ กจิ กรรมเชิงปฏิบตั ิการและการถอดบทเรยี นวิธีการทำน้ำปูจากพ่อ ประทวน สีระแปง เพ่ือเป็นแนวทางในการทำในปูต่อไปในอนาคต การทำกิจกรรมน้ที ำใหร้ ู้ถงึ กระบวนการก่อนที่ จะมาเปน็ นำ้ ปูจะตอ้ งผา่ นกระบวนการใดมาบ้าง รูปภาพกิจกรรมพัฒนาสตู รนำ้ ปู ครงั้ ท่ี 1 31

กจิ กรรมท่ี 7 กิจกรรมพัฒนาสตู รนำ้ ปู ครง้ั ท่ี 2 กิจกรรมพัฒนาสูตรน้ำปู ครั้งที่ 2 กิจกรรมนี้จัดขึ้น ณ บ้านของพ่อเกษม บุญปั๋น ซึ่งเป็นเกษตรกรใน โครงการที่ทำการเลี้ยงปูปลอดสาร หลังจากได้ศึกษากระบวนการทำน้ำปูไปแล้ว ในครั้งนี้จะเป็นการทดลอง ทำน้ำปู โดยปูที่นำมาทำนั้นเป็นปูที่ได้จากการเลี้ยงปูของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและเป็นเกษตรกรที่อยู่ใน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ยึดกระบวนการตามเดิมจากการไปถอดบทเรียนครั้งแรก โดยมีการปรับสูตรน้ำปู ให้เกดิ เอกลักษณ์เฉพาะของน้ำปูที่ได้จากปทู ่เี ลีย้ งเอง รปู ภาพกิจกรรมพฒั นาสตู รน้ำปู คร้ังท่ี 2 32

กิจกรรมท่ี 8 กิจกรรมพฒั นาสตู รนำ้ ปู ครงั้ ที่ 3 กิจกรรมพัฒนาสูตรนำ้ ปู ครั้งที่ 3 กิจกรรมนี้จะเป็นการลงมอื ทำนำ้ ปูต่อยอดจากการพัฒนาน้ำปูครั้งท่ี2 โดยปูที่นำมาทำก็ได้จากบ่อปูที่เกษตรกรในโครงการเป็นคนเพาะเลี้ยงเอง เพื่อให้ได้น้ำปูที่ปลอดสารพิษตาม เปา้ หมายของโครงการ รปู ภาพกิจกรรมพฒั นาสูตรน้ำปู ครงั้ ที่ 3 33

กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมทำเจลแอลกอฮอล์ กิจกรรมทำเจลแอลกอฮอล์ กิจกรรมนีท้ ำร่วมกันระหว่างคณะทำงาน U2T อสม. หมู่บ้าน เทศบาลและ หน่วยงานในชุมชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ลงมือทำและเรียนรู้กระบวนการทำเจลแอลกอฮอล์เพื่อนำไปใช้ ในชวี ติ ประจำวนั รูปภาพกิจกรรมทำเจลแอลกอฮอล์ 34

กิจกรรมท่ี 10 กิจกรรมอบรมทักษะอาชพี กิจกรรมอบรมทักษะอาชีพ กิจกรรมนี้จัดขึ้นที่ห้องประชุมของเทศบาลตำบลทุ่งสะโตก โดยหน่วยงาน ที่มาจัดกิจกรรมก็คือหน่วยงาน กศน. ในพื้นที่ที่นำความรู้และทักษะการประกอบมาอาชีพมาถ่ายทอดให้กับคน ในชุมชน เพ่ือให้เกดิ ทกั ษะการประกอบอาชีพใหม่ๆสร้างอาชีพใหแ้ ก่คนในชุมชน รูปภาพกิจกรรมอบรมทักษะอาชพี 35

กิจกรรมที่ 11 กจิ กรรมสำรวจผลติ ภัณฑ์เด่นในตำบล กิจกรรมสำรวจผลิตภัณฑ์เด่นในตำบล กิจกรรมนี้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยกลุ่มคณะทำงาน U2T วัตถุประสงคเ์ พื่อสรา้ งรายได้ให้กับสินค้าหรือผลิตภณั ฑ์เด่น ๆ ที่ขึ้นชื่อในชุมชนหรือผลติ ภัณฑ์ที่เกิดข้ึนในชุมชน โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์เพือ่ นำไปจำหน่ายในเพจออนไลน์ เป็นการสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับคนใน ชมุ ชนและทำใหส้ นิ คา้ เป็นท่รี ้จู ักมากยง่ิ ขึน้ รูปภาพกิจกรรมสำรวจผลิตภัณฑ์เด่นในตำบล 36

กิจกรรมที่ 12 กิจกรรมศึกษาดูงานแลกเปลีย่ นระหว่างพนื้ ท่ี กิจกรรมที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่ โดยจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สองพื้นที่ด้วยกัน ระหว่าง ตำบลสันมหาพนและตำลบทุ่งสะโตก โดยกิจกรรมนี้จะมีวิทยากรซึ่งเป็นเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปูปลอด สารพิษ เปน็ ผถู้ า่ ยทอดองค์ความรใู้ ห้กบั ผู้เข้ารว่ มกิจกรรมจากตำบลสันมหาพน รูปภาพกจิ กรรมศึกษาดงู านแลกเปลีย่ นระหวา่ งพืน้ ที่ 37

กิจกรรมที่ 13 กิจกรรมศึกษาดงู านแลกเปลีย่ นระหว่างพื้นที่ การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่ โดยทางสมาชิกโครงการ U2T ทุ่งสะโตก เข้าร่วมศึกษาดูงาน และเรียนรู้ ณ ตำบลสันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งกิจกรรมนี้มีวิทยากรซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอด สารพิษ และเป็นสมาชิก U2T สันมหาพน เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากทางสมาชิก โครงการ U2T ทุง่ สะโตก ทำใหก้ ลมุ่ สมาชกิ จากท้ัง 2 โครงการเกิดการแลกเปล่ยี นเรียนรซู้ ึ่งกนั และกัน รปู ภาพกิจกรรมศึกษาดงู านแลกเปลี่ยนระหว่างพืน้ ที่ 38

กิจกรรมที่ 14 กิจกรรมศึกษาดูงานแลกเปลยี่ นระหว่างพนื้ ท่ี กิจกรรมที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่ โดยจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สองพื้นที่ด้วยกัน ระหว่าง ตำบลสันมหาพนและตำลบทุ่งสะโตก โดยกิจกรรมนี้จะมีวิทยากรซึ่งเป็นเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปูปลอด สารพิษ เปน็ ผถู้ า่ ยทอดองคค์ วามรใู้ ห้กบั ผู้เข้ารว่ มกิจกรรมจากตำบลสันมหาพน รูปภาพกจิ กรรมศึกษาดงู านแลกเปลีย่ นระหวา่ งพื้นที่ 39

4.1.2) ฟาร์มเพาะเลีย้ งปปู ลอดสารพิษของกลุ่มวิสาหกจิ ชมุ ชน การเพาะเลย้ี งปูปลอดสารพษิ มที ้งั หมด 7 ฟารม์ ณ หมทู่ ี่ 1 บ้านปา่ จี้ ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสนั ปา่ ตอง ประกอบดว้ ย ฟาร์มที่ 1 นางสาวณฐั นนั ท์ สรุ ิยะ ฟารม์ ที่ 2 นางสาวสมพร สีระแปง ฟารม์ ที่ 3 นางจำปี ก้อนแก้ว ฟาร์มท่ี 4 นายเกษม บุญปนั๋ ฟาร์มที่ 5 นายจรญู วงตา ฟารม์ ท่ี 6 นายดำรง วงตา และ ฟารม์ ท่ี 7 นางระวิวรรณ คำวินจิ โดยรปู ภาพและรายละเอียดของแต่ละฟาร์ม มีดังน้ี ฟาร์มท่ี 1 นางสาวนัฐนันท์ สุรยิ ะ ฟาร์มท่ี 2 นางสาวสมพร สรี ะแปง ฟาร์มท่ี 3 นางจำปี ก้อนแกว้ ฟารม์ ท่ี 4 นายเกษม บุญปนั๋ 40

ฟารม์ ท่ี 5 นายจรญู วงตา ฟาร์มที่ 6 นายดำรง วงตา ฟาร์มท่ี 7 นางระววิ รรณ คำวินจิ 41

4.2 ค่มู อื หรือ สอ่ื ประกอบท่เี กิดขน้ึ จากโครงการ ภายใต้การดำเนนิ โครงการ ไดม้ ีการจดั ทำ ค่มู อื และสือ่ ตา่ งๆ ในการนำเสนอกจิ กรรมและผลงานของทาง โครงการ ดงั น้ี 1) คู่มือการเพาะเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ คู่มือการเพาะเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ ชุดองค์ความรู้ที่จัดทำโดยคณะทำงาน U2T ที่ได้มีการถอด บทเรียนจากการเพาะเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ ที่ทางกลุ่มเกษตรกรได้ทำการเพาะเลี้ยง ซึ่งจะได้เป็นองค์ความรู้ เฉพาะกลุ่มและถ่ายทอดผ่านประสบการณ์การเลยี้ งปตู ัวตนเอง เช่น ลกั ษณะปู การขยายพันธ์ุ การทำคลอด การ แยกบ่อ อาหารเลี้ยงปู ลิงคแ์ ละควิ อาร์โคด้ สำหรับรูปเล่ม “การเล้ียงปนู าแบบปลอดสารพิษ” https://drive.google.com/file/d/1pCkkD_5J9zZZ40ffD83f_JonTyQrxyq/view?usp=sharing 42

2) คู่มอื ผลิตภัณฑ์น้ำปูปลอดสารพษิ เป็นคู่มือเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปูปลอดสารพิษ ที่ทางกลุ่มวิสาหกิจที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการ U2T ได้มี การเพาะเลี้ยงปูปลอดสารพิษจนเกิดเป็นวัตถุดิบปู ที่พร้อมมาทำการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์และอาหารเมนู ต่างๆ ลิงคแ์ ละคิวอารโ์ คด้ สำหรบั รูปเลม่ “ผลิตภณั ฑ์นำ้ ปปู ลอดสารพษิ ” https://drive.google.com/file/d/1P319A_mLZywnTZ2DS3IdwFvQMSGkXDLG/view?usp=sharing 43

3) เลม่ รายงานข้อมลู ทวั่ ไปเกี่ยวกบั ปนู า รูปเล่มรายงานที่จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปูนา ลักษณะทั่วไปของปูนา ความโดดเด่นของปูนา และการต่อยอดเปน็ วตั ถดุ ิบในการปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู ลิงค์และควิ อารโ์ คด้ สำหรบั รูปเลม่ “ปนู าและผลิตภัณฑจ์ ากปูนา” https://drive.google.com/file/d/1KeifiiOjERRYRh8ohEMRZi5BC9ZgE1ZC/view?usp=sharing 44

4) เล่มรายงานการดำเนินการกลุ่มวิสาหกิจในพ้ืนที่ เล่มรายงานนี้จัดทำขึ้นโดยมีเนื้อหาที่เน้นในเรื่องของกลุ่มวิสากิจ ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ การจัดต้ัง กลุ่มวิสาหกิจ หลักการ ขั้นตอนการจัดตั้ง ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมไปถึงการยกตัวอย่างของ กลมุ่ วิสาหกิจภายในตำบลทุ่งสะโตก ลิงค์และคิวอาร์โคด้ สำหรบั รปู เล่ม “การดำเนนิ งานวสิ าหกจิ ชมุ ชน” https://drive.google.com/file/d/1RgGgJKiSj23hLQfnqPHEtVbIoV8jeabq/view?usp=sharing 45


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook