Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความ - จักรวาลทัศน์ในปราสาทบาแค็ง

บทความ - จักรวาลทัศน์ในปราสาทบาแค็ง

Published by kanikl, 2023-06-29 03:16:28

Description: บทความ - จักรวาลทัศน์ในปราสาทบาแค็ง

Keywords: ปราสาทบาแค็ง

Search

Read the Text Version

จกั รวาลทัศน์ในปราสาทบาแค็ง : คติการสรา้ งจากคมั ภรี ท์ างศาสนา พิทักษ์ชยั จตั ุชัย* วัฒนธรรมเขมรโบราณปรากฏงานศิลปกรรมที่มีลักษณะอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มาก ที่สุดคือ “ปราสาท” ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมในรูปแบบศาสนสถานที่แฝงด้วยคติความเชื่อและ อุดมการณ์ทางการเมืองของกษัตริย์เขมรโบราณ นับตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนเมืองพระนคร จวบจนถึง ส้นิ สุดสมัยเมอื งพระนคร ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๒ - ๑๘ แนวคิดเรื่องจักรวาลทัศน์ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ปรากฎนับตั้งแต่มีการสร้างศาสน บรรพตหรือศาสนสถานบนภูเขารัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ โดยมีการสร้างปราสาทที่สร้างขึ้นบน ภูเขาธรรมชาติ และการขนายแนวคิดเรื่องการสร้างปราสาทบนฐานที่เป็นชั้น (ซ้อนชั้น) เพื่อจำลอง เขาไกรลาศหรือเขาพระสุเมรุ แต่อย่างไรก็ดี ปราสาททีม่ ีลักษณะอันโดดเด่นในเรื่องจักรวาลทัศน์ในสถาปัตยกรรมเขมร คือ ปราสาทบาแค็ง ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ตัง้ อยู่บนฐานเป็นชั้นและตัง้ อยู่บนภูเขาธรรมชาติ ซึ่งหากนำ คัมภีร์ทางศาสนาเข้ามาเทียบเคียง ก็อาจจะทำให้สามารถเห็นภาพของคติความเชื่อเรื่องศูนย์กลาง จกั รวาล หรือ “จกั รวาลทศั น์” ทีม่ ากยง่ิ ขึ้น ปราสาทบาแคง็ เมื่อพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ขึ้นครองราชสมบัติใน พ.ศ. ๑๔๓๒ พระองค์ทรงโปรดให้ย้าย เมืองหลวงจากเมอื งหรหิ ราลัย มาตั้งยังราชธานแี หง่ ใหม่ โดยโปรดใหส้ รา้ งปราสาทบาแคง็ บนยอดเขา พนมบาแค็ง ภูเขากลางเมืองทางตอนเหนือของทะเลสาบเขมร เพื่อเป็นศูนย์กลางของราชธานีแห่ง ใหม่ของพระองคท์ เี่ รียกวา่ “เมืองพระนคร” (Angkor Thom) หรือ “ยโศธรปุระ” (Yaśodharesvara) โดยปราสาทหลังนี้มีลักษณะเป็นปราสาทศิลาทรายตั้งอยู่บนฐาน ๕ ชั้น ด้วยแผนผังวงกลมรอบจุด ศูนย์กลาง (แผนผงั แบบกระจายความสำคัญออกจากศูนย์กลาง) ช้นั บนสดุ มฐี านไพทขี นาดเต้ียรองรับ ปราสาท ๕ หลัง ปราสาทหลังกลางมีขนาดใหญ่ที่สุดประดิษฐานยโศธเรศวร และอีก ๔ หลังตั้งอยู่ที่ มมุ ท้งั ส่ี ฐานแต่ละชน้ั มีปราสาทศลิ าทรายขนาดเล็ก ชัน้ ละ ๑๒ หลัง ส่วนพนื้ ดินดา้ นลา่ งมีปราสาทอิฐ * นักศกึ ษาปริญญาเอก รหสั ๖๕๗๒๒๐๐๑๗-๖ สาขาวิจัยวัฒนธรรม ศลิ ปกรรมและการออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่

๒ ๔๔ หลัง โดยทกุ หลงั ประดิษฐานศวิ ลงึ ค์ (รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และศานติ ภักดคี ำ. ๒๕๕๗ : ๘๒) ซ่ึง ถือว่าเป็นการสร้างศาสนบรรพตหรือปราสาทที่ตั้งอยู่บนภูเขาธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นและมี รปู แบบทีช่ ัดเจนท่ีสดุ นอกจากนี้ ในรัชสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ นี้ยังได้สร้างศาสนบรรพตหรือปราสาทท่ี ตั้งอยู่บนภูเขาธรรมชาติขึ้นอีก ๒ หลัง คือ ปราสาทพนมกรอม และปราสาทพนมบก เพื่อแสดงถึง ความศักดสิ์ ิทธิ์ของพระราชอาณาจกั รของพระองค์อีกดว้ ย ซง่ึ นบั ว่าปราสาทบาแค็งเป็นการสร้างสถาปัตยกรรมในรูปแบบของศาสนสถานทีส่ ำคัญข้ึน ในราชธานี ท่ีนอกจากจะใช้เป็นสถานที่สำหรับประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญของอาณาจักรที่สะท้อน ถึงการเปน็ “ปราสาทประจำรัชกาล” ซงึ่ เป็นเสมือนศูนย์กลางของอาณาจกั รตาม “คติเทวราชา” แล้ว ยังแสดงถงึ ความเป็นศูนย์กลางแห่งจกั รวาลตาม “คติจักรวาล” หรอื “จกั รวาลทศั น์” อีกดว้ ย ภาพที่ ๑ ปราสาทบาแค็ง บนยอดเขาพนมบาแคง็ ทีม่ า : หอ้ งสมดุ ศาสตราจารย์ หมอ่ มเจา้ สภุ ัทรดิศ ดิศกลุ . ออนไลน์. ๒๕๖๖. จักรวาลทัศน์ในปราสาทบาแค็ง ปราสาทบาแค็ง นับว่าเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คตใิ นการสรา้ งกบั ทำเลที่ต้ังเป็นสำคัญ โดยยึดถือการสรา้ งปราสาทบนภเู ขาธรรมชาติ เพื่อเสมือนการ จำลองจักรวาลลงมาสู่พื้นโลก ซึ่งในศาสนาฮินดูเชื่อว่า “เขาไกรลาศ” หรือ “เขาเมรุ” อันเป็นท่ี ประทับของพระศิวะ (พระอิศวร) เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู โดยมีลักษณะเป็นภูเขาหินที่ตั้งอยู่

๓ บริเวณกึ่งกลางของจักรวาล (เขาไกรลาศเป็นชื่อยอดเขาในประเทศทิเบต ซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขา ไกรลาส ทางตะวนั ตกเฉียงใตข้ องทิเบต ขนานกับเทอื กเขาหิมาลัย) (เชษฐ์ ติงสัญชลี. ๒๕๖๕ : ๒๑๒ , สำนักงานราชบัณฑติ ยสภา. ๒๕๖๕ : ออนไลน์) มขี อ้ สงั เกตบางประการว่า หากมองปราสาทบาแคง็ จากแตล่ ะด้านกจ็ ะเหน็ เฉพาะปราสาท จำนวน ๓๓ หลัง จึงเชื่อกันว่าปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เปรียบเสมือนดั่งที่ตั้งของสวรรค์ช้ัน ดาวดึงส์อันเป็นท่ีประทับของเทวดา ๓๓ องค์ ซึ่งตรงกับปราสาทท่ีมองเห็นจากแต่ละด้าน (มาแลน จิ โต. ๒๕๕๒ : ๑๒) แต่หากพิจารณาแล้ว การกล่าวถึงคติความเชื่อเรื่องการเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นท่ี ประทับของพระอินทร์ซึ่งเป็นเทพชั้นรองนั้น อาจจะมีความขัดแย้งต่อความเชื่อที่ว่าปราสาทใน วัฒนธรรมเขมรโบราณมีสถานะของการเป็นเขาไกรลาศ อนั เปน็ ท่ปี ระทับของพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดและ เป็นศนู ย์กลางแหง่ จักรวาล หากพิจารณาถึงจักรวาลทัศน์ในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะในคัมภีร์วิษณุปุราณะ ซึ่งเป็น คัมภีร์สำคัญที่มีแนวความคิดว่าด้วยจักรวาลที่มีความเด่นชัดที่สุด โดยได้นำเสนอกรอบความคิดเรื่อง จกั รวาลทศั น์ หรือจักรวาลวทิ ยา ไว้อยา่ งเป็นระบบชดั เจน โดยเรม่ิ ตน้ กล่าวถงึ กำเนิดของจักรวาลและ สรรพสิ่งซึ่งเกิดจากพระวิษณุผู้เป็นเทพสูงสุด โดยการผสมผสานแนวความคิดที่ปรากฏมาก่อนในอดีต ไว้อย่างละเอียด ในส่วนลักษณะของจักรวาลนัน้ คัมภรี ว์ ิษณุปุราณะยังอธบิ ายให้เห็นภาพของจักรวาล ที่อยู่ในรูปแห่งไข่ของพระพรหมาไว้อย่างเป็นระบบ โดยอธิบายให้เห็นภาพของจักรวาลทั้งในส่วน พื้นดิน ท้องฟ้า และพื้นเบื้องล่าง ซึ่งนอกจากคัมภีร์วิษณุปุราณะจะอธิบายให้เห็นถึงขอบเขต และ ภูมิศาสตร์ของจักรวาลในส่วนที่เป็นแผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โดยมีเขาเมรุเป็นศูน ย์กลาง รายลอ้ มด้วยทวีปและมหาสมุทรท้ัง 7 แล้ว คัมภีร์วษิ ณุปรุ าณะยังกลา่ วถึงสว่ นของท้องฟา้ ซึ่งอธิบายถึง ระบบสุริยจักรวาล และสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ อีกทั้งยังกล่าวถึงสภาพใต้ พื้นดินเบื้องล่างอันเป็นบาดาลและนรกไว้ด้วย คัมภีร์วิษณุปุราณะยังกล่าวถึงความเป็นไปของโลกท่ี ดำเนินไปตามลำดับจนกระทง่ั ถงึ กลียคุ อันเป็นยุคสดุ ท้าย และเมอ่ื ส้นิ สุดกลยี ุคการส้ินสุดโลกหรือการ ประลัยจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง จักรวาลถูกทำลายให้กลายเป็นมหาสมุทรเดียว และพร้อมจะเริ่มต้นกำเนิด ขึ้นใหม่อีกครั้งในลักษณะวัฏจักรเดิม ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงกับแผนผังของปราสาทบาแค็ง ก็จะ สามารถอธบิ ายความเปน็ มณฑลแห่งจักรวาลได้อยา่ งชดั เจนทสี่ ุด โดยกำหนดให้ปราสาทบาแค็งเป็น “เขาเมรุ” ที่ตั้งอยู่บนชมพูทวีป ซึ่งเป็น ๑ ใน ๗ ทวีป อันเป็นศูนย์กลางจักรวาล มีความสูง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ กว้าง ๑๖,๐๐๐ โยชน์ ลึก ๑๖,๐๐๐ โยชน์ ดำรงอยู่เหมือนกลีบที่หุ้มห่อดอกบัว โดยมีปราสาทประธานที่ประดิษฐานยโศธเรศวรเป็นที่ประทับ ของพระศิวะ (พระอิศวร) เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู มีภูเขามนฺทร ภูเขาคนฺธมาทน ภูเขาวิปุล และ

๔ ภูเขาสุปารฺศฺว ตั้งเป็นบริวารอยู่ในแต่ละทิศ ซึ่งถูกแทนที่ด้วยปราสาทบริวารที่ตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐาน ไพทีเดยี วกัน ส่วนปราสาทศิลาทรายขนาดเล็ก บนฐานอีก ๕ ชั้น ชั้นละ ๑๒ หลัง น่าจะสร้างขึ้นเพื่อ เป็นสัญลักษณ์ของแนวเทือกเขาลักษณะเหมือนใยบัว กล่าวคือ แนวเทือกเขาทางด้านทิศตะวันออก ได้แก่ ภูเขากรุ รี ภเู ขามาลยฺ วานฺ ภูเขากรุ รี ภูเขากุมนุ ทฺ และภูเขาศตี ามฺภ แนวเทือกเขาทางด้านทิศใต้ ไดแ้ ก่ ภเู ขาตฺริกุฏ ภเู ขาศิศิร ภูเขาปตงคฺ ภเู ขารุจก และภเู ขานิษท แนวเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตก ได้แก่ ภูเขาศิขวิ าส ภูเขาไวฑรู ฺย ภูเขากปิล ภเู ขาคนธมาทน และภูเขาชารธุ ิ และแนวเทือกเขาทางด้าน ทศิ เหนือ ไดแ้ ก่ ภูเขาศงฺขกฏู ภูเขาฤฺษภ ภูเขาหํส ภูเขานาค และภูเขากาลญชฺ ร นอกจากนี้ หากมองภาพรวมทั้งหมดของปราสาทบาแค็ง ก็จะสามารถเข้าใจได้ถึงพื้นท่ี นบั ตง้ั แต่โลกมนุษยจ์ นถึงสรวงสวรรค์ รวมนบั ไดท้ ้ังสิ้น ๗ ช้ัน กล่าวคือ สตยฺ โลก มคี วามหมายถงึ พ้นื โลก ถูกแทนดว้ ยพื้นทภ่ี ายนอกของกำแพงแก้วของ ปราสาท ภุวรฺโลก มีความหมายถึง ดินแดนระหว่างพื้นโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งที่อยู่อาศัย ของเหลา่ พระมุนแี ละนกั สิทธ์ิ ถูกแทนดว้ ยพนื้ ทีภ่ ายในกำแพงแกว้ อันเปน็ ทีต่ งั้ ของปราสาทหลายหลังท่ี ตั้งอยบู่ นพน้ื ดนิ ธรรมชาติ สฺวรฺโลก มีความหมายถึง ดินแดนระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเหนือ ถูกแทนด้วย สว่ นท่เี ปน็ ฐานชนั้ ท่ีหนงึ่ มหรฺโลก มีความหมายถึง ที่อยู่ของเทวดาผู้มีอายุยืนถึงหนึ่งกัลป ถูกแทนด้วย ส่วนทเ่ี ปน็ ฐานชน้ั ท่ีสอง ชนโลก มคี วามหมายถึง สถานที่อยขู่ องบุตรท้ังหลายทีเ่ ปน็ ผ้มู ีใจบรสิ ุทธ์ิ ถูกแทน ดว้ ยสว่ นท่ีเป็นฐานช้นั ทส่ี าม ตโปโลก มีความหมายถึง สถานที่อยู่ของเทพชื่อว่า ไวราช ซึ่งไฟไม่สามารถไหม้ ถึงไดใ้ นคราวทโ่ี ลกต้องไฟบรรลัยกลั ป์ ถกู แทนดว้ ยสว่ นท่ีเป็นฐานช้ันท่ีสี่ สตยฺ โลก มคี วามหมายถึง ดินแดนทไี่ มม่ กี ารตายอีกตอ่ ไปมีช่ือเรยี กว่า พรหมโลก ถกู แทนดว้ ยสว่ นทีเ่ ปน็ ฐานช้นั ทีห่ ้า ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทบาแค็ง เป็นศาสนสถานในสถาปัตยกรรมเขมรที่มี รูปแบบแผนผังสอดคล้องกับจักวาลทัศน์ หรือคติความเชือ่ เรื่องศนู ย์กลางจักรวาลเป็นอยา่ งมาก และ ยังอาจเป็นปราสาททม่ี ีรูปแบบการสร้างตรงตามคัมภรี ท์ างศาสนาที่ชดั เจนทีส่ ุดแหง่ หนงึ่ อกี ด้วย

๕ ภาพท่ี ๒ แผนผังปราสาทบาแค็งแสดงความสัมพันธ์กับคัมภีรว์ ษิ ณปุ รุ าณะ ทมี่ า : ปรับปรงุ จาก สภุ ทั รดิศ ดศิ กลุ . ๒๕๔๗ : ๓๓. บทสรุป การสร้างศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรโบราณ หรือที่เรียกว่า ปราสาท เป็นการสร้างขึ้น เพ่อื ใช้เปน็ สถานทส่ี ำหรับประดิษฐานรูปเคารพทสี่ ำคัญของอาณาจักร เพ่ือเปน็ การจำลองเขาไกรลาศ หรือเขาพระเมรุ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าที่สามารถแสดงถึงความการเป็น ศูนย์กลางจักรวาล ซึ่งปราสาทแต่ละหลังก็จะแสดงสัญลักษณท์ ี่แตกต่างกันออกไปตามความนิยมทาง ศลิ ปกรรมในแตล่ ะยคุ สมัย ปราสาทบาแค็ง ที่ถูกสร้างข้ึนบนเขาพนมบาแค็ง เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งราชธานียโศธรปุ ระ และในขณะเดียวกันก็ยังเป็นสถานท่ีประดิษฐานรูปเคารพประจำราชธานี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดง ถึงการเปน็ ภูเขาศักดส์ิ ทิ ธ์อิ นั เป็นศนู ยก์ ลางจักรวาล ตามคตคิ วามเช่อื ในศาสนาฮนิ ดู นอกจากปราสาทหลังนี้จะตั้งอยู่บนภูเขาธรรมชาติแล้ว ยังเป็นปราสาทที่ตั้งอยู่บนฐาน เป็นชั้น (ฐานซ้อนชั้น) ประกอบกับมีแผนผังวงกลมรอบจุดศูนย์กลาง (แผนผังแบบกระจาย ความสำคัญออกจากศูนย์กลาง) ที่เมื่อนำเอาคัมภีร์วิษณุปุราณะ ซึ่งเป็นคมั ภีร์ที่มีแนวความคิดว่าด้วย จักรวาลทัศน์ไว้อย่างเป็นระบบชัดเจนที่สุดมาพิจารณาเทียบเคียงกับแผนผังของปราสาทหลังนี้ ก็จะ

๖ สามารถอธิบายไดค้ ตกิ ารสรา้ งและการจัดวางตำแหน่งขององคป์ ระกอบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ว่ามีส่วน เกยี่ วข้องกบั คัมภรี ท์ างศาสนา ท้ังน้ี การเทียบเคยี งดงั กล่าวสอดดคล้องกับแนวคิดเรื่อง “ประตพิ ิมพวทิ ยา” (Iconology) ที่มุ่งเน้นการศึกษาประวัติ ความหมายของภาพ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับศาสนาและ วัฒนธรรม อันจะทำให้เราสามารถเข้าใจถึงวิธคี ิดเร่ืองจักรวาลทัศน์ของผู้สร้างทีม่ ีความสัมพันธ์กับคติ ความเชอื่ และคมั ภรี ท์ างศาสนาไดอ้ ยา่ งชดั เจนและใกล้เคยี งที่สดุ บรรณานกุ รม เชษฐ์ ตงิ สญั ชล.ี (๒๕๖๕). ปราสาทในเอเชียตะวนั ออกเฉียงใต.้ กรงุ เทพฯ : มตชิ น. มยรุ ี วรี ะประเสริฐ. (๒๕๔๕). “หลักฐานประวตั ิศาสตรแ์ ละหลักฐานโบราณคดีในประเทศไทย.” ใน สว่าง เลิศฤทธิ์, บรรณาธกิ าร. โบราณคดีและประวัตศิ าสตร์ในประเทศไทย ฉบบั คูม่ ือครู สังคมศึกษา. ๙-๔๙. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรนิ ทรพ์ ริน้ ตงิ้ แอนด์พับลชิ ชง่ิ จำกัด (มหาชน). มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะโบราณคดี. ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์. (๒๕๕๑). ศิลปะในกลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชีย อาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (พิมพ์ประกอบการสัมมนาประวัติศาสตร์ ศิลปะภมู ภิ าคเอเชียอาคเนย์ ระหวา่ งวันท่ี ๒๗ กรกฎาคม – ๒๔ สงิ หาคม ๒๕๕๑). _______. ห้องสมุดศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. (๒๕๖๖). ฐานข้อมูลภาพ ศ า ส ต ร า จ า รย ์ ห ม ่ อ ม เ จ ้ าส ุ ภ ั ท ร ดิ ศ ด ิ ศ ก ุ ล . [ออนไลน์ ]. แหล่งที่มา : http://www.thapra.lib.su.ac.th/supat/slide [๓๐ มีนาคม ๒๕๖๖]. มาแลน จิโต. (๒๕๕๒). ประวตั เิ มอื งพระนครของขอม. หมอ่ มเจ้าสภุ ทั รดิศ ดศิ กลุ ทรงแปล, พิมพ์ ครัง้ ที่ ๔. กรงุ เทพฯ : มตชิ น. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และศานติ ภกั ดคี ำ. (๒๕๕๗). ศลิ ปะเขมร. กรงุ เทพฯ : มตชิ น. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (๒๕๕๑). ปราสาทขอมในดินแดนไทย ความเป็นมาและข้อมูลด้าน ประวตั ศิ าสตรศ์ ิลปะ. พมิ พค์ ร้งั ท่ี ๒. กรุงเทพฯ : มตชิ น. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (๒๕๖๕). ไกรลาส-ไกลาส. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://legacy.orst.go.th/?knowledges=ไกรลาส -ไกลาส -๑๙ -เมษายน -๒๕ [๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕]. สุภัทรดศิ ดศิ กลุ , มจ. (๒๕๔๗). ศิลปะขอม. พิมพ์ครั้งท่ี ๒. กรงุ เทพฯ : อมรนิ ทร์พร้ินติ้งแอนด์พับ ลิชชิ่ง. (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า

๗ โกรดกระหม่อมให้พิมพ์พระราชทาน ในงานพระราชทางเพลิงศพ ศาสตราจารย์ หม่อม เจา้ สภุ ัทรดศิ ดศิ กลุ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอสิ รยิ าภรณ์ วดั เทพศริ ินทราวาส). สุภาพร พลายเล็ก. (๒๕๕๗). การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องจักรวาลวิทยาในคัมภีร์วิษณุปุราณะและ ไตรภูมิพระร่วง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร. สุริยวุฒิ สุขสวัสด์ิ, ม.ร.ว. (๒๕๓๗). ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย : ภูมิหลังทางปัญญา- รูปแบบทางศลิ ปกรรม. กรุงเทพฯ : มตชิ น. อรณุ ศกั ด์ิ กิ่งมณ.ี (๒๕๕๕). ทิพยนยิ ายจากปราสาทหนิ . กรุงเทพฯ : เมอื งโบราณ.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook