เขมรแดง : ทุ่งสงั หารวัดใหม่ เสยี มราฐ กบั ความรู้สึกของชาวกัมพูชารนุ่ ใหม่ เกียรตพิ งศ์ เรืองเกษม1 Kiattiphong Rueangkasem1 1วา่ ท่ี รอ้ ยตรีเกยี รตพิ งศ์ เรืองเกษม นกั ศึกษาปรญิ ญาโท รหสั นกั ศึกษา 655220001 – 7 สาขาวจิ ัยวัฒนธรรม ศลิ ปกรรมและ การออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น 1Acting Sub lt. Kiattiphong Rueangkasem, Department of Culture, Fine Arts and Design Research, Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University ภาพท่ี 1 : กระดกู ผเู้ สยี ชีวิตจากเหตุการณเ์ ขมรแดง กมั พูชาเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน ตงั้ อยู่ทางตอนใตข้ องคาบสมทุ ร พืน้ ทโ่ี ดย ส่วนใหญ่ของประเทศอยูใ่ นเขตทะเลสาบเขมร (Tonle sap Bain) ซ่งึ เปน้ ทะเลสาบทม่ี ขี นาดใหญม่ ีเนื้อท่ีต่อกับ เขตที่ต่ำของลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Lowland) ประเทศกัมพูชามีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อบ้าน คือ ทางภาคตะวันออกแลละทางตะวันออกเฉียงใต้มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเวียดนาม ทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศลาว ทางภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศไทย สว่ นทางภาคตะวนั ตกเฉยี งใต้มีชายฝ่ังตดิ ต่อกบั อ่าวไทย (เขียน ธรี ะวิทย์ และสณุ ยั ผาสุก, 2525) ภายหลัง ค.ศ. 1945 ภาวะสงครามเยน็ และกระแสเรยี กร้องเอกราชจากระบบอาณานคิ นได้ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อพัฒนาการทางการเมืองภายในประเทศของโลกที่สาม กัมพูชาเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยได้มีการก่อตัวของกลุ่ม อุดมการณ์ชาตินิยมต่าง ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการปลดปล่อยประเทศให้เป็นอิสระจากอิทธิพลการครอบงำของ ต่างชาติ (กัญจนว์ ลยั นาชยั สิทธ,ิ์ 2547) ลัทธิเหมามคี วามสำคัญต่อการปฏวิ ตั ิของขบวนการคอมมวิ นสิ ต์ในเอเชียเปน็ อย่างมาก เนื่องจากเหมา เจ๋อ ตง ได้นำอุดมการณ์มาร์ก เลนิน มาปรับใช้กับประเทศในเอเชียซึ่งมีพื้นฐานสังคมเกษตรกรรม กล่าวคือ อุตสาหกรรมเป็นเหตุให้มีชนชั้นกรรมชาชีพมเพิ่มจำนวนมาก ชนชั้นกรรมมาชีพคือผู้ถูกขูดรีดแรงงานและ ผลประโยชน์โดยชนชั้นนายทุนจนทนไม่ไหว ในที่สุดนำมาสู่การลุกฮือขึ้นต่อสู้กับผู้ขูดรีดและยึดอำนาจในการ ปกครองจากผู้ขูดรีด (เขยี น ธรี ะวทิ ย์ และสุณัย ผาสุก, 2525)
เขมรแดง หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” คือ กองกำลังคอมมิวนิสต์ กมั พชู า ทเ่ี คยปกครองราชอาณาจักรกัมพชู า ซ่ึงในขณะนั้นถูกเปล่ียนช่ือเป็นกัมพชู าประชาธิปไตย ตั้งแต่ ค.ศ. 1975 ถึง ค.ศ. 1979 เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ใน กมั พชู า ท่ีต่อมาไดพ้ ัฒนาไปเป็น “พรรคคอมมวิ นสิ ต์กัมพูชา” และ “พรรคกมั พูชาประชาธิปไตย” รปู แบบการ ปกครองของเขมรแดงมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง \"สังคมใหม่\" โดยใช้รากฐานทางอุดมการณท์ ี่เรียกว่า \"อุดมการณ์ ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ\" ที่มีการรักษาเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำ หลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มา บังคบั ให้ทำการเกษตรและใชแ้ รงงานร่วมกันในพ้ืนทชี่ นบท เพือ่ จำแนกประชาชนทีถ่ ือว่าเปน็ \"ศัตรูทางชนชั้น\" ไมว่ า่ จะเปน็ ทหาร ขา้ ราชการ เช้ือพระวงศ์ ผู้มกี ารศึกษา หรือผ้มู วี ิชาชพี เฉพาะในดา้ นตา่ ง ๆ ออกมาเพ่ือขจัด ทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนท่ี เสยี ชีวิตตอ่ จำนวนประชาชนกมั พูชาท้ังหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน ค.ศ. 1975) ถือได้ว่าระบอบ การปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงทีส่ ุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 (สารานุกรมเสร,ี ออนไลน)์ หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน ค.ศ. 1979 อำนาจการปกครองของเขมร แดงก็สิ้นสดุ ลง เนื่องจากการบุกยดึ กัมพชู าของกองกำลังจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม แต่อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการเคลื่อนไหวแบบต่อต้านของเขมรแดง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันตกของกัมพูชา ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ ในราชอาณาจักรไทย ก็ยังคงดำเนินต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 90 จนกระทั่ง ค.ศ. 1996 พล พต หัวหน้า ขบวนการเขมรแดงในขณะนั้น ก็ยุติการทำงานของเขมรแดงลงอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการลงนามใน ข้อตกลงสันติภาพ ทั้งนี้ยังได้รับการช่วยเหลือจากประเทศไทยอีกด้วย พล พต ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1998 โดยที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาคดีสังหารหมู่ประชาชนในช่วงที่เขมรแดงยังมีอำนาจอยู่แต่ อย่างใด เช่นเดียวกันกับตา ม็อก อดีตผู้บัญชาการเขมรแดง ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 ระหว่างการควบคุมตัวจากรัฐบาลกัมพูชาเพ่ือรอพิจารณาคดี ปัจจุบัน มีเพียงคัง เค็ก เอียว (หรือที่รู้จักกันใน ช่ือ “ดุช”) อดตี หัวหน้าคา่ ยกกั กนั ตวล สเลง และนวน เจยี อดตี สมาชิกระดับผนู้ ำเท่านน้ั ทถ่ี กู นำตัวมาพจิ ารณา โทษจากศาลพเิ ศษซงึ่ ตั้งข้ึนเพือ่ พจิ ารณาคดขี องอดตี กลุม่ ผนู้ ำเขมรแดงโดยเฉพาะ (สารานุกรมเสร,ี ออนไลน)์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศกัมพูชาภายใต้ระบอบเขมรแดงระหว่างปี 1975-1979 ถือเป็นการฆ่า ล้างเผ่าพันธุ์ขนานใหญ่ต่อมวลมนุษยชาติที่มุ่งกระทำต่อกลุ่มคน 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 1) ชนกลุ่มน้อยคือชาว จาม ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ชาวเวียดนาม จีน ไทย ลาว และคนพื้นเมืองจาไรยกุยและพะนง 2) พระสงฆ์ และ 3) กล่มุ แขมรก์ รอมหรือเขมรต่ำ เป็นชาวเขมรท่อี ยูใ่ กลช้ ายแดนเวยี ดนาม นอกจากนย้ี ังประกอบด้วยกลุ่ม ผมู้ ีการศกึ ษา และคนช้นั กลางในเมอื ง สง่ ผลให้มีจำนวนผู้เสยี ชีวิตไม่ต่ำกว่า 2 ลา้ นคน หรือจำนวน 1 ใน 4 ของ ประชากรทั้งประเทศ การสังหารโหดครั้งนีไ้ ม่ปรากฏเป็นข่าวในชว่ งกัมพชู าประชาธิปไตยปิดประเทศ กล่าวได้ ว่า มีการฆ่าขนานใหญ่กว่า 20,000 ครั้งและมีทุ่งสังหารมากกว่า 81 แห่ง ทว่าภายหลังที่กองทัพเวียดนามบุก ยดึ กมั พชู าสำเรจ็ ภาพสยองขวัญต่าง ๆ นานา โครงกระดูก กะโหลก ศีรษะจำนวนมหมึ าทับถมเรียงรายไปตาม ทุ่งสังหารจุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้พิสูจน์ให้เห็นความโหดเหี้ยมของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา และสะท้อนถึง ชะตากรรมอนั เลวรา้ ยของคนทถี่ กู ฆ่า ญาติพ่ีนอ้ งของเหยื่อ และผรู้ อดชวี ิต (ศวิ ัช ศรโี ภคางกุล, 2557) วัดใหม่ เสียมราฐ หรือ วัดทเมย (Wat Thmei) ตัง้ อยบู่ นถนนสายหน่ึงทีน่ ำไปสู่นครวัด เป็นหนึ่งในทุ่ง สังหารจาก 81 แห่ง ที่บันทึกประวัติศาสตร์อันน่าเศร้าของประเทศกัมพูชาในช่วงยุคเขมรแดง คำว่า “ทุ่ง สังหาร” ผู้คนมักคุ้นชินกับทุ่งสังหารในกรุงพนมเปญเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพื้นที่เหล่านี้ตั้งอยู่ทั่วประเทศ
กัมพูชา เป็นประสบการณ์ที่น่าเศร้าของชาวกัมพูชา ภายในมีสถูปจตุรมุขที่รวบรวมชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ มากมายที่ถูกสังหารจากเหตุการณ์ในช่วงยุคเขมรแดง นอกจากนี้ยังมีกระดานภาพถ่ายในช่วงเหตุการณ์ ดังกล่าวจัดแสดงพร้อมคำอธิบาย เนื่องจาก S-21 หรือ คุกตวลเสลง (Tuol Sleng) เป็นสถานที่ผู้คนคุ้นเคย และเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงยุคเขมรแดงมากกว่า และมีข้อมูลมากกว่าวัดใหม่ เสียมราฐ จึงทำให้สถานที่นไ้ี มค่ อ่ ยได้รับความนิยมมากนกั (travelfish ออนไลน์.) Lektay phekthra (สัมภาษณ์). นักศึกษาชาวกัมพูชา เล่าว่า “ฉันมีโอกาสเดินทางไปที่วัดใหม่อยู่ บ่อยคร้งั ภายในมีการจัดแสดงกระดูก และภาพถา่ ยจากเหตกุ ารณฆ์ ่าล้างเผา่ พันธ์สุ มยั ของนายพลพอล พต ฉัน มคี วามรู้สึกหดห่เู ป็นอย่างมากที่ไดเ้ หน็ ภาพพ่ีน้องร่วมชาติท่ีต้องมาตายโดยท่ีไม่ได้เก่ยี วข้องอะไรเลย ซ่ึงหน่ึงใน พวกเขาเหล่านั้นอาจจะเปน็ ญาติของฉันก็ได้” เธอเลา่ ต่อว่า “เปน็ เรอื่ งท่ีนา่ แปลกท่ีไม่มีตำราเรียนในประเทศนี้ ที่พูดถึงเรื่องเหตุการณ์นี้เลย ขณะเดียวกันในชั้นเรียนที่ฉันเรียนมาก็ไม่เคยมีการเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน้ี ทั้งที่มันเป็นเหตุการณ์ที่ใหม่และควรเรียนรู้มัน แต่นอกห้องเรียนแล้วคนกลับพูดถึงเหตุการณ์นี้อย่างมากมาย และเป็นเรื่องที่คนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นจะนำเรื่องราวความโหดร้ายที่เกิดขึ้นมาเล่าให้คนรุ่นหลังฟัง” ขณะที่ Koreum Deab (สัมภาษณ)์ . ซ่ึงเป็นเจ้าหน้าทเี่ กบ็ ค่าเข้าชม เล่าวา่ “วัดใหมน่ สี้ ร้างมาตงั้ แตส่ มัยเขมรแดง ของ นายพลพอล พต ในปี ค.ศ. 1993 มีการจัดระเบียบประเทศกัมพูชา ได้มีการนำเอากระดูกของผู้เสียชีวิตจาก เหตุการณ์เขมรแดง ของนายพลพอล พต มารวบรวมไว้ในบริเวณสถานท่วี ัดใหม่ เสียมราฐ ซึ่งถือเป็นหน่ึงในทุ่ง สังหารสมัยเขมรแดง” ในมุมมองของ Koreum Deab เมื่อได้เห็นกองกระดูกเหล่านี้ เธอเล่าว่า “ฉันมี ความรู้สึกเสียดายผู้คนที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไรที่ต้องมาตาย และรู้สึกเศร้ามาก ถ้าหากเป็นฉันที่อยู่ในเหตุการณ์คง รู้สึกทรมาณมากแน่ ๆ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ยังทำให้ฉนั และชาวกัมพูชาเองรูส้ กึ กลัวคำว่าสงครามเป็นอย่าง มาก เพราะที่กมั พูชาความเจ็บปวดเดียวทีย่ งั ฝังใจประชาชนคือเหตุการณ์เขมรแดง” สรุป จากการรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์ จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทุ่งสังหาร ท่ี เกิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1975 – 1979 นั้นมีทุ่งสังหารมากกว่า 81 แห่ง และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว กว่า 3,000,000 คน เป็นเหตุการณ์ที่ยังสร้างความหวาดกลัวและฝังลึกในจิตใจของประชาชนชาวกัมพูชา ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะผ่านมาแล้วกว่า 30 ปีก็ตาม และเหตุการณ์ดังกล่าวยังคงส่งต่อความปวดร้าว ความหดหู่ และเศรา้ สลดผา่ นมาถึงยงั คนกมั พูชารนุ่ ใหมอ่ ีกดว้ ย ภาพท่ี 2 : ภาพเหลา่ ผู้นำเขมรแดง ภาพท่ี : ภาพ TA MOK าผนู้ ำเขมรแดง ภาพที่ 4 : ภาพคุกตวลเสลง ภาพท่ี 5 : ภาพผู้นำเขมรแดงและแรงงาน ภาพที่ 6 : ภาพโครงกระดกู ผูเ้ สยี ชวี ติ จาก ภาพที่ 7 : ภาพคณะศกึ ษาดงู านของผู้ศึกษา ที่ถกู เกณฑ์มาใช้แรงงานสร้าง เหตกุ ารณเ์ ขมรแดง ทีจ่ ัดแสดง ทางรถไฟ ภายในพพิ ิธภัณฑว์ ดั ใหม่ เสียมราฐ
บรรณานกุ รม กญั จน์วลยั นาชยั สิทธิ.์ 2547. ขบวนการคอมมิวนสิ ตก์ ัมพูชา ค.ศ. 1963 – 1979. สารนิพนธ์. กรุงเทพฯ. : มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร. เขียน ธรี ะวิทย์ และสณุ ยั ผาสุก. 2525. กมั พูชา ประวัตศิ าสตร์ สังคม เศรษฐกิจความมั่นคง และการ ตา่ งประเทศ. กรงุ เทพฯ. : สถาบนั เอเชียศกึ ษา จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศวิ ัช ศรโี ภคางกลุ . 2557. ความตายทถ่ี ูกทำให้เปน็ สินค้า : การทำงานของพพิ ิธภณั ฑฆ์ ่าลา้ งเผ่าพันธ์ุและท่งุ สงั หารผา่ นความปรองดองในประเทศกัมพูชา. บทความวิชาการ. ขอนแก่น : มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ . สารานกุ รมเสร.ี 2566. เขมรแดง. ออนไลน์. เข้าถึงจาก. https://th.wikipedia.org/wiki/เขมรแดง เขา้ ถึง เมอื่ . 29/03/2566. Koreum Deab. 2565. สัมภาษณเ์ ม่ือ 27/12/2565. Lektay phekthra. 2565. สมั ภาษณ์เม่ือ 27/12/2565. Travelfish. 2566. Wat Thmei. ออนไลน์. เข้าถึงจาก. https://www.travelfish.org/sight_profile/cambodia/western_cambodia/siem_reap/siem _reap/ เข้าถงึ เม่ือ 29/03/2566.
Search
Read the Text Version
- 1 - 4
Pages: