Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore “ผญา” มีหรือไม่ อยู่ที่ไหนในฮูปแต้ม สิมภาคอีสาน

“ผญา” มีหรือไม่ อยู่ที่ไหนในฮูปแต้ม สิมภาคอีสาน

Published by kanikl, 2020-07-08 21:55:36

Description: บทความ : “ผญา” มีหรือไม่ อยู่ที่ไหนในฮูปแต้ม สิมภาคอีสาน

Keywords: ผญา,สิม,อีสาน

Search

Read the Text Version

1 “ผญา” มหี รือไม่ อย่ทู ไ่ี หนในฮปู แต้ม สิมภาคอสี าน เฉลมิ พล แสงแกว้ 1 รหสั นกั ศึกษา 617220002-5 “สิม” เป็นคาที่คนโบราณภาคอสี านเรียกพระอุโบสถ ในภาษาไทยภาคกลาง ซ่ึงคาว่า สิม มาจาก คาว่า “สีมา” หรือ “เสมา” หมายถึง หลักเขตการทาสังฆกรรมหรือสถานท่ีใช้ประชุมทาสังฆกรรม ของพระสงฆ์ เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท เป็นต้น สีมาที่ปักเขตพระอุโบสถสาหรับทาพิธีสงฆ์ เรียกวา่ พัทธสมี า สว่ นสีมาทสี่ งฆไ์ มไ่ ดป้ กั เขตและมไิ ดก้ ระทาพธิ กี รรม เรียกว่า อพัทธสีมา พระอุโบสถมีใบ เสมาเปน็ สิ่งแสดงทหี่ มายนมิ ิตลอ้ มรอบตัวอาคาร 8 จุด เพ่ือกาหนดเขตวิสุงคามสีมา เขตสังฆกรรมภายใน องค์พัทธสีมาถือว่าศักด์ิสิทธิ์ ในอดีตจะถือกันเคร่งครัดห้ามสตรีเข้าไปในเขตน้ันเด็ดขาด ถือว่า “ขะลา” เป็นส่ิงไม่ควรทา แม้ในเวลาบวชภิกษุสามเณรที่กระทากันในสิม เม่ือจะถวายบาตร จีวร จะต้องออกมา ถวายตรงบรเิ วณมขุ ท่ียื่นออกมาทเี่ ปน็ บริเวณภายนอกทปี่ ักใบเสมา (ไพโรจน์ สโมสร, 2532) วิโรฒ ศรีสุโร (2536) ได้แบ่งสิมในภาคอีสานออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ ตามการใช้สอย คือ สิมน้า (อุทกกเขปสีมา) และสิมบก ซึ่งสิมบกสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. ชนิดสิมโปร่ง หรือสิมโถง ซึ่งยังสามารถแยกออกได้อีก 2 ประเภทดังนี้ คือ 1.1) สิมโปร่งพื้นบ้านบริสุทธ์ิ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบไม่มีเสารับปีกนกและแบบมีเสารับปีกนก 1.2) สิมโปร่งพื้นบ้านประยุกต์โดยช่างพ้ืนบ้าน (รนุ่ หลัง) 2. ชนิดสมิ ทบึ แยกออกได้เปน็ 4 ประเภท ดงั นี้ 2.1) สมิ ทึบพ้นื บา้ นบริสุทธ์ิ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คอื สร้างด้วยไม้และสร้างด้วยอิฐถือปูนซ่ึงก็ยังแบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบไม่มีเสารับปีกนก และแบบมีเสารับ ปีกนก 2.2) สิมทึบพ้ืนบ้านประยุกต์โดย ช่างพื้นบ้าน(รุ่นหลัง) ซึ่งแบ่งตามช่างท่ี ทา ได้ 2 แบบ คือ ใช้ช่างพ้ืนบ้านไท- อีสาน และใช้ช่างญวนหรือรับอิทธิพล ช่างญวน ซึ่งก็ยังแบ่งเป็น 4 แบบ คือ แบบไม่มีมุขหน้า แบบมีมุขหน้า แบบมี มุขหน้าและมุขหลัง และแบบมีระเบียง รอบ 2.3) สิมทึบพื้นบ้านผสมเมืองหลวง (กรุงเทพฯ) 2.4) สิมทึบท่ีลอกเลียน ภาพท่ี 1 สิมวัดปา่ เรไร บ้านหนองพอก ต.ดงบงั อ.นาดูน เมอื งหลวง(กรงุ เทพฯ) จ.มหาสารคาม ซึง่ เปน็ สิมทบึ พืน้ บา้ นบริสุทธิ์ แบบมีเสารบั ปีกนก จากการแบ่งประเภทของสิม ออกเป็นประเภทต่างๆ ของอาจารย์วิโรฒ ศรีสุโร นั้น จะเห็นได้ว่า เป็นการแบ่งตามโครงสร้างตัวสิม แบ่งตามวัสดุที่ใช้สร้าง แบ่งตามช่างท่ีทา และแบ่งตามศิลปะที่ปรากฏ 1 นกั ศกึ ษาหลกั สตู รปรัชญาดุษฎบี ณั ฑติ สาขาวิชาวัฒนธรรม ศลิ ปกรรม และการออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

2 ในตัวสิม ซึ่งในตัวสิมแบบท่ีเป็นสิมทึบมีการก่อผนังนี้เอง ได้ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งในพ้ืนถิ่น ภาคอีสาน เรียกว่า “ฮูปแต้ม” ซ่ึงอาจารย์ไพโรจน์ สโมสร ได้กล่าวถึงความเชื่อมโยงของสิมและฮูปแต้ม ไว้ว่า สิมก่อผนังเป็นสิมท่ีปรากฏฮูปแต้ม เพราะเป็นสิมแบบเดียวท่ีมีเนื้อท่ีของผนังเหมาะสมสาหรับการ เขยี นภาพมากท่ีสุด ช่างแต้มอีสานนิยมเขียนภาพบนผนังท้ังภายในและภายนอกท้ังส่ีด้าน โดยเฉพาะผนัง ด้านนอกถือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถ่ินอีสาน ภาพจิตรกรรมฝาผนังหรือฮูปแต้ม เป็นงานศิลปกรรมที่มี คุณค่า บอกความเป็นมาของชาติและชุมชน ผ่านการเขียนเป็นรูป จารึกเป็นตัวอักษร ดังท่ีพบในถ้าหรือ หน้าผา เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง การแต้มฮูปจึงปรากฏบนผนังโบสถ์( สิม) ศาลาการเปรียญ (หอแจก) ทุง(ธง) เปน็ ตน้ ท้ังทีเ่ ขียนบนฝนังภายในและภายนอกสมิ บุรินทร์ เปล่งดีสกุล (2554) ได้ศึกษาพัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังอีสาน กรณีศึกษาจังหวัด ขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด ในด้านวรรณกรรมท่ีปรากฏในจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมที่เขียนก่อนปี 2500 พบวรรณกรรม กลุ่มเร่ืองราวทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ พระมาลัย ไตรภูมิ ทศชาติชาดก พระเวสสันดรชาดก อรรถกถาชาดก ปริศนาธรรม และกลุ่มวรรณกรรมท้องถ่ิน ได้แก่ สินไซ พระลักพระลาม ท้าวปาจินต์นางอรพิมพ์ ในส่วนของจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนหลังปี พ.ศ. 2500 พบกลุ่มวรรณกรรมทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ พระมาลัย พระเวสสันดรชาดก ทศชาติชาดก และประวัตชิ ุมชน ฮตี สิบสอง ไมพ่ บวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน ภาพท่ี 2 ฮูปแตม้ ผนงั ดา้ นในสิมวดั สนวนวารพี ัฒนาราม ภาพที่ 3 ฮูปแตม้ ผนังดา้ นนอกสมิ วัดสระบัวแก้ว บ. หวั หนอง ต.หวั หนอง อ.บา้ นไผ่ จ.ขอนแก่น บ. วังคูณ ต.หนองเมก็ อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแกน่ เป็นวรรณกรรมทางศาสนา เร่ืองพระเวสสนั ดรชาดก เป็นวรรณกรรมท้องถิน่ เรื่องพระพระลักพระลาม ซึ่งสอดคล้องกับ สานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (2551) ที่ได้อธิบายว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นงานศิลปกรรมท่ีมีคุณค่า บอกความเป็นมาของชาติและชุมชน ผ่านการเขียนเป็นรูป จารึกเป็นตัวอักษร ซึ่งในภาคอีสานเรียกภาพจิตกรรมฝาผนังว่า “ฮูปแต้ม” ซ่ึงยุค ก่อนประวัติศาสตร์ จะพบในถ้าหรือหน้าผา เม่ือพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง การแต้มฮูปจึงปรากฏ

3 บนผนังโบสถ์ (สิม) ศาลาการเปรียญ (หอแจก) ทุง (ธง) เป็นต้น ฮูปแต้มท่ีเขียนบนผนังปูนทั้งภายในและ ภายนอกสิม บรรยายเร่ืองราวต่างๆ ซ่ึงแบ่งได้เป็นสามส่วนใหญ่ คือ ส่วนท่ีหนึ่ง เขียนเร่ืองราวเกี่ยวกับ พุทธศาสนา เรื่องที่นิยมมากท่ีสุดคือเวสสันดรชาดก ส่วนท่ีสอง คือ นิทานและวรรณกรรมท้องถ่ิน เช่น พระลัก-พระลาม ปาจิตต์-อรพิน กาละเกด สินไซ ส่วนใหญ่เป็นเร่ืองราวในบางตอนของนิทาน มีตัวอักษรธรรมอีสานและอักษรไทยน้อย อธิบายกากับอยู่เป็นบางตอน ด้านในของสิมเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป ก็เขียนฮูปแต้มไว้บนผนังเช่นเดียวกัน โดยเขียนเร่ืองราวพุทธประวัติ รูปพระพุทธเจ้า พระสาวก เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่สาม เป็นภาพนิทาน และลวดลายภาพแบบต่างๆ ผนังภายนอกด้านหลัง ส่วนหน่ึง เขียนเร่ืองราวของนรก แทรกกับ การละเล่นพ้ืนบ้าน เช่น หัวล้านชนกัน นอกจากนี้ยังเขียนเร่ืองราวเกี่ยวกับวิถีชีวิต ชาวบ้าน เป็นภาพงานบุญประเพณีต่างๆ เชน่ ประเพณีหดสงฆ์ (พิธีเถราภิเษก) บุญผะ เหวด (เวสสันดร) การรักษาโรค การค้าขาย การทามาหากิน ปรศิ นาธรรม เชน่ “หาบซ้าง ซาแมว” เป็นต้น เป็นต้น จาก “หาบซ้าง ซาแมว” ท่ีเป็นปริศนาธรรม เป็นภาษิตที่มัก ภาพท่ี 4 ฮูปแต้ม สิมวดั โพธาราม ต.ดงบงั อ.นาดูน ได้ยินคนภาคอีสานพูดกันโดยเฉพาะคนเฒ่า จ. มหาสารคาม เป็นเรอื่ งราววิถีชวี ติ การทามาหากิน คนแก่ ทาให้ผู้เขียน สงสัยว่า “ผญา” มีหรอื ไม่ อยู่ทไี่ หนในฮูปแต้ม สมิ ภาคอสี าน วรรณกรรมท่ีปรากฏในภาคอีสานน้ันจัดเป็นวรรณกรรมชาวบ้าน มีวัดในหมู่บ้านเป็นแหล่งเก็บ รวบรวมรักษา อนุรักษ์และเผยแพร่ ธวัช ปุณโณทก (2544) ได้จาแนกวรรณกรรมภาคอีสานไว้ 5 กลุ่ม ดังนี้ คือ 1) วรรณกรรมท่ีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เป็นนิทานคติธรรม ทั้งที่เป็นชาดกและตานาน เช่น ลามหาซาติ ท้าวสีทน เสียวสวาสด์ิ อุรังคนิทาน พุทธทานาย เป็นต้น 2) วรรณกรรมท่ีเก่ียวกับ ประวัติศาสตร์ จะเป็นประวัตินักรบ และตานานการสร้างบ้านแปลงเมือง เช่น ท้าวฮุ่งท้าวเจือง พื้นเวียงจันทน์ ขุนบลม เป็นต้น 3) วรรณกรรมเกี่ยวกับคติธรรม เช่น ท้าวคาสอน ปู่สอนหลาน ลึบบ่สูญ ยา่ สอนหลาน อินทญิ าณสอนลกู เป็นตน้ 4) วรรณกรรมเกี่ยวกับนิทาน เช่น ไก่แก้ว นางผมหอม จาปาส่ีต้น สินไซ ขุนลูนางอ้ัว ผาแดงนางไอ่ เป็นต้น และ 5) วรรณกรรมปลีกย่อยอื่น ๆ เช่น บทสูดขวัญ คาสอย โตงโตย ยาบส่วง คาเซ้ิง และคาผะหยา เปน็ ต้น จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า ผญาเป็นวรรณกรรมภาคอีสานประเภทหน่ึง เป็นคาพูดท่ีไพเราะ กินใจ ให้การสั่งสอน ซึ่งประเทือง คล้ายสุบรรณ์ (2528) ได้อธิบายความหมายของผญาไว้ว่า “ผญา”

4 คือ สานวนการพูดอย่างหนึ่งของชาวอีสานท่ีเป็นคาคมให้แง่คิด มีความหมายเชิงเปรียบเทียบใช้คา อุปมาอุปไมย มีความหมายชัดเจน หลักแหลมลึกซ้ึง เป็นคติสอนใจคนให้ประพฤติดีเป็นที่ยอมรับ ของสังคม ซึง่ เก่ียวเน่อื งกบั วิถชี วี ติ สงั คม และวฒั นธรรมของภาคอีสาน โดยจารุวรรณ ธรรมวัตร (2525) ได้อธิบายภาพชีวิตจากผญา และผญากับวัฒนธรรมท่ีเก่ียวข้องไว้ในหนังสือ ผญาบทกวีของชาวบ้านว่า ภาพชีวติ ของคนอีสานที่สะท้อนผ่านผญาน้ันประกอบด้วย ระบบครอบครัว สภาพความเป็นอยู่และอาชีพ วัฒนธรรมในการบริโภคและระบบค่านิยม และวัฒนธรรมท่ีเก่ียวข้องกับผญาน้ัน มีประเพณีลงข่วง ประเพณีลงครกกระเดื่องตาข้าว ประเพณีลงแขก ประเพณีการอ่านหนังสือผูก และประเพณีการเล่น หมอลา ซ่ึงคนอีสานจะพูดและใช้ผญาในประเพณีเหล่าน้ี เพื่อเพ่ิมสีสันในการพูดให้มีความไพเราะ น่าสนใจ และความสนุกสนานในการสื่อสารกัน รวมไปถึงให้มีการคิดตาม มีความคิดท่ีละมุนละม่อม ไม่รุนแรง จึงใช้ผญาสั่งสอนกันในระบบสังคม ผู้ท่ีใช้และพูดผญาได้รวดเร็วฉับไว แสดงถึงความมีปฏิภาณ เฉลยี วฉลาด ชาวอสี านจงึ นิยมและใชก้ นั อย่างแพรห่ ลายในอดีต จากการศึกษาฮูปแต้มในสิมภาคอีสานของนักวิชาการก็มีผลการศึกษาว่า วรรณกรรมที่ปรากฏ ในฮูปแต้ม เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และวรรณกรรมท้องถ่ิน ซ่ึงมีความสอดคล้องกัน เมอ่ื ฮูปแต้มปรากฏวรรณกรรมทอ้ งถ่ิน มีภาพเร่ืองราววิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี เช่น ภาพการทานา ภาพการปั่นฝ้ายทอดผ้า ภาพปริศนาธรรม จึงน่าจะเช่ือได้ว่าผญามีอยู่ในฮูปแต้มในสิมภาคอีสาน ถึงจะไม่ได้เขียนผญาไว้เป็นตัวอักษรโดยตรงก็ตา ม โดยเฉพาะฮูปแต้ม “หาบซ้าง ซาแมว” วัดยางทวงวราราม บ้านยาง ตาบลบ้านยาง อาเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม คงจะยืนยันและตอบ คาถามไดเ้ ป็นอยา่ งดี เนื่องจากปรากฏภาพปรศิ นาธรรม ฮูปแต้มของคนกาลังหาบช้างกับแมว ภาพท่ี 5 ฮูปแตม้ ปรศิ นาธรรม “หาบซ้าง ซาแมว” วัดยางทวงวราราม บ้านยาง ต.บา้ นยาง อ.บรบอื จ.มหาสารคาม

5 ซง่ึ “หาบซ้าง ซาแมว” (ซ้าง = ชา้ ง, ซา = คกู่ นั ของท่ีหาบอยู่คนละข้าง) น้ี อุดม บัวศรี (2540) ได้อธบิ ายไวใ้ นหนังสือ “ผญากอ้ ม : ปรัชญาชวี ติ อีสาน” ว่ามคี วามหมาย คอื การหาบท่ีดีของสองส่ิงท่ีหาบ จะต้องมีน้าหนักเท่ากัน จึงจะหาบได้ดี หาบได้ไกล ไม่เหน่ือย และทรงตัวได้ดี หากหาบของท่ีมีน้าหนัก ต่างกัน จะทาให้ทรงตัวไม่ได้ แพ้แรงตัวเอง เหมือนกับคนจะทาอะไรต้องคิดให้ดี ให้เหมาะสมกับสภาพ ของตนเอง ให้ช่ังน้าหนักให้ดีว่า ถ้าเราลงทุนเท่านี้แล้ว จะมีกาไรเท่าใด ให้ชั่งได้ชั่งเสียให้ดีก่อนแล้วลงมือ ทา ซึ่งเป็นการให้ความหมายทางคดีโลก ในส่วนของความหมายทางคดีธรรมน้ัน สุทธวรรณ บีเวอ และคณะ (2561) ไดอ้ ธบิ ายไว้ 2 ความหมาย ดังนี้ ความหมายแรก ท่านกล่าวถึงบุญและบาป น้าหนักช้าง เปรียบดั่งบุญ ทามากขนาดไหนก็ไม่หนัก แม้ช้างตัวโตแต่กลับมีน้าหนักเท่ากับแมว ก็คือ ความเบาสบาย ของใจ ในขณะทห่ี ากทาบาป เปรียบดง่ั นา้ หนกั ของแมวแม้เพียงนดิ เดียวแต่ความทุกข์ร้อนกลับหนักเท่ากับ นา้ หนักของชา้ งตวั ใหญเ่ ลยทเี ดยี ว ความหมายท่ีสอง หากเปรยี บว่า ช้าง หมายถึง รูป และ แมว หมายถึง นาม ถ้าแสวงหาแต่รูป ไม่สนใจความดี ช้างก็จะหนักกว่าแมวหรือเป็นวัตถุนิยมสุดโต่ง ขณะเดียวกันหาก ถอื ความคดิ ตนเปน็ ใหญ่ แมวก็หนักกว่าช้าง การหาบสิ่งของที่ ไม่สมดุลกัน คนหาบหรือตัวเองก็เดินต่อไปได้ยากไม่สบายนัก แต่เมื่อแสวงหาเพียงปัจจัย 4 อย่างเหมาะสม มีสัมมาอาชีวะ ไมเ่ บียดเบียนเดือดร้อนผู้อื่น เหลือก็จุนเจือให้ผู้อ่ืน เป็นท้ังผู้มี ปัญญาและความเพียร มีสติสมาธิแน่วแน่ ถ้าทาได้อย่างน้ี ร่างกายและจิตใจก็จะเกิดสมดุล เกิดพอเพียงเป็นทางสาย กลาง น้าหนักช้างก็จะเท่ากับแมว หาบได้สบาย เดินทาง ต่อไปได้สะดวก โดยความหมายดังกล่าวได้มาจากการ สั ม ภ า ษ ณ์ พ ร ะ ม ห า เ ก รี ย ง ศั ก ดิ์ โ ส ภ า กุ ล ด ร . (ธรรมวิจาโร) วัดโพธ์ิบ้านโนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งวัดโพธ์ิน้ี ก็มีงานศิลปะที่เป็นประติมากรรมประเภทนูนต่า “หาบซา้ ง ซาแมว” ดว้ ยเชน่ กัน ดังน้ัน เม่ือวรรณกรรมที่ปรากฏในฮูปแต้ม ในสิมภาคอีสาน เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และวรรณกรรมท้องถิ่น ซึ่งวรรณกรรมท้องถ่ินส่วนหน่ึง เป็นตานาน นิทาน ปริศนาธรรม โดยเฉพาะ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสาน ช่างแต้มฮูปพ้ืนบ้านภาคอีสานได้ถ่ายทอดผ่านผนังของสิมภาคอีสานไว้ เป็นเร่ืองราวของนิทาน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และภาพปริศนาธรรม โดยภาพปริศนาธรรมน้ีเอง ได้ถ่ายทอด “ผญา” ซึ่งเป็นปรัชญาการดาเนินชีวิตอันล้าค่าของคนภาคอีสาน จึงสามารถสรุปได้ว่า สมิ ภาคอสี านมผี ญาและผญาปรากฏอยใู่ นฮูปแตม้

6 เอกสารอา้ งองิ จารวุ รรณ ธรรมวตั ร. (2525). ผญาบทกวีของชาวบา้ น. กาฬสินธ์ุ: จินตภัณฑก์ ารพิมพ์. ธวชั ปุณโณทก. (2544). การวจิ ัยเรือ่ งไทยศึกษาและวรรณกรรมทอ้ งถนิ่ อีสาน. ธรรมทรรศน์ 2,1 (มีนาคม-มิถนุ ายน): 43-46. บรุ นิ ทร์ เปลง่ ดีสกลุ . (2554). พฒั นาการของจติ รกรรมฝาผนังอสี าน กรณศี กึ ษาจงั หวัดขอนแก่น จงั หวดั มหาสารคาม และจงั หวดั ร้อยเอ็ด. คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น. ประเทือง คล้ายสุบรรณ.์ (2528). ผะหยาในวรรณกรรมท้องถ่ิน.กรงุ เทพมหานคร : สุทธสิ ารการพิมพ์. ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนงั อีสาน. กรงุ เทพฯ: อมั รินทร์ปรนิ้ ต้ิง กรุ๊ป จากดั . วิโรฒ ศรีสโุ ร. (2536). สิมอีสาน. กรงุ เทพมหานคร: บริษัท เมฆาเพลส จากัด. สุทธวรรณ บเี วอ และคณะ. (2561). ศลิ ปะโดยรอบอาคารโพธสิ ารคุณ วดั โพธบ์ิ า้ นโนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น. [ออนไลน์]. สืบคน้ 18 ธนั วาคม 2561 เขา้ ถงึ ได้จาก : https://www.isaninsight.com. สานักศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2551). โครงการอนรุ ักษภ์ าพจติ กรรม ฝาผนงั (ฮูปแต้ม) ในจังหวดั มหาสารคาม. มหาสารคาม : โรงพมิ พส์ ารคามการพิมพ์ -สารคามเปเปอร์. อุดม บวั ศรี. (2540). ผญากอ้ มปรัชญาชีวิตอีสาน. ขอนแกน่ : โรงพมิ พ์พระธรรมขนั ต์.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook