Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โอกาสการเกี่ยวพาราสีของหนุ่มสาว ที่ปรากฏในฮูปแต้มอีสาน

โอกาสการเกี่ยวพาราสีของหนุ่มสาว ที่ปรากฏในฮูปแต้มอีสาน

Published by kanikl, 2020-08-02 23:29:43

Description: บทความโอกาสการเกี่ยวพาราสีของหนุ่มสาว ที่ปรากฏในฮูปแต้มอีสาน

Keywords: ฮูปแต้มอีสาน

Search

Read the Text Version

โอกาสการเกย้ี วพาราสีของหนุ่มสาวที่ปรากฏในฮปู แตม้ สิมอสี าน The Chance of Carting of Youth that Appeared in Mural Painting at Northeast Buddhist Holy Temple บญุ จันทร์ เพชรเมอื งเลย บทคัดยอ่ โอกาสการเกย้ี วพาราสีของหนมุ่ สาวทีป่ รากฏในฮูปแต้มสิมอีสาน ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏฮูปแต้ม การเกี้ยวพาราสีของหนมุ่ สาวตามประเพณีอยู่ 3 แบบ คือ 1) ประเพณลี งครกกระเดื่องตาข้าว 2) ประเพณีการ ลงขว่ งเขญ็ ฝ้าย และ 3ประเพณีการฟอ้ นและการลาในขบวนแห่ ซ่งึ ท้ัง 3 ประเพณีน้ีล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ ให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสใกล้ชิดพูดคุยกันเพื่อแสวงหาคู่ครองท่ีตนพึงพอใจถึงคุณสมบัติที่เป็นค่านิยมของคน อสี าน คอื “ขยนั ทางาน” และจดุ ประสงค์ดา้ นอืน่ ๆ ตามแต่ความชอบพอของหนมุ่ สาว จากการท่ีช่างแต้มได้แต้มฮูปการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวไว้ในสิมอีสานทั้งน้ีอาจเป็นเพราะว่า ประเพณีฮีตสบิ สองของอสี านนั้นเข้มแข็ง ทกุ คนให้ความเคารพยาเกรงจึงสามารถนาไปใช้ปฏิบัติได้จริงในการ ดารงชีวิตและสร้างความสงบสุขให้แก่คนในสังคมอีสาน จึงทาให้ช่างแต้มได้บรรจงเลือกสรรตาแหน่งเพ่ือจะ แทรกรูปภาพการเกี้ยวพาราสีนี้ลงบนฝาผนังของสิม เพ่ือแสดงให้เห็นถึงการดารงเผ่าพันธ์ุของชาวอีสานสืบ ตอ่ ไป คาสาคญั : การเก้ียวพาราสี, หนุ่มสาวอสี าน, ฮูปแตม้ ,สมิ อสี าน ABSTRACT The chance of courting of youth that appeared in mural painting at northeast Buddhist holy temple found that 3 kinds: 1) The mortar tradition. 2) The meeting of spin cotton thread tradition. 3) Dancing and I-San song in processing tradition. All the purposes that gave a chance to the youth to talk to each other for finding their mates. The person that the youth wanted to marriage is diligent person. The reason that the artist painted the mural painting at Sim I-San (Northeast Buddhist Holy Temple) because the 12 traditions were strong so that everyone respected to do in their daily life. This made the happiness in I-San society. So the artist tried to find the best space in the wall of Sim I-San or church for inserting the picture that the people were courting to paint because they would like to show how to ethnicity. Keywords: Chance of Carting, Northeast Buddhist 1บญุ จนั ทร์ เพชรเมอื งเลย นักศึกษาหลกั สตู รปรชั ญาดุษฏบี ัณฑติ สาขาวชิ าวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ ศป.ม (วจิ ัยศิลปะและวัฒนธรรม), ศษ.ม (การบรหิ ารการศึกษา)

บทนา วิถีการดาเนินชีวิตของชาวอีสาน มีประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่เป็นส่ิงควบคุมสังคมอีสานไว้ให้เกิด ความสงบสุข ชมุ ชนอีสานจงึ อยรู่ ่วมกนั เสมอื นญาตพิ นี่ อ้ ง ดังคากล่าวว่าพริกอยู่บ้านเหนือ เกลืออยู่บ้านใต้ ใน สิบสองเดือนของชาวอีสานจะมีการจัดประเพณีจนครบท้ังสิบสองเดือนซ่ึงทาให้ชาวอีสานได้หยุดพักผ่อนจาก การทางานหนกั หนั มาพบปะสังสรรค์กัน ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่หนุ่มสาวชาวอีสานจะได้พูดคุยและทาความรู้จัก กนั อยา่ งเปดิ เผยอยู่ในขนบธรรมเนยี มจารีตประเพณีอีกด้วย ซึ่งภาพเหตุการณ์เลห่าน้ีได้ปรากฏอยู่ในฮูปแต้ม สิมอีสานซงึ่ เปน็ การบันทกึ ภาพประวัติศาสตร์การดารงชวี ติ ชาวอีสานไดเ้ ป็นอยา่ งดี จากการลงพ้ืนที่ศึกษาดูงานเรียนรู้ด้านศิลปและวัฒนธรรมอีสานใต้ ในระว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม 2561 ผู้เขียนได้เห็นภาพวิถีชีวิตของชาวอีสานท่ีปรากฏอยู่ในฮูปแต้มสิมอีสาน ได้แก่ ภาพการทามาหากิน การละเล่น ประเพณี มหรสพการแสดงหมอลา มบี างภาพท่ีปรากฏการลงขว่ งฟอ้ นราของหนมุ่ สาว ผู้เขยี นจึงสนใจศึกษาโอกาสการเกีย้ วพาราสขี องหนมุ่ สาวท่ีปรากฏในฮูปแตม้ สิมอสี าน เพือ่ อยากทราบ วา่ วิถชี ีวติ ของคนอีสานสมัยกอ่ นซึง่ ดารงชวี ิตอยู่ภายในประเพณีฮตี สบิ สองคองสบิ สอ่ี ย่างเคร่งครัดและหนุ่มสาว อยใู่ นสายตาของสังคมมีวธิ กี ารผ่อนคลายอารมณ์ทางเพศ และหนุ่มสาวมีวิธีการเก้ียวพาราสีกันด้วยวิธีใดบ้าง ซึ่งได้ปรากฏหลกั ฐานตามฮปู แต้มอสี านหลายแห่งดว้ ยกัน เพื่อจะได้ทราบโอกาสการเก้ียวพาราสีของหนุ่มสาว ท่ีสบื ทอดมาจนถงึ ปจั จุบนั วัตถปุ ระสงค์ โอกาสการเกย้ี วพาราสีของหน่มุ สาวที่ปรากฏในฮปู แตม้ อีสาน วิธดี าเนนิ การศกึ ษาวจิ ัย การศึกษาบทความเรอื่ ง โอกาสการเก้ียวพาราสีของหนุ่มสาวท่ีปรากฏในฮูปแต้มอีสาน ผู้ศึกษาเลือก ศึกษาฮูปแต้มสิมอีสาน ในช่วงลงพื้นศึกษาดูงานเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมอีสานใต้ ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม 2561 จานวน 2 แหง่ ได้แก่ 1. ฮูปแต้มสมิ วดั สระบัวแก้ว ต.วังคูณ อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น และ 2. ฮปู แต้มสิมวดั โพธาราม บ.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ในการศกึ ษาคร้ังนีผ้ ู้วิจัยใชว้ ธิ ีการศกึ ษาวจิ ัยเชงิ คุณภาพ (Qualitative research) ซ่ึงมีขนั้ ตอนดงั นี้ 1. ประชากรกล่มุ เปา้ หมายที่ใช้ศึกษาในการศกึ ษาครง้ั นี้ คือ กลุม่ ผูร้ ู้ดา้ นประเพณีอสี านจานวน 3 ท่าน 2. ศึกษาเอกสาร งานวิจัยท่ีเก่ียวข้องเพื่อใช้อ้างผลการศึกษา ได้แก่ ความรู้เก่ียวกับฮูปแต้มสิมอีสาน ความรู้เกี่ยวกับการเก้ียวพาราสีหนุ่มสาวอีสาน ความรู้เก่ียวกับประเพณีของอีสาน และแนวคิดทฤษฏีที่ เกี่ยวข้อง 3. ศึกษารวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารที่เก่ียวข้อง และ เครอื่ งมือท่ใี ชใ้ นการศึกษา ได้แก่ แบบสังเกตแบบไมม่ สี ่วนรว่ ม เพื่อสังเกตสภาพทั่วของฮูปแต้มอีสานท่ีปรากฏ อยใู่ นสมิ และแบบสัมภาษณช์ นดิ ไมม่ โี ครงสรา้ ง เพ่อื สมั ภาษณ์อยา่ งไม่เป็นทางการท่ีเป็นผู้รู้เกี่ยวกับฮูปแต้มสิม อสี าน 4. การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากศึกษาเอกสาร การสังเกต การ สัมภาษณ์ และนาเสนอขอ้ มูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการศึกษา กอ่ นจะกลา่ วถึงโอกาสการเกยี้ วพาราสีของหนมุ่ สาวชาวอีสานที่ปรากฏอยู่ในฮูปแต้มสิมอีสาน ผู้เขียน ขอกล่าวถึงสภาพวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของอีสานก่อนว่ามีบริบทอย่างไร โดยภาคอีสานเป็น ดินแดนท่ีมีมนุษย์อาศัยอยู่ และมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนเป็นเวลาช้านาน สังเกตได้จากศิลปวัฒนธรรม เก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยขอมเรืองอานาจ นอกจากนี้วัฒนธรรมประเพณีท่ีตกทอด มาถึงชาวอีสานในปัจจบุ นั กส็ ะท้อนใหเ้ ห็นถึงอดตี อันยาวนานของชาวอีสาน ภาคอีสานได้พบร่องรอยของเมือง โบราณหลายแห่ง เชน่ ภาพเขียนในอาเภอโขงเจยี ม ปราสาทหนิ พนมรงุ้ ปราสาทหนิ พิมาย นอกจากภาคอีสาน จะเป็นแหลง่ ศิลปกรรม และสถาปตั ยกรรมแล้ว ประเพณี ฮีตสิบสอง การละเลน่ และหตั ถกรรมพื้นบ้าน ดนตรี และการละเล่นของชาวอีสาน ได้แก่ แคน และหมอลา ก็ยังได้ถ่ายทอดกันยาวนานมาเหมือนกัน (วินัย วีระ วัฒนานนท์, 2532) สาเหตทุ ่ีคนอีสานเคร่งครัดเรือ่ งขนบธรรมเนียมประเพณกี ็อาจจะเป็นเพราะว่า คนโบราณสมัยก่อนยัง ไม่เจริญ จาเป็นต้องกาหนดแนวทางสร้างสังคมให้เป็นอันหน่ึงอันเดียวกันสิ่งท่ีแตกต่างกันก็ คือ สภาพการ ดารงชีวิต นับแต่การกินอยู่ การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศิลปกรรม ความเช่ือ ศาสนา คุณธรรม ซึ่งเป็น กิจกรรมท่ีคนในสังคมนั้น ๆ ร่วมกันสืบต่อจนกลายเป็นเอกลักษณ์ จนกลายเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของ สังคม ประเพณีน้ีเองเป็นตัวกาหนดให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบสันติ ขนบประเพณี เป็นระเบียบแบบ แผนท่ีสังคมได้กาหนดไวแ้ ลว้ ปฏิบัตสิ ืบต่อกันมา สว่ นธรรมเนียมประเพณี เป็นเรื่องธรรมดาสามัญท่ีทุกคนควร ทาไม่มีระเบยี บแบบแผนเหมือนขนบประเพณี (คาพูน บุญทวี, 2554) จากท่ีกล่าวมาจึงทาให้ชาวอีสานมีงาน ประเพณแี ละบุญตา่ ง ๆ สบื ทอดมาจากบรรพบุรษุ จนถึงปัจจุบัน งานบุญ เช่น บุญผ้าป่า บุญเบิกฟ้า บุญแจก ขา้ ว และประเพณีที่อยู่ในฮีตสิบสอง เป็นต้น ส่วนงานประเพณี เช่น ประเพณีผูกเสี่ยว ประเพณีข้ึนบ้านใหม่ ประเพณเี ลีย้ งปู่ตา ประเพณลี งแขก ประเพณีการบวช ประเพณผี กู แขน ประเพณีกินดอง และประเพณีลงข่วง เปน็ ต้น (สาลี รกั สุทธี, 2555) ประเพณีของชาวอสี านกเ็ หมือนกับประเพณีของภาคอื่น ๆ คือมีประเพณีตั้งแต่ เกดิ จนตาย ในหลายประเพณที ก่ี ล่าวมามปี ระเพณที คี่ ่อนขา้ งสาคัญคือ ประเพณกี ารเลอื กคขู่ องหนุ่มสาวอสี าน การเลอื กคู่ครองหนุ่มสาวอีสาน การมคี รอบครัวถือว่าเป็นเรื่องสาคัญไม่น้อยเพราะหมายถึงการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันเป็นสามี ภรรยา (ผัว เมีย) ยิ่งการเลือกคู่ครองของหนุ่มสาวในอดีตแล้วมักอยู่ในธรรมเนียมประเพณีค่อนข้างมาก พ่อแม่ของฝ่าย หญงิ และฝ่ายชายจะสงั เกตลกั ษณะของหนุ่มสาวก่อนจะให้คบหากันโดย คุณสมบัติของชาย คือ ความขยันใน การทามาหากิน (ดูท่ีฝ่ามือว่าแข็งหรือไม่) ความประพฤติดี (การบวชเรียน) และคุณสมบัติของหญิง ดูที่เฮือน สาม นา้ สี่ เฮือนสามคอื รกั ษาความสะอาดของรา่ งกาย ดูแลบ้านให้เรียบร้อย และห้องนอนต้องสะอาดไม่สก ปก (สาลี รกั สุทธี, 2555) หากหนมุ่ สาวคใู่ ดท่ที าผิดธรรมเนียมประเพณีถึงขั้นผิดขนบประเพณี โดยการลักลอบ ชู้สาว ถือว่าทา ผดิ กฎหมายก็จะถูกลงโทษตามกฎหมาย เม่ือฝ่ายชายกระทาผิดชู้สาว จะได้รับโทษโดยชายใดข้ึนไปหลับนอน ดว้ ยหญิงบนเรือนของหญิง และพอรุ่งสว่างชายนั้นก็ลงไปจากเรือนหญิงเสีย โดยเหตุที่ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมิได้ พดู จากวา่ กล่าวกนั ใหป้ รองดอง คือว่ายังมิได้ยอมยกหญิงให้เป็นภรรยาชาย และมิด้ามอบชายให้เป็นเขยของ พอ่ แมห่ ญิง เรยี กวา่ “ซูลง” ชื่อวา่ ละเมดิ ตอ้ งปรับใช้ชายน้ันเสียเงินสิบบาทเป็นค่าละเมิดแก่พ่อแม่หญิง และ ให้หาดอกไม้ธูปเทียนไปแปลงผีเรือน และขอขมาโทษแก่พ่อแม่หญิงด้วย เมื่อฝ่ายหญิงกระทาผิดชู้สาว จะ ได้รับโทษโดยหญิงใดรักใครก่ ันกบั ชายและรับของฝากชาย เป็นต้นว่า แหวนกด็ ี เงินทองก็ดี หรือพัสดุมีราคาใด ๆ ก็ดี โดยสองต่อสอง ภายหลงั หญิงนั้นไปมีสามีอ่ืนใดโดยยังมิได้ส่งของฝากท่ีตนได้รับไว้จากชายนั้น ได้ชื่อว่า

ละเมดิ ต้องปรบั ใหมห่ ญิงเท่าราคาของตนรับไว้ และใหค้ นื ส่งิ ของนน้ั เสียด้วย ถ้าของท่ีตนรับไว้นั้นแตกหักขาด เสียหรือสูญหายด้วยเหตุใดๆ ต้องปรับไหมหญิงน้ันซื้อหามาใช้ให้แก่ชายจนครบ หรือใช้เงินแทนสิ่งของท่ีเสีย หายไปน้นั จนครบตามทตี่ นรับไว้(นิวฒั น์ พ.ศรีสุวรนนั ท์, 2491) จะเหน็ ไดว้ า่ ประเพณเี กีย่ วกับการเลือกค่คู รองของหน่มุ สาวอีสานมคี วามละเอียดอ่อนอย่างมากเพราะ ต้องให้ความสาคัญกับธรรมเนียมประเพณี ขนบประเพณี และกฎหมายอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้หนุ่มสาวชาว อีสานจึงมวี ธิ กี ารเลอื กคคู่ รองที่สร้างสรรค์ คือ การเก้ียวพาราสีทดสอบความอดทนและจิตใจกันก่อนแต่งงาน (กนิ ดอง) กัน ประเพณกี ารเกยี้ วพาราสหี นุ่มสาวชาวอสี านนีม้ หี ลักฐานปรากฏเด่นชัดในฮูปแต้มสิมอีสานที่เป็น การบันทกึ ประวตั ศิ าสตรช์ าวอสี านในอดตี ไว้มาอย่างยาวนาน ฮูปแต้ม คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในภาคอีสาน ซง่ึ ปรากฏบนผนงั ทั้งภายนอกและภายในของสมิ (โบสถ์) วิหาร หอไตร และหอแจก (ศาลาการเปรียญ) แสดง เร่อื งราวพทุ ธประวัติหรือวรรณกรรมพ้ืนบ้าน เป็นความงามแบบพื้นบ้านที่ซื่อตรง เรียบง่าย ลักษณะเด่น คือ เนือ้ เรื่องแบง่ เปน็ ตอนๆ เชอ่ื มต่อกนั ชา่ งแต้มจะใช้เสน้ แถบ หรือใช้ช่องว่างรอบองค์ประกอบภาพแทนการค่ัน เนื้อเร่ืองแตล่ ะตอน เพ่ือมใิ ห้เกดิ ความสับสนในเนอ้ื หาแตล่ ะตอนยงั มคี าบรรยายภาพกากบั ไวด้ ้วย ช่างแต้มเป็น ทั้งฆราวาสและพระภิกษุในสังคมชนบท ซึ่งเชื่อว่าการได้เขียนฮูปแต้มถือเป็นบุญกุศล (วีระพงศ์ มีสถาน 2561: เว็บไซต์) ภาพฮูปแต้มอีสานมักปรากฏเน้ือหาทางศาสนาผสานหลักจริยธรรม ตามจารีตท้องถ่ินไปสู่ ประชาชน เนื้อหาหลัก คอื พระเวสสันดรชาดก เสนอจริยธรรมการให้ทาน และวรรณกรรมท้องถ่ิน คือ สินไซ กับพระลักพระราม เสนอหลักจริยธรรมด้านความกตัญญู การครองเรือน และคุณธรรมด้านการปกครอง บางครั้งมีการแทรกอารมณ์ขันด้วยภาพอวัยวะทางเพศ และภาพเชิงสังวาสท้ังแบบคลุมเครือและโจ่งแจ้ง เพอ่ื ให้ผู้คนสนใจในเน้ือหาทางศาสนาอย่างแยบคาย นอกจากน้ีเนื้อหาที่ปรากฏในฮูปแต้มอีสานยังเสนอภาพ เรื่องเมอื งสวรรค์ กับเมืองนรก อย่างเห็นไดช้ ดั เจน ส่วนฮูปแตม้ อีสานท่ีสะท้อนประเพณี มักเสนอสภาพสังคม วฒั นธรรมของผู้คนไดแ้ ก่ พธิ ศี พ การทานา การหาปลา การละเล่น อาทิการเป่าแคน เป็นต้น (ศุภชัย สิงห์ยะ บศุ ย,์ 2560) แคน คือ ดนตรีพื้นบ้านอีสานท่ีมีท่วงทานอง และจังหวะสนุกสนาน มีเอกลักษณ์เฉาพะตัว ตาม ลกั ษณะนิสยั ของคนอีสานท่ีชอบความร่ืนเริง ร้องราทาเพลงในยามว่างเมื่อเสร็จจากงาน ซ่ึงถือเป็นการคลาย ความเครยี ด อกี ทงั้ คนอีสานมีลกั ษณะเฉพาะคือชอบสนุกสนาน จึงหาโอกาสบันเทิงใจได้ตลอดเวลา จากภาพ จิตกรรมในหอพระบาทด้านขวามือของพระประธาน จะเห็นภาพหญิงสาวกาลังปั่นด้าย และมีชายหนุ่มเป่า แคนอยู่ข้าง ๆ แคนเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของชาวอีสาน เสียงแคนเป็นเสียงดนตรีที่มีความไพเราะ มีลาย ทานองคึกคักเร่งเร้าสะท้อนถึงวิญญาณการต่อสู้ด้ินรนของคนอีสาน นอกจากน้ีเสียงแคนที่ขับขานยังมีลาย ทานองสนุกสนาน หวานชื่นเป็นสื่อสายใยบ่งบอกถึงความรักระหว่างผู้คนบนผืนแผ่นดินเกิดเดี ยวกัน โดยเฉพาะสมัย ร.4 หมอแคนนยิ มเล่นกันมาก ในสมยั ก่อนเป็นหญิงสาวชาวบ้านจะปั่นฝ้ายในเวลาค่าคืน ส่วน ชายหนุ่มก็จะเป่าแคนเลาะบ้านเกี้ยวสาว ดนตรียังสามารถช่วยปลอบประโลมให้คลายความทุกข์โศกของผู้ที่ สูญเสยี จากการไปของคนในครอบครัว และอุปกรณ์ท่ีหญิงสาวใช้ในการปั่นด้านคือ อิ้ว ใช้แยกฝ้ายและเมล็ด ออกจากกนั ภาพการสอื่ สารความหมายของการลงขว่ ง คอื ประเพณีหนมุ่ สาวจีบกัน (สภุ าวดี ไชยกาล, 2556) โอกาสการเก้ยี วพาราสขี องหนุ่มสาวทป่ี รากฏในฮปู แต้มอีสาน การเก้ียวพาราสีของหนุ่มสาวท่ีปรากฏในฮูปแต้มอีสานนั้น พบว่า มีโอการกระทาในกิจกรรมการ ดาเนินชวี ติ ประจาวนั ของชาวอีสาน ซ่ึงธรรมเนียมลาวโบราณน้นั การเก้ยี วพาราสีกันระหว่างชายหนมุ่ กับหญิง สาวถือเปน็ เร่ืองเปดิ เผยและไม่ใช่ส่ิงที่น่าอับอาบ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง ก็ตาม ขอเพยี งแต่ว่า การแสดงออกนน้ั ต้อง เปดิ เผย ไม่ไปแสดงกันในที่รโหฐานซ่ึงผู้ใหญ่หรือบุคคลอ่ืน ๆ ไม่รู้ไม่เห็น

เท่านัน้ พอ ในบางครั้งฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายพูดเก้ียวฝ่ายหญิงก่อนและมีบางครั้งที่ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายพูดเกี้ยว ฝ่ายชายก็ย่อมได้เช่นกนั ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเส่ือมเสีย เพราะการพูดเกี้ยวในลักษณะนี้ เป็นเพียงการพูดแบบ ที เลน่ ทจี รงิ เท่านั้น (ไพบูรณ์ แพงเงนิ , 2534) ผลการศกึ ษาโอกาสการเก้ียวพาราสีของหนุ่มสาวชาวอีสานที่พบ ในฮปู แต้มสมิ อสี าน ปรากฏดงั น้ี ประเพณีลงครกกระเดอ่ื งตาข้าว เป็นวถิ ชี ีวิตส่วนหนึ่งของชาวอีสานที่เปิดโอกาสให้บ่าวสาวได้พบปะ คุยกัน การตาขา้ วจะตากันในตอนเช้าตรู่ หรอื ตอนกลางคนื โดยเฉพาะในคืนเดือนหงาย ก่อนจะตาข้าวต้องตัก ข้าวเปลือกใสก่ ระบงุ เสยี กอ่ น นาไปท่ีครกมองพรอ้ มด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ การตาข้าวแต่ละคร้ัง จะตาสาหรับกิน ในวันเดียวเท่านั้น วันรุ่งข้ึนก็ตาใหม่ หญิงสาวคนใดตาข้าวเก่งจะทราบได้จากจังหวะครกท่ีสม่าเสมอชวนฟัง หากใครตาขา้ วไมเ่ หน็ จังหวะของครกจะไม่สมา่ เสมอ ทาให้เมล็ดขา้ วหักไมส่ วย ช่วงเวลาตาข้าวน้ีหนุ่มสาวจะมี โอกาสไดค้ ยุ กัน สาวใดรูปงามหนมุ่ ๆ จะขันอาสามาช่วยตาข้าวมาก โดยสาวไม่ต้องทาเอง การพูดคุยเก้ียวกัน จะยกผญามาพดู จาโต้ตอบกัน ใครมคี ารมคมคายก็จะนามาแสดงใหบ้ ่าวสาวเพศตรงขา้ มเกิดความสนใจและช่ืน ชมในความสามารถของตน (พรสวรรค์ สุวรรณศรี 2547 อ้างถึงใน จารุวรรณ ธรรมวัตร 2526) ภาพประกอบที่ 1 ฮปู แตม้ การตาขา้ วดว้ ยครกมอง สมิ วดั โพธาราม บ.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ประเพณีการลงข่วงเข็ญฝ้าย ในสิมวัดโพธาราม จ.มหาสารคาม ปรากฏฮูปแต้มชีวิตวัฒนธรรมของ ผคู้ นในพน้ื ท่ี กิจกรรมของหนมุ่ สาว และกจิ กรรมการลงข่วงเข็นฝา้ ย (ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ และคณะ, 2559) ซึ่ง หนุ่มสาวอสี านโดยแทจ้ ะมกี ารเกีย้ วพาราสีกันเฉพาะในฤดูการท่ีว่างงานหรือเทศกาลเท่านั้น เมื่อเสร็จจากการ งานหรือว่างจากการทามาหากนิ แล้ว สาว ๆ จะพากันมาลวงข่วงเข็ญฝ้ายตามลานบ้านของตนเป็นกลุ่ม ๆ ข่วง เป็นภาษาอีสาน หมายถึง ลานบ้าน โดยใช้ลานบ้านแล้วทาการยกพ้ืนสูงพอควรโดยใช้ไม้ไผ่ทา เปน็ แคร่น่ังได้ 5-6 คน ตรงกลางจะมกี ารก่อไฟเพือ่ แสงสว่าง ประเพณีการลวงขว่ ง เปน็ ประเพณที ี่หน่มุ สาวชาวพ้นื บ้านอสี าน ได้ปฏิบัตกิ ันมาชา้ นานแลว้ แต่เดี๋ยวนี้ มักหายไป การลงขว่ งน้ันนยิ มทากนั ในฤดูที่เก็บเก่ียวข้าวในนาเสร็จแล้วตรงกับหน้าหนาวพอดี เวลาลงข่วงจะ เป็นตอนกลางคนื หลังจากรับประทานอาหารเยน็ เสรจ็ แลว้ ประมาณ 2 ทมุ่ เศษ ๆ ถึงเวลาสาว ๆในบ้านเรือนที่ อยกู่ ลุ่มเดยี วกันจะเก็บฟืนมารวมกันกอ่ ไฟ พร้อมถือเครื่องปั่นฝ้าย ท่ีกรอด้าย เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วทุกคนก็ จะทาหน้าที่ของตน ในระหว่างท่ีสาว ๆ สนทนาและป่ันฝ้ายไปนั้น ส่ิงที่สาว ๆ จะเตรียมมาด้วยก็คือเส้ียน หมาก แอบยา หรือหมากพลูเพ่ือเตรียมต้อนรับชายท่ีตนรักหรือชายที่จะมาคุยด้วย ในระหว่างนั้นก็จะมีชาย

หนุ่มในละแวกบา้ นเดยี วกันหรอื มาจากท่ีอน่ื กจ็ ะชักชวนกนั มาเกย้ี วพาราสกี ับสาว ๆ การมาของชายหนุ่มจะมี การเป่าแคน ดีดพิณ สีซอมาด้วย ชายหนุ่มมักจะชวนกันมาเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ 2-3 คน อย่างน้อย เมื่อเป็น เช่นนี้ชายหนุ่มอสี านจึงต้องหดั เป่าแคน หรอื ดดี พณิ กนั ถ้าใครเป่าไม่เป็นก็รู้สึกน้อยหน้าคนอ่ืน สาวๆ มักจะจา เสียงแคนของชายท่ีเคยมาคยุ ด้วยได้ ชายหนมุ่ มาถงึ ข่วงที่สาว ๆ ลงกันอยู่ต่างก็จะแยกย้ายกันเข้าทักทายและ สนทนากนั การสนทนากันนัน้ โบราณนยิ มการ จ่ายผญา ใครจ่ายผญาไมไ่ ดก้ จ็ ะคยุ กันธรรมดา แต่ส่วนมากนิยม การจา่ ยผญาเพราะถือวา่ เป็นการสนทนากันในเชงิ ปราชญ์ฟงั ตวั อย่าง คาผญา หน่มุ สาวเก้ียวกัน “…ชาย - สขุ สาบายหม้ันเสมอมนั เครือเกา่ บน่ อ เทงิ พอ่ แมแ่ ละพ่ีน้องสาบายถ้วนซู่คนบ่นอ หญิง – นอ้ งน้สี ขุ สาบายหมน้ั เสมอมันเครอื เก่าอยูด่ อกอา้ ยเอย เทงิ พ่อแม่และพ่ีน้องสาบายพรอ้ มส่คู น …” (สาลี รักสุทธี, 2555) ภาพประกอบท่ี 2 ฮูปแต้มการเขญ็ ฝา้ ย สมิ วัดโพธาราม บ.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ประเพณกี ารฟ้อนและลาในขบวนแห่ (การลาผญาเว้าสาว) โดยประเพณีดั้งเดิมน้ัน ผู้ใหญ่จะเปิด โอกาสให้แก่ชายหนุ่มได้เว้าสาว ตามสบายผู้เป็นพ่อจะไม่หึงไม่หวงหากแต่จะไปนอนเงี่ยหูฟังอยู่ห่าง ๆ หลับ บ้างต่ืนบ้างตามประสา เพราะตนเองกเ็ คยเป็นหนุ่มมากอ่ น ย่อมร้หู ัวออกของหญิงสาวและชายหนุ่มได้ดี สิ่งท่ีผู้ เปน็ พ่อและแมพ่ ยายามไม่ใหเ้ กดิ ขึ้นก็มีเพียงอยา่ งเดียวคือ อยา่ เกิดการซสู้ าวข้นึ เทา่ นน้ั จากการที่มีประเพณีเว้าสาวน้ีเอง ทาให้เกิดการแต่งคาคมข้ึนมาเพื่อใช้ในการพูดจาโต้ตอบกันข้ึน ระหวา่ ง คนหน่มุ คนสาว เปน็ การเลอื กใช้ถ้อยคาทีไ่ พเราะ กนิ ใจ และสานวนคล้องจองกันบางคร้ังก็ต้องใช้ไหว พริบปฏิภาณในการเลือกคาคมท่ีเหมาะสมมาพูด ซ่ึงคาคมในที่นี้ก็คือ คาผญาน้ันเอง (ไพบูรณ์ แพงเงิน, 2534) ดงั นน้ั หมอลาจึงเปน็ สอ่ื ความรักของหนมุ่ สาว ในสมยั ก่อนโอกาสที่หน่มุ สาวจะพบเจอกันมีน้อยมาก ยิ่ง ใครมคี ารมคมคาย เจ้าบทเจ้ากลอนมีความรู้ท้ังทางโลกทางธรรมดีจะเป็นท่ีสนใจของเพศตรงข้าม ฉะน้ันเมื่อ หนุ่มสาวมาเจอกันก็จะมกี ารจ่ายผญา มคี ากลอน คาพูดท่ลี ึกซ้ึง กินใจ (ซึ่งก็จะจดจามาจากกลอนลา) (เทพพร มังธานี, 2545) ดังปรากฏฮูปแต้มการฟ้อนและการลาในขบวนแห่สิมวัดสระบัวแก้ว จ.ขอนแก่น ที่ช่างได้ สอดแทรกวิถชี ีวติ วฒั นธรรม ประเพณีแบบอีสานไวใ้ นภาพหลายตอน เช่น ประเพณีฮดสรงพระลักพระลามท่ี

ผนงั ดา้ นหนา้ การทาคลอดโดยหมอตาแย การแตง่ กายของหญงิ สาวอยา่ งสวยงามประกอบขบวน การเป่าแคน อย่างร่ืนเริง (สานักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติท่ี 7 ขอนแก่น, 2543) การละเล่นในลักษณะ มักจะมกี ารลาจา่ ยผญารว่ มดว้ ย ภาพประกอบท่ี 3 ฮปู แต้มสมิ วัดสระบวั แก้ว ต.วงั คณู อ.หนองสองหอ้ ง จ.ขอนแก่น ลาผญา คือ การนาเอาคาผญามาผกู เป็นคากลอนแลว้ ลาออกมาเป็นสาเนียงหรือท่วงทานองท่ีไพเราะ ส่วนใหญ่จะใช้ลาในเชิงเกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มกับสาว ท้ังน้ี โดยจาลองรูปแบบของการคุยสาว หรือการ “เว้าสาว” ซง่ึ เปน็ ประเพณขี องอสี านในอดตี มาใชใ้ นการลา โดยสมมตุ ิตั้งแตฝ่ ่ายชายหนุม่ เร่ิมออกเดินทางไปท่ี บ้านหรือทอี่ ยู่ของหญงิ สาว จนกระทงั่ ไดพ้ ูดจากเกีย้ วพาราสกี นั ฝ่ายชายก็จะพยายามพูดโอ้โลมปฏิโลมให้ฝ่าย หญิงใจอ่อนและยอม “ให้ชูส้ าว” (เสียตวั ให้) แตฝ่ ่ายหญิงกจ็ ะพยายามพดู ให้ฝ่ายชายเข้าใจถึงความเป็นกุลสตรี ของตน เก่ียงใหฝ้ ่ายชายกลับไปบา้ นไปหาคนเฒ่าคนแก่ หรือบิดามารดา มาสู่ขอตนจากบิดามารดา ซึ่งขณะท่ี พูดจาปลอบโยนกันอยู่น้ัน ก็จะมีถ้อยคาท่ีเป็นคารมคมคายไหลหล่ังออกมาอย่างน่าประทับใจ ประกอบกับ น้าเสยี งของหมอลาแตล่ ะท่านที่มาลาผญา (ไพบูรณ์ แพงเงนิ , 2534)

ภาพประกอบที่ 4 การราเซิง้ ประกอบขบวนแห่ฮปู แต้มในสมิ วัดโพธาราม บ.ดงบงั อ.นาดนู จ. มหาสารคาม จากผลการศึกษาพบว่าโอกาสการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวชาวอีสานที่ปรากฏในฮูปแต้มสิมอีสาน พบว่ามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.ประเพณีการฟ้อนและการลาในขบวนแห่ 2.ประเพณีการลงข่วงเข็ยฝ้าย และ3. ประเพณีลงครกกระเดื่องตาข้าว ซึ่งทั้ง 3 ประเพณีน้ีล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสใกล้ชิด พดู คุยกันเพ่อื แสวงหาคู่ครองท่ีตนพงึ พอใจถงึ คณุ สมบตั ทิ ่ีเป็นค่านิยมของคนอีสาน คือ “ขยันทางาน” และอื่น ๆ ตามแต่ความชอบพอของหนมุ่ สาว ทเ่ี ป็นขนบประเพณที ่สี ืบต่อกันมาของคนอีสาน สรุปและอภิปรายผล ประเพณีเกี้ยวพาราสีของชาวอีสานมีความสาคัญอย่างมาก ซึ่งหมายถึงการคัดกรองคู่ครองก่อน แต่งงานสามารถสรปุ ไดจ้ ากการเกย้ี วพาราสีที่ปรากฏหลักฐานเดน่ ชัดในฮปู แต้มสมิ อีสานดังน้ี ประเพณีลงครกกระเดื่องตาข้าว มีผลต่อการคัดกรองความรักระหว่างหนุ่มสาว คือ 1) สร้างความ สามัคคีโดยชายหนุ่มและหญิงสาวร่วมกันตาข้าวด้วยกัน 2) สร้างความสนิทสนมและมิตรภาพแลกเปลี่ยน พูดคุยกัน ถามความไถ่สุขทุกข์กันระหว่างหนุ่มสาว และ3)อยู่ในธรรมเนียมประเพณี ในขณะท่ีหนุ่มสาว สังสรรค์กันด้วยกิจกรรมการทางานอยู่น้ันได้แอบแฝงการเกี้ยวพาราสีกันซ่ึงอยู่ในสายตาของคนในชุมชน ตลอดเวลา ประเพณีการลงขว่ งเข็ญฝ้าย มีผลต่อการคัดกรองความรักระหว่างหนุ่มสาว คือ 1)หญิงสาวได้พิสูจน์ ตนเองด้วยการเป็นแม่บ้านแม่เรือนแสดงอาชีพติดตัวให้ชายหนุ่มได้เห็น 2) ชายหนุ่มได้แสดงความสามารถ พิเศษด้วยการเปา่ แคนอยา่ งมอี ารมณส์ ุนทรียภาพ 3) หนุ่มสาวได้ประชันภูมิปญั ญาพสิ ูจนค์ วามชาญฉลาดมีการ จ่ายผญากนั 4) หนมุ่ สาวไดท้ าความรู้จกั และแลกเปลี่ยนเร่ืองราวชีวิตให้กันได้รับฟัง และ5) หนุ่มสาวได้อยู่ใน ธรรมเนยี มประเพณี ไม่กระทาตนสอ่ ในเชิงชู้สาวเพราะอยู่ในสายตาของพ่อแมแ่ ละชาวบา้ นในชมุ ชน ประเพณีการฟ้อนและการลาในขบวนแห่ มีผลต่อมีผลต่อการคัดกรองความรักระหว่างหนุ่มสาว คือ 1) สร้างความใกล้ชิดสนิทสนมกันด้วยการฟ้อนเกี้ยวกันของหนุ่มสาว 2) แสดงความชาญฉลาดด้วยการลา จา่ ยผญาระหวา่ งชายหญิง 3) ผ่อนคลายความเครียดชว่ ยใหม้ กี าลังใจทางานในวันต่อไป 4) ชายหนุ่มได้ระบาย ความใครท่ างปากดว้ ยการหยอกลอ้ หญิงสาวด้วยคาลามก สองแงส่ องงา่ มอย่างสนกุ สนาน และ 5) หนุ่มสาวอยู่

ในธรรมเนียมประเพณีด้วยการฟ้อนราใกล้ชิดกันได้ ชายหนุ่มพูดจากหยอกล้อหญิงสาวด้วยวาจาสองแง่สอง ง่ามได้ และสามารถเกี้ยวสามารถเก้ียวพาราสีกันระหว่างคู่หนุ่มสาวอย่างใกล้ชิดกันได้ โดยท้ังหมดยังอยู่ใน สายตาของคนในชมุ ชน ในบทความน้ีเป็นการนาเสนอขอ้ มูลที่ปรากฏหลกั ฐานของฮูปแต้มสิมอีสานจานวน 2 แห่งเท่าน้ัน ซ่ึง ก็เหน็ ในเชงิ ประจักษว์ า่ ชาวอีสานสมัยกอ่ นได้ให้ความสาคัญและเคารพตอ่ ประเพณีอย่างจริงจัง จะสังเกตเห็น ว่า สมิ แตล่ ะหลงั จะมีขนบการแต้มอยู่ คือ ภายในสิมจะแต้มฮูปที่มีเนื้อหาเก่ียวกับศาสนา ส่วนภายนอกสิมจะ แต้มฮูปวรรณกรรมเนื้อหานิทานพื้นบ้านท่ัวไป เพียงแค่เรื่องราวทางศาสนาและนิทานพ้ืนบ้านอีสานท้ังสอง ประเภทนี้เท่าน้ัน เน้ือที่ของการแต้มอูปก็เกือบเต็มผนังของสิมแล้ว แต่ด้วยความสาคัญของวิถีชีวิตผู้คน โดยเฉพาะการเกย้ี วพาราสีของหนุ่มสาว ช่างแต้มฮูป จงึ ได้แต้มฮูปเหล่าน้ีแทรกลงไปบนพื้นที่ว่างของสิมเพราะ เห็นว่าเร่ืองราวเหล่าน้ีมคี ุณค่าในการสบื เผา่ พันธุ์ เพราะการเกีย้ วพาราสีของมนุษย์เป็นจุดเร่ิมต้นของการเลือก คู่ครองและแต่งงานกนั อย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี หากสังคมอีสานไม่ควบคุมสิ่งเหล่านี้ไว้จะมี ผลกระทบต่อความผาสุขของคนในชมุ ชน และเกิดปญั หากับหญิงสาวท่ีท้องโดยฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ส่งผลให้ ลกู ทเ่ี กิดมาไมม่ พี ่อ ทาให้เกดิ ความบกพร่องในชวี ิตครองครัวโยงใยกันไป จากท่ีกล่าวมาท้ังหมดนี้ชาวอีสานถือ วา่ เปน็ สง่ิ ท่ีมคี วามสาคัญและละเอยี ดอ่อนตลอดมา ซ่งึ สอดคลอ้ งกบั ทฤษฏีโครงสร้างหน้าท่ีของพาร์สันเก่ียวกับ ความคิดระบบสังคม ที่เป็นแบบแผนค่อนข้างถาวรของการกระทาระหว่างกันของบุคคลในสถานภาพต่างๆ แบบแผนเหล่าน้ันอยู่ในกรอบของวัฒนธรรม การยึดค่านิยมของคนเกิดขึ้นได้สองทาง คือ บรรทัดฐานทาง สงั คมท่บี งั คบั พฤตกิ รรมจะสะท้อนค่านยิ มทั่วไปและระบบความเช่ือของวัฒนธรรม ส่วนค่านิยมและแบบแผน อ่ืนๆอาจกลายเป็นส่วนหน่ึงในระบบบุคคล ซ่ึงย่อมจะก่อผลกระทบหรือสนองต่อความต้องการจาเป็นของ ระบบ ซึ่งเป็นตัวกาหนดความยินดีเต็มใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลในระบบสังคมอีกทอดหนึ่ง (ศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สานักงานปลัดกระทรวง, 2552) เช่นเดียวกันกับระบบทางสังคมของ อีสานที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นกรอบให้ทาการปฏิบัติตามค่านิยมของคนอีสานท่ีสืบทอดต่อกันมา เหมือนกบั ประเพณีท่ผี สมผสานกบั ความเชอื่ ไดแ้ ก่ ประเพณีการลงขว่ งเข็ญฝ้าย ประเพณีการฟ้อนและการลา ในขบวนแห่ และประเพณีลงครกกระเดือ่ งตาขา้ ว ซงึ่ ล้วนแลว้ เป็นความเช่อื ของระบบวฒั นธรรมอสี านทัง้ ส้ิน จากการท่ีช่างแต้มได้แต้มฮูปการเก้ียวพาราสีของหนุ่มสาวไว้ในสิมอีสานทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ประเพณีฮีตสบิ สองของอสี านนัน้ เขม้ แขง็ ทกุ คนให้ความเคารพยาเกรงจึงสามารถนาไปใช้ปฏิบัติได้จริงในการ ดารงชีวิตและสร้างความสงบสุขให้แก่คนในสังคมอีสาน จึงทาให้ช่างแต้มได้บรรจงเลือกสรรตาแหน่งเพ่ือจะ แทรกรูปภาพการเกี้ยวพาราสีนี้ลงบนฝาผนังของสิม เพื่อแสดงให้เห็นถึงการดารงเผ่าพันธ์ุของชาวอีสานสืบ ตอ่ ไป ขอ้ เสนอแนะ ผลจากการศึกษาบทความเรอื่ ง โอกาสการเก้ียวพาราสขี องหนุม่ สาวทป่ี รากฏในฮปู แต้มสมิ อีสาน มี ขอ้ เสนอแนะดังนี้ 1. ขอ้ เสนอแนะในการนาผลวจิ ยั ไปใช้ หน่วยงานสถาบันการศึกษาสามารถนาผลการศกึ ษาบทความน้ีไปจดั ทาเป็นหลกั สูตรท้องถิ่นการ เกี้ยวพาราสใี นฮูปแต้มสมิ อีสาน พร้อมทั้งสามารถเผยแพรเ่ ปน็ เอกสารประกอบการสมั มนาความรเู้ รอ่ื งการ เกย้ี วพาราสีในฮปู แตม้ สิมอีสานได้ 2. ขอ้ เสนอแนะการศึกษาครงั้ ตอ่ ไป ควรมีการศกึ ษาบทความเรอื่ ง ประเพณฮี ีตสองของอีสานทปี่ รากฏอยู่ในฮปู แตม้ สิมในภาคอีสาน

เอกสารอา้ งองิ คาพูน บุญทว.ี (2554). วัฒนธรรมพน้ื บา้ นประเพณไี ทยอีสาน. นนทบุร:ี โป้ยเซยี น (1988). เทพพร มงั ธาน.ี (2545). เปิดผ้าม่านก้ัง: เปิดจิตวิญญาณอสี านสู่จิตวญิ ญาณสากล. ขอนแกน่ : พระธรรมขันต์ นิวฒั น์ พ.ศรีสวุ รนันท.์ (2491). ประวตั ิศาสตร์ไทยลาว-อีสาน. พมิ พ์ครัง้ ที่ 3. กรงุ เทพฯ พรสวรรค์ สุวรรณศร.ี (2547). การวเิ คราะห์คุณค่า การดารงอยู่ และการสืบทอดผญาอสี าน. วิทยานพิ นธ์. ปริญญาครศุ าตรดุษฏบี ัณฑติ สาขาวิชาพฒั นาศกึ ษา: จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไพบรู ณ์ แพงเงนิ . (2534). กลอนลา- ภมู ิปญั ญาของอสี าน. กรงุ เทพฯ: โอ.เอส.พร้นิ ตง้ิ เฮา้ ส์ วินัย วรี ะวฒั นานนท์. (2532). ส่งิ แวดลอ้ มอสี านและการอนรุ กั ษ์. กรุงเทพฯ. โครงการมหาวิทยาลัย ในโครงการอสี านเขียว. วรี ะพงศ์ มีสถาน. (2561). ฮปู แต้ม. สบื คน้ จาก. https://www.isangate.com/new/32-art- culture/knowledge/529-isan-drawing.html. สบื ค้นเมอื่ วนั ท่ี 5 ธนั วาคม 2561 ศภุ ชัย สงิ ห์ยะบุศย์ และคณะ. (2559). สารานกุ รมศิลปวฒั นธรรมอสี าน “จิตรกรรมฝาผนงั พทุ ธอุโบสถ แบบดั้งเดมิ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ” มหาสารคาม. มหาสารคาม. ศุภชัย สงิ หย์ ะบุศย์. (2560). จติ รกรรมฝาผนงั พุทธอโุ บสถอีสานในบริบทสังคมวฒั นธรมท้องถ่ินสมัย ประเทศสยาม. วารวชิ าการนวตั กรรมส่ือสารสงั คม มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ. ปที ี่ 5 ฉบับที่ 2(10) ก.ค.-ธ.ค. 60: 41-50. ศนู ย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร สานกั งานปลัดกระทรวง. (2552). แนวคิดและทฤษฎีทางสงั คม. สืบค้นจาก. http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php? NewsID=9510&Key=news_research. สืบค้นเม่ือวนั ที่ 10 ธนั วาคม 2561. สานกั งานโบราณคดีและพิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติท่ี 7 ขอนแก่น. (2543). สมิ พิ้นบ้านวิหารพ้นื ถิ่น. อดุ รธานี. วินจิ การพิมพ.์ สาลี รักสุทธี. 2555. สืบสานตานานงานบญุ ประเพณอี ีสาน. กรุงเทพฯ: พ.ศ. พฒั นา. สุภาวดี ไชยกาล. (2556). วเิ คราะหค์ ติธรรมจากจิตกรรมฝาผนงั วัดทุ่งศรเี มืองจังหวดั อุบลราชธานี. วิทยานพิ นธ.์ ปรญิ ญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต สาขาวิชาพทุ ธศาสนา: มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรราชวทิ ยาลยั .