Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รวมเล่มคู่มือ KM 63 การวิจัย

รวมเล่มคู่มือ KM 63 การวิจัย

Published by nok666, 2021-09-21 13:34:47

Description: รวมเล่มคู่มือ KM 63 การวิจัย

Search

Read the Text Version

ความเปน็ มาและความสำคัญ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติในด้าน ตา่ งๆ อาทิ ดา้ นการสรา้ งความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพฒั นาและเสรมิ สร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ดา้ น การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการ บริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคั่งยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการสร้างและสะสมองค์ความรู้ในด้านเป้าหมายต่างๆ ให้มี ความทันสมัยตลอดเวลา และพัฒนาประเทศจากประเทศที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจ และสังคมบนฐานความร้ดู ้านการวจิ ยั และนวัตกรรม โดยในปี 2561 สถาบันการจัดการนานาชาติ ได้จัดอันดับประเทศไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 42 ซึ่งปรับดีขึ้นจากปี 2560 นอกจากนี้ ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม อาทิ ความหลากหลายทางชวี ภาพและส่ิงแวดล้อม สภาพแวดลอ้ มและกฎหมายทีเ่ อ้ือต่อการลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายในด้านการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมที่สำคัญ เช่น การกำหนดโจทย์การวจิ ยั ทีต่ อบความต้องการของกลุ่มประชาชนกลุ่มต่างๆ ใน ประเทศ ของภาคการผลิตและบริการ หรือปัญหาของสังคม การบูรณาการหน่วยงานด้านการวิจัย พัฒนา และ นวัตกรรม การขาดแคลนบคุ ลากรนักวจิ ัย และการนำผลงานวจิ ัยไปใชป้ ระโยชน์เป็นต้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เรื่องการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมโดย กำหนด เป้าหมายให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและด้านโครงสร้าง พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศเพ่ิมสูงขึ้น และมีมูลค่าการลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่อผลิตภัณฑ์มวล รวมในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การจัดอันดับโดย สถาบันการจัดการนานาชาติ และร้อยละของมูลค่าการลงทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการวิจัยและพัฒนานนวัตกรรมของประเทศไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการ ของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในประเทศ ยกระดับภาคการผลิตและบริการ แก้ไขปัญหาของสังคม พัฒนาการบริหาร จัดการภาครัฐ รวมทงั้ รักษาและฟ้นื ฟทู รัพยากรธรรมาชาตแิ ละส่ิงแวดล้อมของประเทศ ตลอดจนมุ่งเน้นการบูรณา การหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม การบริหารจัดการงานวิจัย และการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานต่างๆ ได้ อย่างมีประสิทธภิ าพ โดยประกอบด้วย 5 แผนย่อย คอื 1) ด้านเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ศักยภาพของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและบริการที่สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง โดยส่งเสริมให้ ภาคเอกชนมีบทบาทนำ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายร่วมกับภาคการศึกษาทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ตลอดจนการพัฒนามาตรฐาน คุณภาพ และการบริการวิเคราะห์ทดสอบที่เป็นที่ยอมรับตามข้อตกลงระหว่าง ประเทศเพือ่ ใหส้ ามารถรองรบั ความจำเป็นของอุตสาหกรรมและบริการของไทยในการสง่ มอบสนิ ค้าและบริการที่มี คณุ ภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานระหวา่ งประเทศ 2) ด้านสังคม มุ่งเน้นการวิจยั พัฒนาและนวัตกรรมที่เปน็ เคร่ืองมือในการขับเคลื่อนสังคมไทย การ ยกระดบั คุณภาพชวี ิตของประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งด้านสขุ ภาพ การศกึ ษา และการเข้าถึงบริการและสวัสดิการของรัฐ การเตรยี มความพร้อมของประชาชนไทยเพ่ือรองรบั กระแสโลกาภิวฒั น์ของวัฒนธรรมโลกที่รวดเร็วขึ้นในยุคดิจิทัล การเขา้ ส่สู งั คมสูงวัย การพัฒนาแรงงานทกั ษะสูงและเฉพาะทาง การยกระดบั แรงงานทักษะต่ำการแก้ปัญหาความ

เลื่อมล้ำในสังคม ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐให้เขา้ กับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ สงั คมในยุคดิจิทลั 3) ด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ความอดุ มสมบูรณแ์ ละความหลากหลายทางขวี ภาพของทรัพยากรทางบก ทางนำ้ และทางทะเล รวมท้งั การจดั การ มลพิษทมี่ ผี ลกระทบตอ่ ส่งิ แวดล้อม และการจัดการก๊าซเรือนกระจก 4) ด้านปัจจัยสนับสนุนในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้นการพัฒนาปัจจัยสนับสนุน อาทิ โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ระบบบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อ นำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนามาตรการแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนวิจัยและ นวัตกรรม การเพิม่ จำนวนบุคลากรวจิ ัยและนวัตกรรมในภาครัฐ ภาคการศกึ ษา และภาคเอกชน รวมทัง้ การพัฒนา มาตรฐาน ระบบคณุ ภาพ และการวเิ คราะห์ทดสอบ ความหมายบทความวจิ ยั คือบทความที่เขียนขึ้นจากงานวิจัยของตนเองซึ่งสกัด และสรุปออกมาเป็นองค์ความรู้ มีการกำหนดหา วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปผลการวิจัยอันนำไปสู่ความก้าวหน้าทาง วิชาการ และไดร้ ับการตพี ิมพเ์ ผยแพร่ในการประชุมวิชาการหรือวารสารวชิ าการทม่ี คี ณะกรรมการกลัน่ กรอง ขอ้ กำหนดในการใช้บทความวจิ ัยในการยนื่ ขอตำแหนง่ ทางวิชาการ ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการผลงานอย่างหนึ่งที่ต้องยื่นขอประเมินคือบทความวิจัย และผู้ยื่นขอ ประเมินต้องเป็นผู้วิจัยหลัก หมายถึงบุคคลที่มีบทบาทและความรับผิดชอบสำคัญในการออกแบบงานวิจัย การ วิเคราะห์ขอ้ มลู และการสรปุ ผลการวจิ ัยและให้ขอ้ เสนอแนะ หรอื เป็น corresponding author ซง่ึ เปอร์เซน็ ต์ การ มีส่วนร่วมต้องเป็นไปตามเกณฑด์ ังนี้ - งานวิจัยเดีย่ ว ตอ้ มสี ่วนรว่ มอยา่ งน้อยร้อยละ 50 ของผลงานหน่ึงเร่ือง - งานที่เป็นชุด มีความเกี่ยวเนื่องกัน (ต้องสามารถอธิบายความเชื่อมโยงได้) การมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ รวมแลว้ ไม่น้อยรอ้ ยละ 50 แตต่ ้องมีอย่างน้อย 1 เรื่องที่ผ้ขู อเป็นนกั วจิ ัยหลัก การเผยแพร่บทความวจิ ัย การเผยแพร่ในลักษณะใดลกั ษณะหนึง่ ดงั นี้ 1. เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิซาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้น อาจ เผยแพรเ่ ปน็ รูปเล่มสงิ่ พมิ พ์หรือเป็นสอ่ื อเิ ลก็ ทรอนิกสท์ ีม่ ีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน 2. เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบ คุณภาพ 3. นำเสนอเปน็ บทความวจิ ัยตอ่ ที่ประชมุ ทางวชิ าการ ซ่ึงภายหลงั จากการประชุมทางวชิ าการ ได้มีการบรรณาธกิ ารและนำไปรวมเลม่ เผยแพรใ์ นหนงั สอื ประมวลผลการประชมุ ทางวชิ าการ ( Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาตหิ รอื นานาชาติ

4. การเผยแพร่รายงานการวจิ ัยฉบับสมบูรณท์ ่มี รี ายละเอยี ดและความยาว ตอ้ งแสดงลักฐานว่าได้ ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและแสดงหลักฐานว่าไดเ้ ผยแพร่ไปยงั วงวิชาการและวชิ าชีพในสาขาวิชา นั้น และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง (เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและ ไดม้ กี ารพจิ ารณาประเมนิ คุณภาพของ \"งานวจิ ัย\" น้นั แล้ว การนำ \"งานวิจยั \" น้นั มาแกไ้ ขปรบั ปรุงหรือเพิ่มเติมส่วน ใด ส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ \"งานวิจัย\" นั้นอีกครั้ง หนง่ึ จะกระทำไม่ได้) ระดับการประเมินคุณภาพงานวจิ ยั คุณภาพ อธิบาย ระดับดี ระดบั ดีมาก มีกระบวนการวิจัยทุกข้นั ตอนถูกตอ้ งเหมาะสม แสดงความกา้ วหนา้ ทางวชิ าการหรอื ประยกุ ตไ์ ด้ ระดับดเี ด่น เกณฑร์ ะดับดี + - แสดงถงึ การวิเคราะหแ์ ละนำเสนอผลท่ีเปน็ ความรใู้ หมท่ ล่ี กึ ซ้ึงกวา่ ที่เคยมีผู้ศกึ ษาไว้ - เปน็ ประโยชนท์ างวชิ าการกวา้ งขวาง หรือนำไปประยกุ ตใ์ ช้ได้แพร่หลาย เกณฑร์ ะดับดีมาก + - เป็นงานบกุ เบิกท่ีมีคณุ ค่ายิ่ง มีการสงั เคราะห์อย่างลึกซง้ึ จนทำให้เกิดองคค์ วามรู้ใหม่ในเรื่องใด เรอ่ื งหนึ่ง ทำใหเ้ กิดความก้าวหน้าทางวิชาการชัดเจน - เปน็ ท่ยี อมรับและได้รับการอ้างองิ กวา้ งขวางในระดับชาติ/นานาชาติ

กระบวนการเผยแพรผลงานวจิ ยั





ลกั ษณะของบทความวิจัยทด่ี ี 1. มปี ระเดน็ หรือแนวคิดทีช่ ัดเจน มเี นอ้ื หาสาระวชิ าการทถี่ ูกต้อง สมบรู ณ์และทนั สมยั 2. มีการวิเคราะห์ประเด็นตามวิชาการ มีการสังเคราะห์ความรู้จากแหล่งต่างๆ และเสนอความรู้ที่เป็น ประโยชน์ 3. สอดแทรกความคิดริเริ่ม หรือความร้ใู หม่ท่ีเป็นประโยชน์ หรือแสดงทศั นะทางวิชาการของผู้เขียนอย่าง ชดั เจนและเทีย่ งตรง 4. มกี ารคน้ คว้าอา้ งองิ จากแหล่งอา้ งอิงทีเ่ ชื่อถือได้ ทันสมยั ครอบคลุม และมีการอ้างองิ อยา่ งเปน็ ระบบ 5. มีการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย และเป็นระบบ ใช้ศัพท์และภาษาทางวิชาการอย่างเหมาะสมมีตาราง แผนภมู ิ ประกอบตามความจำเป็นเพ่ือให้เขา้ ใจงา่ ย องค์ประกอบของบทความวจิ ัย องค์ประกอบของบทความวิจยั ประกอบด้วย 1. ชือ่ เรื่อง (Title) 2. ชอ่ื ผปู้ ระพนั ธ์ (Authors) 3. บทคดั ย่อ (Abstract) 4. คำสำคญั (Keyword) 5. คำนำ (Introduction) 6. วธิ ีการวจิ ัย (Methodology) 7. ผลการทดลอง (Result) 8. การอภิปรายผล (Discussion) 9. สรปุ ผล (Conclusion) 10. คำขอบคณุ (Acknowledgement) 11. เอกสารอ้างองิ (Reference)

เทคนคิ การเขียนบทความวิจยั องคป์ ระกอบ เทคนคิ ชือ่ เร่ือง (Title) กระชับ สั้น ได้ใจความเป็นวลี เป็นภาษที่เป็นทางการ ไม่มีหัวข้อย่อย มีคำสำคัญ ปรากฏในชือ่ เร่ือง สือ่ ถึงเน้อื หาของเร่ือง มีความสอดคลอ้ งกบั นโยบายของวารสาร ชอ่ื ผปู้ ระพันธ์ ระบุช่ือผู้ประพนั ธ์ และคณะผู้ประพนั ธ์บทความ ยึดตามรปู แบบของวารสารหรืองาน (Authors) ประชุมวิชาการนั้นๆ ระบุผู้ประพันธ์ให้การติดต่อ ระบุสังกัดสถานที่ทำงานตาม รูปแบบของวานรสารหรืองานประชุมวิชาการนนั้ ๆ กำหนด บทคดั ย่อ (Abstract) มีจำนวนคำประมาณ 150-250 คำ ควรเขียนให้สั้น กระชับ ประกอบด้วยส่วนย่อ ของวัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการทดลอง สรุป ซึ่งอ่านแล้วต้องเห็นภาพรวมทั้งหมด ของงาน ควรมคี ำสำคญั ในบทคัดย่อ ควรเขยี นเป็นสิ่งสุดทา้ ย คำสำคัญ (Keyword) คำ หรอื วลสี ั้นๆ ทีเกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องและสาระสำคญั ของบทความเพ่อื ให้ผู้อา่ นสาม มารถคน้ หาบทความของเราพบ คำนำ (Introduction) เป็นส่วนจูงใจให้ผู้อื่นสนใจ หลักการและเหตุผล งานที่ทำมาก่อน ปัญหา ขอบเขต ของปัญหา การศกึ ษาอืน่ ๆ ที่เก่ยี วขอ้ ง ทฤษฏเี กี่ยวข้อง และวตั ถุประสงค์ วิธีการวจิ ยั เป็นส่วนที่ง่ายที่สุด ระบุการศึกษาให้กระชับ ชัดเจน เป็นขั้นตอน โดยระบุเคร่ืองมือ (Methodology) อุปกรณ์ ระเบียบวิธี สถติ ิ กลมุ่ ตวั อย่าง ผลการทดลอง (Result) เป็นส่วนของข้อมูลที่ได้จากการวิจัย เขียนเรียงตามวิธีการวิจัย (Methodology) และวัตถุประสงค์ แสดงผลข้อมูลโดยใช้รูปภาพ ตาราง กราฟ ค่าทางสถิติอย่าง ชัดเจน การอภปิ รายผล เป็นส่วนของการแสดงการวิเคราะห์ผลข้อมูลที่ได้จากการวิจัย อธิบายการค้นพบว่า (Discussion) เหมือนหรือต่างจากท่นี ักวิจัยอ่นื หรือไม่ อยา่ งไร ดำเนนิ การแก้ไขปญั หาอย่างไร เกิด องคค์ วามรใู้ หม่อยา่ งไร นำไปใชป้ ระโยชนไ์ ดอ้ ย่างไร สรุปผล (Conclusion) เป็นส่วนที่แสดงการสรุปรวมความโดยสรุปประเด็นหลักของการวิจัย มีรายละเอียด ไดท้ ้ังเชงิ ปริมาณและเชิงคุณภาพ คำขอบคุณ เป็นส่วนที่แสดงความขอบคุณต่อบุคคล หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน ทั้งการ (Acknowledgement) ให้คำปรึกษา เครื่องมืออุปกรณ์ หรือแหล่งเงินทุน หัวข้อนี้อาจมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่ กับรูปแบบของแหล่งตพี มิ พ์ เอกสารอา้ งองิ เป็นส่วนที่แสดงรายการเอกสารอ้างอิงที่ปรากฎในทุกหัวข้อซึ่งต้องนำมาแสดง (Reference) ทั้งหมดในบทนี้ รูปแบบเอกสารอ้างอิงจะขึ้นอยู่กับการกำหนดของแหล่งตีพิมพ์อาจ แสดงในรูปแบบหมายเลข หรอื ระบบนาม-ปี ก็ได้

เทคนคิ การตีพิมพ์ 1. เลือกแหล่งเผยแพร่ให้ถูกต้อง ผู้วิจัยต้องรู้ศักยภาพของงานตนเองก่อนว่ามีคุณค่าเชิงวิชาการและ นำเสนอคุณคา่ นัน้ ไดด้ ีเพียงใด เป็นงานวจิ ัยประเภทใด 2. ควรมีการเผื่อเวลาในการตีพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นในวารสาร หรือในงานประชุมวิชาการ เนื่องจาก้าเป็น วารสารจะต้องเผื่อเวลาในการอ่านของผู้ตรวจ (Reviewer) และกระบวนการในการตรวจแก้ไข ส่วนงานประชุม วิชาการในปัจจุบันจะยังไม่ได้ Proceeding ในวันที่จัดการประชุมเลย โดยจะจัดส่งหลังจากการจัดงานประชุม วชิ าการแล้ว 1-2 เดือน จึงต้องมีการเผือ่ เวลาถา้ จะนำไปใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ 3. การแก้ไขเป็นเรื่องธรรมดา หากถูกกองบรรณาธิการให้มีการแก้ไขบทความ ควรแก้ไขตามคำแนะนำ หรอื ถา้ เราไมส่ ามารถแกไ้ ขไดจ้ รงิ ๆ ควรทำหนงั สอื ช้ีแจงถึงเหตผุ ลไปยงั กองบรรณาธิการ

กระบวนการขอตำแหนง่ ทางวชิ าการ เมื่อได้บทความวิจัยแล้วจึงนำไปยื่นประกอบการขอผลงานทางวิชาการร่วมกับผลงานอื่นๆ ตามที่ กพอ. กำหนด โดยมีกระบวนการดังนี้ หมายเหตุ รวมระยะเวลาท้ังสิ้น 187 วนั ซึ่งระยะเวลาดงั กลา่ วเปน็ กรณที ่ไี มม่ ีเหตขุ ัดข้องใดๆ เจา้ หน้าท่ีทดี่ ำเนินการเฉพาะงานกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ มจี ำนวน 2 คน

รายชือ่ อาจารยท์ ี่เข้าร่วมโครงการ อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการมีทั้งสิ้น 10 คน จาก 3 สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาวิชาสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่ม จำนวน 4 คน สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ จำนวน 2 คน และสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ จำนวน 4 คน โดยสามารถแบ่งตามตำแหน่งที่ต้องการขอ ดังนี้ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 คน และตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ จำนวน 6 คน ดงั แสดงในตารางด้านลา่ ง ตารางท่ี 1 แสดงจำนวนอาจารยแ์ ละตำแหน่งทางวิชาการ ที่ รายชอ่ื สาขาวิชา ตำแหน่งทีต่ ้องการขอ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ชลสาคร ส่ิงทอและเครื่องนุง่ ห่ม รองศาสตราจารย์ 2 ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ วราภรณ์ บันเล็งลอย สิ่งทอและเครอ่ื งนุ่งหม่ รองศาสตราจารย์ 3 ดร.ชนากานต์ เรืองณรงค์ สงิ่ ทอและเครือ่ งนุ่งหม่ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ 4 ดร.ณฐั วฒั น์ จตุพัฒนว์ โรดม ส่ิงทอและเครื่องนุ่งหม่ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ 5 ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ พงษศ์ กั ด์ิ ทรงพระนาม อาหารและโภชนาการ รองศาสตราจารย์ 6 ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ อจุ ติ ชญา จิตวมิ ล อาหารและโภชนาการ รองศาสตราจารย์ 7 ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ พฒั น์นรี จันทราภิรมย์ คหกรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ 8 อาจารยพ์ รสริ ิ แสนตุม้ คหกรรมศาสตร์ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ 9 ผชู้ ่วยศาสตราจารยว์ ิจติ ร สนหอม คหกรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ 10 ดร.สุภา จฬุ คปุ ต์ คหกรรมศาสตร์ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์

คณะเทคโนโลยคี หกรรมศาสตร์ 2563 รายงานผลการจดั การองคค์ วามรูด้ ้านการวิจัย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook