Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู

คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู

Published by 6 วสันต์ แดง, 2022-05-07 04:07:03

Description: คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู

Search

Read the Text Version

คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู เสนอ อ.ดร.สุจิตตรา จันทร์ลอย อ.ดร.สุธิดา ปรีชานนท์ จัดทำโดย นายวสันต์ แดง รหัสประจำตัว 647190306 รายงานนี้เเป็นส่วนหนึ่งของวิชา การพั ฒนาความเป็นครู (GD58201) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ก คำนำ คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา GD58201 การพัฒนาความเป็น ครู โดยยึดประเด็น DQ ความฉลาดทางดิจิทัล ทั้ง 8 ทักษะ โด ยมีวัถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นครูสู่ยุคดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจหลักการ ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมและมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดนและสามารถเลือกใช้และสร้างสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัลได้เหมาะสมกับองค์ความรู้ที่ต้องการจะถ่ายทอดและเหมาะสมต่อ พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละช่วงวัยในบริบทที่แตกต่างกันร่วมทั้งมีแนวทาง การพัฒนาและวิธีการป้องกันปัญหาการสื่อสารในยุคดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ นายวสันต์ แดง ผู้จัดทำ

สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข 8 ทักษะ ความฉลาดทางดิจิทัล 1 1.เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Identity) 2 2.การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management) 3 3.การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ (Cyberbullying Management) 4 4.การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย (Cybersecurity Management) 5 5.การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management) 6 6.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 7 7.ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints) 8 8.ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล (Digital Empathy) 9 บทสรุป 10 บรรณานุกรม 11 ประวัติผู้จัดทำ 12

1 8 ทักษะ ความฉลาดทางดิจิทัล 1.เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (DIGITAL CITIZEN IDENTITY) 8.ความเห็นอกเห็นใจและสร้าง 2.การบริหารจัดการเวลาบนโลก สัมพั นธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล ดิจิทัล (DIGITAL EMPATHY) (SCREEN TIME MANAGEMENT) 7.ร่องรอยทางดิจิทัล 3.การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ (DIGITAL FOOTPRINTS) (CYBERBULLYING MANAGEMENT) 6.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4.การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย (CRITICAL THINKING) (CYBERSECURITY MANAGEMENT) 5.การจัดการความเป็นส่วนตัว (PRIVACY MANAGEMENT)

2 1. เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Identity) เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล เป็นความสามารถสร้างและบริหารจัดการ อัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกความ จริงอัตลักษณ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใช้สื่อดิจิทัลสร้างภาพลักษณ์ในโลก ออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้งความคิดความรู้สึก และการกระทำ โดยมีวิจารณญาณในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มี ความเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบ ต่อการกระทำ ไม่กระทำการที่ผิดกฎหมายและจริยธรรมในโลก ออนไลน์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการใช้วาจาที่ สร้างความเกลียดชังผู้อื่ นทางสื่อออนไลน์ ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกคนควรตระหนักว่าบุคคลมีโอกาสใน ก า ร เ ข้ า ถึ ง แ ล ะ มีศั ก ย ภ า พ ใ ช้เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ ที่ แ ต ก ต่ า ง กั น พลเมืองดิจิตอลที่ดีจึงไม่ควรเลือกปฏิบัติและดูหมิ่นบุคคลผู้ขาด ทักษะการใช้เทคโนโลยีฯ หากแต่จะต้องช่วยกันแสวงหามาตรการ ต่างๆเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยีฯ อันจะ ทำให้สังคมและประเทศนั้นๆ ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างภาคภูมิ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ขาดความเหมาะสมอาจส่งผลเสียต่อ สุขภาพโดยรวม เช่น ความเครียดต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตตลอด จนการก่อให้เกิดการสูญเสียสัมพันธ์ภาพในสังคมได้ พลเมืองยุค ดิ จิต อ ล จ ะ ต้ อ ง ค ว บ คุม ก า ร ใ ช้อุ ป ก ร ณ์ อิ เ ล ค ท ร อ นิ ก ส์ใ ห้มีค ว า ม เ ห ม า ะ ส ม เพื่ อป้องกันมิให้เกิดอาการเสพติดต่อ สิ่งดังกล่าวจนเกิดผลเสียต่อ สุขภาพโดยรวมได้ นอกจากนี้ การลดปริมาณการสื่ อสารแบบออนไลน์ มาเป็นรูปแบบการสื่ อสารแบบดั้งเดิมในบางโอกาสจะก่อให้เกิดผลดีต่อ สัมพันธภาพของบุคคลใกล้ชิดอีกด้วย

3 2.การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management) การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล เป็นความสามารถควบคุม ตนเอง ความสามารถในการจัดสรรเวลาในการ ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล และอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้งานสื่อ สังคม (Social Media) และเกม ออนไลน์ (Online Games) ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง สามารถบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุค ดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกความเป็นจริง อีกทั้งตระหนักถึงอันตราย และสุขภาพจาก การใช้เวลาหน้าจอนานเกินไป และผลเสียของการเสพติดสื่อดิจิทัล เด็กที่ใช้เวลาหน้าจอ มากเกินไปจะมีทักษะความสามารถในการใช้ ชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย น้อยลง เช่น การผูกเชือกรองเท้า การขี่ จักรยาน หรือการว่ายน้ำ ผลการวิจัย ยังพบว่า โทรทัศน์ส่งผลเสีย ต่อพัฒนาการของเด็ก เนื่องจากเป็นการสื่อสาร ทางเดียว ทำให้ เด็กขาดพัฒนาการด้านการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ เด็ก ก่อนวัยเรียนที่ดูโทรทัศน์มากเกินกว่าการเล่นตามปกติมีแนวโน้มที่ จะสร้างตัวต่อพลาสติกได้น้อยลง การใช้สมาร์ตโฟนเป็นเวลานาน จะได้รับรังสีจากคลื่ นโทรศัพท์ ที่แผ่ ออกมามากขึ้น ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา นั่นคือ ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน การใช้หน้าจอเป็นเวลานานยังมีผลต่อ ประสิทธิภาพ ของกระบวนการทางความคิดของสมอง และทำให้ความจำ ถดถอยอีกด้วย

4 3.การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ (Cyberbullying Management) การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ เป็นความสามารถในการ ป้องกันตนเอง การมีภูมิคุ้มกันในการรับมือและจัดการกับ สถานการณ์การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างชาญฉลาด การใช้ อิ น เ ท อ ร์เ น็ ต เ ป็ น เ ค รื่ อ ง มือ ห รือ ช่อ ง ท า ง เ พื่ อ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ก า ร คุก ค า ม ล่ อ ล ว ง แ ล ะ ก า ร ก ลั่น แ ก ล้ ง บ น โ ล ก อิ น เ ท อ ร์เ น็ ต แ ล ะ สื่ อ สัง ค ม อ อ น ไ ล น์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะเป็นกลุ่มเด็กจนถึง เด็กวัยรุ่น การกลั่นแกล้ง บนโลกไซเบอร์คล้ายกันกับการกลั่นแกล้งในรูปแบบอื่ น หากแต่การก ลั่นแกล้งประเภทนี้จะกระทำผ่านสื่อออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล เช่น การ ส่งข้อความทางโทรศัพท์ ผู้กลั่นแกล้งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมชั้น คุณควรตั้งค่าความเป็นส่วนตัวแบบไม่เปิดสาธารณะ และไม่ควร คอนเน็คกับคนที่คุณไม่รู้จักตัวตนจริง ให้คิดแบบเดียวกับที่คุณจะ ไม่คุยกับคนแปลกหน้าตามท้องถนน สิ่งที่คุณเห็นออนไลน์อาจไม่ใช่ คนเดียวกับในความเป็นจริง การคอนเน็คกับคนที่ไม่รู้จักอาจ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวคุณเองและคนรอบข้าง ถ้าคุณถูกคุกคาม หรือมีการเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไปเผยแพร่ หรือ ทำให้คุณรู้สึกไม่ปลอดภัย คุณควรแจ้งตำรวจ ถ้าคุณถูกไซเบอร์บูลลี่จาก คนที่ทำงานหรือคนที่เรียนที่เดียวกัน ควรรายงานกับหัวหน้าหรือ อาจารย์

5 4.การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือ ข่าย (Cybersecurity Management) การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย เป็นความสามารถใน การสำรวจ ตรวจสอบ การป้องกัน และ การรักษาความปลอดภัยของ ข้อมูลในระบบเครือข่าย ป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความ ปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการถูกโจมตี ออนไลน์ได้ มีทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลก ออนไลน์การรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ คือการ ป ก ป้ อ ง อุ ป ก ร ณ์ ดิ จิทั ล ข้อ มู ล ที่ จัด เ ก็ บ แ ล ะ ข้อ มู ล ส่ว น ตั ว ไ ม่ใ ห้ เ สีย ห า ย สูญหาย หรือถูกโจรกรรมจากผู้ไม่หวังดีในโลกไซเบอร์ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ ทางที่ดีควรใช้ อินเทอร์เน็ตเครือข่ายมือถือของตัวเองเพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่า เครือข่าย Wi-Fi สาธารณะปลอดภัยจริงหรือไม่ เป็น Wi-Fi ปลอม ที่แฮกเกอร์สร้างเพื่อดักจับข้อมูลเหยื่อหรือเปล่า หากไม่มีทางเลือก ควรใช้ VPN (Virtual Private Networks) ด้วย เพื่อให้แน่ใจ ว่ากิจกรรมออนไลน์ทั้งหมดจะปลอดภัยตั้งแต่ ธนาคารออนไลน์ไป จนถึงข้อความส่วนตัว ในโลก Social media มีอันตรายแอบแฝงอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเราใช้งาน โดยการแชร์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเราลงบนโลกออนไลน์ เช่น แชร์ ข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดแบบสาธารณะ แชร์ Location ที่อยู่อาศัยของ ตัวเอง ฯลฯ อาจเป็นการแบ่งปันข้อมูลให้กับแฮกเกอร์ หรือ คน แปลกหน้าก็ได้ ทางทีดีควรคิดก่อนแชร์เสมอ เพื่อความปลอดภัย ของตัวเอง

6 5.การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management) การจัดการความเป็นส่วนตัว เป็นความสามารถในการจัดการกับ ความเป็นส่วนตัวของตนเองและของผู้อื่ น การใช้ข้อมูลออนไลน์ร่วม กัน การแบ่งปันผ่านสื่อดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการ รู้จัก ป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เช่น การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วย เครื่องมือดิจิทัล การขโมยข้อมูลอัตลักษณ์ เป็นต้น โดยต้องมีความ สามารถในการฝึกฝนใช้เครื่องมือ หรือวิธีการในการป้องกันข้อมูล ตนเองได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงปกปิดการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ใน เว็บไซต์ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ ระวังการใช้อีเมล์ เหล่าแฮคเกอร์ทั้งหลายมักจะใช้วิธีการขโมยข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ผ่านทางอีเมล์ เพราะฉะนั้นคุณจะต้องระวังการเปิดอีเมล์จากคน แปลกหน้าหรือจากแหล่งที่มาที่คุณไม่รู้จัก หากคุณสงสัยในความไม่ ปลอดภัยในการใช้งานของอีเมล์ควรจะแจ้งกับบริษัทแม่ของอีเมล์ที่ คุณใช้อยู่โดยตรง อย่าเปิดเผยข้อมูลบนโซเชียลมีเดียมากเกินไป แ น ะ นำ ว่า อ ย่า เ ข้า ใ ช้บัญ ชีโ ซ เ ชีย ล มีเ ดี ย ข อ ง คุณ ใ น อุ ป ก ร ณ์ สื่ อ ส า ร จำนวนหลายเครื่อง และในการใช้โซเชียลมีเดียควรจะต้องมีการระวัง ใ น เ รื่ อ ง ข อ ง ก า ร แ ช ร์ข้อ มู ล ส่ว น ตั ว ใ ห้ ม า ก ไ ม่ค ว ร ใ ส่ร า ย ล ะ เ อี ย ด ม า เกินไป ไม่ว่าจะเป็นวันเกิด ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์

7 6.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง ความสามารถในการตัดสิน ของบุคคลว่าควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ ควรทำ หรือไม่ควรทำบนความคิด เชิงเหตุและผล มีความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่าง ข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์และ ข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัย และน่าเชื่อถือได้ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต ทราบว่าเนื้อหาใดมีประโยชน์ รู้ เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และประเมิน ข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้ เข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่าง ๆ ใน สื่อดิจิทัล เช่น ข่าวปลอม เว็บไซต์ปลอม เป็นต้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยเครื่องมือจาก Google โดยผู้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง อาจหยิบยกเรื่องราวที่สงสัยหรือเรื่องที่คล้ายกัน เพื่อ ค้นหาสิ่งที่เกิดขึ้นจริง โดยค้นหาด้วย Fact Check Explorer เครื่องมือที่รวบรวมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมากกว่า 100,000 รายการ จากผู้เผยแพร่ที่เชื่อถือได้ทั่วโลก ยกตัวอย่าง ความเชื่อที่ ว่าการดื่ มน้ำมะพร้าวช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้จริงหรือ จากการตรวจ สอบพบว่าไม่เป็นความจริง แสวงหาแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย พิจารณาดูว่าสำนักข่าวต่างๆ รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวกันอย่างไร โดยเปลี่ยนเป็นโหมด ข่าวสารหรือค้นหาหัวข้อที่ต้องการใน news.google.com แล้ว คลิกไปที่การแสดงเนื้อหาแบบ “Full Coverage” เพื่อดูข่าวจาก หลากหลายแหล่งที่มา

8 7.ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints) ร่องรอยทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของ การใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลว่าจะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ ร่อง รอยทางดิจิทัล อาจจะส่งผลกระทบในชีวิตจริง ที่เกิดจากร่องรอย ทางดิจิทัลเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการจัดการกับ ชีวิตบทโลกดิจิทัลด้วยความรับผิดชอบ ข้อมูลร่องรอยทางดิจิทัล เช่น การลงทะเบียน อีเมล การโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ ไฟล์งาน ต่าง ๆ เมื่อถูกส่งเข้าโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว จะทิ้งร่องรอยข้อมูลส่วน ตัวของผู้ใช้งานไว้ ให้ผู้อื่ นสามารถติดตามได้ และจะเป็นข้อมูลที่ระบุ ตัวบุคคลได้อย่างง่ายดาย ประวัติดิจิทัลแบบไม่รู้ตัว (Passive Digital Footprint) เป็นประวัติหรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ที่คุณไม่ได้ตั้งใจที่จะทิ้งไว้ หรือ ไม่ได้ต้องการจะให้คนอื่ นรับรู้ แต่ยังคงถูกบันทึกเก็บเป็น ประวัติบนออนไลน์ไว้ เช่น เวลาใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือ คอมพิวเตอร์ที่จะมีรหัสประจำตัวในการใช้งาน (IP address) ซึ่ง เมื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือค้นหาบริการอะไร จะมีประวัติการค้นหา ต่าง ๆ ถูกเก็บบันทึกไว้อยู่ ทำให้ถูกติดตาม หรือ ระบุตัวตนคนใช้ งานได้ ซึ่งหลายๆครั้งก็จะโดนนักการตลาดนำข้อมูลไปใช้เพื่อทำการ โฆษณาต่อไปอีกด้วย ประวัติดิจิทัลแบบตั้งใจทำ (Active Digital Footprint) เป็นประวัติ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือรู้ตัว เช่น การโพสต์ ข้อความบน Social Media, เขียนข้อความต่าง ๆ ส่งหาเพื่อนทาง ออนไลน์ หรือ การส่งอีเมลหาบุคคลอื่ น ซึ่งเป็นช่องทางที่สามารถจะ รับรู้ได้ชัดเจนถึงการกระทำ หรือ ประวัติที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะมี ข้อมูลอยู่ในอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา และสามารถถูกเข้าถึงได้โดยใคร ก็ตาม

9 8.ความเห็นอกเห็นใจและ สร้างสัมพันธภาพที่ ดี กั บผู้อื่ นทางดิ จิทั ล (Digital Empathy) ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่ นทางดิจิทัล เป็น ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่ น การตอบสนองความต้องการของผู้ อื่ น การแสดง ความเห็นใจและการแสดงน้ำใจต่อผู้อื่ นบนโลกดิจิทัล ได้อย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู เพื่อนทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่ นจากข้อมูล ออนไลน์แต่เพียงอย่างเดียว และจะเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการ ความช่วยเหลือในโลกออนไลน์ ไม่ส่งข้อความหลอกลวง หรือข่าวปลอม ไม่กลั่นแกล้งผู้อื่ นบน โลก ไซเบอร์ และระมัดระวังการโพสต์ หรือเรื่องราวภาพที่ลงในโซเชียล แล้ว อาจมีปัญหาตามมาในอนาคต ทั้งกับ ตนเอง สมาชิกครอบครัว โรงเรียน หรือ ที่ทำงาน เคารพความเห็นที่แตกต่าง ไม่ใช้ภาษาที่ก่อให้ เกิดการแตกแยกหรือ เสียดสี หลีกเลี่ยงสงคราม แห่งการโต้แย้งที่ไม่รู้จบ เน้นการ อภิปรายอย่าง มีเหตุผล ให้อภัยในความผิดของผู้อื่ น หาก ต้องการ แจ้งผู้ที่ทำผิดมารยาททางอินเทอร์เน็ต ควรบอกอย่างสุภาพและเป็น ส่วนตัว

10 สรุป จะเห็นว่าความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัล เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับนักเรียน และบุคคลทั่วไปในการ สื่อสารในโลกออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง ทั้เอกลักษณ์พลเมือง ดิจิทัล การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล การจัดการ การกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การจัดการความปลอดภัยบน ระบบเครือข่าย การจัดการความเป็นส่วนตัว การคิด อย่างมีวิจารณญาณ ร่องรอยทางดิจิทัล ความเห็นอก เห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล หาก บุคคลมีทักษะและความสามารถทั้ง 8 ประการจะทำให้ บุคคลนั้นมีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการ บริหารจัดการ ควบคุม กำกับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย

11 บรรณานุกรม สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2561). ความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) และการ ศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565, จาก http://cclickthailand.com/contents/research/A2.-final.pdf. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2562). การพัฒนาพลเมือง MILD จุดเน้นตามช่วงวัย. สืบค้นเมื่อสืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565, จาก http://cclickthailand.com/ชุดความรู้สำหรับครู/ความรู้/การ พัฒ น า พ ล เ มือ ง - m i d l - จุ ด เ น้ น ต า ม ช่ว ง วัย . ปณิตา วรรณพิรุณ. (2560). “ความฉลาดทางงดิจิทัล,” พัฒนาเทคนิคศึกษา. 29 (102), 12-20.

12 ป ร ะ วั ติ ก า ร ทำ ง า น ครูพิ เศษสอน วิ ท ย า ลั ย เ ท ค นิ ค อำ น า จ เ จ ริ ญ - ครูสาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ครูผู้ช่วย วิ ท ย า ลั ย เ ก ษ ต ร แ ล ะ เ ท ค โ น โ ล ยี สุ พ ร ร ณ บุ รี - ครูแผนกวิชาช่างกลเกษตร นายวสันต์ แดง ค รู ผู้ ช่ ว ย ป ร ะ วั ติ ก า ร ศึ ก ษ า วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ ประกาศณียบัตรวิชาชีพ ปวช. - แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ ประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวช. - แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต วิศวกรรม คอมพิ วเตอร์ ช่ อ ง ท า ง ก า ร ติ ด ต่ อ Mail : [email protected] Tel. : 080-1615856

ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital intelligence)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook