Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 3. คนสกลนครชาติพันธุ์ในชั้นประวัติศาสตร์

3. คนสกลนครชาติพันธุ์ในชั้นประวัติศาสตร์

Published by wilawan phiwon, 2021-02-17 03:38:13

Description: 3. คนสกลนครชาติพันธุ์ในชั้นประวัติศาสตร์

Search

Read the Text Version



ข คนสกลนคร ชาตพิ ันธใ์ุ นชัน้ ประวัติศาสตร์ พิพธิ ภณั ฑ์เมืองสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร จัดพมิ พ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

ค คนสกลนคร ชาติพันธ์ใุ นชั้นประวตั ิศาสตร์ ปีทพ่ี ิมพ์ : พ.ศ. ๒๕๖๑ จานวนที่พิมพ์ : ๕๐๐ เล่ม จดั พิมพโ์ ดย : พิพิธภัณฑเ์ มืองสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร ผู้เรียบเรียง : นักวิชาการศึกษาปฏบิ ัติการ นายพจนวราภรณ์ ขจรเนตรวณชิ กุล สถาบนั ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั สกลนคร คณะทางาน : นางสาวชตุ มิ า ภูลวรรณ นักวิชาการศึกษาปฏิบัตกิ าร สถาบนั ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั สกลนคร นายกฤษดากร บันลือ พนักงานบรหิ าร สถาบันภาษา ศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร ทปี่ รึกษา : พระเทพสิทธโิ สภณ เจ้าอาวาสวัดพระธาตเุ ชิงชมุ วรวหิ าร จังหวดั สกลนคร พระครปู ลดั ศรีธรรมวฒั น์ ประธานศูนย์อนุรักษว์ ัฒนธรรมพืน้ บ้านหทัยภูพานสกลนคร ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ปรชี า ธรรมวนิ ทร อธกิ ารบดีมหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร นางฟองจนั ทร์ อรุณกมล ทปี่ รึกษานายกเทศมนตรเี ทศบาลนครสกลนคร ดร.เกรยี งไกร ปรญิ ญาพล ผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาชน ดร.ธรี ะวัฒน์ แสนคา มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเลย ดร.ปูริดา วิปัชชา มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร ดร.สถิตย์ ภาคมฤค มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร ดร.เกรยี งไกร ผาสุตะ มหาวทิ ยาลัยนครพนม ดร.อธิราชย์ นนั ขนั ตี มหาวิทยาลยั นครพนม ดร. พมิ พ์อมร นยิ มค้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นางสาวกณั ฐกิ า กล่อมสวุ รรณ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จงั หวัดสกลนคร พสิ ูจนอ์ ักษร : นางสาวอลสิ า ทบั พลิ า โรงเรยี นวิถีธรรมแหง่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภาพ/ออกแบบปก : นายหตั ธไชย ศิริสถิตย์ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏอดุ รธานี สงวนลขิ สิทธิต์ ามกฎหมาย พิมพ์ที่ : โรงพมิ พ์สมศกั ด์ิการพิมพ์ กรุ๊ป สกลนคร

๕ คานิยม เมืองสกลนครมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมท้ังความหลากหลายทางวัฒนธรรม ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ ลาวหรือไทอีสาน ผู้ไทหรือภูไท ญ้อ โส้ โย้ยและกะเลิง รวมไปถึงกลุ่มคนท่ี อพยพเข้ามาภายหลัง คือ ชาวจีน ชาวเวียดนาม การที่บ้านเมืองมีความเจริญ สืบมาในปัจจุบันก็ดว้ ย อาศัยหยาดเหงื่อแรงกาย ภูมิปัญญาของเหล่าบรรพชนท่ีสั่งสมมาหลายยุคหลายสมัย ปัจจุบันใน ท่ามกลางกระแส แห่งโลกาภิวัตน์ การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถ่ินบ้านเมืองและ วัฒนธรรมแห่งความเป็นชาติพันธุ์ นั้น มักถูกมองว่าเป็นเรื่องเก่าล้าสมัย แต่ตรงกันข้ามว่า การศึกษา รากเหง้าความเป็นมาของท้องถิ่นนับเป็นส่ิงสาคัญอย่างหนึ่งอันจะก่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจ เกิดสานึกความเห็นคุณค่า ความภูมิใจ และศักด์ิศรีของส่ิงท่ีตนเองมีอยู่ที่เป็นมรดกตกทอดมาจาก บรรพบุรุษในท้องถิ่น ความภูมิใจนี้ทาให้คนเรามีความเชื่อมั่นในตัวเองว่ามีของดีอยู่ สู่การพัฒนา ทอ้ งถนิ่ ให้มีความเจริญ ในอนาคต การจัดพิมพ์หนังสือ “คนสกลนครชาติพันธ์ุในช้ันประวัติศาสตร์” ของพิพิธภัณฑ์เมือง สกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เล่มน้ี จะเผยแพร่ไปสู่สถานศึกษาทุกระดับ ยังประโยชน์แก่ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนท่ัวไปได้ร่วมตระหนักและเกิดความภาคภูมิใจในความหลากหลาย ทางชาติพนั ธ์ุในท้องถ่นิ เมืองสกลนคร อาตมาภาพ ขอแสดงความช่ืนชมในความวิริยะอุตสาหะและขออนุโมทนาในกุศลเจตนา ของทุกท่านที่ได้ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือท่ีมีคุณค่าเล่มนี้ อันจะเป็นหลักฐานในการศึกษาค้นคว้า ของอนุชนสบื ไป พระครปู ลดั ศรีธรรมวัฒน์ ประธานศูนย์อนรุ ักษว์ ฒั นธรรมพนื้ บา้ นหทยั ภูพานสกลนคร ศนู ย์อนรุ กั ษ์วัฒนธรรมพืน้ บ้านหทยั ภพู านสกลนคร วนั ท่ี ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

๖ คานา หนังสือ “คนสกลนครชาติพันธ์ุในชั้นประวัติศาสตร์” ของพิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เล่มน้ี มีเน้ือหาประกอบด้วยข้อมูลความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ท้อง คนพื้นถ่ินกลุ่มต่าง ๆ ประกอบด้วย ลาวหรือไทอีสาน ผู้ไทหรือภูไท ญ้อ โส้ โย้ยและกะเลิง รวมไปถึง กลุ่มคนที่อพยพเข้ามาภายหลัง คือ ชาวจีน ชาวเวียดนาม ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นท่ีจังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ภายในเล่มยังประกอบด้วยภาพถ่ายวิถีชีวิตของบรรดากลุ่มชาติพันธุ์พื้นถิ่น จากสานักหอ จดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศิลปากร นามาประกอบเข้ากบั เนอ้ื หาไวอ้ ย่างน่าสนใจ พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร ยังมีจุดมุ่งหมายท่ีสาคัญในการจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือเล่มน้ี อีกหลายประการ กลา่ วคือ ๑. เพื่อเสริมสร้างสานึกรกั ทอ้ งถ่นิ ของชาวสกลนคร ๒. เพ่อื ธารงรกั ษาและเสริมสรา้ งความภาคภมู ิใจในอตั ลกั ษณ์ความเป็นชาติพนั ธ์ุนัน้ ๆ ๓. เพ่อื สง่ เสริมการศึกษาค้นควา้ วิเคราะหแ์ ละวิจยั ผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและ วฒั นธรรมทอ้ งถิ่นสกลนครใหก้ ว้างขวางย่ิงขนึ้ ขอขอบพระคุณไปยังท่านผู้มีอุปการคุณทุกท่านท่ีกรุณาจัดหางบประมาณและร่วมเป็น เจา้ ภาพสนับสนุนการจัดพิมพใ์ นคร้ังน้ี หวังเป็นอย่างย่ิงว่า หนังสือเล่มนี้ จะอานวยประโยชน์ให้เกิดความรักความเข้าใจและ ตระหนักในการศึกษาเรื่องราวของท้องถ่ินยิ่งข้ึน อีกท้ังยังมีส่วนช่วยเสริมสรา้ งส่ิงที่ทาให้เกิดสานึกรัก ท้องถ่นิ และประเทศชาตอิ ยา่ งมั่นคงสบื ไป ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ปรีชา ธรรมวินทร อธิการบดีมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั สกลนคร วันที่ ๑๕ ตลุ าคม พ.ศ.๒๕๖๑

๗ คานาผู้เรยี บเรยี งพมิ พ์ คาว่า “ชาติพันธ์ุ” (Ethnics) เป็นคาท่ีใช้เรียกกลุ่มคนท่ัวไปมีความหมายคล้ายกับกลุ่มคา เหล่านี้คือ เช้ือชาติ ชนชาติ เผ่าพันธุ์ เป็นคาท่ีใช้กันทั่วไปในความหมายกว้าง ๆ ว่า หมายถึง กลุ่มคน ที่มีชีวิตอยู่ในพื้นท่ีบริเวณหนึ่ง มีภาษา วิถีชีวิต จารีตประเพณีคล้ายคลึงกัน รวมท้ังอาจมีความสานึก วา่ เป็นคนทม่ี ีสายโลหติ เดียวกนั และมคี วามเปน็ อนั หน่ึงอนั เดียวกันในทางวฒั นธรรม สกลนคร มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เกิดการอพยพเข้ามา ของผู้คนจากหลายหลากกลมุ่ ชาติพันธุ์กลายเป็น “เขตสะสมทางวัฒนธรรม” ดังพบร่องรอยหลักฐาน การต้ังถน่ิ ฐานมาตงั้ แต่สมยั กอ่ นประวตั ิศาสตร์ โดยรับเอาอทิ ธพิ ลทางความเช่ือ ศาสนาและวฒั นธรรม ในยุคทวารวดี ขอม ล้านช้างและรัตนโกสินทร์ตามลาดับ โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษท่ี ๒๔ เป็น ต้นมา ผลจากความขัดแย้งระหว่างสยามกับเวียงจันทน์ทาให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คนเข้าสู่ สกลนคร ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นเดิมถึง กลุ่ม ประกอบด้วย ลาวหรือไทอีสาน ผู้ไทหรือภู ไท ญ้อ โส้ โย้ยและกะเลิง พร้อมกันน้ียังมีกลุ่มของชาวจีนและชาวเวียดนามท่ีอพยพเข้ามาอยู่ ภายหลังกระจายตัวตั้งถ่ินฐานอยู่ปะปนกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถ่ินเดิม ล้วนแล้วแต่มีวิถีชีวิต ประเพณวี ฒั นธรรมอันน่าสนใจ เนอ้ื หาในหนงั สือเลม่ นี้ ผเู้ ขยี นนาเสนอเนอื้ หาโดยสังเขปของกลมุ่ ชาติพันธ์ุพืน้ ถน่ิ สกลนครกับ อีกสองเช้ือชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร โดยพยายามเรียงลาดับเนื้อหาการเข้ามาของกลุ่มชาติ พันธ์ุนั้น ๆ ตามมติ ขิ องเวลาเป็นหลกั และได้นารปู ภาพตา่ ง ๆ แทรกประกอบดว้ ย ดังนี้ ๑. ภาพถ่ายเมื่อครั้งกรมหลวงดารงราชานุภาพ หรือนายพลเอก มหาอามาตย์เอก สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จตรวจราชการ มณฑลอุดรและมณฑลอีสาน ปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ประกอบดว้ ยภาพวิถีชวี ติ สังคมและวฒั นธรรมของ เมอื งนครพนม เมอื งกสุ มุ าลยม์ ณฑลและเมอื งสกลนคร ๒. ภาพถ่ายเม่ือครั้งนายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระ กาแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง เสด็จสารวจเส้นทางทาทางรถไฟภาคอีสาน ปี พุทธศักราช ๒๔๖๕ ประกอบด้วยภาพวิถีชีวติ สงั คมและวฒั นธรรม ของเมืองนครพนม เมืองกุสุมาลย์ มณฑลและเมืองสกลนคร

๘ แต่อย่างไรก็ดี ผลการศึกษารวบรวม วิเคราะห์ตีความและเรียบเรียงของผู้เขียนท่ีปรากฏใน หนังสือเล่มนี้ อาจยังไม่ใช่เป็นข้อยุติทางวิชาการ ยังจาเป็นท่ีจะต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป หากว่ามี ผู้สนใจศึกษาและใช้ข้อมูลในหนังสือเล่มน้ีเป็นฐานข้อมูลเพ่ือต่อยอดผลการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น นาไปสู่ ความก้าวหน้าทางวิชาการด้านสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวัฒนธรรม ท้องถนิ่ สกลนครแลว้ ผู้เขียนจักถอื ว่าเปน็ ความสาเรจ็ ย่ิงของหนงั สอื เล่มน้ีอยา่ งยิง่ นายพจนวราภรณ์ ขจรเนตรวณชิ กุล นกั วิชาการศึกษาปฏิบตั ิการ สถาบนั ภาษา ศลิ ปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร พิพิธภัณฑเ์ มืองสกลนคร วนั ท่ี ๑๗ สงิ หาคม พ.ศ.๒๕๖๑

๙ สารบัญ คานิยม คานา คานาผู้เรยี บเรียงพิมพ์ สารบัญ ความหลากหลายทางชาติพนั ธ์ุในสกลนคร กลมุ่ ชาติพันธไ์ุ ทลาวหรือไทอีสาน กลมุ่ ชาติพนั ธผ์ุ ู้ไทหรอื ภไู ท กลุ่มชาตพิ ันธไ์ุ ทญ้อ กลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ กลุ่มชาตพิ นั ธุ์ไทโยย้ กลุ่มชาตพิ นั ธุไ์ ทกะเลงิ กลุ่มชาวจีนหรอื ชาวไทยเชือ้ สายจีน กลุม่ ชาวญวนหรือชาวไทยเชอ้ื สายเวยี ดนาม สรุป บรรณานกุ รม

๑๐ บทนา ______________________________________________ คาว่า “ชาติพันธ์ุ” (Ethnics) เป็นคาที่ใช้เรียกกลุ่มคนท่ัวไปมีความหมายคล้ายกับกลุ่มคา เหล่าน้ีคือ เช้ือชาติ ชนชาติ เผ่าพันธุ์ เป็นคาที่ใช้กันท่ัวไปในความหมายกว้าง ๆ ว่า หมายถึง กลุ่มคน ที่มีชีวิตอยู่ในพ้ืนท่ีบริเวณหนึ่ง มีภาษา วิถีชีวิต จารีตประเพณีคล้ายคลึงกัน รวมท้ังอาจมีความสานึก ว่าเปน็ คนทมี่ ีสายโลหิตเดียวกนั และมีความเป็นอนั หนึ่งอันเดียวกันในทางวฒั นธรรม ล่มุ น้าโขงตอนลา่ งของภูมิภาคเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ มีความมง่ั คงั่ และอดุ มสมบูรณ์มาอย่าง ยาวนาน ก่อให้เกิดการตั้งถิ่นฐานกระจายเข้าครอบครองผืนแผ่นดินในอนุภูมิภาคจนเกิดลักษณะร่วม ทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมแทบเป็นหน่วยเดียวกัน โดยพบว่า เป็นกลุ่มท่ีพูดภาษาในตระกูล “ไท– กะได” (Tai-Kadai Languages Family) และตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Languages Family) หรือมอญ – เขมร (Mon – Khmer Languages Family) ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่อย่าง กว้างขวางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานของ ราชอาณาจักรไทยดว้ ยความหลากหลายทางกลมุ่ ชาติพนั ธุ์ในลุ่มแม่นา้ โขงตอนล่าง จงึ เปน็ ปรากฏการ ทางสังคมและวัฒนธรรมที่พบแพร่หลายโดยทั่วไปและพบว่า หมู่บ้านหรือชุมชนเหล่าน้ี ครั้งหน่ึงเคย อยอู่ ยา่ งโดดเด่ยี วและมคี วามเปน็ อยขู่ องตนอยา่ งอิสระ ต่อมาได้กลายเปน็ ส่วนหนงึ่ ของอาณาจกั รล้าน ช้างและสยามหรือรัฐไทยในภายหลังสาหรับท่ีอาศัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บรรดากลุ่มชาตพิ ันธ์ตุ ่างๆ แตเ่ ดมิ ได้รับการแบ่งกลุม่ ตามท่ีอยู่อาศยั เป็น 3 กลมุ่ คือ 1. ลาวล่มุ คอื กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่พื้นที่ราบประกอบดว้ ยไทกลุ่มตา่ ง ๆ อาทิ ไทลาว ไท แดง ไทดา ไทล้ือ ไทพวน เป็นต้น 2. ลาวเทงิ คือ กลมุ่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณท่ีราบสงู อาทิ บรู มะกอง งวน ตะโอย ตา เลียง ละเม็ด ละเวน กะตงั เป็นตน้ 3. ลาวสูง คือ กลุ่มประชากรท่ีอาศัยอยู่ในบริเวณภูเขาสูงตอนเหนือ อาทิ ชาวม้ง เย้า มูเซอ และชาวเขาชนกลุม่ น้อยต่างๆ แม้ว่ามีความแตกต่างทางกลุ่มภาษาไม่น้อยกว่า ๘๒ ภาษา แต่รูปแบบทางวัฒนธรรมของ กลุ่มชาติพันธ์ุในลาวและไทยยังคงเป็นอันเดียวกันมีระบบความเชื่อในเร่ืองธรรมชาติและวิญญาณ ปรากฏรูปแบบพิธีกรรมท่ีเน้นการบูชาดินฟ้าอากาศและผีบรรพบุรุษ โดยมักมีผู้หญิงเป็นผู้ประกอบ พธิ กี รรม เพือ่ นามาสู่ความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน แมร้ ะยะหลงั อิทธิพลทางพระพุทธศาสนามีบทบาท มากขน้ึ ในลุ่มน้าโขง แตค่ วามเชอ่ื ในเรือ่ งดังกล่าวยังแทรกซึมอยู่ในพธิ กี รรมทางศาสนา เหน็ ไดจ้ ากการ เซ่นไหว้บูชาผีที่เป็นอารักษ์ที่ต่างๆพร้อมกันนี้ยังมีนิทานกาเนิดมนุษย์หรือพงศาวดารเมืองแถง เป็น วรรณกรรมร่วมของผู้คนในในตระกูล “ไท – กะได” (Tai-Kadai Languages Family) และตระกูล ออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Languages Family) หรือมอญ – เขมร (Mon – Khmer Languages Family)โดยระบุว่าทั้ง 2 กลุ่ม เป็นเครือญาติกันหรือเป็นพี่น้องท้องแม่ (น้าเต้าปุง) เดยี วกนั

๑๑ ราษฎรเมืองสกลนคร จากหลากหลายกลมุ่ ชาตพิ นั ธุ์ เฝ้ารบั เสดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหลวงดารง ราชานภุ าพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ถา่ ยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศลิ ปากร

๑๒ สาหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนหรือบริเวณ “แอ่งสกลนคร” (Sakon Nakhon Basin) เป็นบริเวณหนงึ่ ท่พี บการตงั้ ถ่นิ ฐานของกลมุ่ ประชากรชาติพนั ธุ์ต่างๆ ปรากฏหลกั ฐานมาตงั้ แต่ พุทธศตวรรษท่ี ๑๙ เป็นต้นมา ภายหลังมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถ่ินฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนย่อย ท่ัวไปในหลายจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร เนื่องจากความหลากหลายทางธรรมชาติของ เทือกเขาภูพานและหนองหานอีกทั้งประกอบด้วยลาน้าหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้าโขง อาทิ ลาน้า สงครามและลาน้าก่า จนเกิดระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้าธรรมชาติทาให้สกลนครมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เกิดการอพยพเข้ามาของผู้คนจากหลายหลากกลุ่มชาติพันธุ์ กลายเป็น “เขตสะสมทางวัฒนธรรม” ดังพบร่องรอยหลักฐานการต้ังถ่ินฐานมาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ โดยรับเอาอิทธิพลทางความเชื่อ ศาสนาและวัฒนธรรม ในยุคทวารวดี ขอม ล้านช้าง และรัตนโกสินทร์ตามลาดับ โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา ผลจากความขัดแย้ง ระหว่างสยามกับเวียงจันทน์ทาให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คนเข้าสู่สกลนคร ประกอบด้วยกลุ่มชาติ พันธุ์ทอ้ งถิ่นเดิมถึง ๗ กลุ่ม ประกอบด้วย ไทลาวหรือไทอีสาน ผู้ไทหรือภไู ท ไทญอ้ ไทโส้ ไทโยย้ และ ไทกะเลิง พร้อมกันน้ียังมีกลุ่มของชาวจีนและชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาอยู่ภายหลังกระจายตัวต้ัง ถ่ินฐานอยู่ปะปนกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถิ่นเดิม ล้วนแล้วแต่มีวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมอัน นา่ สนใจ

๑๓ กลมุ่ ชาตพิ ันธ์ุไทลาวหรือไทอีสาน กลุ่มชาติพันธุ์ไทลาว หรือ “ไทอีสาน” อยู่ในกลุ่มภาษาไท - กะได (Tai –Kadai Languages Family) เป็นกลมุ่ ชาตพิ ันธท์ุ ี่มจี านวนประชากรมากทีส่ ุดพบว่า มกี ารตั้งถ่นิ ฐานอาศยั อยู่ในพน้ื ท่ีลุ่มน้า โขงก่อนพุทธศตวรรษท่ี ๒๒ อาศัยกระจายกัน แถวริมฝั่งแม่น้าโขง ต้ังแต่จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร จนถึงนครพนม ขณะนั้นเป็นส่วนหน่ึงของอาณาจักรล้านช้าง ไทลาวส่วนใหญ่มี บรรพบุรุษอพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้าโขงหรือในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปจั จบุ นั นอกจากนี้พบกระจายตง้ั ถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตา่ งๆ ของทีร่ าบสงู โคราช (Khorat Plateau) อาทิหนองบัวลาภู กาฬสนิ ธ์ุ ขอนแกน่ มหาสารคาม ยโสธร ชัยภูมิ และอุบลราชธานี เปน็ ต้น สาหรับจังหวัดสกลนครพบว่ากลุ่มไทลาวส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่กระจายทั่วไปในพ้ืนที่ ของอาเภอสว่างแดนดิน อาเภอส่องดาว อาเภอเจริญศิลป์และอาเภอพังโคน เป็นต้น อีกท้ังยังมี บางส่วนจากจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดกาฬสินธ์ุ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม อพยพเข้ามา เพิ่มเติมในช่วงพุทธศตวรรษท่ี ๒๕ โดยคนถ่ินเดิมเรียกกลุ่มท่ีเข้ามาอยู่ใหม่นี้ว่า “ไทครัว” ทาให้กลุ่ม ชาติพนั ธไ์ุ ทลาวนบั ได้วา่ เป็นกลุ่มใหญ่ทสี่ ุดในบรรดากลมุ่ ชาติพนั ธท์ุ ี่อาศยั อยู่ในบรเิ วณสกลนคร

๑๔ สตรีกลมุ่ ชาตพิ นั ธไ์ุ ทลาว ในมณฑลอุดร เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศลิ ปากร

๑๕ สตรีกลมุ่ ชาตพิ นั ธไ์ุ ทลาว ในมณฑลอุดร เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศลิ ปากร

๑๖ กลุม่ ชาติพนั ธผุ์ ู้ไทหรอื ภไู ท กลุ่มชาติพันธ์ุผู้ไทหรือภูไท จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไท - กะได (Tai Kadai Languages Family) เดิมมีถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณแคว้นสิบสองจุไททางตอนเหนือของลาวและเวียดนามซ่ึงติดต่อกับ ภาคใต้ของจีน โดยเฉพาะแถบบริเวณลุ่มแม่น้าดากับแม่น้าแดง โดยอาศัยอยู่รวมกับเผ่าอ่ืน ๆ เนื่องจากความอดุ มสมบูรณ์ของล่มุ น้าดงั กลา่ วชาวผ้ไู ทบริเวณนีแ้ บง่ ออกเป็น ๒ กลุ่ม คอื ๑. กลุ่มผู้ไทบริเวณเมืองไล (ไลเจา) ประกอบด้วยชาวผู้ไทที่อาศัยอยู่ใน ๔ เมือง คือ เมือง เจียน เมืองมุน เมอื งบางและเมืองไลบางคร้งั เรยี กว่า กลุม่ ผู้ไทขาวและผไู้ ทแดง ๒. กลมุ่ ผูไ้ ทบริเวณเมืองแถน (เดียนเบียนฟู) ประกอบด้วยชาวผู้ไทท่ีอาศัยอยู่ใน ๘ เมอื ง คอื เมืองควาย เมืองคุง เมืองม่วย เมืองลวย เมืองโมะ เมืองหวัด เมืองซาและเมืองแถง โดยท่ัวไปเรียกว่า กลุ่มผู้ไทดา นอกจากนี้มีมีบางกลุ่มได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนในพ้ืนที่ตอนกลางของลาวข้ึนต่อ เวียงจันทน์ เรียกว่า ผู้ไทวัง ผู้ไทกะปอง ผู้ไทกะตาก ก่อนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยใน ระยะต่อมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทาให้ทราบว่า กลุ่มชาติพันธ์ุผู้ไทหรือภูไทอพยพเข้ามาต้ังถนิ่ ฐานในสกลนครหลายครั้งด้วยกันโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลท่ี 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีการอพยพเข้า มามากที่สุด นอกจากน้ีพบต้ังถิ่นฐานกระจายในไปบริเวณต่าง ๆ ของแอ่งสกลนคร อาทิ นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธ์ุระยะต่อมาชุมชนชาวผู้ไทได้รับการยกข้ึนเป็นบ้านเมืองหลายแห่งด้วยกัน ประกอบดว้ ย เมืองเรณูนคร (เมอื งเว) เมืองพรรณานิคม เมืองภูแลน่ ชา้ ง (เมอื งภูแดนชา้ ง) เมอื งหนอง สงู เมืองเสนานิคม เมืองคาเขอ่ื นแกว้ และเมอื งวาริชภูมิ เป็นตน้ กลุ่มชาติพันธ์ุผู้ไทหรือภูไทสกลนครส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นหลักแหล่งกระจายอยู่ ตามหมูบ่ า้ นบรเิ วณเชิงเขาภูพาน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่อาเภอวารชิ ภูมิและอาเภอพรรณานิคม แต่มี บางส่วนต้ังถิ่นฐานอาศัยอยู่ในแถบอาเภอพังโคน อาเภอวานรนิวาส อาเภอบ้านม่วงและอาเภอคาตา กล้า โดยพบว่า มีการต้ังถ่ินฐานอยู่ในแอ่งสกลนครหลายครั้งด้วยกัน สาหรับกลุ่มชาติพันธ์ุผู้ไทในเขต จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย 3 กลุม่ หลกั ๆ ดงั น้ี - ผูไ้ ทวัง ต้งั ถ่ินฐานอยใู่ นแถบอาเภอพรรณานคิ ม - ผ้ไู ทกะปอง ต้งั ถนิ่ ฐานอยู่ในแถบอาเภอวารชิ ภมู ิ - ผู้ไทกะตาก ตั้งถิ่นฐานในเขตตาบลโนนหอม อาเภอเมืองสกลนครและทิศใต้ของหนองหาน เป็นต้น

๑๗ สตรีกล่มุ ชาติพันธผุ์ ไู้ ทหรือภไู ท ในมณฑลอุดร เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานกั หอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศิลปากร

๑๘ สตรีกล่มุ ชาติพันธผุ์ ไู้ ทหรือภไู ท ในมณฑลอุดร เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานกั หอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศิลปากร

๑๙ กล่มุ ชาตพิ นั ธุ์ไทญอ้ กลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อจัดอยู่ในกลุ่มภาษาไท - กะได (Tai - Kadai Languages Family) ส่วน ใหญ่มีถิ่นฐานอาศัยบริเวณตอนกลางของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวลาวในแถบ เมืองมะหาไซกองแกว้ เมืองคาเกิด เมืองคาม่วน นอกจากนย้ี งั มบี างสว่ นระบุวา่ อพยพจากเมืองหงสา แขวงไชยบุลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว1 โดยเข้ามาตั้งถ่ินฐานในแถบอาเภอท่าอุเทน จังหวดั นครพนม เป็นกลมุ่ ใหญ่ กลุ่มชาติพันธ์ุไทญ้อ กลุ่มใหญ่อพยพเข้ามาตั้งถ่ินฐานในเขตตัวเมืองสกลนคร เป็นกลุ่มที่มา จากเมืองมะหาไซกองแก้ว เมืองคาเกิด เมืองคาม่วน ซ่ึงอยู่ในแผ่นดนิ ฝงั่ ซ้ายแม่น้าโขงของลาวในอดตี เมื่อคร้ังแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏ หลกั ฐานระบวุ ่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ อปุ ฮาด (คาสาย) ราชวงศ์ (คา) และท้าวอนิ เมอื งมะหาไซกองแก้ว ถกู กวาดต้อนใหม้ าตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสกลนครเก่า ต่อมาราชวงศ์ (คา) ไดร้ บั การโปรดเกล้าตั้งเป็น เจ้าเมือง และยกเป็นเมืองสกลนครอย่างเป็นทางการ โดยกลุ่มไทญ้อหลัก ๆ อยู่ในพื้นท่ีของอาเภอ เมอื งสกลนคร อาเภอโพนนาแก้ว อาเภอโคกศรีสุพรรณ อาเภอเตา่ งอย และบรเิ วณชุมชนตา่ ง ๆ รอบ หนองหารเป็นต้นและยังพบว่ากลุ่มไทญ้อกระจายออกไปตั้งถ่ินฐานตามบรเิ วณต่างๆ ต่อมาได้รับการ ยกขึ้นเป็นเมือง อาทิ เมืองแซงบาดาล (บา้ นแซงบาดาล อาเภอสมเดจ็ จังหวัดกาฬสินธุ์) เมืองท่าขอน ยาง (บา้ นทา่ ขอนยาง อาเภอกนั ทรวิชัย จังหวดั มหาสารคาม) นอกจากน้ยี ังมกี ลมุ่ ไทญ้อในแถบอาเภอ พนัสนิคม และอาเภออรัญประเทศจงั หวดั ปราจีนบุรีอีกดว้ ย 1 เมธี ดวงสงค์ภูมิ – ประวตั ศิ าสตร์ท่าอุเทน ประวัตทิ า่ นพระอาจารยศ์ รีทัตถ์และประวัตพิ ระธาตทุ า่ อุเทน นครพนม : โรงพิมพ์ ส. วัฒนา 2514, หนา้ 22

๒๐ สตรกี ลมุ่ ชาติพันธไ์ุ ทญอ้ กับอปุ กรณจ์ บั ปลาในหนองหาน เมืองสกลนคร มณฑลอุดร เมือ่ พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศลิ ปากร

๒๑ สตรกี ลมุ่ ชาติพนั ธไ์ุ ทญอ้ มณฑลอดุ ร เมอื่ พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศิลปากร

๒๒ กลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ุไทโส้ กลุ่มชาติพันธ์ุไทโส้ หรือ “กะโส้” จัดอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค (Austro Asiatic Languages Family) หรือมอญ – เขมร (Mon – Khmer Languages Family ) เดิมอาศัยอยู่ใน บริเวณตอนกลางของประเทศลาวแถบเมืองมะหาไซกองแก้ว นอกจากน้ียังอาศัยแถบเมืองพิณ เมือง นอง เมืองวังอ่างคาและเมืองตะโปน ทั้งน้ีนักภาษาศาสตร์จาแนกออกเป็น 3 กลุ่มประกอบด้วย “ไท โส้”“โส้ทะวืง” สองกลุ่มนี้อาศัยในแถบจงั หวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหารและบางสว่ นของจงั หวัด กาฬสนิ ธุ์สว่ นกลุ่มสุดท้ายเรยี กวา่ “บรู” ตงั้ ถน่ิ ฐานในแถบจงั หวัดอุบลราชธานี เป็นต้น ไทโส้ในสกลนครส่วนใหญ่มีถ่ินฐานเดิมอยู่ในเขตเมืองมะหาไซกองแก้ว2 แขวงคาม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบหลักฐานการเข้ามาต้ังถ่ินฐานอาศัยของชนเผ่าไทโส้ ใน สกลนครเม่ือพุทธศักราช ๒๓๖๒ สมัยแผ่นดินล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยการนา ของเพ้ียเมืองสูง เข้ามาต้ังบ้านเรือนอยู่ท่ีริมห้วย “กุดขมาน” ก่อนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกขึ้น เป็น “เมืองกุสุมาลย์มณฑล” และภายหลังได้แยกออกไปต้ังเป็นเมืองขึ้นอีกเมืองหนึ่งคือ “เมืองโพธิ ไพศาล” ชนเผ่าไทโส้ส่วนใหญ่ อยู่ในพ้ืนที่ของอาเภอกุสุมาลย์และจัดเป็นกลุ่มใหญ่สุดอาศัยอยู่ใน สกลนครนอกจากนี้ยังพบว่ามอี ีกกลุ่มหน่ึงที่เรียกตนเองว่า “โสท้ ะวึง” ตัง้ ถิ่นฐานใกล้กับเชิงเขาภูพาน ในแถบท่ีบา้ นปทมุ วาปี ตาบลปทุมวาปี อาเภอส่องดาว จังหวัดสกนคร 2 ประเวท แดงดา (บรรณาธิการ) นทิ านโบราณคดี พระนิพนธ์ : สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดารงราชานภุ าพ นนทบรุ ี : สานักพมิ พ์ดอก หญ้า 2000 2559 หนา้ 275

๒๓ ชายกลมุ่ ชาตพิ ันธโ์ุ ส้หรอื กระโส้ ในมณฑลอุดร เมอื่ พ.ศ.2449 ภาพ : สานกั หอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศิลปากร

๒๔ พระอรญั อาสา (กง่ิ ) และนางพระอรญั อาสา ภรรยา เจา้ เมืองกสุ ุมาลย์มณฑล ถา่ ยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศิลปากร

๒๕ การเล่น “สะโลออ๊ ” หรือ “สะลา” ตามความเชื่อของกลุม่ ชาติพันธโุ์ ส้ ในมณฑลอดุ ร เมอื่ พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานกั หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร

๒๖ สตรกี ลมุ่ ชาติพนั ธไ์ุ ทโส้ ในมณฑลอุดร เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๖๕ ภาพ : สานกั หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศลิ ปากร

๒๗ กลุ่มชาติพันธ์ุไทโย้ย กลุ่มชาตพิ นั ธ์ไุ ทโย้ย จดั อยใู่ นกลุ่มภาษาไท - กะได (Tai –Kadai Languages Family) แต่ เดิมต้ังถิ่นฐานอาศัยในแถบเมืองฮ่อมท้าวฮูเซ3หรือเมืองหอมทา้ ว เมืองหลวงปุงเลง และเมืองตะโปน บรเิ วณตอนกลางของประเทศลาวตอ่ มาได้อพยพเขา้ มาตัง้ ถิ่นฐานในประเทศไทย แตใ่ นนิทาน โบราณคดี พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ เมอื่ ครั้งเสด็จตรวจราชการมณฑล อุดรและมณฑลอีสาน พ.ศ.2449 กล่าววา่ “พวกโย้ย อยู่ที่เมอื งอากาศอานวยขึน้ เมืองสกลนคร ถาม ไมไ่ ดค้ วามว่าถ่นิ เดิมอยู่ทไ่ี หน”4 ไทโยย้ ในสกลนคร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชดั ว่าเข้ามาต้งั ฐานฐานในสมัยใด หากแต่ในสมัย รตั นโกสนิ ทร์ตอนต้นพบหลกั ฐานระบุชัดว่า มีการต้ังถนิ่ ฐานเป็นชมุ ชนของราษฎรท่ีเป็นกลุม่ ชาติพันธุ์ ไทโย้ยในแขวงเมืองสกลนคร โดยบางชมุ ชนไดร้ บั โปรดเกล้ายกขน้ึ เป็นเมืองในรชั สมัยแผน่ ดนิ พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกล้าเจา้ อยู่หัวรัชกาลท่ี 3 และรชั กาลท่ี 4 อาทิ เมืองอากาศอานวย เมอื งสว่าง แดนดนิ และเมืองวานรนวิ าส กลมุ่ ชาติพนั ธ์ุไทกะเลิง กลุ่มชาตพิ นั ธุ์ไทกะเลิง เปน็ อีกกลมุ่ หน่ึงทป่ี ัจจุบนั มภี าษาพูดในกล่มุ ไท – กะได (Tai – Kadai Languages Family) โดยทว่ั ไปมักเข้าใจกนั วา่ “กะเลิง” มาจากคาวา่ “ขะเลิง” หรอื “ข่าเลิง” จึง เชื่อมโยงจดั ให้กลุม่ ชาติพันธกุ์ ะเลิงภาษาออสโตรเอเชยี ติค (Austro Asiatic Languages Family) หรอื มอญ – เขมร (Mon – Khmer Languages Family ) แตจ่ ากการศกึ ษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ กะเลิงท่ีอาศยั อยู่ในจงั หวดั สกลนครและอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปจั จบุ นั ต่าง มภี าษาพดู ในตระกลู ไท – กะได(Tai – Kadai Languages Family) แทบทงั้ สน้ิ โดยตั้งถ่ินฐานอาศยั อย่ใู นเขตแขวงเมืองคาเกดิ แขวงเมอื งคาม่วน สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ก่อนอพยพ และถูกกวาดต้อนเน่ืองจากผลแหง่ สงครามเข้ามาตั้งถ่ินฐานในแถบนครพนมและสกลนครเป็นส่วน ใหญ่ นอกจากนพี้ ระนิพนธ์ เร่อื งนิทานโบราณคดี ของสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานภุ าพ เม่ือครั้ง เสดจ็ ตรวจราชการมณฑลอดุ รและมณฑลอีสาน พ.ศ.2449 กลา่ วว่า “พวกกะเลิง พบในแขวง สกลนครมมี าก วา่ ถ่นิ เดมิ อย่เู มอื งกะตากแต่ไม่รวู้ า่ เมืองกะตากอยู่ที่ไหน เพราะอพยพมาอยูใ่ นแดน ลานชา้ งหลายชวั่ คน”5 กลมุ่ ชาติพนั ธุ์กะเลงิ อพยพเขา้ มาอาศัยในจงั หวดั สกลนครสมัยรัตนโกสินทร์ และส่วนใหญ่ตง้ั ถน่ิ ฐานอาศยั อยบู่ รเิ วณรมิ หนองหารกบั บรเิ วณเทือกเขาภพู านมวี ิถีชวี ิตทผ่ี ูกพนั กับธรรมชาติ ปจั จุบัน ไทกะเลงิ สว่ นใหญ่อาศยั ยใู่ นพื้นที่ของบ้านนายอ บ้านโพนงาม อาเภอเมอื งสกลนคร และมีบางกลุ่มท่ี อพยพขึ้นไปตง้ั ถน่ิ ฐานในแถบอาเภอกุดบาก อาเภอภูพาน เปน็ ตน้ 3 สานกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั สกลนคร ประวตั ชิ นเผ่าพ้นื เมอื ง จังหวัดสกลนคร ไม่ระบสุ ถานทพี่ ิมพ์ 2545 หน้า17 4 ประเวท แดงดา (บรรณาธิการ) นทิ านโบราณคดี พระนพิ นธ์ : สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดารงราชานภุ าพ นนทบรุ ี : สานักพิมพด์ อก หญา้ 2000 2559 หน้า 274 5 ประเวท แดงดา (บรรณาธิการ) นิทานโบราณคดี พระนพิ นธ์ : สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานภุ าพ นนทบรุ ี : สานักพมิ พด์ อก หญา้ 2000 2559 หน้า 273

๒๘ ชายกล่มุ ชาติพนั ธ์ุกะเลิง ในมณฑลอดุ ร เม่อื พ.ศ. ๒๔๔๙ ภาพ : สานกั หอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศิลปากร

๒๙ สตรกี ลมุ่ ชาติพันธุ์กะเลงิ ในมณฑลอดุ ร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศิลปากร

๓๐ ราษฎรชาตพิ ันธ์กุ ะเลงิ ในมณฑลอดุ ร เม่ือ พ.ศ. ๒๔๖๕ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศลิ ปากร

๓๑ กลุ่มชาวจีนหรอื ชาวไทยเช้ือสายจนี ชาวไทจีนหรือ ไทยเช้ือสายจีน คือ ชาวจีนท่ีเกิดในประเทศไทยหรือมีเป็นเชื้อสายของผู้ อพยพชาวจีนหรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทอีสานและไทลาวส่วนใหญ่อาจเรียกว่า “เจ๊ก” ส่วนมากมัก เป็นเชื้อสายจีนแต้จ๋ิวรองลงมา ได้แก่ จีนแคะ จีนไหหลา จีนกวางตุ้ง จีนฮกเก้ียน ไทจีนสาหรับการ เข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในประเทศไทยมีหลักฐานเด่นชัดในสมัยอยุธยาสืบเนื่องมาจนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ โดยเข้ามาต้ังรกรากทาการค้าขาย และทาการรบั จ้างทั่วไป การทาทางรถไฟสายกรุงเทพ – นครราชสมี า ในสมัยรัชกาลท่ี ๕ เป็นส่วนสาคญั ทาใหช้ าวจีน ไดเ้ ข้าส่ภู าคอีสานมากขนึ้ โดยมีจุดเร่ิมตน้ ทจี่ ังหวัดนครราชสีมา ก่อนกระจายเข้ามาตั้งบ้านเรือนทามา หากินในชุมชนเมือง ตามทางรถไฟโดยเฉพาะเมืองท่ีเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ อาทิ ขอนแก่น อดุ รธานี หนองคาย อบุ ลราชธานี เป็นตน้ การเข้ามาของชาวจนี ในจงั หวัดสกลนคร พบหลักฐานเขา้ มา ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๓๒6 สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยทาการค้าขาย ตั้งรกรากทามาหากินและแต่งงานกับคนใน พ้ืนที่ โดยเฉพาะในเขตอาเภอเมืองสกลนคร อาเภอสว่างแดนดิน อาเภอพังโคน ปัจจุบันชาวจีนมี บทบาทอย่างกว้างขวาง อาทิ ด้านสังคม เศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรม ของจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะบทบาทด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมืองท้องถ่ินยกตัวอย่างเช่น การค้าขายในจังหวัด การมสี ่วนรว่ มทางการเมืองทอ้ งถน่ิ รวมทั้งการกอ่ ต้งั สมาคมชาวจนี ภายในจงั หวดั 6 หอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศลิ ปากร ใบบอกเมืองสกลนครม.2.123/1(94) วัน 1710 คา่ ปีฉลูเอกศก ศักราช 1251 (2432)

๓๒ การทาทางรถไฟสายกรงุ เทพ – นครราชสมี า ในสมยั รชั กาลที่ ๕ เปน็ ส่วนสาคญั ทาให้ชาวจีนไดเ้ ขา้ ส่ภู าคอสี านมากขึ้น ภาพ : สานกั หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศลิ ปากร

๓๓ “ปงึ เถ่ากง – ปงึ เถา่ มา่ ” หรอื “เจ้าปู่ – ยา่ ” เปน็ ส่งิ ศกั ดสิ์ ทิ ธิ์ท่ีชาวจีนหรือชาวไทยเชอ้ื สายจนี ในท้องถ่นิ ตา่ งๆ ใหค้ วามเคารพนบั ถือ ภาพ : คุณประสาท ตงศริ ิ

๓๔ กลุ่มชาวญวนหรอื ชาวไทยเชอ้ื สายเวียดนาม ชาวญวน หรือชาวไทยเชอ้ื สายเวยี ดนาม คือ คนเวียดนามอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศ ไทยและชาวเวยี ดนามท่เี กดิ ในประเทศไทยโดยชาวญวน หรอื ชาวไทยเชอ้ื สายเวียดนามมักเรยี กตนเอง วา่ “เหวียต”บางครั้งคนอสี านและไทลาวเรยี กว่า “แกว” แตเ่ ดิมชาวเวยี ดนามกระจายตัวอยู่ทางตอน ใตข้ องประเทศจีน ปจั จบุ นั คอื สาธารณรัฐสงั คมนิยมเวียดนามสาหรับการเข้ามาตั้งถ่นิ ฐานในประเทศ ไทยของชาวญวนหรือชาวเวียดนามน้ันแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มญวณเก่าหรือเวียดนามเก่า คือ กลุ่มที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๘ หรือเม่ือก่อนการประกาศพระราชบัญญัติ ตรวจคนเขา้ เมือง พุทธศักราช ๒๔๘๘ และกลุม่ ญวนใหม่หรือเวียดนามใหม่ เรียกอีกอย่างหนง่ึ ว่าญวน อพยพหรือเวียดนามอพยพคือ กลุ่มท่ีเข้ามาภายหลังปี พ.ศ. ๒๔๘๘ และหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กลุ่มน้ีมีฐานะเป็นคนต่างด้าว และระยะหลังถูกผลักดันให้กลับมาตุภูมิโดยสมัครใจบางกลุ่มส่วนใหญ่ ได้รับสัญชาติไทยในเวลาต่อมา ชาวไทยเช้ือสายเวียดนามส่วนมากอาศัยอยู่หนาแน่นต่างๆในจังหวัด ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื ได้แก่ นครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร และอุบลราชธานี เป็นต้น ชาวไทญวน หรือ ชาวไทยเช้ือสายเวียดนาม อพยพเข้ามาต้ังถิ่นฐานในจังหวัดสกลนคร สามารถแบง่ ออกได้ ๓ กลมุ่ ดงั นี้ กลุ่มแรก ตามหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารพ้ืนเวียง กล่าวถึงการกวาดต้อนกลุ่มชาติพันธ์ุ ต่างๆ แถบเมืองมหาชัยกองแก้ว และภูเขาอาก ซ่ึงเป็นภูเขาแบ่งเขตลาว – เวียดนาม ในครั้งนั้นได้ เรียกชาวเวียดนามกลมุ่ น้ีว่า “แกว” โดยข้ามแม่น้าโขงเข้ามาต้ังถิ่นฐานในบ้านเมืองต่างๆ ในสยามแต่ ยังมีจานวนไม่มากนัก กลุ่มทสี่ อง สมัยรชั กาลที่ 5 เมื่อเกิดศึกฮ่อตีทุ่งเชียงคาเวยี งจันทน์ ชาวเวยี ดนามและกลุ่มชาติ พันธ์ุ ในแถบเมืองภูวดลสอาง ได้เข้ามาในสกลนครอีกครั้งหน่ึง และทาให้มีชาวเวียดนามในเมือง สกลนครมากข้ึน บางส่วนได้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งชุมชนใหม่ท่ี บ้านทา่ แร่ ด้านทศิ เหนอื ของหนองหาน ในปีพุทธศกั ราช 2427 จนถึงปัจจุบัน กลุ่มท่ีสาม ในปี พ.ศ. 2488 ช่วงปลายสงครามโลกคร้ังที่ 2 ฝรั่งเศสเข้ายึดครองอินโดจีนอีก ครั้งหนึ่ง ชาวเวียดนามได้อพยพหนีสงครามเข้าสู่อีสานและจังหวัดสกลนครเป็นจานวนมากที่สุดกว่า ทุกครงั้ การเข้ามาของชาวเวียดนามในช่วงแรก มักบ้านเรือนอยู่ในแถบชุมชนเมืองตามริมแม่น้าโขง แล้วขยายเข้าสูช่ มุ ชนเมอื งทีอ่ ยูห่ า่ งออกไปในระยะต่อมาปจั จบุ นั ชาวไทยเช้ือสายเวียดนามในสกลนคร ค่อนข้างมีบทบาทในด้านต่างๆ ภายในท้องถ่ิน อาทิ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม อย่าง กว้างขวางเหมือนชาวจีน โดยเฉพาะธุรกิจการรับเหมาก่อสร้างของชาวไทยเชอื้ สายเวียดนาม และใน ด้านวฒั นธรรมปรากฏอยู่ตามวัด ในสกลนคร อาทิ ฝีมือการก่อสร้างพัทธสีมาหลังเก่าและหอระฆังวัด พระธาตุเชิงชุม วรวิหาร พัทธสีมาวัดศรีสะเกษและพัทธสีมาวัดสะพานคา อาเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นต้นชาวไทญวนหรือชาวไทยเช้ือสายเวียดนามยังกระจายตั้งถิ่นฐานในหลาย อาเภอของสกลนคร อาทิ อาเภอเมอื งสกลนคร อาเภอพังโคน และอาเภอสว่างแดนดนิ เปน็ ต้น

๓๕ ชาวเวยี ดนามอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวดั สกลนครหลายคร้ังด้วยกัน ระยะแรกมาอยู่เป็น กลุ่มมีอาชีพปลูกพืชเล้ียงสัตว์และรับจ้าง โดยอาศัยเช่าบ้านคนในพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบ อาชีพส่วนมากต้ังถิ่นฐานตามชุมชนเมือง โดยเฉพาะเมืองท่ีเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสาคัญ และ มักจะเลือกทาเลการต้ังถิ่นฐานเหมือนกับชาวจีน เม่ือประกอบด้วยเรื่องการสะดวกในการติดต่อ ค้าขาย ความม่นั คงของอาชพี และความปลอดภยั ในชีวติ ทรัพย์สิน โดยอาศยั อยูร่ วมกนั ปะปนกับคนใน ท้องถ่ิน สาหรับรูปแบบที่พักอาศัยพบว่าเป็นห้องแถวไม้หรือปูนชั้นเดียวหรือ 2 ช้ัน ประตูเป็นบาน เฟี้ยมชั้นล่างใช้ทาการค้าขายชั้นบนเป็นท่ีพักอาศัย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย เช่น เสื้อผ้า อาหาร อะไหลร่ ถจกั รยาน จกั รยานยนต์ รถยนต์ ตัดเย็บเมอ้ื ผ้า และขายวสั ดกุ ่อสร้าง เปน็ ตน้

๓๖ ราษฎรชาวญวนหรอื เวียดนาม ในมณฑลอดุ ร เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๔๕ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตแุ หง่ ชาติ กรมศลิ ปากร

๓๗ ราษฎรทเี่ ปน็ ญวนเกา่ และญวนใหม่ ในมณฑลอดุ ร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ภาพ : สานักหอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศิลปากร

๓๘ สรุป สกลนครมีการตั้งถ่ินฐานของกลุ่มประชากรชาติพันธ์ุต่างๆ ปรากฏหลักฐานมาต้ังแต่พุทธ ศตวรรษท่ี 19 เป็นต้นมา ภายหลังมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาต้ังถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนย่อยท่ัวไปใน หลายจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร ความหลากหลายทางธรรมชาติของเทือกเขาภูพานและ หนองหาน มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ จึงเกิดการอพยพเข้ามาของ ผู้คนจากหลายหลากกลุ่มชาติพันธุก์ ลายเป็น “เขตสะสมทางวัฒนธรรม” ดังพบร่องรอยหลักฐานการ ต้ังถ่ินฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา ผลจาก ความขัดแย้งระหว่างสยามกับเวียงจันทน์ทาให้เกิดการเคล่ือนย้ายของผู้คน ส่วนมากประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธ์ุท้องถิ่นเดิมถึง ๖ กลุ่ม ประกอบด้วย ลาวหรืออีสาน ผู้ไทหรือภูไท ญ้อ โส้ โย้ย และ กะเลิง ปะปนกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ในท้องถ่ินเดิม รวมทั้งชาวจีนและชาวญวนหรือเวียดนาม ที่อพยพ เข้ามาต้ังถิ่นฐานในภายหลัง ดังนั้นเมืองสกลนครจึงกลายเป็นเขตสะสมทางวัฒนธรรมที่มีผู้คนอาศัย อยู่ปะปนกันบนบริเวณผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์และล้วนแล้วแต่มีวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมอัน น่าสนใจ

๓๙ บรรณานกุ รม หนงั สอื และบทความในหนงั สือ เกรยี งไกร ปรญิ ญาพล. บรรณาธิการ. พงศาวดารเมอื งสกลนคร : ฉบับ รองอามาตย์โท พระบริบาลศภุ กจิ (คาสาย ศริ ิขนั ธ)์ . สกลนคร : โรงพมิ พส์ กลนครการพมิ พ์, ๒๕๕๘. มลู นิธสิ ารานุกรมวฒั นธรรมไทย ธนาคารไทยพานชิ . “สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอสี าน เลม่ ๘ ประจนั ตประเทศธานี,พระยา – พงศาวดาร เมอื งสกลนคร”,พมิ พ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒, กรุงเทพ, ๒๕๔๒. ประเวท แดงดา (บรรณาธิการ) นทิ านโบราณคดี พระนิพนธ์ : สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ นนทบรุ ี : สานกั พมิ พ์ดอกหญ้า ๒๐๐๐ ,๒๕๕๙. พจนวราภรณ์ เขจรเนตร. บรรณาธกิ าร. พงศาวดารเมืองสกลนคร : ฉบับอามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคา พรหม สาขา ณ สกลนคร ณ สกลนคร).สกลนคร : สมศักดิก์ ารพมิ พ์ กร๊ปุ สกลนคร, ๒๕๖๑. พจนวราภรณ์ เขจรเนตร. บรรณาธิการ. พงศาวดารเมืองสกลนคร : ฉบับลายมือ อามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคา พรหมสาขา ณ สกลนคร ณ สกลนคร). สกลนคร : สมศักด์ิการพิมพ์ กรุป๊ สกลนคร, ๒๕๖๑. เมธี ดวงสงคภ์ มู ิ – ประวตั ศิ าสตรท์ ่าอุเทน ประวัติทา่ นพระอาจารยศ์ รีทัตถ์และประวตั ิพระธาตุ ท่าอเุ ทน นครพนม : โรงพิมพ์ ส.วัฒนา,๒๕๑๔. สรุ ตั น์ วรางคร์ ตั น์. บรรณาธิการ. ตานานพงศาวดารเมืองสกลนคร : ฉบับอามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคา พรหมสาขา ณ สกลนคร ณ สกลนคร). สกลนคร: สกลนครการพิมพ์, ๒๕๒๓. สานักงานศกึ ษาธิการจังหวดั สกลนคร ประวตั ชิ นเผ่าพืน้ เมือง จังหวัดสกลนคร ไม่ระบสุ ถานที่พมิ พ์ ๒๕๕๔ หน้า ๑๗.

๔๐ รายช่ือผู้มอี ุปการคณุ ในการจัดพิมพ์ : ๑. พิพธิ ภณั ฑ์เมืองสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภฏั สกลนคร ๒. ศูนย์อนรุ กั ษ์วฒั นธรรมพนื้ บ้านหทยั ภพู านสกลนคร ๓. นายพจนวราภรณ์ เขจรเนตร – นางสาวอมรรัตน์ ธนู ๔. ดร. ปรู ิดา วปิ ัชชา ๕. ดร. พิมพอ์ มร นิยมค้า ๖. นายจกั รกฤษณ์ ดเิ รกคุณาภรณ์ – นางสาวสุพรรษา อนิ ทรวศิ ษิ ฎ์ ๗. คุณปกรณ์ ปกุ หตุ

๔๑


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook