Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore OECJournalVol.01-64E-book

OECJournalVol.01-64E-book

Published by kaabluehd1, 2021-06-14 09:16:15

Description: OECJournalVol.01-64E-book

Search

Read the Text Version

ISSN : 1686-5073 ปที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2564 FOorEuCm Age of Digital Learning Oสำffนicกั eงoานf tเลheขาEธdกิ uาcรaสtภioาnกCารoศuกึnษciาl www.onec.go.th

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย สารบัญ วารสารการศึกษาไทย OEC JOURNAL ปีที่ 18 ฉบับท่ี 1 มกราคม – มนี าคม 2564 2 บทความวิชาการ..... วรี ะพงษ์ อเู๋ จริญ 5 ปี สภาการศึกษาเสวนาการศึกษาวิถีใหม่ในโลกการเรยี นรูย้ ุคดิจทิ ัล 12 รายงานการวจิ ยั ..... ศลษิ า ใจสมทุ ร การประเมนิ ผลการส่ือสารและประชาสัมพันธ์ ของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 22 บทความวิชาการ..... อลงกรณ์ เกดิ เนตร และ ศักดช์ิ ยั ไชยรกั ษ์ คณุ ลักษณะและสมรรถนะที่จำ� เปน็ ส�ำหรบั ครูและนักศึกษาครูในยุคดิจทิ ัล 31 รายงานการวจิ ัย..... ฐติ ินันทน์ ผิวนลิ และ ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.อดุ มพร ช้ันไพบูลย์ ความพรอ้ มต่อการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ ของโรงเรยี นสังกัดกรุงเทพมหานคร 40 บทความวิชาการ..... อาทติ ย์ ฉิมกลุ กระบวนการสรา้ งส่ือการเรยี นรูช้ วี วิทยาเพ่ือพัฒนา ความสามารถในการยกระดับผลสัมฤทธิท์ างการเรยี น ของนักเรยี นระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย คณุ ลักษณะและสมรรถนะที่จำ� เปน็ การพัฒนาทักษะการทดลอง Communicative Language ส�ำหรบั ครูและนักศึกษาครู ส�ำหรบั นักเรยี น Teaching (CLT): ในยุคดิจทิ ัล ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 3 The Paradigm Shift of 22 Language Teaching 42 68

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย 42 รายงานการวจิ ยั ..... รัตนาภรณ์ รตั นบุรี และ กองบรรณาธิการ ดร.บรรณรักษ์ ค้มุ รักษา การพัฒนาทักษะการทดลอง เจา้ ของ ส�ำหรบั นักเรยี น สำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 3 โดยใชแ้ นวทางการเรยี นรู้ ท่ีปรกึ ษา แบบใชว้ ิจยั เป็นฐาน เร่อื งคณุ ภาพของน้�ำในท้องถิ่น : ดร.อำ� นาจ วชิ ยานุวัติ กรณีศึกษาโรงเรยี นบ้านซอย 2 เลขาธิการสภาการศกึ ษา จงั หวัดสุราษฎรธ์ านี ดร.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ รองเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา 56 บทความวชิ าการ..... ดร.พีรศกั ด์ิ รัตนะ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณวดี ชยั ชาญกลุ รองเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา Challenges of Writing : ดร.คมกฤช จันทรข์ จร The Narrative Essay ผ้ชู ว่ ยเลขาธกิ ารสภาการศึกษา ผู้อ�ำนวยการสำ� นกั อำ� นวยการ 68 บทความวชิ าการ..... สหรัฐ ลักขณะสุต ผู้อ�ำนวยการสำ� นักนโยบายและแผนการศกึ ษา ผอู้ ำ� นวยการส�ำนักประเมนิ ผลการจดั การศกึ ษา Communicative Language ผู้อ�ำนวยการสำ� นักพัฒนากฎหมายการศกึ ษา Teaching (CLT) : ผอู้ ำ� นวยการสำ� นกั มาตรฐานการศกึ ษาและพฒั นาการเรยี นร ู้ The Paradigm Shift of ผู้อำ� นวยการส�ำนักวจิ ัยและพัฒนาการศึกษา Language Teaching ผอู้ ำ� นวยการส�ำนกั นโยบายความร่วมมอื กับต่างประเทศ ผอู้ �ำนวยการส�ำนกั นโยบายการพัฒนาเดก็ ปฐมวัย 75 บทความวิชาการ..... ขนิษฐา จริ วิริยวงศ์ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักสอ่ื สารองค์กร ยุทธศาสตรก์ ารศึกษาจนี คณะท�ำงาน สู่ความทันสมัย 2035 นางนนั ทชิ า ไวยนพ นางสาวพกิ ุล กนั ทะวงั วตั ถปุ ระสงค์ ดร.รงุ่ นภา จติ รโรจนรกั ษ์ นางสาวตวงดาว ศลิ าอาศน ์ นายปานเทพ ลาภเกษร นายอทิ ธกิ ร เถกิงมหาโชค 1) เพ่อื เผยแพรน่ โยบาย ยุทธศาสตร์ นวตั กรรม องค์ความรู้ นางสาวณฐั กิ า นติ ยาพร นางสาววรญั ภรณ์ คณุ เวช การพัฒนาการศึกษาไทย นายวีระพงษ์ อู๋เจรญิ นางสาวอัจฉรา ทังนะที 2) เพื่อเปน็ สื่อกลางในการสร้างความเข้าใจ แลกเปลยี่ นเรยี นรู้ นายภาณุพงศ์ พนมวัน นางสาวขวัญเมษา จงนุเคราะห์ และสร้างการมสี ่วนร่วมทางการศึกษา ดร.วิภาดา วานิช นางสาววิภาณี พลอยสง่ ศรี 3) เพื่อเป็นการเปิดเวทีการน�ำเสนอเร่ืองราวทางการศึกษา ส�ำหรับหน่วยงานการศึกษารวมถึงประชาชนท่ัวไป จดั พิมพ์ สู่เป้าหมายในการเป็นวารสารช้ันน�ำท่ีมีมาตรฐานและ คณุ ภาพทางวชิ าการ บริษทั เอส.บ.ี เค. การพมิ พ์ จำ� กัด

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย 5 ปี สภาการศึกษา วรี ะพงษ์ อเู๋ จรญิ ส�ำนักประเมนิ ผล การจดั การศึกษา เสวนาการศึกษาวิถีใหม่ ในโลกการเรยี นรูย้ ุคดิจทิ ัล (New Normal Education in Age of Digital Learning) ส�ำ นักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นที่รู้จักของสังคมจากการเป็นหน่วยงานภาครัฐท่ีท�ำหน้าท่ีจัดท�ำ นโยบายและแผนการศึกษาของประเทศ ท�ำหน้าที่ในการช้ีท�ำทิศทางและแนวทางในการจัดการศึกษา เพ่ือให้ การจัดการศึกษาของประเทศไทยมีความเป็นเอกภาพ ต่อเนื่องตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา และ สอดคล้องกนั ในทุกระบบการศกึ ษาและในทกุ สังกัด แต่เบื้องหลังก่อนทีน่ โยบายและแผนการศึกษาต่าง ๆ จะท�ำส�ำเรจ็ ได้นั้น ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาให้ความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งของการจัดท�ำนโยบายและแผนการศึกษา บนพื้นฐานของข้อมูลท่ีถูกต้องและทันต่อสถานการณ์ โดยใช้การวิเคราะห์สภาวการณ์ทางการศึกษาเป็นกระบวนการ ในการสรา้ งความนา่ เชอื่ ถอื ให้แกน่ โยบายและแผนการศึกษาตา่ ง ๆ ท่ีเกดิ ข้ึน การวิเคราะห์สภาวการณ์ทางการศึกษาเร่ิมจัดท�ำข้ึนคร้ังแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษา วิเคราะห์บริบทที่เก่ียวข้อง ประเด็นท้าทาย ปัญหา อุปสรรค และความส�ำเร็จในการจัดการศึกษาของประเทศในช่วง เวลานั้น โดยเน้นการใช้ข้อมูลสถิติทางการศึกษาเป็นฐานในการวิเคราะห์ และศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะ ทางการศึกษาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับนานาชาติผ่านดัชนีตัวชี้วัดนานาชาติ และจัดท�ำเป็นข้อเสนอ เชงิ นโยบายในการพฒั นา/แกไ้ ขปญั หาการศกึ ษาไทยทีส่ อดคล้องกบั สถานการณ์ในช่วงเวลานัน้ ๆ อยา่ งไรกต็ าม ในชว่ งเวลา 5 – 10 ปที ผี่ า่ นมา สถานการณข์ องโลกในยคุ ปจั จบุ นั มคี วามเปลย่ี นแปลงรวดเรว็ รนุ แรง อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดการวิเคราะห์สถานการณ์ทาง การศกึ ษาปลี ะหนงึ่ ครงั้ ไมเ่ พยี งพอและไมท่ นั ตอ่ สถานการณอ์ กี ตอ่ ไป จำ� เปน็ ตอ้ งมกี ารวเิ คราะหส์ ภาวการณท์ างการศกึ ษา เพมิ่ มากขนึ้ ในประเดน็ ทห่ี ลากหลายขนึ้ เพอื่ ใหท้ นั ตอ่ สถานการณท์ เ่ี ปลย่ี นแปลง และสามารถแกไ้ ขปญั หาทางการศกึ ษาให้ อยา่ งทนั ทว่ งที ดว้ ยเหตนุ ้ี ในปี พ.ศ. 2559 สำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษาจงึ ไดเ้ รม่ิ ตน้ จดั ทำ� โครงการประชมุ ทางวชิ าการ สภาการศกึ ษาเสวนา (OEC Forum) ขน้ึ มาเปน็ ครง้ั แรก โดยมวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื ศกึ ษา วเิ คราะหป์ ระเดน็ รว่ มสมยั ทาง การศึกษาที่สาธารณชนให้ความสนใจหรือส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา โดยใช้เวทีสภาการศึกษาเสวนาเป็นเวที แลกเปล่ียนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นร่วมสมัยทางการศึกษา รวมทั้งน�ำเสนอแนวทางในการพัฒนา การศกึ ษาหรอื แกไ้ ขปญั หาทเี่ กดิ ขน้ึ อนั นำ� ไปสกู่ ารกำ� หนดขอ้ เสนอเชงิ นโยบายในอนาคต กระบวนการเชน่ น้ี เปน็ การเปดิ มติ ใิ หมใ่ นการจดั ทำ� ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายของสำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษาทเ่ี ปดิ โอกาสใหผ้ มู้ สี ว่ นเกย่ี วขอ้ ง ผมู้ สี ว่ นได้ สว่ นเสยี เขา้ มารว่ มคดิ รว่ มขอ้ เสนอ และรว่ มจดั ทำ� ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายไปพรอ้ มกบั สำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา 2 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ตลอดระยะเวลา 5 ปที ่ีผ่านมา เวที OEC Forum ไดด้ �ำเนนิ การไปแล้วทัง้ สิน้ 38 ครง้ั และในปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 จะด�ำเนินการอกี 8 ครัง้ โดยทผี่ า่ นมา การประชมุ OEC Forum ได้นำ� เสนอประเด็นร่วมสมัยทางการศกึ ษา ในหลากหลายมิติ หลากหลายมุมมอง อาทิ ระบบการศึกษา กฎหมายการศึกษา คุณภาพการศึกษา ความเหล่ือมล้�ำ ทางการศึกษา ประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก วทิ ยากร ผู้ทรงคุณวุฒิจ�ำนวนมากหลากหลายสาขา โดยแบง่ เป็นประเดน็ ต่าง ๆ ดงั นี้ 1. การปฏิรปู การศึกษา นโยบายและแผน และแนวโนม้ การจดั การศึกษา จ�ำนวน 11 คร้งั 2. การจัดการเรียนการสอน จ�ำนวน 8 ครง้ั 3. ความสามารถทางการแข่งขันทางการศกึ ษา จ�ำนวน 6 ครัง้ 4. การพัฒนาก�ำลังคนตลอดช่วงวัย จ�ำนวน 4 ครงั้ 5. คณุ ภาพและความเหลื่อมล�ำ้ ทางการศึกษา จำ� นวน 3 ครงั้ 6. งบประมาณทางการศึกษา จำ� นวน 3 คร้งั 7. ครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา จ�ำนวน 3 ครง้ั ในบทความนี้จะรวบรวม และทบทวนให้เห็นถึงประเด็นทางการศึกษาท่ีเกิดข้ึนในช่วงเวลา 5 ปีผ่านมา รวมทัง้ วเิ คราะหส์ ถานการณแ์ ละแนวโนม้ ทางการศกึ ษาทีจ่ ะเกดิ ขน้ึ ในอนาคต ดังนี้ OEC Forum 2015 – 2016 จากข้อเสนอสู่นโยบาย ปีแรกของการจัดประชุม OEC Forum เป็นช่วงเวลาเร่ิมต้นของการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ซง่ึ ดำ� เนนิ การโดยสภาขบั เคลอื่ นการปฏริ ปู ประเทศ และอยใู่ นระหวา่ งการรา่ งรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทยฉบบั ใหม่ และส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาอยู่ในระหว่างการจัดท�ำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ท่ีครบก�ำหนดการด�ำเนินการในปี พ.ศ. 2559 ขณะท่ีภูมิทัศน์ทางการศึกษาของประเทศไทยเปล่ียนแปลงไปอย่างมาก นโยบายทางการศึกษาให้ความส�ำคัญกับการกระจายอ�ำนาจทางการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาคเพ่ิมมากข้ึน ภายใต้แนวคิด ที่ว่าไม่มีใครเข้าใจการจัดการศึกษาในพ้ืนท่ีดีไปกว่าคนในพ้ืนท่ีนั้นเอง การจัดการศึกษาควรให้คนในพ้ืนที่ได้มีส่วนร่วม ในการกำ� หนดทศิ ทางในการจดั การศกึ ษาของตนเอง ภายใตแ้ นวคดิ ดงั กลา่ วนี้ ทำ� ใหม้ กี ารจดั ตงั้ สำ� นกั งานศกึ ษาธกิ ารภาค และส�ำนักงานศึกษาธิการจังหวัดท�ำหน้าท่ีในการขับเคลื่อนและเชื่อมต่อนโยบายทางการศึกษาจากส่วนกลาง สูท่ อ้ งถ่ินให้เกิดผลเปน็ รปู ธรรมมากยงิ่ ข้ึน การประชุม OEC Forum เร่ิมต้นด้วยหัวข้อ “มองไปข้างหน้าอย่างท้าทาย : บทบาทผู้น�ำการปฎิรูป การศึกษาของสภาการศึกษา” เป็นการเร่ิมต้นด้วยการระดมความคิดเห็นเก่ียวกับบทบาทของส�ำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษาในการเป็นผู้น�ำในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ โดยบทบาทของสภาการศึกษาควรเป็นเสนาธิการ ทางการศึกษา คลังสมอง ท่ีพ่ึงด้านการศึกษาของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง และเป็นกลางทาง การศึกษาที่สังคมยอมรับในทางวิชาการ ขณะที่ทิศทางในการปฏิรูปการศึกษาจะต้องมีแผนแม่บท (Master Plan) ทางการศึกษาของชาติที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามฝ่ายการเมือง มีกลไกก�ำกับควบคุม มีอ�ำนาจ ติดตาม ประเมินผลให้ ทุกฝ่ายปฏิบัติตามแผนแม่บท หากมีการเปล่ียนแปลงต้องมีงานวิจัยท่ีรองรับและสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนและ เป็นท่ียอมรับของสาธารณชน และการประชุม OEC Forum ในครั้งต่อมาจะเน้นที่ประเด็นทางการศึกษาที่ก�ำลัง เป็นปญั หาส�ำคญั และต้องรบั แก้ไขโดยเรง่ ดว่ นเป็นหลัก ดงั นี้ • ประเดน็ การปฏริ ูปการศึกษา นโยบายและแผน และแนวโน้มการจดั การศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรื่อง “แผนการศึกษาแห่งชาติ : ถอดบทเรียนจากนานาชาติสู่ความส�ำเร็จ” โดยมีผู้แทนจาก Unicef UNESCO และธนาคารโลกมีร่วมให้ความคิดเห็น โดยมีข้อเสนอว่า ควรเริ่มต้นจากการก�ำหนดเป้าหมาย ทางการศกึ ษาให้ชัดเจนซง่ึ จะทำ� ให้เกิดผลเปน็ รูปธรรม และประเด็นส�ำคัญที่ต้องก�ำหนดในแผน คอื คุณภาพ ความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และมุ่งยกระดับ คุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กซง่ึ เปน็ ปัญหาทส่ี ำ� คัญของการศึกษาไทย OECJournal 3

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย • ประเด็นครูผู้สอน มีการจัดประชมุ OEC Forum เร่อื ง “วกิ ฤติครู : การสอบบรรจคุ รไู รค้ ุณภาพจรงิ หรือ” การปฏิรูปการศึกษาควรให้ความส�ำคัญกับการปฏิรูปครูเป็นอันดับแรกมากกว่าเรื่องโครงสร้าง การผลิตครู ผลิตได้มากและบรรจุได้น้อย มีสถาบันผลิตครู 113 แห่ง ผลิตครูได้เฉล่ียปีละ 50,000 – 60,000 คน แต่สามารถบรรจุได้เพียง 20,000 คน ที่เหลือตกค้าง ล้นตลาด จึงอาจต้องเปล่ียนแปลงระบบการผลิตครู เป็นระบบปิดเพื่อควบคุมปริมาณและคุณภาพให้เกิดความสมดุล ระบบการคัดเลือก ไม่ควรมีลักษณะหรือ ใชม้ าตรฐานเดียวกนั ทงั้ ประเทศ เนือ่ งจากแตล่ ะพ้ืนทม่ี ีความต้องการจำ� เป็นท่ีแตกต่างกัน • ประเดน็ ความสามารถทางการแขง่ ขนั ดา้ นการศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “ขดี ความสามารถ ในการแขง่ ขนั ดา้ นการศกึ ษาในเวทเี ศรษฐกจิ โลก (WEF) พ.ศ. 2558 – 2559” ขดี ความสามารถในการแขง่ ขนั ของประเทศไทยในภาพรวมอยอู่ นั ดบั 32 จากการจดั อนั ดบั 140 ประเทศ โดยตวั ชว้ี ดั ดา้ นการศกึ ษาอยใู่ นอนั ดบั ที่ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างย่ิงคุณภาพของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาที่อยู่ในอันดับที่ 90 หากสามารถพฒั นาการคณุ ภาพการศกึ ษาใหด้ ขี นึ้ ไดย้ อ่ มสง่ ผลดตี อ่ ขดี ความสามารถทางการแขง่ ขนั ของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการจัดประชุม OEC Forum เร่ือง “การศึกษาเพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่ส�ำหรับธุรกิจ สตารท์ อพั ” เนอื่ งจากเปน็ ยทุ ธศาสตรท์ ส่ี ำ� คญั ของรฐั บาลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 การพฒั นาตอ้ งมแี นวทาง ในการสร้างสังคมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีระบบกลไกเตรียมความพร้อม และบูรณาการการเรียนการสอน เร่ืองความเป็นผู้ประกอบการในทุกระดับการศึกษา และผลักดันการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในแผนของ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร • ประเด็นเรื่องการจัดการเรียนการสอน มีการจัดประชุม OEC Forum เรื่อง “สะเต็มศึกษาในการศึกษา ขั้นพ้ืนฐาน” ซ่ึงมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านสะเต็มศึกษาจากต่างประเทศท่ีมาเข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมไทย – สหรัฐ ฯ คร้ังที่ 7 มาเป็นวิทยากร โดยวิทยากรได้น�ำเสนอบทเรียนที่ส�ำคัญที่พบจากประสบการณ์ของแต่ละ ประเทศ โดยพบว่า ครูควรสอนในเชิงวิศวกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็ก เสริมทักษะในการสร้าง นวัตกรรม สร้างโจทย์ความท้าทายใหม่ ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้และเชื่อมโยงสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากน้ีต้องเน้นการพัฒนาศักยภาพของศึกษานิเทศก์และครูผู้สอน รวมทั้งปรับการใช้หลักสูตรการเรียน การสอนรวมทั้งคู่มือครูให้เหมาะสมกับสะเต็มศึกษา จึงจะท�ำให้การจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา ประสบความส�ำเร็จ นอกจากน้ี ประเด็นภาษาอังกฤษเป็นประเด็นส�ำคัญและเป็นอีกหน่ึงจุดอ่อนของ นักเรียนไทย จึงได้มีการจัดการประชุม OEC Forum เรื่อง “เด็กไทยเก่งอังกฤษได้ ไม่ใช่เร่ืองยาก” สาเหตสุ ำ� คญั ทที่ ำ� ใหเ้ ดก็ ไทยไมส่ ามารถพดู ภาษาองั กฤษไดเ้ กดิ จากความวติ กจรติ ขาดความเชอื่ มนั่ กลวั พดู ผดิ ครูจึงควรหาวิธีการดึงศักยภาพท่ีอยู่ภายในตัวเด็กออกมาให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จนเกิดความเช่ือม่ัน และความกลา้ ทจ่ี ะพูดสื่อสารดว้ ยภาษาอังกฤษสกู่ ารพัฒนาอยา่ งยง่ั ยนื อยา่ งแทจ้ ริง • ประเด็นเร่ืองงบประมาณทางการศึกษา มีการจัดประชุม OEC Forum เรื่อง “เรียนฟรี ใครได้ ใครเสีย” แมร้ ฐั ธรรมนญู จะกำ� หนดใหร้ ฐั ตอ้ งจดั การศกึ ษาใหแ้ กเ่ ดก็ ทกุ คนโดยไมเ่ สยี คา่ ใชจ้ า่ ย แตย่ งั มเี ดก็ อกี จำ� นวนหนง่ึ ท่ียังไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กยากจน และเด็กด้อยโอกาสต่าง ๆ จึงควร มีการจัดท�ำแผนท่ีคนจนเพ่ือท่ีสนับสนุนให้เด็กเหล่าน้ันเข้าสู่ระบบการศึกษา และมีมาตรการส่งเสริมให้ เด็กด้อยโอกาสคงอยู่ในสถานศึกษาโดยไม่ออกจากสถานศึกษาก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังมีการจัดประชุม OEC Forum เร่ือง “ระบบการกู้ยืมเงินเพ่ือการศึกษาส�ำหรับประเทศไทย” โดยกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อ การศึกษา (กยศ.) เป็นเครื่องมือส�ำคัญในการช่วยเหลือผู้เรียนท่ียากจนให้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายและปริญญาตรี แต่ผลการด�ำเนินการในปัจจุบันมีผู้กู้ไม่ช�ำระหน้ีคืนเป็นจ�ำนวนมาก ส่งผลใหห้ น้สี าธารณะภาครัฐเพิ่มสูงข้ึน ทางออกประการหนึ่งควรยกเลกิ ระบบกองทุน กยศ. และเปล่ยี นมาใช้ ระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมท่ีผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ท่ีผู้กู้ยืมเงินช�ำระคืนเงินกู้เม่ือมีรายได้ถึงเกณฑ์ ขั้นต�่ำ โดยไม่จ�ำเป็นต้องก�ำหนดระยะเวลาปลอดหน้ี และให้ผู้กู้ช�ำระคืนเงินกูเผ่านระบบการเสียภาษีเงินได้ ของกรมสรรพากร 4 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย • ประเด็นเรื่องการพัฒนาก�ำลังคนตลอดช่วงวัย มีการจัดประชุม OEC Forum เร่ือง “ระบบการคัดเลือกเข้า สถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย” ปัจจุบันระบบการคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษา มีหลากหลายและไม่ชัดเจน ท�ำให้เกิดปัญหาและส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ท�ำให้นักเรียนหนีห้องเรียน เพ่ือไปเรียนกวดวิชา ระบบการคัดเลือกท่ีดีต้องสามารถชี้น�ำการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ เปิดโอกาสให้ เกิดความเท่าเทียมกันทั้งในเร่ืองเวลา ค่าใช้จ่าย และการแข่งขัน นักเรียนมีสิทธิในการเลือกมากกว่า 1 ครั้ง และมหาวทิ ยาลยั มโี อกาสในการเลอื ก นอกจากนี้ ยงั จดั ประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “สมรรถนะเดก็ ปฐมวยั ไทย : ก้าวไกลสู่มาตรฐานอาเซียน” การพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นหัวใจของการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ จึงต้องมี การก�ำหนดสมรรถนะเด็กปฐมวัยท่ีใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาให้สอดคล้องกับพัฒนาการของแต่ละช่วงวัย โดยครแู ละผปู้ กครองถอื เปน็ ปจั จยั สำ� คญั ในการสง่ เสรมิ พฒั นาการตามสมรรถนะของเดก็ ปฐมวยั OEC Forum 2016 – 2017 บทบาทการศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0 ปที ่ี 2 ของการจดั ประชมุ OEC Forum เปน็ ชว่ งเวลาทรี่ ฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทยฉบบั ปจั จบุ นั ประกาศใช้ มกี ารตราพระราชบญั ญตั กิ ารจดั ทำ� ยทุ ธศาสตรช์ าติ พ.ศ. 2560 และพระราชบญั ญตั แิ ผนและขน้ั ตอนการดำ� เนนิ การปฏริ ปู ประเทศ. พ.ศ. 2560 ขน้ึ มาเปน็ แนวทางในการพฒั นาประเทศของทกุ สว่ นราชการ นอกจากน้ี ดา้ นการศกึ ษามกี ารแตง่ ตง้ั คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ท�ำหน้าท่ีในการปฏิรูปการศึกษาตามท่ีก�ำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่รัฐบาลก�ำลังขับเคล่ือนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งการศึกษาถือเป็นปัจจัยส�ำคัญท่ีจะท�ำให้นโยบายดังกล่าว ประสบความส�ำเร็จ ส่ิงเหล่านี้เป็นประเด็นหลักของการประชุม OEC Forum ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซง่ึ ประกอบดว้ ยการประชมุ จำ� นวน 10 ครงั้ ดงั น้ี • ประเดน็ การปฏริ ปู การศกึ ษา นโยบายและแผน และแนวโนม้ การจดั การศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “บทบาทการศกึ ษากบั การเขา้ สยู่ คุ ไทยแลนด์ 4.0” การศกึ ษามบี ทบาทสำ� คญั ตอ่ การกา้ วสยู่ คุ ไทยแลนด์ 4.0 เน่ืองจากเป็นกลไกส�ำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถด�ำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยระบบการศกึ ษาสรา้ งผเู้ รยี นใหม้ สี มรรถนะทส่ี ามารถรองรบั การเปลย่ี นแปลงดงั กลา่ วได้ กระบวนการเรยี นรู้ จะเนน้ การสอนแบบ Active Learning การประชมุ OEC Forum เรอื่ ง “การเปลยี่ นแปลงดา้ นการศกึ ษาใน ยคุ ดจิ ทิ ลั ” การศกึ ษาทางไกลจะกา้ วเขา้ มามบี ทบาทในการจดั การเรยี นการสอน ทกุ คนจะสามารถเรยี นรแู้ ละเรยี น ผา่ นระบบออนไลนจ์ นสามารถรบั วฒุ กิ ารศกึ ษาในระดบั ตา่ ง ๆ ไดค้ นทม่ี คี วามรแู้ ละพนื้ ท่ี ซง่ึ รฐั ใหค้ วามสำ� คญั กบั การพฒั นาโครงสรา้ งพน้ื ฐานดา้ นเทคโนโลยเี พอ่ื เตรยี มความพรอ้ มในการจดั การศกึ ษาในยคุ ดจิ ทิ ลั การประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “รัฐธรรมนูญกบั ทศิ ทางการปฏิรูปการศึกษา” แมป้ ระเทศไทยจะพยายามพฒั นาระบบ การศกึ ษาตามตวั อยา่ งประเทศทปี่ ระสบความสำ� เรจ็ แตผ่ ลลพั ธท์ ไ่ี ดก้ ลบั ไมเ่ ปน็ ทน่ี า่ พอใจสาเหตสุ ำ� คญั คอื คนไทย ไมม่ วี นิ ยั ไมม่ สี ำ� นกึ ของความรบั ผดิ ชอบรว่ มกนั ตอ่ สงั คม สงิ่ เหลา่ นเี้ ปน็ ฐานคดิ หลกั อยา่ งหนง่ึ เกย่ี วกบั บทบญั ญตั ิ ดา้ นการศกึ ษาในรฐั ธรรมนญู การประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “Inclusive Education in Thailand : Policy to Pracetice” การศกึ ษาเรยี นรวมเปน็ ประเดน็ ทที่ วั่ โลกใหค้ วามสำ� คญั สง่ิ สำ� คญั ของการศกึ ษาเรยี นรวม คอื การให้คุณค่าแก่เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ควรตัดสินเด็กจากความพิการ หรือความด้อยโอกาสต่าง ๆ ทัศนคติของครูต้องเอาใจใส่เด็กที่มีความแตกต่างกัน มุ่งเน้นท่ีความสามารถของเด็กเป็นหลัก มีการจัดท�ำ แผนการเรยี นสำ� หรบั เดก็ เปน็ รายบคุ คล ทง้ั นี้ ในทกุ หวั การประชมุ จะใหค้ วามสำ� คญั กบั การพฒั นาครวู า่ จะเปน็ ปจั จยั ทที่ ำ� ใหน้ โยบายนนั้ ประสบความสำ� เรจ็ การประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “บทบาทของการศกึ ษานอกระบบ กบั การพฒั นาประเทศไทย 4.0” การจดั การศกึ ษาในระบบทว่ั ไปตอ้ งใชร้ ะยะเวลาและมกี ระบวนการคอ่ นขา้ งมาก แตกต่างจากการจัดการศึกษาของเอกชนท่ีมีศักยภาพ มีความคล่องตัว และปรับตัวได้รวดเร็วกว่าภาครัฐ การศกึ ษาเอกชนนอกระบบสามารถปรบั ตวั และเคลอื่ นตวั ไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ ตอบสนองความตอ้ งการของประเทศ สามารถทำ� เปน็ อาชพี หรอื เรยี นเพอ่ื เสรมิ ทกั ษะได้ และมหี ลกั การทส่ี อดคลอ้ งกบั นโยบายไทยแลนด์ 4.0 และ OECJournal 5

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล แต่ปัจจุบันยังการการสนับสนุนจากภาครัฐ จงึ เปน็ อกี หนงึ่ ประเดน็ ทร่ี ฐั ควรใหค้ วามสนใจและสนบั สนนุ • ประเด็นความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษา มีการจัดประชุม OEC Forum เร่ือง “การพัฒนาผู้มี ความสามารถพเิ ศษสศู่ กั ยภาพการแขง่ ขนั ของประเทศ” ในตา่ งประเทศหลายประเทศมรี ปู แบบการพฒั นาผมู้ ี ความสามารถพเิ ศษทช่ี ดั เจน เชน่ จดั หอ้ งเรยี นพเิ ศษ หรอื โรงเรยี นเฉพาะทางเปน็ การเฉพาะ แตป่ ระเทศไทย ยงั ไมม่ กี ารดำ� เนนิ การอยา่ งเปน็ ระบบ ทำ� ใหย้ งั ไมไ่ ดร้ บั ประโยชนจ์ ากกลมุ่ บคุ คลเหลา่ นม้ี ากนกั รวมทงั้ บคุ คลเหลา่ น้ี ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพสูงสุด จึงเป็นอีกหนึ่งนโยบายส�ำคัญที่รัฐควรให้ความส�ำคัญเพื่อให้กลุ่ม ผมู้ คี วามสามารถเปน็ กำ� ลงั สำ� คญั ในการเพมิ่ ศกั ยภาพการแขง่ ขนั ของประเทศ • ประเดน็ เรอ่ื งงบประมาณทางการศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “คา่ ใชจ้ า่ ยภาครฐั ดา้ นการศกึ ษา : บทเรยี นจากประเทศไทยและนานาชาต”ิ การสรา้ งเครอ่ื งมอื การสำ� รวจตดิ ตามการใชจ้ า่ ยงบประมาณภาครฐั เปน็ กลไกทจี่ ะชว่ ยพฒั นาประสทิ ธภิ าพการใชจ้ า่ ยงบประมาณทางดา้ นการศกึ ษาของภาครฐั ใหด้ ขี นึ้ นอกจากน้ี การจัดสรรเงินอุดหนุนส�ำหรับนักเรียนจากครอบครัวท่ีมีฐานะยากจน จะเป็นอีกหน่ึงแนวทางท่ีจะลด ความเหลื่อมลำ�้ ให้เดก็ ยากจนสามารถเขา้ ถงึ ระบบการศกึ ษาได้เพ่ิมมากขน้ึ • ประเดน็ เรอื่ งการพฒั นากำ� ลงั คนตลอดชว่ งวยั มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “การพฒั นากำ� ลงั คนเพอื่ สนองความตอ้ งการของประเทศยไุ ทยแลนด์ 4.0” Disruptive Technology ทำ� ใหภ้ าคเอกชนไดร้ บั ผลกระทบ ค่อนข้างมาก การท�ำงานในอนาคตไม่จ�ำเป็นต้องจ�ำกัดอยู่เฉพาะสถานท่ีท�ำการต้องสามารถท�ำงานได้ อยา่ งไมจ่ ำ� กดั เวลาและสถานทด่ี ว้ ยการใชส้ มารท์ โฟนและเทคโนโลยที เ่ี กดิ ขน้ึ ในระบบนเิ วศใหม่ ดงั นนั้ การพฒั นา ก�ำลังคนในปัจจุบันต้องสร้างทักษะพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1) ทักษะด้านดิจิทัล 2) ทักษะการใช้เทคโนโลยี 3) ทักษะการท�ำงานเป็นเครือขา่ ย และ 4) ทักษะการใช้ส่ือสังคมออนไลน์ การประชุม OEC Forum เรื่อง “การศกึ ษาสำ� หรบั ผสู้ งู อาย”ุ สงั คมไทยจะเปน็ สงั คมสงู อายอุ ยา่ งสมบรู ณภ์ ายในปี 2564 การจดั ตงั้ โรงเรยี นผสู้ งู อายุ เปน็ อกี หนงึ่ แนวทางในการลดปญั หาผสู้ งู อายใุ นชมุ ชน และสรา้ งความสขุ รวมทงั้ เปดิ โอกาสใหผ้ สู้ งู อายไุ ดอ้ อก จากบ้านมาประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เพ่ือให้ผู้สูงอายุคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาว รู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง การประชุม OEC Forum เรื่อง “ทิศทางการศึกษาเฉพาะทางเพ่ือผลิตก�ำลังคนตามความต้องการของ ประเทศ” การศกึ ษาเฉพาะทางนบั เปน็ ประเดน็ สำ� คญั ในการปฏริ ปู การศกึ ษา เนอ่ื งจากเปน็ การผลติ ทต่ี อบสนอง ความตอ้ งการของผใู้ ช้ ซง่ึ รฐั ควรวเิ คราะหค์ วามตอ้ งการของตลาดแรงงานทง้ั ในปจั จบุ นั และอนาคต รวมทงั้ ความตอ้ งการ ครูอาจารย์ด้านการศึกษาเฉพาะทางท่ีมีคุณภาพ เพื่อวางแผนอัตราก�ำลังและป้องกันปัญหาการว่างงานของ ผสู้ ำ� เรจ็ การศกึ ษา OEC Forum 2018 รวมพลังพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 ปที ่ี 3 ของการจัดประชมุ OEC Forum เป็นชว่ งเวลาเรม่ิ ตน้ ของการประกาศใช้ยทุ ธศาสตร์ชาตริ ะยะ 20 ปี ซึ่งเป็นจัดท�ำแผนการพัฒนาประเทศในระยะยาวของประเทศไทย รวมท้ังมีการประกาศใช้แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านต่าง ๆ รวมทั้งส้ิน 11 ด้าน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ด�ำเนินการจัดท�ำแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตรช์ าติ ซึ่งกลายเปน็ ประเด็นส�ำคัญของการประชมุ OEC Forum ประจำ� ปงี บประมาณ พ.ศ. 2561 ซง่ึ ประกอบ ดว้ ยการประชมุ จำ� นวน 5 ครง้ั ดงั นี้ • ประเดน็ การปฏริ ปู การศกึ ษา นโยบายและแผน และแนวโนม้ การจดั การศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอื่ ง “บพุ เพสนั นวิ าสกบั ความรทู้ างประวตั ศิ าสตร”์ นโยบายรฐั บาลตอ้ งการใหค้ นไทยเรยี นรแู้ ละเขา้ ใจเกยี่ วกบั ประวัติศาสตร์ไทยเพิ่มมากขึ้น อันจะเป็นการเสริมสร้างพลังสามัคคี ก่อให้เกิดความรู้สึกรักชาติบ้านเมือง เพิ่มมากขึ้น และการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ต้องปรับให้เป็นปัจจุบันตามยุคสมัย ปลูกฝังให้ผู้เรียน มีวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีการพิจารณาหลักฐานประกอบอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ ซึ่งเป็น การพัฒนาไปสู่ทกั ษะการคดิ เชงิ วิเคราะห์ 6 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย • ประเด็นครูผู้สอน มีการจัดประชุม OEC Forum เร่ือง “การปฏิรูปครูทั้งระบบ” ในการแก้ไขวิกฤติเร่ืองครู ต้องด�ำเนินการโดย 1) ปฏิรูปรบบและรูปแบบการผลิตครูให้สามารถผลิตครูสมรรถนะสูงท่ีสอดคล้องกับ ความต้องการในอนาคต 2) ปฏริ ูประบบการคัดกรองครู ใหไ้ ม่มกี ารสอบมากเกนิ ไป สว่ นการคดั กรองครเู ข้าสู่ สถานศึกษา ควรใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน 3) ปฏิรูปการใช้ครู ให้สถานศึกษาได้ครูที่มีคุณภาพและ ตอ้ งตอ่ ความตอ้ งการของสถานศกึ ษา และ 4) ปฏิรูประบบและรปู แบบการพัฒนาครู ใหม้ กี ารสรา้ งเครือข่าย การพฒั นาครใู นระดบั พื้นท่ี และใหต้ รงต่อความตอ้ งการจำ� เปน็ ของครแู ละสถานศึกษา • ประเด็นเรื่องการจัดการเรียนการสอน มีการจัดประชุม OEC Forum เรื่อง “รวมพลังสรรค์สร้างชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)” PLC เป็นเครื่องมือในการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา สู่การพัฒนา คุณภาพการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองท่ีมีทักษะในศตวรรษที่ 21 PLC จะช่วยให้ครูไม่ต้องท�ำงาน อยา่ งโดดเดย่ี ว โดยการสรา้ งวฒั นธรรมใหมใ่ นวชิ าชพี ครใู หเ้ กดิ การรว่ มแบง่ ปนั ความรบั ผดิ ชอบตอ่ ความสำ� เรจ็ ของผู้เรียน หน่วยงานต้นสงั กัดจงึ ควรส่งเสริมและสนับสนุนการทำ� PLC ในสถานศึกษาทุกระดับตงั้ แต่ปฐมวยั จนถึงระดับอุดมศึกษา การจัดประชุม OEC Forum เร่ือง “โรงเรียนร่วมพัฒนา : พลังขับเคล่ือนจาก ภาคเอกชน” โรงเรียนร่วมพัฒนาเป็นแนวทางความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและภาคเอกชน ให้โรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในชุมชน เป็นศูนย์กลางพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของ ชุมชนรอบโรงเรียน รวมท้ังเป็นการฝึกและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม โดยเน้น การเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพให้ผู้เรียน ซึ่งรัฐควรศึกษาและถอดบทเรียนต้นแบบโรงเรียน ร่วมพัฒนาท่ปี ระสบความสำ� เรจ็ และขยายผลไปยงั สถานศึกษาท่มี คี วามสนใจให้มากทสี่ ุด • ประเดน็ การคณุ ภาพและความเหลอื่ มลำ้� ทางการศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “การพฒั นาคณุ ภาพ ผเู้ รยี นจากผลการทดสอบ O – NET และ PISA” ผลการทดสอบ O – NET และ PISA เปน็ สง่ิ สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ปญั หาคณุ ภาพการศกึ ษาของนกั เรยี นไทย แตก่ ารพฒั นาคณุ ภาพผเู้ รยี นอยา่ งเดยี วไมเ่ พยี งพอตอ้ งพฒั นาคณุ ภาพ ผสู้ อนดว้ ย กระทรวงศกึ ษาธกิ ารควรนำ� ผลการทดสอบ O – NET ไปใชใ้ นการพฒั นาการจดั การศกึ ษาในภาพรวม มากกว่าน�ำมาใช้ในการตัดสินการเรียนของเด็กและครู ขณะท่ีการทดสอบ PISA มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อ การพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา โดยประเทศสว่ นใหญท่ มี่ กี ารพฒั นาผลคะแนนการประเมนิ สงู ขน้ึ เกดิ จากการให้ ความส�ำคัญกับครู รวมท้ังมีนโยบายการเพิ่มชั่วโมงการอ่านให้มากขึ้น เพราะทักษะการอ่านจะเป็นพ้ืนฐาน ทต่ี อ่ ยอดและพฒั นาไปสทู่ กั ษะอน่ื ทงั้ มวล OEC Forum 2019 จากขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบายสกู่ ารพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. 2562 ปที ี่ 4 ของการจดั ประชมุ OEC Forum มกี ารประกาศใชแ้ ผนแมบ่ ทภายใตย้ ทุ ธศาสตรช์ าติ รวมทงั้ สน้ิ 23 แผน รวมทั้งมีการประกาศใช้แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ซึ่งจัดท�ำโดยคณะกรรมการอิสระเพ่ือการปฏิรูป การศึกษา นอกจากนี้ยังเกิดความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีการแยกส�ำนักงานคณะกรรมการ การอดุ มศกึ ษาออกจากกระทรวงศกึ ษาธกิ าร เพอ่ื ไปรวมกบั กระทรวงวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี จดั ตง้ั เปน็ กระทรวงใหม่ คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพ่ือรับผิดชอบในการดูแลการจัดการอุดมศึกษา อย่างเป็นระบบ ท้ังนี้ การประชุม OEC Forum ประจำ� ปงี บประมาณ พ.ศ. 2562 ซง่ึ ประกอบดว้ ยการประชมุ จำ� นวน 6 ครง้ั ดงั นี้ • ประเดน็ การปฏริ ปู การศกึ ษา นโยบายและแผน และแนวโนม้ การจดั การศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอื่ ง “การศึกษาตลอดชีวิตกับความท้าทายใหม่ในยุคดิจิทัล” ส่ิงส�ำคัญท่ีจะท�ำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ด้วยการน�ำตนเอง ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้เรียนไม่จ�ำเป็นต้องเข้าห้องเรียนก็สามารถเรียนรู้ได้ รู้สึก สนุก รัก และมีอิสระในการเลือกสิ่งที่ตนเองชอบ ขณะที่ “ครู” เป็นปัจจัยส�ำคัญท่ีจะท�ำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ตลอดชีวิต เน่ืองจากครูต้องท�ำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน สร้างแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ OECJournal 7

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย และรวู้ ธิ ที จี่ ะเรยี นรดู้ ว้ ยตนเอง นอกจากน้ี การใชด้ จิ ทิ ลั แพลตฟอรม์ ยงั เปน็ เครอ่ื งมอื ทชี่ ว่ ยสนบั สนนุ ใหค้ รแู ละ ผเู้ รยี นไดเ้ รยี นรแู้ ละบรหิ ารจดั การความรไู้ ดอ้ ยา่ งดยี ง่ิ ขนึ้ การจดั ประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “ยทุ ธศาสตรช์ าติ ส่แู ผนปฏิรปู ระเทศดา้ นการศกึ ษา” ทรัพยากรมนษุ ยเ์ ป็นสง่ิ ส�ำคัญของยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี และเปน็ ปัจจัย ส�ำคัญในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมท่ีมีความสุข ซ่ึงการศึกษาเป็นสิ่งส�ำคัญและเป็นส่วนประกอบหน่ึง ในการพัฒนาคน การศึกษาไทยมีปัญหาหลัก 4 ประการ คือ คุณภาพ ความเหลื่อมล�้ำ ความสามารถ ในการแข่งขัน และประสิทธิภาพ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน การแก้ไขปัญหาจ�ำเป็นต้องมีแผน ท่ีชัดเจน ต่อเน่ืองในระยะยาว การจะปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความส�ำเร็จตามแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาจ�ำเป็นต้องใช้วงจรควบคุมคุณภาพซึ่งประกอบด้วย การวางแผน เพื่อน�ำไปปฏิบัติตามแผน มีการประเมนิ ตรวจสอบการปฏบิ ัติตามแผนดงั กลา่ ว และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น • ประเดน็ คณุ ภาพและความเหลอ่ื มลำ�้ ทางการศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอื่ ง “ความเหลอื่ มลำ�้ กบั คณุ ภาพ การศกึ ษา” ความเหลอ่ื มลำ�้ เปน็ ปญั หาทส่ี ำ� คญั อยา่ งหนงึ่ ของการศกึ ษาไทย การจะแกไ้ ขปญั หาดงั กลา่ วตอ้ งเรม่ิ ตน้ จากการเปลย่ี นแนวคดิ ในการจดั การศกึ ษา จาก Education for All เปน็ Quality Education for All ทกุ คน ไม่ว่าจะมีภูมิล�ำเนา ฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไร ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพตามที่ต้องการ แนวทางหน่ึงในการลดปัญหาความเหลื่อมล�้ำ คือ ต้องกระจายอ�ำนาจให้สถานศึกษาเป็นผู้ด�ำเนินการจัด การศกึ ษาใหเ้ ขา้ กบั บรบิ ทของพนื้ ท่ี ดา้ นคณุ ภาพ ปญั หาโรงเรยี นขนาดเลก็ สง่ ผลตอ่ คณุ ภาพการจดั การศกึ ษา อยา่ งยงิ่ เนอ่ื งจากโรงเรยี นไดเ้ งนิ งบประมาณอดุ หนนุ คา่ ใชจ้ า่ ยรายหวั ไมเ่ พยี งพอตอ่ การจดั การศกึ ษาใหม้ คี ณุ ภาพ อกี ทงั้ โรงเรยี นขนาดเลก็ จะประสบปญั หาจำ� นวนครไู มค่ รบชน้ั และไมค่ รบรายวชิ า • ประเด็นเรื่องการจัดการเรียนการสอน มีการจัดประชุม OEC Forum เรื่อง “ท�ำไมต้องหลักสูตรฐาน สมรรถนะ” การปรับทิศทางการจัดการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท่ีให้ความส�ำคัญกับทักษะและสมรรถนะ ที่จ�ำเป็นต่อการเรียนของผู้เรียน เป็นแนวทางที่ก�ำหนดไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา การศึกษาฐานสมรรถนะเป็นการศกึ ษาท่ยี ดึ ผ้เู รียนเปน็ ศูนยก์ ลาง เปิดโอกาสให้ผเู้ รียนไดเ้ รียนรูต้ ามความถนดั เป็นการศึกษาท่ีเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง การปรับหลักสูตรเป็นหลักสูตร ฐานสมรรถนะต้องมีความชัดเจนและเปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถปรับใช้ได้ตามบริบทของตน จึงจะท�ำให้ หลักสูตรฐานสมรรถนะประสบความส�ำเร็จ การจัดประชุม OEC Forum เรื่อง “พลิกโฉมการเรียนรู้ด้วย ดจิ ิทลั แพลตฟอร์ม” การพฒั นาการศกึ ษาแบบเปิดในรูปแบบ Thai MOOC เปน็ การเรียนการสอนออนไลน์ แบบเปิดเพ่ือมวลชนที่ก�ำลังเป็นท่ีนิยมไปทั่วโลก เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความสะดวก การเรียนการสอนในอนาคตจะเรียนผ่านระบบดจิ ทิ ลั มากขน้ึ รฐั บาลจงึ ควรสนบั สนนุ และพฒั นาแพลตฟอรม์ ดจิ ทิ ลั เพอื่ รองรบั การเรยี นรรู้ ปู แบบใหม่ ๆ รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องร่วมจัด หลักสูตรที่ตรงต่อความต้องการของผู้เรียนและอาชีพท่ีจะเกิดข้ึนในอนาคต การจัดประชุม OEC Forum เรื่อง “สอน Coding อย่างไร ให้ประสบความส�ำเร็จในสถานศึกษา” เน้ือหาการเรียนการสอน Coding ประกอบด้วย วิทยาการค�ำนวณและเคร่ืองมือดิจิทัล เน่ืองจากปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาท อย่างสูงในชีวิตประจ�ำวันของคน และมีการใช้เคร่ืองมือดิจิทัลในการอ�ำนวยความสะดวกและการด�ำรงชีวิต ปลายทางของการเรยี น Coding ไม่ตอ้ งการใหเ้ ด็กสามารถเขียนโปรแกรมหรอื ถอดรหัสต่าง ๆ ได้ แต่ต้องการ สร้างให้เด็กมีทักษะการวางแผน การคิดวิเคราะห์ การคิดเป็นเหตุเป็นผล อันน�ำไปสู่การแก้ไขปัญหาในชีวิต ประจำ� วนั ได้อยา่ งแทจ้ ริง การสอน Coding ใหป้ ระสบความส�ำเรจ็ จ�ำเปน็ ต้องสรา้ งกระบวนการเรยี นร้ใู หเ้ ดก็ ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาท่ีเกิดข้ึน และมีครูท่ีมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถ กระตุ้นใหเ้ ด็กเรยี นรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเปน็ ระบบ 8 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย OEC Forum 2020 การศึกษายกก�ำลังสอง ปที ี่ 5 ของการจดั OEC Forum อยใู่ นชว่ งเวลาสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่เข้ามาท�ำให้กิจกรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เคยเกิดข้ึนมาก่อนท�ำให้ต้องมีการจัดท�ำ แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด - 19 พ.ศ. 2564 – 2565 ในทาง นโยบายมีการแต่งต้ังคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาชุดใหม่เข้ามาสานต่อการปฏิรูปการศึกษาจาก คณะกรรมการชุดเดิม มีการปรับปรุงแผนการปฏิรูประเทศด้านการศึกษา ส�ำหรับกระทรวงศึกษาธิการมีการก�ำหนด นโยบายเร่ือง การศึกษายกก�ำลังสอง เป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ท�ำให้การประชุม OEC Forum ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ใช้นโยบายการศึกษายกก�ำลังสอง เป็นหัวข้อหลักในการจัดประชุม ซึ่งประกอบดว้ ยการประชุมจำ� นวนท้งั สิน้ 6 ครงั้ ดงั น้ี • ประเดน็ การปฏริ ปู การศกึ ษา นโยบายและแผน และแนวโนม้ การจดั การศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เร่ือง “AI นวัตกรรมพลิกโลกการศึกษา” เคร่ืองยนต์ส�ำคัญในการพัฒนาประเทศอยู่ที่การอุดมศึกษา วิจัย วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ทง้ั สามสว่ นตอ้ งพฒั นาอยา่ งสมดลุ การใช้ AI เปน็ เครอื่ งพลกิ ระบบการศกึ ษาเปน็ เรอื่ งทา้ ทาย แตป่ จั จบุ นั มผี มู้ คี วามรคู้ วามเชยี่ วชาญเกย่ี วกบั AI อยนู่ อ้ ยมาก เปน็ โจทยส์ ำ� คญั ของระบบการศกึ ษา ท่ีจะผลิตและพัฒนาก�ำลังคนให้รองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีทันสมัยประเภทต่าง ๆ อาทิ Machine learning , Big Data Analytic , Block Chain ถูกพัฒนาให้ท�ำงานประสานกันกลายเป็น AI คอยอำ� นวยความสะดวกในการดำ� รงชวี ติ ของมนษุ ย์ การเตรยี มความพรอ้ มตง้ั แตเ่ ดก็ จนถงึ สงู วยั เปน็ สง่ิ สำ� คญั การเรยี นแบบ Project Based Learning และ Problem Based Learning เปน็ สง่ิ ทต่ี อ้ งใหค้ วามสำ� คญั ครคู วร นำ� สถานการณใ์ นชวี ติ ประจำ� วนั มาเปน็ บทเรยี นใหเ้ ดก็ รจู้ กั แกไ้ ขปญั หาจรงิ สอนใหเ้ ดก็ รจู้ กั เขา้ ใจและคนุ้ เคยกบั เทคโนโลยตี า่ ง ๆ และประยกุ ตใ์ ชง้ านในชวี ติ ประจำ� วนั ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม • ประเดน็ คณุ ภาพและความเหลอ่ื มลำ้� ทางการศกึ ษา มกี ารจดั ประชมุ OEC Forum เรอ่ื ง “ยกกำ� ลงั สองโรงเรยี น ขนาดเลก็ ดว้ ยดจิ ทิ ลั แพลตฟอรม์ และโรงเรยี นชว่ งชน้ั ” โรงเรยี นขนาดเล็กมแี นวโน้มเพิ่มขึ้นอยา่ งต่อเนอ่ื ง และ ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนให้ประสบความส�ำเร็จเทียบเท่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ส่งผล ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กมีหลากหลายแนวทาง การปรับ เปลี่ยนโรงเรียนขนาดเล็กเป็นโรงเรียนช่วงชั้นเป็นอีกแนวทางหนึ่งท่ีท�ำได้โดยไม่ต้องยุบหรือควบรวมโรงเรียน โรงเรียนช่วงช้ัน คือ การจ�ำกัดให้โรงเรียนเปิดสอนเฉพาะช่วงชั้นใดช่วงชั้นหน่ึงเพียง 3 ปี ซ่ึงจะท�ำให้ครู ออกแบบการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น มีจ�ำนวนนักเรียนต่อช้ันมากขึ้น สามารถดูแลนักเรียนได้ดีย่ิงข้ึน ไม่เกิด ปญั หาการแย่งเด็กนักเรยี น แตอ่ าจมขี อ้ จ�ำกัดเรอื่ งการเดนิ ทางระหวา่ งโรงเรยี น ต้องมรี ะบบโรงเรยี นเครอื ข่าย เพ่ือส่งต่อนักเรียนจากช่วงช้ันหน่ึงไปอีกช่วงช้ันหนึ่ง จึงจะท�ำให้การจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่อง อีกแนวทางหนึ่งคือ การน�ำดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา โดยดิจิทัลแพลตฟอร์มจะเป็นเคร่ืองมือ ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อ�ำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะส�ำคัญเป็นรายบุคคลได้ อย่างไรก็ตาม การน�ำดิจิทัลแพลตฟอร์มมาใช้ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานท่ีพร้อม มีครูท่ีช่วยแนะน�ำในการเรียน การสอน รวมทั้งมีการจดั ทำ� เน้ือหาในรปู แบบดิจิทัล ส่งิ เหล่านเ้ี ป็นโจทยส์ ำ� คัญที่กระทรวงศกึ ษาธิการต้องเร่ง ด�ำเนนิ การเพอื่ ลดช่องว่างทางการศึกษาระหวา่ งโรงเรยี นขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ • ประเด็นครผู ู้สอน มกี ารจัดประชุม OEC Forum เรื่อง “ยกก�ำลงั สองครยู ุคใหม่ ผา่ นมมุ มองของผ้ปู กครอง เยาวชน และชุมชน” ครูเป็นหน่ึงในปัจจัยส�ำคัญในการสร้างคนสู่ความเป็นเลิศ ครูยุคใหม่ต้องปรับตัวให้ ก้าวทันโลกและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถพัฒนาตนเองโดยน�ำเทคโนโลยีมาใช้ ในการจดั การเรยี นการสอน สรา้ งความเขม้ แขง็ ใหก้ บั นกั เรยี น สอนใหน้ กั เรยี นรเู้ ทา่ ทนั สอื่ และเทคโนโลยตี า่ ง ๆ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้ปกครองและเยาวชน ครูที่ผู้ปกครองและเยาวชนตอ้ งการตอ้ งเปน็ ครทู เ่ี ปดิ ใจ เข้าใจและรับรู้ความต้องการของเด็ก ท�ำให้เด็กมีความไว้เนื้อเชื่อใจ และสามารถขอค�ำแนะน�ำกับครูได้ OECJournal 9

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ในทกุ เรอื่ ง ซง่ึ จะส่งผลให้เด็กกล้าคดิ กล้าตง้ั ค�ำถาม มีกระบวนการคดิ วิเคราะห์เพ่ิมมากขึ้น ครูต้องกระตุ้นให้ เกิดห้องเรียนแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนร่วมกันค้นหา ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มิใช่ครูคือผู้สอน ผู้ให้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ครูต้องเป็นผู้รับท่ีรับรู้ความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มาปรับ กระบวนการเรยี นการสอนให้เกิดความสมดลุ ระหว่างความตอ้ งการของผเู้ รียนและหลักสูตรการศึกษา • ประเด็นความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษา มีการจัดประชุม OEC Forum เรื่อง “ยกก�ำลังสอง ศักยภาพผู้เรียน ผ่านการประเมินท่ีหลากหลาย” การพัฒนาผู้เรียนอย่างย่ังยืนต้องจัดการศึกษารูปแบบ พหุปัญญา ซ่ึงหมายถึง ไม่มีหลักสูตรส�ำเร็จส�ำหรับทุกคน การเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนต้องกระท�ำเป็น รายบุคคล โดยมีครูเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง มีวิสัยทัศน์ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่บนเน้ือหาเดิม ทา้ ทายใหเ้ ดก็ คดิ ตอ่ ยอดนวตั กรรม ปรบั เปลยี่ นหอ้ งเรยี นเปน็ Active Learning การวางระบบในการสง่ เสรมิ สนบั สนนุ ผทู้ ม่ี คี วามสามารถพเิ ศษตอ้ งเรมิ่ ตน้ ตง้ั แตก่ ารคดั กรอง การพฒั นา และการประเมนิ ผล สงิ่ เหลา่ นตี้ อ้ ง อาศยั การประเมนิ ทห่ี ลากหลาย เปน็ การประเมนิ เพอื่ พฒั นา เปดิ โอกาสใหค้ รเู ปน็ ผอู้ อกแบบการประเมนิ รว่ มกบั ผู้เรียนอย่างอิสระ มีการสังเกตและประเมินควบคู่ระหว่างกระบวนการเรียนรู้อย่างสม�่ำเสมอ เพ่ือสะท้อนผล ไปสกู่ ารปรบั กระบวนการเรยี นรอู้ ยา่ งตอ่ เนอ่ื ง การจัดประชุม OEC Forum เร่ือง “ยกก�ำลังสองสมรรถนะ การศึกษาของประเทศผ่านมุมมองดัชนีตัวชี้วัดการศึกษานานาชาติ” การพัฒนาสมรรถนะการศึกษา ของประเทศต้องมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพบุคคลสู่ความเป็นเลิศในแบบฉบับของแต่ละบุคคล เปลี่ยนระบบ การศึกษาให้เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เข้าใจอุปทานเพื่อตอบโจทย์อุปสงค์ทางการศึกษา ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับนานาชาติ ทั้งที่จัดโดย IMD และ WEF ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาเป็นตัวฉุดรั้งความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ ประเทศไทยประสบปัญหาการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะการท�ำงานท่ีตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และสอดคล้องกบั ความกา้ วหนา้ ทางเทคโนโลยี สิ่งเหล่าน้ีเปน็ ประเดน็ สำ� คัญทกี่ ระทรวงศกึ ษาธิการตอ้ งแก้ไข ปัญหาอย่างเร่งด่วน และโจทย์ที่ท้าทายของการจัดการศึกษา คือ จะท�ำอย่างไรที่จะท�ำให้ระบบการศึกษา สร้างทักษะท่ีจ�ำเป็นต่าง ๆ ให้แก่เด็ก ในขณะที่ครูยังไม่เคยผ่านการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างสรรค์เพื่อ ให้ได้สิ่งเหล่านี้ให้แก่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนในช้ันเรียน และการประเมิน/สอบ การสอบ PISA ถือเป็นสิ่งที่ดีท่ีท�ำให้ได้ตรวจสุขภาพทางการศึกษาเป็นประจ�ำ และน�ำมาพัฒนาการจัด การศึกษาใหด้ ขี ึน้ • ประเด็นเร่ืองการจัดการเรียนการสอน มีการจัดประชุม OEC Forum เร่ือง “ยกก�ำลังสองการจัดการเรียน การสอนดว้ ยภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ และวสิ าหกจิ ชมุ ชน” การสรา้ งระบบนเิ วศทางการศกึ ษาทเ่ี ออ้ื ตอ่ การเรยี นรู้ มีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับการจัดการเรียนการสอน แต่การจะสร้างระบบนิเวศท่ีดีได้น้ันจะต้อง เกิดจากครูท่ีมีคุณภาพ อันหมายถึง ครูท่ีมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความรู้ดี มีเทคนิคของการสร้าง การเรียนรู้ ต้องได้รับความไว้วางใจจากเด็ก นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนต้องค�ำนึงถึงความแตกต่าง หลากหลายเชิงพ้ืนท่ี น�ำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน และน�ำไปสู่ การมีงานท�ำเม่ือเด็กส�ำเร็จการศึกษาแล้ว กระทรวงศึกษาธิการควรเปิดโอกาสและสนับสนุนให้โรงเรียน ได้จดั ทำ� หลักสตู รท่เี หมาะสมกบั ทอ้ งถิ่น และสร้างวิสาหกิจชุมชนใหเ้ กดิ ขึ้นไดด้ ้วยตนเอง ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีท่ีผ่านมา การประชุม OEC Forum ได้น�ำเสนอประเด็นร่วมสมัยทางการศึกษา ที่มีความส�ำคัญเป็นจ�ำนวนมาก และยังเปิดพื้นท่ีให้บุคลากรท่ีมีความสนใจด้านการศึกษาทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมคิด ร่วมสร้างข้อเสนอทางการศึกษาเป็นจ�ำนวนมาก ซ่ึงในหลากประเด็นของการประชุมได้กลายมาเป็นสาระส�ำคัญของ แผนการศกึ ษาแห่งชาติ บางส่วนไดก้ ลายมาเป็นหลักการในการจัดการศกึ ษาท่ีบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนญู ยทุ ธศาสตรช์ าติ แผนแม่บท และแผนปฏริ ปู ประเทศในเวลาถดั มา 10 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย หนึ่งในผลส�ำเรจ็ ทเี่ ป็นรปู ธรรมในการจัดการประชมุ OEC Forum คอื อนั ดับผลการจัดอันดับความสามารถ ทางการแข่งขันของประเทศที่จัดโดยสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาการจัดการ (IMD) โดยหนึ่งในตัวชี้วัดส�ำคัญ ดา้ นการศกึ ษา คอื ตวั ชวี้ ดั การสำ� รวจความคดิ เหน็ ของภาคเอกชนเกยี่ วกบั การจดั การศกึ ษาของประเทศ ตลอดระยะเวลา การจัด OEC Forum 5 ปีทผ่ี ่านมา ส�ำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษาใหค้ วามส�ำคญั กบั ความสามารถทางการแขง่ ขัน มาโดยตลอด โดยไดม้ กี ารเชญิ ผแู้ ทนภาคเอกชนเขา้ มารบั รู้ รบั ทราบความกา้ วหนา้ ในการดำ� เนนิ การดา้ นการศกึ ษาของ กระทรวงศึกษาธิการมาโดยตลอด ตลอดจนเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและ ให้ข้อเสนอในการพัฒนาการจัดการศึกษา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหน่ึงที่ท�ำให้ภาพลักษณ์ในการจัดการศึกษาของ ประเทศไทยในมุมมองของภาคเอกชนดีขึ้น ซึ่งท�ำให้คะแนนและอันดับตัวชี้วัดดังกล่าวสูงข้ึนมาโดยตลอด อันเป็น สงิ่ ยืนยนั ประการหนงึ่ ถึงผลสำ� เร็จของการจดั ประชมุ OEC Forum การประชุม OEC Forum ในอนาคต ส�ำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษามุ่งหวงั ว่าจะสามารถผลักดนั ข้อเสนอ เชิงนโยบายต่าง ๆ ท่ีได้จากการประชุมผ่านความเห็นชอบของสภาการศึกษาและคณะรัฐมนตรีเพิ่มมากขึ้น และ สามารถน�ำขอ้ เสนอตา่ งๆ ได้สกู่ ารปฏิบัติของหน่วยงานตา่ ง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมเพม่ิ มากขนึ้ ส�ำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยกลุ่มวิเคราะห์สภาวการณ์ ทางการศึกษา ส�ำนักประเมินผลการจัดการศึกษา ได้ด�ำเนินการจัดท�ำโครงการประชุมทางวิชาการสภาการศึกษา เสวนา (OEC Forum) อย่างตอ่ เน่อื ง ท้งั น้ใี นช่วงปีท่ีผา่ นมา โลกไดเ้ ผชญิ กบั สถานการณ์ท่ีไมเ่ คยเกดิ ขนึ้ มาก่อน น่นั คือ สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 (โควิด - 19) ท�ำให้เกดิ การเปลยี่ นแปลงในการด�ำรงชวี ิต และการด�ำเนินกิจกรรมทางสังคมของทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้กระท่ังการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เหตุการณ์น้ีถือ เป็นปัจจัยเร่งให้องค์กรต่าง ๆ ต้องรีบปรับตัวให้ทันต่อความเปล่ียนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในด้านดิจิทัลซ่ึงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากย่ิงขึ้น องค์กรใด สามารถปรับตัวและน�ำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ให้เข้ากับภารกิจขององค์กรได้ จะกลายเป็นองค์กรท่ีได้เปรียบ และมีความสามารถทางการแข่งขัน ขณะที่องค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะไม่สามารถด�ำรงอยู่ในยุคปัจจุบันได้ ความทา้ ทายนเ้ี ปน็ สง่ิ ทก่ี ระทรวงศกึ ษาธกิ าร และสถานศกึ ษาตอ้ งตระหนกั ถงึ ความสำ� คญั เตรยี มพรอ้ ม และปรบั ตวั รองรบั การเปลี่ยนแปลงทเ่ี กดิ ขึ้น และไดก้ ลายเป็นการดำ� รงชีวติ วิถใี หม่ของสังคมโลกในยคุ ดิจิทลั ด้วยเหตนุ ้ี การประชมุ OEC Forum ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 จงึ ไดน้ �ำความท้าทายนมี้ าเป็นจุดเนน้ ของการปะชุม และกำ� หนดเป็นภาพรวมของ การประชุมในประเด็น เรื่อง การศึกษาวิถีใหม่ในโลกการเรียนรู้ยุคดิจิทัล (New Normal Education in Age of Digital Learning) และได้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการประชุมให้รองรับความเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึน และน�ำ เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการจัดการประชุมเพ่ิมมากข้ึน โดยได้น�ำรูปแบบการประชุมแบบออนไลน์เข้ามาใช้ ในการเพ่ิมช่องทางการเข้าถึงการประชุม OEC Forum ให้ผู้ที่สนใจไม่ว่าจะอยู่บริเวณใดของประเทศสามารถ เป็นส่วนหนึ่งของประชุม และร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการให้ข้อข้อเสนอในการพัฒนาการศึกษาไทยได้ ด้วยการ กดเพิ่มเพ่ือนทาง Line Official Account พิมพ์ค�ำว่า “@oecnews” หรือกดติดตาม Facebook “OEC News สภาการศกึ ษา” เพอ่ื รับขา่ วการประชมุ และการมอบเกยี รติบัตรออนไลน์ของ OEC Forum ในคร้งั ถัดไป OECJournal 11

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย การประเมินผล ศลิษา ใจสมุทร ส�ำนักส่ือสารองค์กร การส่ือสารและ ประชาสัมพันธ์ ของส�ำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา บทน�ำ ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็น 1 ใน 4 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ท่ีมีศักยภาพสูงในฐานะ “ผู้น�ำทางการศึกษา” เปรียบเสมือน “เสนาธิการทางการศึกษา” ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีบทบาทส�ำคัญในการชี้น�ำทิศทางการศึกษาของชาติและพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพสอดรับการเปล่ียนแปลง ในศตวรรษที่ 21 อำ� นาจหนา้ ทขี่ องสำ� นกั งานฯ ไดแ้ ก่ รบั ผดิ ชอบการกำ� หนดทศิ ทางและนโยบายดา้ นการศกึ ษาของชาติ และประสานการน�ำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบาย แผน และมาตรฐาน การศึกษาของชาติ โดยใช้องค์ความรู้ด้านการวิจัยและประเมินผลเป็นพื้นฐาน ถือเป็นจุดแข็งส�ำหรับการใชง้ านวชิ าการ และงานวจิ ยั เพอื่ ชนี้ ำ� ทศิ ทางการศกึ ษาของประเทศ นอกจากน้ี บทบาทสำ� คญั ของสำ� นกั งาน ฯ ยงั ทำ� หนา้ ที่เปน็ ศูนยก์ ลาง การขับเคล่ือนนโยบายการศึกษาระดับชาติ พร้อมเป็นสะพานเช่ือมโยงกับทุกฝ่าย เพ่ือสร้างความความเข้าใจท่ีตรงกัน และยดึ เปา้ หมายเดยี วกนั คอื เพื่อประโยชน์สงู สดุ ตอ่ การพฒั นาคณุ ภาพการศึกษา เพ่ือให้การด�ำเนินงานของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทาง อย่างต่อเนื่อง สามารถสอดรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ทั้งสถานการณ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความม่ันคง ภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนท่ีเกิดข้ึน และความก้าวหน้าทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนความต้องการข้อมูลข่าวสารของประชาชนล้วนเป็นปัจจัยส�ำคัญที่มีผลกระทบต่อการ ส่ือสารและประชาสัมพันธ์ท่ีต้องปรับเปล่ียนแนวทางและทิศทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมสอดคล้อง กับสถานการณ์ท่เี ปลยี่ นแปลงไป และบรรลุเปา้ หมายตามยทุ ธศาสตร์ แผนงาน นโยบายต่าง ๆ ทวี่ างไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ส�ำนักส่ือสารองค์กร ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จึงได้ด�ำเนินการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา” เพื่อให้ทราบถึงการเปิดรับ ข่าวสารและการรับรู้ภาพลักษณ์ของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา อีกท้ังยังสามารถใช้เป็นกรอบด�ำเนินงาน ส่ือสารและประชาสัมพันธ์ขับเคล่ือนภารกิจของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุ ผลสัมฤทธ์สิ งู สดุ ทำ� ใหก้ ารเผยแพรห่ รือการกระจายข่าวสารต่าง ๆ ของส�ำนกั งาน ฯ ไปสสู่ าธารณชนอยา่ งรวดเร็วและ กวา้ งขวาง อันนำ� ไปสู่การมสี ว่ นร่วมในการปฏิรปู การศกึ ษาต่อไป 12 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย วัตถปุ ระสงค์ 1. เพื่อศกึ ษาการเปิดรับข่าวสารของสำ� นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2. เพอื่ ศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ของส�ำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา ผลท่ีคาดว่าจะได้รบั 1. การวิจัยครั้งน้ีท�ำให้ทราบถึงข้อมูลเก่ียวกับการรับรู้ผลการด�ำเนินงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนา ภาพลักษณ์ในการปฏิบัติงานของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาให้น่าเชื่อถือในฐานะองค์กรหลักของกระทรวง ศึกษาธิการในด้านนโยบายและแผนการศกึ ษา 2. เป็นแนวทางน�ำไปปรับปรุง แก้ไข วางแผน และพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์นโยบายการศึกษา ของส�ำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา ใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพ และประสทิ ธิผล เหมาะสมกบั กลมุ่ เป้าหมายตอ่ ไป 3. เป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการวางแผนหรือการพัฒนาแนวทางการส่ือสารประชาสัมพันธ์โครงการ อื่น ๆ ของสำ� นักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษาให้เขา้ ถงึ กลมุ่ เป้าหมายตรงประเดน็ มากยง่ิ ขนึ้ ระเบยี บวิธีวิจยั การวิจัยคร้ังนี้มีการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ใช้ช่องทางส่ือออนไลน์ของส�ำนักงาน ฯ ภายใต้ชื่อ “OEC News สภาการศึกษา” และ 2) ผู้เข้าร่วมประชุม ระหว่างวันท่ี 1 – 21 กันยายน 2563 มีผู้ตอบแบบสอบถามจ�ำนวน 892 คน ท�ำให้ทราบถึง พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของส�ำนักงาน ฯ และรับรู้ภาพลักษณ์ โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล 2 ประเภท คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามเชิงปริมาณปลายปิด โดยขั้นตอนในการพัฒนาเคร่ืองมือ และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ประกอบดว้ ย - การศกึ ษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎตี า่ ง ๆ ทเ่ี ก่ียวข้องกบั งานวิจยั งานวิจยั ทเี่ ก่ยี วขอ้ ง - สร้างเครอ่ื งมือตามกรอบแนวคดิ และวตั ถุประสงคข์ องการวิจัย โดยจัดทำ� เป็นแบบสอบถาม - นำ� แบบสอบถามขอความอนเุ คราะหจ์ ากผ้ทู รงคุณวุฒิ - ปรบั ปรงุ และแกไ้ ขคำ� ถามบางขอ้ ตามขอ้ เสนอแนะของผทู้ รงคณุ วฒุ ิ และนำ� แบบสอบถามใชใ้ นการรวบรวม ข้อมลู โดยเผยแพรท่ างชอ่ งทางตา่ ง ๆ ตอ่ ไป ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลจากแบบสอบถาม เม่ือเก็บรวบรวมข้อมูลท่ีได้เรียบร้อยแล้ว ได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถ่ีและร้อยละ แบง่ ผลการวเิ คราะหข์ อ้ มลู ออกเปน็ 4 สว่ น ดงั นี้ สว่ นท่ี 1 ขอ้ มลู ทวั่ ไป สว่ นที่ 2 การเปดิ รบั ขา่ วสารของสภาการศกึ ษา ส่วนที่ 3 ระดบั การรับร้ภู าพลักษณ์ของสภาการศกึ ษา และ สว่ นท่ี 4 ขอ้ เสนอแนะ โดยผลการศึกษาพบวา่ OECJournal 13

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ผู้ศึกษาได้ท�ำการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และ หนว่ ยงานที่สงั กดั ดังตารางตอ่ ไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงจ�ำนวนและร้อยละของกลุม่ ตัวอยา่ งจ�ำแนกตามเพศ เพศ จำ� นวน รอ้ ยละ หญิง 673 75.4 ชาย 213 23.9 เพศทางเลือก 6 0.7 รวม 892 100.0 จากตางรางที่ 1 พบวา่ กลมุ่ ตวั อยา่ งสว่ นใหญ่ เปน็ เพศหญงิ จำ� นวน 673 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 75.4 รองลงมาคอื เพศชาย จำ� นวน 213 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 23.9 และเพศทางเลอื ก จำ� นวน 6 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 0.7 ตารางที่ 2 แสดงจ�ำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำ� แนกตามอายุ อายุ จำ� นวน รอ้ ยละ ต�่ำกว่า 15 ปี 11 1.2 16 – 30 ปี 269 30.2 31 – 45 ปี 370 41.5 46 – 60 ปี 208 23.3 60 ปีขน้ึ ไป 34 3.8 892 100 รวม จากตางรางท่ี 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 31 – 45 ปี จ�ำนวน 370 คน คิดเป็นร้อยละ 41.5 รองลงมาคือช่วงอายุ 16 – 30 ปี จ�ำนวน 269 คน คิดเป็นร้อยละ 30.2 ช่วงอายุ 46 – 60 ปี จ�ำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 23.3 ส่วนอายุ 60 ปีข้ึนไป จ�ำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 3.8 และ นอ้ ยทสี่ ดุ คอื อายุตำ่� กว่า 15 ปี จำ� นวน 11 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 1.2 14 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ตารางที่ 3 แสดงจ�ำนวนและร้อยละของกลุม่ ตวั อยา่ งจ�ำแนกตามระดบั การศกึ ษา ระดับการศกึ ษา จ�ำนวน ร้อยละ ต่ำ� กวา่ ปรญิ ญาตรี 277 31.1 444 49.8 ปรญิ ญาตรี 145 16.3 ปริญญาโท 26 2.9 ปริญญาเอก 892 100 รวม จากตารางท่ี 3 พบว่า กลุ่มตวั อยา่ งส่วนใหญม่ กี ารศึกษาในระดบั ปรญิ ญาตรี จ�ำนวน 444 คน คิดเป็นร้อยละ 49.8 รองลงมาคอื ตำ่� กวา่ ปริญญาตรี จำ� นวน 277 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 31.1 และปรญิ ญาโท จ�ำนวน 145 คน คิดเป็น รอ้ ยละ 16.3 ส่วนระดบั ปริญญาเอกจะมีน้อยทส่ี ดุ คือ 26 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 2.9 ตารางที่ 4 แสดงจ�ำนวนและรอ้ ยละของกลุม่ ตัวอยา่ งจำ� แนกกลุม่ อาชีพ กลุม่ อาชพี จำ� นวน ร้อยละ ขา้ ราชการและบคุ ลากรกระทรวงศึกษาธกิ าร 115 12.9 และหน่วยงานในกำ� กับ ผบู้ รหิ าร ครู อาจารย์ และบคุ ลากรในสถานศกึ ษา 148 16.6 พ่อแม่ ผปู้ กครอง 411 46.1 นักเรยี น นกั ศึกษา 93 10.4 อืน่ ๆ โปรดระบุ 125 14 รวม 892 100 จากตารางท่ี 4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น พ่อแม่ ผู้ปกครอง จ�ำนวน 411 คน คิดเป็นร้อยละ 46.1 รองลงมาคอื ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบคุ ลากรในสถานศกึ ษา จำ� นวน 148 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 16.6 ข้าราชการและ บุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานในก�ำกับ จ�ำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 12.9 นักเรียน นักศึกษา จำ� นวน 93 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 10.4 และ อนื่ ๆ จ�ำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 14 ในสว่ นของกลุ่มอาชพี อ่ืน ๆ นัน้ ประกอบด้วย บคุ ลากรในหน่วยงานภาครัฐ บคุ ลากรในหน่วยงานภาคเอกชน และผูท้ ่ปี ระกอบอาชพี อิสระ OECJournal 15

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย สว่ นที่ 2 การเปิดรับขา่ วสารของสภาการศึกษา ผู้ศึกษาได้ท�ำการวิเคราะห์การเปิดรับข่าวของสภาการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างในประเด็นของความถี่ ในการเปิดรับข่าวสาร ช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ท่ีได้รับความนิยม และเรื่องท่ีได้รับข้อมูลข่าวสาร ผ่านชอ่ งทางตา่ ง ๆ ของสภาการศึกษา ดังตารางตอ่ ไปนี้ ตารางท่ี 5 แสดงจ�ำนวนและร้อยละของการเปดิ รับข่าวของสภาการศึกษา จ�ำแนกตามความถ่ีในการเปิดรับ ความถใี่ นการเปิดรบั จำ� นวน ร้อยละ บ่อย (5 – 6 วนั /สปั ดาห)์ 199 22.3 ปานกลาง (3 – 4 วนั /สปั ดาห)์ 365 40.9 นาน ๆ คร้ัง (1 – 2 วนั /สัปดาห)์ 328 36.8 892 100 รวม จากตารางที่ 5 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถ่ีในการเปิดรับข่าวสารของสภาการศึกษาอยู่ใน ระดับปานกลาง (3 – 4 วัน/สัปดาห์) จ�ำนวน 367 คน คิดเป็นร้อยละ 40.9 รองลงมาคือ เปิดรับข่าวสารของ สภาการศึกษานาน ๆ คร้ัง (1 – 2 วัน/สัปดาห์) จ�ำนวน 328 คน คิดเป็นร้อยละ 36.8 และเปิดรับข่าวสารของ สภาการศกึ ษาบอ่ ย (5 – 6 วนั /สปั ดาห)์ จ�ำนวน 199 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 22.3 ตารางท่ี 6 แสดงจ�ำนวนและร้อยละของการเปิดรับข่าวสารของสภาการศึกษา จ�ำแนกตามช่องทางการสื่อสารและ ประชาสัมพันธ์ ชอ่ งทางการส่ือสารและประชาสัมพนั ธ์ Facebook Line YouTube เว็บไซต์ สอื่ โทรทัศน์ หนังสอื พิมพ์ วารสาร สื่อส่ิงพิมพ์และ 566 125 การศึกษาไทย เอกสารวชิ าการ (14.01%) (63.45%) 115 34 31 5 6 10 (12.89%) (3.81%) (3.48%) (0.56%) (0.67%) (1.12%) จากตารางที่ 6 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารของสภาการศึกษาผ่านช่องทาง Facebook มากทสี่ ดุ จำ� นวน 566 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 63.45 รองลงมาคอื Line จำ� นวน 125 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 14.01 และ YouTube จ�ำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 12.89 เว็บไซต์ จ�ำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 3.81 ส่ือโทรทัศน์ จ�ำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 3.48 ส่ือสิ่งพิมพ์และเอกสารวิชาการ จ�ำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 1.12 วารสารการศึกษาไทย จำ� นวน 6 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 0.67 และ หนงั สือพิมพน์ อ้ ยท่สี ดุ จำ� นวน 5 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 0.56 16 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ตารางที่ 7 แสดงระดับความพึงพอใจในส่ือประชาสัมพันธ์ของสภาการศึกษา จ�ำแนกตามสื่อประชาสัมพันธ์ของ สภาการศกึ ษา สอื่ ประชาสมั พันธ์ของสภาการศกึ ษา ระดับความพึงพอใจ Facebook “OEC News สภาการศึกษา” มาก ปานกลาง นอ้ ย Line “OEC News สภาการศึกษา” Youtube “OEC News สภาการศึกษา” 609 239 44 เว็บไซต์ www.onec.go.th สื่อโทรทัศน์ 191 466 235 ส่ือหนังสอื พิมพ์ วารสารการศกึ ษาไทย 207 412 273 สง่ิ พิมพ์ เอกสารวชิ าการของสภาการศกึ ษา 250 421 221 229 377 286 109 341 442 124 351 417 167 376 349 จากตารางที่ 7 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในส่ือประชาสัมพันธ์ของสภาการศึกษา ผ่านชอ่ งทาง Facebook “OEC News สภาการศกึ ษา” อยู่ในระดับมาก ช่องทาง Line “OEC News สภาการศึกษา” ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ช่องทาง Youtube “OEC News สภาการศึกษา” ส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ช่องทางเว็บไซต์ www.once.go.th ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ปานกลาง ช่องทางส่ือโทรทัศน์ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ช่องทางสื่อหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่ มีความพงึ พอใจอย่ใู นระดับนอ้ ย ช่องทางวารสารการศึกษาไทย ส่วนใหญ่มีความพงึ พอใจอยู่ในระดับน้อย และชอ่ งทาง ส่งิ พมิ พ์ เอกสารวิชาการของสภาการศึกษา สว่ นใหญม่ คี วามพึงพอใจอย่ใู นระดับปานกลาง ตารางที่ 8 แสดงจ�ำนวน และรอ้ ยละของการรบั รขู้ อ้ มลู ขา่ วสารจากสภาการศึกษา จ�ำแนกตามเร่อื ง เรื่อง จ�ำนวน ร้อยละ แผนการศึกษาแห่งชาติ 567 63.6 มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ 605 67.8 งานวจิ ัยของสภาการศึกษา 384 43 งานประเมนิ ผลของสภาการศึกษา 370 41.5 กฎหมายการศกึ ษา 392 43.9 การพฒั นาเดก็ ปฐมวัย 413 46.3 OECJournal 17

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย เรือ่ ง จ�ำนวน รอ้ ยละ หลักสตู รฐานสมรรถนะ 327 36.7 ระบบสะสมหน่วยกติ (เครดติ แบงก)์ 202 22.6 กรอบคุณวุฒแิ หง่ ชาติ 190 21.3 การจัดการศกึ ษาสำ� หรับผ้สู ูงอายุ 282 31.6 รายงานสภาวการณ์ศึกษาไทย 375 42 อ่ืน ๆ โปรดระบุ 4 0.4 จากตารางที่ 8 พบว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสภาการศึกษาในประเด็นมาตรฐาน การศกึ ษาของชาติ จ�ำนวน 605 คน คิดเปน็ ร้อยละ 67.8 รองลงมาคอื แผนการศึกษาแห่งชาติ จำ� นวน 567 คน คิดเป็น ร้อยละ 63.6 และการพัฒนาเดก็ ปฐมวัย จ�ำนวน 413 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 46.3 กฎหมายการศึกษา จ�ำนวน 392 คน คิดเป็นร้อยละ 43.9 งานวิจัยของสภาการศึกษา จ�ำนวน 384 คน คิดเป็นร้อยละ 43 รายงานสภาวการณ์ศึกษาไทย จ�ำนวน 375 คน คิดเปน็ ร้อยละ 42 งานประเมนิ ผลของสภาการศึกษา จำ� นวน 370 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 41.5 หลกั สตู ร ฐานสมรรถนะ จ�ำนวน 327 คน คิดเป็นร้อยละ 36.7 การจัดการศึกษาส�ำหรับผู้สูงอายุ จ�ำนวน 282 คน คิดเป็น ร้อยละ 31.6 ระบบสะสมหน่วยกิต (เครดิตแบงก์) จ�ำนวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 22.6 กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ จ�ำนวน 190 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 21.3 ในส่วนของเรื่องอ่ืน ๆ จ�ำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.4 ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาการศึกษา ความเคลอื่ นไหวการจัดการศกึ ษา และเรือ่ งท่ีเกย่ี วขอ้ งกบั การศึกษาท้ังหมด สว่ นท่ี 3 ระดบั การรับรภู้ าพลักษณ์ของสภาการศึกษา ผู้ศึกษาได้สอบถามความคิดเห็นเก่ียวกับระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ของสภาการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำ� นวน 5 ประเดน็ ตามภารกจิ ของสำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา ผลวเิ คราะหพ์ บวา่ ประเดน็ ที่ 1 ในเรอื่ งสภาการศกึ ษา เป็นหน่วยงานจัดท�ำและขับเคลื่อนนโยบาย แผน และมาตรฐานด้านการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพ่ือยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมท้ังส่งเสริมความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษา และการมีงานท�ำ ส่วนใหญ่ มีความเห็นว่ามีการรับรู้อยู่ในระดับมาก ประเด็นท่ี 2 สภาการศึกษาด�ำเนินงานวิจัย และส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย เพอื่ จดั ทำ� และพฒั นานโยบาย แผน และมาตรฐานดา้ นการศกึ ษา และการพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ยท์ ม่ี คี ณุ ภาพ สว่ นใหญ่ มีความเหน็ วา่ มกี ารรับรอู้ ยใู่ นระดับมาก ประเดน็ ท่ี 3 สภาการศึกษาดำ� เนนิ งานติดตาม ประเมินผล และพฒั นาระบบ ประเมินผลด้านการจัดการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามีการรับรู้อยู่ในระดับมาก ประเดน็ ท่ี 4 สภาการศกึ ษาดำ� เนนิ งานเกยี่ วกบั กฎหมายดา้ นการศกึ ษา และการพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ย์ สว่ นใหญม่ คี วามเหน็ ว่ามีการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง และประเด็นท่ี 5 สภาการศึกษาสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดท�ำและขับเคลื่อน ด้านการศกึ ษาและการพัฒนาทรัพยากรมนษุ ย์ สว่ นใหญม่ ีความเหน็ ว่ามกี ารรบั ร้อู ยู่ในระดับมาก ดังแสดงในตารางท่ี 9 18 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ตารางท่ี 9 แสดงระดับการรับร้ภู าพลกั ษณข์ องสภาการศกึ ษาในประเดน็ ตามภารกจิ ประเดน็ ระดบั มาก ปาน น้อย กลาง 1. สภาการศึกษาเป็นหน่วยงานจัดท�ำและขับเคล่ือนนโยบาย แผน และ 494 348 50 มาตรฐานด้านการศึกษา และการพัฒนาทรพั ยากรมนุษย์ เพอ่ื ยกระดบั คณุ ภาพการศึกษา รวมท้งั สง่ เสรมิ ความเสมอภาคของโอกาสทางการศกึ ษา และการมงี านทำ� 2. สภาการศึกษาด�ำเนินงานวิจัย และส่งเสรมิ สนับสนุนการวจิ ัยเพ่อื จดั ท�ำและ 425 388 79 พัฒนานโยบาย แผน และมาตรฐานดา้ นการศึกษา และการพัฒนา ทรัพยากรมนษุ ย์ทีม่ คี ุณภาพ 3. สภาการศกึ ษาดำ� เนินงานติดตาม ประเมนิ ผล และพัฒนาระบบประเมนิ ผล 416 402 74 ด้านการจดั การศึกษา และการพัฒนาทรพั ยากรมนุษย์ 4. สภาการศกึ ษาดำ� เนินงานเกยี่ วกบั กฎหมายด้านการศกึ ษา และการพฒั นา 383 418 91 ทรัพยากรมนุษย์ 5. สภาการศึกษาสรา้ งการมสี ่วนร่วมในการจดั ท�ำและขับเคลอื่ นดา้ นการศกึ ษา 461 360 71 และการพัฒนาทรพั ยากรมนุษย์ สว่ นที่ 1 ขอ้ เสนอแนะ ผู้ศึกษาสอบถามกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษากับ ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยได้สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วม และ ความพึงพอใจ ในการสอ่ื สารและประชาสมั พนั ธข์ องสภาการศึกษา ดังตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 10 แสดงจ�ำนวนและร้อยละของรูปแบบการมสี ่วนร่วมขบั เคลื่อนการศึกษาไทยกับสภาการศกึ ษา รูปแบบการมีสว่ นรว่ ม จ�ำนวน ร้อยละ เข้ารว่ มประชุม/สัมมนา 272 30.5 ส่งบทความ/งานวจิ ยั 82 9.2 รว่ มแสดงความคดิ เหน็ ในการกำ� หนดนโยบายและกฎหมายการศึกษา 522 58.5 16 1.8 อืน่ ๆ 892 100 รวม OECJournal 19

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย จากตารางที่ 10 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมขับเคล่ือนการศึกษาไทยกับสภาการศึกษา ในการร่วมแสดงความคิดเห็นในการก�ำหนดนโยบายและกฎหมายการศึกษา จ�ำนวน 522 คน คิดเป็นร้อยละ 58.5 รองลงมาคอื เขา้ รว่ มประชมุ /สมั มนา จำ� นวน 272 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 30.5 และสง่ บทความ/งานวจิ ยั จำ� นวน 82 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 9.2 ในสว่ นของรปู แบบการมสี ว่ นรว่ มอน่ื ๆ จำ� นวน 16 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 1.8 ตารางที่ 11 แสดงจ�ำนวนและรอ้ ยละของความคิดเหน็ ตอ่ การสื่อสารและประชาสัมพันธข์ องสภาการศึกษา ความเหมาะสม จำ� นวน รอ้ ยละ เหมาะสมดีแล้ว 772 86.5 ควรปรบั ปรุง 120 13.5 รวม 892 100 จากตารางท่ี 11 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของสภาการศึกษา อยู่ในระดับเหมาะสมดีแล้ว จำ� นวน 772 คน คิดเปน็ ร้อยละ 86.5 รองลงมาคือ ควรปรบั ปรงุ จำ� นวน 120 คน คดิ เป็น ร้อยละ 13.5 โดยมขี ้อเสนอแนะดงั ต่อไปนี้ ด้านช่องทางการรับรู้ข่าวสาร มีข้อเสนอแนะว่าควรมีช่องทางที่หลากหลาย เข้าถึงได้ง่าย และเพ่ิมช่องทาง ให้ทันสมัยมากย่ิงข้ึน เช่น ผ่านการ Live สด ผ่าน Instragram โฆษณาทางโทรทัศน์ ท้ังน้ี ในส่วนของช่องทาง ท่ีคนในพ้นื ที่หา่ งไกลจากอนิ เทอร์เนต็ สามารถเข้าถึงได้ อยา่ งเชน่ วิทยุ โทรทัศน์ หอ้ งสมดุ ประชาชน กข็ อใหค้ งไว้ด้วย ด้านรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ มีข้อเสนอแนะว่าควรท�ำเป็น Infographic เพ่ือให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ มีรูปแบบท่ีดึงดูดให้อ่าน อาจจะเป็นคลิปการ์ตูน คลิปส้ัน เป็นต้น นอกจากนี้ควรท�ำ Banner ไว้เพื่อง่ายต่อการรับรู้ อาจแสดงถึงหัวขอ้ ของเร่ืองกไ็ ด้ แล้วค่อยพิมพร์ ายละเอียดทั้งหมดเม่อื คลิกเขา้ ไป ด้านรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ ควรให้มีการจัดกิจกรรมตอบปัญหาเพื่อรับของรางวัล ร่วมแสดง ความคิดเห็น หรือกจิ กรรมอ่นื ๆ ท่ีทำ� ใหผ้ ตู้ ิดตามมีปฏิสัมพันธก์ บั สภาการศึกษามากยงิ่ ขนึ้ นอกจากน้ี ควรเผยแพร่ข่าว เกี่ยวกับการศึกษาในส่ือหลัก รายการข่าวเรตติ้งสูง ประชาสัมพันธ์และเสนอข่าวการศึกษาร่วมกับส่ือโซเชียลท่ีมี ผู้ติดตามมากเช่น The Standard The Matter เป็นต้น แล้วสร้างกระแสกระตุ้นคนรุ่นใหม่และคนทุกวัย โดยต้อง ประชาสัมพันธช์ ่องทางการแสดงความคิดเหน็ ให้แพร่หลาย ทำ� เป็น Viral ได้ยง่ิ ดี เพราะการศึกษาเป็นเรอ่ื งสำ� คัญทส่ี ุด ด้านกลุ่มเป้าหมายของผู้ติดตาม มีข้อเสนอแนะว่าควรเข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาท้ังหมด โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงผปู้ กครอง ผูเ้ รียน และอยากให้เพิ่มกลุม่ เปา้ หมายผู้พิการใหส้ ามารถรับรูข้ า่ วสารเหล่าน้ไี ด้ดว้ ย ข้อเสนอแนะอน่ื ๆ ควรมอบหมายใหเ้ จ้าหนา้ ทีผ่ ลัดเปลย่ี นกันตอบคำ� ถามแกผ่ ูส้ นใจตลอดเวลา 20 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย อภิปรายผล 1. การเปดิ รับข่าวสารของส�ำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพัฒนาช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ภารกิจของส�ำนักงาน เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษาในรูปแบบ Social Media ไดแ้ ก่ Facebook Line Youtube ซึ่งเป็นช่องทางทเ่ี ปน็ ท่นี ยิ มและ สอดรับกับวถิ ีชีวติ ในปัจจบุ ัน โดยคาดหวงั วา่ จะเป็นชอ่ งทางการส่อื สารหลักระหว่างสำ� นกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา และกลมุ่ เปา้ หมาย ซงึ่ จากตารางที่ 6 แสดงใหเ้ หน็ วา่ ชอ่ งทางการสอ่ื สารและประชาสมั พนั ธท์ าง Facebook เปน็ ชอ่ งทาง ท่ีประสบความส�ำเร็จตามที่คาดหวังไว้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตารางท่ี 7 แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจในส่ือ ประชาสัมพันธ์ของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แม้ช่องทาง Social Media จะมีระดับความพึงพอใจสูงกว่า ส่ือช่องทางอื่น ๆ แต่ยังคงต้องปรับปรุงวิธีการน�ำเสนอเพื่อให้ระดับการเปิดระดับสูงมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนา การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ภารกิจของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาให้สาธารณชนรับรู้ เข้าใจ และเข้ามา มสี ่วนรว่ มในการขับเคลอ่ื นการศกึ ษาตอ่ ไป 2. ภาพลกั ษณข์ องสำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา ดว้ ยภารกจิ หลกั ของสำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษาคอื การจดั ทำ� นโยบายและแผนการศกึ ษาเปน็ หลกั ดงั นัน้ ภาพลกั ษณ์ทส่ี ำ� นกั งานเลขาธิการสภาการศึกษาตอ้ งการใหส้ าธารณชนรับรู้ คอื ภารกจิ และผลงานด้านนโยบาย และแผนการศึกษาด้วยเช่นกัน จากตารางที่ 9 จะพบว่า สาธารณชนรับรู้และมีมุมมองต่อส�ำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษาในฐานะเปน็ หน่วยงานจดั ทำ� และขับเคลอื่ นนโยบาย แผน และมาตรฐานด้านการศึกษา และการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมท้ังส่งเสริมความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษา และ การมีงานท�ำ เป็นอันดับสูงที่สุด ซ่ึงสอดรับกับภารกิจของส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นอย่างดี ย่อมแสดง ให้เห็นว่าการปฏบิ ัตริ าชการของส�ำนกั งานเลขาธิการสภาการศกึ ษาเป็นไปตามภารกจิ ทก่ี ำ� หนดไว้เปน็ อย่างดี ขอ้ เสนอแนะ ควรจดั ทำ� การสำ� รวจ และการทำ� วจิ ยั ในลกั ษณะน้ี โดยขยายไปยงั กลมุ่ เปา้ หมายตามชอ่ งทางอน่ื ๆ เพม่ิ มากขนึ้ และควรขยายระยะเวลาในการตอบแบบสอบถาม เพ่ือท�ำให้ทราบถึงความต้องการ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ในการเปิดรับสื่อของส�ำนักงาน ฯ อย่างแท้จริง และสามารถน�ำไปปรับปรุง พัฒนาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของ สำ� นักงาน ฯ ใหม้ ีประสทิ ธิภาพมากยง่ิ ข้ึนได้ตอ่ ไป OECJournal 21

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย คณุ ลักษณะและสมรรถนะ อลงกรณ์ เกิดเนตร และ ที่จำ� เป็นส�ำหรบั ศักดิ์ชยั ไชยรกั ษ์ คณะครศุ าสตร์ ครูและนักศึกษาครู ในยุคดิจทิ ัล มหาวทิ ยาลยั สวนดสุ ิต บทน�ำ เศรษฐกิจและสังคมแห่งโลกในอนาคตจะเติบโต เปลี่ยนแปลงและเคล่ือนไหวอย่างรวดเร็วในทุกมิติ โดยเริ่ม ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกิดการเปล่ียนแปลง อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการศึกษา โดยเฉพาะทางด้านการศึกษาท่ีจะต้องเป็นไปเพ่ือพัฒนาบุคคลให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีชีวิตท่ีดี ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเน้ือหาและข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว การจัดการ เรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบ โดยส่ิงส�ำคัญและจ�ำเป็นมากท่ีสุดคือการพัฒนาทักษะกระบวนการเพ่ือให้ผู้เรียน เกิดสมรรถนะท่ีจะต้องใช้ในการจัดกระท�ำกับข้อมูลมหาศาล (Big Data) ให้มีความหมายและสามารถน�ำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ หัวใจของการปฏิรูปการศึกษาทุกยุคสมัยคือการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะต้องเน้นปฏิรูปองค์ประกอบที่ เกย่ี วข้องและสัมพนั ธก์ บั การเรียนรู้ โดยเฉพาะใน 4 ดา้ นหลกั ไดแ้ ก่ ครผู ูส้ อน หลกั สตู ร การจัดการเรียนรู้ และการวดั ประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งจุดเน้นการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 คือ ผู้เรียนมีทักษะท่ีจ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิต สามาถใชก้ ารเชอ่ื มโยงการเรียนรูแ้ ละทักษะผา่ นโลกออนไลน์ คณุ ลักษณะใหม่ทจี่ �ำเป็นจะต้องพัฒนาผู้เรียนเพมิ่ ขึ้น คอื การเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen) ท่ีรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีวิจารณญาณ (คณะกรรมการอสิ ระเพื่อการปฏริ ูปการศกึ ษา, 2562) สมรรถนะของครแู ละนกั ศกึ ษาครใู นยคุ ดจิ ทิ ลั ทจ่ี ะขาดไมไ่ ด้ คอื การรใู้ ชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศ เพอ่ื เปน็ เครอ่ื งมอื สำ� คญั ในการจดั การเรยี นรใู้ หก้ บั ผเู้ รยี น เปน็ เครอ่ื งมอื สอ่ื สารหรอื ใชเ้ ปน็ เครอื ขา่ ยเพอ่ื เขา้ ถงึ การจดั การเรยี นรแู้ บบบรู ณาการ ใช้ประเมินผลการเรียนรู้และสร้างข้อมูลเพ่ือท�ำงานในสังคมแห่งความรู้แบบเปิดกว้างผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ ทักษะ ICT จะน�ำไปสู่ความสามารถด้านดิจิทัลของครู (Competence) และเป็นรากฐานส�ำคัญของการเรียนรู้ ตลอดชีวิต เพ่อื รองรับการใช้เทคโนโลยใี หม่ ๆ อย่างมวี ิจารณญาณ และการสร้างเครอื ขา่ ยความร่วมมอื เพือ่ การทำ� งาน และสร้างสรรค์ทางสังคม องค์ประกอบความสามารถด้านดิจิทัลท่ีส�ำคัญต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน คือ การจัดการข้อมูล การสื่อสาร การแบ่งปัน การสร้างเนื้อหาสาระความรู้ การท�ำงานร่วมกันและการแก้ปัญหาต่าง ๆ (UNESCO, 2016) การประเมินของมหาวทิ ยาลยั เคมบรดิ จ์ (Cambridge Assessment, 2018) กล่าวถงึ ครยู ุคใหมว่ ่า จะต้องเป็นผู้ท่ีมีความรอบรู้และมีสมรรถนะทางดิจิทัล โดยสามารถใช้เคร่ืองมือและทรัพยากรดิจิทัลเพื่อพัฒนาวิชาชีพ มีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน สะท้อนผลการเรียนรู้ สื่อสารหรือจัดประชุมผ่านระบบ ออนไลน์ ค้นหาแหล่งข้อมูลและแบ่งปันความรู้ ตลอดจนสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์และ จัดการช้ันเรียนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวทางในการปฏิบัติท่ีดีที่สุดส�ำหรับจัดการเรียนรู้ผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์ม หรือผ่านระบบการเรียนรู้และการท�ำงานแบบออนไลน์ ส่วนจัสตินโฮเฟน (Justenhoven, 2018) 22 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย นักจิตวิทยาองค์กรช้ันน�ำและผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมและประเมินทักษะดิจิทัลของ Aon’s Human Capital Business กล่าวว่า ความสามารถด้านดิจิทัลคือชุดของความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ความสามารถเชิงกลยุทธ์และ ความตระหนักที่จ�ำเป็นเมื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และส่ือดิจิทัลในการปฏิบัติงาน สื่อสาร จัดการข้อมูล แก้ปัญหา สร้างความร่วมมือ แบ่งปันเน้ือหาและสร้างความรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มีวิจารณญาณ มีความยืดหยุ่นทางความคิด และมีจริยธรรมท่ีสามารถไตร่ตรอง การใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม สามารถให้ค�ำแนะน�ำ สร้างสรรค์งานได้อย่างอิสระทั้งเพื่อการเรียนรู้และประกอบ วชิ าชพี ตลอดจนมีสว่ นร่วมในการเรยี นรู้ และการเข้ารว่ มกจิ กรรมตา่ ง ๆ ทางสงั คมออนไลนไ์ ดอ้ ยา่ งเหมาะสม ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะจึงเป็นแนวทางส�ำคัญส�ำหรับการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ที่ครูสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้และบูรณาการเพื่อออกแบบและจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยพัฒนาตนเองให้เป็น ผู้มีสมรรถนะท่ีจ�ำเป็นส�ำหรับการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 เพ่ือให้สามารถจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนได้ อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ เกดิ ประสทิ ธผิ ลและก้าวทันตอ่ การเปล่ยี นแปลงทเี่ กดิ ขน้ึ อย่างรวดเร็ว ทมี่ า: https://www.eschoolnews.com/2020/04/30/five-ways-to-support-the-shift-to-distance-learning/ คณุ ลักษณะและสมรรถนะท่ีจำ� เป็นส�ำหรบั ครูและนักศึกษาครูในยุคดิจทิ ัล คณะกรรมการการอุดมศึกษา (2561) ได้ประกาศแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติเก่ียวกับสมรรถนะดิจิทัลส�ำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 แนวคิดการศึกษาไทย 4.0 และกรอบการผลิตและพัฒนาก�ำลังคนเพ่ือรองรับดิจิทัล เพ่ือเศรษฐกิจและสังคม โดยน�ำสมรรถนะดิจิทัลส�ำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีมาเป็นแนวทางในการก�ำหนด มาตรฐานผลการเรยี นรู้ด้านทกั ษะการวเิ คราะหเ์ ชิงตัวเลข การส่อื สารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดงั น้ี OECJournal 23

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย 1. ด้านการสืบค้นและการใชง้ าน ระดับท่ีจ�ำเป็น คือ สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพ่ือสืบค้นข้อมูลท่ีเก่ียวข้อง รู้วิธีใช้ตัวกรองเพ่ือจ�ำกัด ผลลัพธ์ เช่น การค้นหารูปภาพ วิดีโอหรือสื่อรูปแบบอื่น รู้วิธีตรวจสอบความน่าเช่ือถือแหล่งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ รู้วิธีการจัดระบบและแบ่งปันทรัพยากร เช่น เคร่ืองมือ Bookmarking และตระหนักถึงประเด็น เรื่องลิขสิทธ์ิและ ประเดน็ การคัดลอกผลงาน สมรรถนะระดับสูง คือ สามารถใช้เครื่องมือสืบค้นข้ันสูงส�ำหรับระบบห้องสมุด และแหล่งเก็บข้อมูล ออนไลน์ได้อย่างช�ำนาญ และติดตามข้อมูลหรือทรัพยากรเฉพาะด้านได้ เข้าใจข้อจ�ำกัดด้านลิขสิทธิ์ ตระหนักถึงสิทธิ รูปแบบอื่น ๆ เช่น ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons) สามารถเผยแพร่ รู้วิธีเผยแพร่และแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ทางออนไลนไ์ ด้อย่างมีประสทิ ธภิ าพและเกิดประสทิ ธิผล 2. ด้านการสรา้ งสรรค์และนวัตกรรม ระดับท่ีจำ� เปน็ คือ สามารถผลติ สอื่ ดิจิทัล เช่น กราฟกิ คลิปวดิ โี อ คลปิ เสยี ง และการบนั ทกึ ภาพหน้าจอ สามารถเรยี นร้หู ลักการพืน้ ฐานไดต้ ามค�ำแนะน�ำและสามารถทดลองท�ำได้ สมรรถนะระดับสูง คือ ได้ผลิตทรัพยากรดิจิทัลและมัลติมีเดียเพื่อวัตถุประสงค์ท่ีหลากหลาย รวมถึง การน�ำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิก เสียงและวิดีโอ รวมทั้งรู้แหล่งที่มาและสามารถปรับแต่ง เช่น แหล่งทรัพยากร การศึกษาแบบเปิด (Open Education Resource: OER) และมีประสบการณ์การใช้เครื่องมือสร้างสรรค์และแก้ไข สือ่ แบบปฏสิ มั พันธ์โตต้ อบ 3. ด้านเอกลักษณ์และคณุ ภาพชวี ิต ระดบั ทจ่ี �ำเป็น คอื ตระหนักถงึ ประเด็นความปลอดภัยออนไลน์ รวมถึงการปกป้องขอ้ มลู และภาพลักษณ์ ส่วนตน ใช้คุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น โปรแกรมต้านไวรัสและการต้ังค่าความม่ันคงปลอดภัยของอุปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวบนส่ือสังคมออนไลน์ รู้จักส่ิงจ�ำเป็นพ้ืนฐานส�ำหรับการป้องกันข้อมูลและระมัดระวังไตร่ตรอง ในการแบง่ ปนั ข้อมูลกบั ผอู้ น่ื และการมีปฏิสมั พันธ์กับคนอน่ื ๆ ทางออนไลน์ 4. ด้านการสอนหรอื การเรยี นรู้ ระดบั ท่จี �ำเป็น คือ สามารถใชเ้ ทคโนโลยีทีห่ ลากหลายอย่างสะดวกสบายในการเรยี นรู้ สามารถติดตงั้ และ ใช้โปรแกรมรวมถึงแอปพลิเคชันท่ีเป็นประโยชน์บนอุปกรณ์ส่วนตัวท้ังโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา เพ่อื ช่วยในการรวบรวมและจัดระเบยี บบันทกึ ข้อมลู ในการใช้งานสว่ นตน สมรรถนะระดับสูง คือ สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ได้อย่างมั่นใจ รวมท้ังเครื่องมือส�ำหรับ การอ้างอิง การเชื่อมโยง การผลิตงานน�ำเสนอ และการแบ่งปันความคิด และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ สามารถใช้ เทคโนโลยีชว่ ยทดสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้และความเข้าใจเรอ่ื งทศี่ ึกษา 5. ด้านเคร่อื งมือและเทคโนโลยี ระดับท่ีจ�ำเป็น คือ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายได้อย่างคุ้นเคยและใช้ค�ำศัพท์เฉพาะ ไดพ้ อสมควร สมรรถนะระดับสูง คือ สามารถติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เช่น เทคโนโลยีที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมหรือเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) การประหยัดพลังงาน (Energy Saving) และสามารถ น�ำมาใช้งานไดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพและเกดิ ประสทิ ธิผล 24 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย 6. ด้านการติดต่อส่ือสารและการประสานงาน ระดับท่ีจ�ำเป็น ได้แก่ สามารถใช้เคร่ืองมือที่หลากหลายได้อย่างสะดวกสบายเพื่อการสนทนาและท�ำงาน ร่วมกบั ผ้อู ่ืนแบบออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันเอกสารและหรอื ขอ้ คิดเหน็ การประชมุ ทางไกล (Video Conferencing) และการเข้ารว่ มอบรมสัมมนาผ่านเว็บไซต์ การสัมมนาผ่านเคร่อื งมือและช่องทางท่ีหลากหลาย ราชกิจจานุเบกษา (2562) กล่าวถึง ลักษณะของสาขาครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ว่าเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วย การเตรียมความพร้อมส�ำหรับพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนประจ�ำการ และส่งเสริมการพัฒนา ครูประจ�ำการ นอกประจ�ำการให้มคี วามรแู้ ละมสี มรรถนะทางวชิ าชพี เป็นผยู้ ึดมัน่ ในค่านิยม อดุ มการณ์ มีจิตวิญญาณ ความเป็นครู และสมรรถนะทางวิชาชีพครูที่น�ำไปสู่การสร้างก�ำลังคนที่มีคุณภาพและตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ โดยมคี ุณลกั ษณะบณั ฑิตที่พึงประสงค์ ดังน้ี 1. มีค่านิยมร่วม มีเจตคติต่อวิชาชีพครูที่เข้มแข็ง ตระหนักและยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการท�ำงานของครู พัฒนาความร้สู ึกถึงตัวตนความเป็นครู และมีจิตบริการต่อวชิ าชพี ครแู ละการบริการวิชาการแก่ชุมชน 2. เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณครูและยึดม่ันในจรรยาบรรณของ วชิ าชีพครู ปฏิบัติหน้าท่ีตามอุดมการณค์ วามเป็นครดู ว้ ยความรกั ศรทั ธา ซอ่ื สัตยส์ จุ ริต รับผดิ ชอบต่อวิชาชพี อุทิศตน และทุ่มเทในการเอาใจใส่ สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาการเรียนรู้และผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน มีความพอเพียงและ ประพฤตติ นเปน็ แบบอย่างที่ดที ง้ั ดา้ นวชิ าการและวิชาชพี 3. เป็นผู้เรียนรู้และฉลาดรู้และมีปัญญา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดขั้นสูง มคี วามรอบรดู้ ้านการเงนิ สุขภาพ สนุ ทรียภาพ วฒั นธรรม รเู้ ท่าทันการเปลยี่ นแปลงทางสงั คมโลก การสร้างสัมมาชีพ และความมั่นคงในคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว ชุมชนและสังคม มีความเพียร ใฝ่เรียนรู้ มานะ บากบั่น มุ่งม่ัน มที กั ษะการเรยี นรตู้ ลอดชวี ติ และพฒั นาตนเองใหเ้ ปน็ บคุ คลทเี่ รยี นรแู้ ละรอบรู้ ทนั สมยั ทนั ตอ่ การเปลย่ี นแปลงตลอดเวลา 4. เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นผู้มีทักษะศตวรรษที่ 21 มีความสามารถคิดวิเคราะห์ มีทักษะ การคิดขน้ั สงู มีความฉลาดดจิ ทิ ัล ทกั ษะการท�ำงานเป็นทีม มที กั ษะข้ามวัฒนธรรม รเู้ ท่าทนั ส่อื เทคโนโลยีสารสนเทศ สมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก มีส่วนร่วมในการพัฒนาความก้าวหน้าให้กับวิชาชีพครู สามารถ แสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้ งานวิจัย และสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาตนเองและผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล 5. เป็นผู้มีความสามารถสูงในการจัดการเรียนรู้ เป็นผู้มีความสามารถในการจัดเนื้อหาสาระ ออกแบบ กิจกรรม วางแผนและจัดการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ สร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และ มีความสุขในการเรียน โดยใช้ศาสตร์การสอน รวมถึงวิธีการใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ มีกิจกรรมการเรียนรู้ ที่หลากหลาย ส่ือ แหล่งเรียนรู้ ชุมชน ภูมิปัญญาในชุมชนที่เหมาะสมกับสาระวิชาและผู้เรียนท่ีมีความแตกต่างกัน สามารถบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ ข้ามวัฒนธรรม และการวิจัย สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการศาสตร์การสอน ความรู้ เนื้อหาสาระ และเทคโนโลยี (TPACK) เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนน�ำไปใชใ้ นการแกป้ ัญหา พฒั นาตนเอง พฒั นาผูเ้ รียนและสังคม 6. เป็นพลเมืองท่ีเข้มแข็งและใส่ใจสังคม มีความรักชาติ รักท้องถ่ิน มีจิตส�ำนึกไทยและจิตส�ำนึกสากล รู้คุณค่าและมีส่วนร่วมในการพัฒนา อนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถ่ิน มีจิตอาสา และด�ำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย มีความยุติธรรมและมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดม่ันในความถูกต้อง กล้าปฏิเสธและต่อต้านการกระท�ำที่ไม่ถูกต้อง เคารพสิทธิ เสรีภาพและศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ มีจิตส�ำนึก เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกในสังคมแห่งความรู้แบบเปิดกว้างผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์จึงเป็นส่ิงส�ำคัญ และจ�ำเป็นสำ� หรบั ครูทุกคน OECJournal 25

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย แซมบาส (Zambas, 2020) ผ้จู ัดการเน้อื หาและผเู้ ชย่ี วชาญด้านอาชพี ของ CareerAddict กล่าววา่ ครเู ป็น ผู้มีบทบาทส�ำคัญและจะต้องมีความสามารถในการเปล่ียนแปลงชีวิตและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และ ได้นำ� เสนอทกั ษะและคุณสมบัติท่ีจำ� เปน็ ส�ำหรับครูโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมไว้น่าสนใจ สรุปดงั นี้ 1. มีความกระตือรือร้นที่จะสอน (Enthusiasm) คิดหาวิธีการสอนที่กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้ อยา่ งสนุกสนาน มีความยดื หย่นุ ทางความคดิ มคี วามฉลาดทางอารมณ์ เปน็ คนอารมณ์ดี สดใส รา่ เรงิ อยูเ่ สมอ 2. มคี วามสามารถในการจัดการเรยี นการสอน (Ability to Teach) มศี าสตร์การสอน มีทักษะและเทคนิคทาง จิตวิตยาในการจัดการช้ันเรียนและปกครองชั้นเรียน สามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ได้ตอบสนองความแตกต่าง ของผู้เรยี นแต่ละบคุ คล 3. มีการวางแผนและจดั ระเบยี บของงานอยา่ งเปน็ ระบบ (Organisation) บทบาทหนา้ ทข่ี องครไู มใ่ ชเ่ พียงแค่ การสอนตามหลักสูตรและการออกข้อสอบเท่านั้น แต่ยังมีงานอีกหลายอย่างพร้อมกันที่ครูจะต้องรับผิดชอบ ครูท่ีดี จึงต้องมกี ารวางแผนและจดั ระเบียบของงานได้อย่างเป็นระบบ 4. มีความสามารถในการส่ือสารและท�ำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น (Communication and Teamwork) สามารถสื่อสารให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน รวมถึงสามารถสื่อสารและท�ำความเข้าใจให้ผู้ปกครองได้รับทราบ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือปัญหาที่เกิดข้ึนของผู้เรียนแต่ละบุคคล รวมท้ังสามารถท�ำงานร่วมกัน เพื่อพฒั นาผเู้ รยี นและพฒั นาสถานศึกษาใหม้ ีประสทิ ธภิ าพ 5. มีการเอาใจใส่และอดทนต่อทุกพฤติกรรมของผู้เรียน (Empathy and Patience) ครูจะต้องใส่ใจ ท�ำความเขา้ ใจในธรรมชาตแิ ละความแตกต่างอย่างหลากหลายของผ้เู รียนแตล่ ะบุคคล ท้ังด้านเชอ้ื ชาติ ศาสนา ค่านยิ ม ภูมิหลังและวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน ซ่ึงส่งผลให้ผู้เรียนมีบุคลิกลักษณะ นิสัย และพฤติกรรมการเรียนรู้ ทแ่ี ตกตา่ งกนั 6. มคี วามสามารถในการปรบั ตวั และทกั ษะความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งบคุ คล (Adaptability and Interpersonal Skills) ครูที่ดีจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง มีมนุษยสัมพันธ์ท่ีดีเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาชุมชนและพัฒนาวิชาชีพ ตลอดจน มีความคิดท่ีทนั สมัย คดิ วเิ คราะห์อยา่ งมีวจิ ารณญาณ และมีความสามารถในการสร้างสรรคส์ ่ิงต่าง ๆ 7. มีความเป็นผู้น�ำ (Leadership) ครูท่ีมีประสิทธิภาพจะมีความสามารถในการเป็นผู้น�ำและช้ีแนะแนวทาง ในการเรยี นรใู้ หก้ บั ผเู้ รยี นได้เป็นอย่างดี และมคี วามเป็นผูน้ �ำทางวชิ าการในศาสตร์หรอื สาขาวชิ าที่สอน 8. มรี ะเบยี บวินัยและการเป็นแบบอย่างทดี่ ี (Discipline and Role Model) ครูท่ีดจี ะตอ้ งประพฤตปิ ฏิบตั ติ น ให้เป็นแบบอย่างทั้งภายนอกและภายใน เช่น การแต่งกาย การดูแลรักษาสุขภาพ รักษาความสะอาด เป็นระเบียบ เรยี บรอ้ ย การใชค้ �ำพูด กรยิ า มารยาทและการแสดงออกต่าง ๆ เช่น การตรงตอ่ เวลา การรักษาระเบยี บกฎเกณฑ์ และ ระมัดระวงั การโพสตข์ อ้ ความหรือแสดงความคิดเห็นผา่ นส่ือโซเชียลมีเดียท่ไี ม่เหมาะสม 9. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Computer and Digital Technology Skills) เทคโนโลยีดิจิทัลถูกน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเปล่ียนแปลงทางสังคมและระบบการศึกษาอย่างแพร่หลายในยุค ปจั จุบัน ทกั ษะการใช้งานคอมพวิ เตอร์ โปรแกรมการท�ำงานพน้ื ฐานตา่ ง ๆ ในเบ้อื งตน้ ตลอดจนการรใู้ ช้ ICT เพ่อื เปน็ เครื่องมือส�ำคัญในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน สร้างสื่อการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือสื่อสาร และใช้เป็นเครือข่าย เพ่อื เข้าถึงการจดั การเรยี นรู้ได้แบบบรู ณาการ ใช้ประเมนิ ผลการเรยี นรแู้ ละสร้างขอ้ มลู เพือ่ ทำ� งาน 26 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ที่มา: https://www.theasianaffairs.com/thailand-online-classes-are-lacking-of-teachers-and-facilitators/ บทสรุป การศึกษาในอนาคตจะใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพ่ือพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาทั่วโลก โดยใช้ พฒั นาการศึกษาใน 2 ประเด็นหลกั คือ ใชส้ ร้างขอ้ มลู เชิงลึกแบบเปน็ ปจั จุบัน (Real-time) เพอื่ ปรบั ปรุงผลการศึกษา ของผู้เรียน และออกแบบการคิดใหม่เพื่อพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนองการเปล่ียนแปลงที่เกิดข้ึน โดยยกระดับ คุณภาพการศึกษา ดงั นี้ 1) สง่ เสรมิ การเรยี นรู้และพัฒนาผลการเรียนรู้ทีด่ ีขึน้ ของผเู้ รยี น 2) วเิ คราะห์ขอ้ มลู สารสนเทศ เพื่อจัดการการศึกษาและพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้ 3) สร้างหลักสูตรใหม่เพื่อการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล 4) พัฒนา ความสามารถของผู้เรียนโดยเริ่มต้นตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5) ก�ำหนดนโยบายด้านการบริหารที่ครอบคลุม การพฒั นาทย่ี ่ังยืน 6) สรา้ งความเทา่ เทยี มทางการศกึ ษาโดยให้สามารถเข้าถงึ การเรยี นรู้ไดส้ ะดวกส�ำหรบั ผ้เู รียนทกุ คน และเข้าถึงได้ตลอดชีวิตของการเรียนรู้ 7) เตรียมครูส�ำหรับพัฒนาการศึกษาที่ขับเคล่ือนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ เทคโนโลยที างปญั ญา 8) พฒั นาระบบขอ้ มลู ทม่ี ีคณุ ภาพและครอบคลุมทกุ ระดับการศกึ ษา 9) ตรวจสอบจรยิ ธรรมและ ความโปร่งใสในการท�ำงาน ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบการเผยแพร่ผลงาน และ 10) ส่งเสริมการวิจัย เพ่ือน�ำเทคโนโลยีทางปัญญามาใช้พัฒนาการศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ในอนาคต จะมีการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลท่ีหลากหลายและทันสมัยมาช่วยในงานด้านการจัดการศึกษาและจัดการเรียนรู้เพ่ือพัฒนา ผู้เรียนในหลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมท่ีได้รับจากผู้เรียน (Internet of Behaviors: IoB) การน�ำระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ติดตั้งผสมผสานในแพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบเปิดกว้าง (Active MOOCs) เพื่อช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เพิ่มมากขึ้น จัดระบบนิเวศการเรียนรู้ แบบประสานเวลาผ่านระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) สร้างและแบ่งปันเน้ือหาสาระความรู้ ใหเ้ ปน็ แหล่งทรพั ยากรออนไลน์ เชน่ YouTube ทเ่ี ป็นแพลตฟอรม์ วดิ โี อส�ำหรับใช้เป็นแหลง่ ความรูแ้ ละเป็นทรพั ยากร การเรียนรู้ที่ส�ำคัญในปัจจุบันและอนาคต การใช้โปรแกรม Video Meeting Platform ซ่ึงเป็นรูปแบบการประชุม OECJournal 27

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ร่วมกันได้จากทางไกลและจัดเก็บบันทึกการประชุมบนระบบ Cloud การใช้เคร่ืองมือ Collaboration Platform และ Learning Platform: LMS (UNESCO, 2019) ซ่ึงสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้เพ่ือจัดการเรียนรู้ออนไลน์ แบบประสานเวลาและสามารถทำ� งานร่วมกันผ่านเครือ่ งมือสำ� คญั เช่น Microsoft 365 for Education และ Google Suite for Education และแนวโน้มที่ส�ำคัญในอนาคตจะมีการน�ำบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ในการบันทึก และจัดเก็บข้อมูลผู้เรียน ประวัติทางการศึกษา ข้อมูลการลงทะเบียน บันทึกผลการเรียนและทุกพฤติกรรมการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียน เกิดหลักสูตรอัจฉริยะที่มีเนื้อหาสาระทางดิจิทัลและเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพ่ิม มากขึน้ สามารถน�ำเสนอเน้ือหา การเรยี นรแู้ บบออนไลนท์ ม่ี ีคณุ ภาพ หลักสูตรจะออกแบบการเรยี นร้ใู นสภาพห้องเรยี นเสมอื นจรงิ โดยระบบ จะใช้โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรแบบดั้งเดิมแล้วเปลี่ยนเป็นการสร้างหลักสูตรแบบออนไลน์ที่สามารถก�ำหนด การเรียนรู้ได้ด้วยตนเองของผู้เรียน หนังสือและต�ำราเรียนจะถูกแปลงเป็นหนังสือดิจิทัลและสร้างรูปแบบปฏิสัมพันธ์ ในการเรยี นรใู้ หม่เพือ่ ชว่ ยใหผ้ ้เู รียนในทกุ ระดบั การศึกษาและทุกเพศทกุ วยั สามารถเขา้ ถึงการเรียนรไู้ ด้ตามความสนใจ และความต้องการ และเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาให้ไม่มีข้อจ�ำกัดท่ีผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ของ ทุกหลักสูตรได้จากทุกสถานท่ีทั่วโลกและทุกเวลาได้อย่างสะดวกสบาย (ศักด์ิชัย ไชยรักษ์ และปณิตา วรรณพิรุณ, 2563) การศึกษาในอนาคตจะเต็มไปด้วยจินตนาการและนวัตกรรมมากยิ่งข้ึน โดยการเรียนรู้จะเป็นผลผลิต ส่วนเทคโนโลยีเสมือนจริงจะช่วยให้เกิดการศึกษาแบบองค์รวมท่ีช่วยเพ่ิมคุณภาพการเรียนรู้ผู้เรียน ช่วยพัฒนา คุณภาพและความสามารถของผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง เพราะการศึกษาท่ีแท้จริงนั้นจะต้องสามารถท�ำได้โดยอิสระ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงควรสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนสนุกกับการได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระเสรี เพื่อปลูกฝัง ความสามารถในการเรียนรู้อย่างมีความสุข ตระหนักถึงการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการพัฒนาแพลตฟอร์ม การเรียนรู้อัจฉริยะ แอปพลิเคชันจ�ำลองการเรียนรู้เสมือนจริง การทดลองเสมือนจริง การฝึกปฏิบัติเสมือนจริง เกิดเป็นแพลตฟอร์ม VR เสมอื นจริงทางการศึกษา เพื่อน�ำมาใช้พัฒนาคณุ ภาพและความสามารถในการเรยี นรู้และฝกึ ทักษะการปฏิบัติได้จริงตลอดชีวิต (Zhang et al., 2020) มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพ้ืนฐานและใช้อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง อินเทอร์เน็ตของสรรพส่ิง (IoT) เช่ือมโยงอุปกรณ์การเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณและโต้ตอบกับ ผู้เรียนได้โดยอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว ซ่ึงจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ที่ทันสมัยได้จากทุกสถานที่ตามที่ ต้องการ ไร้ข้อจ�ำกัดในเรื่องของเวลา ช่วยลดการเดินทางและลดการจราจรท่ีแออัดบนท้องถนน ลดค่าใช้จ่ายที่จะ เกิดขึ้นทางกายภาพ ตลอดจนสามารถสร้างรูปแบบการท�ำงานและการเรียนรู้ใหม่ท่ีช่วยแก้ปัญหาสถานการณ์ โรคระบาดติดต่อท่ีอันตรายต่าง ๆ ดังเช่น สถานการณ์ COVID-19 หรือแก้ปัญหาสถานการณ์ในสภาวะฉุกเฉินที่จะ อุบัติใหม่ในอนาคตด้วยการท�ำงานและเรียนรู้ได้จากที่บ้าน (Work From Home) โดยจะสามารถจัดระเบียบและ แบง่ ปันทรัพยากรส�ำหรบั การท�ำงานและเรียนรรู้ ว่ มกัน เพอ่ื ให้ผู้เรียนและผปู้ ฏิบัติงานขององคก์ รต่าง ๆ สามารถเขา้ ถึง ทรัพยากรการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ได้อย่างต่อเน่ือง ไม่หยุดชะงักและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสทิ ธผิ ลได้จากทกุ สถานท่แี ละทกุ เวลา (Chaiyarak, Koednet, & Nilsook, 2020) ดังน้ัน คุณลักษณะและสมรรถนะที่จ�ำเป็นส�ำหรับครูในยุคดิจิทัลจะต้องเป็นผู้มีจิตวิญญาณครูและยึดมั่น ในจรรยาบรรณของวิชาชีพ ปฏิบัติหน้าท่ีตามอุดมการณ์ด้วยความรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ ทุ่มเทอุทิศตน สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาการเรียนรู้และผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน มีความกระตือรือร้นท่ีจะจัด กิจกรรมการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ มีความยืดหยุ่นทางความคิด มีความฉลาดทาง อารมณ์ มีศาสตร์และศิลป์ในการสอน วางแผนและจัดระเบียบของงานอย่างเป็นระบบ ส่ือสารและท�ำงานเป็นทีม 28 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ร่วมกับผู้อ่ืนได้ เอาใจใส่และอดทนต่อทุกพฤติกรรมของผู้เรียน มีมนุษยสัมพันธ์ท่ีดี มีความเป็นผู้น�ำทางวิชาการ ในศาสตร์หรือสาขาวิชาท่ีสอน ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างท่ีดี และมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ดิจิทัล โดยครูและนักศึกษาครูในยุคดิจิทัลจะต้องก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมที่เกิดขึ้น เป็นผู้มีความเข้าใจและรู้การใช้ดิจิทัลที่ทันสมัย (Digital Literacy) มีกลยุทธ์ท่ีหลากหลายในการจัดการเรียนรู้และ สามารถน�ำอุปกรณ์ เคร่ืองมือ สื่อออนไลน์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานด้าน การจัดการเรียนการสอน การออกแบบและจัดการเรียนรู้ท้ังในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ สามารถสร้างส่ือและ ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละบุคคล สร้างบรรยากาศในช้ันเรียนที่ดี มีความสุข สนุกสนาน สามารถออกแบบการวัดและประเมินผลเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสม มีวิจารณญาณในการใช้งาน มีความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงความปลอดภัยออนไลน์ รวมถึง การปกป้องข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตนทางส่ือสังคมออนไลน์ พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่รอบรู้ ทันสมัย ทันต่อ การเปล่ียนแปลงตลอดเวลา สามารถสร้างกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ร่วมกันทางสังคม เพ่ือให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ ตลอดชีวิต และเกิดการพัฒนาทางการศึกษาท่ีย่ังยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ ศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพยี ง ทีม่ า: https://virtualspeech.com/blog/augmented-virtual-reality-future-of-learning-experience OECJournal 29

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย รายการอา้ งองิ คณะกรรมการการอดุ มศกึ ษา. (2561). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศกึ ษา เรื่อง แนวทางการปฏิบตั ิตาม กรอบมาตรฐานคุณวฒุ ริ ะดับอดุ มศึกษาแห่งชาตเิ กีย่ วกบั สมรรถนะดจิ ทิ ลั ส�ำหรบั คณุ วฒุ ริ ะดบั ปริญญาตร.ี สบื คน้ จาก http://www.thaiall.com/tec/digital_competencies.pdf คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศกึ ษา. (2562). ชดุ รายงานพันธกิจของคณะกรรมการอิสระ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ฉบบั รายงานเฉพาะเรื่องท่ี 12 หลกั สูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. กรงุ เทพฯ : ม.ป.พ. ประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรอื่ ง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปรญิ ญาตรี สาขาครศุ าสตร์และสาขาศกึ ษาศาสตร์ (หลกั สูตรสปี่ ี) พ.ศ. 2562. (2562, 6 มนี าคม). ราชกิจจานเุ บกษา. เลม่ 136 ตอนพิเศษ 56 ง. หนา้ 12. ศกั ด์ชิ ัย ไชยรกั ษ์ และ ปณติ า วรรณพิรุณ. (2563). เทคโนโลยีทางปัญญาเพื่อการศกึ ษาอัจฉริยะ. Panyapiwat Journal, 12(3), 315-328. Cambridge Assessment. (2018). The Digital Teacher. Retrieved from https://thedigitalteacher.com Chaiyarak, S., Koednet, A., & Nilsook, P. (2020). Blockchain, IoT and Fog Computing for Smart Education Management. International Journal of Education and Information Technologies, 14, 52–61. https://doi.org/10.46300/9109.2020.14.7 Justenhoven, R. (2018). A Digital Competency Framework for the new digital workforce. Retrieved from https://insights.humancapital.aon.com/talent-assessment-blog/a-digital- competency-framework-for-the-new-digital-workforce UNESCO. (2016). A Global measure of digital and ICT literacy skills (Australian Council for Educational Research, Ed.). Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark:/ 48223/pf0000245577 ________. (2019). Artificial Intelligence in Education: Challenges and Opportunities for Sustainable Development. In Working Papers on Education Policy 07 Education Sector. Paris France: The Global Education 2030 Agenda. Zambas, J. (2020). 25 Essential Skills and Qualities Every Teacher Needs. Retrieved from https://www.careeraddict.com/teacher-skills Zhang, Q., Wang, K., & Zhou, S. (2020). Application and Practice of VR Virtual Education Platform in Improving the Quality and Ability of College Students. IEEE Access, 8, 162830–162837. https://doi.org/10.1109/ACCESS.2020.3019262 30 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ความพรอ้ มต่อการเรยี น ฐิตินันทน์ ผิวนิล และ การสอนแบบออนไลน์ ผู้ชวยศาสตราจารย์ ดร.อดุ มพร ชนั้ ไพบูลย์ ของโรงเรยี นสังกัด ภาควชิ าสังคมวทิ ยาและ กรุงเทพมหานคร : มานุษยวทิ ยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั รามค�ำแหง บทสังเคราะหร์ ายงานการวจิ ยั Readiness for Online Learning in Schools under Bangkok Metropolitan Administration: Synthesis from Research Reports บทคัดย่อ บทความนี้เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการวิจัยของส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่ตีพิมพ์เผย แพร่ในช่วงปี พ.ศ.2560 - 2562 จ�ำนวน 4 รายงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือสังเคราะห์ข้อมูลสภาพความพร้อมต่อ การเรียนการสอนแบบออนไลน์ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และจัดท�ำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับ การเรียนการสอนแบบออนไลน์ของโรงเรียนสังกัดกรงุ เทพมหานคร ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริหารถสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีความพร้อมในด้าน การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โดยด�ำเนินการไปตามนโยบายที่ได้รับจากส่วนกลาง คือ ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และมีการสนับสนุนครูให้มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนอย่างสม�่ำเสมอ ในทุกด้าน ด้านศักยภาพของครูนั้น พบว่ามีศักยภาพในการเข้าถึงอุปกรณ์การส่ือสาร มีความรู้ และทักษะการใช้งาน เทคโนโลยีออนไลน์เป็นอย่างดี มีการเปิดรับและพร้อมต่อการปรับตัวเพ่ือการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในขณะท่ี ด้านของนักเรียนและผู้ปกครองอาจจะยังไม่พร้อมต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากนัก โดยเฉพาะเด็ก กลุ่มปฐมวัย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานครน้นั ควรค�ำนึงทัง้ บริบทของสถานศกึ ษา ครผู ู้สอน นกั เรยี น รวมถึงผ้ปู กครอง ครอบครัวของนกั เรียน ด้วย นโยบายควรมีความเชื่อมโยงกันเป็นระบบ และควรเน้นใช้เทคโนโลยีท่ีมีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ โดยไม่ท�ำให้ การเรยี นการสอนแบบออนไลนก์ ลายเป็นภาระเพ่ิมข้ึน ค�ำส�ำคัญ : การเรียนการสอนแบบออนไลน์ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การสงั เคราะห์ข้อมลู บทน�ำ เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีการส่ือสารโดยเฉพาะระบบอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์ ในทุกด้านอย่างมาก รวมถึงในด้านการศึกษาด้วย ซ่ึงมีความพยายามใช้ส่ือและเทคโนโลยีเข้ามาในกระบวนการเรียน การสอน และการเรียนรู้ของผู้เรียนในหลายรูปแบบ ทั้งในด้านการใช้อินเทอร์เน็ตเพ่ือค้นหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร OECJournal 31

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ระหวา่ งผเู้ รียนและผสู้ อน การพฒั นาการเรียนรู้ผ่านสือ่ เทคโนโลยีซึ่งครอบคลมุ หลายรปู แบบการเรียนรู้ เชน่ โปรแกรม สำ� เรจ็ รูป ชุดการสอน การใช้คอมพวิ เตอรช์ ว่ ยสอน (Computer - Assisted Instruction) การสอนผา่ นระบบโทรทศั น์ หรือถ่ายทอดผ่านระบบดาวเทียม การน�ำเสนอโดยวิดีโอ การสอนบนเว็บไซต์ (Web - Based Instruction) และ การเรียนออนไลน์ (Online learning) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2563) ซึ่งการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) ที่เกิดขึ้นยังมีผลท�ำให้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้รับความสนใจมากย่ิงขึ้นด้วย ผลักดันให้ผู้เรียนเข้าถึง ขอ้ มลู แหลง่ เรยี นรแู้ บบไมม่ ขี อ้ จำ� กดั รวมถงึ การเกดิ ขน้ึ ระบบเรยี นรแู้ บบเคลอ่ื นท่ี (Mobile learning) ในรปู แบบใหม่ ๆ มากขึ้น (ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2561) สถาบันการศึกษาจึงต้องเร่งส่งเสริมการจัดการศึกษา การเรียนรู้ และการฝึกอบรมต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้เท่าทันกับความต้องการของผู้เรียน (ภาณุพงศ์ พนมวัน, 2563) โดยพบว่าหลายหน่วยงานด้านการศึกษาได้เร่งพัฒนาส่ือการสอนและรูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะออนไลน์มากยิ่งข้ึน เพื่อตอบสนองต่อลักษณะของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 และสอดรับตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เน้น ใหเ้ กิดการเรยี นร้ดู ้วยตนเอง (Self - directed learning) (ชณวรรต ศรลี าคำ� และพัฒนา สอดทรัพย,์ 2562) ส่ิงต่าง ๆ เหล่าน้ี ช่วยสะท้อนถึงความพยายามการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศไทยโดยการพลิกโฉมด้วยระบบ ดจิ ทิ ัล (Digitalization for Educational and Learning Reform) (วรพจน์ หาญใจ, 2563) ส�ำหรับบริบทของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครนั้น ได้มีการวางยุทธศาสตร์ท่ีส�ำคัญเกี่ยวกับการพัฒนา การเรียนการสอนท่ีเน้นใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์ท่ี 5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ การส่ือสารเพ่ือความเป็นเลิศในการจัดการศึกษา ซึ่งปรากฏในแผนพัฒนาการศึกษาข้ันพ้ืนฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับท่ี 2 (พ.ศ. 2560 – 2563) ฉบับปรับปรุง (ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2561) โดยในปีการศึกษา 2562 กรุงเทพมหานครมีนโยบายด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นในเร่ือง SMART Education โดยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ ICT และสนับสนุนการจัดสรรเทคโนโลยีท่ีเหมาะสมและมีคุณภาพเพื่ออ�ำนวยความสะดวกในห้องเรียนมากข้ึน (สำ� นักปลดั กรงุ เทพมหานคร, 10 พฤษภาคม 2562) อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยได้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการก�ำหนดเล่ือนการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 และก�ำหนดนโยบายส่งเสริมการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพ่ิมขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 12 พฤษภาคม 2563) ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานครจึงได้มีแผนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นการเฉพาะ ในสถานการณ์ดังกล่าว มีความจ�ำเป็นที่ส�ำนักการศึกษาจะมีองค์ความรู้ท่ีได้จากข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความพร้อมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครต่อการจัดการดังกล่าว บทความนี้จึงเป็นการสังเคราะห์ ผลการวิจัยข้อมูลท่ีเก่ียวข้องกับการเรียนการสอนออนไลน์ในบริบทของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในช่วง ปี พ.ศ. 2560 - 2562 เพอื่ จดั ทำ� ข้อเสนอเชงิ นโยบายต่อส�ำนักการศึกษา กรงุ เทพมหานคร นำ� ไปใชป้ ระโยชน์ต่อไป 32 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย วัตถปุ ระสงค์ 1. เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลสภาพความพร้อมต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร 2. เพ่ือจัดท�ำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเก่ียวกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของโรงเรียนสังกัด กรงุ เทพมหานคร วิธีการวิจยั การวิจัยคร้ังนี้ เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยใช้การสังเคราะห์ข้อมูลจากรายงาน การวจิ ยั ของสำ� นักการศกึ ษา กรงุ เทพมหานคร ทีต่ พี มิ พใ์ นช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560 - 2562) เพ่ือใหส้ อดคลอ้ ง และทันสมัยกับประเด็นการใช้เทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบัน ซ่ึงประกอบด้วยเอกสารรายงานการวิจัยจ�ำนวน 4 รายการ ซงึ่ มีรายละเอยี ดดงั น้ี 1. รายงานการวจิ ยั เรอ่ื ง วฒั นธรรมการสอื่ สารออนไลนเ์ พอื่ เพมิ่ ประสทิ ธภิ าพการจดั การเรยี นรู้ การปฏบิ ตั งิ าน และการปฏสิ มั พนั ธท์ างสงั คมแบบรอบดา้ นของครใู นโรงเรยี นสงั กดั กรงุ เทพมหานคร ดำ� เนนิ การโดย ฐติ นิ นั ทน์ ผวิ นลิ (2560) 2. รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร ด�ำเนินการโดยกลุ่มงานวิจัย พัฒนาส่ือและเทคโนโลยี กองเทคโนโลยีเพ่ือการเรียนการสอน ส�ำนกั การศึกษา กรงุ เทพมหานคร (2561) 3. รายงานการวิจัย เร่ือง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มารยาททางสังคม กบั ภาวะสุขภาพจิตของครูโรงเรยี นสังกดั กรงุ เทพมหานคร ดำ� เนินการโดยฐิตินันทน์ ผิวนิล (2561) 4. รายงานการวจิ ยั เรอื่ ง การเตรยี มความพรอ้ มเพอ่ื การทดสอบทางการศกึ ษาระดบั ชาตขิ น้ั พน้ื ฐาน (O - NET) ของ นกั เรยี นระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 6 โรงเรยี นสงั กดั กรงุ เทพมหานคร ปกี ารศกึ ษา 2562 ดำ� เนนิ การโดยฐติ นิ นั ทน์ ผวิ นลิ (2562) ท้งั นี้ การสงั เคราะหข์ อ้ มูลจากรายงานการวจิ ยั ทง้ั 4 โครงการดังกล่าว มีรายละเอยี ดวธิ ีการศึกษา ประชากร และกลมุ่ ตัวอยา่ ง การเลือกตวั อยา่ ง จำ� นวนกลมุ่ ตวั อยา่ ง พื้นทศ่ี ึกษา และระยะเวลาด�ำเนินการ ดงั ตารางตอ่ ไปน้ี รายละเอียด รายงานฉบบั ท่ี 1 รายงานฉบับท่ี 2 รายงานฉบบั ที่ 3 รายงานฉบับที่ 4 วิธกี ารศึกษา การวิจัยเชงิ ปรมิ าณ การวจิ ยั เชงิ สำ� รวจ การวจิ ยั เชงิ ปริมาณ การวิจยั เชิงปรมิ าณ และการวจิ ยั (Survey Research) และการวิจัย และการวจิ ัย เชงิ คุณภาพ เชิงคณุ ภาพ เชิงคณุ ภาพ พืน้ ทศี่ กึ ษา โรงเรยี นสังกดั โรงเรียนสงั กดั โรงเรียนสังกัด โรงเรียนสงั กัด กรุงเทพมหานคร กรงุ เทพมหานคร กรุงเทพมหานคร กรงุ เทพมหานคร จำ� นวน 44 โรงเรียน จ�ำนวน 438 โรงเรียน จ�ำนวน 51 โรงเรยี น จำ� นวน 9 โรงเรยี น OECJournal 33

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย รายละเอียด รายงานฉบบั ที่ 1 รายงานฉบับที่ 2 รายงานฉบับท่ี 3 รายงานฉบบั ท่ี 4 ประชากรและ การวิจยั เชงิ ปริมาณ ผ้บู รหิ ารสถานศึกษา การวิจยั เชิงปริมาณ การวจิ ัยเชิงปรมิ าณ กล่มุ ตวั อย่าง : ครผู ้สู อน จ�ำนวน 317 คน : ครผู ู้สอน : นักเรยี นระดบั และครูผู้สอน จ�ำนวน 796 คน มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 6 จำ� นวน 641 คน จำ� นวน 1,035 คน การวจิ ัยเชิงคุณภาพ จำ� นวน 731 คน : ครอู าจารย์ การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ จำ� นวน 30 คน : 1) กลุ่มนักเรยี น : ครูอาจารย์ และ จาก 15 โรงเรยี น ระดับมัยมศกึ ษาปี ผู้บริหารสถานศึกษา ท่ี 6 จาก 5 โรงเรยี น รวมจำ� นวน 20 คน แบบสอบถามและ โรงเรยี นละ 3 คน จาก 10 โรงเรียน แบบสมั ภาษณ์ รวมจ�ำนวน ปกี ารศกึ ษา 2560 - ท้งั ส้นิ 15 คน เคร่อื งมอื ที่ใช้ แบบสอบถามและ แบบสอบถาม 2561 2) กลุ่มครูแนะแนว ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ ก�ำหนด ระยะเวลา ปีการศึกษา 2560 ปกี ารศกึ ษา 2558 โรงเรยี นละ 1 คน ดำ� เนนิ การ รวมจำ� นวน 9 คน ตารางที่ 1 รายละเอียดขอ้ มูลการวิจยั ท่ีน�ำมาใช้ในการสังเคราะห์ 3) ผู้บรหิ ารโรงเรียน โรงเรยี นละ 1 คน รวมจ�ำนวน 9 คน แบบสอบถามและ แบบสมั ภาษณ์ ปกี ารศึกษา 2562 ผลการวิจยั จากการสังเคราะห์ข้อมูลรายงานการวิจัยทั้ง 4 รายการ สามารถวิเคราะห์สรุปประเด็นสภาพความพร้อมต่อ การเรยี นการสอนแบบออนไลนข์ องโรงเรยี นสงั กัดกรงุ เทพมหานคร ได้ 5 ประเดน็ ส�ำคัญดงั นี้ 1. ความพรอ้ มของโรงเรียนดา้ นการบริหารจัดการเทคโนโลยเี พือ่ การเรียนการสอน ในภาพรวม พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีความพร้อมในด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โดยดำ� เนนิ การไปตามนโยบายทไี่ ด้รับจากสว่ นกลาง คอื ส�ำนกั การศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยในการดำ� เนินการของ ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่มีความพร้อมในด้านการสนับสนุนให้ครูผู้สอนของโรงเรียนตนเองมีการใช้เทคโนโลยี เพ่ือการเรียนการสอน สร้างความตระหนักให้ครูเห็นความส�ำคัญของการใช้สื่อเทคโนโลยีเพ่ือการเรียนการสอน 34 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูไปพัฒนาตนเองในเรื่องการใช้เทคโนโลยี โดยการให้ไปฝึกอบรม รวมถึงมีการจัด กิจกรรมเพ่อื สง่ เสริมการใชเ้ ทคโนโลยใี นการสอนเป็นประจำ� 2. ศกั ยภาพของครูโรงเรียนสงั กดั กรุงเทพมหานครกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ครูส่วนใหญ่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน (ร้อยละ 94.6) รองลงมาคือมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว (ร้อยละ 89.2) และมีแท็บเล็ต (Tablet) (ร้อยละ 38.8) ครูเกือบทั้งหมดใช้ LINE (ไลน์) เป็นประจ�ำ (ร้อยละ 90.5) มผี ้ทู ีไ่ มใ่ ชเ้ พยี งร้อยละ 1.0 และครใู หญ่ใช้ Facebook (เฟซบ๊กุ ) เปน็ ประจำ� (รอ้ ยละ 72.7) ส่วนครทู ไี่ มไ่ ดใ้ ช้งานมีเพียง ร้อยละ 4.9 ท้ังนี้ เหตุผลที่ครูเลือกใช้ไลน์มากกว่าเพราะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า ใช้งานได้สะดวกกว่าเฟซบุ๊ก เป็นการส่ือสารท่ีทุกคนในโรงเรียนนิยมใช้ในการส่งข่าวสารการท�ำงาน ครูที่ไม่เคยใช้งานได้เร่ิมมีการปรับตัวมาใช้งาน มากขึน้ เพอื่ ใหร้ ับรู้ขอ้ มูลการทำ� งาน ตดิ ตอ่ สร้างปฏสิ ัมพันธ์ และแบ่งปนั ขา่ วสาร ด้านความรู้ ทักษะความสามารถ และทัศนคติเก่ียวกับการส่ือสารออนไลน์ จากผลการวิจัย พบว่า ครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในภาพรวมมีความรู้และทักษะความสามารถในการใช้การส่ือสารออนไลน์ อยูใ่ นระดบั มาก ส่วนทัศนคตติ อ่ การใช้สือ่ ออนไลน์อยใู่ นระดบั กลาง ๆ กลา่ วคอื ครไู ม่ได้ชืน่ ชอบมากแต่ก็ไม่ได้ตอ่ ต้าน หรือไม่ยอมรบั การใช้การส่อื สารออนไลน์ 3. สงั คมออนไลนก์ บั การท�ำงานของครโู รงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากสังคมออนไลน์ในการค้นหาข้อมูล เพื่อเตรียมการสอนและใช้สื่อสารในการท�ำงานเป็นหลัก เม่ือพิจารณาพฤติกรรมการสื่อสารออนไลน์ที่เก่ียวข้องกับ การทำ� งานของครู ออกเป็น 3 ดา้ นคอื 1) การพฒั นาการจดั การเรยี นรู้ 2) การปฏบิ ัตงิ านทว่ั ไป และ 3) การปฏสิ ัมพันธ์ ทางสังคม พบว่าครูมีการใช้การสื่อสารออนไลน์เพื่อการท�ำงานท้ัง 3 ด้านยังไม่มากนัก โดยเฉพาะครูผู้สอนเด็กเล็ก จะใช้งานน้อยกวา่ ครูทีส่ อนระดับประถมศึกษาและมัธยมศกึ ษา ทั้งน้ี ยังมีข้อค้นพบว่า คุณลักษณะของครูกับการใช้การส่ือสารออนไลน์เพื่อการท�ำงานมีความแตกต่างกัน ดังน้ี ครูเพศหญิงจะใช้งานการสื่อสารออนไลน์มากกว่าชายในทุกด้าน กลุ่มครูท่ีมีอายุเพ่ิมมากขึ้นจะมีแนวโน้มการใช้ การสื่อสารออนไลนน์ อ้ ยลง สว่ นครูทมี่ ีคุณวุฒิสงู กว่าปริญญาตรีจะใช้งานการสือ่ สารออนไลน์สงู กวา่ 4. “ไลน์” คอื ชอ่ งทางสำ� คัญสำ� หรับการทำ� งานของครู อยา่ งไรก็ตามครทู ่ีใช้งานสงั คมออนไลน์จะเน้นใช้ผ่าน “ไลน์” มากกว่า เช่น การปรกึ ษาการเรียนการสอนและ ภาระงานกับเพื่อนร่วมงานในโรงเรียน การอัพโหลด แชร์ ส่งไฟล์งานให้เพ่ือร่วมงาน รวมถึงการติดต่อเครือข่าย ครนู อกโรงเรยี น ผปู้ กครอง และนกั เรยี น ทง้ั นี้ จากผลการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ พบวา่ การใชง้ านการสอื่ สารออนไลนส์ ว่ นมาก จะเน้นไปในทางการเตรียมการสอน และการพูดคุยปรึกษากับเพื่อนร่วมงานมากกว่าการใช้งานร่วมกับนักเรียน ทั้งน้ี ครเู ลือกใชก้ ารสื่อสารผ่านโปรแกรมไลน์ มากกวา่ เฟซบุ๊ก เนื่องจากไลนม์ ีลักษณะเฉพาะทเี่ น้นการพูดคยุ (แชท) เทา่ น้ัน แต่เฟซบุ๊กจะท�ำให้เห็นข้อมูลส่วนตัวอ่ืน ๆ ของผู้ใช้งานมากกว่า ครูหลายคนจึงมองว่าการติดต่อพูดคุยผ่านไลน์ มคี วามเป็นส่วนตัวมากกวา่ OECJournal 35

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย 5. ความพรอ้ มของนกั เรยี นและผปู้ กครอง มุมมองของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมองว่าโรงเรียนที่เป็นครูผู้สอนเด็กเล็ก โอกาสจะใช้ การสื่อสารออนไลน์กับผู้เรียนมีน้อยมาก เพราะอายุน้อยเกินไปกว่าจะเรียนรู้ผ่านออนไลน์ได้ด้วยตนเอง และ ผ้ปู กครองอาจไม่พรอ้ มในการดแู ลไดอ้ ยา่ งทวั่ ถึง ครูหลายคนมองว่าบรบิ ทโรงเรียนและนกั เรียนยังไม่เออื้ ต่อการสือ่ สาร แบบออนไลน์ เด็กนักเรียนที่เรียนในวัยประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมักใช้การพูดคุยติดต่อสื่อสาร และ การจดั การเรยี นรภู้ ายในโรงเรียนจะมคี วามสะดวกมากกว่า ส่วนครูท่ีสอนในระดับมัธยมศึกษา แม้ตัวนักเรียนจะมีความพร้อม (ทั้งการมีอุปกรณ์และความสามารถ ในการใช้งาน) แตก่ ป็ ระสบปญั หาท่ีครไู มส่ ามารถควบคุมการใชง้ านการสื่อสารออนไลน์ของเด็กนักเรยี นได้ ครหู ลายคน เคยลองใช้ในการเรียนการสอน แต่กลับพบว่านักเรียนการส่ือสารออนไลน์เพื่อการเล่นมากกว่าการเรียนรู้ รวมถึง ปัญหาจากจ�ำนวนนักเรียนท่ีมีมาก และความรวดเร็วของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ท�ำให้ครูไม่สามารถเข้าไปร่วม คัดกรองเนอ้ื หาต่าง ๆ ท่ีนกั เรียนเข้าถงึ ในอนิ เทอร์เนต็ ได้ จากข้อมูลโครงการวิจัยปีงบประมาณ 2562 ท่ีเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย พบว่า ผู้ปกครองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 73.1 ผู้ปกครอง จบการศกึ ษาสงู สดุ ในระดบั ตำ�่ กวา่ ปรญิ ญาตรี ดา้ นการประกอบอาชพี ของผปู้ กครองนนั้ สว่ นมากทำ� อาชพี ในกลมุ่ รบั จา้ ง ร้อยละ 44.6 รองลงมาคือ ประกอบธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 19.4 และการเป็นพนักงาน/ลูกจ้างบริษัท ภาคเอกชน ร้อยละ 18.5 ดังนั้น หากพิจารณาบริบทของผู้ปกครอง อาจเห็นได้ว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่อาจได้รับ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 และข้อจ�ำกัดด้านการเข้ามา มสี ่วนร่วมในการควบคุม ดูแลการใช้การส่อื สารออนไลน์ของนักเรียนได้ นกั เรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลายเกอื บทงั้ หมด (รอ้ ยละ 93.6) มสี มารต์ โฟน สว่ นการมคี อมพวิ เตอรส์ ว่ นตวั หรือคอมพิวเตอรแ์ บบพกพา มีเพียงรอ้ ยละ 56.5 และการมแี ทบ็ เลต็ นน้ั พบวา่ มีนักเรียนที่มอี ุปกรณ์ดงั กล่าวแค่ร้อยละ 18.6 เท่าน้ัน ดา้ นการใชง้ านเครือข่ายสงั คมออนไลน์ นักเรียนใชเ้ ฟซบกุ๊ ร้อยละ 97.4 รองลงมาคือใชไ้ ลน์ รอ้ ยละ 95.2 และการใช้ Youtube ร้อยละ 95.0 ซง่ึ ผใู้ ช้งาน Youtube จะใช้งานเปน็ ประจำ� ทุกวนั กว่าร้อยละ 85.1 6. ประเดน็ พงึ ระวังจากการท�ำงานแบบออนไลน์ 1) ปัญหาความสัมพันธ์ ครูที่ระบุว่ามีปัญหาความสัมพันธ์มักเป็นปัญหาท่ีเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง โดยเป็นปัญหากับเพ่ือนร่วมงาน และปัญหากับนักเรียน สาเหตุหลักคือเร่ืองความขัดแย้งจากการใช้ภาษา การตีความ สนทนาทผ่ี ดิ ความหมาย รวมทัง้ การใช้เครือขา่ ยสังคมออนไลน์เป็นชอ่ งทางสรา้ งความขัดแย้งระหว่างกัน 2) ปัญหาการถูกละเมิดมารยาท ผลการศึกษาพบว่า สิ่งท่ีครูพบเจอการละเมิดมารยาทมากที่สุด จากการใช้เฟซบุ๊กได้แก่ การพบเห็นนักเรียนโพสต์ด่าค�ำหยาบคาย รองลงมาคือการพบเห็นนักเรียนทะเลาะกัน และ นกั เรยี นใชภ้ าษาไม่ถกู ตอ้ ง 36 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย 3) ปัญหาสุขภาพจติ ของครู การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพ่ือการท�ำงาน อาจหมายถึงการท่ีครู ต้องรองรับการปฏิบัติงานแบบไม่จ�ำกัดสถานท่ีและเวลา ในประเด็นนี้จึงอาจต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากหากครูต้อง รับผิดชอบงานจ�ำนวนมากและไม่จ�ำกัดเวลา ส่ิงเหล่าน้ีอาจกลายเป็นสิ่งท่ีท�ำให้ความสุขของครูลดลงและอาจส่งผล ตอ่ ปัญหาความเส่ยี งสขุ ภาพจติ ได้ ผลการวิจัยพบว่า การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ การเป็นสมาชิกกลุ่มกับนักเรียนในเครือข่าย สังคมออนไลน์ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในเฟซบุ๊กมีผลต่อสุขภาพจิตของครู โดยการใช้งานสังคมออนไลน์ เพื่อการท�ำงาน การมีปัญหาความสัมพันธ์จากการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ และท่ีส�ำคัญคือการมีประสบการณ์ ถกู ละเมิดมารยาทในการใช้เครือขา่ ยสงั คมออนไลนล์ ว้ นสง่ ผลให้เกิดอาการภาวะซึมเศร้ามากข้ึนได้ ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย แม้ครูจะมีความพร้อมด้านการมีอุปกรณ์ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ แต่ยังพบว่าการเรียนการสอนแบบ ออนไลน์ยังคงมีไม่มาก เนื่องจากบริบทของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อาจจะยังไม่สามารถน�ำเทคโนโลยี การส่ือสารออนไลน์มาใช้ร่วมกับเด็กนักเรียนได้มากนัก เพราะข้อจ�ำกัดด้านบริบทนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเล็ก ยังไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์การส่ือสารได้ครบทุกคน และข้อจ�ำกัดด้านคุณลักษณะฐานะทางเศรษฐกิจสังคมของ ครอบครวั นักเรียน ท�ำให้โอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยขี องเดก็ แตล่ ะคนยังไม่ครอบคลุมเทา่ เทียมกนั จากผลการสังเคราะห์ข้างต้น จึงขอเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อประเด็นการพัฒนาความพร้อม เพอื่ การเรยี นการสอนแบบออนไลน์ของโรงเรียนสงั กัดกรงุ เทพมหานคร ดังนี้ 1. ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ควรสนับสนุนอุปกรณ์ในการเข้าถึงการส่ือสารออนไลน์ให้กับครูและ นกั เรยี นในกลมุ่ ทย่ี งั ไมม่ ีอปุ กรณด์ งั กล่าว 2. ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ควรสนับสนุนส่ิงอ�ำนวยความสะดวกในการเช่ือมต่ออินเทอร์เน็ตให้กับ ครูและนักเรียนมากขึ้น อาทิ การจัดหาซิมการ์ดโทรศัพท์เพื่อเช่ือมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไม่จ�ำกัด หากต้องมีการเรียน การสอนแบบออนไลน์ เนื่องจากท้ังครูและนักเรียนส่วนใหญ่มีอุปกรณ์การเชื่อมต่อท่ีส�ำคัญคือ โทรศัพท์เคล่ือนที่แบบ สมาร์ตโฟน หรือการประสานงานหาจุดบริการเช่ือมต่ออินเทอร์เน็ตระดับชุมชน จากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร หรือหนว่ ยงานราชการอนื่ ๆ ใหค้ รู และนักเรยี น สามารถเข้าไปใช้สญั ญาณอนิ เทอรเ์ นต็ เพ่ือการเรยี นรไู้ ด้ 3. ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ควรส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชัน LINE ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้าน การเรียนการสอนออนไลน์ เน่ืองจากเป็นช่องทางการติดต่อท่ีส�ำคัญท่ีครูและนักเรียนส่วนใหญ่มีความคุ้นชินในใช้งาน โดยปกตแิ ล้วในปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน หากมกี ารผลิตสอ่ื การสอนออนไลน์ อาจส่งเสรมิ ให้มีการเผยแพร่ผา่ นชอ่ งทาง Youtube เพราะนักเรยี นสว่ นใหญใ่ ชง้ านเปน็ ประจำ� OECJournal 37

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย 4. สำ� นกั การศกึ ษา กรงุ เทพมหานคร ควรสง่ เสรมิ ใหค้ รทู ยี่ งั มกี ารใชก้ ารสอ่ื สารออนไลนไ์ มม่ าก ปรบั ตวั เรยี นรู้ และใช้การส่ือสารออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มครูที่สอนในระดับต�่ำกว่ามัธยมศึกษา ครูท่ีคุณวุฒิต�่ำกว่า ปริญญาโท และครูท่ีมีอายุมาก โดยอาจมีการจัดท�ำคู่มือ จัดท�ำระบบ หรือจัดเตรียมผู้ช่วยส�ำหรับการจัดการเรียน การสอนออนไลน์ใหก้ ับกลุ่มครูทีไ่ มถ่ นัดการใชเ้ ทคโนโลยี 5. ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ควรส่งเสริมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ เพ่ือการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครองมากข้ึน นอกเหนือจากการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว เพ่ือให้เกิดการติดตาม เฝ้าระวัง และพัฒนาส่งเสริมพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้ในช่วงที่ต้องเรียน แบบออนไลน์ รวมถึงในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) เพ่ือให้เกิดการคงความสัมพันธ์ ทางสังคมระหว่างผู้เรียนและผ้สู อนได้ต่อไป 6. ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ควรมีช่องทางส�ำหรับให้ค�ำปรึกษาส�ำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในกรณีท่ีเกิดปัญหาจากการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ทั้งในเชิงการดูแลให้ค�ำปรึกษาด้านการเรียน การใช้ ชวี ิตประจำ� วัน และการดูแลสขุ ภาพจติ 7. ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ควรจัดระบบการเรียนการสอนและการดูแลผู้เรียนระดับต่�ำกว่า ประถมศกึ ษา และประถมศกึ ษาทยี่ งั ไม่พร้อมตอ่ การเรยี นรู้แบบออนไลน์ ให้สามารถเขา้ ถงึ การเรียนรไู้ ดอ้ ยา่ งเหมาะสม โดยอาศัยความร่วมมือจากผูป้ กครองใหก้ ารดูแลอยา่ งใกลช้ ิดโดยเฉพาะเมอื่ ตอ้ งเรียนรูแ้ บบออนไลน์จากทีบ่ ้าน 8. ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ควรเร่งให้ความรู้ ความเข้าใจ ฝึกอบรมผู้ปกครองให้มีบทบาท ในการดูแลนักเรียนมากข้ึนในช่วงการเรียนรู้แบบออนไลน์ ส่งเสริมบทบาทผู้ปกครองในการเป็นครูในบ้านควบคู่กับ ครอู อนไลนจ์ ากทางโรงเรยี น และส่งเสรมิ ใหผ้ ู้ปกครองควรท�ำความเข้าใจระบบการเรยี นรแู้ บบออนไลน์ โดยไมร่ บกวน เวลาการเรียนของผเู้ รียนเม่ือตอ้ งเรยี นออนไลนภ์ ายในบ้าน นอกจากนี้การชี้แจงสร้างความเข้าใจกับครูและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่องว่า แม้จะใช้การเรียนการสอน ออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้หมายถึงการบรรยายสดผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น ครูสามารถจัดท�ำคลิปวิดีโอ หรือมีช่องทาง ใหน้ ักเรยี นเข้าใช้งานได้ไม่จ�ำกัดเวลาและสถานที่ การสอนผ่านระบบออนไลน์อาจไม่จ�ำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเช่นเดียวกับการสอนในชั้นเรียนปกติ ครูสามารถ ปรับเปล่ียนให้กระชับ เหมาะสม และครบถ้วนการเรียนรู้ ควรค�ำนึงถึงนักเรียนท่ีมีข้อจ�ำกัดในการใช้งาน ให้ไม่เสยี เปรียบทางการศกึ ษา ไมเ่ สียประโยชน์ เกดิ ความเหล่ือมลำ�้ ในโอกาสการเข้าถงึ ของนกั เรยี นท่แี ตกต่างกนั การออกแบบการสอนผ่านระบบออนไลน์ ในเชิงนโยบายควรมีความหยืดหยุ่น ค�ำนึงถึงความ “ไม่พร้อม” ของนกั เรียนและครใู นดา้ นต่าง ๆ อาทิ การเขา้ ถงึ อุปกรณ์ ระบบอนิ เทอร์เน็ต และทกั ษะการใช้งานทอ่ี าจยงั ไม่คุน้ เคย 38 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ไม่ควรคร่�ำเคร่งต่อการสั่งงานจ�ำนวนมาก จนท�ำให้นักเรียนต้องจดจ่ออยู่หน้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ในการเรียน ออนไลนต์ ลอดเวลา และไมค่ วรเขม้ งวดตอ่ รปู แบบการสอนของครมู ากเกนิ ไป ควรใหค้ รไู ดอ้ อกแบบการสอนทเ่ี หมาะสม กบั เน้ือหาและทักษะของตนเองท่ีเป็นประโยชนต์ อ่ นกั เรียนสูงสดุ นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างครูแต่ละโรงเรียน และครูกับ ผู้ปกครองผ่านระบบ ออนไลน์ เพื่อแลกเปลย่ี นดูแลนกั เรยี นในช่วงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ด้วย รายการอา้ งองิ กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2563). พลิกโฉมการเรยี นรูก้ า้ วสยู่ คุ ดจิ ิทัล : กระทรวงศึกษาธิการ 128 ป.ี กรงุ เทพฯ : กระทรวงศึกษาธกิ าร. ________. (2563, 12 พฤษภาคม). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร กอ่ นเปิดภาคเรยี น 1 กรกฎาคม 2563. สืบคน้ จาก https://www.moe.go.th/การเตรียมความพรอ้ ม. ชณวรรต ศรีลาคำ� และ พัฒนา สอดทรพั ย์. (2562). ทศิ ทางการเรยี นรดู้ ว้ ยตนเองตามนโยบายประเทศไทย 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศกึ ษา, 8 (1), 49-62. ฐติ ินันทน์ ผวิ นลิ . (2560). รายงานการวจิ ยั ฉบับสมบรู ณ์ เร่อื ง วัฒนธรรมการส่ือสารออนไลน์เพ่ือเพิม่ ประสิทธิภาพ การจดั การเรียนรู้ การปฏบิ ัตงิ าน และการปฏิสัมพันธท์ างสังคมแบบรอบด้านของครใู นโรงเรยี นสงั กดั กรงุ เทพมหานคร. กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง. ________. (2561). รายงานการวจิ ัยฉบบั สมบรู ณ์ เรือ่ ง ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งพฤตกิ รรมการใชเ้ ครือขา่ ยสังคม ออนไลน์ มารยาททางสังคม กบั ภาวะสขุ ภาพจติ ของครโู รงเรียนสงั กดั กรงุ เทพมหานคร. กรงุ เทพฯ : มหาวทิ ยาลัยรามค�ำแหง ________. (2562). รายงานการวจิ ยั ฉบับสมบูรณ์ เร่อื ง การเตรยี มความพรอ้ มเพ่ือการทดสอบทางการศกึ ษา ระดับชาตขิ นั้ พ้ืนฐาน (O-NET) ของนกั เรียนระดับชัน้ มธั ยมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรียนสงั กัดกรงุ เทพมหานคร ปกี ารศกึ ษา 2562. กรงุ เทพฯ : มหาวทิ ยาลัยรามค�ำแหง. ภาณพุ งศ์ พนมวนั . (2563). การเรียนรู้บนโลกดิจิทัล. วารสารการศึกษาไทย, 17(1), 7. วรพจน์ หาญใจ. (2563). แผนการปฏริ ปู ประเทศด้านการศกึ ษา แนวทางช้นี ำ� การปฏิรปู . วารสารการศกึ ษาไทย, 17(2), 26-33. ส�ำนักการศึกษา กรงุ เทพมหานคร. (2561). แผนพัฒนาการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2563) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : สำ� นักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. สำ� นักการศกึ ษา กรงุ เทพมหานคร, กองเทคโนโลยีเพ่ือการเรียนการสอน, กลมุ่ งานวจิ ัย พฒั นาสอ่ื และเทคโนโลยี (2561). รายงานการวจิ ยั เรอ่ื ง แนวทางการพฒั นาเทคโนโลยเี พ่ือการเรียนการสอนในโรงเรยี นสังกัด กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พ์ชุมนมุ สหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด. สำ� นกั ปลดั กรงุ เทพมหานคร. (2562, 10 พฤษภาคม). ชูนโยบาย 5 ข้อ ขับเคลอ่ื นและยกระดับการจดั การศกึ ษา โรงเรียนสังกัด กทม. ปี 62. สืบคน้ จาก http://www.prbangkok.com/th/board/view /MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQ2MTYwMQ== OECJournal 39

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย กระบวนการสรา้ ง อาทิตย์ ฉิมกลุ ส่ือการเรยี นรูช้ วี วิทยา กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี โรงเรยี นสตรวี ทิ ยา เพ่ือพัฒนาความสามารถ ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรยี นของ นักเรยี นระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์มีเป้าหมายการพัฒนาที่ ส�ำคัญ เพ่ือพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดีเก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมท้ังกาย ใจ สติปัญญา มีทักษะที่จ่าเป็นในศตวรรษท่ี 21 เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอ่ืน ๆ โดยมีสัมมาชีพ ตามความถนัดของตนเอง (ส�ำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ, 2562) จากยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสตรีวิทยาที่มุ่งพัฒนาสตรีวิทยาเป็นต้นแบบ การสรา้ งสภุ าพสตรผี นู้ ำ� ทางสตปิ ญั ญา และมคี ณุ ธรรม กา้ วสสู่ ากลบนพน้ื ฐานความเปน็ ไทย (โรงเรยี นสตรวี ทิ ยา, 2555) การที่นักเรียนจะสามารถ ก้าวไปสู่การเป็นนวัตกรได้น้ัน จ�ำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาการ อย่างเข็มแข็งเพ่ือให้เป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ชาติและวิสัยทัศน์ของ โรงเรยี น แตใ่ นปจั จบุ นั พบวา่ บรบิ ท ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 5 โรงเรียนสตรีวิทยา เม่ือ พจิ ารณาการตอบคำ� ถามแบบอตั นยั นักเรียนยังไม่สามารถเขียนแสดง เ ห ตุ ผ ล ไ ด ้ ห รื อ ยั ง ไ ม ่ ค ร บ ถ ้ ว น สมบูรณ์ความ ปัญหาหน่ึงท่ีได้ จากการสอบถามนักเรียน คือ บทเรียนมีความซับซ้อนยากแก่ การท�ำความเข้าใจ และอยากต่อ การท่ีจะส่ือสาร ผ่านการเขียน อธิบายต่าง ๆ เน่ืองมาจากไม่รู้ ลำ� ดบั ขน้ั ตอนในการอธิบาย 40 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้ท�ำการศึกษากระบวนการผลิต ส่ือวีดิทัศน์และส่ือแอนิเมชัน เพ่ือใช้ ในการจัดการเรียนการสอน โดยบทเรียนท่ีเลือกใช้ในการสร้างสื่อ คือ ระบบภูมิคุ้มกัน โดยศึกษาและพิจารณาเลือก สอื่ จากแหลง่ ตา่ ง ๆ มาจดั การเรยี นการสอน แลว้ วเิ คราะหว์ า่ ผเู้ รยี นสนใจสอ่ื จากแหลง่ ใด วเิ คราะหเ์ นอื้ หา และจดั ทำ� สอื่ ดังแสดงในแผนภาพ ส�ำหรับการสร้างสื่อวีดิทัศน์และแอนิเมชัน เรื่อง ภูมิคุ้มกัน ทางผู้จัดให้แอปพลิเคชัน Procreate ซึ่งเป็น แอปพลิเคชนั ท่สี ามารถสรา้ งสรรคร์ ปู ภาพ การใชส้ แี ละการภาพเคลื่อนไหวได้รว่ มกับการถา่ ยท�ำตดั ต่อโดยใช้โปรแกรม iMovie เม่ือผลิตสื่อในข้ันแรกได้แล้ว ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ดังแผนภาพ ผู้เช่ียวชาญ ไดใ้ หข้ ้อเสนอแนะดังนี้ 1. ควรตัง้ ค�ำถามปลายเปดิ เพื่อใหน้ กั เรียนค้นควา้ เพิม่ เตมิ ในบางจดุ 2. เนื้อหาควรเลอื กใชภ้ าษาอยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง หากใชภ้ าษาไทยควรวงเลบ็ ค�ำองั กฤษเพ่มิ เติม (แนะนำ� ให้ ใชภ้ าษาองั กฤษทัง้ หมดแล้วขยายความเป็นภาษาไทย) ทางผู้จัดทำ� จงึ ได้ปรบั แก้ตามค�ำแนะนำ� ของผู้เช่ียวชาญ และน�ำไปจัดการเรยี นการสอนต่อไป เกรน่ิ น�ำเร่อื งภมู คิ ้มุ กัน น�ำเสนอประเภท ระบบป้องกันของรา่ งกาย แสดงตัวอยา่ ง อธิบาย และใชแ้ อนิเมชนั ที่จดั ท�ำข้นึ เร่อื ง กระบวนการอกั เสบ สรปุ เน้ือหา และ เช่อื มโยงไปสู่เน้ือหา คลิปถัดไป แผนภาพ Storyboard แสดงการผลิตสื่อวดี ิทัศน์ รายการอา้ งองิ โรงเรยี นสตรวี ทิ ยา. (2555). ขอ้ มูลโรงเรยี นโรงเรยี นสตรีวิทยา. สืบคน้ จาก https://satriwit.ac.th /information/56/teachers/about.pdf ส�ำนกั งานสภาพฒั นาการเศรษฐกิจและสงั คมแหง่ ชาต.ิ (2562). ยทุ ธศาสตรช์ าตดิ ้านการพฒั นาและเสรมิ สรา้ ง ศักยภาพทรัพยากรมนษุ ย.์ สืบคน้ จาก http://nscr.nesdb.go.th OECJournal 41

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย การพัฒนา รตั นาภรณ์ รตั นบุรี และ ทักษะการทดลอง ดร.บรรณรกั ษ์ ค้มุ รกั ษา หลกั สูตรสาขาวชิ า ส�ำหรบั นักเรยี น วทิ ยาศาสตรท์ ่ัวไป คณะครศุ าสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสุราษฎรธ์ านี ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี 3 โดยใชแ้ นวทางการเรยี นรู้ แบบใชว้ จิ ยั เป็นฐาน เร่อื ง คณุ ภาพของน้�ำในท้องถ่ิน : กรณศี กึ ษาโรงเรยี นบา้ นซอย 2 จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี Enhancing of Experimental Skills for Grade 3 Students by Using Research - Based Learning Approach in the Topic of the Quality of Local Water Resources : Case Study of Ban Soi Song School, Surat Thani บทคัดยอ่ การเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน หรือ RBL เป็นรูปแบบการเรียนรู้ท่ีน�ำกระบวนการวิจัยมาบูรณาการกับ ขนั้ ตอนการจดั การเรยี นรู้ วธิ กี ารเรยี นรนู้ สี้ ามารถชว่ ยสง่ เสรมิ ใหผ้ เู้ รยี นไดใ้ ชก้ ระบวนการทางวทิ ยาศาสตรใ์ นการสบื เสาะ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ดังน้ันในการวิจัยคร้ังน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในวิชา วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการทดลองของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้วิจัย เปน็ ฐาน การวจิ ยั ครัง้ นเ้ี ป็นการวจิ ยั เชิงทดลองข้นั ต้นท่ีศกึ ษากลมุ่ เดียว วัดเฉพาะหลงั การทดลอง เกบ็ ข้อมลู วจิ ยั โดยใช้ ระเบยี บวธิ วี จิ ยั แบบผสมวธิ ี กลมุ่ เปา้ หมายของการวจิ ยั ครงั้ นคี้ อื นกั เรยี นชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 3 ของโรงเรยี นบา้ นซอย 2 ที่ต้ังอยู่ในอ�ำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จ�ำนวน 14 คน ซ่ึงได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐาน เรื่องคุณภาพของน�้ำในท้องถ่ินที่ถูกพัฒนาขึ้นมาน้ีมีคุณภาพในระดับดีมาก (= 4.48, S.D. = 0.28) และหลงั จากผา่ นการเรยี นรู้ด้วยกิจกรรมดงั กลา่ วนกั เรียนกลุม่ เปา้ หมายมที กั ษะการทดลองโดย เฉลี่ยอยใู่ นระดบั ดี (= 3.04, S.D. = 0.56) 42 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย Abstract Research - based learning (RBL) is a learning model which integrated research methodology into learning management steps. This learning strategy has been proven to enhance students learn with using scientific inquiry and construct knowledge by themselves. Thus, this research aim to develop science learning activities, which could be enhanced student’s experimental skills, by using research-based learning strategy. This study is a pre - experimental research which is a one group posttest only design. Research data were collected by mixed method. The research target is a 14 of primary school student grade 3 of Ban Soi Song School, Surat Thani, which collected by purposive sampling. The results revealed that the research - based learning activities, regarding a topic of the quality of local water, that has been developed, be efficient in very good quality (= 4.48, S.D. = 0.28). After learning through the activities, the target students have been promoted the average of experimental skills at good as well (= 3.04, SD = 0.56). บทน�ำ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เป็นยุคที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นมีปริมาณความรู้ท่ีเพ่ิมมากขึ้นทุกวัน และวิทยาการต่าง ๆ เป็นไปแบบก้าวกระโดด (ประสาท เนืองเฉลิม, 2558; สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ, 2556) กลวิธี การสอนโดยการบอกหรือบรรยายความรู้ (Expository Teaching) และให้นักเรียนจดบันทึกตามค�ำพูด และท่องจ�ำ สูตรทฤษฎีต่าง ๆ เหมือนในเช่นอดีตจึงไม่ใช่วิธีการสอนท่ีมีประสิทธิภาพอีกต่อไป ขณะเดียวกันปรัชญาของความเป็น วิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า “วิทยาศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่ประกอบไปด้วย “ความรู้” (Knowledge) และกระบวนการ (Process) ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิง (ลือชา ลดาชาติ และ ลฎาภา ลดาชาติ, 2559) ฉะน้ันแล้ว การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับปรัชญาของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ผู้สอนจึงจ�ำเป็นต้อง จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ใช้ท้ังความรู้ และกระบวนการในการเรียนรู้ ผู้เรียนควรได้รับการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ท่ีเน้นการลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับกระบวนการ ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “การเรียนรู้แบบสืบเสาะ ทางวิทยาศาสตร”์ (Scientific Inquiry) (ลอื ชา ลดาชาติ และ ลฎาภา ลดาชาติ, 2559) การเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนสามารถปฏิบัติได้หลายแนวทาง ท้ังน้ีกลวิธีในการสอน แต่ละแนวทางต่างก็มีจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ร่วมกัน คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติสืบเสาะค้นหา สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการรวมรวม หาข้อมูล หรือหาหลักฐานเชิง ประจักษ์มาเพอ่ื ใชอ้ ธบิ ายปรากฏการณ์หรอื องคค์ วามรูท้ ค่ี น้ พบ กลวธิ กี ารเรยี นรแู้ บบหนง่ึ ท่ีจะช่วยสง่ เสรมิ ให้ผเู้ รยี นได้ สบื เสาะและสรา้ งองคค์ วามรดู้ ว้ ยตนเองกค็ อื การจดั กจิ กรรมการเรยี นรโู้ ดยใชว้ จิ ยั เปน็ ฐาน (Research-Based Learning หรือ RBL) OECJournal 43

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย RBL เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ท่ีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยอาศัยข้ันตอนการเรียนรู้ตาม กระบวนการของการทำ� วิจัย ซึง่ มพี ืน้ ฐานมาจากวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process) จนไดม้ าเป็นองค์ความ รู้ทผ่ี ูเ้ รยี นคน้ พบด้วยตนเองอยา่ งเขา้ ใจในความสมั พันธแ์ บบเหตแุ ละผล (ทศิ นา แขมมณ,ี 2548; บรรณรกั ษ์ คุ้มรกั ษา และ เพชรลัดดา รักษากิจ, 2562) โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งรูปแบบการสอนแบบ RBL ได้เป็น 4 รูปแบบย่อย (Noguez & Neri, 2019) คอื แบบท่ี 1 ผู้สอนนำ� ผลการวิจยั มาประกอบเนื้อหาในการเรยี นการสอน แบบท่ี 2 ผ้เู รยี นใช้ ผลการวิจัยในการเรียนรู้ แบบที่ 3 ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย และแบบท่ี 4 ผู้เรียนใช้ กระบวนการวิจยั ในการเรยี นรู้ อยา่ งไรก็ตามรูปแบบการจดั การเรยี นรูแ้ บบ RBL ท่ีส่งเสรมิ ใหผ้ เู้ รียนไดใ้ ชท้ ัง้ ความรแู้ ละ กระบวนการมากทสี่ ดุ คอื รปู แบบการเรียนรู้ทผี่ ู้สอนใหผ้ เู้ รยี นใชก้ ระบวนการวจิ ยั ในการเรียนรู้ (Neimi & Nevgi, 2014) ซึ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซ่ึงสอดคล้องกับแนวคิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ด้วยการลงมือปฏิบัติของ John Dewey (Dewey, 1986) โดยครูจะต้องปรับบทบาทของตนเองมาเป็นผู้อ�ำนวย ความสะดวกในการเรียนรู้ ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนน�ำเอาประสบการณ์จากการปฏิบัติมาท�ำความเข้าใจตามสาระวิชา ที่เรียนอยู่ เพ่ือน�ำไปสู่การตีความ การบูรณาการความรู้เดิมจนเข้าใจและสังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ที่เกิดข้ึนแก่ตนเอง โดยนักเรียนเอง (สุธีระ ประเสริฐสรรพ์, 2555) ด้วยวิธีการน้ีจะท�ำให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงเหตุผลท่ีอยู่เบ้ืองหลัง ข้นั ตอนทพี่ วกเขาปฏบิ ตั ิตามกระบวนการวจิ ัย มิใช่การปฏบิ ัติเปน็ พธิ กี รรมเพือ่ ใหค้ รบตามขน้ั ตอน จากประสบการณ์ของผู้วิจัย ท่ีเป็นผู้รับผิดชอบในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับช้ันประถมศึกษาของ โรงเรียนบ้านซอย 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท�ำให้ผู้วิจัยมีโอกาสได้สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนมากเป็นพิเศษ ไม่วา่ จะเปน็ พฤติกรรมการเรยี นรู้ในห้องเรียนหรอื พฤติกรรมอ่ืน ๆ นอกหอ้ งเรียน จากการสงั เกตดังกลา่ ว ผวู้ จิ ัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับช้ันประถมศึกษาที่ผ่านมาของโรงเรียนแห่งน้ี ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบ การเรียนการสอนที่เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง ครูผู้สอนส่วนใหญ่ยังยึดการสอนโดยการบอก หรอื บรรยายความรู้ นกั เรยี นจงึ มหี นา้ ทเี่ พยี งแคฟ่ งั สง่ิ ทค่ี รบู อกในหอ้ งเรยี นแลว้ ทอ่ งจำ� มากกวา่ การไดเ้ รยี นรจู้ ากการลงมอื ปฏิบัติจริง ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ท่ีไม่ย่ังยืน ไม่ได้รับการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะใน การเรียนรู้เพ่ือแสวงหาความรู้ด้วนตนเอง อาจส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาส�ำหรับนักเรียนในการท�ำความเข้าใจแนวคิด วิทยาศาสตร์ (กาญจนา มหาลี และ ชาตรี ฝ่ายค�ำตา, 2553, ลือชา ลดาชาติ, 2561) สอดคล้องกับสถานการณ์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยในปัจจุบันพบว่านักเรียนยังขาดความเข้าใจในวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Chema, Panomrak, Seanyot, Nakpol, & Chatmaneerungcharoen, 2017) ซ่ึงจะส่งผลต่ออย่างมากต่อ การเรยี นรู้วิทยาศาสตร์ (ชาตรี ฝ่ายคำ� ตา, 2559) นอกจากน้ี ยังพบอีกว่านักเรียนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของชั้นเรียนขาดทักษะด้านการทดลอง โดยนักเรียนไม่รู้จัก ชนิดของอุปกรณ์ เครื่องแก้ว และวิธีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือท่ีใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่สามารถ บันทึกผลการทดลองด้วยตนเองได้ เป็นต้น ซึ่งทักษะการทดลองนั้นเป็นกระบวนการส่วนหนึ่งในการเรียนรู้แบบ สบื เสาะทางวทิ ยาศาสตรจ์ งึ มคี วามจำ� เปน็ อยา่ งยงิ่ ในการเรยี นรวู้ ทิ ยาสตร์ ดงั นน้ั การขาดทกั ษะการทดลองอาจจะสง่ ผล ให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ลดลงหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายของการเรียนรู้ 44 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย จากสภาพปัญหาที่กล่าวมาน้ี ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ การทดลองทางวทิ ยาศาสตรใ์ หด้ ขี น้ึ โดยใชร้ ปู แบบการเรยี นรโู้ ดยแบบ RBL มาเปน็ ฐานความคดิ ในการออกแบบกจิ กรรม การเรยี นรใู้ ห้แก่ผู้เรียน ซ่ึงค�ำถามในการวิจัยคร้ังน้ีคือ การใช้วิธีสอนแบบ RBL จะช่วยพัฒนาทักษะการทดลองทาง วทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรียนไดอ้ ย่างไร โดยผวู้ จิ ยั ไดก้ ารก�ำหนดเปน็ กรอบแนวคิดในการวิจยั ดงั นี้ ภาพท่ี 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย วัตถปุ ระสงค์ของการวิจยั 1. เพื่อออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการทดลองให้แก่ นกั เรยี นชัน้ ประถมศกึ ษาศึกษา 2. เพอ่ื พัฒนาทักษะการทดลองของนักเรยี นชัน้ ประถมศกึ ษา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้วจิ ัยเปน็ ฐาน สมมติฐานของการวิจยั การใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาข้ึนในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์จะสามารถช่วย พัฒนาทักษะการทดลองของนักเรียนโดยเฉลี่ยให้อยู่ในระดับดี ขอบเขตการวิจยั รปู แบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre - Experimental Design) ใช้แบบแผนการวิจัย แบบ One - Shot Experimental Case Study (Leedy& Ormrod, 2015) ศกึ ษากลมุ่ เดยี ว วดั เฉพาะหลงั การทดลอง (One - Group Posttest Only Design) การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ ผสมวิธี (Mixed - Method Research) ด้วยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพไปพร้อม ๆ กัน และ นำ� ผลการวิจยั มาวิเคราะหแ์ ละสรุปรว่ มกัน (Schoonenboom & Johnson, 2017) OECJournal 45

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย กลมุ่ เป้าหมายของการวจิ ัย กลมุ่ เป้าหมายของการวจิ ัยครงั้ นี้ คอื นกั เรยี นชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรยี นบา้ นซอย 2 ทีต่ ้งั อย่ใู น อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2562 จ�ำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 14 คน ซ่ึงได้มาจาก การเลอื กแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เน่อื งจากนกั เรียนในระดับช้ันประถมศึกษาปที ่ี 3 เป็นชนั้ เรยี นทีผ่ ู้วิจยั เป็นครูประจ�ำชั้น มีคาบสอนของนักเรียนในระดับชั้นน้ีมากท่ีสุด ท�ำให้มีข้อมูลพฤติกรรมการเรียนรู้พื้นฐานของ ของเรยี นมากกวา่ นกั เรียนในช้นั เรยี นอน่ื ๆ เน้อื หาการเรยี นรูท้ ่ีใชใ้ นการวิจยั ผู้วิจัยได้ท�ำการศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาเร่ือง คุณภาพของน�้ำในท้องถ่ิน ระดับช้ันประถมศึกษาปีท่ี 3 ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้มาตรฐานการเรียนรู้ ว 6.1 ในหน่วยการเรียนรู้ท่ี 6 เร่ือง น�้ำในท้องถิ่นของเรา ตัวชี้วัด ว. 6.1 ป.3/1 ส�ำรวจและอธิบายสมบัตทิ างกายภาพของน�ำ้ จากแหล่งนำ้� ในท้องถน่ิ และน�ำความรไู้ ปใช้ประโยชน์ ระยะเวลาท่ีใช้ในการวจิ ัย ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองวิจัยคร้ังนี้ได้ท�ำการทดลองภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ตั้งแต่เดือน มกราคม – กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2563 โดยใชเ้ วลาท้ังหมด 3 สปั ดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชวั่ โมง รวมท้งั สิ้น 6 ชัว่ โมง นิยามศัพท์เฉพาะ การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน หมายถึง การน�ำกระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยมาเป็นพื้นฐานใน การจัดการเรียนรู้ เพ่ือให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการทดลองและการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย การเรียนรู้ 6 ข้ันตอน ได้แก่ 1) ข้ันระบุค�ำถาม 2) ขั้นตั้งสมมติฐาน 3) ขั้นวางแผนและออกแบบการทดลอง 4) ขนั้ รวบรวมข้อมลู และวเิ คราะห์ข้อมูล 5) ขน้ั การสรปุ ผล 6) ข้ันนำ� เสนอ ทักษะการทดลอง ในการวิจัยคร้ังนี้ หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการออกแบบการทดลองเพ่ือเก็บ รวบรวมข้อมูล หาหลักฐานเชิงประจักษ์ ความสามารถในการด�ำเนินการทดลองตามข้ันตอนท่ีเหมาะสม และ ความสามารถในการบนั ทกึ ผลการทดลอง เครื่องมอื ทใ่ี ชใ้ นการวจิ ยั 1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง คุณภาพของน้�ำในท้องถิ่น ของนักเรียน ช้ันประถมศกึ ษาปที ี่ 3 ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรแู้ บบ RBL จำ� นวน 1 แผน ใช้เวลาในการสอน 6 คาบ (คาบละ 1 ช่วั โมง) 2. แบบประเมินทักษะการทดลอง 46 OECJournal

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย วิธีการด�ำเนินงานวิจยั 1. การสร้างเครือ่ งมอื วจิ ัย 1.1 ศึกษาข้อมูลเพื่อวางแผนในการออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบ RBL เรื่องคุณภาพของน�้ำ ในท้องถ่ิน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวช้ีวัด และจุดประสงค์การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของระดับ ชัน้ ประถมศึกษาปที ี่ 3 หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 และตรวจสอบคณุ ภาพแผนการจดั การเรียนรู้โดยผู้เช่ียวชาญ จ�ำนวน 3 ท่าน โดยใช้แบบประเมินแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (ระดับสูงสุดคือ 5 คะแนน และระดบั ต่ำ� สุดคอื 1 คะแนน) 1.2 ออกแบบ และสร้างแบบประเมินทักษะการทดลองแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ โดยระดับคะแนน สูงสุด 4 คะแนน และระดับคะแนนต่�ำสุด 1 คะแนน ประกอบด้วยประเด็นในประเมินทักษะการทดลอง 3 รายการ ไดแ้ ก่ การออกแบบการทดลอง การดำ� เนนิ การทดลอง และการบนั ทึกผล โดยใช้เกณฑ์ในการตัดสนิ คณุ ภาพดังน้ี ระดบั คะแนน 3.51 – 4.00 คะแนน หมายถงึ ดมี าก ระดบั คะแนน 3.01 – 3.50 คะแนน หมายถงึ ดี ระดับคะแนน 2.51 – 3.00 คะแนน หมายถงึ พอใช้ ระดับคะแนน 2.01 – 2.50 คะแนน หมายถงึ คอ่ นขา้ งแย่ ระดับคะแนน 1.00 – 2.00 คะแนน หมายถึง ควรปรับปรงุ จากนั้นผู้วิจัยน�ำแบบประเมินทักษะการทดลองดังกล่าวไปตรวจสอบความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ จ�ำนวน 3 ทา่ น และหาคา่ IOC ของรายการประเมนิ แต่ละข้อ (Turner & Carlson, 2003) พบว่ามคี า่ IOC เท่ากับ 1.00 2. การดำ� เนนิ การเก็บรวบรวมขอ้ มลู การวจิ ัย ผู้วจิ ยั ไดด้ �ำเนนิ การสร้างเครื่องมือโดยมรี ายละเอียด ดังตอ่ ไปนี้ ขน้ั ดำ� เนนิ การสอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RBL เรอ่ื ง คณุ ภาพของนำ้� ในทอ้ งถิ่น จ�ำนวน 1 แผน เป็นระยะ เวลา 6 ชว่ั โมง กิจกรรมตา่ ง ๆ ในแตล่ ะชว่ั โมงแสดงดงั ในตารางท่ี 1 ขณะเดียวกนั ผู้วิจัยเก็บข้อมูลระหวา่ งด�ำเนนิ การ จัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินทักษะการทดลอง โดยผู้วิจัยเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย จากการท�ำกิจกรรม ใบงาน ช้ินงาน และการน�ำเสนอผลงาน แล้วบันทึกผลการสังเกตในแบบสังเกตแบบมาตรา ประเมินคา่ (Rubric Scale) ท่กี ำ� หนดเกณฑ์ไวอ้ ยา่ งชดั เจน ขั้นหลังการสอน ผู้วิจัยน�ำผลคะแนนจากการตรวจแบบประเมินทักษะการทดลอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบวิจัยเป็นฐานมาวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางสถิติอย่าง่าย แล้วแปรผลออกมาเป็นค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเพ่ือทดสอบสมมติฐาน และใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาอธิบายสนับสนุนผลการวิจัยโดยใช้วิธีการอธิบาย เชิงพรรณนา โดยใชร้ หสั ตวั อกั ษร S แทนการเรียกชอ่ื นกั เรยี นกลมุ่ เปา้ หมาย เชน่ S1 S2 S3 แทนนักเรียนคนที่ 1 2 และ 3 เป็นต้น และใช้รหัสตัวอักษร G แทนการเรียกกลุ่มของนักเรียนเป็น G1 G2 G3 แทนกลุ่มท่ี 1 2 และ 3 เป็นต้น จากน้นั ผูว้ ิจยั จงึ สรุปผลการวิจยั OECJournal 47

ว า ร ส า ร ก า ร ศึ ก ษ า ไ ท ย ขัน้ ตอนการจดั บทบาทครู บทบาทนักเรยี น กจิ กรรมการเรียนรู้ 1. ขน้ั ระบคุ �ำถาม ครูนำ� ภาพถ่ายของแหลง่ น�้ำในชมุ ชน นักเรยี นแบ่งกลมุ่ กันทำ� กิจกรรม รอบ ๆ โรงเรยี นประมาณ 2 - 3 แห่ง และตงั้ ค�ำถามจากภาพถา่ ยแหล่งน�ำ้ ในชุมชน มาใหน้ ักเรียนดแู ละเปรยี บเทียบกนั และรว่ มกนั อภิปรายเลือกคำ� ถามที่น่าสนใจ เพ่อื เชื่อมโยงไปสู่การตั้งคำ� ถาม และครคู อยช้ีแนะให้เข้าสปู่ ระเดน็ คณุ ภาพของแหล่งน้�ำ 2. ขนั้ ตงั้ สมมติฐาน ครแู นะน�ำเกยี่ วกบั การตงั้ สมมตฐิ าน นกั เรยี นร่วมกันตงั้ สมมตฐิ านจากค�ำถามท่ี ยกตัวอย่างการตงั้ สมมติฐาน เลือกไว้ และรว่ มกันอภปิ รายเลอื กสมมตฐิ าน และคอยแนะน�ำให้นกั เรียนแตล่ ะกลุ่ม ท่ีดที สี่ ดุ โดยมีครคู อยช้ีแนะแนวทาง ฝกึ ตั้งสมมติฐานจากค�ำถาม 3. ข้นั วางแผนและ ครูเปน็ พ่ีเลย้ี งในการจัดเตรียมอุปกรณ์ นกั เรยี นแตล่ ะกลมุ่ ออกแบบการทดลอง ออกแบบการทดลอง วัสดทุ จ่ี �ำเป็นต้องใชใ้ นการทดลอง อยา่ งไรใหส้ อดคล้องกบั สมมติฐาน และมกี ารระบวุ สั ดุ/อปุ กรณ์ และออกแบบ ตลอดจนใหค้ ำ� แนะน�ำเกี่ยวกบั การใช้ วิธีการบันทึกผลการทดลองให้เหมาะสม เครอ่ื งมือ และอุปกรณ์บางชนดิ ตลอดจนจดั เตรยี มวสั ดุ อปุ กรณ์ที่จำ� เปน็ ต้องใชใ้ นการทดลอง 4. ข้นั รวบรวมข้อมูล ครูคอยดูแลนกั เรียนอยา่ งใกลช้ ิด นกั เรยี นแต่ละกลมุ่ ท�ำการทดลองตามท่ีได้ และวเิ คราะหข์ อ้ มลู ชว่ ยอำ� นวยความสะดวกใหน้ กั เรียน ออกแบบการทดลองไว้ โดยใชว้ ัสดุ อุปกรณท์ ่ี เตรยี มมาเอง และครูชว่ ยเตรียมให้ลว่ งหนา้ แต่ละกลมุ่ ท�ำการทดลองโดยค�ำนึงถึง และนกั เรยี นบนั ทึกผลการทดลองตาม ความปลอดภัยอย่เู สมอ ตลอดจน ความเปน็ จรงิ และร่วมกันวเิ คราะหข์ อ้ มูล ช่วยช้ีแนะแนวทางในการวเิ คราะห์ขอ้ มลู จากผลการทดลองทีไ่ ด้ 5. ขนั้ สรุปผล ครูนำ� ผเู้ รียนเขา้ สูก่ ารอธิบายปรากฏการณ์ นกั เรียนแตล่ ะกลุม่ ร่วมกันเสนอความคิดเห็น และลงขอ้ สรุปจากผลการทดลอง ช่วยกนั เสนอเหตผุ ลเพอ่ื อธบิ ายผลจาก โดยใช้คำ� ถามกระต้นุ และอธิบาย การทดลอง และสรุปผลการทดลอง หรือยกตัวอยา่ งปรากฏการณท์ ี่ใกล้เคียง 6. ขั้นนำ� เสนอ ครใู หน้ ักเรียนแตล่ ะกล่มุ นำ� ความรูท้ ่ไี ด้จาก ตัวแทนนักเรยี นแต่ละกลุ่มน�ำเสนอผล การสรุปผลการทดลอง ออกมานำ� เสนอ การทดลองโดยการเขยี งลงบนกระดาษปรู๊ฟ หนา้ ชั้นเรียน และออกไปน�ำเสนอหน้าช้นั เรยี น ตารางท่ี 3.1 ข้ันตอนการจดั กิจกรรมการเรียนรูแ้ บบ RBL 48 OECJournal


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook