Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นาฏศิลป์ไทย (6)_clone

นาฏศิลป์ไทย (6)_clone

Published by Thiriya Ngensee, 2023-07-20 15:46:27

Description: นาฏศิลป์ไทย (6)

Search

Read the Text Version

นาฏศิ ลป์ไทย ครูผู้สอน นางสาวสุธิสา ราชสงค์

สมาชิกในกลุ่ม ๑.นายวงศธร เวชกุล ม.4/11 เลขที่6 ๒.นายเป็นเอก จำนงค์ ม.4/11 เลขที่8 ๓.นายปรเมษฐ์ เปลี่ยนศรี ม.4/11 เลขที่12 ๔.นายสิริดนย์ ชาญยุทธ ม.4/11 เลขที่13 ๕.นายนภัสรพี ศรีคง ม.4/11 เลขที่16 ๖. น.ส.รวิษฎา ลีสุรวณิช ม.4/11 เลขที่28 ๗.น.ส.ฐิริยา เงินสี ม.4/11 เลขที่38

คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชานาฏศิลป์ไทย มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวนาฏศิลป์ไทยซึ่งเป็น เนื้อหาส่วนหนึ่งของนาฏศิลป์ไทย เกี่ยวกับการรำ ในด้านการใช้ท่าทางเพื่อสื่อความกับผู้ชม โดยมี เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ผู้ประดิษฐ์ การใช้งาน และรูปแบบต่างๆ คณะผู้จัดทำ ได้ ศึกษา และสรุปเรียบเรียงเนื้อหาต่างๆเป็น รายงานเล่มนี้ โดยมีจุดประสงค์ต่อมาเพื่อนำ เสนอต่อผู้อ่านที่สนใจ ให้ได้ประโยชน์จากการอ่าน รายงานเล่มนี้ หวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็น ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากรายงานเล่ม นี้มีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำก็ขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ เรื่องที่1 คุณค่าและประโยชน์ของ นาฏศิลป์ไทย เรื่องที่2 การสืบทอดนาฏศิลป์ไทย เรื่องที่ 3 การแสดงนาฏศิลป์ไทย เรื่องที่4ระบำ รำ ฟ้อน และการแสดง นาฏศิลป์ไทย เรื่องที่5 การแสดงนาฏศิลป์ไทยพื้นเมือง เพลงรำกลอง ยาวหรือเถิดเทิง เรื่องที่6 บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ไทย

คุณค่าและประโยชน์ของนาฏศิ ลป์... คุณค่าของนาฏศิ ลป์ นาฏศิลป์สะท้อนให้เห็นสภาพบ้านเมืองที่มีความสวยงามและมี คุณค่ามาก ในฐานะที่เป็นที่รวมของศิลปะหลายแขนง ๑. ประติมากรรม ๒.วรรณกรรม ๓.สถาปัตยกรรม ๔.จิตรกรรม ๕.ดุริยางคศิ ลป์

ประโยชน์ของนาฏศิ ลป์ นาฏศิลป์ เป็นส่วนสําคัญในการประกอบพิธีกรรมทั้งพิธีหลวง และพิธีราษฎร์นอกเหนือไปจากการให้ความบันเทิง ๑. สถาบันพระมหากษัตริย์จำเป็นต้องมีพระราชพิธีต่างๆตามพ ระราชประเพณี ๒. นาฏศิลป์ไทยผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ฉลองวันเกิด งานบวช งานแต่งงาน และงานศพ ๓. ประโยชน์โดยตรงสําหรับผู้ศึกษาวิชานาฏศิลป์ คือสอนให้ รู้จักตนเอง

การสืบทอดนาฏศิ ลป์ไทย กระบวนการสืบทอดองค์ความรู้ทางนาฏศิลป์ถือเป็นวิชาที่ผู้ ศึกษาจะต้องมีความอดทนและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเป็น ระยะเวลานานเพื่อสืบสานภูมิปัญญาของบรรพชนที่ได้สร้าง ๑.กระบวนการสืบทอดนาฏศิ ลป์ไทย สมัยโบราณ เป็นการถ่ายทอดจากครูแบบตัวต่อตัวโดยวิธีการจําไม่มีการ บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

๒. กระบวนการสืบทอดนาฏศิ ลป์ไทย สมัยปัจจุบัน ปัจจุบันวิชานาฏศิลป์เปิดสอนอยู่ในสถาบันการศึกษาเกือบ ทุกระดับมีกระบวนการเรียนการสอนที่เป็นแบบแผนจัดทํา สื่อทํากิจกรรม โดยใช้ระบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง ๓.การจัดกิจกรรมเพื่ อสื บทอดวัฒนธรรม ทางด้านนาฏศิ ลป์ไทย นาฏศิ ลป์มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สืบทอดมาแต่โบราณผู้ศึ กษาวิชานาฏศิ ลป์ จะต้องมี ความเคารพศรัทธาในบรู พาจารย์ผู้ประสทิธิ์ ประสาทวิชาให้แก่ศิ ษย์

๓.๑ พิธีไหว้ครูครอบครูและรับมอบ นาฏศิลป์ไทยมีลักษณะเฉพาะที่เป็นแบบแผนขนบนิยม สืบทอดกันมาเป็นเรื่องความศรัทธา เชื่อถือจึงมีการจัด กิจกรรมที่สะท้อนถึงความเชื่อดังกล่าว คือพิธีไหว้ครู ครอบ ครู รับมอบ เพื่อให้ศิษย์ใหม่ได้รู้จักครูทั้งที่มีชีวิตอยู่และไม่มี ชีวิตอยูเพื่อมอบตัวเป็นศิษย์เพื่อความเป็นสิริมงคล พิธีไหว้ครู พิธีครอบครู

พิธีรับมอบ คติความเชื่ อเกี่ยวกับนาฏศิ ลป์ คติความเชื่อเกี่ยวกับนาฏศิ ลป์มีหลายเรื่องแต่ที่รู้จัก กันดีก็คือคติความเชื่อในเรื่องผิดครู แรงครูครูเข้า เป็นคติความเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดภัยพิบัติ และนํ ามาซึ่งความเป็นสิ ริมงคล

๔.แนวทางการอนุรักษ์นาฏศิ ลป์ไทย ๑. การค้นคว้าวิจัยควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆของท้องถิ่น ๒. การอนุรักษ์โดยการปลุก ๓. การฟื้ นฟูโดยการ จิตสํานึกให้คนในท้องถิ่น เลือกสรรภูมิปัญญาที่กํา ตระหนักถึงคุณค่า ลังสูญหาย ๔. การพัฒนาที่ควสร้างสรรค์ ๕. การถ่ายทอดโดยการนำ และปรับปรุงภูมิปัญญาให้ ภูมิปัญญาที่ผ่านการ เหมาะสมกับยุคสมัย เลือกสรร

๖. ส่งเสริมกิจกรรมโดยการส่งเสริมและสนับสนุนใหเ้กิด เครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ ๗. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนบัสนุน ให้ เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญา ๘. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น

การแสดงนาฏศิ ลป์ในโอกาสต่าง นาฏศิลป์ไทยมีรูปแบบที่งดงามตามแบบแผน จัดแสดงใน โอกาสที่แตกต่างกัน เราควรศึกษารายละเอียดอื่นๆให้เกิด ความรู้ความเข้าใจและเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมประจำ ชาติ ๑.การแสดงนาฏศิ ลป์ในงานพระราชพิธี ๒.การแสดงนาฏศิ ลป์ในงานมงคลทั่วไป ๓.การแสดงนาฏศิ ลป์ในงานอวมงคล

หลักในการเลือกชุดให้เหมาะสม เลือกชุดแสดงให้เหมาะสมกับโอกาสที่แสดงในงานต่างๆ ในกรณีนี้หากมีสนามมวยในบริเวณใกล้เคียงกรุณาติดต่อที่นั่น

ระบำ รำ ฟ้อน และการแสดง นาฏศิ ลป์ไทย ความหมายของคำว่า \"ระบำ รำ ฟ้อน\" ระบำ เป็นคำกริยา หมายถึง การแสดงที่ต้องใช้คน จำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป ซึ่งการแสดงนั้นๆจะใช้เพลง บรรเลงโดยมีเนื้อร้องหรือไม่มีเนื้อร้องก็ได้ ระบำนั้นเป็น ศิลปะของการร่ายรำที่เป็นชุด ไม่ดำเนินเป็นเรื่องราว ผู้ รำแต่งกายงดงาม จุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความงดงาม ของศิลปะการรำไม่มีการดำเนินเรื่อง รำ เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงท่าเคลื่อนไหวคนเดียว หรือหลายคน โดยมีลีลา และแบบท่าของการเคลื่อนไหว และมีจังหวะลีลาเข้ากับเสียงที่ทำจังหวะเพลงร้องหรือ เพลงดนตรี รำในความหมายต่อมาคือ \"รำละคร\" ฟ้อน หมายถึง การแสดงกริยาเดียวกับระบำหรือการรำ เพียงแต่เรียกให้แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น จัดเป็นการ แสดงพื้นเมืองของภาคนั้นๆ แต่ในรูปของการแสดง แล้วก็คือ ลักษณะการร่ายรำนั่นเอง ที่ผู้แสดงต้อง แสดงให้ประณีตงดงาม

ประเภทของระบำ รำ ฟ้อน ประเภทของระบำ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1ระบำมาตรฐาน เป็นระบำแบบดั้งเดิมที่มีมาแต่ โบราณกาล 2ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นลักษณะระบำที่ปรับปรุงหรือ ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้แสดง และการนำไปใช้ในโอกาสต่างๆกัน ประเภทของการรำ จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. รำเดี่ยว คือ การแสดงการรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคน เดียว ได้แก่ การรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายวันทองฉุย ฉายเบญกาย เป็นต้น 2. รำคู่ คือการแสดงที่นิยมใช้เบิกโรงอาจจะเกี่ยวข้องกับ การแสดงหรือไม่ก็ได้ เช่น รำประเลง รำแม่บท รำอวยพร หรือเป็นการรำคู่ที่ตัดตอนมาจากการแสดงละคร เช่นพระ ลอตามไก่จากเรื่องพระลอ 3. รำหมู่ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า 2 คนขึ้นไป มุ่งความงามของท่ารำ และความพร้อมเพรียงของผู้ แสดง เช่น รำวงมาตรฐาน รำพัด รำโคมรำสีนวล

ประเภทของฟ้อน จำแนกออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจากการนับถือผี เป็นการฟ้อนที่เกี่ยวเนื่องกับ ความเชื่อถือ และพิธีกรรม ได้แก่ ฟ้อนผีมดผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง เป็นต้น 2. ฟ้อนแบบเมือง หมายถึงศิลปะการฟ้อน ที่มีลีลาแสดงลักษณะเป็น แบบฉบับของ \"คนเมือง\" หรือ \"ชาวไทยยวน\" ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่ อาศัยอยู่เป็นปึกแผ่นในแว่นแคว้น \"ลานนา\" นี้ การฟ้อนประเภทนี้ ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ เป็นต้น 3. ฟ้อนแบบม่าน คำว่า \"ม่าน\" ในภาษาลานนา หมายถึง \"พม่า\" การ ฟ้อนประเภทนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะการฟ้อนของพม่า กับของไทยลานนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา 4. ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือไทยใหญ่ หมายถึง การฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมา จากศิลปะการแสดงของชาวไทยใหญ่ (คนไทยลานนามักเรียกชาวไทย ใหญ่ว่า \"เงี้ยว\" ในขณะที่ชาวไทยใหญ่มักเรียกตนเองว่า \"ไต\") ได้แก่ การฟ้อนไต ฟ้อนเงี้ยว กิ่งกะหร่า (กินราหรือฟ้อนนางนก) เป็นต้น 5. ฟ้อนที่ปรากฎในการแสดงละคร การฟ้อนประเภทนี้เป็นการฟ้อนที่มี ผู้คิดสร้างสรรค์ขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมกันในราวสมัย รัชกาลที่ 5 ได้แก่ ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่านมงคล เป็นต้นการแสดงเบ็ดเตล็ด

การแสดงนาฏศิ ลป์ไทยพื้นเมือง เพลงรำกลองยาวหรือเถิดเทิง การเล่น รำเถิดเทิง หรือการ รำกลองยาว เป็นศิลปะการละเล่น และร่ายรำประกอบการตีกลองยาวของคนไทย ซึ่งเป็นที่นิยม กันมากและมีการเล่นแพร่หลายที่สุดในแถบภาคกลาง สันนิษฐานว่าแต่เดิมจะเป็นการละเล่นของทหารพม่ายามว่างศึก ษ ในสมัยสงครามปลายกรุงศรีอยุธยาเข้าใจว่าคนไทยได้เห็นรูป แบบและนำมาเล่นบ้างในช่วงสมัยกรุงธนบุรี เพราะศิลปะการตี กลองมีความสนุกสนาน เล่นง่าย เครื่องดนตรีไม่แตกต่างจาก ของไทยมากนัก ส่วนคำว่า เถิดเทิง น่าจะมีที่มาจากเสียงของ กลองยาวนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสนันสนุนจากชื่อ เพลงไทยสำเนียงพม่าที่กล่าวถึงกลองยาว คือ เพลงพม่ากลอง ยาวและเพลงพม่ารำขวาน ที่ใช้กลองยาวตีเป็นเครื่องตีประกอบ จังหวะ

การรำเถิดเทิง ผู้แสดงจะแบ่งออกเป็นฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง ๑.ฝ่ายชาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลองรำ หมายถึง ผู้แสดงที่ต้องร่ายรำประกอบการตีกลอง ยาวเข้าคู่กับฝ่ายหญิง กลองยืน หมายถึง ผู้แสดงที่ทำหน้าที่ตีกลองยาวและเครื่อง ประกอบจังหวะเพื่อยืนจังหวะทำนองให้ผู้รำได้รำตามที่ บรรเลง ๒.ฝ่ายหญิง ได้แก่ นางรำ หมายถึง ผู้แสดงหญิงที่ฝ่ายชายผู้ เล่นเป็นกลองรำไปเชิญ หรือโค้งออกมารำ ส่ วนจำนวนของผู้ แสดงขึ้นอยู่กับความต้องการและโอกาสของการแสดงนั้นๆ ด้วย เช่นจำนวนผู้แสดงกลองยืนอย่างน้อยต้องมี 7 คน และ กลองรำ 2 คน นางรำ 2 คน ส่วน จำนวนกลองรำและนางรำนั้น มักนิยมเป็นจำนวนคู่ เช่น รำ 2 คู่ 4 คู่ เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ๑.กลองยาว ๔.ฉาบเล็ก ๒.ฉิ่ง ๕.กรับ ๖.โหม่ง ๓.ฉาบใหญ่

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิ ลป์ไทย ๑. ครู เฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) นางเฉลย ศุขะวณิช เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๗ เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและออกแบบนาฏศิลป์ไทย แห่ง วิทยาลัยนาฏศิลป์กรมศิลปากร เป็นศิลปินอาวุโส ซึ่งมีความรู้ ความสามารถสูงในกระบวนท่ารำทุกประเภท เป็นผู้อนุรักษ์ แบบแผนเก่าและยังได้สร้างสรรค์และประดิษฐ์งานด้านนาฏศิลป์ ขึ้นใหม่มากมายหลายชุดซึ่งกรมศิลปากรและวงการนาฏศิลป์ทั่ว ประเทศได้ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะการร่ายรำสืบทอดต่อมา จนถึงทุกวันนี้ ทางราชการได้มอบหมายให้เป็นผู้วางรากฐานจัด สร้างหลักสูตรการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ตั้งแต่ระดับต้น จนถึงขั้นปริญญา นิเทศการสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ทุกสาขา ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้าน นาฏศิลป์แก่นักศึกษามาตลอดเวลากว่า ๔๐ ปี ให้คำปรึกษาด้าน วิชาการแก่สถานศึกษาและสถาบันต่าง ๆ เป็นผู้มีความเมตตา เอื้ออารี อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและงานศิลป์อย่าง ต่อเนื่องจนสามารถแสดงให้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร ได้รับปริญญาครุศาสตร บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์ สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

นางเฉลย ศุขะวณิช สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิ ลปิน แห่งชาติ สาขาศิ ลปะการแสดง (นาฏศิ ลป์) ประจำปี พุทธศั กราช ๒๕๓๐

๒. ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พุทธศักราช ๒๕๒๘ เกิด เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา (ถึงแก่ อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓) ชีวิตครอบครัว สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์ (พลตรี หม่อมสนิทวงศ์ เสนี) การศึกษา สำเร็จหลักสูตรการศึกษาวิชาสามัญจาก โรงเรียนในวังสวนกุหลาบ การทำงาน รับราชการที่กรมศิลปากร เป็นผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ผู้อำนวยการฝึกซ้อมการแสดง นาฏศิลป์ไทย สอน และเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับ นาฏศิลป์ไทย การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เป็นผู้รอบรู้ใน ศิลปวิทยาการด้านนาฏศิลป์ เสมือนศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรม ไทย ผู้เชี่ยวชาญในตำราฟ้อนรำ สืบมาแต่สมัยโบราณ และมี ความเชี่ยวชาญพิเศษในการคิดค้นประดิษฐ์ลีลาท่ารำ ให้เหมาะ สมกับยุคสมัย และดำเนินไปโดยถูกต้องตามระเบียบแบบแผน อันมีมาแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่า ท้าวพญามหากษัตริย์ ขุนนาง และบุคคลสำคัญ ตลอดจนท่าทางของสัตว์ต่างๆ โดย สามารถคิดลีลาท่ารำได้อย่างงดงาม และเหมาะสมกับบทบาท นอกจากนี้ยังมีผลงาน การประพันธ์บทสำหรับแสดง ทั้งโขนและ ละคร

ผลงานดีเด่น/ผลงานที่สร้างชื่ อเสียง ได้แก่การคิดประดิษฐ์ท่ารำสุโขทัย ท่ารำที่ปรับปรุงมาจากการแสดงละครตอนหนึ่ง ในเรื่องอิเหนา

๓. นายเสรี หวังในธรรม นายเสรี หวังในธรรม เกิดวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๘๐ ที่ กรุงเทพมหานคร รับราชการเป็นศิลปินของกรมศิลปากร ด้าน นาฏดุริยางค์ศิลป์ รวมทั้งศิลปะเกี่ยวเนื่องกับการละครอันเป็น เอกลักษณ์ของชาติ มีผลงานดีเด่นตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่เริ่มต้นรับราชการจนดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการ สังคีต กรมศิลปากรในปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะ ศิลปินที่สมบูรณ์ในความคิดสร้างสรรค์และความสามารถรอบ ด้าน ทั้งในฐานะผู้จัดรายการหรือผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับการ แสดง ผู้ประพันธ์เรื่องและแต่งบททั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง และเป็นผู้แสดงทั้งละคร ดนตรี ขับร้อง ทั้งเป็นนักพูด นัก บรรยาย เป็นกวี และพิธีกรในงานต่าง ๆ ได้สร้างสรรค์รายการ แสดงชุดต่าง ๆ ซึ่งได้เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้ได้รับความ นิยมเพิ่มขึ้นตลอดมา ได้จัดการแสดงและให้ความรู้ชุดดนตรี ไทยพรรณนานาฏยาภิธาน ขับขานวรรณคดี ศรีสุขนาฏกรรม และธรรมบันเทิง โดยเฉพาะรายการศรีสุขนาฏกรรม ซึ่งได้รับ ความนิยมติดจ่อกันมา ๑๓ ปีเศษแล้ว และรายการชุดใหม่ที่ทำ ชื่อเสียงเป็นประวัติการณ์ คือ ละครพันทางเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งทำขึ้นจากบทประพันธ์ของยาขอบ ได้แสดงมาแล้วประมาณ ๔๐ ตอน ในระยะเวลาสามปีเศษ และยังคงดำเนินการต่อไป นับ เป็นศิลปินที่เพียบพร้อมทั้งพรสวรรค์ความเชี่ยวชาญและ คุณสมบัติ

นายเสรี หวังในธรรม สมควรได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นศิ ลปินแห่งชาติ สาขาศิ ลปะการแสดง (ศิ ลปะการละคร) ประจำปี พุทธศั กราช ๒๕๓๑


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook