Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 60 ภูมิปัญญา สมุนไพรจากป่าชุมชน

60 ภูมิปัญญา สมุนไพรจากป่าชุมชน

Published by Community forest, 2021-03-25 15:01:14

Description: 60 ภูมิปัญญา สมุนไพรจากป่าชุมชน

Search

Read the Text Version

กลอนพระราชนิพนธ์ สมุนไพร ไทยน้ี มีค่ามาก พระเจ้าอยู่หัว ทรงฝาก ให้รักษา แต่ปู่ย่า ตายาย ใช้กันมา ควรลูกหลาน รู้รักษา ใช้สืบไป เป็นเอกลักษณ์ ของชาติ ควรศึกษา วิจัยยา ประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมัย รู้ประโยชน์ รู้คุณโทษ สมุนไพร เพื่อคนไทย อยู่รอด ตลอดกาล พระราชนพิ นธใ์ นสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ๖๐ ภูมิปัญญา สมนุ ไพรจากปา่ ชุมชน 1

2 ๖๐ ภูมปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากป่าชุมชน

ค�ำน�ำ พชื สมนุ ไพรไทยจากปา่ ชมุ ชนในแตล่ ะภมู ภิ าคมคี วามหลากหลายทง้ั ทางดา้ นชวี ภาพ และ คณุ ลกั ษณะ รวมทงั้ ชมุ ชนเองกม็ คี วามแตกตา่ งกนั ทางดา้ นวฒั นธรรมทอ้ งถนิ่ ทำ� ใหก้ ารใชป้ ระโยชน์ สมนุ ไพรมคี วามแตกตา่ งกนั ไป ดงั นนั้ เพอื่ เปน็ การรกั ษาภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่ ในดา้ นการใชป้ ระโยชน ์ พชื สมนุ ไพร ซงึ่ นบั วนั จะเลอื นลางหายไปเพราะขาดผสู้ บื ทอดในการถา่ ยทอดองคค์ วามรู้ หากไมม่ กี าร บนั ทกึ หรอื เกบ็ รวบรวมไว้ ภมู ปิ ญั ญาดงั กลา่ วอาจจะสญู หายไป กรมปา่ ไมไ้ ดม้ องเหน็ ความสำ� คัญ ในเรอื่ งการอนรุ กั ษภ์ มู ปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่ ดา้ นพชื สมนุ ไพรทใ่ี ชใ้ นการรกั ษาโรคในปจั จบุ นั และเพอื่ เปน็ การ เฉลมิ พระเกยี รตสิ มเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี เนอื่ งในวโรกาสทที่ รงเจรญิ พระชนมายุครบ 60 พรรษา เม่ือวันที่ 2 เมษายน 2558 ซึ่งท่านทรงสนพระทัยและ ให้ความส�ำคัญอย่างมากในเรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช กรมป่าไม้จึงได้รวบรวมภูมิปัญญา ดา้ นการใชพ้ ชื สมนุ ไพรจากปราชญช์ าวบา้ นในพน้ื ทป่ี า่ ชมุ ชน ตามโครงการ 60 ปา่ ชมุ ชน อนรุ กั ษ์ พันธุกรรมพืช ตามแนวพระราชด�ำริฯ และจัดท�ำหนังสือ “60 ภูมิปัญญา สมุนไพรจาก ป่าชมุ ชน” ข้นึ กรมปา่ ไมห้ วงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ หนงั สอื “60 ภมู ปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน” ฉบบั นี้ จะเปน็ ประโยชนส์ ำ� หรบั ผทู้ สี่ นใจในพชื สมนุ ไพรไทย และจะเปน็ สอ่ื ในการเผยแพร่ ถา่ ยทอดองคค์ วามรู้ ทอ้ งถนิ่ ดา้ นพชื สมนุ ไพรใหค้ งอยคู่ กู่ บั คนไทย และลกู หลานไทยในอนาคต ตลอดจนเปน็ การสง่ เสรมิ ใหป้ ระชาชนเลง็ เหน็ ความสำ� คญั ในการพงึ่ พาอาศยั ทเ่ี กอ้ื กลู กนั ระหวา่ ง คน กบั ปา่ เกดิ จติ สำ� นกึ ในการร่วมกนั ดูแลรักษาป่าชมุ ชนซ่งึ เป็นแหล่งสมุนไพรให้อยู่คู่กับชุมชนตลอดไป (นายชลธศิ สรุ ัสวด)ี อธบิ ดีกรมป่าไม้ ๖๐ ภมู ปิ ญั ญา สมุนไพรจากป่าชุมชน 3

สารบัญ สมุนไพร จากป่าชุมชน ๔๔ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๔๖ สมนุ ไพร ๓ ๔๘ ค�ำนำ� ๗ กรวยป่า ๕๐ สมุนไพร จากป่าชุมชนภาคเหนือ ชิงชี ่ ๕๒ กระทอื ๘ เปราะป่า ๕๔ กุ่มน�้ำ ๑๐ ฝาง ๕๖ ข้าวเม่านก ๑๒ มะกอกน�้ำ ๕๘ ข้าวเย็นเหนอื ๑๔ มะขามป้อม ๖๐ ขี้เหล็ก ๑๖ มะดนั ๖๒ ซ้อ ๑๘ มะหาด ๖๔ ตะแบกเลอื ด ๒๐ ย่านางแดง ๖๖ ผกั หนาม ๒๒ รางแดง ๖๘ มะเกลือ ๒๔ แสง ๗๐ มะขาม ๒๖ หนอนตายอยาก มะเขือแจ้เครอื ๒๘ หมักม่อ มะคำ� ไก่ ๓๐ เหมอื ดแอ่ มะนาวไม่รู้โห่ ๓๒ ยางนา ๓๔ ระย่อม ๓๖ ลาน ๓๘ ลกู ใต้ใบ ๔๐ สะค้าน ๔๒ 4 ๖๐ ภมู ิปญั ญา สมนุ ไพรจากป่าชุมชน

สมุนไพร จากป่าชุมชนภาคกลาง สมุนไพร จากป่าชุมชนภาคใต้ และภาคตะวันออก ก�ำจัดต้น ๑๐๖ กะตงั ใบ ๗๒ ดาหลา ๑๐๘ กำ� แพงเจ็ดชน้ั ๗๔ ปดุ สงิ ห์ ๑๑๐ กำ� ลังวัวเถลงิ ๗๖ พร้าวนกคุ่ม ๑๑๒ ขนั ทองพยาบาท ๗๘ ไฟเดือนห้า ๑๑๔ ง้วิ ๘๐ มะปราง ๑๑๖ ชาฤาษ ี ๘๒ มะม่วงหิมพานต์ ๑๑๘ ซก ๘๔ ราชครดู �ำ ๑๒๐ เถาเอ็นอ่อน ๘๖ เลบ็ กระรอก ๑๒๒ ปลาไหลเผอื ก ๘๘ ว่านทรหด ๑๒๔ ปอบดิ ๙๐ เหลอื ง ๑๒๖ พญามอื เหล็ก ๙๒ พรวด ๙๔ บรรณานกุ รม ๑๒๘ ย่านาง ๙๖ INDEX ดัชน ี ๑๓๐ โลดทะนง ๙๘ ค�ำขอบคณุ ๑๓๒ สังกรณ ี ๑๐๐ คณะผูจ้ ดั ท�ำ ๑๓๓ สาธร ๑๐๒ หญ้าดอกคำ� ๑๐๔ ๖๐ ภูมิปญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน 5

6 ๖๐ ภูมปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากป่าชมุ ชน

สมุนไพร ถา้ จะกลา่ วถงึ เรอื่ ง สมนุ ไพร ตง้ั แตใ่ นอดตี กาลนน้ั สมนุ ไพรอยคู่ คู่ นไทยมานานนบั พนั ปี ซึ่งควบคู่กับการด�ำรงชีวิตของคนในชุมชนตั้งแต่แรกเกิด โดยในยุคโบราณที่สมัยการแพทย์ ยังไม่มีการพัฒนาได้ก�ำเนิดหมอพ้ืนบ้าน หรือเทียบได้เท่ากับแพทย์ในสมัยปัจจุบัน การใช้ สมุนไพรของหมอพ้ืนบ้านถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ลำ�้ ค่าเกิดจากปรัชญาของหมอพ้ืนบ้านที่ สามารถจ�ำแนกแยกแยะฤทธิ์และสรรพคุณของสมุนไพร จากธรรมชาติเพ่ือใช้ในการเยียวยา รักษาความเจ็บป่วย และการรักษาโดยการแพทย์พ้ืนบ้านจึงเป็นระบบการรักษาโรคแบบ ประสบการณ์ของชุมชนท่ีได้รับการส่ังสมถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และสมุนไพรยังคงมี บทบาทในการดูแลสขุ ภาพของประชาชนคนไทยมาโดยตลอด คนไทยในสมยั อดตี จงึ ผกู พันกบั หมอพื้นบ้านและยาสมนุ ไพรในการดแู ลรกั ษาสขุ ภาพของชุมชน ป่า เป็นแหล่งก�ำเนิดพืชสมุนไพรตามธรรมชาติ ท่ีมีความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าชุมชนเป็นรูปแบบการบริหารจัดการป่า ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม เปน็ หลกั เพอ่ื ใหป้ ่าเกดิ ความสมดลุ และยง่ั ยนื โดยให้คนได้รบั ประโยชนจ์ ากปา่ อย่รู ว่ มกบั ปา่ ได้ และขณะเดียวกันป่าก็ได้รับการปกป้องดูแลจากชุมชนที่อยู่รอบป่า หรือใช้ประโยชน์จากป่า โดยดำ� เนนิ การสง่ เสรมิ และสนบั สนนุ กระบวนการมสี ว่ นรว่ มของชมุ ชนในการอนรุ กั ษ์ ฟน้ื ฟู บำ� รงุ ดแู ลรกั ษา ใชป้ ระโยชนจ์ ากปา่ ทง้ั ประโยชนท์ างตรง ไดแ้ ก่ ดา้ นการเปน็ แหลง่ ปจั จยั สี่ คอื อาหาร ทอ่ี ยอู่ าศยั เครอื่ งนงุ่ หม่ และยารกั ษาโรค และประโยชนท์ างออ้ มดา้ นการเปน็ แหลง่ ตน้ นำ�้ ลำ� ธาร การฟืน้ ฟูระบบนเิ วศ การปรับปรงุ สภาพแวดล้อม เป็นต้น โดยป่าชุมชนหลาย ๆ แห่ง มีความโดดเด่นด้านการเป็นแหล่งพืชสมุนไพรท่ีมีคุณค่า หรือหายาก หรือใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญา เรอ่ื ง สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน โดยองคค์ วามรเู้ หลา่ นไี้ ดจ้ ากคำ� บอกเลา่ ทมี่ กี ารใชป้ ระโยชนก์ นั จรงิ ๆ ในท้องถิ่น ด้วยความมุ่งหวังให้คนในชุมชน ตลอดจนเยาวชนรุ่นหลังได้ตระหนักในคุณค่าของ ภมู ปิ ญั ญาด้านสมนุ ไพร เกิดความรัก หวงแหน และเข้ามามีส่วนร่วมในการอนรุ ักษ์พนั ธุกรรม พืชสมุนไพร หรือเกิดแนวความคิดในการท่ีจะประยุกต์ หรือพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาการใช้ ประโยชน์พืชสมุนไพรจากป่าชุมชนใช้ให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริมการเพิ่ม มลู ค่าพืชสมุนไพรไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับประเทศและระดับสากล ๖๐ ภมู ปิ ัญญา สมุนไพรจากป่าชุมชน 7

กระทือ ช่อื วิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. subsp. ชือ่ วงศ ์ : ZINGIBERACEAE ชอ่ื อนื่ : กะทอื ป่า กะแวน กะแอน แฮวด�ำ (ภาคเหนอื ) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ล�ำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9 -1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน ต้นโทรมในหน้าแล้ง แล้วงอกข้นึ ใหม่ในหน้าฝน ใบเด่ยี ว ออกเรยี งสลับในระนาบเดยี วกนั กว้าง 5 -7.5 เซนตเิ มตร ยาว 20 -30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรยี บ แผ่นใบเรียบ ก้านใบเปน็ กาบหมุ้ ลำ� ตน้ ดอก ออกเปน็ ชอ่ แทงออกจาก เหง้าข้ึนมาช่อดอกรูปทรงกระบอก มีใบ ประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่น เปน็ ระเบียบ ดอกสีเหลอื ง โคนเชอื่ มตดิ กัน เป็นหลอด ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบ ผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมลด็ สดี ำ� 8 ๖๐ ภูมิปญั ญา สมุนไพรจากปา่ ชุมชน

บอกเลา่ เรอื่ งสมนุ ไพรจาก “ปา่ ชมุ ชน บ้านเขาน้อย จังหวดั พิษณุโลก” ลงุ พริ ามอนิ ทะสอนปราชญช์ าวบา้ นจาก ปา่ ชมุ ชนบา้ นเขานอ้ ย จงั หวดั พษิ ณโุ ลก เลา่ วา่ กระทือ ในสมัยก่อนเวลาเข้าไปในป่าเพ่อื เกบ็ หาของป่านั้น จะเห็นกระทือข้ึนอยู่ตามป่า มากมายชาวบ้านจะใช้มดี หรอื มอื ถอนเอาต้น อ่อนมาท�ำเป็นอาหาร เหง้าน�ำมาหั่นเป็นช้ิน เลก็ ๆ แกงใส่ปลาไหล ต้นอ่อนหน่อต้มใส่กะทิ ดอกและหน่อน่ึงกินกับน้�ำพริก เป็นสมุนไพร ทส่ี ามารถทำ� เปน็ อาหารได้ทงั้ ต้นพร้อมทง้ั หวั มีสรรพคุณทางยา เป็นยาบ�ำรุงเลือดส�ำหรับ สตรี เหง้า ใช้ฝนกับหินแล้วน�ำมาผสมกับน้�ำ ปนู ใส ใช้ทาบรเิ วณท้องให้เด็กเล็ก แก้อาการ ท้องอดึ แก้ปวดท้อง ๖๐ ภูมิปัญญา สมนุ ไพรจากป่าชมุ ชน 9

กมุ่ นำ้� ช่ือวิทยาศาสตร์ : Crateva religiosa G. Forst. ช่อื วงศ ์ : CAPPARACEAE ชอ่ื อื่น : กุ่ม ผกั กุ่ม (ภาคกลาง ชลบรุ )ี ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5 -15 เมตร ล�ำต้นสีเทา เปลือกค่อนข้างเรียบ ใบเป็นใบ ประกอบแบบนวิ้ มอื แผน่ ใบคอ่ นขา้ งหนาสเี ขยี วเปน็ มนั ดา้ นลา่ งใบมสี อี อ่ นกวา่ ดา้ นบน มใี บยอ่ ย 3 ใบ ก้านใบประกอบมีความยาวประมาณ 4 - 14 เซนติเมตร หูใบเล็ก ร่วงได้ง่าย ลักษณะ ของใบย่อยเป็นรปู ใบหอกหรอื ขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 1.5 -6.5 เซนติเมตร และยาว ประมาณ 4.5 -18 เซนตเิ มตร ปลายค่อย ๆ เรียวแหลม มีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร โคนสอบ ใบย่อยทอ่ี ยู่ด้านข้างโคนใบจะเบ้ียวเลก็ น้อย ดอกสีขาวอมเหลอื ง เป็นช่อ ออกบริเวณ ปลายก่งิ หรือซอกใบ ผลรูปใข่ สเี ทา 10 ๖๐ ภมู ปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน

บอกเล่าเรอ่ื งสมุนไพรจาก “ปา่ ชุมชนบ้านใหมป่ ่าคา จังหวดั ตาก” ลุงประจักษ์ เพ็ชรเมฆ ปราชญ์ชาวบ้านจากป่าชุมชนบ้านใหม่ป่าคา จังหวัดตาก เล่าว่ากุ่มนำ้� สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ด้านใช้เป็นอาหาร กุ่มนำ�้ จะออกใบอ่อนประมาณเดอื นมนี าคม ใบอ่อนมรี สขมไม่นยิ มทานดบิ นยิ มนำ�้ มาดอง โดยนำ� ยอดออ่ นมาลา้ งนำ้� ใหส้ ะอาดแลว้ ผงึ่ แดดใหพ้ อแหง้ หมาดๆ แลว้ นำ� ไปดอง เกลือในภาชนะเตมิ น�้ำเกลอื ให้ท่วม อาจใส่นำ้� ซาวข้าวหรอื ข้าวสุกลงไปด้วย ถ้าไม่ท่วมใบทด่ี อง จะมีสีคล้�ำไม่น่าทาน แล้วปิดฝาให้มิดชิด เก็บไว้ประมาณ 3 วัน จึงน�ำมาท�ำเป็นอาหาร ได้หลายอย่าง เช่น แกง ยำ� ผักกุ่มดอง ทานคู่กบั ลาบ ด้านสมุนไพร เปลือกและแก่น ใช้ขับ ปสั สาวะ แกโ้ รคนว่ิ ขบั ลม แกป้ วดทอ้ ง ใบ ใช้ใบสดทาแก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ๖๐ ภูมิปัญญา สมนุ ไพรจากป่าชุมชน 11

ขา้ วเม่านก ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ : Tadehagi triquetrum (L.) H. Ohashi ช่ือวงศ ์ : FABACEAE ช่ืออื่น : ขก้ี ะตดื , ข้ีกะตืดแป (เลย), มะแฮะนก (เชยี งใหม่), คอกิว่ (ภาคกลาง) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 15 - 50 เซนติเมตร ก่ิงก้านมีลักษณะ เปน็ สนั สามเหลย่ี ม แตกกง่ิ กา้ นสาขามาก ยอดและกงิ่ ออ่ นเปน็ สแี ดงมนั มหี ใู บ สเี ทาทงั้ สองขา้ ง เมอื่ แกเ่ ปน็ สชี า ใบเปน็ ใบประกอบ มใี บยอ่ ยใบเดยี ว ออกเรยี ง สลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 - 4 เซนตเิ มตร และยาวประมาณ 8 - 10 เซนตเิ มตร แผน่ ใบดา้ นบนเรยี บ ส่วนด้านล่างมีขน ก้านใบแผ่เป็นปีก ดอกออกดอกเป็นช่อกระจะ รูปทรง กระบอกโดยจะออกตามซอกใบและทป่ี ลายก่งิ กลีบดอกเป็นสีม่วง ลักษณะ เปน็ รปู ดอกถว่ั ผลมลี กั ษณะเปน็ ฝกั แบนยาว ลกั ษณะของฝกั เปน็ รปู ขอบขนาน คอดเป็นขอ้ ๆ ประมาณ 6 - 8 ขอ้ มขี นรปู ตะขอขนึ้ ปกคลมุ ประปราย ผลออ่ นเปน็ สเี ขยี ว เมอ่ื สกุ จะ เปลยี่ นเปน็ สแี ดง ส่วนผลแห้งเป็นสนี �้ำตาล ผลแก่จะหลดุ ออกเป็นข้อๆ ข้อละ 1 เมล็ด ส่วนหวั มีกลีบเลีย้ งตดิ อยู่ ส่วนท้ายมีรยางค์ 1 เส้น ลักษณะโค้งงอ ขอบผลเว้าต้นื หนึง่ หรอื สองด้าน 12 ๖๐ ภมู ปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชุมชน

บอกเล่าเร่ืองสมุนไพรจาก “ป่าชุมชน บ้านวงั หงส์ จงั หวัดแพร่” ลุงตุ้ย แก้ววิเศษ ปราชญ์ชาวบ้านจาก ป่าชุมชนบ้านวังหงส์ จังหวัดแพร่ เล่าว่าการ ท�ำปลาร้าของชาวบ้านสมัยแต่ก่อน ไม่ได้ใส่ สารกันบดู ไม่ได้ใส่สารไล่แมลงวนั ชาวบ้านกไ็ ด้ ใช้ใบข้าวเม่านก หรือทชี่ าวบ้านในชมุ ชนเรยี กว่า “หญ้าหนอนตาย” น�ำมาใส่ในหม้อปลาร้าก็จะ ท�ำให้ปลาร้าไม่มีแมลงวันมาวางไข่ ใบสด สามารถน�ำมาเป็นผักจิ้มน้� ำพริกได้ทุกอย่าง เปน็ ผกั กบั ลาบ ใบนำ� มาตม้ ชว่ ยขบั พยาธไิ ดด้ มี าก และช่วยรักษาโรคพยาธิใบไม้ในตับ สมานแผล ในกระเพาะอาหารแกท้ อ้ งอดื ขบั ลมในกระเพาะ อาหาร สว่ นมากนยิ มใชว้ ธิ กี ารนำ� มาตม้ โดยเอา ใบหรอื ตน้ 7-15 ใบ ตม้ ใหน้ ำ�้ เปลย่ี นเปน็ สนี ำ้� ตาล สามารถตม้ ได้ 3 – 4 ครง้ั ดม่ื ไดท้ กุ เวลา สามารถ ดื่มแทนน�ำ้ ชาได้เป็นอย่างด ี ๖๐ ภมู ิปัญญา สมนุ ไพรจากป่าชมุ ชน 13

ข้าวเย็นเหนอื ช่ือวทิ ยาศาสตร์ : Smilax corbularia Kunth ชอ่ื วงศ ์ : SMILACACEAE ชอ่ื อื่น : ข้าวเยน็ วอก หัวข้าวเยน็ เหนอื (ภาคเหนือ) ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถา มหี นามแหลมโดยรอบกระจายอยู่ห่างๆ ที่ โคนใบ ยอดอ่อนมมี อื เปน็ เส้น 2 เส้น ไว้ส�ำหรับจับยึด มีหัวเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากแตกอยู่ใต้ดินมาก หัวมีลักษณะกลมยาวเป็น ทอ่ นๆ ทอ่ นละประมาณ 5-15 เซนตเิ มตร มขี นาดเส้นผ่านศนู ย์กลางประมาณ 2 -5 เซนตเิ มตร เนอ้ื ในเหงา้ เปน็ สเี หลอื งออ่ นเมอ่ื แกเ่ ตม็ ทจี่ ะเปน็ สแี ดงนำ�้ ตาลออ่ น ใบเปน็ ใบเดย่ี ว ออกเรยี งสลบั ใบเรยี ว รปู รแี กมรปู ใบหอก หรอื รปู กลมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน สว่ นขอบใบเรยี บ ใบมขี นาด กว้างประมาณ 2.5-7เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-18 เซนติเมตร หน้าใบเป็นสีเขียว ส่วนหลังใบมขี นสขี าวปกคลุมออกดอกตามซอกใบทโ่ี คนต้นหรือกลางต้น ลักษณะของช่อดอก เปน็ แบบชอ่ ซรี่ ม่ ประมาณ 1 -3 ชอ่ ดอก ดอกมขี นาดเลก็ ดอกเปน็ แบบแยกเพศอยู่ กนั คนละตน้ ดอกเปน็ สเี ขยี วปนขาว กลบี รวม 6 กลบี ลกั ษณะเปน็ รปู รหี รอื รปู รแี กมรปู ขอบขนาน ผลทรงกลม แบบผลมเี นอ้ื มเี ส้นผ่าศนู ย์กลาง 5 -6 มลิ ลิเมตร มี 1 หรอื 2 เมลด็ 14 ๖๐ ภูมิปัญญา สมนุ ไพรจากป่าชุมชน

บอกเล่าเรอ่ื งสมนุ ไพรจาก “ป่าชมุ ชนบ้านบญุ แจ่ม จงั หวัดแพร่” ลงุ สาธร ขนุ แอม้ ปราชญ์ ชาวบา้ นจากปา่ ชมุ ชนบา้ นบญุ แจม่ จังหวัดแพร่ เล่าว่า ชาวชุมชน บ้านบุญแจ่ม นิยมใช้หัวใต้ดิน ของข้าวเย็นเหนือ แก้ประดง แก้มะเร็งคุดทะราด แก้ร้อนใน กระหายน�้ำ แก้น�้ำเหลืองเสียฆ่า เชื้อหนอง แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค เข้าข้อออกดอก เข้าข้อ ฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง ทำ� ใหแ้ ผลฝยี บุ แหง้ แกเ้ มด็ ผน่ื คนั ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะพิการ แก้อักเสบ ในร่างกาย นิยมใช้คู่กันท้ังข้าวเย็นเหนือและ ข้าวเย็น ใต้เรียกว่า ข้าวเย็นทั้งสอง ใช้เหง้าเป็นยาบ�ำรุงใช้หัวต้มน�้ำ กินเพื่อลดปวด ส�ำหรับ หญิงอยู่ไฟหลังคลอดบุตร โดยน�ำหัวใต้ดินมาต้มน้าด่ืม แก้มะเร็ง โดยบดยาหัวให้ละเอียด ผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้ง แล้วผสมกบั นำ้� ผึ้ง กนิ วันละ 1 เม็ด หัวต้มน้�ำด่มื เปน็ ยาบ�ำรงุ เลอื ด ๖๐ ภมู ิปญั ญา สมุนไพรจากปา่ ชุมชน 15

ขเี้ หล็ก ชื่อวทิ ยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) H. S. Irwin & Barneby ชอ่ื วงศ ์ : FABACEAE ชือ่ อื่น : ข้เี หล็กบ้าน (ลำ� ปาง สุราษฎร์ธาน)ี ขีห้ ล็กหลวง (ภาคเหนอื ) ขเ้ี หล็กแก่น (ราชบรุ )ี ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไมย้ นื ตน้ ขนาดกลาง สงู ประมาณ 8 -15 เมตร ลำ� ตน้ มกั คดงอ เปลอื กมสี เี ทาถงึ นำ�้ ตาล ดำ� แตกเป็นร่องตน้ื ๆ ตามยาว แตกกง่ิ ก้านเปน็ พุ่มแคบ ใบเปน็ ใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ เรยี งสลบั ใบมสี เี ขียวเข้ม มีใบย่อยรปู รี 5 -12 คู่ กว้างประมาณ 1.5 เซนตเิ มตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เรียงตรงข้าม ใบย่อยปลายใบเว้าตน้ื โคนใบมน ขอบใบและแผ่นใบเรยี บ ปลายมี ติ่งหนาม ดอกจะออกเป็นช่อกระจะแยกแขนงท่ีปลายก่ิง ยาว 20 -100 เซนติเมตร ดอกม ี สเี หลอื ง กลบี เลย้ี งกลมมี 3 – 4 กลบี ปลายมน กลบี ดอกมี 5 กลบี ปลายโคนเรยี ว หลดุ รว่ งงา่ ย ก้านดอกจะยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร และมีเกสรตัวผู้ หลายอัน ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนๆ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร และยาว ประมาณ 30 เซนติเมตร มีสนี �้ำตาล ฝักโค้งเลก็ น้อย แต่ละฝัก มีเมลด็ 20 – 30 เมล็ดเรียงตัวตามขวาง 16 ๖๐ ภูมิปัญญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน

บอกเลา่ เร่อื งสมนุ ไพรจาก “ป่าชุมชนบ้านแมฮ่ ู้ จงั หวดั สโุ ขทยั ” ลงุ ปน้ิ แสนแกว้ ปราชญช์ าวบา้ นจาก ปา่ ชมุ ชนบา้ นแมฮ่ ู้ จงั หวดั สโุ ขทยั เลา่ ให้ ฟังว่าขเ้ี หล็ก มสี รรพคณุ ทางยา ในหลายๆ ดา้ น และเปน็ พชื ทห่ี าไดง้ า่ ยตามทอ้ งถน่ิ ไม่ ตอ้ งซอื้ หาใหเ้ สยี เงนิ เสยี ทองสว่ นตา่ งๆของ ตน้ ขเ้ี หลก็ มสี รรพคณุ ในทางยาแตกตา่ งกนั เช่น ใบอ่อนและดอกอ่อน รับประทานได้ หรือจะน�ำไปแกง หรือลวกจ้ิมกินกับน�้ำ พริกก็ได้รสขมของข้ีเหล็กมีสรรพคุณช่วย ท�ำให้เจรญิ อาหาร แก้อาการท้องผกู รากแก้ไข้ บ�ำรุงธาตุ แก้โรคเหนบ็ ชา ลำ� ต้นและใบเปน็ ยา ระบาย แก้นิว่ ขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ลดความดนั ช่วยให้นอนหลับ บ�ำรุงน้�ำดี รักษาความ ดนั โลหิตสงู ช่วยในการขับระดขู าวในสตรี เปลอื กและฝกั แก้เส้นเอ็นพกิ าร นอกจากสรรพคุณ ทางยาดงั กล่าวแล้วใบของขเี้ หลก็ ยงั สามารถนำ� มาทำ� เปน็ นำ้� หมกั เพอื่ กำ� จดั แมลงในนาข้าวและ แปลงพชื ผกั ได้อกี ด้วย โดยไม่เป็นพษิ ต่อสิง่ แวดล้อม และประหยดั เงนิ ไปได้อกี ทางหนึ่ง ๖๐ ภมู ปิ ัญญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน 17

ซอ้ ชื่อวทิ ยาศาสตร์ : Gmelina arborea Roxb. ช่อื วงศ ์ : LAMIACEAE ช่ืออ่ืน : สนั ปลาช่อน (สโุ ขทยั ) ม้าเหล็ก (กาญจนบรุ )ี ช้องแมว (ชมุ พร) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้นผลดั ใบ ขนาดกลาง สูง 15 -20 เมตร ใบเดย่ี ว ออกเรียงตรงข้ามสลับตง้ั ฉาก ใบเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบเป็นรูปล่ิมกว้าง แผ่ออกคล้าย รปู หัวใจ ขอบใบเรยี บ ใบกว้าง 10 -15 เซนติเมตร และยาว 20 -25 เซนตเิ มตร แผ่นใบด้านบน เกล้ียง ส่วนท้องใบด้านล่างสีนวลและมีขนสั้นนุ่ม ออกดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงสั้นๆ ออกตามปลายกิ่ง มี 1 หรือหลายช่อ ยาว 7 -15 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกย่อยจ�ำนวนมาก ดอกมใี บประดบั หลดุ รว่ งไดง้ า่ ย กลบี เลย้ี งมี 5 กลบี เปน็ รปู ระฆงั ดา้ นนอกกลบี เลย้ี งมขี นตดิ ทน ส่วนกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ลักษณะเป็นรูปปากแตรโป่งด้านเดียว ปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน ด้านนอกเป็นสีน�้ำตาลแดง ส่วนด้านในหลอดกลีบเป็นสีครีมอ่อนๆ ออกดอกในชว่ งเดอื นธนั วาคม ถงึ เดอื นเมษายน ผลเปน็ ผลสด เปน็ รปู วงรหี รอื รปู ไขย่ าว 1.5 -5 เซนติเมตร ผิวผลเกลี้ยงเป็นมัน มีกลิ่น ผลอ่อนเป็นสีเขียวเม่ือสุขแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มเี มล็ด 1 -2 เมล็ด เปน็ รปู รี โดยจะตดิ ผลในช่วงเดอื นมีนาคม ถงึ เดือนพฤษภาคม 18 ๖๐ ภมู ปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากป่าชมุ ชน

บอกเล่าเรือ่ งสมุนไพรจาก “ปา่ ชุมชนบ้านเด่นพัฒนา จงั หวัดน่าน” ลุงพรหมปั๋น หน่อท้าว ปราชญ์ชาวบ้านจากป่าชุมชนบ้านเด่นพัฒนา จังหวัดน่าน เลา่ วา่ ตน้ ซอ้ มสี รรพคณุ ทางสมนุ ไพรหลายอยา่ ง เชน่ นำ� ดอกซอ้ ทต่ี ากแหง้ แลว้ ประมาณ 50 ดอก มาลา้ งนำ�้ แลว้ จงึ เตมิ นำ้� 3 ลติ ร โดยใชเ้ วลาตม้ ประมาณ 10 -15 นาที ตม้ ได้ 2 ครงั้ หรอื จนกวา่ สนี ำ�้ จะจางลง หลงั จากตม้ นำ้� เสรจ็ แลว้ นำ� มากรองเอานำ�้ ดอกซ้อมารบั ประทานเปน็ ยาสมนุ ไพร แก้ไข้และบรรเทาอาการเจ็บคอ ใบน�ำมาค้ันเอาแต่น้�ำใช้ทารักษาแผลได้ เปลือกต้นซ้อ จะใช้ เปลอื กต้นซ้อน�ำมาต้มกับนำ�้ ใช้อาบช่วยแก้โรคผวิ หนงั ผ่ืนคันและหูด ผลสุกนำ� มาคน้ั เอาน�้ำน�ำ ไปผสมกบั ข้าวเหนยี วน่งึ สุก ห่อด้วยใบตองปิง้ หรอื ย่างไฟเตาถ่านจะได้ข้าวเหนยี วปิง้ สีออกแดง หรอื สม้ มกี ลน่ิ หอมรบั ประทานเปน็ ขนมได้ ลำ� ตน้ ซอ้ ทสี่ มบรู ณน์ ำ� มาแกะสลกั เปน็ พระพทุ ธรปู ไม้ ๖๐ ภมู ิปัญญา สมุนไพรจากปา่ ชมุ ชน 19

ตะแบกเลอื ด ชอ่ื วิทยาศาสตร์ : Terminalia mucronata Craib & Hutch. ชือ่ วงศ ์ : COMBRETACEAE ช่ืออื่น : เปื๋อยสะแอน เปื๋อยปั๋ง (ภาคเหนือ) มะเกลือเลือด (ภาคกลาง) มะกาเถื่อน (เง้ียว ภาคเหนอื ) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร โคนต้น มีพพู อนตนื้ ๆ เปลือกสีน้�ำตาลด�ำ เรยี บหรือแตกเปน็ แผ่น ล่อน เปลอื กเป็นแอ่ง เปลอื กในสนี ้�ำตาลแดง มีขนสน้ั นุ่ม สนี ำ้� ตาลแดงหรอื เทาตามกงิ่ ออ่ น ใบออ่ นแผน่ ใบดา้ นลา่ ง ช่อดอกและผล ใบเด่ยี ว เรยี งตรงข้ามหรอื เกอื บตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปไข่ ยาว 8 -25 เซนตเิ มตร ปลายใบมน เว้าบุ๋ม ต่งิ มนหรอื แหลม โคนใบ สอบมน หรือเว้าคล้ายรูปหัวใจ ก้านใบยาว 1-3 เซนตเิ มตร มตี อ่ มนนู กลมหนงึ่ คทู่ ด่ี า้ นขา้ งของกา้ นใบครงึ่ บนถึงใกล้โคนใบ ขนาด 1 -3 มลิ ลิเมตร ช่อดอกแบบช่อ 20 ๖๐ ภูมปิ ัญญา สมุนไพรจากป่าชมุ ชน

เชิงลด ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว 9 -15 เซนติเมตร ดอกสีครีม มีกล่ินหอมอ่อนๆ ใบประดับรูปเส้นด้ายยาว 1 -2 มิลลิเมตร ร่วงง่าย กลีบเล้ียงโคนเช่ือมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก หยักมนต้ืน ๆ ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศ ผู้ 10 อัน จานฐานดอกมีขน หนาแน่น ผลผนังช้ันในแข็งมี 2 ปีก รูปค่อนข้างกลม กว้าง 2 -5 เซนติเมตร ยาว 2.5-4 เซนติเมตร รวมปีก ตัวผลกว้าง 5 -8 มลิ ลเิ มตร ยาว 1.5-3 เซนติเมตร มีสนั คมทางด้านบน และด้านล่าง ปีกเหนยี ว บอกเล่าเรอื่ งสมนุ ไพรจาก “ป่าชมุ ชนบ้านดงห้วยเย็น จงั หวดั ลำ� พูน” พ่อหนานตา น้อยอนันต์ ปราชญ์ชาวบ้านจากปา่ ชมุ ชนบ้าน ดงหว้ ยเยน็ จงั หวดั ลำ� พนู ไดบ้ อกเลา่ วา่ ไมข้ องตน้ ตะแบกเลอื ด เนอ้ื ไมม้ คี วามแขง็ แรงมาก นยิ มนำ� มาสรา้ งสว่ นตา่ ง ๆ ของอาคาร บ้านเรือน ไม้และเปลือกใช้ปรุงเป็นยาแก้บิดมูกเลือด ใช้เปลือก แช่น้�ำบ้วนปาก แก้ปวดฟัน ปวดเหงือก ยางของต้นตะแบกเลอื ด มีลักษณะเป็นยางสีแดงข้นคล้ายกับเลือด มีสรรพคุณในการ รักษาแผลที่มีการอักเสบ แผลติดเช้ือ และแผลท่ีหายยาก จะทำ� ใหแ้ ผลแหง้ แล้วค่อย ๆ ตกสะเกด็ ลดการตดิ เชอ้ื ทำ� ใหแ้ ผล หายเร็วข้ึนกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน จากประสบการณ์ของ พ่อหนานตา เล่าว่าหลานสาวของพ่อหนานตาท�ำงานอยู่ท่ี กทม. เป็นแผลแล้วหายยากมาก ไปหาหมอแผนปัจจุบันก่ีแห่งก็ ไม่หาย พอหลานสาวกลบั มาบา้ นพอ่ หนานตาเหน็ แผลของหลาน จึงได้เข้าป่าไปหาต้นตะแบกเลือด เพ่ือที่จะน�ำยางท่ีได้มาทา บริเวณแผลของหลานสาว หลังจากใช้ยางของต้นตะแบกเลือด ทาบรเิ วณแผล อีก 1 เดือนต่อมา แผลของหลานสาวก็เร่ิมแห้ง และหาย ในทส่ี ดุ วธิ กี ารเอานำ้� ยาง โดยใชม้ ดี สบั ตรงเปลอื กแลว้ งดั มดี ออก นำ�้ ยางจะไหลมาตามรอยสบั (ตอ้ งใชม้ ดี สบั เอานำ้� ยาง จากต้นตะแบกเลอื ดหลาย ๆ ต้น เพราะยางของต้นตะแบกเลอื ด ทไ่ี หลออกมาจากแต่ละต้นมีจ�ำนวนน้อยมาก) แล้วเอาน้�ำยาง ใส่ในขวดแก้ว (ถ้าน้�ำยางแห้งให้น�ำน้�ำต้มสุกท่ีท้ิงไว้จนเย็นแล้ว ผสมเล็กน้อย) ๖๐ ภูมปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชุมชน 21

ผกั หนาม ช่ือวทิ ยาศาสตร์ : Lasia spinosa (L.) Thwaites ชอ่ื วงศ ์ : ARACEAE ช่อื อน่ื : กะลี (มาเลเซยี -นราธวิ าส) ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ พืชล้มลกุ อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ใบ เป็นใบเดีย่ ว รปู โล่หรือหัวลูกศรกว้างยาวได้ถงึ 30 เซนตเิ มตร ขอบใบเวา้ ลกึ เปน็ แฉกเขา้ หาเสน้ กลางใบ ทอ้ งใบและเสน้ กลางใบมหี นามปกคลมุ กา้ นใบยาวไดถ้ งึ 120 เซนตเิ มตร มหี นาม ดอก เปน็ ชอ่ เดยี่ ว ยาวใกล้เคียงกับใบ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อนอัดกันแน่นเป็น แทง่ เปน็ ดอกสมบรู ณเ์ พศ มกี ลบี รวม 4 -6 กลบี เกสรเพศผู้ 4 -6 อัน แผ่นรองช่อดอกสีน้�ำตาล รูปหอกแคบ ต้ังข้ึนหรือโค้งบิดเป็นเกลียว ผล เป็นผลเดี่ยว อ่อนนุ่ม ขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เมล็ดมีลักษณะกลม 22 ๖๐ ภูมิปญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน

บอกเล่าเรื่องสมุนไพรจาก “ปา่ ชุมชนบ้านทาชมพู จงั หวัดล�ำพูน” พอ่ อยุ้ ทา กนั แดง ปราชญช์ าวบา้ นจากปา่ ชมุ ชนบา้ นทาชมพู จงั หวดั ลำ� พนู วยั 95 ปี เล่าให้ฟังว่าตนเป็นบุตรชายของพ่อหลวงมูล แม่หลวงปา กันแดง พ่อและแม่อาศัยอยู่ท่ีบ้าน ทาชมภมู ากอ่ นทตี่ นจะเกดิ (กอ่ นปี พ.ศ. 2493) ซงึ่ ในสมยั นนั้ การคมนาคมไมส่ ะดวก เทคโนโลยี ไม่เจริญ หากต้องการที่จะติดต่อหรือท�ำการค้าขายกับคนต่างบ้านต่างเมืองต้องใช้วิธีการเดิน เท้าหรือใช้เกวียนเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้า ได้แก่ ไม้ ข้าวโพด กล้วย ยาสูบ ต้องใช้เวลา เดินทางหลายวันหลายคืนและมักจะนอนในป่า บางครั้งเป็นแรมเดือนจึงจะถึง และในการใช้ เกวยี นต้องใชโ้ คในการเทยี มเกวยี น (โคทใี่ ช้เทยี มเกวยี นภาคเหนอื เรยี ก “งวั ล้อ”) โคนอกจากจะ ใช้เทยี มเกวยี นแล้ว ยังใช้โคในการทำ� งานเกษตรกรรรมซ่งึ ต้องท�ำงานหนกั (โคท่ใี ช้ท�ำงานหนกั ภาคเหนือเรยี กว่า “งัวก๋าน” ) ฉะนั้นในวถิ ชี วี ิตสมัยก่อนสตั ว์ทม่ี ีความส�ำคญั ต่อการดำ� เนนิ ชีวติ ประจ�ำวันของชาวบ้านทาชมภูก็คือ “งัวล้อและงัวก๋าน” (ท้ังงัวล้อและงัวก๋านจะใช้วัวเพศผู้) ปี พ.ศ. 2463 เปน็ ปที พี่ อ่ อยุ้ ทาเกดิ ในขณะนนั้ ครอบครวั ของพอ่ อยุ้ ทามงี วั ประมาณ 20 -30 ตวั เมื่อพ่ออุ้ยอายไุ ด้ 15 ปี ได้รบั งัวเปน็ มรดกจากพ่อ จำ� นวน 4 -5 ตวั เมอื่ โตขึน้ จงึ หารายได้เล้ยี ง ครอบครวั โดยการเข้าป่าซ้อมไม้ (การทำ� ไม้เปน็ ต้นให้มลี กั ษณะคล้ายเสา) ขายแล้วใช้งวั ลากไม้ (ขนไม้) ออกจากป่าไปขาย ซ่ึงเปน็ งานหนกั มาก หลงั จากทง่ี วั ล้อและงัวก๋านต้องทำ� งานหนักใน ช่วงเย็นของแต่ละวันพ่ออุ้ยจะขุดเหง้าผักหนามแก่ท่ีมักขึ้นอยู่มากในบริเวณท่ีเป็นล�ำห้วยน�ำมา ต้มให้สุกแล้วโรยเกลอื เอาทง้ั นำ้� และเนอ้ื ให้งวั กนิ หรอื จะนำ� มาเผาแลว้ โรยเกลอื ใหง้ วั กนิ กไ็ ด้ พอ่ อยุ้ บอกว่าเม่ืองัวได้กินหัวผักหนามแล้วจะท�ำให้งัว กินอาหารได้มากข้ึน รู้สึกมีก�ำลัง แก้อ่อนเพลีย พร้อมทจ่ี ะท�ำงานหนักในวันรุ่งข้นึ ได้ ราวปี พ.ศ. 2493 พ่ออุ้ยอายุได้ 30 ปีก็แต่งงานและ หลงั จากนน้ั กเ็ ลกิ เลย้ี งงวั ในทส่ี ดุ สว่ นวถิ ชี วี ติ ของ ชาวบ้านทาชมภูที่อาศัยงัวล้อและงัวก๋านต้องจบ สิ้นลงราวปี พ.ศ. 2514 เมื่อความเจริญเข้ามา การคมนาคมสะดวกข้นึ เทคโนโลยเี จรญิ มากขนึ้ ไม่ต้องใช้เกวียนขนส่งสินค้า ไม่ต้องใช้งัวท�ำงาน อีกต่อไป ๖๐ ภมู ปิ ญั ญา สมุนไพรจากปา่ ชุมชน 23

มะเกลอื ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff. ชอ่ื วงศ ์ : EBENACEAE ชื่ออ่ืน : ผเี ผา (เงี้ยว-ภาคเหนอื ) มะเกีย มะเกอื (ภาคเหนอื ) ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ มะเกลือเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับมะพลับและตะโก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึง ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 20 เมตร เปลือกต้นสีด�ำแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ กิ่งอ่อนมีขนนุ่มประปราย ใบเด่ียว รูปไข่หรือรูปรีปลายแหลม ยาวเพียง 4 -5เซนติเมตร ปลายใบสอบแคบเข้าหากัน สว่ นโคนใบกลมมน เนอื้ ใบบางเกลย้ี ง ทอ้ งใบเหน็ เสน้ ใบชดั ออกดอกเปน็ ชอ่ ตามงา่ มใบ ดอกสเี หลอื ง มี 4 กลบี ขนาดเลก็ มกี ลน่ิ หอมมาก ดอกเพศผแู้ ละเพศเมยี อย่ตู า่ งต้นกนั โคนกลบี ดอกเชอื่ มติด กันเป็นรูปถ้วย ผลเป็นผลสดทรงกลม ผิวเกล้ียง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีด�ำ ข้ึนตามป่าเบญจพรรณท่ัวไป พบมากในภาคกลาง ภาคตะวนั ออก และภาคตะวนั ตกเฉยี งใต้ ออกดอกระหวา่ งเดอื นมกราคม ถึงกันยายน และตดิ ผลระหว่างเดอื นพฤษภาคมถึงธันวาคม 24 ๖๐ ภูมปิ ญั ญา สมุนไพรจากปา่ ชมุ ชน

บอกเล่าเร่ืองสมุนไพรจาก “ป่าชุมชนบ้านต้น ตอ้ ง จงั หวัดลำ� ปาง” ลุงลื่น ลวงค�ำ ปราชญ์ชาวบ้านจากป่าชุมชนบ้าน ต้นต้อง จังหวัดล�ำปาง เล่าว่ามะเกลือมีสรรพคุณทาง สมุนไพรมากมายและใช้กันอย่างต่อเน่ืองจากบรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบัน เชื่อกันว่าผลมะเกลือดิบมีสรรพคุณเป็น ยาขับพยาธิที่คนไทยรู้จักและใช้กันมานาน ผลมะเกลือ มีรสเมาเบ่ือ ขับพยาธิในล�ำไส้ ถ่ายตานซาง ถ่ายกระษัย โดยมากใช้กับเด็ก วิธีการคือ เอาลูกสดใหม่ไม่ช�้ำ ต�ำคั้น เอานำ�้ ผสมกบั นำ้� กะทมิ ะพรา้ วดมื่ ทนั ที หา้ มเกบ็ ไว้ จะเกดิ พษิ ขับพยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด พยาธิเส้นด้าย จ�ำนวนลูกเอาเท่าอายุ แต่ไม่เกิน 25 ลูก เอาดเี กลอื ฝรัง่ 10 กรัม ละลายนำ้� สกุ 1 แก้ว ดมื่ ตามหลงั 30 นาทอี ย่าปล่อยให้เปน็ สดี ำ� เพราะอาจเปน็ พษิ ปจั จบุ นั มกี ารสกดั สารทม่ี ฤี ทธข์ิ บั พยาธจิ ากผลมะเกลอื แล้วผลติ เปน็ ยาเมด็ ส�ำเร็จรูปใช้รับประทาน เมล็ดรสเมามัน ขับพยาธิในท้อง เปลือกต้นรสฝาดเมา เป็นยากันบูด แก้กระษัย ขับพยาธิ แก้พิษ ตานซาง ท้ังต้นรสฝาดเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง แก้กระษัย แก่นรสฝาดเค็มขมเมา ขับพยาธิ แก้ตานซาง รากรสเมาเบื่อ ฝนกับน้�ำข้าวกิน แก้อาเจียน แกเ้ ปน็ ลม หนา้ มดื แกก้ ระษยั แกร้ ดิ สดี วงทวาร แกพ้ ษิ ตานซาง ขบั พยาธิ นอกจากเปน็ สมนุ ไพร ได้แล้วผลมะเกลอื ยงั สามารถน�ำมาย้อมผ้าได้อกี ด้วย ๖๐ ภูมปิ ัญญา สมุนไพรจากป่าชมุ ชน 25

มะขาม ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ : Tamarindus indica L. ชอ่ื วงศ ์ : FABACEAE ชื่ออ่ืน : ม่องโคล้ง (กะเหรย่ี ง กาญจนบรุ )ี มอดเล (กะเหรย่ี ง แม่ฮ่องสอน) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไมต้ น้ ขนาดกลางถงึ ขนาดใหญแ่ ตกกงิ่ กา้ นสาขามาก เปลอื กตน้ ขรขุ ระและหนา สนี ำ้� ตาล ออ่ น ใบเปน็ ใบประกอบ ใบเลก็ ออกตามกงิ่ กา้ น ใบเปน็ คู่ ใบยอ่ ยเปน็ รปู ขอบขนาน ปลายใบและ โคนใบมน ดอก ออกเปน็ ช่อเลก็ ๆ ตามปลายกงิ่ หนง่ึ ช่อมี 10 -15 ดอก ดอกยอ่ ยขนาดเลก็ กลีบ ดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3 - 20 เซนตเิ มตร ฝกั ออ่ นมเี ปลอื กสเี ขยี วอมเทา สีน�้ำตาลเกรียม เน้ือในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝัก เปลยี่ นเปน็ เปลอื กแขง็ กรอบหกั งา่ ย สนี ำ�้ ตาล เนอื้ ใน กลายเปน็ สนี ำ้� ตาลหมุ้ เมลด็ เนอ้ื มรี สเปรย้ี ว และหวาน 26 ๖๐ ภมู ปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชุมชน

บอกเลา่ เรื่องสมุนไพรจาก “ปา่ ชุมชนบ้านเขาสกั จังหวัดเพชรบรู ณ”์ คณุ ยายแฉล้ม สุมานะ อายุ 68 ปี ปราชญ์ชาวบ้านจากปา่ ชมุ ชนบ้านเขาสกั จงั หวัด เพชรบูรณ์ ซ่ึงได้รบั การถ่ายทอดความรู้เรื่องสมนุ ไพรมาจากปู่ย่าตายาย เล่าว่า ต้นมะขามมี ประโยชน์มาก ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ทุกส่วน เช่น รากแก้ท้องร่วง, เปลือกแก้ไข้ตัวร้อน, แก่น รักษามดลูก เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่, ใบสด รักษาหวัดโดยผสมกับสมุนไพรอ่ืนๆ น�ำไปต้มน้�ำ อาบหลังคลอดและเป็นส่วนประกอบท�ำลูกประคบได้ โดยเฉพาะผู้หญิงหลังคลอดลูกใหม่ๆ คุณยายแฉล้ม สุมานะ จะท�ำยาสมุนไพรจากมะขามเปียก เป็นยาระบาย และขับน�้ำคาวปลา หลังคลอดให้กิน โดยมีส่วนผสม คือ มะขามเปยี ก 1 กำ� มอื เกลอื 1 ชอ้ นโตะ๊ น�ำ้ อุ่น 3 ใน 4 ส่วนของแก้วน้�ำ วธิ ีทำ� นำ� มะขามเปียก 1 กำ� มอื เกลือ 1 ซ้อนโต๊ะและน�ำน�้ำอุ่น 3 ใน 4 ส่วน ของแก้วน้�ำ น�ำส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง มาเทรวมกันในถ้วยแล้วใช้มือขย�ำ มะขามเปียก เกลือ และน�้ำให้เข้ากัน พอให้น้�ำมะขามข้นเหนียวค้ันเอาแต่ นำ�้ มะขามเปยี ก ส่วนทเี่ ปน็ กากมะขามเอาออก (กากมะขามนำ� ไปขดั ผวิ ได้) ส่วนนำ้� มะขามเปียก ทคี่ นั้ ได้นำ� มาเทใสแ่ ก้ว แลว้ นำ� ไปใหผ้ ้หู ญงิ หลงั คลอดลกู ใหมๆ่ ดมื่ เพอ่ื เปน็ ยาระบาย และขบั นำ�้ คาวปลาหลงั คลอด (รบั ประทานครง้ั เดี่ยวหลงั คลอด) ๖๐ ภูมปิ ัญญา สมนุ ไพรจากป่าชมุ ชน 27

มะเขือแจ้เครอื ช่ือวิทยาศาสตร์ : Securidaca inappendiculata Hassk. ชอ่ื วงศ ์ : POLYGALACEAE ช่อื อน่ื : จองละอาง (เชยี งใหม่) จงุ อาง (ตราด) ชองระอา (ภาคกลาง) สะกุ้น (สงขลา) ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเล้ือย ใบเป็นใบเด่ียว เรียงสลับ รูปรี แกมรูปไข่ ขนาดกว้าง 5 -8 เซนติเมตร ยาว 10 -12 เซนตเิ มตร โคนสอบ ปลายแหลม ขอบใบเป็นคล่นื เลก็ น้อย เนอ้ื ใบคล้ายแผ่นหนงั ผิวเกล้ียงดอกสีชมพูแกมแดง ออกเป็นช่อ ดอกย่อยขนาด 1 เซนตเิ มตร กลีบรองดอกมี 5 กลีบ สามกลีบนอกขนาด เลก็ สองกลบี ในมสี สี ดคลา้ ยกลบี ดอก ลกั ษณะแผเ่ ปน็ กลบี รูปไข่ กลีบดอกมี 3 กลีบ สองกลีบบนรูปขอบขนานโค้ง กลีบล่างรูปเรอื ปลายแผ่ เกสรเพศผู้มี 8 อัน เชอ่ื มกันเปน็ มัด ผล มีเมล็ดเดียว มีปีก ขนาดกว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 6 เซนตเิ มตร 28 ๖๐ ภมู ิปัญญา สมนุ ไพรจากป่าชุมชน

บอกเล่าเรื่องสมุนไพรจาก “ป่าชุมชน บ้านตลาดขเ้ี หลก็ จงั หวัดเชียงใหม”่ พอ่ อยุ้ แกว้ เทศนำ� ปราชญช์ าวบา้ นจาก ป่าชุมชนบ้านตลาดขเ้ี หลก็ จังหวัดเชยี งใหม่ พ่อเฒ่าวยั 70 ปี เป็นชาวบ้านตลาดข้เี หลก็ โดย ก�ำเนิด ได้เล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนน้ันบ้านตลาด ขี้เหล็กมีลักษณะเป็นพ้ืนที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ไป ดว้ ยพรรณไมน้ านาชนดิ ทงั้ ขนาดนอ้ ยขนาดใหญ่ มากมาย การคมนาคมไมส่ ะดวก ชาวบา้ นสว่ นใหญ่ ด�ำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพ่ึงพิงอาศัยป่าด้วยวิถี ชีวิตแบบเรียบง่าย ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของ ปา่ ทป่ี ระกอบไปดว้ ยตน้ ไมข้ นาดใหญจ่ ำ� นวนมาก นั่นเองที่ท�ำให้วิถีชีวิตของชาวตลาดข้ีเหล็กต้อง เปลยี่ นแปลงอกี ครงั้ เมอ่ื ในปี ๒๕๑๖ ไดม้ บี รษิ ทั เขา้ มาสมั ปทานไมซ้ งุ และไมฟ้ นื ในปา่ บา้ นตลาด ข้ีเหล็ก จากชาวบ้านท่ีพึ่งพิงอาศัยอยู่กับป่าเพื่อให้ตนเองอยู่รอดด้วยวิถีชีวิตท่ีเรียบง่าย ตอ้ งกลบั กลายมาเปน็ ลกู จา้ งตดั ไมใ้ หก้ บั บรษิ ทั บางคนกไ็ ดโ้ อกาสตดั ไมไ้ ปขายเอง การตดั ไมข้ าย หรือการรับจ้างตัดไม้ก็ดีเป็นอาชีพที่ต้องท�ำงานหนัก หลังจากเสร็จงานมักมีอาการปวดเมื่อย กล้ามเนอ้ื ตามเนอื้ ตวั ปวดหลงั ปวดเอว คนทท่ี ำ� งานหนกั เหล่านม้ี กั จะหาสมนุ ไพรทอ่ี ย่ใู นป่านำ� มาตม้ บางคนกเ็ กบ็ มาแลว้ กต็ ากใหแ้ หง้ แลว้ นำ� มาดองเหลา้ ดมื่ เพอื่ แกอ้ าการปวดเมอ่ื ยกลา้ มเนอ้ื แก้ปวดหลัง ปวดเอว เพ่ือวันรุ่งข้นึ จะได้ท�ำงานต่อได้ ส่วนสมุนไพรท่ใี ช้น้นั ก็แตกต่างกันไปข้นึ อยู่กบั ภมู ิปัญญาของแต่ละคน หรอื ขนึ้ อยู่กับว่าได้สตู รยามอี ะไรบ้าง แต่สมุนไพรชนดิ หน่งึ ทใี่ น แต่ละสูตรยาขาดไม่ได้คอื “มะเขอื แจ้เครอื ” อุ้ยแก้วเล่าต่อว่า มะเขอื แจ้เครือเปน็ ไม้เถาท่ี ไม่ได้ มอี ยทู่ วั่ ไป ในละแวกนก้ี จ็ ะมเี ฉพาะในป่าชมุ ชนบ้านตลาดขเ้ี หลก็ เทา่ นน้ั เถามขี นาดตงั้ แต่เทา่ ข้อ มอื ไปถงึ ขนาดเทา่ นอ่ งเลยทเี ดยี ว สว่ นการนำ� ไปใสก่ บั ตวั ยาอน่ื ๆนน้ั ใหถ้ ากเถาทมี่ อี ายปุ ระมาณ 2 -3 ปี จงึ จะมตี วั ยาดี ไม่อ่อนหรือแก่จนเกนิ ไป มะเขอื แจ้เครอื จะมรี สเฝื่อนเหมือนมะเขอื ขนื่ ดงั นน้ั ปรมิ าณทีใ่ ส่ลงในยาแต่ละสตู รนน้ั ไม่ควรใส่ในปรมิ าณทีม่ ากเกนิ ไปเพราะ จะทำ� ให้ยาต้ม หรอื ยาดองเหลา้ นนั้ มรี สเฝอ่ื นมากอยุ้ แกว้ ยงั บอกอกี วา่ อยุ้ ไมอ่ ยากใหค้ นทตี่ อ้ งการใชม้ ะเขอื แจเ้ ครอื ไปทำ� ยาโดยวธิ กี ารตดั เถา เพราะการตดั ดว้ ยวธิ นี จ้ี ะมสี ว่ นทเี่ ปน็ ยอดจะไมน่ ำ� มาใชเ้ ปน็ ยาเพราะ ตวั ยามนี ้อยกจ็ ะถกู ทง้ิ จงึ อยากใหใ้ ชว้ ธิ ถี ากเถาทมี่ อี ายพุ อเหมาะเฉพาะสว่ นจงึ จะดกี ว่าและไม่ ควรถากจนรอบเถาซง่ึ จะทำ� ให้ต้นมะเขอื แจ้เครือตายได้ ๖๐ ภูมิปัญญา สมุนไพรจากป่าชุมชน 29

มะคำ� ไก่ ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ : Putranjiva roxburghii Wall. ช่อื วงศ ์ : PUTRANJIVACEAE ช่ืออ่นื : มะองนก (ภาคเหนอื ) มกั ค้อ (ขอนแก่น) มะค�ำดไี ก่ ประค�ำไก่ (ภาคกลาง) ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ต้น สูง 10 -15 เมตร ตามต้นและกิ่งก้านมีสีขาวนวล ยอดอ่อนมีขน ใบเป็น ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ห้อยลง รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยักตื้นๆ ปลายใบแหลมหรอื มน ใบสเี ขียวเข้มเป็นมนั กว้าง 2.5 -4 เซนตเิ มตร ยาว 5 -10.5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3 -5 มิลลิเมตร ดอกตวั ผู้และดอกตัวเมยี อยู่ต่างต้นกัน ดอกตัวผู้ออกเปน็ ช่อหรอื เป็นกระจุกตามซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล ก้านดอกสน้ั กลบี เลี้ยงมี 3 -6 หยกั เกสรตวั ผู้มี 2 -4 อัน ก้านติดกันเล็กน้อย ดอกตัวเมียออกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นคู่ๆ กลีบเลี้ยงเหมือนดอก ตัวผู้ รงั ไข่ มขี นปกคลมุ ภายในมี 2 -3 ห้อง ยอดเกสรตัวเมียคล้ายพระจนั ทร์เส้ยี ว ผลรูปไข่ หรอื กลมรี กวา้ ง 1 เซนตเิ มตร ยาว 1.5 เซนตเิ มตร หวั ทา้ ยแหลม มขี นละเอยี ดปกคลมุ เปลอื กแขง็ สขี าวอมเทา มรี อยย่นเลก็ น้อย ภายในมเี มลด็ กลม สดี ำ� แขง็ 1 เมลด็ ขนาดเท่าเมด็ ลำ� ไย ใช้ร้อย ท�ำประคำ� ได้ 30 ๖๐ ภูมิปัญญา สมุนไพรจากปา่ ชุมชน

บอกเลา่ เรอ่ื งสมนุ ไพรจาก “ปา่ ชมุ ชน บ้านร่องปอ จงั หวดั พะเยา” ลุงจันทร์ขาว เชียงมูล ปราชญ์ชาว บ้านผู้มีความเชีย่ วชาญด้านพชื สมนุ ไพร และ ลุงค�ำปัน วงค์ชัย หมอยาสมุนไพร จากป่า ชมุ ชนบา้ นรอ่ งปอ จงั หวดั พะเยา เล่าให้ฟงั ว่าต้นมะคำ� ไก่ หรอื ต้นทชี่ าวบ้านร่องปอเรยี ก ว่า ”ต้นยาแก้” มีสรรพคุณทางยามากมาย โดยสามารถใช้ทกุ ส่วนของต้น นำ� มาปรงุ เปน็ ยาสมนุ ไพรต่างๆ อาทเิ ช่น ส่วนของใบ จะนำ� มารม แก้ปวดขา น�ำมาต�ำพอกฝี และนำ� มาปรุงเปน็ ยาถ่ายพษิ ฝี ล�ำต้น นำ� มาเข้าเคร่ืองยา ใช้เป็นยา เย็น เป็นยาระบาย ใบและผลอ่อน ใช้เป็นยาลดไข้ เป็นยาขับปัสสาวะรากและเปลือกราก เปน็ ยาแก้กระษยั แก้เส้นเอน็ หย่อน ๖๐ ภูมิปัญญา สมนุ ไพรจากปา่ ชุมชน 31

มะนาวไม่รู้โห่ ชอ่ื วิทยาศาสตร์ : Carissa carandas L. ช่อื วงศ ์ : APOCYNACEAE ชอื่ อน่ื : หนามขแ้ี ฮด (เชยี งใหม่) หนามแดง (กรงุ เทพฯ) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไมพ้ ่มุ สงู 2 - 3 เมตร ทรงพ่มุ กลม แตกกง่ิ จำ� นวนมากทกุ สว่ นมยี างสขี าวเหมอื นน้�ำนม ล�ำต้นและกิ่งก้านมหี นามแหลมยาว 2 - 5 เซนติเมตร ปลายหนามมสี ีแดง ใบเดย่ี ว เรียงตรง ข้าม รปู ไข่กลับ ปลายใบมนหรอื เว้าเข้าเลก็ น้อย โคนใบกลม ผิวใบสเี ขยี วเข้มเปน็ มนั ดอกเป็น ดอกช่อสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็น หลอดยาวสชี มพูแกมแดง ดอกมกี ลิน่ หอมอ่อน ๆ หอมตลอดวนั ออกดอกทงั้ ปี ผลเป็นผลเดีย่ ว ออกรวมกนั เปน็ ชอ่ ผลรปู กลมรี หรอื รปู ไข่ ผลอ่อนมสี ขี าวอมชมพู ผลดบิ มนี ำ้� ยางมาก ผลจะ คอ่ ย ๆ เข้มข้นึ เป็นสแี ดง กระทัง่ สุกจึงกลายเปน็ สดี �ำ เมล็ดมี 1 เมลด็ ติดอยู่ที่ส่วนปลายรูปไต ยาว 2.5 - 3 เซนตเิ มตร สนี ้�ำตาลอมเทา มเี ปลือกแข็งหุ้ม 32 ๖๐ ภมู ปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน

บอกเล่าเรอ่ื งสมุนไพรจาก “ป่าชมุ ชนบ้านแม่หาร จังหวดั แม่ฮอ่ งสอน” ลงุ ยะออ่ ง วนาเขยี วขจี ปราชญช์ าวบา้ นจากปา่ ชมุ ชนบา้ นแมห่ าร จงั หวดั แมฮ่ อ่ งสอน เป็นชาวกระเหรี่ยง ซ่ึงถือได้ว่าคุณลุงเป็นบุคคลท่ีมีความรู้ในเรื่องของพืชและพืชสมุนไพร คนหน่ึงในหมู่บ้านลุงได้เล่าว่า เด็กเดินไปไร่ไปนากับพ่อแม่ผ่านป่าในหมู่บ้านจะเจอต้นมะนาว ไม่รู้โห่ จะเด็ดกินผลสุกได้ทันที ส่วนพ่อแม่ก็จะเก็บยอดไปประกอบอาหารโดยน�ำยอดอ่อนมา ลวกจิ้มกับน้�ำพริก ลุงยะอ่องเล่าอีกว่าตอนท่ีกัดกินผลสุกจะมีรสเปร้ียวจัดท�ำให้เกิดความ กระชุ่มกระชวย ใครทงี่ ่วงนอนต้องตาสว่างทนั ที รากของต้นมะนาวไม่รู้โห่นนั้ ถ้านำ� ไปต้มดม่ื รับ ประทานจะสามารถลดไข้ได้ การกินผลสุกนัน้ ต้องเลือกทมี่ ีสดี �ำๆ กินวันละ 5 -7 ลูก สำ� หรบั ผ้ปู ่วยทเ่ี ปน็ โรคปอด หวั ใจ มะเรง็ ถงุ ลมโป่งพอง เบาหวาน ไต เก๊าท์ ไทรอยด์ ซง่ึ ยางของผลสกุ ชว่ ยในการสมานแผลสดไดเ้ ปน็ อยา่ งดี กนิ ตดิ ตอ่ กนั ประมาณ 3 เดอื น จะรสู้ กึ วา่ เลอื ดหมนุ เวยี นดี และสขุ ภาพแขง็ แรงขน้ึ ยอดออ่ นแกอ้ าการเจบ็ คอ รกั ษาแผลในปาก มสี ตู รการหมกั มะนาวไม่รู้ โห่ดังนี้ ผล 3 กิโลกรัมต่อน�้ำตาล 1 กิโลกรัม แล้วเติมน้�ำผึ้ง 1 แก้วน�้ำดื่ม หมักเก็บไว้ 1 เดอื น เม่อื ครบเดือนแล้วค่อยมาเตมิ น้�ำอกี 5 ลิตร แล้วหมักต่อจนครบ 3 เดอื น แต่หากไว้นานกว่านน้ั ก็ย่ิงดี การดื่มให้ดื่มวันละแก้วเป๊กเหล้า ให้ดื่มในตอนเช้า มีสรรพคุณขับปัสสาวะ แก้พิษใน รา่ งกาย แกโ้ รคลกั ปดิ ลกั เปดิ แกอ้ าการออ่ นเพลยี และชว่ ยใหเ้ จรญิ อาหาร ทำ� ใหร้ า่ งกายแขง็ แรง แก้โรคกระเพาะอักเสบ เปน็ แผลในกระเพาะ รกั ษาแผลผู้ป่วยเปน็ โรคเบาหวาน ๖๐ ภมู ปิ ัญญา สมุนไพรจากป่าชุมชน 33

ยางนา ช่อื วทิ ยาศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb. ช่ือวงศ ์ : DIPTEROCARPACEAE ชอื่ อน่ื : ยางควาย (หนองคาย) ยางเนนิ (จันทบรุ )ี ราลอย (ส่วยสรุ นิ ทร์) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 - 50 เมตร ล�ำต้นเปลาตรง เปลือกหนาเรียบ สีเทาหรือ เทาปนขาว โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย ขนาดเส้นรอบวงเพียงอกของต้นที่มีอายุมาก ระหว่าง 4 - 7 เมตร หรอื มากกว่า ยอดและกง่ิ อ่อนมีขนทัว่ ไป และมีรอยแผลใบปรากฏชดั ตาม กง่ิ รปู ทรง (เรือนยอด) เรือนยอดเปน็ พุ่มกลมแน่นทบึ ใบเดีย่ ว เรยี งเวยี นสลับ รปู รีหรอื รปู ไข่ ใบอ่อนมขี นสเี ทาประปราย ใบแก่เกลย้ี งหรอื เกอื บเกลยี้ ง มขี นประปราย ดอก ออกเปน็ ช่อสน้ั ๆ ไม่แตกแขนงตามง่ามใบตอนปลายกง่ิ แต่ละช่อมี 3 - 8 ดอก สีขาวอมชมพู ออกดอก ระหว่าง เดอื น มนี าคม - พฤษภาคม ผล เปน็ แบบผลแหง้ ตวั ผลกลมหรอื รปู ไข่ ยาว 2.5 - 3.5 เซน็ ตเิ มตร มคี รบี ยาว 5 ครบี ดา้ นบนมปี กี 2 ปกี ปลายมน มเี สน้ ตามยาว 3 เสน้ ปกี อกี 3 ปกี มีลักษณะ สน้ั มากคล้ายหหู น ู ผลแก่ ระหว่างเดอื น พฤษภาคม - มถิ ุนายน 34 ๖๐ ภมู ปิ ัญญา สมุนไพรจากปา่ ชุมชน

บอกเล่าเร่ืองสมุนไพรจาก “ป่าชุมชน บ้านหนองยาง จังหวดั พษิ ณุโลก” ลุงสมาน บัวประเสริฐ ปราชญ์ชาวบ้านจาก ปา่ ชมุ ชนบา้ นหนองยาง จงั หวดั พษิ ณโุ ลก เลา่ ว่า ต้นยางนามีสรรพคุณทางด้านสมุนไพร คือ มี น้�ำมันยาง ท�ำน้�ำมันใส่แผล แก้โรคเรื้อน เปลือก สรรพคุณ น�้ำต้มเปลือกกินแก้ตับอักเสบ บ�ำรุง ร่างกาย ฟอกเลือด และใช้ทาถูนวด (ขณะร้อน) แก้ปวดตามข้อ การท�ำน�้ำมันยาง โดยเจาะเป็น หลมุ ลกึ ลงไปในเนอ้ื ไมต้ อนโคนๆ ตน้ ทกี่ น้ หลมุ ทำ� ใหเ้ ปน็ เปน็ แอง่ เพอ่ื เปน็ ทพี่ กั นำ�้ มนั ไปในตวั การ เผาหลมุ ทเ่ี จาะจะชว่ ยใหน้ ำ้� มนั ออกมากและเรว็ ขนึ้ จากนนั้ กค็ อยมาเกบ็ ตกั เอานำ้� มนั เปน็ ระยะๆ น�้ำมันที่ได้อาจน�ำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องแปรรูปอีกน�้ำมันยางเมื่อใช้ผสมกับผงชันก็ใช้ยาเรือ หรือเคร่ืองจักรสานท่ีท�ำ ด้วยไม้ไผ่ ให้กลายเป็นภาชนะที่กักเก็บหรือตักนำ้� ได้เป็นอย่างดี อน่ึง กากนำ�้ มนั ซ่งึ เปน็ ตะกอนเหนยี วนน้ั น�ำมาคลุกกับไม้ผุ หรือเปลอื กไม้ท�ำเป็นไต้ ใช้เป็นคบเพลงิ เดินทางในเวลาค่ำ� คนื หรือใช้ก่อไฟในท่ยี งั ต้องใช้ฟืนและถ่านอยู่ ๖๐ ภมู ิปญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชุมชน 35

ระยอ่ ม ชื่อวทิ ยาศาสตร์ : Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz ชื่อวงศ ์ : APOCYNACEAE ชอ่ื อ่ืน : คลาน ตมู คลาน (กะเหรย่ี ง กาญจนบรุ )ี เข็มแดง (ภาคเหนอื ) ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มเต้ียขนาดเล็ก ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง ล�ำต้นสูงประมาณ 30 -70 เซนติเมตร มักคดงอ เปลือกล�ำต้นเป็นสีขาวหรือสีน้�ำตาลอมเทา มียางสีขาว รากใต้ดินแตกสาขามาก มีรอยแผลใบอยู่ตามลำ� ต้น ใบเปน็ ใบเดยี่ วออกเรยี งตรงข้ามกนั หนาแน่นท่ีปลายยอด หรือออก เรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 5 -8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12 -20 เซนตเิ มตร แผ่นใบค่อนข้างหนา สเี ขียวเข้มเปน็ มัน ดอกเป็นช่อ ลักษณะคล้ายดอกเขม็ โดยจะ ออกท่ีปลายยอด มดี อกย่อยจ�ำนวนมาก ประมาณ 1 -50 ดอก ดอกสขี าว กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเช่อื มตดิ กันเป็นหลอดยาวสชี มพเู ข้มหรอื สแี ดง กลบี เล้ียง 5 กลีบ สขี าวแกมเขยี ว ก้านดอกเป็นสีแดง ผลรูปทรงกลมหรือรูปทรงรี บางครั้งติดกันเป็นผลแฝดตรงโคนด้านใน ผิวผลเรียบเป็นมันและฉ่�ำนำ้� มีขนาดประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว เม่ือสุกแล้ว จะเปล่ียนเปน็ สมี ่วงแดงเข้มหรือสดี �ำ ในผลมเี มล็ด 1 เมล็ด 36 ๖๐ ภูมิปัญญา สมนุ ไพรจากป่าชมุ ชน

บอกเล่าเร่ืองสมุนไพรจาก “ป่าชุมชนบ้าน ห้วยเจรญิ จังหวดั อุตรดติ ถ”์ ลุงหน�ำ สว่างทิตย์ ปราชญ์ชาวบ้านจาก ป่าชุมชนบ้านห้วยเจริญ จังหวัดอุตรดิตถ์เล่าว่า รากของระยอ่ มมรี สขม เปน็ ยาเยน็ มพี ษิ เลก็ นอ้ ย ออกฤทธิ์ ต่อตับและหัวใจ มีสรรพคุณช่วยท�ำให้เจริญอาหาร ช่วยบ�ำรุงประสาท กระพี้ มีสรรพคุณ เป็นยา บ�ำรุง โลหิต ท�ำให้โลหิตเป็นปกติ และช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ รากช่วยฟอกเลอื ด ท�ำให้เลอื ดเยน็ เปน็ ยาลดความดัน โลหิต ด้วยการใช้รากแห้งในขนาด 200 มิลลิกรัม น� ำ ม า ป ่ น ใ ห ้ เ ป ็ น ผ ง ค ลุ ก กั บ น�้ ำ ผึ้ ง ท� ำ เ ป ็ น ย า เ ม็ ด รับประทานตดิ ต่อกัน 1 -3 อาทติ ย์ เปลอื กมีสรรพคุณ เป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้ สันนิบาต ช่วยแก้หืด แก้ลม อัมพฤกษ์ น�้ำจากใบใช้เป็นยารักษาโรคแก้วตามัว ดอกมสี รรพคณุ เปน็ ยาแกต้ าแดง แกโ้ รคอนั เกดิ แตจ่ กั ษุ ขนาดและวิธีใช้ การใช้ราก ให้ใช้รากแห้ง 100 กรัม น�ำมาต้มชงกับนำ้� ด่ืมเช้าและเย็น ให้ใช้รากแห้งคร้ังละ ประมาณ 10-20 กรมั นำ� มาตม้ กบั นำ้� ดม่ื หรอื นำ� มาบด ให้เป็นผงท�ำเป็นเม็ดรับประทาน หรือใช้เข้ากับต�ำรา ยาอนื่ ได้ตามต้องการ ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรระย่อม สตรีมีครรภ์ หรอื ใหน้ มบตุ ร หา้ มใชส้ มนุ ไพรชนดิ น้ี หรอื หากมอี าการ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หรือมีอาการผิดปกต ิ ใหใ้ ชห้ ยดุ ใชย้ าทนั ที อาการเปน็ พษิ หรอื ผลขา้ งเคยี งของการใชย้ านคี้ อื ทำ� ใหเ้ กดิ การจมกู ตนั หรอื คดั จมูก หายใจไม่ออก หน้าแดง ๖๐ ภูมปิ ัญญา สมุนไพรจากปา่ ชมุ ชน 37

ลาน ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Corypha umbraculifera L. ช่ือวงศ ์ : ARECACEAE ชือ่ อืน่ : ลางหมง่ึ เทิง (ภาคเหนอื ) ลานวดั (ภาคกลาง) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยนื ต้นขนาดกลาง มลี �ำต้นตรงและแข็ง เปน็ ไม้ต้นเดย่ี วไม่แตกหน่อหรอื กอ ล�ำต้นจะ มคี วามสูงถึง 25 เมตร ส่วนเนอ้ื ไม้เปน็ เส้นใย ไม่มีกงิ่ ล�ำต้นมีกาบใบตดิ คงทนเรียงเวียนอยู่โดย รอบ ล�ำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร ต้นลานเมื่อแก่แล้วหรือมีอายุ ราว 20-80 ปี ในชว่ งเดอื นพฤษภาคมถงึ เดอื นมถิ นุ ายนตน้ ลานจะออกดอกและผล ซงึ่ นนั่ หมาย ถงึ ชวี ติ ช่วงสดุ ทา้ ยของต้นลาน ใบมขี นาดใหญ่ ลกั ษณะคล้ายรปู ฝ่ามอื หรอื รปู พดั ค่อนขา้ งกลม คล้ายกับใบตาล ใบมีสเี ขยี วอมเทา แผ่นใบมขี นาดประมาณ 2.5 -3 x 2.5 -3 เมตร ส่วนก้าน ใบออกสีเขยี วอ้วนส้นั ยาวประมาณ 2.5 -3 เมตร และขอบก้านใบมหี นามแน่นเป็นฟนั คมสดี ำ� ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และมีเส้นโค้งกลางใบยาวประมาณ 1 เมตร แผ่นใบหยักเปน็ คล่ืน มีร่องแฉกแยกแผ่นใบ 110 แฉก แต่ละแฉกมีขนาดประมาณ 75 -150 X 4.6 -5 เซนติเมตร (เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบใหญ่ท่ีสุดในโลก) ผลมีลักษณะกลมรี สีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 3.5 -4.5 เซนตเิ มตร หน่งึ ผลมีหนึง่ เมลด็ เมลด็ มลี ักษณะกลมสีดำ� 38 ๖๐ ภมู ิปัญญา สมุนไพรจากป่าชุมชน

บอกเลา่ เร่อื งสมนุ ไพรจาก “ป่าชุมชนบา้ นห้วยลาน จังหวดั เพชรบูรณ”์ ลุงเพชร นวลทอง ปราชญ์ชาวบ้านจากป่าชุมชนบ้านห้วยลาน จังหวัดเพชรบูรณ์ เล่าให้ฟังว่าต้นลานมีสรรพคุณมากมายไม่ว่าจะเป็นด้านสมุนไพร โดยชาวบ้านจะน�ำรากของ ต้นลานมาฝน รบั ประทานช่วยรักษาไข้หวัด แก้ร้อนใน และช่วยขับเหงอ่ื ลกู ลาน ใช้รับประทาน เปน็ ยารกั ษาโรคกระเพาะ ชว่ ยฆา่ เชอ้ื ในลำ� ไส้ และชว่ ยระบาย เปลอื กของผลสามารถรบั ประทาน เป็นยาขับระบายได้ดี ใบลานน�ำมาเผาไฟสามารถใช้เป็นยาเพื่อช่วยดับพิษอักเสบ แก้อาการ ฟกช้�ำบวมต่างๆได้ ด้านการใช้ ประโยชน์ ใบลานสามารถนำ� มาท�ำ เครื่องมือเคร่ืองใช้ได้หลายอย่าง สมัยโบราณใช้ในการบันทึกข้อมูล และเรอื่ งราวตา่ งๆ นยิ มใชเ้ ปน็ ทเ่ี ขยี น จารึกตัวอักษรในหนังสือพระธรรม ค�ำสอนของพระพุทธศาสนาโดย เราจะเรียกหนังสือจากใบ ลานน้ีว่า “คมั ภีร์ใบลาน” ส่วนใบแก่กน็ �ำมาใช้ มงุ หลงั คา นำ� มาจกั สานเปน็ เครอ่ื งใช้ ต่างๆได้ ๖๐ ภมู ิปญั ญา สมุนไพรจากปา่ ชมุ ชน 39

ลกู ใต้ใบ ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ : Phyllanthus amarus Schumach & Thonn. ชือ่ วงศ ์ : PHYLLANTHACEAE ชื่ออน่ื : มะขามป้อมดนิ (ภาคเหนอื ) หญ้าใต้ใบขาว (สรุ าษฎร์ธาน)ี ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก สูง 10 -60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็น ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้าง โคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.40 X 1.00 เซนติเมตร ก้านใบส้ันมากและมีหู ใบสขี าวนวลรปู สามเหลย่ี มปลายแหลมเกาะตดิ 2 อนั ดอกแยกเพศ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ออกตามซอกก้านใบ ยอ่ ย และหอ้ ยลง เปน็ ดอกแยกเพศ คอื ดอกเพศเมยี มกั อยสู่ ว่ นโคน ส่วนดอกเพศผู้มกั อยู่ส่วนปลายก้านใบ ผลทรงกลมผวิ เรยี บสเี ขยี ว อ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะตดิ อยู่ทใ่ี ต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเปน็ 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสนี ำ�้ ตาลรปู เส้ียว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร 40 ๖๐ ภูมิปัญญา สมุนไพรจากปา่ ชุมชน

บอกเลา่ เรอื่ งสมนุ ไพรจาก “ป่าชมุ ชนบ้านหนองทราย จังหวดั กำ� แพงเพชร” ลุงสมจิต ธรรมจิต ปราชญ์ชาวบ้านจากป่าชุมชนบ้านหนองทราย จังหวัด กำ� แพงเพชร เล่าว่าลกู ใต้ใบใช้ประโยชน์ได้ทง้ั ต้น มรี สขมมาก พชื ชนดิ นหี้ าไม่ยาก แต่คนมกั ไม่ สนใจ ไม่รู้จักจึงท�ำลายท้ิง ซึ่งความจริงแล้วเป็นยารักษาโรคได้มากมาย แก้ปวดหลังปวดเอว บ�ำรุงร่างกาย แก้หวัด แก้เบาหวาน แก้ไข้ ก็ให้ใช้ลูกใต้ใบท้ังประมาณ 5 ต้น ล้างน้�ำสะอาด สับเปน็ ชนิ้ เล็ก ตากแดดให้แห้งใส่หม้อดินต้ม ด่ืมน�้ำกิน ส�ำหรบั สาวๆ ทเ่ี ป็นไข้ระหว่างมปี ระจำ� เดือน แนะน�ำให้น�ำต้นใต้ใบน้ีมามัดรวมแล้วต้มด่ืมน้�ำ หรือน�ำหญ้าใต้ใบล้างน�้ำให้สะอาด ต�ำละเอียดผสมสรุ า ค้ันเฉพาะนำ�้ ยา กนิ ครัง้ ละ 1 ช้อนชา แค่ 2 วัน ก็หายเป็นปรกตแิ ก้ประจำ� เดอื นมามากกว่าปรกติ ใหใ้ ชร้ ากสดตน้ ลกู ใตใ้ บตำ� ผสมกบั นำ�้ ซาวขา้ วกนิ เปน็ ยาขบั ประจำ� เดอื น ให้ใช้ต้นลูกใต้ใบต้มกินขับประจ�ำเดือน และเป็นยาแก้นมหลงคือหญิงท่ีคลอดบุตรแล้วน�้ำนมที่ เคยไหลหยุดไหล และมีอาการปวดเต้านมร่วมด้วย เรียกอาการน้วี ่า “นมหลง” ถ้าปล่อยไว้จะ กลายเป็นฝีท่ีนมได้ วิธีท�ำ เอาลูกใต้ใบท้ัง 5 จ�ำนวน 1 ก�ำมือ ต�ำผสมเหล้าขาว ค้ันเอาน�้ำกิน 1 ถ้วยชา เอากากพอก ท�ำเพียงคร้ังเดียว ไม่กี่นาที นมจะไหลออกมา แต่ข้อควรระวังคือ ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะลกู ใต้ใบเปน็ ยาขบั ประจ�ำเดอื น ๖๐ ภูมปิ ญั ญา สมุนไพรจากปา่ ชมุ ชน 41

สะคา้ น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper chantaranothaii Suwanph. & D. A. Simpson ชอ่ื วงศ ์ : PIPERACEAE ช่ืออน่ื : สะค้าน มังเหาเจ๊าะ (ม้ง) ตะค้านเลก็ ตะค้านหยวก (กะเหร่ยี งแดง) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้เถาเน้ือแข็ง ขนาดกลาง มีข้อปล้อง เน้ือไม้เป็นเส้นยาว หน้าตัดตามขวางมีลาย เป็นเส้นรัศมี เปลือกค่อนข้างอ่อน เน้ือไม้สีขาว ใบเดี่ยวรูปใบหอกกว้าง คลา้ ยใบพรกิ ไทยแตแ่ คบกวา่ ปลายใบแหลม ใบมสี เี ขยี วเขม้ ออกดอกเปน็ ชอ่ ยาวเลก็ สีครีมดอกย่อยอัดกันแน่น คล้ายดอก พริกไทยหรือดอกดีปลี ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสแี ดงคล�้ำ 42 ๖๐ ภูมปิ ัญญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน

บอกเลา่ เร่อื งสมุนไพรจาก “ปา่ ชมุ ชนบา้ นแมบ่ ง จังหวดั เชียงราย” ลุงกาน ฟุ่มฟองฟู และลุงสิทธ์ิ ช่างปัด ปราชญ์ชาวบ้านจากป่าชุมชนบ้านแม่บง จังหวัดเชียงราย เล่าว่าสะค้านในสมัยก่อนเวลาชาวบ้านเข้าป่า จะใช้มีดถากเปลือกสะค้าน แล้วขดู เน้อื ไม้มาต้มกนิ เพอื่ ขับเหงอ่ื ช่วยให้ร่างกายกระปร้กี ระเปร่า แก้ปวดเม่ือยตามร่างกาย ท�ำให้มีแรงที่จะเดินป่าได้ไกลๆ เครือ ล�ำต้น สับเป็นแว่นเล็กๆ ใช้เป็นส่วนประกอบในการ ปรุงอาหาร ช่วยเพ่ิมรสเผ็ดร้อน ดับกลิ่นคาว เช่น แกงแค แกงหน่อ แกงขนุน ใบและดอก ใช้กินกับอาหารเป็นเครื่องเคียง เช่น ใบสดกินกับลาบ ล�ำต้น น�ำมาสับเป็นช้ินๆ ตากแห้ง ผสมกบั สมนุ ไพรตวั อนื่ ๆ เชน่ นางพญาเสอื่ โครง่ ฮอ่ สะพานควาย มา้ กระทบื โรง ไมฝ้ าง เครอื กวาวแดง นมนาง ดงี ู บอระเพ็ด เป็นต้น นำ� ไปต้มดม่ื เช้าเย็น จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เป็นยาบ�ำรงุ ก�ำลัง บำ� รงุ ธาตไุ ฟ แก้อาการปวดเมอ่ื ย ๖๐ ภูมปิ ญั ญา สมุนไพรจากปา่ ชุมชน 43

กรวยป่า ช่ือวิทยาศาสตร์ : Casearia grewiifolia Vent. ชือ่ วงศ ์ : SALICACEAE ชอ่ื อนื่ : ค้อแลน (ชยั ภมู )ิ ก้วย (ภาคเหนอื ) ตานเส้ียน (พษิ ณุโลก) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 20 เมตร กง่ิ มขี นก�ำมะหย่ปี กคลมุ มขี นสนั้ นุ่มตามเส้น กลางใบ แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ใบเด่ียว เรียงสลับในระนาบเดียวกนั รูปขอบขนานหรือแกม รปู ไข่ ยาว 8 -16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรอื แหลมยาว ปลายมน โคนใบเบยี้ ว รูปลิ่ม หรอื มนด้านเดยี ว อีกด้านกว้างกลมหรือเกอื บตัด แผ่นใบหนา ขอบใบจกั ซ่ฟี นั ต้นื ๆ ดอกสีเขียวอ่อน ออกเดยี่ วๆ หรือเป็นกระจกุ หลายดอกตามซอกใบ ใบประดับมหี ลายใบ เกอื บกลม กลบี เล้ียง ส่วนมากมี 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมทโี่ คน กลบี รปู ไข่ ด้านนอกมขี น กลบี ยาว 2 -3 มิลลเิ มตร ไม่มีกลบี ดอก ผลแบบแคปซลู ทรงรี ยาว 2.5 -3.5 เซนตเิ มตร เนอ้ื หนา สกุ สเี หลอื ง แตกเป็น 3 ซกี เมล็ดมหี ลายเมลด็ มีเยื่อหุ้มสสี ้มอมแดง จกั เปน็ ครยุ 44 ๖๐ ภูมปิ ญั ญา สมนุ ไพรจากป่าชมุ ชน

บอกเลา่ เร่ืองสมนุ ไพรจาก “ป่าชุมชนบา้ นหนิ ลาด จังหวัดชยั ภมู ิ” ลุงสมาน แก้วอุบล หมอยาและปราชญ์ชาวบ้านจากป่าชุมชนบ้านหินลาด จังหวัด ชัยภูมิ เล่าว่า เดิมก่อนที่จะน�ำต้นค้อแลนหรอื ทคี่ นท่ัวไปรู้จกั กันในชอ่ื ต้นกรวยป่า มาใช้เป็นยา รกั ษาผปู้ ว่ ยโรคภมู คิ มุ้ กนั บกพรอ่ ง ปราชญช์ าวบา้ นคนกอ่ นไดน้ ำ� ใบมาหน่ั ฝอยตากแดด สบู แทน ยารักษาโรครดิ สีดวงจมูก เมอ่ื 10 ปีก่อน แต่ในปจั จบุ ันมกี ารน�ำแก่นค้อแลนมาใช้เป็นยารกั ษา ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยก่อนหน้านี้มีสมาชิกในหมู่บ้านเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องทั้ง สามแี ละภรรยา ผอมแหง้ จนไมส่ ามารถทำ� มาหากนิ ได้ ไปหาคณุ หมอกห็ มดทางรกั ษาเนอื่ งจาก ยงั ไม่มยี ารกั ษาโรคนโี้ ดยตรง หมอจากโรงพยาบาลชยั ภมู ิ จงึ ให้กลบั มาพกั ทบ่ี ้าน เมอื่ กลบั บ้าน ญาติพน่ี ้องท่รี ู้จกั ได้น�ำยามาจากจงั หวดั กำ� แพงเพชรมาให้บอกว่าเป็นยาผบี อก ซ่ึงมคี นกินแล้ว หาย จึงได้ต้มยากรอกปากให้กับผู้ป่วย กินยาต้มอยู่ 1 เดือน อาการดีข้ึน จึงได้น�ำตัวอย่างยา มาจากกำ� แพงเพชรใหห้ มอสมาน ดซู งึ่ รวู้ า่ เปน็ ตน้ คอ้ แลน จงึ พาผปู้ ว่ ยมาใหห้ มอสมานรกั ษาโดย ต้มแก่น ค้อแลน ให้ด่มื ผ่านไปได้ 5 -6 เดอื น ร่างกายเริม่ แข็งแรงกลบั คนื สภาพปกติ ปัจจบุ ัน ท�ำงานได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่มี ขอ้ แมเ้ รอื่ งอาหารคอื หา้ มรบั ประทาน อาหารดิบ อาหารทะเล งดเหล้าและ บหุ ร่ี และจากทีข่ ่าวที่สองสามีภรรยา สภาพร่างกายแข็งแรง ส่งผลให้ญาติ ผปู้ ว่ ยตา่ งจงั หวดั ไดม้ าขอแกน่ กรวยปา่ ไปต้มดมื่ อกี เป็นจ�ำนวนไม่น้อย ๖๐ ภูมิปญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชุมชน 45

ชิงช่ี ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ : Capparis micracantha DC. ชื่อวงศ ์ : CAPPARACEAE ชือ่ อืน่ : กระดาดขาว กระโรกใหญ่ (ภาคกลาง) ค้อนฆ้อง (สระบุร)ี หนวดแมวแดง (เชยี งใหม่) ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มหรอื ก่งึ เลื้อย ก่ิงก้านใบมสี เี ขียว ผิวเรยี บ เกลยี้ ง กงิ่ คดไปมา มหี นาม ตรงหรอื โคง้ เลก็ นอ้ ยใบเปน็ ใบเดยี่ วเรยี งสลบั รปู ขอบขนาน รปู รหี รอื รปู ไข่ ปลายใบ มนหรอื แหลม เนอ้ื ใบคอ่ นขา้ งหนามนั เกลย้ี ง หลงั ใบเปน็ มนั ท้องใบเรยี บดอก เดีย่ ว ออกเรยี งเป็นแถว 1-7 ดอก ตามซอกใบบรเิ วณปลายกง่ิ ออกเรยี ง อยู่เหนือง่ามใบ กลีบดอกรูปขอบขนาน หรือรูปหอก สีขาว ผล ผลสดค่อนข้างกลมหรือรี มี 4 ร่องตามยาว ผวิ เรียบกลม แขง็ เป็นมนั สเี ขียวน�้ำตาล เม่อื สกุ สเี หลือง หรอื แดง หรอื ด�ำ 46 ๖๐ ภูมิปญั ญา สมนุ ไพรจากปา่ ชมุ ชน

บอกเล่าเรื่องสมุนไพรจาก “ป่าชุมชนบ้าน หว้ ยไรบ่ ูรพา จงั หวดั อดุ รธาน”ี ลุงไสว พุทธมา ปราชญ์ชาวบ้านจากป่าชุมชน บ้านห้วยไร่บูรพา จังหวัดอุดรธานี เล่าว่าต้นชิงช่ีมี สรรพคุณหลายอย่าง รากของ ต้นชิงช่ี มีรสขมขื่น แก้โรคไข้ กระหายน้�ำ แก้ไข้พิษ ไข้ร้อนในทุกชนิด (กระทุ้งพิษไข้หรือถอนพิษต่างๆ) แก้โรคที่เกิดในท้อง โรคกระเพาะ รกั ษามะเรง็ ชว่ ยใหม้ ดลกู เขา้ อเู่ รว็ เปน็ ยา บ�ำรุงหลังคลอดบุตร แก้ไอเนื่องจากหลอดลมอักเสบ แก้หืด ทั้งต้นรสขื่นปร่า ต�ำพอกแก้ฟกช้�ำ บวม ขับน้�ำ เหลืองเสีย ใบรสเฝื่อนเมา เข้ายาอาบ แก้โรคผิวหนัง รักษาประดง น�ำไปต้มดื่มแก้โรคผิวหนัง แก้สันนิบาต ไข้ฝีกาฬ แก้ตะคริว เป็นยา ระงับความร้อน กระทุ้งพิษ ไข้ออกหัดอีสุกอีใส หรือจะ น� ำ ใ บ เ ผ า เ อ า ค วั น สู ด แ ก ้ หลอดลมอักเสบ ไข้พิษ ฝีกาฬ ไข้สันนิบาต แก้หืด แก้เจ็บในทรวงอก ต�ำพอก แกฟ้ กชำ�้ บวม ดอกรสขนื่ เมา แก้มะเร็ง ผลดิบรสข่ืนเมา แก้โรคในล�ำคอ แก้เจ็บคอ ลำ� คออกั เสบ ๖๐ ภูมิปัญญา สมนุ ไพรจากป่าชมุ ชน 47

ตูบหมูบ ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ : Kaempferia marginata Carey ex Roscoe ช่ือวงศ ์ : ZINGIBERACEAE ช่อื อ่นื : เปราะเถ่อื น (ชุมพร) เปราะป่า (ภาคกลาง) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พืชลงหวั ขนาดเล็ก ลำ� ต้นส้นั เหง้าคล้ายพวกข่า และรากเป็นกระจุก ลักษณะของเหง้า เป็นรปู ทรงกลม สีนำ้� ตาลทผ่ี ิวมรี อยข้อปล้องอย่างชดั เจน ออกรากจากเหง้าหลักเปน็ เส้นกลม ยาว เหง้ามกี ล่ินหอม รสร้อนเผ็ดและขมจัด ใบเป็นใบเดยี่ ว ใบอ่อนจะม้วนเป็นกระบอกตง้ั ขึ้น เม่ือแก่จะแผ่ราบบนหน้าดิน ไม่มีก้านใบ ในหนึ่งต้นจะมีใบเพียง 2 ใบ ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบ สีม่วงแดง ลักษณะของใบเป็นรูปทรงกลมหรือรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบรูปล่ิม หลังใบเรียบ ด้านล่างมีขน มีขนาดความกว้างประมาณ 8 -14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5 -11.5 เซนตเิ มตร จะมกี ารแตกใบและขน้ึ มาเหนอื ดนิ ในชว่ งฤดฝู น ผลรปู ไข่ สขี าว แตกเปน็ 3 พู ภายใน ผลมีเมล็ดลกั ษณะเปน็ รูปไข่มสี ีน้�ำตาล 48 ๖๐ ภูมิปญั ญา สมุนไพรจากปา่ ชุมชน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook