Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore มัลติมีเดีย

มัลติมีเดีย

Published by ros-ain_11, 2021-12-16 15:24:51

Description: มัลติมีเดีย

Search

Read the Text Version

การผลิตและการนำเสนอมัลติมีเดียเพื่ อการศึกษา มัลติมีเดีย

คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการผลิตและการนำเสนอ มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องมัลติมีเดียและได้ ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน นักศึกษา ที่กำลังหา ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อม รับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ โรซอัยณ์ มะเย็ง

มัลติมีเดีย \"มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือ สื่อหลายแบบ\" เป็น เทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ สามารถผสมผสานกัน ระหว่าง ข้อความ ข้อมูลตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และ เสียง ไว้ด้วยกัน ตลอดจน การนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ประโยชน์ของมัลติมีเดีย มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้ • เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว • นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย • สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง • สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์

องค์ประกอบของมัลติมีเดีย 1 ข้อความ ( Text ) ข้อความหรือตัวอักษร ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย ที่นำ เสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากจะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความ ต้องการแล้วยังสามารถกำหนดคุณลักษณะของปฎิสัมพันธ์ ( โต้ตอบ ) ในระหว่างการนำเสนอได้อีกด้วย 2 ภาพนิ่ง ( Image ) ภาพนิ่งเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็นต้น แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น 3 ภาพเคลื่อนไหว ( Animation ) ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดง ขั้นตอนหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล เป็นต้น เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม 4 เสียง ( Sound ) เสียง เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของ สัญญาดิจิตอล ซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้ โดยโช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงาน ด้านเสียงจะเกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สร้างความน่าสนใจ น่าติดตาม เสียงจึงมีองค์ประกอบที่จำเป็น สำหรับมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดี เทปเสียง และวิทยุ เป็นต้น 5 วีดีโอ ( Video ) เนื่องจากวีดีโอในระบบดิจิตอลจะสามารถนำเสนอข้อความ หรือรูปภาพ ( ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว ) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น ๆ ปัญหาหลักของการใช้ วีดีโอในระบบมัลติมีเดีย คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความทรงจำเป็นจำนวนมาก

ขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย จะเริ่มต้นด้วย - เกป้าารหกมำาหยนดห ัวเรื่อง - - วัตถุประสงค์ - กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ - การวิเคราะห์ (Analysis) - การออกแบบ (Design) - การพัฒนา (Development) - การสร้าง (Implementation) - การประเมินผล (Evaluation) - นำออกเผยแพร่ (Publication) ซึ่งการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย นี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ ซึ่ง หมายความว่าใครๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถจะสร้างสื่อมัลติมีเดียได้ ในที่นี้จะกำหนดขั้น ตอนการสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยละเอียด ทั้งหมด 7 ขั้นตอน เพื่อสะดวกกับผู้เริ่มต้นที่สนใจในการ สร้างสื่อมัลติมีเดีย

ขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย 1. ขั้นการเตรียม (Preparation) - กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives) ต้องทราบว่าศึกษาในเรื่องใดและ ลักษณะใด เราจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน เพราะความรู้พื้นฐานของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียน - รวบรวมข้อมูล (Collect Resources) หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้านของเอกสารสนเทศ (Information) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง - เนื้อหา (Meterials) ได้แก่ ตำรา หนังสือ เอกสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ภาพต่างๆ แบบสร้าง สถานการณ์จำลอง - การพัฒนาและออกแบบบทเรียน (Instructional Development) คือ หนังสือการออกแบบบทเรียน กระดาษ วาดสตอรี่บอร์ดสื่อสำหรับการทำกราฟิก โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น - สื่อในการนำเสนอบทเรียน (Instructional Development System) ได้แก่ การนำเอาคอมพิวเตอร์สื่อต่างๆ มาใช้งาน - เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content) เช่น การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การอ่านหนังสือหรือ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน ถ้าไม่มีการเรียนรู้เนื้อหาเสียก่อนก็ไม่สามารถออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภา - สร้างความคิด (Generate Ideas) คือ การระดมสมองนั่นเอง การระดมสมองหมายถึง การกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นจำนวนมาก

ขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย 2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction) ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะใด - ทอนความคิด (Elimination of Ideas) - วิเคราะห์งานและแนวความคิด (Task and Concept Analysis) - ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary Lesson Description) - ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design) 3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson) เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างของ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียน ตอบคำถามผิด หรือเมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน และการเขียนผังงานขึ้นอยู่กับประเภทของบทเรียน ด้วย 4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard) เป็นขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอ ข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษเพื่อให้การนำเสนอข้อความและ รูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป

ขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย 5. ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม (Program Lesson) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสตอรี่บอร์ด ให้กลายเป็น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ ต้องการสร้าง โปรแกรมเมอร์และงบประมาณ 6. ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials) เอกสารประกอบบท เรียนอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหา เทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน คู่มือจึง ไม่เหมือนกัน คู่มือการแก้ปัญหาก็จำเป็นหากการติดตั้งมีความสลับซับซ้อนมาก 7. ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise) บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมด ควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้นควรจะ ทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น ผู้ ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการ ประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้ ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้นผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรม ของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียน จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียน ในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้

วิธีสร้าง งานนำเสนอมัลติมีเดีย เบื้องต้น 1. การเตรียมการ สร้างวัตถุประสงค์และกำหนดเป้าหมาย ต้องทราบวจะสร้างสื่อในเรื่องใดมีลักษณะอย่างไร จากนั้นกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเผยแพร่ ในขั้นการเตรียมการนี้ยังมีรายละเอียดที่จะต้องทำเพิ่มเติมคือ รวบรวมข้อมูล หมายถึง การเตรียมข้อมูลต่างๆทางรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง 1.ขั้นตอนของการออกแบบ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทสื่อที่ออกมา ควรจะมีลักษณะหรือรูปแบบใด 2.ขั้นตอนการทำแผนงาน เป็นการนำเสนอเรียงลำดับขั้นตอนในการทำสื่อมัลติมีเดีย 3.ขั้นตอนการสร้างภาพจำลอง หรือ สตอรี่บอร์ด เป็นขั้นตอนของการนำเสนอเรื่องราวข้อความ ภาพ ตลอดจนรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษเพื่อให้การนำเสนอเรื่องราวโดยการจำลองมาไว้ใน แผ่นกระดาษเพื่อให้เห็นภาพโดยสังเขปว่างานที่ออกมาจะมีหน้าตาอย่างไร

วิธีสร้าง งานนำเสนอมัลติมีเดีย เบื้องต้น 1.ขั้นตอนกาปฏิบัติ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการนำเอาเรื่องราวจากสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นชิ้นงาน 2.ขั้นตอนการทดสอบประเมินผล เมื่อได้ทำการผลิตสื่อมัลติมีเดียออกมาแล้วในขั้นตอนนี้จะเป็นการ ทดสอบโดยการและประเมินผลหาข้อด้อยหรือข้อบกพร่องที่ควรแก้ไข เช่น ภาพหรือเสียงมีความ ชัดเจนหรือไม่ ข้อความหรือตัวอักษรหากมีผิดหรือคลาดเคลื่อน หรือมีเหตุอื่นใดที่ทำให้สื่อที่ออกมา ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ก็สามารถที่จะทำการแก้ไขในขั้นตอนนี้แล้วนำมาทดสอบอีกครั้ง จนกว่าจะไม่มีข้อผิดพลาดจึงค่อยนำสื่อมัลติมีเดียนั้นออกไปใช้งาน

วิธีสร้าง งานนำเสนอมัลติมีเดีย เบื้องต้น ทั้งนี้ในการสร้างหรือการออกแบบสื่อมัลติมีเดียสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงควบคู่กันไปในกับขั้นตอนใน การสร้างสื่อมัลติมีเดียก็คือ จะต้องเป็นสื่อที่มีความคิดสร้างสรรค์สมารถดึงดูดหรือโน้มน้าวให้ผู้ที่ดูเกิด ความสนใจทั้งทางด้านเนื้อหาและรูปแบบซึ่งตรงนี้ซึ่งภาพกราฟิกจะเป็นองค์ประกอบและตัวชี้วัดที่สำคัญ ในการที่จะสะท้อนความตั้งใจรวมทั้งคุณภาพในการผลิต หรือหากเกินข้อผิดพลาดแม้แต่เพียงนิดเดียวก็ อาจสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้เช่นกัน ในกรณีรูปเพียงรูปเดียวหรือข้อความตัวอักษรเพียงไม่ กี่ตัวก็ที่จะสามารถสื่อถึงความหมายที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่จำเป็นต้องใช้คำพู ดหรือ บทบรรยายใดอีก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้ก็คือการเลือกรูปแบบกราฟิกที่เหมาะสามารถสื่อความหมายที่ ต้องการสื่อสารได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็นอีกทั้งในการออกแบบควรมีแนวทางและเอกลักษณ์ที่เป็น ของตนเอง สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถศึกษาได้จากเทคนิคการออกแบบจากสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็น แนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองต่อไ

เทคนิคการใช้งานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด 1.ใช้ในด้านการศึกษา – การใช้มัลติมีเดียในด้านการศึกษาถือเป็นการนำองค์ประกอบทั้งหมดมาใช้เลยก็ ว่าได้ ตั้งแต่การสมัครเรียน ที่ต้องมีการกรอกข้อมูลด้วยตัวอักษร บางสถานศึกษามีรูปภาพร่วมด้วย การเรียนการสอนที่ต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้สื่อวิดีโอสอน ซึ่งก็มีทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง ช่วย ให้การเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงผู้ใช้รวดเร็วขึ้นสร้างความน่าสนใจ หรือจะใช้ตรวจข้อสอบปรนัยใช้ตัด เกรดสำหรับผู้สอนที่มีจำนวนผู้เรียนเยอะเกิดความสะดวกสบาย 2.ใช้ในด้านการแพทย์ – แน่นอนว่าหากนำมัลติมีเดียใช้ในด้านนี้ต้องเกิดประสิทธิภาพที่สุด นั่นคือ การนำมาใช้ในการตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ ส่องกล้อง การเก็บข้อมูลผู้ป่วย วิจัยเชื้อ ต่างๆ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องมีตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว เช่น การส่องกล้องในร่างกาย ผู้ป่วย การตรวจเชื้อในห้องแล็ปโรงพยาบาล แม้แต่อุปกรณ์ในห้องผู้ป่วย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่ต้อง ใช้คลื่นวิทยุ

เทคนิคการใช้งานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด 3.ใช้ในด้านธุรกิจ – การใช้มัลติมีเดียสร้างรายได้ สร้างอาชีพ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ อย่างธุรกิจสิ่งพิมพ์ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกล มัลติมีเดียจะช่วยให้คนสนใจในงานมากขึ้น เช่น E-Book, E-Magazine หรือธุรกิจทางด้านโฆษณา การตลาด ที่พอใช้มัลติมีเดียมีวิดีโอ มีเสียง แม้แต่ภาพเคลื่อนไหวตามตึก ต่างๆ ช่วยให้คนสนใจสินค้านั้นๆ ด้วยเช่นกัน หรืออย่างการนำเสนองาน เสนอสินค้า ก็สามารถใช้ มัลติมีเดียโดยการประชุมทางไกล เห็นกัน ได้ยินเสียงกัน 4.ใช้ในด้านความบันเทิง – นอกจากมัลติมีเดียจะช่วยในเรื่องวิชาการๆ ได้แล้ว ก็ยังช่วยให้เกิดความ บันเทิงได้ด้วย อย่าง การทำละครโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอเพลง เกมส์ต่างๆ แม้แต่การร้องเพลงผ่าน เครื่องมัลติมีเดียก็ย่อมได้ การที่เราสร้างโลกเสมือนจริง โดยการให้ผู้ใช้งานมีอุปกรณ์เสริมร่วมด้วย เช่น ใส่ถุงมือ และสวมแว่นตา แล้วสร้างสถานการณ์จำลอง ซึ่งการทำมัลติมีเดียในเรื่องเสมือนจริงนี้ จึงสำคัญมากที่จะทำให้ผู้ใช้งานเชื่อได้ว่าอยู่ในนั้นจริงๆ ซึ่งต้องรวม 5 องค์ประกอบเข้าด้วยกันอย่าง สูงสุด

มัลกตาิมรีคเดำียนึมกาถ ึปงรดะายุรกนตำ์ใช้ เป็นการนำ Multimedia มาประยุกต์ใช้งาน ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มทั้ง ประสิทธิภาพกับประสิทธิผล ดังนั้นผู้พัฒนาจึง จำเป็นต้องจัดรูปลักษณ์ให้มีความเหมาะสม รวมทั้งง่ายต่อการใช้งานตามจุดประสงค์ เพื่อ ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติงาน

สร้างเสริมปร ะสบการณ์ใน ด้านต่างๆ ด้วยการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ Multimedia ถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติ อันแตกต่างกัน ตามแต่ล่ะวิธีการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ งานจะได้รับอย่างแน่นอน ก็คือ ได้สั่งสม ประสบการณ์ในแง่มุมอันแตกต่างกัน โดยจะทำให้ผู้ ใช้งานเข้าถึงวิธีใช้งานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เช่น ผู้ใช้งานเคยศึกษาวิธีใช้ปุ่มต่างๆบน Key Board เพื่อเล่นเกมบนเครื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน ต่อมา เมื่อได้มาพบเกมออนไลน์ก็สามารถเล่นได้อย่าง สบายๆหรือใช้เวลาปรับตัวให้คุ้นชินเพียงไม่นานก็ เล่นได้

ประโยชน์มัลติมีเดีย แนวทางการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีหลาย รูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น สื่อ มัลติมีเดียที่ผลิตเป็นบทเรียนสำเร็จรูป (CD-ROMPackage) สำหรับกลุ่มผู้ใช้ ในแวดวงการศึกษาและฝึกอบรม สื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการ(Product and Services) สำหรับการโฆษณาในแวดวงธุรกิจ เป็นต้น นอกจากจะช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพในการดำเนินงานแล้วยังเป็นการ เพิ่มประสิทธิผลให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนอีกด้วย โดยสามารถแยกแยะ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานได้ดังนี้

ประโยชน์มัลติมีเดีย ง่ายต่อการใช้งาน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มผลผลิต ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำให้มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสม และ ง่ายต่อการใช้งานตามแต่กลุ่มเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติ งาน ตัวอย่างเช่น การใช้งานสื่อมัลติมีเดียโปรแกรมการบัญชี สัมผัสได้ถึงความรู้สึก สิ่งสำคัญของการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานก็คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ถึง ความรู้สึกจากการสัมผัสกับวัตถุที่ปรากฎอยู่บนจอภาพ ได้แก่ รูปภาพ ไอคอน ปุ่มและตัว อักษร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงตามความ ต้องการ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม Play เพื่อชมวิดีโอและฟังเสียงหรือแม้แต่ผู้ใช้คลิก เลือกที่รูปภาพหรือตัวอักษรเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ เป็นต้น

ประโยชน์มัลติมีเดีย สร้างเสริมประสบการณ์ การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านมัลติมีเดีย แม้ว่าจะมี คุณลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละวิธีการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้จะได้รับก็คือ การสั่งสม ประสบการณ์จากการใช้สื่อเหล่านี้ในแง่มุมที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงวิธีการ ใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ได้เคยเรียนรู้วิธีการใช้ปุ่มต่างๆ เพื่อ เล่นเกมส์บนคอมพิวเตอร์มาก่อน และเมื่อได้มาสัมผัสเกมส์ออนไลน์ใหม่ๆก็สามารถเล่น เกมส์ออนไลน์ได้อย่างไม่ติดขัด เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ สืบเนื่องจากระดับขีดความสามารถของผู้ใช้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้น อยู่กับระดับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการสั่งสมมา ดังนั้น การนำสื่อมัลติมีเดียมา ประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น การเล่น เกมส์คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการเล่นจากระดับที่ง่ายไปยัง ระดับที่ยากยิ่งๆ ขึ้นไป

ประโยชน์มัลติมีเดีย เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น ด้วยคุณลักษณะขององค์ประกอบของมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือตัว อักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวิดีโอ สามารถที่จะสื่อความหมายและเรื่องราว ต่างๆ ได้แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ กล่าวคือ หากเลือกใช้ภาพนิ่งหรือ ภาพเคลื่อนไหว การสื่อความหมายย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการเลือกใช้ข้อความ หรือตัวอักษร ในทำนองเดียวกัน หากเลือกใช้วิดีโอการสื่อความหมายย่อมจะดีกว่าเลือก ใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดังนั้น ในการผลิตสื่อ ผู้พัฒนาจำเป็นต้องพิจารณา คุณลักษณะให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตัวอย่างเช่น การผสมผสานองค์ประกอบ ของมัลติมีเดียเพื่อบรรยายบทเรียน คุ้มค่าในการลงทุน การใช้โปรแกรมด้านมัลติมีเดียจะช่วยลดระยะเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง การจัดหาวิทยากร การจัดหาสถานที่ การบริหารตารางเวลาและการเผยแพร่ช่องทาง เพื่อนำเสนอสื่อ เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ได้หักค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนไป แล้วก็จะส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนความคุ้มค่าในการลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม

ประโยชน์มัลติมีเดีย เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดียจำเป็นต้องถ่ายทอดจินตนาการจากสิ่งที่ยาก ให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจด้วยกรรมวิธีต่างๆ นอกจากจะช่วยอำนวยความ สะดวกในการทำงานแล้ว ผู้ใช้ยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลินในการเรียนรู้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้(User)ออกแบบและสร้างเว็บเพ็จ (Web Page) ด้วยโปรแกรม แม็คโครมีเดีย ดรีมวิเวอร์ (Macromedia Dreamweaver ) หรือผู้ใช้กำลังศึกษา สารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

สรุป ในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเรียนรูปแบบใด จะเริ่ม ต้นด้วยการกำหนดหัว หัวเรื่อง, เป้าหมาย, วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้า หมายผู้ใช้ จากนั้นก็ทำการ วิเคราะห์ (Analysis), ออกแบบ (Design), พัฒนา (Development), สร้าง (Implementation), ประเมินผล (Evaluation) และนำออกเผยแพร่ (Publication) ซึ่งการสร้างสื่อ มัลติมีเดีย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย นี้เป็นเรื่องที่ง่า ยมากๆ ซึ่งหมายความว่าใครๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถจะ สร้างสื่อมัลติมีเดียได้

เอกสารอ้างอิง https://www.srisangworn.go.th/modules.php? op=modload&name=News&file=article&sid=1119 https://sites.google.com/site/pumztenten/-multimedia https://sites.google.com/site/maltimideiycc/-xngkh-prakxb-khxng-sux-prasm-doy- thawpi-mi-ki-xngkh-prakxb-xari-bang https://www.dazzlersoft.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B 8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87- %E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A A%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95/ https://www.dazzlersoft.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B 8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0% B9%89- %E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5 %E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5/ https://sites.google.com/site/bolearn15/prayochn-khxng-maltimideiy

จบการนำเสนอ นางสาวโรซอัยณ์ มะเย็ง รหัสนักศึกษา 614179019 สาขา เทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์การศึกษา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook