Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย (USI) (15)

การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย (USI) (15)

Published by Wassana Wongsa, 2021-12-09 11:04:08

Description: การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย (USI) (15)

Search

Read the Text Version

การศึ กษาผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมราย จังหวัดลำปาง โครงการยกระดับเศรษฐกิจและ สังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T ด้วยกลไก อว.ส่วนหน้า (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง



ส่วนที่ 1 บทสรุ ปผู้บริหาร

ผลการดำเนิ นการโดยภาพรวม จังหวัดลำปางมีพื้นที่ดำเนิ นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการจำนวน 83 ตำบลและมีสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมทำงานในพื้นที่ จำนวน 6 สถาบันดังนี้ ผลการดำเนิ นการในระยะที่ 1 สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่ามหาวิทยาลัยฯ ประสบความสำเร็จในการดำเนิ นการตามวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ประการ กล่าวคือ 1) มหาวิทยาลัยได้ทำหน้ าที่เป็นหน่ วยงานบูรณาการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) สามารถจ้างงานได้จำนวน 1,494 คน แบ่งเป็นประชาชนทั่วไป 415 คน บัณฑิตจบ ใหม่ 664 คน และนั กศึกษา 415 คน 3) พัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชนทั้งสี่ด้าน (จะได้วิเคราะห์เพิ่มเติมใน ตอนต่อไป) และ 4) ได้จัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อเป็นข้อมูลในการ วิเคราะห์และตัดสิ นใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน

ตารางที่ 1 ตัวเลขแสดงศั กยภาพตำบลจำแนกตามโจทย์การพัฒนา บนพื้นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนที่เก็บรวมรวมโดยผู้รับจ้างทำงานประจำตำบลทั้ง 83 ตำบล ตามกรอบที่ อว. กำหนด สามารถสรุปได้ว่าระดับของปัญหาความยากจนยังมีความแตกต่างกันค่อนข้าง ชัดเจนเมื่อเทียบเกณฑ์ของ อว. ที่กำหนดไว้ 4 ระดับ คือ ตำบลที่ยังไม่สามารถอยู่รอด ตำบลที่อยู่รอด ตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง และตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ตัวเลขสถิติดังแสดงในตารางที่ 1 สามารถวิเคราะห์ และอธิบายได้ว่า จากโจทย์หลักการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความจนจำนวน 4 ประเด็น คือ 1.) การพัฒนา สัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ 2.) การสร้างและพัฒนา Creative Economy 3.) การนำองค์ความรู้ไปช่วย บริการชุมชน และ 4.) การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy มีสัดส่วนของตำบลที่มีศักยภาพ ในระดับที่ไม่สามารถอยู่รอดเฉลี่ยร้อยละ 44.2 ในขณะที่ตำบลที่มีศักยภาพในระดับยั่งยืนมีสัดส่วนร้อยละ 11.0 ที่เหลือเป็นสัดส่วนของตำบลที่สามารถอยู่รอดและอยู่ได้อย่างพอเพียง ประชาชนใน 39 ตำบลหรือ คิดเป็นร้อยละ 47.0 ของจำนวนตำบลที่รับผิดชอบทั้งหมด 83 ตำบลยังประสบกับปัญหาความยากจนและ ยังต้องดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพ ส่วนที่เหลือแม้จะสามารถอยู่รอดได้แต่ก็ยังขาดปัจจัยที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ เช่น ไม่สามารเข้าถึงสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ บริการด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษา เป็นต้น มี เพียง 9 ตำบลจาก 83 ตำบลที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุขและพอเพียง

ตารางที่ 2 ตัวเลขแสดงโจทย์การพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา ความยากจนรายตำบลและจำนวนกิจกรรม เมื่อแยกพิจารณาตามจำนวนกิจกรรมตามโจทย์หลักการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา ความยากจน ดังตัวเลขที่แสดงในตารางที่ 2 บ่งบอกให้ทราบว่าจากจำนวนกิจกรรม ทั้งหมด 641 กิจกรรมที่กระจายอยู่ในตำบลต่างๆ ทั้ง 83 ตำบล มีจำนวนกิจกรรมที่ไม่ สามารถอยู่รอดได้เป็นสัดส่วนร้อยละ 45.7 (293/641) มีกิจกรรมที่สามารถอยู่รอด อย่างยั่งยืนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.2 ที่เหลือเป็นสัดส่วนของกิจกรรมที่สามารถอยู่ รอดได้และพอเพียง

ส่วนที่ 2 ผลตามตัวชี้วัด TSI และ USI

พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดลำปาง จำนวน 83 ตำบล กลไกการดำเนินงาน U2T ภาพรวมการประเมินศั กยภาพตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภาคเอกชน, สวทช., ตัวแทนภาครัฐ ของหน่ วยงานในจังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน หน่ วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้ า จังหวัดลำปาง คณะ และหน่ วยงานภายในมหาวิทยาลัย (ผู้จัดการตำบล, กองนโยบายและแผน, งานคลัง, งานพัสดุ, กพน., สำนั กงานวัฒนธรรมฯ, ฯลฯ) การแต่งตั้งผู้จัดการตำบล, คณะทำงานในระดับตำบล, และผู้จ้างงานในระดับตำบล มีการประสานงานร่วมกับ ภาพรวมกลุ่ม/ลักษณะ กิจกรรมแบ่งตามศั กยภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์การปกครองส่วนท้องที่ (เทศบาล, อบต. เป็นต้น) (กำนั น, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำชุมชน เป็นต้น) โครงสร้างการดำเนิ นงาน กำหนดให้หน่ วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้ า เป็นหน่ วยงานหลักในการ ประสานงาน,การดำเนิ นกิจกรรม, การให้ข้อมูลโครงการต่างๆ ร่วมกับหน่ วย งานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย สรุ ปองค์ความรู้/ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จังหวัดลำปาง องค์ความรู้ นวัตกรรม/เทคโนโลยี กระบวนการ เครื่องมือ 37.35% 30.71% 45.65% 16.6% ประเมินศั กยภาพกลุ่มตำบล ผลลัพธ์เชิงสั งคม ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ ตามเป้าหมาย 16 ประการ 1. การพัฒนาสัมมาชีพ การรวมกลุ่ม การพัฒนาสั มมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ USI 06 วิสาหกิจ กลุ่มเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น การสร้างและพัฒนา Creative Economy การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน 2. ชุมชนมีการบริหารจัดการพื้นที่และ การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy ตำบลยากลำบาก ตำบลที่มุ่งสู่ ความพอเพียง การใช้ทรัพยากรในพื้นที่ได้อย่างมี อื่นๆ ตำบลที่มุ่งสู่ ความยั่งยืน ประสิ ทธิภาพมากขึ้น 3. ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานเพื่อออกไป หางานทำลดลง 4. ชุมชนมีการร่วมมือกันเป็นอย่างดี ส่ง เสริมให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและ ปลอดภัย 5. สังคม/ชุมชน เกิดการตระหนั กการ ป้องกันและเฝ้าระวังสถานการณ์ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรน่ า 2019

ตัวชี้วัดภาพรวม ตำบล TSI



ตัวชี้วัดภาพรวม มหาวิทยาลัย USI การประเมินศั กยภาพตำบล ตาม USI 06

ความเชื่อมโยงตัวชี้วัด TSI, USI และ RSI

ครัวเรือนยากจน (จปฐ) คนที่ได้รับการสำรวจ (จปฐ)

ความสั มพันธ์ด้านองค์ความรู้/ เทคโนโลยี/นวัตกรรมกับโจทย์ การพัฒนาตำบล

ส่วนที่ 3 ผลจาก SROI ราย จังหวัด



ส่วนที่ 4 ข้อมูลจากระบบ Community Big Data

ข้อมูลรายพื้นที่จังหวัดลำปาง จำนวน 83 ตำบล จากระบบ Community Big Data Microsoft Power BI

ส่วนที่ 5 บทวิเคราะห์เพื่อเสนอ จังหวัด

บทวิเคราะห์เพื่อเสนอจังหวัด จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 83 ตำบล ในพื้นที่จังหวัดลำปางลำปาง โดย อว.ส่วนหน้ าจังหวัดลำปาง พบว่า ประชาชนประกอบอาชีพหลัก ด้านเกษตรกรและรับจ้าง ทั่วไป อาชีพรอง ได้แก่ ทำสวน ทำไร่ ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมในตัวเมือง ธุรกิจใหม่ • ออกแบบบรรจุภัณฑ์ • จัดตั้งกลุ่มจำหน่ ายลูกประคบเซรามิก • น้ำพริกลาบสูตรมะแขว่น สามารถขยายผลเป็นสินค้า OTOP ในอนาคต • พัฒนาธุรกิจดั้งเดิม กลุ่มสัมมาอาชีพบ้านจู้ด น้ำพริกลาบ สินค้าเด่น ประกอบด้วยกัน 5 ประเภท ดังนี้ 1. อาหาร/ขนม ได้แก่ ข้าวแต๋น น้ำพริกลาบ ข้าวเกรียบรสลาบ ไส้อั่ว ทาร์ตสับปะรด กล้วยทอด ไส้สับปะรด กล้วยตาก ขนมไทย ผลิตภัณฑ์บราวนี่ จากจิ้งโกร่ง น้ำข้าวกล้องงอก ขนมครก น้ำข้าวกล้อง งอก ข้าวหอมมะลิแดง ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงถั่วกรอบแก้ว ผักปลอดภัย อาหารปลอดภัย เนยถั่ว ถั่วคั่ว เนย หล่อไม้ในน้ำเกลือ เนื้ อสวรรค์ เห็ดสามรส มะม่วงแช่อิ่ม พริกแกงกึ่งสำเร็จรูป(แกงแค,แกง ขนุน,ฯลฯ) มหาวิทยาลัยสามารถให้การสนั บสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้ • การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ • ให้ความรู้เรื่อง IT เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ ายสินค้า และเชื่อมโยงเครือข่ายสิ นค้า • ประสานหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์

2. หัตถกรรม ได้แก่ ทอผ้าย้อมสีธรรมดา ผ้ามัดย้อมอิฐและกระถางจากของเหลือใช้ เซรามิคปั้ นมือ ไม้กวาดดอกหญ้า/ไม้ถูพื้น ต้นเงิน/ทอง การผลิตเส้นใยสัปปะรด หน้ ากากอนามัย กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่ โทรศัพท์ เพื่อผลิตชิ้นงานจากเซรามิค ผ้าทอ มหาวิทยาลัย สามารถให้การสนั บสนุนในเรื่อง ดังต่อไปนี้ - การออกแบบและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ - ให้ความรู้เรื่อง IT การสร้างเว็บไซท์ของกลุ่ม เพื่อเน้ นช่องทางในการจำหน่ ายสินค้าและเชื่อม โยงเครือข่ายสิ นค้า 3. ผลิตภัณฑ์ของใช้ สบู่บำรุงผิวจากเห็ดเยื่อไผ่และเห็ดนมเสือ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ถ่านจากข้อไผ่ แชมพูสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากขยะ เช่น ตะกร้า ธูป ผ้ากันเปื้ อน ไม้เลื่อนเงิน ผลิตภัณฑ์จากปูนา ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ กล้าไม้สัก มหาวิทยาลัย สามารถให้การสนั บสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้ - การออกแบบและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ - ให้ความรู้ IT การสร้างเว็บไซต์ของกลุ่มเพื่อเน้ นช่องทางในการจำหน่ ายสินค้าและเชื่อมโยงเครือ ข่ายสิ นค้า

4.การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาดุกในกระชัง ปุ๋ยไส้เดือน มหาวิทยาลัย สามารถให้การสนั บสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้ - การให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยง และการคัดเลือกสายพันธุ์และการบำรุงสายพันธุ์ - ให้ความรู้เรื่อง IT การสร้างเว็บไซต์ของกลุ่มเพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ ายสินค้า และเชื่อมโยง เครือข่ายสิ นค้า 5.การท่องเที่ยว ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3 มิติ สุขกาย สุขใจ สุขภาพดี การท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ปางช้าง ต.ทุ่งผึ้ง การท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีชีวิตชน เผ่าอี้วเมี่ยน มหาลัยสามารถให้การสนั บสนุนดังเรื่องต่อไปนี้ - ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวการสร้าง จุดเด่น จุดขาย - ให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศก์เพื่อนำนั กท่องเที่ยว ชมแหล่งท่องเที่ยว - การให้ความรู้เกี่ยวกับ IT เพื่อสร้างเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว เชิญชวนผู้สนใจเยี่ยมชม แหล่งท่องเที่ยว - จัดทำแพ็คเกจการท่องเที่ยว - การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวกับสินค้าในชุมชน

การพัฒนาสั งคม ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง จัดให้มีการส่งเสริมและสนั บสนุน ประชาชนในพื้นที่ 83 ตำบล โดยในด้านของการป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งมีการดำเนิ นการดังนี้ 1.ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนรับการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ให้ ความรู้การป้องกันเบื้องต้นในตนเอง การใส่หน้ ากากอนามัย การรับ ประทานอาหารร่วมกัน การใช้ชีวิตภายในครอบครัว ปฏิบัติตนตามวิถีชีวิต ใหม่ (New normal) เว้นระยะห่างเป็นต้น 2.กระตุ้นให้ผู้ใหญ่บ้านร่วมกับ อสม. ควบคุมดูแลการเข้า-ออก/ของ คน ในหมู่บ้าน/ชุมชน รวมทั้งควบคุมดูแลการเข้า-ออกของคนนอกชุมชน 3.ให้ข้อมูลข่าวสาร การเคลื่อนไหวของข้อมูลโรคระบาดและการ ปฏิบัติตนในครอบครัวและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 4.การใส่ใจดูแลคนในครอบครัวและชุมชน ในภาวะโรคระบาด นอกจากช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ย่อมมีส่วนช่วยป้องกันและแก้ไข ปัญหาการแพร่ระบาด/ยับยั้งการใช้ยาเสพติดของเยาวชนในหมู่บ้าน/ชุมชน อีกทางหนึ่ งด้วย - การแก้ไขปัญหา หากพบว่าคนในหมู่บ้าน/ชุมชนติดเชื้อ Covid-19 ประสานความร่วมมือหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนั บสนุนช่วยเหลือ พร้อม ให้คำแนะนำช่วยเหลือแก้ปัญหาตามกระบวนการและขั้นตอนของการรักษา โรค

ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่ การออกแบบบริการวิชาการที่ สอดคล้องกับความจำเป็นของตำบล

ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่ การออกแบบบริการวิชาการที่ สอดคล้องกับความจำเป็นของตำบล (ต่อ)

บทสรุ ป การแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดอ่อน มิใช่เพียงรู้ เหตุผลพื้นฐานแล้วแก้ได้ในทันที เช่น รู้ว่าชาวบ้านยากจนเพราะไม่มีเงิน ก็แจกเงิน หรือรู้ว่าชาวบ้าน ไม่มีที่ทำกินก็แจกโฉนดที่ดิน การทำเช่นที่ว่าไม่ใช่การขจัดปัญหาแต่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ าซึ่ง ไม่มีความยั่งยืน จนแล้วแจกเงินเมื่อเงินหมดก็จนใหม่แล้วก็แจกใหม่ จนเพราะไม่มีที่ดินทำกินแล้ว แจกโฉนดที่ดิน ชาวบ้านมีที่ดินแล้ว ถามว่ามีทักษะความสามารถในการใช้ที่ดินนั้ นให้เกิดประโยชน์ ได้หรือไม่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยตรัสไว้ว่า “เขาอยากกินปลา อย่าเอาปลาให้เขา แต่ให้เอาเครื่องมือ หาปลาให้พร้อมสอนให้เขามีทักษะในการจับปลา” หลักปรัชญานี้ สามารถถ้าสามารถนำไปประยุกต์ จะแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน การแก้ปัญหาใดๆ ให้ประสบความสำเร็จ ต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมิใช่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กรณีของปัญหาความยากจนก็เช่นเดียวกัน ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อนว่าที่เขาจน จนเพราะอะไร จน ที่ตัวเงิน (monetary poverty ) หรือจนที่ตัวคน (human poverty) จากนั้ นก็พินิ จพิเคราะห์ให้ลึกซึ้ง ในปัจจัยรอบด้านทั้งภูมิกายภาพและภูมิสั งคมที่ทำให้เขายากจน แล้วจึงค่อยหาแนวทางในการ แก้ไข กล่าวให้ชัดเจนคือ ต้องแก้ไขปัญหาความยากจนโดยประยุกต์หลักการทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” การดำเนิ นโครงการ U2T ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางที่ผ่านมาได้ทำความเข้าใจและเข้าถึง ปัญหาความยากจนของชาวบ้านแล้วอย่างน้ อย 83 ตำบล พันธกิจที่ต้องดำเนิ นการต่อไป คือ จะ พัฒนาเขาอย่างไรเพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจน มหาวิทยาลัยฯ มีศักยภาพและความพร้อมในการ ช่วยเหลือสนั บสนุนการดำเนิ นการดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของบุคลากร องค์ความรู้ เทคนิ คและวิธีการ อาจขาดอยู่บ้างในส่วนของปัจจัยด้านงบประมาณ เสนอแนะว่าการประสานความ ร่วมมือกับองค์กรและ/หรือหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัลำปาง อบจ.ลำปาง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ เป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะจะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ (win/win situation) ประเด็นสุดท้ายที่ขอฝากเป็นแนวทางการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นการ ต่อยอดจากการดำเนิ นโครงการที่ผ่านมาเพื่อให้เป้าหมายสูงสุดของโครงการบรรลุผลตามที่ตั้งไว้ คือ มหาวิทยาลัยฯ ต้องดำเนิ นการอย่างไรก็ได้ที่จะทำให้กิจกรรม/ตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ ให้ อยู่ในสถานภาพที่สามารถอยู่รอดได้ และจะดำเนิ นการอย่างไร ให้กิจกรรม/ตำบลที่สามารถ อยู่รอดแล้วหรือเพียงพอแล้ว สามารถอยู่รอดและเพียงพออย่างยั่งยืน

ข้อเสนอแนะสถานการณ์การสำรวจการเฝ้ าระวังและป้ องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เชิงนโยบาย ระดับจังหวัด จำนวนพื้นที่ตามแนวปฏิบัติของจังหวัดลำปาง 12 อำเภอ 83 ตำบล การดูแลพื้นที่/ปรับปรุ งสถานที่ให้มีความปลอดภัยและ การประเมินตนเอง/ดูแลสุขภาพ/ความเป็น ถูกสุขลักษณะสำหรับตลาด อยู่ด้านที่พักอาศั ย - กำหนดให้มีทางเข้า-ออก ที่ชัดเจน และมีการคัดกรองพนั กงาน - เป็นกลุ่มเสี่ยง/กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือไม่ - ผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ ากากผ้าหรือหน้ ากากอนามัยตลอดเวลา - มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัย - การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล แผงค้า โต๊ะและที่นั่ งรับประทาน อยู่ร่วมกัน อาหาร - จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ หากมีอาการน่ าสงสัยให้รีบพบแพทย์ - ให้มีการทำความสะอาด บริเวณพื้นตลาด การทำความสะอาด - ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน ห้องน้ำ ห้องส้วมที่ให้บริการในตลาด - เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน - มีภาชนะรองรับขยะที่มีฝาปิดไว้ภายในบริเวณตลาด จัดสภาพ ให้ล้างมือ แวดล้อมในตลาด - มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติด ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที เชื้อโควิดตามช่องทางต่าง ๆ - การออกนอกเคหะสถานต้องมีการสวมหน้ ากา อนามัยทุกครั้ง   การปฏิบัติตน/การจัดกิจกรรมทางศาสนา การปฏิบัติตน/มาตรการการป้องกัน/รองรับสถานการณ์โควิด 19 - ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต้องสวมหน้ ากากผ้าหรือ ในสถานศึ กษา หน้ ากากอนามัยตลอดเวลา - มีการคัดกรอง ผู้นำทางศาสนา ผู้ประกอบ - การคัดกรองวัดไข้ ให้กับนั กเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคนก่อนเข้า พิธีกรรมทางศาสนา/ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้เข้าร่วม สถานศึกษา ประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา - กำหนดให้นั กเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้ ากาก - จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่และน้ำ หรือเจล ผ้าหรือหน้ ากากอนามัย แอลกอฮอล์ - มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือบริเวณทางเข้า - มีมาตรการหรือกำหนดสัญลักษณ์เพื่อให้มีการ อาคารเรียน หน้ าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้ อย 1 เมตร - มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นั กเรียน ที่นั่ งในโรงอาหาร ที่นั่ งพัก โดยจัดเว้นระยะ - มีการทำความสะอาดพื้นผิว ดให้มีการระบาย ห่างระหว่างกัน อย่างน้ อย 1-2 เมตร (ยึดหลัก social distancing) อากาศในอาคารอย่างเหมาะสม - มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อ สุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้าง มือที่ถูกต้อง การสวมหน้ ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น - มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website Facebook Line QR Code และ E-nail - มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการ เรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด 19 - มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นั กเรียน ครู บุคลากร และผู้ปกครอง โดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่างๆ อย่างน้ อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวัน แรกของการเปิดเรียน - มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการเผยแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และ กำหนดบทบาทหน้ าที่อย่างชัดเจน

ส่วนที่ 6 VDO เรื่องเล่าความ สำเร็จจังหวัดลำปาง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook