Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สื่อการสอนงานเชื่อมโลหะเบื้องต้น นายสมพร ทวนไกรพล

สื่อการสอนงานเชื่อมโลหะเบื้องต้น นายสมพร ทวนไกรพล

Published by mentos3310, 2021-12-04 18:18:09

Description: สื่อการสอนงานเชื่อมโลหะเบื้องต้น นายสมพร ทวนไกรพล

Search

Read the Text Version

งานเชื่อมโลหะเบื้องต้นงานช่างมัธยมศึกษาตอนปลาย งานช่างเชื่อมพื้นฐานการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ นายสมพร ทวนไกรพล ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนาเฉลียงพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์

องค์ประกอบในการเชื่ อมด้วยลวดเชื่ อมหุ้มฟลักซ์ การเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน (Correct Electrode) ก ร ะ บ ว น ก า ร เ ชื่ อ ม ไ ฟ ฟ้ า ด้ ว ย ล ว ด เ ชื่ อ ม หุ้ ม ฟ ลั ก ซ์

องค์ประกอบในการเชื่ อมด้วยลวดเชื่ อมหุ้มฟลักซ์ การเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน (Correct Electrode) ก ร ะ บ ว น ก า ร เ ชื่ อ ม ไ ฟ ฟ้ า ด้ ว ย ล ว ด เ ชื่ อ ม หุ้ ม ฟ ลั ก ซ์

การใช้ระยะอาร์กที่ถูกต้อง ระยะอาร์ก (Correct Arc Length) หมายถึง ระยะห่างระหว่างปลายลวดเชื่อมถึงผิวหน้ า ของชิ้นงานซึ่งระยะอาร์กจะขึ้นอยู่กับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเชื่อม เช่น ถ้าใช้ลวดเชื่อมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.6มิลลิเมตร ระยะอาร์กจะเท่ากับ 2.6 มิลลิเมตร โดยประมาณ ระยะอาร์กจะมีผลต่อคุณภาพของรอยเชื่อม 1. ระยะอาร์กสูงเกินไป ระยะอาร์กสูงเกินไปมีผลทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นกับรอยเชื่อมจะแผ่กระจายไปบนผิวหน้ า ชิ้นงานมากและแก๊สที่ปกคลุมรอยเชื่อมอาจจะไม่เพียงพอ รอยเชื่อมจะมีลักษณะกว้างแบนราบ รอยเชื่อมไม่สม่ำเสมอ เม็ดโลหะกระเด็นมาก การอาร์กรุนแรง ความแข็งแรงของรอยเชื่อมน้ อยลง และการควบคุมรอยเชื่อมทำได้ยาก

2 ระยะอาร์กสั้นเกินไป ระยะอาร์กสั้นเกินไปจะทำให้ความร้อนจากการอาร์กน้ อยเกินไปรอยเชื่อมจะมีลักษณะ แคบนูนสูง การหลอมละลายน้ อยการอาร์กไม่สม่ำเสมอ การหลอมละลายของขึ้นงาน มีน้ อย ความรอยเชื่อมน้ อยลง และปลายลวดเชื่อมอาจติดกับชิ้นงานได้ง่าย 3 ระยะอาร์กที่ถูกต้อง ระยะอาร์กที่ถูกต้องมีผลทำให้การรวมตัวของอากาศภายนอกกับโลหะหลอมละลายใด้ ยากมีการอาร์กที่สม่ำเสมอ เกิดเม็ดโลหะน้ อย รอยเชื่อมมีขนาดกว้างและนูนเหมาะสม รอยเชื่อมมีความเข็งสูง

การปรับกระแสไฟ ที่เหมาะสมกับงาน วิธีการปรับกระแสไฟที่เหมาะสมกับงาน เนื่องจากชิ้นงานที่จะหลอมละลายมากหรือน้ อย นั้นขึ้นอยู่กับการปรับกระแสไฟ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 1. ชนิดของกระแสไฟ ชนิดของกระแสไฟขึ้นอยู่กับชนิดของลวดเชื่อมที่ใช้ว่ากำหนดให้ใช้กระแสไฟชนิดใดถ้าใช้ผิด ประเภทคุณภาพรอยเชื่อมจะไม่ดีเท่าที่ควรเช่น E6010 ให้ใช้ กระแสไฟ DCEP E6011 ให้ใช้ กระแสไฟ ACและ DCEP และ E6013 ให้ใช้ กระแสไฟ AC or DCEP or DCEN เป็นต้น 2. ปริมาณกระแสไฟ ปริมาณกระแสไฟขึ้นอยู่กับขนาดความหนาของชิ้นงานและขนาดของลวดเชื่อมถ้าปรับ กระแสไฟสูงเกินไปบ่อหลอมละลายจะกว้างและควบคุมยาก ถ้าปรับกระแสไฟต่ำเกินไปขึ้นงาน จะไม่หลอมละลาย ผลจากการตั้งกระแสไฟในปริมาณที่แตกต่างกัน แบ่งออกได้ 3 ชนิด 1. การปรับกระแสไฟเชื่อมต่ำ มีผลดังนี้คือ 1.เริ่มต้นอาร์กยาก 2. รอยเชื่อมนูนมาก 3. เชื่อมได้ช้า 4.การอาร์คไม่สม่ำเสมอ 5.ชิ้นงานมีความร้อนต่ำทำให้การหลอมละลายของชิ้นงานไม่ดี ลักษณะชิ้นงานที่มีการปรับกระแสไฟเชื่อมต่ำ

การปรับกระแสไฟที่เหมาะสมกับงาน 2. การปรับกระแสไฟเชื่อมสูง มีผลดังนี้คือ 1.เริ่มต้นอาร์กง่าย 2. การอาร์กรุนแรง 3. มีอัตราการสิ้นเปลืองลวดเชื่อมมาก 4. ลวดเชื่อมมีความร้อนสูงมาก 5. มีเสียงดังและเม็ดโลหะมาก 6. รอยเชื่อมแบน ลักษณะชิ้นงานที่มีการปรับกระแสไฟเชื่อมสูง 3. การปรับกระแสไฟเชื่อมที่ถูกต้อง มีผลดังนี้คือ 1.อาร์กง่าย และเสียงอาร์กสม่ำเสมอ 2.เกิดเม็ดโลหะน้ อย 3.รอยเชื่อมสม่ำเสมอ ไม่กว้างหรือนูนเกินไป ลักษณะชิ้นงานที่มีการปรับกระแสไฟเชื่อมที่ถูกต้อง งานเชื่อมโลหะเบื้องต้น

การควบคุมความเร็วในการเดินรวดเชื่อม ความเร็วในการเดินลวดเชื่อมที่ถูกต้อง (Correct Travel Speed) ซึ่งการควบคุมความเร็วต้องสัมพั นธ์กับกระแสไฟฟ้าและขนาดความหนา ของชิ้นงานด้วย ถ้าปรับกระแสไฟฟ้าสูงความเร็วในการเดินลวดเชื่อมช้า รอยเชื่อมจะกว้างเกิดการหลอมละลายมาก ถ้าเคลื่อนลวดเชื่อมเร็วจะได้ รอยเชื่อมเล็กลง ถ้าปรับกระแสไฟฟ้าต่ำเคลื่อนลวดเชื่อมข้าจะทำให้รอย เชื่อมเล็กนูนเกินไป การที่จะเคลื่อนที่ลวดเชื่อมช้าหรือเร็วต้องดูความ ต้องการว่าต้องการรอยเชื่อมแบบไหน และต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะและ ค ว า ม ชำ น า ญ ลักษณะรอยเชื่อมที่เกิดจากการเคลื่อนลวดเชื่อมแบบต่างๆ จากรูป รูป (ก) เป็นการเชื่อมที่มีการเคลื่อนลวดเชื่อมช้าเกินไป รูป (ข) เป็นการเชื่อมที่มีการเคลื่อนลวดเชื่อมเร็วเกินไป รูป (ค) เป็นการเชื่อมที่มีการเคลื่อนลวดเชื่อมและการตั้งค่ากระแสไฟเหมาะสม การเชื่อมโลหะพื้ นฐาน

ก า ร ตั้ ง มุ ม ข อ ง ล ว ด เ ชื่ อ ม การตั้งมุมของลวดเชื่อมที่ถูกต้อง (Corect Angle of Electrode) จะมีผลทำให้การควบคุมรอยเชื่ อมให้เป็ นไปตามความต้องการและรอยเชื่ อมมี คุณภาพ มุมของลวดเชื่อมจะประกอบไปด้วยมุมนำ (Lead-Angle) และมุมด้านข้าง (Side Angle) มีลักษณะดังนี้ 1. มุมนำ (Lead Angle) มุมนำ ซึ่งหมายถึงมุมเอียงของลวดเชื่อมจากแนวระดับ 90 องศา ถ้าถนัดมือขวา ให้เอียงไปทางขวา ถ้าถนัดมือซ้ายให้เอียงไปทางซ้ายโดยเอียงทำมุมประมาณ 10-15 องศา หรือมุมที่ลวดเชื่อมทำกับขึ้นงาน 75-80 องศา ลักษณะของมุมนำ 2. มุมด้านข้าง (Side Angle) มุมด้านข้างของลวดเชื่อมสำหรับงานเชื่อมท่าราบ โดยทั่วไปจะเป็น 90 องศา โดยวัดเข้าหาตัวผู้เชื่อมและออกนอกตัวของผู้เชื่อม แต่ถ้าเป็นการเชื่อมที่ขนานนอน รอยต่อตัวทีมุมลวดเชื่อมด้านข้างจะทำมุม 45 องศา ลักษณะของมุมด้านข้าง ง า น เ ชื่ อ ม โ ล ห ะ เ บื้ อ ง ต้ น

ส รุ ป ส า ร ะ สำ คั ญ องค์ประกอบในการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ จะมีความสำคัญต่อ งานเชื่อม ผู้ที่ปฏิบัติงานเชื่อมไพฟ้าจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อนำไป พิจารณาประกอบการฝึกเชื่อม เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีและสมบูรณ์นั้น จะต้องมีการควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆให้ถูกต้อง 5 อย่าง ดังนี้ 1. การเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน 2. การใช้ระยะอาร์กที่ถูกต้อง 3. การปรับกระแสไฟที่เหมาะสมกับงาน แบ่งออกได้ 3 ชนิด คือ 1.การปรับกระแสไฟเชื่อมต่ำ 2. การปรับกระแสไฟเชื่อมสูง 3. การปรับกระแสไฟเชื่อมที่ถูกต้อง 4. การควบคุมความเร็วในการเดินลวดเชื่อมที่ถูกต้อง 5. การตั้งมุมลวดของลวดเชื่อมที่ถูกต้อง มีลักษณะดังนี้ 1. มุมนำ หมายถึง มุมเอียงของลวดเชื่อมจากแนวระดับ 90 องศา ถ้าถนัด มือขวาให้เอียงไปทางขวา ถ้าถนัดมือซ้ายให้เอียงไปทางซ้ายโดยเอียงทำมุม ประมาณ 10-15 องศา หรือมุมที่ลวดเชื่อมทำกับขึ้นงาน 75-80 องศา 2.มุมด้านข้าง หมายถึง มุมด้านข้างของลวดเชื่อมสำหรับงานเชื่อมท่าราบ โดยทั่วไปจะเป็น90 องศา โดยวัดเข้าหาตัวผู้เชื่อมและออกนอกตัวของผู้เชื่อม แต่ถ้าเป็นการเชื่อมท่ขนานนอนรอยต่อตัวทีมุมลวดเชื่อมด้านข้างทำมุม 45 องศา

แบบฝึกหัด การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ 1.จงบอกองค์ประกอบในการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์มีกี่อย่าง อะไรบ้าง .............................................................................................................. .............................................................................................................. 2.จงบอกหลักการเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน มา 5 ข้อ .............................................................................................................. .............................................................................................................. 3.จงบอกความหมายของระยะอาร์ก .............................................................................................................. .............................................................................................................. 4.จงบอกองค์ประกอบในการปรับกระแสไฟที่เหมาะสมกับงาน .............................................................................................................. .............................................................................................................. 5.จงบอกวิธีการควมคุมความเร็วในการเดินลวดเชื่อมที่ถูกต้อง .............................................................................................................. .............................................................................................................. 6.จงบอกวิธีการตั้งมุมของลวดเชื่อมที่ถูกต้อง .............................................................................................................. ..............................................................................................................

งานเชื่อมโลหะเบื้องต้น นายสมพร ทวนไกรพล ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนนาเฉลียงพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook