Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

Published by na_vaf, 2021-11-13 14:47:09

Description: นางสาวฟาตีมะห์ อาแวบือซา
6206510064

Search

Read the Text Version

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

คำนำ หนังสือE-Bookเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียน การสอนใน รายวิชาภาษาไทย ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพื่อให้นักเรียนได้ความรู้ ความ เข้าใจในเนื้ อหามากยิ่งขึ้น ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสื อเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียน และผู้สนใจ ไม่มากก็น้อย ผู้จัดทำ นางสาวฟาตีมะห์ อาแวบือซา

เรื่อง สารบัญ หน้า คำนำ ๑ สารบัญ ๑๓ แนะนำตัวละคร ๑๔ ผู้แต่ง ๑๘ ที่มาของเรื่อง ๔๔ เรื่องย่อ ข้อคิด



๒ นางพิมพิลาไลย (วันทอง) “ทรวดทรงส่ งศรีไม่มีแม้น อรชนอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา ผมสลวมสวยขำดำเป็นเงา ให้ชื่ อว่าเจ้าพิมพิลาไลย”

๓ “นางพิมพิลาไลย” เป็นหญิงรูปงาม พ่อชื่อ “พันศรโยธา” แม่ชื่อ “นางศรีประจัน” ต่อมาได้แต่งงาน กับ “พลายแก้ว” ซึ่งภายหลังมีลูกชายด้วยกัน คือ “พลายงาม” ครั้นพลายแก้วไปทำสงคราม นางก็ป่วยหนัก รักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจู วัดป่าเลไลย ตรวจดูดวง ชะตา และแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็น “นางวันทอง”

๔ อาการไข้จึงหาย…. ต่อมานางถูกแม่บังคับให้แต่งงานใหม่กับ “ขุนช้าง” นางต้องถูกประณามว่าเป็นหญิงสองใจ เมื่อมีคดีฟ้อง ร้องถึง “สมเด็จพระพันวษา” และพระองค์ให้นาง เลือกว่าจะอยู่กับใคร แต่นางตัดสินใจไม่ถูกจึงถูกสั่ง ให้ประหารชีวิต

พลายงาม ๕ (ขุนแผน) มีรูปร่างหน้าตางดงามคมสั น สติปัญญาเฉลียวฉลาด นิสั ย “เจ้าชู้” มีดาบฟ้าฟื้ นเป็นอาวุธ ประจำตัว พาหนะคู่ใจ คือ “ม้าสี หมอก” พ่อเป็นทหารชื่อ “ขุนไกรพลพ่าย” แม่ชื่อ “นางทองประศรี”

๖ ได้บวชเณร และเรียนวิชาที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเรไลย์ สุดท้ายไปเป็น ศิษย์สมภารคงวัดแค จนมีความรู้ทางโหราศาสตร์ ปลุกผีอยู่ยงคงกระพัน คาถามหาละลวยทำให้ผู้หญิง รักตลอดจนวิชาจากตำรับพิชัยสงคราม และยังมี ความสามารถเทศน์ได้ไพเราะจับใจอีกด้วย

๗ ต่อมาศึกจากเณรแล้วแต่งงานกับนางพิมพิลาไลย ไม่นานก็ถูกเรียกตัวไปเป็นแม่ทัพรบกับเชียงใหม่ ครั้นได้ชนะ กลับมาก็ได้เป็น “ขุนแผนแสนสะท้าน” แต่ปรากฏว่าภรรยา แต่งงานใหม่แล้ว ขุนแผนต้องโทษถูกจำคุกถึง 15 ปี จึงพ้น โทษ และทำสงครามเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อชนะกลับมาก็ได้ ตำแหน่งเป็น “พระสุริเยนทรฤๅไชย” เจ้าเมืองกาญจนบุรี ขุนแผนเจ้าชู้มากจึงมีภรรยาหลายคน

๘ ขุนช้าง “จะกล่าวถึงขุนช้างเมื่อรุ่นหนุ่ม หัวเหมือนนกตะกรุมล้านหนักหน เคราคางขนอกรกกายา หน้าตาดังลิงค่างที่กลางไพร”

๙ “ขุนช้าง” มีลักษณะรูปชั่วตัวดำ หัวล้านมาแต่กำเนิด นิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบาย ได้ชื่อว่าขุนช้างตอนคลอดมีผู้นำ ช้างเผือกมามอบให้สมเด็จพระพันวษา พ่อชื่อ “ขุนศรีวิชัย” แม่ชื่อ “นางเทพทอง” มีฐานะร่ำรวย แม้จะเกิดมาเป็นลูก เศรษฐีแต่ก็อาภัพ ถูกแม่เกลียดชังเพราะอับอายที่มีลูกหัว ล้าน จึงมักถูกแม่ด่าอยู่เสมอและไม่ว่าจะเดินไปทางใดก็จะ เป็นที่ขบขันล้อเลียนของชาวบ้านทั่วไปเสมอ

๑๐ แต่เป็นที่รักของญาติพี่น้อง เพราะตั้งแต่ขุน ช้างเกิดครอบครัวก็ร่ำรวยขึ้น พอเป็นหนุ่มก็ได้ นางแก่นแก้วเป็นภรรยา อยู่ด้วยกันได้ปีกว่านาง ก็ตาย จึงหันมาหมายปอง “นางพิมพิลาไลย” ได้แต่งงานกับนางพิมพิลาไลยสมใจ ปรารถนา

พลายงาม ๑๑ (พระไวย) มีตำแหน่งทางราชการเป็นจมื่นไว ยวรนาถ ซึ่งมักเรียกสั้น ๆ ว่า “พระหวย” หรือ “หมื่นไวย” เป็นลูกของขุนแผนกับ นางวันทอง แต่คลอดที่บ้านของขุนช้าง เพราะนางถูกชุดไปขณะที่ท้องแก่ ยิ่งโต พลายงามก็ยิ่งละม้ายคล้ายคลึงกับขุนแผน มากขึ้น ทำให้ขุนช้างเกลียดมาก

๑๒ วันหนึ่งจึงหลอกพลายงามไปฆ่าในป่า แต่ โหงพรายของขุนแผนมาช่วยไว้ นางวันทองจึงให้ไป อยู่กับ “นางทองประศรี” ที่กาญจนบุรีพลายงามได้ เรียนวิชาจากตำราของพ่อจนเชี่ยวชาญ มีความ สามารถเช่นเดียวกับขุนแผน ต่อมาได้อาสายกทัพไป รบกับเชียงใหม่ แล้วถือโอกาสขออภัยโทษให้ขุนแผน ออกจากคุกได้ เมื่อกลับมาจากสงครามก็ได้ตำแหน่ง เป็น “จมื่นไวยวรนาถ” และมีภรรยาสองคน คือ นางศรีมาลา และนางสร้อยฟ้า

๑๓

๑๔

๑๕ ขุนช้างขุนแผนเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อ กันมาในเมืองสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี โดยเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในแผ่น ดินพระพันวษา แห่งกรุงศรีอยุธยา

๑๖ โดยในตำนานเล่าเพียงว่า นาย ทหารยศขุนแผนผู้หนึ่งได้ถวายดาบฟ้า ฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา ซึ่งใช่วิธีการ ถ่ายทอดโดยการเล่าสืบสืบต่อกันมา เป็น “นิทาน”

๑๗ จนกระทั่งมีผู้คิดวิธีการเล่าโดยการขับ เป็น “ลำน้ำ” ขึ้นมา จึงกลายเป็นใช้ “บท เสภา” มีทั้งหมด ๔๓ ตอน ตอนที่นำมาเป็น บทเรียนนี้ คือ “ตอนที่ ๓๕”

๑๘ เรื่องย่อ

๑๙ “จะกล่าวถึงโฉมเจ้าพลายงาม ถ้าเป็นความชนะขุนช้างนั่น กลับมาอยู่บ้านสำราญครัน เกษมสันต์สองสมภิรมย์ยวน พร้อมญาติขาดอยู่แต่มารดา นึกนึกตรึกตราละห้อยหวน โอ้แม่วันทองช่างหมองมวล ไม่สมควรเคียงคู่กับขุนช้าง เออนี้เนื้อเคราะห์กรรมมานำผิด น่าอายมิตรหมองใจไม่หาย หมาง ฝ่าพ่อมีบุญเป็นขุนนาง แต่แม่ไปแนบข้างคนจัญไร”

๒๐ จมื่นไวยฯ แม้จะอยู่บ้านอย่างสุขสบายพร้อมพรั่ง ทั้งญาติมิตร และภรรยา แต่ก็เกิดคิดถึงแม่ซึ่งก็คือนางวัน ทอง แต่ในขณะ เดียวกันก็รู้สึกโกรธที่แม่ต้องไปอยู่กับคน เลว ๆ อย่างขุนช้าง ทั้ง ๆ ที่พ่อของตนเป็นถึงขุนนาง เมื่นไวย ฯ จึงคิดหาทาง พาแม่กลับมาอยู่ด้วยกัน แต่ บ้านของทั้งสองอยู่ห่างไกลกันมาก เมื่นไวย ฯ จึงต้อง ใช้วิชาอาคมในการเดินทางไปหาแม่

๒๑ \" ได้ยินเสียงฆ้องประจำวัง ลอยลมล่องดังถึงเคหา คะเนนับยายามได้สามครา ฬาบาวดาวเด่นดวงสว่าง จึงเช่นเหล้าขาวปลาให้พรายกัน ลงยันต์ราชะเอาปะอก เป่ามนต์เบื้องบนชอุ่มมัว จับดาบเคยปราบณรงค์ครบ ลงจากเรือนไปได้ ดูเวลาปลอดห่วงทักทัน จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดเมฆสิ้น เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว หยิบยกมงคลขึ้นใส่หัว พรายยั่วยวนใจให้ไคลคลา เสร็จครบบริกรรมพระคาถา รีบมาถึงบ้านขุนช้างพลัน ฯ \"

๒๒ จมื่นไวย ฯ ใช้วิธีดูฤกษ์ยาม เอาเหล้าเซ่นผีพราย เสกว่ายาทาตัว หยิบยันต์มาแปะะไว้บนอก สวมมงคลที่ศรีษะ รวมไปถึงเป่ามนต์ ลงที่ดาบ เพื่อเดินทางไปหานางวันทองที่เรือนของขุนช้างเป่า คาถาอาคมสำหรับหายตัว เสกคาถาให้ผีที่คุ้มครองบ้านเรือน ของขุนช้างหายไปทั้งหมด และยังเป่ามนต์ให้คนในเรือนหลับ ซึ่งทำให้จมื่นไวย เข้าไปหาแม่ที่ห้องของขุนช้างได้

๒๓ แต่เมื่อไปถึงก็เห็นภาพบาดตาบาดใจของแม่ ตัวเองกับขุนช้าง แม้จะเดือดดาลมากแต่ จมื่นไวย ก็สามารถสงบสติอารมณ์เพื่อให้ ภารกิจสำเร็จได้

๒๔ หลังจากนั้น…จมื่นไวย ฯ ก็เป่ามนต์เพื่อให้แม่ ตื่นจากการหลับใหล เมื่อนางวันทองเห็นลูกชายก็ สะดุ้งโหยง จมื่นไวย ฯ เข้าไปก้มกราบแม่ ทั้งคู่กอด กันตามประสาแม่ลูก

๒๕ นางวันทองถามไถ่จมื่นไวย ฯ ถึงวัตถุประสงค์ในการมา ครั้งนี้ ซึ่งก็ทำให้ลูกนั้นรู้ว่าลูกนั้นผูกใจเจ็บขุนช้างและมีความ คิดถึงตนเอง จึงหวังจะพาตนเองไปอยู่ด้วย นางวันทองรู้ทัน ทีว่าการกระทำแบบนี้จะต้องนำปัญหามาสู่ตนและผู้เกี่ยวข้อง อย่างแน่นอน นางวันทองจึงทัดทานลูกชาย

๒๖ “เจ้าเป็นถึงหัวหมื่นมหาดเล็ก มิใช่เด็กดอกจงฟังคำแม่ว่า จงเร่งกลับไปคิดกับบิดา ฟ้องหากราบทูนพระทรงธรรม์ พระองค์คงจะโปรดประทานให้ จะปรากฏยศไกรเฉิดฉัน อันจะมาลักพาไม่ว่ากัน เช่นนั้นใจแม่มิเต็มใจ ฯ “

เมื่อรู้ว่าแม่ไม่เต็มใจไปกับตน เพราะกลัวว่าจะ ๒๗ เกิดปัญหาและยังเสนอให้ไปเพ็ดทูลขอต่อพระพัน วษา จมื่นไวย ฯ กลับไม่สนใจคำพูดของแม่ แถมยัง ขู่แม่กลับด้วยคำพูดที่ไม่สุภาพ

๒๘ จมื่นไวย ฯ ตัดพ้อนางวันทองว่าไม่รักตนที่เป็น ลูก แต่ไม่ว่าอย่างไร ลูกผู้ชายอย่างตนจะพาแม่ไปด้วย ให้ได้ แม้จะต้องตัดศรีษะแล้วทิ้งตัวแม่ไว้ที่นี่ก็จะทำ…!!! สุดท้ายนางวันทองเองก็ต้องยอม เหตุเพราะรักลูก และก็กลัวว่าลูกจะฟันคอของตน

๒๙ เมื่อมนต์คาถาเริ่มเสื่อมคลาย ขุนช้างเริ่มได้สติตื่นมา และรู้สึกงงงวย มองซ้ายมองขวาก็ไม่เห็นนางวันทองอยู่ข้าง ตัว ขุนช้างลุกขึ้นอาละวาด จากนั้นก็รีบออกไปตะโกนให้ข้า ทาสออกตามหานางวันทองทั่วทั้งเรือนแต่ก็ไม่พบ ขุนช้าง จึงสงสัยว่าอาจจะมีคนมาลักพานางวันทองไป และรู้สึก โมโหสุดขีด

๓๐ ฝ่ายจมื่นไวย ฯ เมื่อพาแม่กลับมาเรือนของ ตนเองได้สำเร็จแล้ว ก็เกิดรู้สึกตัวขึ้นมาว่าจะต้องเกิด เรื่องใหญ่แน่ ๆ ดังนั้นจึงคิดหาทางแก้ปัญหาโดยให้หมื่น วิเศษผลลูกน้องของตนเองไปที่เรือนของขุนช้างเพื่อไป แจ้งว่าจมื่นไวย ฯ เกิดป่วยและอยากให้แม่ไปดูแล

๓๑ “ข้าพเจ้าเป็นบ่าวพระหมื่นไวย เป็นขุนหมื่นรับใช้อยู่ในบ้าน ท่านใช้ให้กระผมมากราบกราน ขอประทานคืนนี้พระหมื่นไวย เจ็บจุกปัจจุบันมีอันเป็น แก้ไขก็เห็นหาหายไม่ ร้องโอดโดดดิ้นเพียงสิ้นใจ จึงใช้ให้ตัวข้ามาแจ้งการ พอพบท่านมารดาจึงหายทุกข์ ข้าพเจ้าร้องปลุกเข้าไปในบ้าน จะกลับขึ้นเคหาเห็นช้านาน ท่านจึงรีบไปในกลางคืน พยาบาลคุณพระนายพอคลายไข้ คุณอย่าสงสัยว่าไปอื่น ให้คำมั่นสั่งมาว่ายั่งยืน พอหายเจ็บแล้วจะคืนไม่นอนใจ ฯ “

๓๒ เมื่อได้ฟังข่าวจากหมื่นวิเศษผลขุนช้างก็รู้ทันที รว่าะทำเปแ็นบบเรื่นอี้บงโนกเหรือกแนลขะอแคง้ตนนใจมขุนากช้ทาี่งจกม ็ืร่ีนบไไวปยทูลฯ ฟม้อากง สมเด็จพระพันวษาทันที

๓๓ “จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช เสด็จคืนนิเวศน์พอจวบค่ำ ฝีพรายรายเล่มมาเต็มลำ เรือประจำแหนแห่เซ็งแซ่มา พอเรือพระที่นั่งประทับที่ ขุนช้างก็รี่ลงตีนท่า ลอยคอชูหนังสือดื้อเข้ามา ผุดโผล่โงหน้ายึดแคมเรือ เข้าตรงบโทนอ้นต้นกัญญา เพื่อนโขกลงด้วยกะลาว่าผีเสื้อ มหาดเล็กอยู่งานพัดพลัดตกเรือ ร้องว่าเสือตัวใหญ่ว่ายน้ำมา ขุนช้างดึงดื้อมือยึดเรือ มิใช่เสือกระหม่อมฉานล้านเกศา สู้ตายขอถวายซึ่งฎีกา แพ้เหลือปัญญาจะทานทน ฯ “

๓๔ แม้พระพันวษาจะรีบฎีกาของขุนช้างแต่ก็ทรงกริ้วมาก จึงให้คนนำตัวขุนช้างไปโบยเพื่อเป็นการทำโทษ และตั้งแต่ นั้นพระพันวษาได้ตั้งกฏเกณฑ์ในการเข้าเฝ้า โดยห้ามให้ใคร เข้าใกล้พระมหากษัตริย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีโทษ ประหารชีวิต

๓๕ เมื่อขุนแผนรู้ว่านางวันทองมาอาศัยอยู่ที่เรือนของ ลูกชายก็เกิดคิดถึง และแอบย่องไปหานางวันทองถึงห้องโดน ขุนแผนได้เล้าโลมนางวันทอง อีกทั้งยังพูดคุยถึงเรื่องราวเก่า ๆ เพื่อปรับความเข้าใจกัน แต่นางวันทองไม่ได้ยินดีที่ขุนแผนมา ทำเยี่ยงนี้ เพราะเกรงว่าจะมีโทษทัณฑ์ จึงได้บอกให้ขุนแผนไป กราบทูลขอต่อพระพันวษา

๓๖ คุยกันไปมาทั้งสองก็ผล็อยหลับไปและนางวันทองก็เกิด ฝันร้าย นางวันทองตกใจตื่นและร้องไห้หนักมาก จากนั้นก็เล่า ความฝันให้ขุนแผนฟัง โดยขุนแผนได้ดูดวงตามตำราประกอบกับ เวลายามที่นางวันทองฝันจึงรู้ทันทีว่านางวันทองรวมถึงฆาตเสีย แล้ว ขุนแผนจึงคิดสะเดาะเคราะห์ให้นางวันทองในตอนเช้า

๓๗ ฝ่ายพระพันวษาเมื่อออกราชการแล้วเห็นหน้าขุนช้าง ก็นึกถึงความที่ขุนช้างนำมาฟ้องจึงเปิดฎีกาออกอ่าน แล้วก็เกิดโมโหจึงสั่งให้พระหมื่นศรีไปตามคู่ความมา พบที่ท้องพระโรง

๓๘ ขุนแผนรู้ดีอยู่แก่ใจว่านางวันทองมีชะตาถึงฆาต จึงพยายามใช้คาถาเมตตามหานิยม ทาขี้ผึ้งที่ริมฝีปากและ กินหมาก เพื่อหวังให้โชคชะตาที่ร้ายนั้นบรรเทาลง จากนั้น ขุนแผน จมื่นไวยวรนาถ และนางวันทองก็เดินทางมาเข้า เฝ้าตามพระราชโองการข้างต้น

เมื่อทั้งสามไปถึง พระพันวษาได้ต่อว่าจมื่นไวย ฯ ๓๙ ที่ทำอะไรไม่เกรงใจกฏหมายบ้านเมือง ไม่เห็นแก่ หน้าตาของพระพันวษาบ้าง จากนั้นจึงสอบสวนนาง วันทองถึงสาเหตุที่ต้องไปอยู่กับขุนช้าง

๔๐ นางวันทองได้ตอบไปตามความจริงว่า เมื่อขุนแผนติดคุกและตนเองท้องแก่ ขุนช้างได้ เข้ามาอ้างว่าเป็นพระราชประสงค์ของพระพันวษา ที่ต้องการให้ตนเองไปอยู่กับขุนช้าง ตนกลัว พระราชอำนาจ จึงไปอยู่กับขุนช้างโดยไม่เต็มใจ

๔๑ พระพันวษามองว่านางวันทองก็เหมือนกับ “รากแก้ว” ของปัญหานี้ ถ้าตัดรากแก้วออกไป ใบไม้ซึ่งเปรียบได้กับปัญหาต่าง ๆ ก็จะเหี่ยวตายไป แต่คงเป็นเวรกรรมของนางวันทองที่ดวงถึงฆาต จึง เกิดความประหม่าเลือกไม่ได้ กลัวว่าเลือกแล้วจะ ไม่ถูกพระทัยพระพันวษา

๔๒ เพราะขุนแผนก็เป็นรักแรก และนางวันทองยัง คงรู้สึกกับขุนแผนเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง ส่วนขุนช้างก็ดูแลนางวันทองให้อยู่สุขสบายมา หลายปี ในขณะที่พลายงามเองก็เป็นลูกชาย ในไส้

๔๓ สมเด็จพระพันวษากริ้วมาก เห็นว่านางวัน ทองเป็นคนหลายใจ เป็นหญิงเพศยา จึง ให้ประหารชีวิตนางวันทอง เพื่อมิให้เป็น เยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป…

ข้อคิด ๔๔ ๑. ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี เราจึงควรมีความกตัญญูต่อบิดา มารดาผู้ที่ให้ กำเนิดเรามา ๒. การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสมัยก่อนเด็กผู้ชายจะเรียนหนังสือที่วัด ๓. วัดเป็นสถานที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ๔. ในสมัยก่อนจะมีการมัดจุกโกนจุกและนุ่งโจงกระเบนผูกขวัญรับขวัญ ๕. ผู้ชายมีการถวายตัวเข้ารับราชการ ๖. สมัยก่อนจะใช้สมุนไพรรักษาแผล และมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๗. สมัยก่อนเดินทางโดยเท้า และการขี่ม้า ๘. พ่อแม่ทุกคนรักลูกและ ยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อลูกได้

ขอบคุณค่ะ นางสาวฟาตีมะห์ อาแวบือซา รหัสนักศึกษา 6206510064


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook