Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่ 6

หน่วยที่ 6

Published by นุสราสินี ณ พัทลุง, 2021-11-22 07:03:36

Description: หน่วยที่ 6

Search

Read the Text Version

หน่วยที่ 6 การจับสัตว์น้ำและการขนส่ง krunoos

เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเลี้ยงสัตว์น้ำและ สัตว์น้ำมีขนาดพร้อมที่จะบริโภค ก็จะเป็นขั้น ตอนการจับสัตว์น้ำเพื่อส่งไปยังผู้บริโภค นับ ว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด krunoos

การจับสัตว์น้ำเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเลี้ยง และมีการจับสัตว์น้ำ จะมีสัตว์น้ำ 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กที่ผ่านการอนุบาลแล้วมีการจับขน ย้ายเพื่อจำหน่าย หรือเลี้ยงจนได้ขนาด บริโภค นอกจากนี้ยังมีสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มี การจับเพื่อการบริโภค ในรูปแบบที่มีชีวิตและ ตายแล้ว krunoos

1. วิธีการจับสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง การจับสัตว์น้ำในรูปแบบที่มีชีวิต วิธีนี้จะได้ สัตว์น้ำที่มีคุณภาพดีที่สุดก่อนถึงมือผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการจับสัตว์น้ำในรูปแบบที่ ตายแล้ว โดยถ้าจับสัตว์น้ำหมดบ่อจะนิยมทำ กัน 2 รูปแบบ คือ 1.1 จับแบบไม่วิดบ่อแห้ง ใช้อวนตาห่าง จับสัตว์น้ำเพราะจะได้สัตว์น้ำตามขนาดที่ ต้องการ krunoos

1.2 การจับแบบวิดบ่อแห้ง ก่อนจับสัตว์น้ำ ให้สูบน้ำออกจากบ่อครึ่งหนึ่งแล้วก็ตีน้ำไล่ ปลาให้ไปรวมกันอยู่ในร่องบ่อ ซึ่งร่องบ่อนี้จะ เป็นส่วนที่ลึกอยู่ด้านหนึ่งของบ่อเมื่อน้ำในบ่อ แห้งปลาจะมารวมกันที่ร่องบ่อ ผู้เลี้ยง สามารถจับสัตว์น้ำขึ้นมาจำหน่ายได้ วิธีนี้มัก ทำในฤดูแล้ง เพื่อลอกเลน ปรับปรุงบ่อใหม่ เพื่อเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำในรอบ ต่อไป krunoos

2 การจับสัตว์น้ำตามการเลี้ยงรูปแบบต่างๆ การเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบันนิยมเลี้ยงใน บ่อคอนกรีต บ่อดิน กระชัง คอก หรือที่กักขัง สัตว์น้ำแบบอื่นๆ ซึ่งการจับสัตว์น้ำที่ดีควรใช้ วิธีทำให้สัตว์น้ำเกิดความบอบช้ำน้อยที่สุด สำหรับวิธีการจับสัตว์น้ำตามการเลี้ยงรูป แบบต่างๆมีดังนี้ krunoos

1. การจับสัตว์น้ำในบ่อดิน มักเป็นสัตว์น้ำ ขนาดใหญ่หรือพ่อแม่พันธุ์ นิยมจับโดยใช้ อวนลากด้วยแรงคน และควรจับในเวลาเช้า หรือเวลาเย็น ผืนอวนที่ใช้ควรมีความยาว มากกว่าด้านกว้างของบ่อ ประมาณหนึ่งใน สาม เพื่อไม่ให้สัตว์น้ำหลุดหนีออกไปทางด้าน ข้างของอวนผู้ที่จับสายอวนทั้งสองด้าน ควร เหยียบสายคร่าวข้างล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้ สัตว์น้ำหลุดหนีออกไปได้ ลากอวนจากด้าน หนึ่งของบ่อ ไปยังอีกด้านหนึ่งตามความยาว เมื่อล้อมสัตว์น้ำได้แล้วก็ใช้สวิงรวบรวมสัตว์ น้ำเพื่อรอขนส่งต่อไป krunoos

สำหรับบ่อเลี้ยงที่มีขนาดใหญ่นิยมใช้เครื่อง สูบน้ำ โดยเครื่องสูบน้ำจะไม่ทำให้สัตว์น้ำเกิด ความบอบช้ำระหว่างการจับและทำให้การจับ สัตว์น้ำรวดเร็วอีกด้วย สำหรับการจับลูกปลา ขนาดเล็ก ประมาณ 3-10 เซนติเมตร ที่อนุบาล ไว้ในบ่อดิน จะใช้อวนที่ไม่มีปม เนื้อนิ่ม ไม่ควร ลากอวนเกิน 2 ครั้ง และไม่ควรให้ลูกปลาอยู่ ในถังลำเลียงนานจนเกินไป krunoos

สำหรับสัตว์น้ำประเภทปู ที่เลี้ยงในบ่อดินจะ ใช้วิธีการระบายน้ำออกระดับหนึ่ง แล้วเติมน้ำ เข้าบ่อเมื่อได้น้ำใหม่ ปูจะว่ายมาเล่นน้ำใน บริเวณหน้าประตูน้ำ สามารถใช้สวิงจับได้ วิธี นี้ไม่ทำให้ปูบอบช้ำ แต่ไม่สามารถจับปูได้หมด บ่อ หรืออาจใช้วิธีการระบายน้ำในบ่อให้แห้ง แล้วใช้ตะขอเกี่ยวปูที่ขุดรูอยู่ หรือการดักปู โดยใช้ ลอบ ไซ จั่น หรือ แร้วจับปูก็ได้ ซึ่งวิธี สุดท้ายจะได้ปูที่มีคุณภาพดีที่สุด เป็นที่ ต้องการของผู้บริโภค krunoos

krunoos

krunoos

krunoos

krunoos

2.2 การจับสัตว์น้ำในถัง กระชัง หรือบ่อ คอนกรีต ใช้วิธีการจับสัตว์น้ำด้วยสวิง หรือ ผ้าโอล่อนในการลากลูกปลา แล้วใช้กระชอน ตัก หลังจากนั้นจึงปล่อยน้ำออก โดยใช้ผ้าโอ ล่อนดักรับลูกปลาที่ปลายท่อระบายน้ำ สำหรับบ่อซีเมนต์ขนาดเล็กที่มีความกว้าง ไม่เกิน 1.5 เมตร จะต้อนสัตว์น้ำไปรวมกัน ที่ทางน้ำออกโดยใช้อุปกรณ์ต้อนสัตว์น้ำที่ เป็นกรอบโลหะ มีซี่กรงเรียงตัวห่างพอ สำหรับให้สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กหลุดรอดออกไป ได้ เมื่อสัตว์น้ำมารวมกันที่ทางน้ำออกก็ใช้สวิง ตักสัตว์น้ำได้ วิธีนี้สะดวก เร็ว ไม่ต้องใช้คน จำนวนมาก krunoos

การจับสัตว์น้ำในกระชัง จะนิยมยก กระชังให้สัตว์น้ำมารวมกันที่มุมใดมุมหนึ่ง ของบ่อก่อน แล้วใช้สวิงตักสัตว์น้ำ เพราะจะ เป็นวิธีที่ป้องกันการฉีกขาดของกระชังได้ดี กว่ายกกระชังขึ้นมา แต่ถ้าเป็นกระชังขนาด ใหญ่ ต้องใช้นักประดาน้ำเพื่อต้อนสัตว์น้ำมา มุมใดมุมหนึ่งของกระชังก่อนก่อนที่จะมีการ สูบสัตว์น้ำออกด้วยเครื่องสูบ krunoos

3. การจับสัตว์น้ำในการเลี้ยงรูปแบบอื่นๆ เช่น บริเวณแหล่งน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำ และคอกที่กั้นบริเวณอ่าวหรือบริเวณชายฝั่ ง ปากแม่น้ำหรือทะเลสาบ ดังนั้น ควรใช้เครื่อง มือประเภท อวนทับตลิ่ง ลอบ อวนติดหรือ ตาข่าย ในการจับสัตว์น้ำ เพราะบริเวณดัง กล่าวมักมีตอไม้ กิ่งไม้ หรือกองหินกระจายอยู่ ใต้น้ำ krunoos

สัตว์น้ำประเภทหอย เช่น หอยแครง มัก ใช้วิธีการคราด ด้วยเครื่องมือคราดหอย แครง ส่วนหอยนางรมหรือหอยแมลงภู่ที่มี การเลี้ยงแบบแขวนหรือเกาะติดหลัก มักจับ ในช่วงที่น้ำลด โดยการยกหลักหรือเชือกขึ้น มาแล้วทำการเคาะหรือเลือกเฉพาะตัวที่ได้ ขนาดที่ตลาดต้องการ ส่วนตัวเล็กก็ปล่อย เลี้ยงต่อไป krunoos

สัตว์น้ำประเภทปู ที่มีการเลี้ยงเพื่อขุนเป็น ปูนิ่มต้องรีบจับทันทีเมื่อมีการลอกคราบ ทั้งนี้ เพราะกระดองปูจะแข็งทันทีภายใน 6 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อปูที่เลี้ยงกำลังอยู่ในช่วงลอกคราบ จะต้องหมั่นตรวจดูทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เมื่อพบว่า ปูในตะกร้าใดมีการลอกคราบ ก็เก็บมาล้าง ทำความสะอาดแล้วแช่น้ำจืดประมาณ 30 นาที แล้วบรรจุกล่องแช่น้ำแข็งเพื่อส่งขายต่อไป krunoos

การขนส่งสัตว์น้ำ การจำหน่ายสัตว์น้ำจำพวกกุ้งและปลาใน สภาพที่ตายแล้วไปยังตลาดสด เมื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้จะนิยมนำมาใส่น้ำแข็งทันที เพื่อ รักษาความสดจากนั้นจึงทำการคัดขนาด และ บรรจุกล่องหรือลัง เพื่อการลำเลียงขนส่ง ถ้า ขนส่งปริมาณมากๆและระยะทางไกลๆนิยมใช้ รถเทนเนอร์หรือรถขนส่งห้องเย็น แต่ถ้าเป็น ระยะทางใกล้ๆอาจใช้เพียงลังโฟมบรรจุสัตว์ น้ำ บรรทุกไว้ท้ายรถกระบะเท่านั้น krunoos

1. การเตรียมเพื่อการขนส่งสัตว์น้ำแบบมีชีวิต 1.1 การจับสัตว์น้ำ ควรทำด้วยความ ระมัดระวังไม่ให้สัตว์น้ำเกิดบาดแผลหรือบอบช้ำ ไม่ควรให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างแออัดเป็นเวลานานๆ 1.2 ขังสัตว์น้ำไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อน ขนส่งเพื่อขจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลา เหงือก 1.3 งดให้อาหารสัตว์น้ำอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนการขนส่ง 1.4 การป้องกันโรคพยาธิ โดยแช่สัตว์น้ำใน น้ำยาหรือสารเคมี หรือน้ำจืด พร้อมให้อากาศ ตลอดเวลา เช่น ด่างทับทิม ฟอร์มาลิน เกลือ ยา เหลือง krunoos

1.5 การคัดขนาดสัตว์น้ำ ให้มีขนาดใกล้เคียง กันมากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ใ้ห้สัตว์น้ำชนิดที่มี นิสัยก้าวร้าว ทำร้ายกันหรือกินกันเองระหว่าง การขนส่ง 1.6 การใช้ยาสลบ เพื่อลดความเครียดและ กิจกรรมของสัตว์น้ำ ช่วยให้จับและเคลื่อนย้ายได้ สะดวก นิยมใช้ยาสลบกับสัตว์น้ำขนาดใหญ่หรือ พ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ ทั้งนี้เพื่อลดกิจกรรมที่ทำให้ สัตว์น้ำได้รับความบอบช้ำ หรือบาดเจ็บ และยัง ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติงานอีก ด้วย krunoos

ยาสลบที่นิยมใช้ได้แก่ - ควินาลดีน ราคาถูกหาซื้อได้ง่าย แต่ปัจจุบันมี แนวโน้มที่จะเป็นพิษกับมนุษย์ - MS-222 (tricaine methanesulfonate)ใช้ได้ ผลดี แต่ราคาแพง มีความเป็นกรดสูง - เบนโซเคน เป็นยาเฉพาะที่ใช้ในคน ลักษณะเป็น ผงสีขาว ก่อนใช้ต้องนำมาละลายในแอลกอฮอล์ หรืออะซิโตน มีความปลอดภัยต่อสัตว์น้ำสูง - น้ำมันกานพลู ต้องละลายในแอลกอฮอล์หรืออะซิ โตน เป็นสารธรรมชาติปลอดภัยต่อสัตว์น้ำและผู้ บริโภคไม่ตกค้างต่อร่างกาย krunoos

ภาชนะในการขนส่งสัตว์น้ำ มี 2 รูปแบบคือ 1. แบบปิด เป็นภาชนะที่มีฝาปิดสนิท ดังนั้น ภายในภาชนะต้องมีอากาศเพียงพอ เช่น ถุง พลาสติกอัดอากาศ ถุงพลาสติกที่มีความเหนียว ขนาด 20x30 นิ้ว 2. ภาชนะแบบเปิด อาจทำด้วยโลหะ พลาสติก ไฟเบอร์ krunoos

ความหนาแน่นในการขนส่งสัตว์น้ำ เพื่อให้สัตว์น้ำมีคุณภาพดีอยู่เสมอต้องคำนึงถึง ความหนาแน่นในการบรรจุสัตว์น้ำในภาชนะก่อน การขนส่งเช่นกัน เช่น krunoos

ยานพาหนะในการขนส่งสัตว์น้ำ 1. เครื่องบิน 2. รถปรับอากาศ 3. รถยนต์บรรทุกเล็ก 4. เรือขนส่งสัตว์น้ำ krunoos

สาเหตุที่ทำให้สัตว์น้ำตายขณะขนส่ง 1. สัตว์น้ำขาดออกซิเจนขณะขนส่ง 2. น้ำที่ใช้ในการขนส่งสัตว์น้ำมีสารพิษเจือปนอยู่ 3.สัตว์น้ำมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ เกิด การตกใจ อยู่รวมกันหนาแน่นเกินไป 4.สัตว์น้ำมีสุขภาพไม่แข็งแรง บอบช้ำจากการ จับ 5. สัตว์น้ำอดอาหารเป็นเวลานานเกินไป 6. สัตว์น้ำเกิดโรคในระหว่างการขนส่ง krunoos


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook