หน่วยที่ 3 หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ By Krunoos
สาระการเรียนรู้ 1.การเลือกทำเล 2.การสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 3.การเตรียมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ 4.ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาในการเพาะ ฟักไข่สัตว์น้ำ 5.การอนุบาลสัตว์น้ำ 6.การเตรียมบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 7.มาตรฐานงานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ By Krunoos
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.เลือกทำเลที่เหมาะสมสำหรับการสร้างฟาร์มเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำได้ 2.บอกหลักการสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 3.บอกการเตรียมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้ 4.บอกปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาในการเพาะฟักไข่ สัตว์น้ำได้ 5.บอกการอนุบาลสัตว์น้ำได้ 6.บอกการเตรียมบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 7.บอกมาตรฐานงานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 8.ปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 9.เห็นความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ By Krunoos
หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนับว่ามีความสำคัญมาก ซึ่งนับตั้งแต่การเลือกทำเล การสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ การเตรียมโรงเพาะฟัก บ่ออนุบาล บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หากเตรียมการได้ดีเหมาะสมแล้วการจัดการและการ ดูแลรักษาจะง่าย รวมทั้งวางแผนการผลิตสัตว์น้ำให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง การผลิตสัตว์น้ำไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้ ประกอบการปฏิบัติตามมาตรฐานงานฟาร์มย่อมก่อให้ เกิดประโยชน์และประสบความสำเร็จในการประกอบ ธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถพัฒนาขยายการ เลี้ยงได้ในอนาคตและต้นทุนการผลิตต่ำสามารถ แข่งขันได้ By Krunoos
3.1การเลือกทำเล สุภาพร (2552) กล่าวว่า การเลือกทำเล สร้างฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความสำคัญ ส่ง ผลให้ธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประสบความ สำเร็จ การเลือกทำเลควรพิจารณาอย่างละเอียด ในด้านต่างๆเช่น ที่ดินและลักษณะของดิน ปริมาณและคุณภาพน้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ตลอดจนความเหมาะสมของ สถานที่กับปัจจัยด้านอื่นๆ ซึ่งอาจรวมถึงสภาพ เศรษฐกิจและสังคม By Krunoos
3.1.1 ทำเลที่เหมาะสมสำหรับการสร้างฟาร์มเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ ทำเลที่เหมาะสมสำหรับการสร้างฟาร์มเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ 3.1.1.1ลักษณะภูมิประเทศ ไม่เป็นที่ลุ่มหรือดอนจน เกินไป มีความลาดเอียงเล็กน้อย ประมาณ 0.5- 1.0 เปอร์เซ็นต์ ดินควรเป็นดินเหนียวหรือดิน เหนียวปนทรายซึ่งอุ้มน้ำได้ดี ค่าความเป็นกรด- ด่างอยู่ในช่วง 6.5-8.5 มีธาตุอาหารในดินเหมาะ สมคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ใน สัดส่วน 4 : 1 : 1 ซึ่งแร่ธาตุจะมีผลต่อความอุดม สมบูรณ์ของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (โชคชัย, 2554) By Krunoos
3.1.1.2 แหล่งน้ำ มีน้ำปริมาณเพียงพอตลอดทั้ง ปี หรืออย่างน้อยตลอดช่วงฤดูกาลเพาะพันธุ์ สัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ได้มาจาก 2 แหล่งคือ 1)แหล่งน้ำบนดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ และเขื่อน 2)แหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่ น้ำบ่อ น้ำบาดาล และ ต้องเป็นน้ำจืด น้ำบาดาลนับว่าเป็นแหล่งน้ำที่ ปราศจากเชื้อโรค แต่มีข้อเสียคือมีปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์สูง ควรพักน้ำก่อนนำมาใช้ By Krunoos
3.1.1.3 คุณสมบัติของน้ำ ต้องมีความเหมาะสม ต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำทั้งกายภาพ เคมี และชีวภาพ By Krunoos
3.1.1.4 ปัจจัยอื่นๆ เช่น การคมนาคมสะดวกทั้ง ภายนอกฟาร์มและภายในฟาร์ม อยู่ใกล้ตลาดเพราะ จะได้สะดวกในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ราคาที่ดิน คุ้มค่ากับการลงทุน อยู่ใกล้แหล่งอาหารและแหล่ง พันธุ์สัตว์น้ำ มีกระแสไฟฟ้าเพราะจะช่วยลดต้นทุน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และทำงานได้สะดวกในตอน กลางคืน อยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกรรมและชุมชนเมือง เพื่อป้องกัน ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพิจารณาการจัดรูปแบบ หรือการดำเนินงานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะต้องไม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ขัดต่อประเพณีและ วัฒนธรรมของสังคม แรงงานสามารถหาได้ง่าย และไม่มีโจรขโมยชุกชุม By Krunoos
3.1.2 ทำเลที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำใน กระชัง ทำเลที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำใน กระชังควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ 3.1.2.1 คุณภาพน้ำมีความเหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ไม่ควรอยู่ใกล้โรงงาน อุตสาหกรรม ปริมาณน้ำมีเพียงพอตลอดระยะเวลา การเลี้ยงสัตว์น้ำ มีกระแสน้ำไหลพัดพาเศษอาหาร และของเสียออกจากระชัง By Krunoos
3.1.2.2 สามารถหาพันธุ์และอาหารสัตว์น้ำได้ง่าย 3.1.2.3 ไม่ขัดต่อกฎหมายประมงและการสัญจร ทางน้ำ 3.1.2.4 มีแหล่งรับซื้อผลผลิตที่ผลิตได้ และการ คมนาคมสะดวก By Krunoos
3.2 การสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ บ่อ หมายถึง ภาชนะที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ อาจเป็น บ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือถังไฟเบอร์ ภายในฟาร์มอาจ แบ่งสัดส่วนบ่อชนิดต่างๆ ดังตารางที่ 3.1 ซึ่งการ แบ่งจำนวนบ่อขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ งานและทุน ดังนี้ By Krunoos
3.2.1 การสร้างบ่อดิน การสร้างบ่อดินมีหลักในการพิจารณาดังนี้ รูปร่างของบ่อสร้างให้เหมาะกับลักษณะของ ภูมิประเทศและควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือ สี่เหลี่ยมจัตุรัสเพราะสร้างง่ายค่าก่อสร้างต่ำ สะดวก ในการให้อาหารและเก็บเกี่ยวผลผลิต (สุภาพร, 2552) ให้ด้านยาวขนานกับทิศทางลม เพื่อให้ผิวน้ำสัมผัสกับลม เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้ กับสัตว์น้ำขนาดของบ่อขึ้นกับชนิดของสัตว์น้ำ ขนาดของฟาร์มและเงินทุน เช่น บ่อเลี้ยงปลาขนาด บ่อ 100 ตารางเมตรขึ้นไป จนถึงขนาด 30 ไร่ By Krunoos
บ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามควรมีขนาด 1-5 ไร่ บ่อเลี้ยง กบควรมีขนาด 18-400 ตารางเมตร ระดับความลึก ที่เหมาะสม คือ 1.5-2 เมตร และควรกักเก็บน้ำได้ลึก 1-1.5 เมตร บ่ออนุบาลควรมีความลึกประมาณ 0.3- 0.5 เมตร ถ้าบ่อตื้นเกินไปอุณหภูมิของน้ำจะสูงมาก ในตอนกลางวัน และแสงส่องถึงก้นบ่อ ทำให้การ เจริญเติบโตของพันธุ์ไม้น้ำเร็วเกินไป ทำให้บ่อตื้น เขินเร็ว แต่ถ้าบ่อลึกเกินไปจะเสียค่าใช้จ่ายในการ สร้างสูง และควรสร้างในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูหนาว เพราะเครื่องจักรทำงานได้สะดวกรวดเร็วและควร ขุดบ่อให้เสร็จก่อนฤดูฝนเพื่อจะกักเก็บน้ำฝนมาใช้ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ทันที By Krunoos
1.2.1.1 โครงสร้างของบ่อดิน ประกอบด้วยส่วนที่ สำคัญดังนี้ 1)คันบ่อประกอบด้วยสันคันบ่อและเชิงลาด มี รายละเอียดดังนี้ (1) สันคันบ่อ จะต้องมีความสูงพอที่จะเก็บ กักและป้องกันน้ำท่วมได้ ความกว้างของสันคันบ่อ ถ้าเป็นดินเหนียวควรกว้าง 2-4 เมตร แต่ถ้าเป็นดิน ทรายควรกว้าง 3-5 เมตร หากเป็นการปลูกพืชร่วม กับการเลี้ยงสัตว์สันบ่อควรกว้างไม่น้อยกว่า 5 เมตร แต่ถ้าสร้างเพื่อเป็นทางสัญจรด้วยอาจกว้าง 6-12 เมตร เพื่อความสะดวกและความแข็งแรง By Krunoos
(2) เชิงลาด เป็นส่วนของคันบ่อที่เอียงจาก สันคันบ่อลงสู่พื้นก้นบ่อ โดยเชิงลาดจะช่วยป้อง และชะลอการพังทลายของดิน เชิงลาดคันบ่อที่ เป็นดินเหนียวควรเป็น 1 : 1 ทั้งด้านนอกและด้าน ใน ส่วนดินเหนียวปนทรายด้านในควรเป็น 1 : 2 2)พื้นก้นบ่อ จะต้องเรียบสม่ำเสมอ บดอัดจน แน่นเพื่อป้องกันการรั่วซึมลาดเอียง ประมาณ0.5-1 เปอร์เซ็นต์โดยลาดเทไปทาง ประตูระบายน้ำออกเพื่อสะดวกในการระบายน้ำ ออกจากบ่อ By Krunoos
3) ทางระบายน้ำ ถ้าออกแบบดีจะประหยัดค่า ใช้จ่ายและสะดวกรวดเร็วในการนำน้ำเข้าและ ระบายน้ำออกจากบ่อ ทางระบายน้ำเข้าควร สร้างทางด้านตื้นของบ่อ ส่วนทางระบายน้ำออก ควรอยู่ตรงข้ามกับทางน้ำเข้า และเป็นส่วนที่ลึก ที่สุดของบ่อเลี้ยง โดยใช้ท่อลอดคันบ่อไปยังคู ระบายน้ำออกให้โผล่พ้นคันบ่ออย่างน้อย 30 เซนติเมตร By Krunoos
3.2.1.3 ขั้นตอนการสร้างบ่อดิน ต้องสำรวจรังวัด ของระดับพื้นที่ว่ามีความลาดเอียงเท่าไร แล้วถาง ทำความสะอาดพื้นที่ ปรับระดับพื้นที่ให้เรียบเสมอ กัน ปักหลักเพื่อเล็งแนวในจุดที่จะสร้างคันบ่อ โดย ปักแนวของคันบ่อฐานเชิงลาดด้านในและด้านนอก ขุดร่องขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 30-50 เซนติเมตร ยาวตลอดแนวตรงกลางที่จะสร้างคัน บ่อเพื่ออัดเป็นแกนดินช่วยในการยึดเกาะของดินที่ ถมใหม่ By Krunoos
ขุดดินจากพื้นที่ดินเดิมมาถมบริเวณคันบ่อและ เกลี่ยให้เป็นชั้นๆ แต่ละชั้นหนา 15-20 เซนติเมตร บดอัดทีละชั้นให้แน่นจนได้ความสูงของคันบ่อตามที่ ต้องการ ปรับพื้นก้นบ่อให้เรียบ บดอัดให้แน่นแล้ว ขุดคูระบายน้ำออก สร้างทางน้ำเข้า โดยสร้างราง ระบายน้ำเข้าตามแนวยาวบนสันคันบ่อและสร้างทาง ระบายน้ำออกด้านที่ลึกที่สุดของบ่อไปยังคูระบายน้ำ ทิ้ง จากนั้นปลูกหญ้าคลุมดินบนคันบ่อเพื่อป้องกัน การพังทลายของดิน By Krunoos
3.2.2 การสร้างบ่อซีเมนต์ การสร้างบ่อซีเมนต์มีหลักในการพิจารณาคือมีรูป แบบเหมาะสม ก่อสร้างได้ง่าย ต้นทุนการสร้างไม่สูง มากนัก เก็บกักน้ำได้ดี บ่อซีเมนต์ที่นิยมใช้โดยทั่วไป มี 2 รูปแบบ ดังนี้ 3.2.2.1บ่อซีเมนต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยทั่วไป นิยมสร้างบ่อขนาด 20-25 ตารางเมตร บ่อลักษณะ นี้มีข้อดีคือก่อสร้างได้ง่ายและประหยัดเมื่อเปรียบ เทียบกับการก่อสร้างบ่อซีเมนต์ในลักษณะอื่นๆ By Krunoos
3.2.2.2 บ่อซีเมนต์รูปทรงกลม นิยมสร้างพื้นที่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-10 เมตร ความลึกของบ่อ 1-2 เมตร ข้อดีของบ่อลักษณะนี้คือไม่มีมุมบ่อซึ่งจะ ช่วยลดปัญหาการรั่วซึมของน้ำเนื่องจากไม่มีรอย ต่อเชื่อมมุมบ่อ แต่มีข้อเสียคือการก่อสร้างทำได้ ยากกว่าบ่อซีเมนต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และบ่อซีเมนต์ รูปทรงกลมนิยมสร้างเพื่อใช้สำหรับเลี้ยงพ่อแม่ พันธุ์สัตว์น้ำที่มีราคาแพง เช่น ปลากะรัง (ปลาเก๋า) และปลาสวยงาม By Krunoos
3.2.2.2 บ่อซีเมนต์รูปทรงกลม นิยมสร้างพื้นที่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-10 เมตร ความลึกของบ่อ 1-2 เมตร ข้อดีของบ่อลักษณะนี้คือไม่มีมุมบ่อซึ่งจะ ช่วยลดปัญหาการรั่วซึมของน้ำเนื่องจากไม่มีรอย ต่อเชื่อมมุมบ่อ แต่มีข้อเสียคือการก่อสร้างทำได้ ยากกว่าบ่อซีเมนต์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และบ่อซีเมนต์ รูปทรงกลมนิยมสร้างเพื่อใช้สำหรับเลี้ยงพ่อแม่ พันธุ์สัตว์น้ำที่มีราคาแพง เช่น ปลากะรัง (ปลาเก๋า) และปลาสวยงาม By Krunoos
3.3 การสร้างบ่อพลาสติก การสร้างบ่อพลาสติก มีหลักการคือ ขุดตาม ขนาดที่ต้องการแล้วใช้พลาสติกปูทับอีกครั้งเพื่อ ป้องกันน้ำรั่วซึมนิยมใช้ในการเลี้ยงปลาดุก และ เลี้ยงกุ้ง การสร้างบ่อพลาสติกที่ใช้ในการเลี้ยงปลา ดุกทำได้ 2 วิธีคือ การขุดลงไปในดินหรือแบบจม และการยกคันบ่อขึ้นพรือแบบลอย By Krunoos
3.3.1 วิธีการสร้างบ่อพลาสติกแบบขุดลงไปใน ดินหรือแบบจม มีขั้นตอนดังนี้ 3.3.1.1 ขุดดินตามขนาดที่ต้องการ เช่น กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1 เมตร หรือกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 0.8 เมตร 3.3.1.2 ยกคันบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร อัดพื้นและคันบ่อให้แน่น ปูด้วย พลาสติก ใช้ดินกลบทับขอบพลาสติกให้แน่นอีกครั้ง เพื่อป้องกันการเคลื่อนและย่นลงมาของพลาสติก By Krunoos
3.3.2 การสร้างบ่อพลาสติกแบบยกคันบ่อหรือ แบบลอย มีขั้นตอนดังนี้ 3.3.2.1 นำกระสอบปุ๋ยมาใส่ทรายหรือขี้ เลื่อยผสมดินแล้วเย็บปากกระสอบให้แน่น 3.3.2.2 วางกระสอบซ้อนทับกันแบบ บังเกอร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ยาว ตามความ ต้องการ โดยทั่วไปจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร หรือกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร โดยวาง กระสอบซ้อนกัน 2 ชั้น 3.3.2.3 ปูพลาสติกทับโดยให้ก้น พลาสติกถึงพื้นราบ ส่วนขอบของพลาสติกอยู่บน กระสอบ จากนั้นก็วางกระสอบทับพลาสติกอีก 1 ชั้น รวมเป็น 3 ชั้น ใช้ไม้แหลมๆ ตอกกั้นเพื่อป้องกันไม่ ให้กระสอบเคลื่อนไหวเวลาใส่น้ำ By Krunoos
3.4 การเตรียมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การเตรียมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำนับว่ามีความสำคัญ มากที่จะส่งผลให้การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำประสบผล สำเร็จซึ่งต้องสร้างบ่อพักน้ำหรือบ่อตกตะกอน บ่อ เลี้ยงอาหารธรรมชาติ โรงเพาะฟักและอุปกรณ์ที่ใช้ ในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำมีรายละเอียดดังนี้ By Krunoos
3.4.1 บ่อพักน้ำหรือบ่อตกตะกอน บ่อพักน้ำถ้าเป็นถังทรงสูงจะช่วยประหยัด พื้นที่และมีแรงดันพอที่จะส่งไปใช้อย่างทั่วถึง ดัง ภาพที่ หรืออาจสร้างบ่อซีเมนต์สำหรับพักน้ำ ดัง ภาพที่ ขนาดของถังพักน้ำขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ ในโรงเพาะฟักในแต่ละวันโดยควรจุน้ำประมาณ 2 เท่า ของความจุของบ่อทั้งหมดในโรงเพาะฟักก่อน นำไปใช้ในโรงเพาะฟัก บ่ออนุบาล และบ่อเลี้ยง จำเป็นต้องกรองผ่านถุงกรอง By Krunoos
3.4.2 บ่อเลี้ยงอาหารธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ประสบ ความสำเร็จต้องมีบ่อเลี้ยงอาหารธรรมชาติ เช่น บ่อเพาะเลี้ยงไรแดง By Krunoos
3.4.3 โรงเพาะฟักและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะ พันธุ์สัตว์น้ำ การสร้างโรงเพาะฟักควรเลือกสถานที่ที่ มีแหล่งน้ำและสร้างระบบน้ำใช้ให้มีคุณภาพและมี ปริมาณเพียงพอกับความต้องการเพื่อความสะดวก ในการปฏิบัติงาน โรงเพาะฟักควรสร้างให้อยู่ใน ตำแหน่งที่เหมาะสม อยู่ใกล้กับที่พักอาศัย ออกแบบ ให้มีความคงทนแข็งแรง ประหยัดงบประมาณและ สามารถประยุกต์ใช้สอยในงานอื่นได้ By Krunoos
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงแผนงานหรือ โครงการที่ขยายในอนาคตด้วย หลักการสร้างและ สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานคือมีบ่ออนุบาล ลูกปลาอย่างเพียงพอ มีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการผสมพันธุ์ วางไข่ การฟักไข่ ตลอดจน การเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อน (โชคชัย, 2554) และ อุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนย้ายต่างๆ ต้องจัดเตรียม ให้พร้อมและจัดการให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำ มีรายละเอียดดังนี้ By Krunoos
3.4.3.1 บ่อพักพ่อแม่พันธุ์ ก่อนฉีดและหลังการ ฉีดฮอร์โมนต้องนำพ่อแม่พันธุ์ปลามาพักไว้โดยแยก เพศ ควรเป็นบ่อซีเมนต์กว้าง3 เมตร ยาว 4.5 เมตร ลึก 1 เมตร ความหนาแน่นของแม่พันธุ์ปลาที่นำมา พักประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยให้ อากาศตลอดเวลา หากจัดให้มีน้ำไหลผ่านก็จะดียิ่ง ขึ้น เพราะสิ่งขับถ่ายของปลาจะถูกชะล้างออกไป ด้วย ในการพักพ่อแม่พันธุ์นี้หากตรึงกระชังที่มี ขนาดเล็กกว่าบ่อเล็กน้อยลงในบ่อและขังพ่อแม่ พันธุ์ในกระชังจะช่วยให้จับพ่อแม่พันธุ์ได้สะดวกขึ้น By Krunoos
3.4.3.2 บ่อเพาะพันธุ์หรือบ่อผสมพันธุ์ ควรมี ขนาดตั้งแต่ 0.6-40 ตารางเมตร ความลึกของน้ำ ประมาณ 20-50 เซนติเมตร By Krunoos
3.4.3.3 บ่อฟักไข่ เป็นบ่อที่ใช้ฟักไข่สัตว์น้ำหลัง จากผสม ในการจัดเตรียมบ่อฟักไข่ ผู้เพาะเลี้ยง สัตว์น้ำควรมีความรู้ความเข้าใจดังนี้ By Krunoos
1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟักไข่ ได้แก่ ออกซิเจนและอุณหภูมิ ซึ่งไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว ต้องปล่อยให้น้ำไหลผ่านอย่างสม่ำเสมอโดยใช้แอร์ ปั๊ มจะช่วยให้ไข่ที่กำลังฟักกระจายอย่างสม่ำเสมอ และมีความต้องการออกซิเจนสูงขึ้นเรื่อยๆ ตาม ระยะการพัฒนาของไข่ และระหว่างนี้จะปล่อยสารที่ เป็นของเสียออกมาละลายกับน้ำ เช่น แอมโมเนีย และแก็สคาร์บอนไดออกไซด์ ควรมีการเปลี่ยนถ่าย น้ำเพื่อเป็นการกำจัดของเสียต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำ By Krunoos
ระยะเวลาในการฟักเป็นตัวขึ้นอยู่กับชนิด ปลาและอุณหภูมิของน้ำเป็นสำคัญ อุณหภูมิของน้ำ ที่ใช้ในการฟักไข่ตามปกติในเขตร้อนไม่มีปัญหา ด้านอุณหภูมิมากนัก ในฤดูหนาวของไทยหากหนาว มากระยะเวลาการฟักไข่นานกว่าปกติหรือบางครั้ง การเพาะพันธุ์อาจหลีกเลี่ยงช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น แต่ถ้าเป็นต่างประเทศในเขตหนาวจำเป็นต้อง ควบคุมอุณหภูมิของน้ำที่ใช้ฟักไข่โดยใช้เครื่องมือ ทำความร้อน (Heater) By Krunoos
ปรับอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะ สมคือ 25-27 องศาเซลเซียส และควรควบคุมการ ไหลของน้ำ เพราะไข่ของสัตว์น้ำบางชนิดมีลักษณะ บอบบางมาก เช่น ไข่ของปลาตะเพียนขาวและปลา ยี่สกเทศ ถ้าใช้กระแสน้ำไหลแรงๆ จะทำให้แตกเสีย หายได้ น้ำที่ใช้ในการฟักไข่สัตว์น้ำต้องเป็นน้ำที่ สะอาด ไม่ควรมีแพลงก์ตอนติดมากับน้ำ เพราะแพ ลงก์ตอนจะแย่งใช้ออกซิเจนในน้ำ By Krunoos
2) บ่อฟักไข่ควรสร้างในโรงเรือนที่มีอุปกรณ์พิเศษ ให้เหมาะสมกับประเภทของไข่สัตว์น้ำ ดังนี้ (1) ประเภทไข่ลอย (Buoyant Egg) ไข่ปลา ประเภทนี้จะลอยอยู่บนผิวน้ำ เพราะมีหยดน้ำมันอยู่ ภายในและเมื่อฟักออกเป็นตัวแล้วลูกปลาส่วนใหญ่ จะยังคงว่ายน้ำอยู่ใกล้กับผิวน้ำหงายท้องขึ้น อาจใช้ บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อฟักไข่หรือใช้กระชังผ้าโอล่อน แก้ว รูปร่างของกระชังควรมีรูปร่างเป็นแบบ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้าง 1 เมตร ความยาว 2 เมตร และความลึก 0.5 เมตร By Krunoos
ใช้หูเกี่ยวหรืออาจใช้โครงเหล็กถ่วงพื้นให้กระชัง ตึงคงรูปอยู่ได้ในขณะที่ทำการเพาะฟัก และต้องมี การเพิ่มออกซิเจนลงในน้ำโดยใช้แอร์ปั๊ ม เพื่อช่วย ไล่ไขมันที่ติดออกมาให้มากที่สุด เมื่อลูกปลาฟักออก เป็นตัวแล้วจึงรวบรวมลูกปลาไปอนุบาลในบ่อต่อไป ไข่ปลาแบบนี้ได้แก่ ปลาหมอไทย ปลาช่อน ปลาแรด ปลากะพงขาว ปลาหมอตาล เป็นต้น By Krunoos
(2) ประเภทไข่ครึ่งจมครึ่งลอย (Semi-buoyant Egg)ไข่ประเภทนี้มีความถ่วงจำเพาะใกล้เคียงกับน้ำ เพราะดูดน้ำเข้าไปมาก มีลักษณะโปร่งใส ไม่มีหยด น้ำมัน สามารถล่องลอยในน้ำได้ เมื่อน้ำนิ่งไข่จะจม ลงสู่พื้นก้นบ่อ ดังนั้น น้ำควรมีการไหลเวียนหรือให้ ออกซิเจนเพื่อไม่ให้ไข่จมลงก้นบ่อ ไข่ปลาประเภทนี้ ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ ปลาจีน เป็นต้น ในการฟักไข่แบบนี้วิธีที่นิยมใช้ทั่วไปมี 3 แบบ คือ By Krunoos
- แบบกรวยฟัก กรวยฟักที่ใช้กันทั่วๆไป เป็นแบบ ที่ระบบระบายน้ำเข้าทางก้นกรวยแล้วไหลออกทาง ปากกรวย แรงของน้ำจะทำให้ไข่ลอยฟุ้งอยู่ตลอด เวลา โดยปรับให้ระดับน้ำในกรวยฟักให้สูง 2 ใน 3 ของความสูงของกรวย ความแข็งแรงของน้ำควร อยู่ระหว่าง 0.5-1 ลิตรต่อนาที หรือใช้ผ้าโอล่อนแก้ว ทำกรวยก็ได้ By Krunoos
-แบบกระชังถ่วงก้น กระชังทำด้วยผ้าโอล่อนแก้ว แล้วขึงกระชังลงในบ่อพร้อมกับช่วยให้ไข่ฟุ้ง กระจายโดยการวางท่อลมที่บริเวณกึ่งกลางของ พื้นกระชังหัวทรายจะช่วยให้ไข่ฟุ้งกระจายหมุนเวียน คล้ายการฟักแบบกรวย By Krunoos
แบบถังฟักระบบน้ำไหล ช่วยให้น้ำหมุนเวียนอยู่ ในถังอย่างสม่ำเสมอ บริเวณกลางถังจะมีรูระบาย น้ำทิ้งบริเวณรอบๆจะบุด้วยตะแกรงหรือผ้าโอล่อน แก้วเพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ไหลไปกับน้ำหลังจาก ลูกปลาฟักออกเป็นตัวการนำลูกปลาไปอนุบาลให้ใช้ กระชังตาถี่รองที่ทางน้ำออก ลูกปลาก็จะไหลออก ทางท่อน้ำออกลงสู่กระชังที่เตรียมไว้ By Krunoos
ประเภทไข่จม (Demersal Egg) ไข่ประเภทนี้มี ความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ ไม่มีหยดน้ำมันและดูด น้ำได้น้อย ส่วนใหญ่ไข่มีสีเข้มและทึบแสง ซึ่งแยก เป็นไข่จมติดวัตถุและไข่จมไม่ติดวัตถุ ไข่ประเภทนี้ หลังจากสัตว์น้ำวางไข่แล้วไข่จะจมติดกับวัตถุใต้น้ำ เช่น สาหร่ายและพรรณไม้น้ำ การฟักไข่ควรเพาะฟัก ในกระชังผ้าโอล่อนหรือบ่อคอนกรีตโดยการหาวัสดุ ให้ไข่ติด อาจเป็นรังไข่เทียมที่เรียกว่า กากาบาน (kakaban) สำหรับฟักไข่ปลาไน หรือใช้แผงฟักไข่ สำหรับฟักไข่ปลาดุก By Krunoos
และมีการเพิ่มออกซิเจนระหว่างการฟักไข่ เมื่อฟัก เป็นตัวแล้วลูกปลาก็จะหลุดลอดตามุ้งในลอนของ แผงฟักไข่หรือหลุดจากกากาบานจึงยกแผงฟักไข่ หรือกากาบาน ไข่ประเภทจมติด เช่น ปลาไน ปลาดุก ปลาทอง ปลาสวาย กบ เป็นต้น By Krunoos
ส่วนไข่ประเภทจมไม่ติดวัตถุหลังจากสัตว์น้ำ วางไข่แล้วไข่จะจมสู่พื้นก้นบ่อ เช่น ไข่ปลานิล การ ฟักไข่นิยมฟักในอุปกรณ์ที่เป็นกรวยและถาด เพราะ ไข่ของปลานิลค่อนข้างเม็ดใหญ่ หนักและไม่อมน้ำ ระบบที่ใช้จึงออกแบบเลียนแบบธรรมชาติที่แม่ปลา อมไข่ไว้ในปากเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของกระแส น้ำพัดพาให้ไข่มีการเคลื่อนที่ไม่ตกลงไปกองทับถม กันจนไข่เสีย ระบบฟักไข่ที่ใช้เป็นระบบกรวยฟักที่ ปล่อยน้ำผ่านลง (Downward Water Flow) ให้น้ำ หมุนเวียนผ่านตลอดเวลา By Krunoos
น้ำที่ใช้ในการฟักไข่เป็นระบบหมุนเวียนที่ผ่าน การกรองซึ่งจะช่วยลดปัญหาน้ำขุ่นและน้ำมี คุณภาพดี ช่วยเพิ่มอัตราการฟักไข่และลดปัญหา การติดเชื้อราในไข่ปลาวิธีการฟักไข่โดยการนำ ไข่ปลานิลระยะที่ 1-3 ที่ผ่านการคัดเลือกและทำความ สะอาดเรียบร้อยแล้วมาใส่ในกรวยฟักไข่ ซึ่งไข่และ ลูกปลานิลที่เคาะออกจากแม่ปลาแยกได้ 5 ระยะ (Little et al., 1997) คือระยะที่ 1-5 ระบบฟักไข่ปลา นิลประกอบด้วยกรวยฟักไข่ By Krunoos
3.5 ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาในการเพาะฟักไข่ สัตว์น้ำ จุดประสงค์ในการฟักไข่เพื่อต้องการให้ได้ลูกปลา จำนวนมาก แต่ในบางครั้งจะมีอัตราการฟักต่ำหรือ ไข่เสีย อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ 3.5.1 การหมุนเวียนออกซิเจนในอุปกรณ์เพาะ ฟักไม่ดีพอประกอบกับไข่ปลาจะปล่อยของเสียออก มาตลอดเวลาจำเป็นต้องมีการถ่ายเทน้ำตลอดเวลา หรือทุก 6 ชั่วโมง หรือเมื่อเห็นว่าน้ำมีคุณสมบัติไม่ดี By Krunoos
3.5.2 ไข่ถูกเชื้อโรคหรือพาราไซต์เข้าทำลาย โดย เฉพาะเชื้อราเจริญบนเปลือกไข่ที่เสียแล้วลุกลามไป ยังไข่ดี ดังนั้นต้องควบคุมคุณภาพน้ำให้ดีหรือฆ่า เชื้อโรคในบ่อเพาะฟักและอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยด่าง ทับทิมในช่วงการเตรียมบ่อเพาะฟัก ส่วนศัตรูที่เป็น พาราไซต์มักเข้าทำลายโดยการกินซึ่งแก้ปัญหาโดย การกรองน้ำก่อนนำมาใช้ By Krunoos
3.5.3 คุณสมบัติของน้ำที่นำมาเพาะฟักไม่ดีพอ อาจเกิดจากปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำต่ำ แอมโมเนียสูง มีสิ่งแขวนลอยและโลหะหนักมากเกิน ไปในระยะแรกของการฟักไข่ที่เสียและไข่ที่ดีจะมี ลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากยังไม่มีความแตกต่าง เกิดขึ้นแต่หลังจากการฟักผ่านไป4-6ชั่วโมง ไข่ปลา ที่ไม่ได้รับการผสมกับเชื้อเพศผู้จะมีลักษณะสีขาว ขุ่น ส่วนไข่ปลาที่ได้รับการผสมจากเชื้อเพศผู้จะมี การพองตัวและสีใสขนาดสม่ำเสมอ ในระยะนี้ต้อง ควบคุมปริมาณออกซิเจนและอุณหภูมิของน้ำให้ เหมาะสม By Krunoos
3.5.4 น้ำเชื้อที่นำมาผสมไม่มีคุณภาพหรือไม่แข็ง แรงพอ มีผลทำให้อัตราการฟักต่ำและเป็นสาเหตุให้ เกิดเชื้อราและลุกลามไปยังไข่ที่ดีได้ By Krunoos
Search