Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 79FB1D0A-193F-4552-882D-40021676B0B4

79FB1D0A-193F-4552-882D-40021676B0B4

Published by นภิสา การะนัด, 2022-04-28 16:08:47

Description: 79FB1D0A-193F-4552-882D-40021676B0B4

Search

Read the Text Version

สะท้อนความรู้ การจัดการบริหารสุ ขภาพ Health Management 9000410

1. ระบบสุขภาพ ระบบสุขภาพ คือ ระบบความสัมพันธ์ทั้งหมดที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยองค์กร ผู้คน และ การกระทําร่วมกันโดยมีเจตนาในการส่งเสริมฟื้ นฟูการทํางาน ของร่างกาย ป้ องกันโรค และรักษาสุขภาพ เพื่อผลในเชิงบวก ต่อสุขภาพของประชาชนในแต่ละระดับ ไม่ว่าจะเป็ นในระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน หรือระดับประเทศ ขึ้นอยู่กับการ กําหนดขอบเขตของระบบสุขภาพนั้ นๆ ช่วยให้ประชาชนมี สุขภาพดีทั้งทางสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ ป้ องกัน อันตรายจากโรคภัยต่างๆ

ปั จจัยที่มีผลต่อสุขภาพ 1.ปั จจัยภายใน หมายถึง ปั จจัยที่เกี่ยวกับบุคคลโดยตรงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 1.1 องค์ประกอบทางกาย ได้แก่ องค์ประกอบที่เป็ นมาตั้งแต่เกิดไม่อาจ เปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ พันธุ กรรม เชื้อชาติ เพศ อายุและระดับพัฒนาการ 1.2 องค์ประกอบทางจิต ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ อัตมโนทัศน์ การรับรู้ ความเชื่อ เจตคติ ค่านิ ยม ความเครียด 1.3 องค์ประกอบทางพฤติกรรม หรือแบบแผนการดําเนิ นชีวิต (Life style) เป็ นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพมากที่สุด ได้แก่ พฤติกรรมเกี่ยวกับอนามัยส่วน บุคคล พฤติกรรมการับประทานอาหาร พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระและปั สสาวะ การพักผ่อนและการนอนหลับ พฤติกรรมทางเพศ พฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ ยง

2. ปั จจัยภายนอก หมายถึง ปั จจัยที่เกี่ยวกับบุคคลที่เป็ น ปั จจัยภายนอก ที่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพ 2.1 องค์ประกอบทางสังคม แต่ละสังคมประกอบ ด้วยระบบย่อยหรือสถาบัน สังคมที่สําคัญ 2.2 องค์ประกอบทางสิ่ งแวดล้อม เมื่อสิ่ งแวดล้อม เปลี่ยนจะกระทบต่อชีวิตและความ เป็ นอยู่

2. บุคลิกภาพ บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะโดยสว่นรวมของ บคุคลซึ่งประกอบด้วยลักษณะภายนอก ได้แก่ รู ปร่าง หน้ าตากิริยาท่าทางและลักษณะภายในไดีแก่นิ สัยใจคอ ความคิดความเชื่อทัศนคติค่านิ ยม อารมณ์ซึ่งเป็ นตัว กำหนดรู ปแบบของพฤติกรรมแสดงออกจนกลายเป็ น เอกลกัษณ์เฉพาะตัวมีผลทำให้เป็ น คุณลักษณะ เอกลักษณ์ของแต่ละบคุคล ซึ่งแสดงต่อสิ่ งแวดล้อมที่ตน กำลังเผชิญอยู่แตกต่างกัน

ลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ปรับตัวเก่ง มีเหตุผล ฉลาด อดทน สุ ภาพเรียบร้อย เชื่อมั่นในตนเอง สุ ขภาพแข็งแรง มีความเป็ นตัวของตัวเอง

แนวทางการสร้างบุคลิกภาพ - การสร้างบุคลิกภาพตามความต้องการของสังคม ได้แก่ เคารพสิทธิ มีเหตุผล มีความยุติธรรม มีศี ลธรรม เกรงใจ มีวินั ยในตนเอง เห็นอกเห็นใจ เชื่อฟั งผู้ใหญ่ มีน้ำใจเอื้อเฟื้ อ อ่อนน้ อมถ่อมตน - การสร้างบุคลิกภาพส่วนบุคคล ได้แก่ พัฒนาทางกาย พัฒนาทางสติปั ญญา พัฒนาทางสังคม พัฒนาทางอารมณ์

แนวทางในการปรับปรุ งบุคลิกภาพ การปรับปรุ งด้านร่างกาย คือ ความแข็งแรง ขนาดสัดส่วน การแต่งกาย ปรับปรุ งด้านสติปั ญญา คือ ฝึ กความรับผิดชอบ ฝึ กความอดทน ฝึ กแก้ปั ญหา ปรับปรุ งด้านอารมณ์ คือ หาสาเหตุของอารมณ์ หาวิธีการระบายอารมณ์ ใช้ชีวิต อยู่กับปั จจุบัน ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ปรับปรุ งด้านสังคม คือ ฝึ กอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง ฝึ กให้เกียรติผู้อื่น จริงใจ ฝึ กมารยาท มีมนุษยสัมพันธ์ มีคุณธรรม รับผิดชอบ พัฒนาตนเองทุกด้าน

3. ความเครียดและการจัดการความเครียด ความเครียดเป็ นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิด ขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปั ญหาต่างๆและ ทำให้ รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจวุ่นวายใจกลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่า ปั ญหาเหล่านั้ น เป็ นสิ่ งที่คุกคามจิตใจหรืออาจจะก่อ ให้ เกิดอันตรายแก่ร่างกายจะส่ งผลให้ สภาวะสมดุล ของร่างกายและจิตใจเสี ยไป

ชนิ ดของความเครียด ความเครียด ความเครียด สะสม ประจำวัน ความเครียด รุ นแรงหรือ ความเครียดวิกฤต

สั ญญาณทั่ วไปของความเครียด ร่างกาย : ปวดท้อง เหนื่ อยล้า นอนไม่หลับ เบื่อหรืออยากอาหารผิดปกติ จิตใจ : ขาดสมาธิ หลงวันเวลา อารมณ์ : วิตกกังวล ซึมเศร้า โกรธง่าย ฉุนเฉียว การรับรู้ตนเอง : สิ้นหวัง ชีวิตไม่มีจุดหมาย ไร้คุณค่า พฤติกรรม : ดื่มแอลกอฮอล์ พึ่งพายาเสพติด ขาดความยับยั้งชั่งใจ ความสัมพันธ์ : เก็บตัว ขัดแย้งกับผู้อื่นง่าย

การช่วยเหลือผู้ที่มีความเครียด - ดูแลเบื้องต้น ด้านร่างกาย - เอาใจใส่ใกล้ชิด - ให้ความสะดวกสบายและความมั่นใจ - ให้ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการและสำคัญ - ช่วยเหลือให้เข้าการร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ - ส่งต่อไปรับการรักษาผู้เชี่ยวชาญ

กลยุทธ์การจัดการความเครียด - ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ - ร่วมกิจกรรมทางศาสนา - เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ - ร่วมกิจกรรมทางสังคมตามประเพณีวัฒนธรรม - ช่วยเหลือให้เดิกความสะดวกสบายและสร้างความมั่นใจ - ให้ข้อมูลต่างๆ - การปรับตัวทางด้านอารมณ์

4 นั นทนาการ การทำ ให้สดชื่นหรือการสร้างพลังขึ้นมาใหม่ (Re+Fresh, Re+Creation) เป็ นความหมายเริ่มแรกที่ได้มีการอธิบายว่า การที่บุคคลได้รับประทานอาหารเข้าไปแล้วเปลี่ยนเป็ น พลังงานโดยแรงขับภายใน จะทำ ให้เขาต้องใช้พลังงานในรู ป แบบของการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วก่อให้เกิด การเหนื่ อย เมื่อยล้า ดังนั้ น บุคคลจึงต้องการนั นทนาการเพื่อ สร้างพลังขึ้นมาใหม่ หรือสร้างความสดชื่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ ง หรือการที่บุคคลมีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมนั นทนาการเพื่อ สร้างความสดชื่นและพลังงานขึ้นมาใหม่ ในรู ปแบบของการเล่น การแสดงออกในด้านกีฬา ดนตรี งานอดิเรก หรือไป ท่องป่ า เป็ นต้น ถือเป็ นการนั นทนาการ

ลักษณะกิจกรรมนั นทนาการ 1. เป็ นกิจกรรม (Activity) กล่าวคือเป็ นการกระทำด้วยการเคลื่อนไหวของ อวยัวะต่างๆของร่างกายหรือเปลี่ยนแปลงอิริยาบถที่มีปฏิกิริยาต่อสิ่ ง แวดล้อม เช่น การวิ่งออกกำลังกาย การเดินออกกำลังกายการ เล่นกีฬา 2. กระทำในเวลาว่าง (Leisure time) ลักษณะของกิจกรรมนั นทนาการนั้ น บุคคลต้องเข้าร่วมในเวลาว่างเท่าน้ั้ น เวลาว่าง หมายถึง เวลาที่บุคคลเป็ น อิสระจากการหาเลี้ยงชีพ และเป็ นเวลาที่เหลือจากการนอนและการ ประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำแปรงฟั น 3. ความสมัครใจ (Voluntary) เป็ นการเข้าร่วมกิจกรรมนั้ นต้องเป็ นไป โดยความสมัครใจ

4. ความสนุกสนานและความสมัครใจ (Satisfaction) กิจกรรม นั้ นต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจเพลิดเพลินสนุกสนานในทันที และเกิดความพอใจทั้งปั จจุบันและอนาคต 5. การสร้างสรรค์ (Constructive) กิจกรรมนั้ นจะต้องมีคุณค่าและ ประโยชน์ ต่อตนเองและสังคมโดยส่วนรวม รวมทั้งไม่เป็ น อบายมุขหรือเหตุแห่งความเสื่ อมเสียทั้งหลาย 6. ไม่เป็ นกิจกรรมสำหรับเลี้ยงชีพหรือเป็ นอาชีพ (Non - resurvival) เช่น การเล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน และเป็ นการ ออกกำลังกายโดยไม่ต้องการเงินตอบแทนถือเป็ นกิจกรรม นั นทนาการ

ประโยชน์ ของการนั นทนาการ 1. ประโยชน์ ทางด้านสุขภาพ 2. ประโยชน์ ทางด้านมนุษยสัมพันธ์ 3. ประโยชน์ ในการพัฒนาความเป็ นพลเมืองดี 4. ประโยชน์ ทางด้านการพัฒนาตนเอง

ประโยชน์ ทางด้านสุขภาพ 1 สุขภาพทางกายร่างกายของมนุษย์ หากไม่มีการเคลื่อนไหวออก กำลังกายอยู่ 2 สุขภาพจิต การเข้าร่วมกิจกรรมนั นทนาการจะช่วยใหค้นที่ทำงานหนั ก ก็ได้มีโอกาสผ่อนคลาย 3. ประโยชน์ ทางด้านมนุษย์สัมพันธ์นั นทนาการให้ประโยชน์ ท้งัทาง ส่ งเสริมความรักใคร่อบอุ่นภายในครอบครัว 4. ประโยชน์ ด้านการพัฒนาพลเมืองดีนั นทนาการมีส่วนเสริมสร้างใน การพัฒนาชุ มชน 5. ประโยชน์ ด้านการพัฒนาตนเองกิจกรรมนั นทนาการช่วยพัฒนา ความสามารถของบุคคล

ประเภทของกิจกรรมนั นทนาการ 1.การฝี มือและศิ ลปหัตถกรรม (Arts andcrafts) 2. เกมส์กีฬาและกรีฑา (Games, sport andtrackandfield’s) 3. ดนตรีและร้องเพลง (Music) 4.ละครและภาพยนตร์(Drama) 5. งานอดิเรก(Hobbies) 6.กิจกรรมทางสังคม (Socialactivities)

7. เต้นรำ ฟ้ อนรำ (Dance) 8.กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor activities) 9. ทัศนศึ กษา (Fieldtrip) 10.กิจกรรมพูด เขียน อ่าน ฟั ง (Speaking Writingand Reading) 11.กิจกรรมอาสาสมัคร(Voluntary Recreation)

5. ธรรมชาติของการเกิดโรค ธรรมชาติของการเกิดโรค (Natural history of disease) • หมายถึง การดำเนิ นโรคที่เกิดขึ้นในคน โดยที่ไม่มีการ รักษาหรือการแทรกแซงใดๆ • การเกิดโรคเริ่มจากการสัมผัสปั จจัยที่เป็ นสาเหตุของโรค ถ้าไม่มีการรักษา โรคอาจจะจบลงด้วยการหาย, การพิการ, หรือการตาย

ปั จจัยของเชื้อที่ท้าให้เกิดโรค • Infectivity หมายถึง สัดส่วนของผู๎ที่ติดเชื้อต่อผู้สัมผัสทั้งหมด • Pathogenicity หมายถึง สัดส่วนของผู้ที่มีอาการต่อผู้ที่ติดเชื้อ ทั้งหมด • Virulence หมายถึง สัดส่วนของผู้ที่มีอาการรุ นแรงหรือตายต่อ ผู้ที่มีอาการทั้งหมด

ระบาดวิทยา การศึ กษาเกี่ยวกับ “การกระจาย” และ “ปั จจัยหรือ องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการกระจายของสภาวะ ทางสุขภาพ” ใน “ประชากรที่สนใจ” และประยุกต์ ใช้ในการควบคุมป้ องกันปั ญหาทางสุขภาพ

6.การออกกำลังกาย การออกกำลังกาย  หมายถึง  การใช้แรงของกล้ามเนื้ อเพื่อ ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว  โดยการหด-ยืดกล้ามเนื้ อ   ซึ่งผล ที่ได้รับจะทำให้ระบบหายใจ  ระบบไหลเวียนโลหิต  กล้าม เนื้ อและกระดูก  ถูกกระตุ้นให้ทำกิจกรรม มากขึ้น  ทำให้ ร่างกายมีความแข็งแรงซึ่ งมีผลต่อสุ ขภาพกายและสุ ขภาพจิตดี ขึ้น

กิจกรรมทางกายคืออะไร กิจกรรมทางกาย คือ การขยับเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมด ในชีวิตประจําวันในอิริยาบถต่างๆทําให้เกิดการใช้และ เผาผลาญพลังงาน เคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดรวมถึงการ ประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจําวัน ไม่ว่าจะเป็ นการ ทํางาน เช่น การทํางานบ้านทําไร่ ทําสวน ยกของ การเดินทาง เช่น การเดินและขี่จักรยาน และกิจกรรม นั นทนาการต่างๆ เช่น การเดินชมสวน หรือเล่นกีฬา

การเลือกกิจกรรมสำหรับการออกกำลังกาย ข้อควรคำนึ ง • อายุ • เพศ • ระดับสมรรถภาพทางกาย • โรคประจำตัว • อุปกรณ์และการแต่งกาย

ปั จจัยที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดี • การออกกำลังกายอย่างสม่าเสมอ • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วน • การพักผ่อนที่เพียงพอ • การป้ องกันโรค • การลดหรือเลิกสิ่ งที่บั่นทอนสุขภาพ

สมาชิก นางสาวนภิสา การะนั ด รหัสนั กศึ กษา 6311116001 นางสาวขนิ ษฐา เลิศนามนต์ รหัสนั กศึ กษา 6311116023 สาขาสังคมศึ กษา คณะครุ ศาสตร์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook