Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้ พุทธประวัติ

ใบความรู้ พุทธประวัติ

Published by Tik2542TIK, 2021-11-02 11:51:38

Description: ใบความรู้ พุทธประวัติ

Search

Read the Text Version

ใบความรู้ พุทธประวัติ ( THE LIFE OF THE BUDDHA ) - ประสูติ - เทวทูต 4 - ตรัสรู้ - การบำเพ็ญทุกรกิริยา TEACHER KANOKWAN RABAM

ประสูติ (BE BORN) เหตุการณ์ ก่อนที่พระนางสิ ริมหามายาจะทรงพระครรภ์ ทรงสุบินว่าช้างเผือกนํ าดอกบัวมาถวาย แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ ช้างเผือกคือ สัญลักษณ์แห่งปัญญาบารมี มีความหมายว่าการเสด็จอุบัติขึ้นของ พระพุทธเจ้า คือ การเกิดของพระมหาบุรุษ ผู้มีบุญและมีปัญญามาก พระองค์จะทรงเป็น ที่พึ่งให้แก่ชาวโลกทั้งปวง เหตุการณ์ พระนางสิ ริมหามายาเสด็จไปประสูติที่กรุ งเทวทหะ แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ เหตุการณ์นี้ อาจวิเคราะห์ได้ ดังนี้ 1.เป็นธรรมเนี ยมของชาวอินเดียในสมัยนั้ น 2.เป็นกลอุบายของพระนางมังคลาที่บอกว่า เด็กที่เกิดในเดือนสิ บจะเป็นภัยต่อบ้านเมือง และพระราชบิดาทำให้พระนางสิ ริมหามายา กลัวจะเป็นอันตรายต่อพระสวามีพระนางจึง ทรงเสด็จกลับไปประสูติพระราชโอรสที่ กรุ งเทวทหะทั้งที่จริงเป็นแผนการที่ได้ส่ งทหาร ไปลอบปลงพระชนม์พระนางสิ ริมหามายาที่กรุ งเทวทหะ 3.พระนางสิ ริมหามายาทรงมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง พระสวามีและลูกในครรภ์

เหตุการณ์ ตอนประสูติ ณ สวนลุมพินี วัน พระกุมารทรงพระราชดำเนิ นได้ 7 ก้าวและมีดอกบัวผุดขึ้นมา 7 ดอกมารองรับพระบาท แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ วิเคราะห์ได้เป็น 2 นั ย คือ ในกาลต่อไปเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกผนวชจะบรรลุโพชฌงค์ 7 ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้ 7 ประการได้แก่ สติ (ความระลึกได้) ธัมมวิจยะ (ความสอดส่องสืบค้นธรรม) วิริยะ (ความเพียร) ปิติ (ความอิ่มใจ) ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น) และอุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ดอกบัวที่ผุดขึ้นรองรับพระบาทหมายถึงท่านผู้นี้ จะเป็นผู้ บริสุทธิ์จากกิเลสโดยสิ้ นเชิงและหลังจากตรัสรู้แล้วพระองค์ จะประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายใน 7 แคว้น ได้แก่ แคว้นอังคะกับมคธ แคว้นกาสีกับโกศล แคว้นวัชชี แคว้นมัลละ แคว้นวังสะ แคว้นกุรุ และแคว้นสักกะ จากเหตุการณ์ ทรงยกพระหัตถ์ ด้านขวาพร้อมกับทรงเปล่ง อาสภิวาจา “เราจะเป็นผู้เลิศ ที่สุดในโลกเราจะเป็นผู้เจริญ ที่สุดในโลก เราจะเป็นผู้ ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิด ครั้งนี้ เป็นการเกิดชาติสุดท้าย บัดนี้ การเกิดจะไม่มีอีกต่อไป”

พระองค์ทรงเป็นมหาบุรุษเอกของโลก พระธรรมที่ พระองค์ทรงแสดงเป็นที่ยอมรับของเทวดาและมนุษย์ทั้ง หลายสุดที่บุคคลใดเปรียบเทียบได้เสมอ เหมือนพระดํารัสของพระองค์เป็นหนึ่ งไม่มีสอง บุคคลเมื่อ ได้ฟังธรรมจากพระองค์แล้วนํ าไปปฏิบัติจะได้รับผลเป็น ความสุขความเจริญและรู้แจ้งเห็นจริงได้ เหตุการณ์ อสิตดาบสก็ได้เข้าเยี่ยม เมื่อพบพระราชโอรสผู้ มีลักษณะบุญญาธิการ อสิตดาบสถึงกับทรุดตัวลงกราบ แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ พระลักษณะของเจ้าชายสิ ทธัตถะต้องด้วยตำรับมหาบุรุ ษลักษณ์ ท่านเห็นว่าคนที่มีลักษณะอย่างนี้ ถ้าอย่างครองเรือนจะได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพแผ่ไปไกลแต่ถ้าได้ ออกบวชจะได้เป็นพระศาสดาผู้มีชื่อเสี ยงที่สุดในโลก แต่ท่านเชื่อแน่ ว่าเจ้าชายราชกุมารนี้ จะต้องออกบวช

เหตุการณ์ มีพราหมณ์จำนวน 8 คนเข้ามาทำนายพระลักษณะของพระราช โอรส พราหมณ์ทั้ง 7 คน ยกสองนิ้ ว มีแต่เพียงพราหมณ์หนุ่ มผม ดำเท่านั้ นที่ยกขึ้นนิ้ วเดียว แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ มีนั ยยะว่าพราหมณ์ที่ยกสองนิ้ วทำนายเป็น สองนั ยว่า… ถ้าออกบวชก็จะเป็นศาสดา เอกของโลก และถ้าไม่ได้ออกบวชอยู่เป็น กษัตริย์จะได้เป็นจักรพรรดิราช ส่วนพราหมณ์หนุ่ มผมดำผู้นั้ นซึ่งยกขึ้นนิ้ ว เดียว ทำนายเป็นนั ยเดียวว่า…พระ ราชโอรสผู้นี้ จะต้องออกบวชอย่างแน่ นอน เหตุการณ์ หลังจากที่ประสูติพระราชกุมารได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายา ทรงสิ้ นพระชนม์ แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ - วิเคราะห์ได้ว่าพระนางสิริมหามายา อาจมีอาการแทรกซ้อนหลังจากประสูติ - เป็นผลข้างเคียงจากพิธีขอบุตร - สงวนครรภ์ไว้แด่พระโพธิสัตว์เพียง พระองค์เดียว

เหตุการณ์ หลังจากที่พระนางสิ ริมหามายาทรงสิ้ นพระชนม์เจ้าชายสิ ทธัตถะ ทรงอยู่ในการดูแลของพระนางปชาบดี (น้ องสาวของพระนางสิริมหามายา) แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเครา ะห์ - พระนางปชาบดีเป็นผู้ที่มีความเสียสละ โดยได้ทำตามคำสัญญา ที่ได้ให้ไว้กับระนางสิ ริมหามายาก่อนที่จะสิ้ นพระชนม์ว่าจะดูแล เจ้าชายสิทธัตถะเหมือนลูกของตน และหลังจากนั้ นพระนางทรง พระครรภ์ แต่พระนางทรงคิดว่าหากพระนางมีลูกก็เท่ากับเจ้าชาย สิทธัตถะจะมีคู่แข่งในราชบัลลังก์ พระนางจึงไม่ยอมกินยาบำรุง ครรภ์จนแท้งลูก - พระนางปชาบดีเป็นผู้ที่ปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

เทวทูต 4 (ANGELS) เหตุการณ์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงสั่ งเหล่าเสนาอำมาตย์ข้าราช บริพารจัดสร้างปราสาทขึ้นมาสำหรับสามฤดู 1. ฤดู ร้อน 2. ฤดูฝน 3. ฤดูหนาว และให้เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพายโสธรา แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงหวั่นพระทัย และนึ กถึงคำทำนายของพราหมณ์ว่า พระราชโอรสนี้ จะต้องออกบวช จึงคิดหาทางออกที่จะกักขังพระราช โอรสเอาไว้ให้อยู่ครองเพศฆราวาสสื บสั นตติวงศ์ แห่งกบิลพัสดุ์ต่อไป เหตุการณ์ เจ้าชายสิทธัตถะรู้สึกเบื่อหน่ ายกับชีวิต ที่อยู่ในวังจึงออกไปเที่ยวดูความเป็นอยู่ ของประชาชนนอกวัง แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ สิ่งที่พระราชบิดาหามาให้ เป็นเสมือนกรงที่คอยขังคนโง่ให้ยินดีในรูป สวย ๆ เสียงเพราะ ๆ กลิ่นหอม ๆ รสอร่อย ๆ สัมผัสนุ่ มนวล ซึ่งเจ้าชาย สิ ทธัตถะมิได้ตกหรือสยบอยู่กับสิ่ งที่พ่อได้หามาให้และต้องการที่ออก นอกพระราชวังเพื่อดูความเป็นอยู่ของประชาชน

เหตุการณ์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะ หรือเทวทูต 4 แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ สั ญญาณที่เตือนให้ระลึกถึงคติธรรมของ ชีวิตไม่ให้ประมาท เมื่อพระองค์ทรงเห็น แล้วเกิดความรู้สึ กสลดหดหู่ในพระทัย ทำให้ครุ่นคิดว่าทำ ไมชีวิตของมนุษย์จึง ต้องประสบกับความแก่ ความเจ็บ และ ความตาย มนุษย์สามารถจะหลีกหนี สภาพเช่นนี้ ไปได้หรือไม่ ต่อมาเมื่อทรง เห็นเทวทูตที่ 4 คือ สมณะหรือนั กบวชก็ ทรงพอพระทัยแล้วคิดที่จะบวช เหตุการณ์ ขณะที่ประทับอยู่ในอุทยานพร้อมกับคิดในเรื่องหาทางพ้นทุกข์ อำมาตย์สองคนได้เข้ามากราบทูลว่าพระนางพิมพาได้คลอด พระราชโอรส แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จาก การวิเคราะห์ พระองค์ทรงตั้งพระทัย ที่จะออกผนวชเพื่อหา ทางพ้นทุกข์ แต่เมื่อ พระโอรสประสูติทำให้ พระองค์มีบ่วงมาผูกตน ไว้ไม่ให้ออกบวช

เหตุการณ์ พญามารปรากฏตัวและห้ามไม่ให้เจ้าชายสิ ทธัตถะ ออกนอกพระราชวัง แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ พระองค์ทรงมีความมุ่งมั่น และตั้งใจที่จะหาทางพ้นทุกข์ โดย ไม่หลงในอำนาจ ทรัพย์สินหรือความสุขสบาย แต่พระองค์ ต้องการให้คนที่ประองค์รัก ประชาชนทุกคนพ้นจากให้ได้ เหตุการณ์ พระเจ้าสุทโธทนะเข้าใจความเจ็บปวดของความพลัดพราก ทำให้พระองค์ทรงลบล้างระหว่างดินแดนเมืองใหม่และ เมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อให้ความเท่าเทียมกับคนทุกคน แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ ประชาชนได้รับความเป็นธรรมและมี ความเท่าเทียมในการใช้ชีวิต

การแสวงหาความรู้ ( SEEK KNOWLEDGE) เหตุการณ์ เจ้าชายสิ ทธัตถะทรงได้รับการศึ กษาเล่าเรียนโดยเชิญผู้รู้เป็น พราหมณ์ผู้เฒ่า ชื่อ วิศวามิตร มาสอนในวัง วิชาที่สอนก็เป็นไป ตามที่สอนกันในสมัยนั้ น คือ ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ เจ้าชายสิ ทธัตถะเป็นผู้ที่มีความสนใจในตำราเรียนตั้งแต่เยาว์ วัย เป็นคนช่างสงสัยและชอบตั้งคำถาม และรงมีพระปรีชา สามารถในทุกด้าน

วิชาที่ทรงศึกษา คือ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ อันเป็น สิ่งจำเป็นที่ผู้จะเป็นกษัตริย์ จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการ คือ 1. ยุทธศาสตร์ วิชานั กรบ 2. รัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง 3. นิ ติศาสตร์ วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ 4. พาณิชยศาสตร์ วิชาการค้า 5. อักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดี 6. นิ รุกติศาสตร์ วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน 7. คณิตศาสตร์ วิชาคำนวณ 8. โชติยศาสตร์ วิชาดูดวงดาว 9. ภูมิศาสตร์ วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ 10.โหราศาสตร์ วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ 11.เวชศาสตร์ วิชาแพทย์ 12.เหตุศาสตร์ วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา 13.สัตวศาสตร์ วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย 14.โยคศาสตร์ วิชาช่างกล 15.ศาสนศาสตร์ วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนา ทุกศาสนา 16.มายาศาสตร์ วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม 17.คันธัพพศาสตร์ วิชาร้องรำ หรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรี หรือดุริยางค์ศาสตร์ 18.ฉันทศาสตร์ วิชาการประพันธ์

เหตุการณ์ เจ้าชายสิ ทธัตถะทรงได้รับการศึ กษาเพียบพร้อมบริบูรณ์ ทุกแขนง ทั้งทางยุทธวิธีทหาร การปกครอง และการ ศาสนา ทรงได้ผ่านการชนะเลิศทุกครั้งที่มีการประลอง ฝีมือต่อสู้ ป้องกันตัว และทดสอบวิชาความรู้ ทุกประเภท จนพระเกียรติเลื่องลือไปทั่วชมพูทวีป แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ เจ้าชายสิ ทธัตถะมีความสามารถในด้าน ตำราและการต่อสู้ และเคยวางแผนการ รบให้กับกรุงกบิลพัสดุ์ และได้ใช้วิธีการ สันติเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ ล้มตาย

เหตุการณ์ เจ้าชายสิทธัตถะตัดสินพระทัยออกผนวช เพื่อที่จะหาทางหลุด พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด โดยสละความสุข ราชบัลลังก์ พระชายาและพระราชโอรส สู่ริมแม่น้ำอโนมาพร้อมกับ นายฉั นนะและม้ากัณฐกะ แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ - การหาวิธีที่จะทำให้ตัวเองพ้นจากความทุกข์ - เพื่อการชดใช้ ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงคิดว่าพระองค์ทรง เป็นต้นเหตุที่ทำให้ประชาชนต้องได้รับความยากลำบาก

เหตุการณ์ แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการ การที่เจ้าชายสิ ทธัตถะเสด็จออก วิเคราะห์ ผนวชทำให้พระเจ้าสุทโธทนะ เข้าใจความเจ็บปวดของความ ประชาชนได้รับความเป็นธรรม พลัดพราก ทำให้พระองค์ทรง และมีความเท่าเทียมในการใช้ชีวิต ลบล้างระหว่างดินแดนเมือง ใหม่และเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อให้ ความเท่าเทียมกับคนทุกคน เหตุการณ์ พระสิทธัตถะได้แสวงหาความรู้จากครู โดยได้เสด็จไปทางใต้ถึงแคว้น มคธ และศึกษาในสำนั กของอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้ น 2 ท่าน คือ อาฬารดาบส กาลามโคตรและอุทกดาบส รามบุตร ได้ทรงเรียนจบความ รู้ทั้งหมดที่อาจารย์มีอยู่ คือ จบฌานสมาบัติ 7 จากสำนั กอาฬารดาบส และฌานสมาบัติ 8 จากสำนั กอุทกดาบส ฌานสมาบัติ คือ วิธีเข้าสมาธิ เป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ชั้นต่ำจนไปถึงชั้นสูงที่ละเอียด สุขุมลุ่มลึก แต่เมื่อ วิเคราะห์แล้วก็ยังเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ที่ทรงต้องการ เพราะรู้ว่าจิตใจ ยังมีความรักความชัง และความหลงอยู่จึงบอกลาอาจารย์ออกจากสำนั ก นั้ นและเดินทางต่อไป

แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ - เจ้าชายทรงทดลองวิธีการต่าง ๆ แต่เมื่อวิธีการนั้ นไม่ได้ บรรลุสิ่งที่ตั้งไว้ พระองค์จึงพยายามที่จะขนขวายหาสิ่งใหม่ ๆ ปฏิบัติและทดลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ - มีความเพียร พยายาม ในการทำสมาธิ - มีการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี โดยพระองค์ไม่ได้ ยึดถือกับการเป็นกษัตริย์ แต่พระองค์ทรงครองตนแบบ นั กบวชเช่นเดียวกับนั กบวชคนอื่น ๆ

ก า ร บำ เ พ็ ญ ทุ ก ร กิ ริ ย า (ASCETICISM) เหตุการณ์ พระองค์ทรงเห็นว่า การทรมานร่างกายอาจนำไปสู่ความรู้ ที่ทรงต้องการได้ จึงได้ทดลองปฏิบัติโดยทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ พระสิทธัตถะทรงคิดพิจารณาด้วยพระองค์เองทรงหาวิธีต่าง ๆ เพื่อให้พ้นจากกิเลส แต่สุดท้ายวิธีที่กำลังทำกลับเพิ่มความทุกข์ และกิเลสในใจ วิธีการต่าง ๆ คือการทดลอง และผลที่เกิดขึ้น ตามมาผลของการทดลองที่ไม่ได้บรรลุความมุ่งหมาย วิธีการ และการทดลองใหม่จึงเกิดขึ้น

การบำเพ็ญทุกรกิริยานี้ มี 3 วิธี 1.การควบคุมอวัยวะบางส่ วนของร่างกายไว้ อย่างเข้มงวด ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เช่น ใช้ฟันบนกับฟันล่างขบกันให้แน่ น ใช้ลิ้นกดเพดานปากให้แน่ นเป็นเวลานาน ๆ จนเกิดความเครียดทั่วร่างกาย 2.กลั้นลมหายใจ โดนกลั้นให้ถึงที่สุดแล้วผ่อน หายใจทีละน้ อย แล้วกลั้นต่อสลับกับไปจนเกิด ความเร่าร้อนในร่างกายเป็นอย่างยิ่ง 3.อดอาหาร โดยลดปริมาณอาหารที่บริโภคลงวัน ละเล็กละน้ อยทุกวันจนกระทั่งไม่บริโภคอะไรเลย

เหตุการณ์ ขณะที่เจ้าชายสิ ทธัตถะบำเพ็ญทุกรกริยาจนถึงขั้นงดเสวยอาหาร พระองค์แทบสิ้นชนม์ มีพระวรกายซูบผอมเหลือแต่หนั งหุ้มกระดูก ได้ มีพระอินทร์ถือพิณสามสายมาดีดให้ฟัง สายพิณที่ 1 ขึงลวดตึงเกินไป เมื่อดีดสายเลยขาด สายที่ 2 ขึงลวดหย่อนเกินไปเมื่อดีดจึงไม่ดัง สาย ที่3 ขึงลวดไม่หย่อน ไม่ตึง ขึงพอดี ๆ เมื่อดีดจึงมีเสียงดังไพเราะ

แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ - เมื่อพระองค์ได้สดับเสียงพิณสายที่ 3 ดังออกมาก็เกิดอุปมา ปรากฏขึ้นในพระทัยของพระองค์ว่า ไม้สดแช่อยู่ในน้ำทำ อย่างไรก็สีให้เกิดเป็นไฟไม่ได้ อย่างแรกเปรียบเหมือนคนที่มี กิเลสและอยู่ครองเรือน อย่างที่สองเปรียบเสมือนคนที่ ออกบวชแต่ใจยังมีกิเลส และอย่างที่สามเหมือนคนที่ออกบวช แล้ว และได้ทำใจให้หมดจากกิเลส ซึ่งทำให้พระองค์ได้คิด - พระสิทธัตถะทรงคิดด้วยพระองค์เอง เพราะหลังจากทรง บำเพ็ญทุกรกิริยามาอย่างหนั กก็ทรงพบว่าไม่ใช่หนทางที่จะนำ ไปสู่การพ้นทุกข์แต่กลับทำให้มีความทุกข์มากขึ้นกว่าเดิม โดย ทรงนึ กถึงการดีดพิณที่ต้องดึงสายลวดให้ตึงพอดีเสียงพิณก็ จะดังไพเราะ การบำเพ็ญเพียรของพระองค์ก็น่ าจะทำให้พอดี ๆ

เหตุการณ์ พระสิทธัตถะทรงตั้งพระทัยแน่ วแน่ ทำให้จิตใจสงบเป็นสมาธิ แล้วคิดค้นคว้าหาเหตุและผลที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของมนุษย์ จนได้รู้ชัดแจ้งถึงความจริงอย่างยิ่ง 4 ประการ ที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นหลักการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งสิ้ น แนวคิด/ข้อคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ -การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการรู้สาเหตุของปัญหานั้ น โดยวิธี การแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา เหตุผล และสติในการแก้ถึงจะ บรรลุตามมมติฐานที่ตั้งไว้ -การทำจิตใจให้สงบและมีสมาธิทำให้เกิดปัญญาอย่างรู้แจ้ง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook