Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

Published by narissachaisin080, 2022-08-27 07:08:18

Description: ไดโนเสาร์

Search

Read the Text Version

สัไตดว์โโ ลนกเล้สาานรป์ี มาสนุก ตื่นเต้น แล้วทำความรู้จักประเภทเเละชื่อ ของไดโนเสาร์กัน นานงาสงาสวาณวณริสริสสสาาใใจจศศิิลลปป์์ มม..66//33 โรงเรียนสอยดาววิทยา

คอมซอกนาทัล คอมซอกนาทัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด สกุลไดโนเสาร์ที่ ตัวเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 70เซนติเมตร และมี น้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัม ฟอสซิลของมันพบในเหมืองที่ ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยังพบในประเทศไทยของเรา ด้วย พบเศษกระดูก 2 ชิ้นของกระดูกแข้งด้านซ้าย และ กระดูกน่องด้านขวา มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร พบ ที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่นพบอยู่ในเนื้อหินทราย หมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ลักษณะของ กระดูกที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกเนธัส ลอง กิเปส มันล่าสัตว์ตัวเล็กอย่างแมลง หรือหนู อาศัยอยู่ปลายยุคจู ราสซิก วิ่งเร็ว เป็นไดโนเสาร์เทอราพอดขนาดเล็ก เล็กน้อย นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

คาร์ชาโรดอนโทซอรัส คาร์ชาโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus)เป็นหนึ่งใน ไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุด มีขนาดโดย ประมาณคือ 13 เมตร อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาเหนือเมื่อ ประมาณ 93-100 ล้านปีก่อน ชื่อ คาชาโรดอน มาจากภาษา กรีกมีความหมาย ขรุขระ หรือ คม นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

คอมซอกนาทัล คาร์โนทอรัส (อังกฤษ: Carnotaurus) ค้นพบที่ทุ่ง ราบพาร์ตาโกเนียของอาร์เจนตินา มีเขาอยู่บนหัว 2 เขา เป็นลักษณะที่พิเศษของคาร์โนทอรัส ชื่อของ มันมีความหมายว่ากิ้งก่ากระทิง ขนาดประมาณ 7.5 เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียส ตอนปลายเมื่อประมาณ 75-80 ล้านปีก่อน นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

คารามาซอรัส คามาราซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจู แรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 12-18 เมตร กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้าน ใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัว อื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขน ขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้า เล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการ ระบายความร้อนและดมกลิ่น นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

แคมป์โทซอรัส แคมป์โทซอรัส (อังกฤษ: Camptosaurus - กิ้งก่าหลังโค้ง) มีชีวิต อยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่ สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความ ยาวประมาณ 6.5เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็น ไดโนเสาร์ใน กลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสาย พันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้ สำหรับกินพืชในป่า เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่ได้มีขนาดอาวุธป้องกันตัวครบเครื่องแบบสเตโกซอ รัส หรือ มีขนาดใหญ่ร่างยักษ์อย่างซอโรพอด ฝีเท้าก็ไม่ว่องไวนัก เนื่องจากน้ำหนักตัวที่หนักไป (จนต้องยืน 4 ขา ในบางเวลา) จึงมัก กลายถูกล่าเป็นเหยื่อจากพวกไดโนเสาร์กินเนื้อในป่า จนกระทั่งมัน เริ่มวิวัฒนาการไปเป็น ไดโนเสาร์ร่างใหญ่ติดอาวุธอย่างอิกัวโนดอน นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

มาเมนซีซอรัส มาเมนชีซอรัส (อังกฤษ: Mamenchisaurus) เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่คอยาวที่สุด ซึ่งเป็น ความสูงครึ่งหนึ่งของความสูงทั้งหมด สปีชีส์ ส่วนใหญ่อาศัยบนโลกในช่วง 145 - 150 ล้านปีมาแล้ว ในช่วง Tithonian ช่วงปลายข องยุคจูแรสซิก นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

แคมป์โทซอรัส เวโลซีแรปเตอร์ (อังกฤษ: Velociraptor) เป็นไดโนเสาร์กิน เนื้อที่ฉลาดและว่องไว มีความยาวประมาณ1.5-1.8เมตร อยู่ใน วงศ์โดรเมโอซอร์ มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า อาวุธคือเล็บเท้าแหลมคมเหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่ คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลก ช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียส(Cretaceous) มีหลักฐานพบเป็น ฟอสซิลในบริเวณเอเซียกลาง(เคยมีการค้นพบฟอสซิลว่ามัน ต่อสู้กับโปรโตเซราทอปส์ด้วย นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

กิก้าโนโตซอรัส กิก้าโนโตซอรัส (อังกฤษ: Giganotosaurus) (สะกดได้2แบบ กิก้าโน โตซอรัส และจิกแกนโนโตซอรัส) มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ทุ่งปาตาโกเนียที่ ประเทศอาร์เจนตินาช่วง กลางยุคครีเตเซียส 93 - 89 ล้านปี พบซาก ฟอสซิลในปี1993 เป็น 1 ใน 3 ไดโนเสาร์กินเนื้อที่โตและดุที่สุด ยาว13.5เมตร และนํ้าหนักอยู่ระหว่าง 6.5-13.3 ตัน ความยาวกะโหล กศรีษระ 1.95 เมตร (6.3ฟุต) ขนาดของมันยาวกว่า ไทรันโนซอรัส แต่เล็กกว่า สไปโนซอรัส แต่ทว่ามันก็ยังมีคู่แข่งทางด้านขนาดอย่าง อัลโลซอรัส ที่ยาว 9เมตร (36ฟุต) คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่ ยาว13เมตร (42ฟุต) สไปโนซอรัส ที่ยาว18เมตร (59ฟุต) ไทรันโนซอ รัส ที่ยาว 12.5เมตร (40ฟุต) อโครแคนโตซอรัส ที่ยาว 12 เมตร (39ฟุต) มาพูซอรัส ที่ยาว 12 เมตร (39ฟุต) ซึ่งไม่ได้มีชีวิตอยู่ในช่วง เวลาเดียวกันกันกับ กิก้าโนโตซอรัส นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า กิก้ าโนโตซอรัส สามารถทำความเร็วได้ถึง 14 เมตรต่อวินาที (50kmต่อ ชั่วโมง)ด้วยขนาดอันใหญ่โตและขาที่ยาวของมัน นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

เซอราโตซอรัส เซอราโตซอรัส (อังกฤษ: Ceratosaurus - กิ้งก่ามีเขา) เป็น ไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) ช่วงปลายยุคจูแรสสิค มีความ ใกล้ชิดกับสายพันธุ์ของอัลโลซอรัส แต่ขนาดตัวเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง ความยาวลำตัวประมาณ 6 เมตร แต่จากการคำนวณคาดว่า ตัวโตที่สุดอาจยาวได้ 8.8 เมตร มีลักษณะ คล้ายอัลโลซอร ัส แต่มีส่วนหัวที่โตกว่า เมื่อเทียบกับสัดส่วนลำตัว แขนสั้นและเล็กมี 4 นิ้ว ไม่น่าใช้เป็นอาวุธได้ และมีเขายื่นออกมาจากเหนือ จมูกและดวงตา เป็นเอกลักษณ์และที่มาของชื่อ \"กิ้งก่ามีเขา\"ของมัน แต่เขาของซีราโตซอรัส เป็น แผ่นกระดูกบางๆ ไม่แข็งแกร่งพอจะเอาไปใช้เป็น อาวุธได้ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า เขาของมันน่าจะมี ไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ไดพลอโดคัส ไดพลอโดคัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplodocus (เสียงอ่าน ภาษาอังกฤษ: /daɪˈplɒdəkəs/))หรือ กิ้งก่าสันคู่ วงศ์ดิพโพล โดซิเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโด มอพา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลซอโรพอดเช่น เดียวกับ อะแพทโตซอรัสและ มีชื่อเสียงพอๆกัน ในด้านความ ยาวขนาดตัว ขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาว 25-27 เมตร( David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร) แต่ หนักแค่ 10-12 ตัน ถือว่าเป็นซอโรพอดที่เบาที่สุด อาศัยอยู่ กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 150 - 147 ล้านปีก่อน นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ซัลตาซอรัส ซัลตาซอรัส (Saltasaurus) ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจาก ซัลตา ) เป็ นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาด เล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 - 65 ล้านปี และ เป็ นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12เมตร หนัก 7 ตัน เช่น เดียวกับ ซอโรพอดจำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟั น แท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะ เด่นของมันและซอโรพอดยุคหลังอื่ นๆคือ ผิวหนั งมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากหนั ง เพื่อประโยชน์เป็ นเกราะ ป้ องกันลำตัวมันจากนัก ล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อ ปี ค.ศ.1980 นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

สไตราโคซอรัส สไตราโคซอรัส (อังกฤษ: Styracosaurus, เสียงอ่านภาษา อังกฤษ: /stɪˌrækɵˈsɔrəs, ซไทแระเคอะซอเริส/หมายถึง \"กิ้งก่าหัวแหลม\" มาจากภาษากรีกโบราณ สไทรักซ์/στύραξ \"หัวหอก\" และ ซอรัส/σαῦρος \"กิ้งก่า\") เป็นสกุลของ ไดโนเสาร์กินพืชในอันดับเซราทอปเซีย มีชีวิตอยู่ในยุคครี เทเชียส (ช่วงแคมปาเนียน) เมื่อประมาณ 76.5 ถึง 75.0 ล้านปีมาแล้ว มันมีเขา 4-6 อัน ยื่นออกมาจากแผงคอ และยัง มีเขาที่มีขนาดเล็กยื่นออกมาบริเวณแก้มแต่ละข้าง และมีเขา เดี่ยวยื่นออกมาบริเวณเหนือจมูก ซึ่งน่าจะมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) และกว้าง 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) ส่วน หน้ าที่ของเขาและแผงคอยังไม่มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนมา จนถึงปั จจุบัน นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ซีโลไฟซิต ซีโลไฟซิต (อังกฤษ: Coelophysis) เป็นไดโนเสาร์มี ความสามารถในการวิ่งอย่างรวดเร็ว เพราะกระดูก ของซีโลไฟซิตนั้นกลวง ซีโลไฟซิตยาวประมาณ 3.2 เมตร อาหารของพวกซีโลไฟซิตคือซากสัตว์ที่ตายแล้ว กิ้งก่า และแมลง แต่บางครั้งเมื่อหน้ าแล้งมาถึงซึ่ง เป็นช่วงหาอาหารลำบาก ซีโลไฟซิตจึงกินพวก เดียวกันด้วย ฟอสซิลของซีโลไฟซิตพบที่รัฐ นิวเม็กซิโก ซีโลไฟซิตอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอน ปลาย เคยมีการพบฟอสซิลของซีโลไฟซิต 1,000 ตัว ที่ทุ่งปีศาจ จึงกล่าวว่าซีโลไฟซิตอาจจะอยู่เป็นฝูง แต่ นั กวิทยาศาสตร์บางคนค้านว่าซีโลไฟซิตไมได้อยู่ เป็นฝูง เพียงแต่ตายในที่เดียวกันเท่านั้น นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

สเตโกซอรัส สเตโกซอรัส( กิ้งก่ามีหลังคา )เป็นไดโนเสาร์กินพืช จำพวกสะโพกนก( Ornithischia ) ที่มีเกราะป้ องกัน ตัวจำพวกแรกๆ มีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้ าสั้น และปากเล็ก มีแผ่น เกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มี ไว้ขู่ศัตรูโดดสูบ ฉีดเลืดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามัน มีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่น กระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้ องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วย ในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยัง หนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้ องกันตัวจาก ไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัส รูปร่างดูน่ากลัวแต่สมองมันเล็กกว่าถั่วเขียวและหนัก ไม่ถึง 70 กรัม ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตันอาศัย อยู่ยุคจูแรสซิก 170-130 ล้านปี นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

สยามโมซอรัส สยามโมซอรัส สุธีธรนี (อังกฤษ: Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ขนาดกลาง พบ ครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่ง ชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ชิ้นส่วน ตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ เป็น รูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้ อยในแนวด้าน หลังของฟัน บนผิวของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนว ความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของตัว ฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่มีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ความยาว ของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร ลักษณะฟันดังกล่าวไม่ เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณา ให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ \"สยามโมซอรัส สุธีธรนี\" นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ไทแรนโนซอรัส ไทแรนโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่โด่งดังที่สุดในโลก ด้วยฐานะ ไดโนเสาร์กินเนื้อที่ตัวใหญ่ที่สุด ก่อนจะเสียอันดับให้ คาร์ชา โรดอนโทซอรัส และ จิกแกนโนโตซอรัส และ ปรากฏตัว ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น จูราสสิค พาร์คไดโนเสาร์ที เรกซ์ ชื่อซู (Sue) เป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ทีเรกซ์ ที่มี ความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า12.8 เมตร และ ความสูงถึงสะโพก 4 เมตร โดยตั้งชื่อมาจากซูฃานนัก ธรณีวิทยาที่ค้นพบปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก ในปี 2549 ซูได้เป็นตัวเอกหนึ่งใน ภาพยนตร์เรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ (Natural History Museum) ชื่อ Night at the Museum ของ ชอน เลวี่ (Shawn Levy) มีเนื้อเรื่องเกี่ยว กับสิ่งต่างๆในพิพิธภัณฑ์ที่ต้องคำสาปให้กลับมีชีวิต ขึ้นมา ในตอนกลางคืน นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ไซคาเนีย ไซคาเนีย (อังกฤษ: Saichania) เป็นไดโนเสาร์ หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่า สวยงาม อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ตรงที่หางคล้ายมีกระบองติดอยู่ กระบองใช้เป็น อาวุธฟาดศัตรู สาเหตุที่มันได้ชื่อว่างดงามเป็น เพราะฟอสซิลของมันอยูในสภาพสมบูรณ์มาก ยาวประมาณ 7 เมตร กินพืชเป็นอาหาร ค้นพบ ฟอสซิลที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1977 นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ไดโนนีคัส ไดโนนีคัส (Deinonychus) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ ฉลาดและว่องไว มีความยาวประมาณ 2-5 เมตร อยู่ ในวงศ์โดรเมโอซอร์ มีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่ม เหมือนหมาป่ า อาวุธคือเล็บเท้า แหลมคมเหมือนใบ มีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ เป็นไดโนเสาร์ที่มี ชีวิตอยู่บนโลก ช่วงประมาณ 83-70 ล้านปีก่อนในยุค ครีเทเชียส (Cretaceous) มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิล ในบริเวณอเมริกาเหนือ นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

พลาทีโอซอรัส พลาทีโอซอรัส (อังกฤษ: Plateosaurus) เป็น ไดโนเสาร์โปรซอโรพอดของยุคไทรแอสซิก ขนาด 7.8 เมตร อยู่กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร พบที่ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เมื่อหน้ าแล้ง มาถึงมันจะอพยพ มันสามารถเดินได้ทั้ง 4 ขา และ 2 ขา เวลากินอาหารบนต้นไม้จะยืนด้วย 2 ขา แต่เวลาเดินหรือกินอาหารที่อยู่บนพื่นอย่าง หญ้า มันก็จะเดิน 4 ขา พบในยุคไทรแอสซิก ตอนปลาย-ยุคจูแรสซิกตอนต้น นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

พาราซอโรโลฟัส ไดโนเสาร์พาราซอโรโลฟัส (อังกฤษ: Parasaurolophus) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ ในยุคค รีเตเชียสตอนปลายพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น ในอัลเบอร์ต้า คานาดา หรือรัฐยูทาห์ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ลักษณะเด่นของพาราซอโรโลพัส คือ หงอนที่ มีลักษณะเหมือนท่อกลวงยาว บางตัวอาจจะมีหงอน ยาวถึง1.5 เมตร มีไว้ส่งเสียงหาพวก สามารถเดินได้ ทั้ง 2 เท้าและ 4 เท้า มีขนาดใหญ่โตพอสมควร เท่าที่ ค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์นี้จะมีความยาวประมาณ 10 เมตร กินพืชเป็นอาหาร นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

โคริโทซอรัส โคริโทซอรัส (อังกฤษ: Corythosaurus) เป็ น ไดโนเสาร์จำพวกแฮดโดรซอร์ อาศัยช่วงปลายยุค ครีเตเซียส เมื่อ 65 ล้านปี ก่อน ขนาด 12 เมตร ริว เท ซูน ฟอสซิลของมันพบที่ทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อแปลว่ากิ้งก่ามงกุฏ ลักษณะปากของโคริโทซอ รัสคล้ายกระสุนปื น สามารถกินหินได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว มันเป็ นหนึ่งในเหยื่อ ที่โปรดปราณ ของ ไทรันโนซอรัส นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ซัลตาซอรัส ซัลตาซอรัส (Saltasaurus) ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจาก ซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาดเล็กที่ เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 - 65 ล้านปี และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาว เพียง 12เมตร หนัก 7 ตัน เช่นเดียวกับ ซอโรพอด จำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟันแท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะเด่นของมันและซอโรพอด ยุคหลังอื่นๆคือ ผิวหนังมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมา จากหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้ องกันลำตัวมัน จากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อ ปี ค.ศ.1980 นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ไดโลโฟซอรัส ไดโลโฟซอรัส (อังกฤษ: Dilophosaurus) หงอนของ มันจะมีเฉเพาะตัวผู้เท่านั้น มีไว้อวดตัวเมียเวลาผสม พันธ์ ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่ามีหงอน พบที่ ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศจีน อาศัยอยู่ในยุคจูรา สสิคตอนต้นเมื่อประมาณ 208 ล้านปีก่อน มีหงอนบน หัวไว้สำหรับโอ้อวดตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์ ไดโลโฟซอรัส เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วจากไปจากการ ปรากฎตัวใน ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค โดย ภายในภาพยนตร์ได้มีการแสดงว่า ไดโลโฟซอรัส สม มารถพ่นพิษออกจากปากได้เพียงเพื่ อเป็ นการเพิ่ม อรรถรสในการชมเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมัน ไม่สามารถพ่นพิษได้ นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ทาร์โบซอรัส ทาร์โบซอรัส บาร์ทา เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อดุร้าย มากเหมือนไทรันโนซอรัส เป็นบรรพบุรุษของ ไท รันโนซอรัส พบได้ในเอเชีย มองโกเลีย ความยาว ประมาณ 10-12 เมตร หนัก 5 - 6 ตัน สูงจากหัวถึง พื้น 5 เมตร อยู่ยุคครีเทเชียส 85 - 65 ล้านปีก่อน มันมีลักษณะไม่แตกต่างกับไทรันโนซอรัส เร็กซ์ เลย บางคนจึงเรียกมันว่าไทรันโนซอรัส บาร์ทา นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ทีนอนโตซอรัส ทีนอนโตซอรัส (อังกฤษ: tenontosaurus) ชื่อ ของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเอ็นกล้ามเนื้อ ที่ชื่อ ของมันมีความหมายแบบนี้เพราะมีเส้นเอ็นแข็งๆ ตั้งแต่หลังไปจนถึงหาง พบในยุคครีเทเซียสตอน ต้น ฟอสซิลของมันค้นพบที่อเมริกาเหนือและ แอฟริกา ขนาด 5 เมตร เวลายืนมันใช้ขาหลัง เวลาเดินมันจะใช้ขาทั้งหมด นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

โทรโอดอน โทรโอดอน (Troodon หรือ Troödon) เป็น ไดโนเสาร์ กินเนื้ อที่จัดว่าเป็ นไดโนเสาร์ทีมีความฉลาดมากที่สุด ไดโนเสาร์โทรโอดอนเป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ใน ช่วงค รีเตเชียสตอนปลาย พบได้ ในประเทศอเมริกาและคานา ดา ไดโนเสาร์โทรโอดอนจัดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาด เล็กกว่า ไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างที่บอบบาง ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.8 เมตร ข้างกะโหลกศีรษะ ของมัน ค่อนข้างแตกต่างจากไดโนเสาร์พันธุ์อื่น ๆ เพราะบริเวณด้านหลังและด้านข้างของจมูก จะมีโครง กระดูกแหลมโผล่ออกมา ฟันมีลักษณะแหลมและเป็นซี่ เล็ก ๆ ตาโต ทำให้สามารถ มองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ดี มี นิ้วมือสำหรับตะครุบ นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ไททันโนซอรัส ไททันโนซอรัส (อังกฤษ: Titanosaurus) จัดเป็น ไดโนเสาร์กินพืชในกลุ่มซอโรพอด ลำตัวยาว 9- 12 เมตร นำหนัก 13 ตัน เกิดในยุคครีเทเชียส ตอนปลาย พบทางตอนใต้ของทวีปยุโรปและทวีป อเมริกาใต้ ไททันโนซอรัส มีลำตัวขนาดใหญ่ คอ ยาวหนา หางยาว เดิน 4 ขา เชื่องช้า มักอาศัยอยู่ รวม - กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร สมองขนาด เล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

บารีโอนิกซ์ บารีโอนิกซ์ (Baryonyx) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ อยู่ในวงศ์สไปโนซอร์ มีถิ่นกำเนิดที่อังกฤษ บารี โอนิกซ์มีฟันรูปกรวย มันมีเล็บหัวแม่มือที่ใหญ่กว่า เล็บอื่น ยังมีการพบเกล็ดปลาดึกดำบรรพ์ เลปิโด เทส ที่กระเพาะอาหารของ มันอีกด้วย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดว่า มันคงจะกินปลาเป็น อาหาร โดยใช้เล็บจิกปลาขึ้นมากิน แต่อย่างไร ก็ตาม มันก็กินไดโนเสาร์อื่นๆ และกระทั่งลูกของ มันเอง มันมีความยาวประมาณ10.5เมตร อาศัย อยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ120ล้านปี ก่อน นางสาวณริสสา ใจศิลป์ ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา

ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน ได้รับความรู้เเละสนุกกันบ้าง หรือป่าวว ขอบคุณเเละสวัสดีค่าาาาา นางสาวณริสสา ใจศิลป์ม.6/3 โรงเรียนสอยดาววิทยา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook