Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การจัดการเรียนรู้_1539206586

การจัดการเรียนรู้_1539206586

Description: การจัดการเรียนรู้_1539206586

Search

Read the Text Version

สรุปรายงานการวจิ ยั เรือ่ ง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศกั ยภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดน อาจารย์ ดร.มารตุ พัฒผล สาขาการวิจยั และพัฒนาหลักสูตร บัณฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวโิ รฒ ทุนอดุ หนุนงานวจิ ัย งบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวโิ รฒ (เงนิ รายได้บณั ฑิตวิทยาลัย ประจาปีงบประมาณ 2557)

“การเรยี นรู้บรู ณาการโครงการตามพระราชดาริ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชว่ ยเสริมสร้างกระบวนการคดิ ทกั ษะชีวิต และความสขุ ในการเรียนรู้ของผู้เรยี น”

สรุปรายงานการวจิ ัย เรอื่ ง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศกั ยภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน อาจารย์ ดร.มารตุ พัฒผล สาขาการวิจยั และพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครนิ ทรวโิ รฒ ทุนอุดหนนุ งานวิจัย งบประมาณเงนิ รายไดม้ หาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ (เงินรายได้บณั ฑติ วิทยาลัย ประจาปีงบประมาณ 2557)

สรปุ รายงานการวิจยั เร่ือง การพฒั นารูปแบบการเสรมิ สร้าง ศกั ยภาพการจัดการเรียนรู้ของครโู รงเรียนตารวจตระเวนชายแดน อาจารย์ ดร.มารุต พฒั ผล พิมพ์ครง้ั ที่ 1 ตุลาคม 2557 กรุงเทพฯ: บณั ฑติ วทิ ยาลัย มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ

ประกาศคุณปู การ การวิจัยในครั้งน้ีสาเร็จลงได้ด้วยดีเน่ืองจากได้รับความ อนุเคราะห์และความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ซ่ึงผู้วิจัยขอขอบคุณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ท่ีได้ให้การสนับสนุน ทนุ วิจัยในครงั้ นี้ ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ ที่ได้ให้ความ อนุเคราะห์เป็นผู้เช่ียวชาญเข้าพื้นที่วิจัยในการเสริมสร้างศักยภาพครู และให้ความกรุณาตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้าง ศักยภาพการจดั การเรยี นรขู้ องครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ขอขอบคุณร้อยตารวจโทมนัส ลิสะนิ ครูใหญ่โรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย ร้อยตารวจตรีทวี ไสวงาม และร้อยตารวจ เอกวิโรจน์ แสงสุวรรณ ครูใหญ่โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน วัดสธุ าสนิ ี รอ้ ยตารวจเอกวริ ชั วรรณพกุ ครใู หญ่โรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดนบ้านต้นมะม่วง และร้อยตารวจตรีอุรารัตน์ รัตนะ ครูใหญ่ โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้าน้อยท่ีได้ให้ความอนุเคราะห์ ดาเนินการวิจัยที่โรงเรยี นในการวจิ ยั ครั้งนี้ ขอขอบคุณ ดร.ศรีสมร พุ่มสะอาด และดร.พลวัต วุฒิประจักษ์ ท่ีให้ความกรุณาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ การเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพการจดั การเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวน

ชายแดนในการวิจัยคร้ังนี้ และขอขอบคุณคณะครู นักเรียนโรงเรียน ตารวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน วดั สุธาสินี โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านตน้ มะม่วง และโรงเรียน ตารวจตระเวนชายแดนบา้ นแมน่ า้ น้อยทกุ คนทีไ่ ด้ให้ความร่วมมือในการ ดาเนินการวิจยั ในครงั้ น้เี ป็นอยา่ งดี และขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ และ ดร.ศรีสมร พุ่มสะอาด ที่ให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบเอกสารรายงาน การวจิ ัยฉบับสมบรู ณ์ใหม้ ีความถูกตอ้ งชดั เจนมากยงิ่ ขึน้

สารบญั หวั ข้อ หนา้ 1. ความเป็นมา........................................................................ 1 2. วัตถปุ ระสงค์การวิจัย........................................................... 6 3. ขอบเขตของการวิจัย........................................................... 7 4. วิธดี าเนนิ การวจิ ัย................................................................ 8 5. สรปุ ผลการวิจัย................................................................... 10 5.1 ผลการศกึ ษาบรบิ ทการจดั การศึกษา ของโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน.......................... 10 5.2 ผลการดาเนนิ การเสริมสร้างศักยภาพการจัด การเรียนรขู้ องครโู รงเรยี นตารวจตระเวนชายแดน..... 11 5.3 ผลการสงั เคราะห์รปู แบบการเสริมสร้างศกั ยภาพ การจดั การเรียนรสู้ าหรบั ครโู รงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดน เฉพาะกรณีโรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดนในอาเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี....................................................... 31 5.4 ผลการตรวจสอบประสิทธภิ าพของรปู แบบ การเสรมิ สรา้ งศักยภาพการจัดการเรยี นรู้ สาหรบั ครโู รงเรยี นตารวจตระเวนชายแดน เฉพาะกรณโี รงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ในอาเภอไทรโยค จงั หวดั กาญจนบรุ ี........................... 32

สารบญั หวั ข้อ หนา้ 6. อภปิ รายผล......................................................................... 46 7. ขอ้ เสนอแนะ....................................................................... 56 บรรณานกุ รม............................................................................ 59 ประวตั ผิ ู้วิจัย............................................................................. 64

1 1. ความเปน็ มา โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนเป็นโรงเรียนในสังกัด กองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน สานกั งานตารวจแห่งชาติ มีท่ีตั้ง กระจายอยู่ตามแนวชายแดนพื้นท่ีทุรกันดารห่างไกลการคมนาคม ท่ัวทุกภาคของประเทศ ปรัชญาโรงเรียนคือ \"สร้างภูมิปัญญา พัฒนา คุณภาพชีวิต สัมฤทธิผลความม่ันคง\" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานพระราชทรัพย์ สร้างโรงเรียน มีอาคารเรียนถาวร ส่ืออุปกรณ์การเรียนต่างๆ อีกทั้ง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังทรงอุปถัมภ์โรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดนด้วย จึงทาให้กิจการของโรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดน มีความเจริญก้าวหน้าขยายออกไปอีกหลายพื้นที่ และตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2523 เป็นต้นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานโครงการตามพระราชดาริให้กับ โรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดนเพื่อดาเนินการพัฒนาให้เด็กและชุมชน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การดาเนินงานโครงการพระราชดาริมีครูท่ีเป็น ตารวจตระเวนชายแดนเป็นผู้ทาหน้าท่ีถ่ายทอดความรู้ โดยให้ ประชาชนในชุมชนเข้ามามสี ว่ นรว่ มในทกุ ๆ กจิ กรรมของโรงเรียน ทาให้ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กับการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน จนเกิดการพฒั นาอย่างยัง่ ยืน

2 ศักยภาพของผู้สอนในศตวรรษท่ี 21 ที่สาคัญประการหน่ึง คือ การจดั การเรียนรู้แบบบูรณาการท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ส่งเสริมให้ ผู้เรียน มีคว ามสามารถในการกากับกระบว นการเรียนรู้ด้ว ยตนเ อง เกิดการเรียนรู้ท่ีลุ่มลึกในสาระ (deep knowledge) ตลอดจนสามารถ คดิ วิเคราะหถ์ กั ทอ (weaving) ความรู้ และปรับประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหา ที่เหมาะสมกับบริบทของสภาพแวดล้อม ผู้สอนให้ความสาคัญกับ การศกึ ษาวิเคราะห์ความรคู้ วามเขา้ ใจพ้นื ฐานของผู้เรียน ธรรมชาติและ วัฒนธรรมของผู้เรียน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีมีบรรยากาศ เกื้อหนุนให้ผู้เรียนนาเสนอความคิดของตนเองเพ่ือเป็นพ้ืนฐานในการ ต่อยอดความรู้และนวัตกรรม ฝึกให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้ด้วยตนอง ศักยภาพของผู้สอนยุคใหม่ประกอบด้วยความรู้ ความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การโค้ชเพื่อการ รู้คดิ การประเมนิ ผลการเรยี นรู้ทเี่ สริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการ เรียนรู้ และการวิจยั เพื่อพัฒนาการเรยี นรู้ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการนา ความรู้ ท่ีครบวงจรในเร่ืองใดเรื่องหนึ่งที่มาจากการนาความคิดรวบยอดหลัก (main concepts) รวมทั้งสมรรถนะ และคุณลักษณะมาเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นระบบ จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนรู้ สอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการของผู้เรียน โดยมี ผู้สอนเป็นผู้เอ้ืออานวยความสะดวกและโค้ชการเรียนรู้ เพ่ือให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ (learning outcomes) ที่กาหนด

3 ก า ร อ อ ก แ บ บ ก า ร เ รี ย น รู้ เ ป็ น ก า ร น า ค า อ ธิ บ า ย ส า ร ะ ก า ร เ รี ย น รู้ มาวิเคราะห์ความคิดรวบยอดหลักร่วมกับกระบวนการเรียนรู้ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ เวลาเรียน และการวัดประเมินผล (วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. 2556) ส่วนการโค้ชเพ่ือการรู้คิด (cognitive coaching) เป็นศักยภาพของผู้สอนในโลกแห่งการเรียนรู้ยุคใหม่ ท่ีพัฒนามาจากบทบาทการสอน (teaching) โดยทาหน้าที่เป็นโค้ช ดึงศักยภาพของผู้เรียนด้านความรู้ความสามารถ การคิด ตลอดจน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามท่ีกาหนด การโค้ชเป็นกลไกการ เสริมสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้มีความรู้ ความสามารถ การคิดข้ันสูง (higher – order thinking) มีวธิ ีการเรียนรู้ (learning how to learn) โดยใช้เทคนิควิธีการต่างๆ เช่น การต้ังคาถาม การให้ข้อมูลย้อนกลับ การใหค้ าแนะนา การช้ีแนะการคดิ วธิ กี ารคิด การเรยี นรู้ กระตนุ้ ผู้เรียน ให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ (inspiration) ซึ่งจะนาไปสู่ การแสวงหาความรู้ การฝึกฝนทักษะ และการเปล่ียนแปลงพฤติกรรม คุณธรรมจรยิ ธรรมของผ้เู รยี น (วิชยั วงษใ์ หญ่ และมารุต พัฒผล. 2557, Costa and Garmston. 2002, Knight. 2009, Sweeney. 2011, Marzano and Simms. 2012) สาหรับการะประเมินผลการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิด และความสุขในการเรียนรู้ เป็นการประเมินท่ีมีจุดมุ่งหมายเพ่ือ ตรวจสอบศักยภาพด้านการรู้คิดของผู้เรียน ได้แก่ ความจาความเข้าใจ (memory) ความสนใจ (attention) การรับรู้ (perception) ภาษา

4 (language) และความคิด (though) โดยเป็นการประเมินท่ีดาเนินการ ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ หลากหลาย เชน่ การสังเกตพฤติกรรม การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน การตั้งคาถาม การรายงานตนเอง ตลอดจนการทดสอบและนาผลการ ประเมินมาพัฒนาศักยภาพด้านการรู้คิดอย่างต่อเน่ืองด้วยการสะท้อน ผลการประเมินเชิงสร้างสรรค์ (creative feedback) ทาให้ผู้เรียน มีศักยภาพด้านการรู้คิดดังกล่าวดีย่ิงข้ึน (วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. 2556, Hodges. 2007, Scharmer. 2007, Moss and other. 2008, Sprenger. 2008, Tan and Seng. 2008, Leighton and Gierl. 2011, Battista. 2012) ส่วนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นการวิจัยท่ีดาเนินการควบคู่กับการจัดการเรียนรู้ เพ่ือพัฒนา คุณภาพของผู้เรียน มีการนาผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการจัดการ เรียนรู้อย่างต่อเน่ือง ดาเนินการวิจัยตามวงจรของการวิจัยตามลาดับ ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การตรวจสอบผลการปฏิบัติ 4) การสะท้อนผลสู่การปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน (ชูศรี วงศ์รัตนะ, วันทยา วงศ์ศิลปะภิรมย์ ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. 2546, สุวิมล ว่องวานิช. 2550, วชิ ัย วงษ์ใหญ่: 2557, Stringer. 2004, Volk. 2010) เม่ือผู้สอนจัดการเรียนรู้และประเมินผลการเรียนรู้อย่างมี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ แ ล้ ว ย่ อ ม ท า ใ ห้ ผู้ เ รี ย น มี คุ ณ ภ า พ สู ง ขึ้ น ทั้ ง ใ น ด้ า น กระบวนการคิด ทักษะชีวิตและความสุขในการเรียนรู้ โดยเฉพาะ กระบวนการคิดซ่ึงนับว่าเป็นศักยภาพในการประมวลข้อมูลเพ่ือบรรลุ

5 วัตถุประสงค์ของการคิด เช่น การทาความเข้าใจ การตีความ การทานาย การประเมินคุณค่า การจาแนก การจัดหมวดหมู่ การตดั สนิ ใจ การแกป้ ญั หา การสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นความสามารถ ของผู้เรียนที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ รอบตัว การตระหนักรู้ และเห็น คุณค่าในตนเองและผู้อ่ืน การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ การจัดการกับอารมณ์และความเครียด การสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อ่ืนและมีความสุขในการเรียนรู้ ซ่ึงเป็นความรู้สึก ท่ีดีของผู้เรียนที่มีต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทางการเรียนรู้ อันเกิด มา จ าก ก ร ะบ ว น กา ร จั ดป ร ะ ส บ ก า รณ์ ก า รเ รี ย นรู้ ข อ งผู้ ส อ น ดั ง น้ั น การพฒั นาครูท่ีเป็นการเพ่ิมเติมความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่เป็นปัจจัย เออ้ื ตอ่ การจัดการเรยี นรู้ท่ีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงเป็นสิ่งท่ีมี ความสาคัญจาเป็น สาหรบั การจัดการศึกษา (Jasper. 2006, National Professional Development Center. 2008, The Organization for Economic Cooperation and Development. 2009, Mizell. 2010, Marzano Research Laboratory. 2012, DeMonte. 2013) ครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนคือผู้ที่ทาหน้าท่ีจัดการ เรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนทุกด้านให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตร มีอาชีพหลักคือการรับราชการตารวจ สังกัดกองบัญชาการตารวจตระเวนชายแดน สานักงานตารวจแห่งชาติ โดยไม่ได้สาเร็จการศึกษาทางด้านวิชาชีพครูโดยตรง ทาให้เห็นว่า การเสริมสรา้ งศกั ยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวน

6 ชายแดนเพ่ือให้ผู้เรียนมีทักษะการรู้คิด ทักษะชีวิต และความสุขในการ เรียนร้เู ปน็ สิ่งท่ีมคี วามสาคัญเพอื่ นาองคค์ วามรู้ท่ีได้รับจากการวิจัยไปใช้ ในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อไป ซ่ึงการวิจัยในคร้ังนี้ ได้ดาเนินการในพ้ืนที่อาเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เน่ืองจากมี จานวนโรงเรียนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน 4 โรงเรียนที่มีความเป็น สังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี ความเช่ือ และค่านิยมต่างๆ ระหว่างผู้เรียนที่เป็นคนไทย พม่า มอญ กะเหรี่ยง สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษาของโรงเรียน ตารวจตระเวนชายแดนโดยทั่วไปในปจั จุบนั 2. วัตถปุ ระสงค์การวจิ ัย 1. เพื่อศึกษาบริบทการจัดการศึกษาของโรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดนในเขตอาเภอไทรโยค จงั หวดั กาญจนบรุ ี 2. เพ่ือเสรมิ สร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน ตารวจตระเวนชายแดนในเขตอาเภอไทรโยค จงั หวดั กาญจนบรุ ี 3. เพ่ือพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการ เรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จงั หวัดกาญจนบรุ ี 4. เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้าง ศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จงั หวดั กาญจนบรุ ี

7 3. ขอบเขตของการวิจัย ผมู้ สี ว่ นร่วมในการวจิ ัย ค รู ใ ห ญ่ แ ล ะ ค รู โ ร ง เ รี ย น ต า ร ว จ ต ร ะ เ ว น ช า ย แ ด น ในเขตอาเภอไทรโยค จังหวดั กาญจนบุรี ไดแ้ ก่ โรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดนเฮงเค็ลไทย โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนวัดสุธาสินี โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านต้นมะม่วง และโรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดนบ้านแม่น้าน้อย แบ่งเป็นครูใหญ่จานวน 4 คน และครู จานวน 31 คน ตวั แปรทศี่ ึกษา การวิจัยครั้งนี้แบ่งการดาเนินการออกเป็น 4 ระยะ โดยท่ีแต่ละระยะมีตัวแปรที่ศกึ ษาดงั น้ี ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยระยะที่ 1 คือ สภาพบริบท การจัดการศึกษาของโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนในเขตอาเภอ ไทรโยค จงั หวัดกาญจนบุรี ตัวแปรทศ่ี กึ ษาในการวจิ ัยระยะที่ 2 คือ 1) ความรู้ความ เข้าใจของครูเก่ียวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) การโค้ชเพื่อ การรู้คิด 3) การประเมนิ ผลการเรยี นรู้ที่เสริมสรา้ งการรู้คิดและความสุข ในการเรียนรู้ และ 4) การวิจยั เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

8 ตัวแปรท่ีศึกษาในการวิจัยระยะที่ 3 คือ องค์ประกอบ และสาระสาคัญของรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยระยะที่ 4 คือประสิทธิภาพ ของรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน ตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จงั หวัดกาญจนบุรี ระยะเวลาดาเนินการวจิ ัย มกราคม 2557 – กันยายน 2557 4. วธิ ดี าเนนิ การวิจยั ระยะท่ี 1 การศึกษาบริบทการจัดการศึกษาของ โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน เป็นการวิเคราะห์บริบทการจัด การศึกษาและความต้องการของครูใหญ่และครูโรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดนในเขตอาเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย โรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดนวัดสุธาสินี โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านต้นมะม่วง โรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดนบา้ นแมน่ า้ นอ้ ย

9 ระยะท่ี 2 การดาเนินการเสรมิ สร้างศักยภาพการจัดการ เรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน เป็นการนาผลการ วิเคราะห์บริบทการจัดการศึกษาและความต้องการของครูใหญ่และครู โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนในเขตอาเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี ในระยะท่ี 1 มาดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการ เรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย โรงเรียน ตารวจตระเวนชายแดนวดั สธุ าสนิ ี โรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดนบ้าน ต้นมะม่วง โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบา้ นแมน่ ้านอ้ ย ระยะท่ี 3 การสังเคราะห์รูปแบบการเสริมสร้าง ศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน เป็นการสังเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการดาเนินการ เพอ่ื พฒั นาเป็นรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบรุ ี ระยะที่ 4 การตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการ เสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดน เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้าง ศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จังหวดั กาญจนบรุ ี

10 5. สรุปผลการวิจัย 5.1 ผลการศึกษาบริบทการจัดการศึกษาของโรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดน โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย โรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดนวัดสุธาสินี โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน บ้านต้นมะม่วง และโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้าน้อย มีบรบิ ทเกย่ี วกับการจดั การศกึ ษา ดงั ต่อไปน้ี 1) โรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดนท้ัง 4 โรงเรียน เปิดทาการจัดการเรียนการสอนต้ังแต่ระดับ ปฐมวัยถึงชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 6 รับเข้าเรียนท้ังเด็กท่ีเป็นคนไทย เด็กที่ มีเชื้อสายพม่า มอญ และกะเหรี่ยง 2) การจัดครูเข้าสอนในแต่ละ ระดบั ชัน้ ใช้รปู แบบของครูประจาชัน้ ทีค่ รูหน่งึ คนรับผดิ ชอบจัดการเรียน การสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในหนึ่งชั้นเรียน ครูท้ังหมดเป็นตารวจ ช้ันประทวนสังกดั กองกากับการตารวจตระเวนชายแดนที่ 13 (กก.ตชด. 13) นอกจากนี้ยังมีครูท่ีสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี อีกด้วย 3) การจัดการเรียนการสอนมุ่งพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านออก เขียนได้และด้านคณิตศาสตร์เป็นสาคัญ เนื่องจากเป็นพื้นฐานของการ เรียนรู้และการดารงชีวิต 4) โรงเรียนไม่มีศึกษานิเทศก์หรือบุคลากร ที่ทาหน้าท่ีให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการให้กับครู 5) ผลการ ประเมินคุณภาพการศึกษาโดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) รอบการประเมิน

11 พ.ศ. 2554 – 2558 มีประเด็นที่สาคัญ ได้แก่ การพัฒนากระบวนการ คิดของผู้เรียน การบูรณาการการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ การเรียนรู้ตามสภาพจริง การวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้และการ ประเมินผลตามสภาพจริง 6) จัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นลักษณะ การบูรณาการสาระและกิจกรรมสอดคล้องกับสี่เสาหลักทางการศึกษา ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง การเรียนรู้เพื่อการ อยรู่ ่วมกนั และการเรยี นรู้เพ่ือการอยูร่ ว่ มกับผ้อู ืน่ 5.2 ผลการดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ของครโู รงเรยี นตารวจตระเวนชายแดน ผลทเี่ กิดข้ึนกับครู - ผลการดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรูแ้ บบบูรณาการ ครูท่ีสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 ได้นา ตวั อยา่ งแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผวู้ ิจัยจัดทาข้ึนไปปรับปรุงให้สอดคล้อง กับบริบทการจัดการเรียนรู้ของตนเองและนาไปใช้จัดการเรียนรู้ นอกจากน้ีจากการสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนยังพบว่า ครูได้ดาเนินการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ

12 เทคโนโลยีเข้ากับโครงการพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ไดแ้ กโ่ ครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โครงการ ฝึกอาชีพ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม อีกทั้ง โครงการส่งเสริมสหกรณ์ โดยผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ดว้ ยตนเองในสถานการณจ์ ริง การดาเนนิ การเสรมิ สร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผู้วิจัยได้ใช้ภาพถ่ายสถานท่ีต่างๆ ในบริเวณโรงเรียนแต่ละโรงเรียน มาเป็นสื่อประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยถ่ายภาพเก็บไว้ก่อน แล้วนามาจัดทานาเสนอด้วยโปรแกรม Power point ใช้ประกอบการ อธิบายและยกตัวอย่าง ซ่ึงภาพถ่ายในลักษณะดังกล่าวสามารถดึงดูด ความสนใจของครูท่ีเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการได้เป็นอย่างดี อีกท้ังสามารถกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบหน่วยการ เรียนรู้บูรณาการได้อีกด้วย รวมทั้งช่วยทาให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ เกยี่ วกบั การจดั การเรยี นร้แู บบบรู ณาการท่ีชดั เจนมากขึน้ นอกจากน้ีผู้วิจัยยังได้นาเสนอตัวอย่างแผนการจัดการ เรียนรู้แบบบูรณาการสาหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 เพื่อให้ ครูได้เห็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่างๆ กับโครงการตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีความสมบูรณ์ท้ังในด้านการเชื่อมโยง สาระสาคัญเข้ากับกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้แหล่งการเรียนรู้และการ

13 ประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวได้ช่วยทาให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจและเห็นรูปธรรมของการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ชัดเจน มากยิง่ ข้นึ ปัจจัยท่ีทาให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ ที่สาคัญประการหน่ึง คือความสามารถในการวิเคราะห์สาระสาคัญของ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ท่ีอยู่ในหลักสูตรระดับช้ันที่ครูรับผิดชอบ จัดการเรียนรู้ มาเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ แล้วนาไปออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของ ผู้เรียน ซึ่งครูที่จะสามารถวิเคราะห์สาระสาคัญได้น้ันจะต้องมีความรู้ ทถ่ี ูกตอ้ งชดั เจน สว่ นการนาสาระสาคัญต่างๆ มาออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ จะต้องใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นสาคัญ เพ่ือที่จะทาให้ กิจกรรมการเรียนรมู้ คี วามน่าสนใจ สนุกสนานและสรา้ งความประทับใจ เป็นกิจกรรมท่ีตอบสนองความสามารถทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ซ่งึ เปน็ ปัจจัยทาใหผ้ ู้เรยี นเกดิ ความสขุ ในการเรียนรู้ ในส่วนของรูปแบบการบูรณาการท่ีเหมาะสมกับวัฒนธรรม โรงเรียน ที่กาหนดให้ครู 1 คน ทาหน้าท่ีจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน 1 ระดับชั้น รูปแบบการบูรณาการท่ีเหมาะสม คือ การบูรณาการแบบ สอดแทรก (infusion) ที่ครูสามารถสอดแทรกสาระสาคัญของกลุ่ม สาระต่างๆ ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ไปในกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีความซับซ้อน มากนัก นอกจากน้ีการบูรณาการแบบใยแมงมุม (web) ยังเป็นรูปแบบ

14 การบูรณาการท่ีครูสามารถนาสาระสาคัญของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่างๆ มาเช่ือมโยงกันอย่างเป็นระบบ แล้วกาหนดหัวเร่ือง (theme) ของการเรียนรู้เป็นช่ือหน่วยการเรียนรู้ ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการ เรียนรู้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจของตนเอง มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การบูรณาการแบบใยแมงมุมน้ีครูสามารถ ด า เ นิ น ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น รู้ ไ ด้ ด้ ว ย ต น เ อ ง โ ด ย อิ ส ร ะ ซึ่ ง อ า จ ใ ช้ แ ห ล่ ง การเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เป็นส่ิงสนับสนุน การเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งการเรียนรู้ในโครงการตาม พระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากน้ียังสามารถใช้แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชนได้อีกด้วย เช่น วัด ร้านค้า ผู้ประกอบการธุรกิจ ครูภูมิปัญญา เป็นต้น โดยอาจให้ ผู้เรียนไปสัมภาษณ์ สังเกต และลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการแลกเปล่ียน เรียนรูร้ ่วมกัน การใช้กระบวนการเรียนรู้ (learning process) การเรียนรู้ แบบบูรณาการจะมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ครูควรใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยการให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ กจิ กรรมการเรยี นรไู้ ปตามขนั้ ตอนแต่ละขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ จะช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการ คิดให้กับผู้เรียน เช่น กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสร้างสรรค์ เป็นต้น ซ่ึงการใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งที่

15 สาคัญมากที่ครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนควรนามาใช้ในการจัด กจิ กรรมการเรียนรู้ ให้ผู้เรยี นไดใ้ ชก้ ระบวนการเรียนร้อู ย่างหลากหลาย - ผลการดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ดา้ นการโคช้ เพื่อการรคู้ ิด จากการติดตามการนาแนวคิดหลักการโค้ชเพื่อการรู้คิด ไปปฏิบัติของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนท้ัง 4 โรงเรียน พบว่า ครูได้ต้ังคาถามที่ทรงพลัง (power questions) กับผู้เรียน เช่น ถามว่า ผู้เรียนจะแก้ปัญหาน้ีอย่างไร ผู้เรียนจะวางแผนการทางานน้ีอย่างไร เป็นต้น จากการดาเนนิ การเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพด้านการโค้ชเพ่ือการ รู้คิดของครู ผู้วจิ ยั ไดใ้ ชห้ นังสือ เรื่อง “การโค้ชเพ่ือการรู้คิด” เป็นแหล่ง การเรียนรู้ให้กับครู ให้ครูได้ศึกษาและนาไปปฏิบัติโดยหนังสือดังกล่าว ครูสามารถนาไปปฏิบัติการโค้ชเพ่ือการรู้คิดของผู้เรียนได้ทันที เช่น ตัวอย่างคาถาม ที่ทรงพลัง (power questions) ท่ีครูสามารถนาไปใช้ ถามผู้เรียนได้ทันทีในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง การมีตัวอย่างที่ สามารถนาไปใช้ได้จริง ทาให้การเสริมสร้างศักยภาพครูเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ส่ิงสาคัญของการโค้ชเพ่ือการรู้คิดที่ควรพัฒนาให้กับครู โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน อย่างต่อเนื่อง คือ Hard skills และ Soft skills ของผู้โค้ช โดยที่ Hard skills เป็นองค์ความรู้ทางวิชาการ

16 ในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) ความรู้ในเน้ือหาสาระท่ีจัดการเรียนรู้ 2) ความรู้ ในวิธีการจัดการเรียนรู้ 3) ความรู้เก่ียวกับการใช้เทคโนโลยีในการ จัดการเรยี นรู้ และ 4) ความรใู้ นด้านการวจิ ัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ ส่วน Soft skills ของผโู้ ค้ช ประกอบด้วย 1) มีบุคลิกภาพดี 2) มีความสามารถในการสื่อสาร 3) มีความสามารถในการใช้ภาษาท้ัง ภาษาพูดและภาษากาย 4) มีมารยาททางสังคม 5) มีมนุษยสัมพันธ์ท่ีดี 6) มีความสามารถในการบริหารจัดการ 7) ทักษะการตั้งคาถามและ การฟงั 8) การคิด 9) การแก้ปัญหาอยา่ งสรา้ งสรรค์ สาหรับการต้ังคาถามท่ีกระตุ้นการคิด หรือคาถามทรงพลัง ครูควรนาไปใช้ถามกับผู้เรียนอย่างต่อเน่ือง เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ กระบวนการคิดของตนเอง คาถามทรงพลังที่ควรถามบ่อยๆ เช่น ผเู้ รียนคดิ อยา่ งไร ผเู้ รียนจะวางแผนการทางานอย่างไร ผูเ้ รยี น เห็นด้วย หรือไม่เพราะอะไร ส่ิงท่ีผู้เรียนภาคภูมิใจในช้ินงานคืออะไร เพราะ สาเหตใุ ดผลจึงออกมาเป็นแบบนี้ เปน็ ตน้ การตอบสนองต่อคาตอบของผู้เรียน เป็นอีกประเด็นหน่ึงท่ี ครูไม่ควรมองข้าม เม่ือถามไปแล้วครูควรต้ังใจรับฟังคาตอบของผู้เรียน หากผู้เรียนไม่ตอบคาถามทันทีครูควรรอคอยคาตอบจากผู้เรียนก่อนท่ี จะเฉลยคาตอบ และไม่วิพากษ์วิจารณ์คาตอบของผู้เรียน เพราะจะทา ให้ผู้เรยี นไมอ่ ยากตอบคาถามของครู

17 การตั้งคาถามกระตุ้นการคิด (thinking questions) เป็น หัวใจท่ีสาคัญของการโค้ชที่ครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนควรใช้ พัฒนาระดบั ขนั้ การคดิ ของผเู้ รยี นอย่างเป็นขนั้ ตอน แนวการตั้งคาถามผู้เรียนดังตัวอย่างข้างต้น ครูควรใช้อย่าง ต่อเน่ือง เพราะเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนไปตามลาดับ ข้ันความซับซ้อน (complexity) ของการคิดไปตามลาดับข้ันตอน และ จากการท่ีครูได้นาตัวอย่างคาถามทรงพลังไปใช้ถามผู้เรียน ใหม่ๆ ผู้เรียนบางคนอาจใช้เวลาในการตอบคาถามมาก อาจเป็นเพราะเขา กาลังใชค้ วามคิดอยู่ ซงึ่ ครูควรอดทนรอฟังคาตอบของผู้เรยี น - ผลการดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุข ในการเรียนรู้ จากการสังเกตพฤติกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของครู พบว่าครูได้นาตัวอย่างแบบประเมินผลการเรียนรู้ชนิดต่างๆ ไปใช้ ในชั้นเรยี นของตนเอง มกี ารวเิ คราะห์ผลการประเมินว่าผู้เรียนคนใดท่ีมี ผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้เรียนคนใดต้องได้รับการสอน ซ่อมเสริม หรือต้องได้รับการพัฒนาในด้านอื่นๆ เช่น การคิดอย่างเป็น ระบบ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างแบบประเมิน ต่างๆ การเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจ ตระเวนชายแดน ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ท่ีเสริมสร้างการรู้คิด

18 มจี ดุ เนน้ เพ่ือให้ผู้สอนมีสารสนเทศเกี่ยวกับการรู้คิดและความสุขในการ เรยี นรู้ของผเู้ รยี น เช่น ความสามารถในการจดจา ความสามารถในการ ใช้ภาษาเพือ่ การสือ่ สาร ความสามารถในการคิด เป็นต้น ซ่ึงสารสนเทศ ดั ง ก ล่ า ว จ ะ ถู ก น า ม า ใ ช้ ใ น ก า ร จั ด ก า ร เ รี ย น รู้ ท่ี เ ส ริ ม ส ร้ า ง ก า ร รู้ คิ ด ให้เหมาะสมกับผู้เรียนรายบุคคล ซึ่งผู้วิจัยได้จัดทาเอกสารประกอบ การสมั มนาเชงิ ปฏิบตั กิ าร เร่ือง “การประเมนิ ผลการเรียนรู้ท่ีเสริมสร้าง การรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้” ขึ้นเพ่ือมอบให้กับครูใช้เป็นแหล่ง การเรียนรู้ โดยที่เอกสารดังกล่าวประกอบด้วย สาระสาคัญของการ ประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment) ที่เป็นวิธีการ ประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ผู้ประเมินหลายฝ่าย ใช้วิธีการประเมิน ท่ีหลากหลาย ประเมินหลายช่วงเวลา และนาผลการประเมิน มาปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเน่ือง เป็น การประเมินท่ีเน้นการพัฒนา (assessment for improvement) มากกว่าการประเมินเพ่ือการตัดสิน (assessment for judgment) นอกจากน้ียังมีชุดแบบประเมินต่างๆ ที่ครูสามารถนาไปใช้ได้ทันที ประกอบด้วยแบบประเมินด้านการคิด แบบประเมินด้านทักษะ กระบวนการ และแบบประเมินด้านคุณลักษณะ ซึ่งครูได้นาแบบ ประเมินนี้ไปใช้จริงในช้ันเรียนของตนเอง พร้อมท้ังวิเคราะห์ว่าผู้เรียน คนใดทต่ี ้องไดร้ ับการพัฒนาเป็นกรณีพิเศษ นอกจากน้ีในระหว่างการดาเนินการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ค รู ยั ง ไ ด้ เ รี ย น รู้ แ น ว คิ ด ห ลั ก ก า ร ข อ ง ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล ก า ร เ รี ย น รู้

19 ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ ใช้หลักการประเมิน ตามสภาพจริง 4 ประการ ได้แก่ 1) ใช้ผู้ประเมินหลายๆ ฝ่าย เช่น ผู้สอน ผู้เรียน เพ่ือนและผู้เกี่ยวข้อง 2) ใช้วิธีการประเมินอย่าง หลากหลาย เช่น การสงั เกต การสอบถาม การตรวจผลงาน 3) ประเมิน หลายๆ ครง้ั ตลอดช่วงเวลาการเรียนรู้ ได้แก่ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรยี น และตดิ ตามผล 4) สะท้อนผลการประเมินไปสู่การปรับปรุง และพฒั นาผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ซ่ึงการท่ีครูได้เรียนรู้และมีความ เข้าใจในหลกั การประเมินดังกล่าว ทาให้ครูสามารถดาเนินการประเมิน ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น ตลอดจน การแสวงหาวิธีการช่วยเหลือ ผู้เรียนเปน็ รายบุคคล เชน่ การสอนซอ่ มเสรมิ ในเวลาพักเที่ยง เปน็ ต้น ส า ห รั บ ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล ก า ร เ รี ย น รู้ ข อ ง ผู้ เ รี ย น ที่ ค รู ใ ช้ อย่างชัดเจน คือการประเมินด้านความรู้ อย่างไรก็ตามการประเมิน ด้านกระบวนการเรียนรู้หรือการประเมินด้านทักษะยังคงเป็นสิ่งสาคัญ และจาเปน็ ต่อการพฒั นาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะการทางาน ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการวางแผน ตลอดจนทักษะการคิด ด้านต่างๆ ที่ครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนสามารถนาแนวคิด หลักการประเมินตามสภาพจรงิ มาประยกุ ต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทการ จดั การเรียนรูไ้ ด้อยา่ งหลากหลาย

20 - ผลการดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ดา้ นการวิจัยเพ่อื พฒั นาการเรียนรู้ ผ ล ด า เ นิ น ก า ร เ ส ริ ม ส ร้ า ง ศั ก ย ภ า พ ด้ า น ก า ร วิ จั ย เพอ่ื พัฒนาการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ทาให้ครู มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ที่ชัดเจน มากยิ่งข้ึน รวมทั้งมีแนวทางในการทาวิจัยของตนเอง จากการที่ครู ไดศ้ กึ ษาเอกสาร เรือ่ งการวจิ ัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งมีท้ังสาระสาคัญ และตวั อยา่ งการเขียนรายงานการวจิ ัย จากการดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนโดยใช้ หนังสอื เร่อื ง “จากการวจิ ยั สู่การเรียนรู้และภูมิปัญญา” ซ่ึงเป็นหนังสือ ที่ผู้วิจัยจัดทาข้ึนเพื่อนาเสนอสาระสาคัญของการวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ พร้อมกับตัวอย่างรายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของ ครูประถมศึกษาในพื้นที่อาเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยได้ มอบให้กับครูทุกคนรวมท้ังครูใหญ่ด้วยเพื่อใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้เรื่อง การวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและนาไปใช้เป็นแนวทางของ การทาวจิ ัยเพ่อื พฒั นาการเรียนรใู้ นชั้นเรยี นของตนเอง ครูท่ีได้ศึกษาหนังสือดังกล่าวมีความพึงพอใจต่อการท่ีมี ตัวอย่างงานวิจัยท่ีได้นาเสนอไว้ในหนังสือสามารถนาไปใช้เป็นตัวอย่าง การเขียนรายงานการวิจัยของตนเองได้เป็นอยา่ งดี การนาเสนอตัวอย่าง

21 การเขียนรายงานการวิจัยแบบหน้าเดียว ช่วยทาให้ครูอยากทาวิจัย มากข้นึ การปรับเปลย่ี นกระบวนทัศนก์ ารวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนท่ีสาคัญมากเพราะทาให้ครูมีเจตคติที่ดีต่อการทาวิจัย อยากทาวิจัยเรียนรู้กระบวนการทาวิจัย และลงมือทาวิจัยโดยที่จุดเน้น ของการพัฒนา คือ กระบวนการวิจัย Plan, Do, Check, Reflection ในลักษณะท่ีเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง ไม่เน้นการใช้เคร่ืองมือท่ีมีความ ซับซ้อนตลอดจนการใช้สถิติข้ันสูงวิเคราะห์ข้อมูล ชี้ให้เห็นความสาคัญ ของการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต และการวิเคราะห์ข้อมูล ดว้ ยวธิ ีการท่ีเหมาะสม การเสริมสร้างศักยภาพครูในด้านการวิจัยเพ่ือพัฒนาการ เรยี นรู้นั้น ควรสร้างทัศนคติที่ดีต่อการวิจัยควบคู่ไปกับการทาวิจัย ด้วย การลดเงื่อนไขต่างๆ ท่ีไม่จาเป็นออกไป โดยมุ่งเป้าหมายสาคัญคือ ปัญหาของผู้เรียนได้รับการแก้ไข ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ในส่วนของ เทคนิควิธกี ารแก้ปัญหา หรอื นวตั กรรมตา่ งๆ ควรเปิดโอกาสให้ครูได้ใช้ กระบวนการคิดของตนเองเปน็ สาคัญ

22 ภายหลงั เสร็จสน้ิ การดาเนินการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการ เรียนรู้ของครโู รงเรียนตารวจตระเวนชายแดน 4 ด้าน ได้แก่ การจัดการ เรียนรู้แบบบูรณาการ การโค้ชการรู้คิด การประเมินผลการเรียนรู้ ท่ีเสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ การวิจัยเพ่ือพัฒนา การเรียนรู้ พบว่าครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการคิดเป็นร้อยละ 86.27 ด้านการโค้ชเพ่ือการรู้คิด คิดเป็นร้อย ละ 84.47 สาหรับด้านการประเมินที่เสริมสร้างการรู้คิด และความสุข ในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 89.60 และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการ เรยี นรู้ คิดเปน็ ร้อยละ 81.13 และโดยภาพรวมคดิ เป็นร้อยละ 85.40 ผลที่เกิดขึน้ กบั ผ้เู รยี น จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทักษะชีวิตและความสุข ในการเรียนรู้ พบว่าผู้เรียนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนได้รับการ พัฒนาทักษะชีวิต จากการทากิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการที่ผู้เรียนได้ทากิจกรรมในโครงการตามพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่น โครงการ เกษตรเพ่ืออาหารกลางวัน โครงการฝึกอาชีพ โครงการควบคุม โรคขาดสารไอโอดีน เป็นต้น จากการสังเกตพบว่าผู้เรียนเป็นผู้ลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง โดยมีครูคอยให้คาแนะนาชี้แนะ แนวทาง และให้ความช่วยเหลือในบางโอกาส ผู้เรียนมีหน้าท่ีวิเคราะห์ วางแผนการดาเนินการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และการประเมินผล

23 ด้วยตนเอง ผู้เรียนทากิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของทีมทางาน เป็นการเรยี นรู้ท่ีจะทางานร่วมกับผู้อ่ืน นอกจากน้ีผู้เรียนยังได้ฝึกทักษะ ทางอาชีพจากการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการเกษตรเพื่ออาหาร กลางวัน เช่น การเพาะปลูกผักต่างๆ ไว้รับประทาน การเล้ียงเป็ดเทศ การเล้ียงไก่ การเล้ียงปลาซึ่งเป็นทักษะชีวิตด้านการประกอบอาชีพ และมีการปฏิบัติอย่างต่อเน่ืองจนผู้เรียนมีความรู้ ความชานาญในส่ิงท่ี ตนเองได้ปฏิบัติ เช่น ผู้เรียนท่ีรับผิดชอบโครงการเล้ียงเป็ดจะทราบว่า เป็ดตัวใดอยู่ในระหว่างการออกไข่ เป็ดตัวใดที่ใกล้หยุดออกไข่และเป็ด ตัวใดท่ีหยุดการออกไข่ หรือผู้เรียนท่ีรับผิดชอบโครงการเลี้ยงไก่จะ ทราบว่าเมื่อไก่ออกไข่มาแล้วไม่ควรท้ิงไว้นาน เพราะไก่จะจิกไข่เล่น จนไข่แตกเสียหาย เป็นต้น ส่วนทักษะชีวิตด้านการทางานร่วมกับผู้อ่ืน ผู้ เ รี ย น ไ ด้ รั บ ก า ร พั ฒ น า ผ่ า น ก า ร ท า กิ จ ก ร ร ม ร่ ว ม กั น ใ น โ ค ร ง ก า ร ตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้เรียนได้แลกเปล่ียนเรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือเก้ือกูลกัน วางแผน ดาเนินการ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทาให้มีทักษะชีวิตด้านการทางาน รว่ มกับผอู้ ่นื สาหรับความสุขในการเรียนรู้ จากการสังเกตพฤติกรรม และการวเิ คราะห์เนือ้ หาท่ีผู้เรียนเขียนตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้เรียน มี ค ว า ม สุ ข ใ น ก า ร เ รี ย น รู้ จ า ก ก า ร ที่ ไ ด้ ท า กิ จ ก ร ร ม ใ น โ ค ร ง ก า ร ตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทาในสิ่งท่ีต้องการ ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ตามจินตนาการของตนเอง

24 ไดป้ ฏบิ ัตกิ จิ กรรมการเรยี นรู้ท่ีหลากหลายได้อยกู่ ับครูที่มีความรักเมตตา และครูที่อารมณ์ดีมีความสุข นอกจากน้ีหากนาหลักความสุข 5 ขั้น ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) จะพบว่า ความสุขของผู้เรียน โดยภาพรวมเป็นความสุขที่อยู่ในขั้นที่ 2 คือ ความสุขจากการให้ เช่น ความสุขที่เกิดจากการช่วยเหลือเพ่ือนรวมท้ังความสุขที่เกิดจากการ ช่วยเหลือครูตลอดจนการทาประโยชน์เพ่ือส่วนรวม นอกจากความสุข ในขนั้ ท่ี 2 แล้ว ยังเป็นความสุขข้ันท่ี 3 ด้วย คือ ความสุขที่เกิดจากการ ดาเนินชีวิตถูกต้องสอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น ความสุขที่ผู้เรียนได้รับ จากการได้ใช้ความคิด จินตนาการสร้างสรรค์ การแสดงความรู้ ความสามารถ การพฒั นาตนเองในดา้ นต่างๆ เปน็ ต้น ครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านต้นมะม่วง กาลังร่วมกัน ศกึ ษาแนวคิดหลกั การของการวจิ ัยเพือ่ พัฒนาการเรียนรู้

25 ครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้าน้อยกาลังโค้ช ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 ในการเรยี นรู้คณติ ศาสตร์ ผู้เรียนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย กาลังช่วยกัน ให้อาหารเปด็ ในโครงการเกษตรเพอื่ อาหารกลางวนั

26 ครูและผู้เรียนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้าน้อย ร่วมกนั ปลกู ถั่วฝกั ยาวเพอ่ื การบรโิ ภคภายในโรงเรียน ผู้เรียนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านต้นมะม่วง 2 คนนี้ กาลังเรียนรู้เก่ียวกับการมีจิตสาธารณะท่ีทาประโยชน์ให้กับส่วนรวม จากการนาขยะไปทง้ิ โดยไมม่ ีท่าทรี ังเกยี จรงั งอนแต่อยา่ งใด

27 ผู้เรียนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านต้นมะม่วง ได้เรียนรู้ สังคมพหุวัฒนธรรมจากกิจกรรมการทาบุญโรงเรียนเนื่องในงาน วันแม่แห่งชาติ โดยได้ทากิจกรรมต่างๆ ร่วมกับ ครู เพื่อน ผู้ปกครอง และชุมชน ผู้เรยี นโรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดนบ้านแม่นา้ น้อย กาลังปล่อย พันธุ์ปลาดุกเพื่อเล้ียงไว้ทาอาหารและเหลือจาหน่ายให้กับชุมชน เปน็ ทักษะชีวิตด้านการประกอบอาชีพ

28 ผู้เรียนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้าน้อย นาเสนอ ปลาดุกที่ตนเองไดเ้ ลย้ี งไว้ในโรงเรยี น ผู้เรียนมคี วามสุขและภาคภูมิใจใน ผลงานของตนเอง ผู้เรียนโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้าน้อย จดบันทึก สิ่งที่สังเกตพบจากต้นไม้ต่างๆ ในบริเวณโรงเรียนด้วยความตั้งใจ ซึ่งเปน็ พฤตกิ รรมหนงึ่ ทส่ี ะท้อนความสุขในการเรยี นรู้

29 ครูใหญ่โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย กาลังพูดคุย กับผู้เรียนด้วยความเอ็นดู ทาให้ผู้เรียนรับรู้ได้ถึงความรักท่ีครูใหญ่ มอบให้นี้เปน็ ปจั จยั หน่ึงท่ีทาให้ผู้เรียนมีความสุข ครูใหญ่โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้าน้อยแสดง ท่าทางเดินอย่างสนุกสนานในกิจกรรมแห่เทียนพรรษา ทาให้ผู้เรียน มีความสุขในการทากิจกรรมตามไปด้วย

30 รายงานตนเองเก่ียวกับความสุขในการเรียนรู้ ผู้เรียนส่วนใหญ่ มีความสุขในการเรียนรู้ มีความสุขกับการท่ีได้มาโรงเรียน การได้รับ ความรู้จากครู การมคี รใู จดี และการได้แสดงความสามารถของตนเอง

31 5.3 ผลการสังเคราะห์รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการ เรียนรู้สาหรับครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน เฉพาะกรณี โรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดนในอาเภอไทรโยค จงั หวัดกาญจนบรุ ี รปู แบบการเสรมิ สร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน ตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็น รปู แบบการพฒั นาโดยใชโ้ รงเรียนเป็นฐานภายใต้แนวคิดชุมชนแห่งการ เรยี นรู้เชงิ วชิ าชีพ มีองคป์ ระกอบ 11 ประการ ไดแ้ ก่ 1. หลักการของรปู แบบ 2. วัตถปุ ระสงค์ของรูปแบบ 3. ขัน้ ตอนการเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพ การจัดการเรยี นรู้ 4. การประเมินผล 5. บทบาทการโคช้ ของครใู หญ่ 6. บทบาทการโคช้ ของครู 7. บทบาทการโค้ชของผู้เช่ยี วชาญภายนอกโรงเรยี น 8. ปจั จยั สนับสนนุ ดา้ นคุณลกั ษณะของครใู หญ่ 9. ปัจจัยสนับสนุนด้านคุณลักษณะของครู 10. ปจั จัยสนับสนุนดา้ นสอ่ื และทรพั ยากร 11. ปัจจยั สนบั สนนุ ดา้ นการจดั การชน้ั เรยี นของครู

32 5.4 ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้าง ศักยภาพการจัดการเรียนรู้สาหรับครูโรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดน เฉพาะกรณีโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนในอาเภอ ไทรโยค จังหวดั กาญจนบรุ ี ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน พบว่ารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนในเขตอาเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบรุ ี ในภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากท่ีสุด ( X = 4.83, S.D. = 0.38) ซ่ึงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดโดยมีความสอดคล้องกับ สภาพบริบทการจัดการศึกษาของโรงเรียนและมีความเป็นไปได้ที่จะ สามารถนาไปขยายผลในโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนแห่งอน่ื ได้ จากการดาเนินการวิจัยทาให้ได้รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพ การจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดนในเขตอาเภอ ไทรโยค จงั หวดั กาญจนบุรี ดังต่อไปน้ี

33 รปู แบบการเสริมสรา้ งศกั ยภาพการจัดการเรยี นรู้ ของครโู รงเรียนตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จงั หวัดกาญจนบุรี 1. หลกั การของรูปแบบ 1. เสรมิ สร้างศกั ยภาพการจดั การเรยี นรู้ของครูโดยใช้โรงเรียน เป็นฐาน (school – based development) โดยการดาเนินการที่ โรงเรียนอย่างต่อเน่ือง มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมโรงเรียนและ วัฒนธรรมการทางานของครู 2. เสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโดยการใช้ แนวคิดและหลักการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) มีการแลกเปล่ียนเรียนรู้ประสบการณ์ จากการปฏิบัติงานจริงและความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาคุณภาพ ของผู้เรยี นอย่างตอ่ เนอ่ื ง 3. เสรมิ สร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้การโค้ช (coaching) การตั้งคาถามกระตุ้นให้ครูคิด การสร้างความเช่ือม่ัน ในตนเอง การให้แนวคิด การให้ข้อเสนอแนะ การให้คาปรึกษาต่างๆ ตลอดจนการสง่ เสริมและสนบั สนนุ ทางด้านวชิ าการ 2. วัตถปุ ระสงคข์ องรูปแบบ

34 1. เพ่ือเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการจัดการ เรยี นรู้แบบบูรณาการสาหรบั ครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน 2. เพ่ือเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการโค้ช เพือ่ การรู้คดิ (cognitive coaching) สาหรบั ครูโรงเรียนตารวจตระเวน ชายแดน 3. เพ่ือเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการ ประเมินผลการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ สาหรับครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน 4. เพ่ือเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการวิจัย เพือ่ พฒั นาการเรียนรู้สาหรับครูโรงเรียนตารวจตระเวนชายแดน 3. ข้ันตอนการเสริมสรา้ งศักยภาพการจดั การเรียนรู้ 1. การสมั มนาเชิงปฏบิ ัตกิ าร (Workshop seminar) เป็นการ นาเสนอองค์ความรู้ในลักษณะของสาระสาคัญ (main concept) ป ร ะ ก อ บ กั บ ก า ร ย ก ตั ว อ ย่ า ง ท่ี ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ บ ริ บ ท ข อ ง โ ร ง เ รี ย น ประมาณ 20 นาที จากนน้ั ใหค้ รูได้ร่วมกันลงมือฝึกปฏิบัติเพื่อทาให้เกิด ความเข้าใจมากขึ้นก่อนท่ีจะนาไปประยุกต์ใช้ในช้ันเรียน การตอบ คาถามข้อสงสัยต่างๆ และแนวทางการนาไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน อีกประมาณ 40 นาที โดยระหว่างการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครูจะใช้

35 การจัดการชั้นเรียนในห้องเรียนของตนเองเพื่อให้ผู้เรียนมีกิจกรรม ปฏบิ ัตอิ ย่างต่อเน่อื งในระหว่างท่ีครเู ขา้ รว่ มการสัมมนาเชงิ ปฏิบัติการ 2. การประยกุ ต์ใชใ้ นชน้ั เรียน (Applying) เป็นการให้ครูได้นา องค์ความรู้ท่ีได้รับจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการไปใช้จริงในชั้นเรียน ท่ีดาเนนิ การจดั การเรียนรู้โดยมีเอกสารที่จัดทาขึ้นเป็นแหล่งการเรียนรู้ สาหรับครู โดยใช้กระบวนการโค้ชภายในโรงเรียน ได้แก่ การโค้ชโดย ผเู้ ชีย่ วชาญ (expert coaching) การโค้ชโดยผู้บริหาร (administrator coaching) การโค้ชโดยเพ่ือนครู (peer coaching) และการเสริมพลัง ให้ครูมีความเชื่อม่ันในความสามารถของตนเอง การสร้างความม่ันใจ ให้กับครเู กดิ แนวคดิ ในการออกแบบกจิ กรรม การเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับ ระดับความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนการแลกเปล่ียนเรียนรู้นาไปสู่ การปรับปรุงการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ 3. การแลกเปล่ียนเรียนรู้ (Sharing) เป็นการเปิดพ้ืนท่ีให้ครู ได้นาความรู้และประสบการณ์ที่ครูแต่ละคนได้รับจากการนาความรู้ ไปประยุกตใ์ ช้ในชน้ั เรียนมาแลกเปลีย่ นเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความ ม่ันใจให้กับครูทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูและกับครูใหญ่ ตลอดจนการแลกเปล่ียนเรียนรู้กับผู้เช่ียวชาญภายใต้บรรยากาศ การสื่อสารที่สร้างสรรค์เกิดแนวคิดใหม่และนวัตกรรม ครูเกิดการ เรยี นรูเ้ พมิ่ มากข้ึน

36 4. การสะท้อนผล (Reflection) เป็นการให้ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมเพ่ือการพัฒนาโดยเพ่ือนครู ครูใหญ่และผู้เชี่ยวชาญท่ีทาให้ครู มีแนวทางในการนาความรู้และประสบการณ์ท่ีได้รับไปแล้วนั้นไปใช้ ในช้นั เรียนของตนเองตอ่ ไปอย่างต่อเนื่อง 4. การประเมินผล 1. การทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูเก่ียวกับการจัดการ เรียนรู้แบบบูรณาการ การโค้ชเพื่อการรู้คิด การประเมินผลการเรียนรู้ ท่ี เ ส ริ ม ส ร้ า ง ก า ร รู้ คิ ด แ ล ะ ค ว า ม สุ ข ใ น ก า ร เ รี ย น รู้ แ ล ะ ก า ร วิ จั ย เพื่อพัฒนาการเรยี นรู้โดยใช้แบบทดสอบชนิดเตมิ คาตอบส้นั 2. การสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบสังเกต ชนิดไมม่ โี ครงสร้าง มุ่งเน้นการสังเกตจากสภาพจริงและเป็นการสังเกต แบบมีส่วนร่วมโดยมีการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาอย่างเป็น รปู ธรรมในระหว่างการสังเกต 3. การสัมภาษณ์ครูใหญ่และครูเก่ียวกับประสิทธิภาพของ กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการจัดการ เรยี นรู้แบบบูรณาการ การโค้ชเพื่อการรู้คิด การประเมินผล การเรียนรู้ ท่ี เ ส ริ ม ส ร้ า ง ก า ร รู้ คิ ด แ ล ะ ค ว า ม สุ ข ใ น ก า ร เ รี ย น รู้ แ ล ะ ก า ร วิ จั ย เ พื่ อ พฒั นาการเรียนรู้โดยใชแ้ บบทดสอบชนิดเติมคาตอบส้ัน

37 5. บทบาทการโคช้ ของครูใหญ่ 1. โค้ช (coaching) ครูในลักษณะของการโค้ชโดยผู้บริหาร โรงเรียน (administrator coaching) โดยการให้คาแนะนา การชี้แนะ แนวทางการนาองค์ความรู้จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้ ในการจดั การเรยี นรู้ในชัน้ เรยี นของครูแต่ละคน 2. แสดงพฤตกิ รรมภาวะผู้นาทางวิชาการด้วยการเข้าร่วมการ สมั มนาเชิงปฏิบตั กิ าร รวมทั้งร่วมทากจิ กรรมต่างๆ ระหว่างการสัมมนา เชิงปฏิบัติ ทาให้เป็นตัวแบบทางวิชาการแก่ครู ทาให้ครูมีความเช่ือมั่น ในความรู้ความสามารถของตนเอง 6. บทบาทการโค้ชของครู 1. โค้ชเพ่ือนครูและโค้ชการรู้คิดให้ผู้เรียนโดยการให้ คาแนะนาเพ่ือนครูในการนาองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน การให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนเทคนคิ วิธกี ารแก้ไขปัญหาของผเู้ รียน 2. แลกเปลยี่ นเรียนรู้ร่วมกบั ผู้เชีย่ วชาญ ครใู หญ่ และเพ่ือนครู ในประเด็นของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนประเด็นอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และคุณภาพของ

38 ผู้เรียน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาจกระทาอย่างเป็นทางการหรือไม่ เปน็ ทางการ 3. นาความรู้ไปปฏิบัติในชั้นเรียนตามสภาพจริงเพ่ือให้มีความ เ ข้ า ใ จ แ ล ะ ทั ก ษ ะ ม า ก ยิ่ ง ข้ึ น โ ด ย อ า ศั ย แ น ว ท า ง จ า ก เ อ ก ส า ร คู่ มื อ แนวทางการปฏิบัติที่ใช้ในระหว่างการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตลอดจน การสร้างสรรค์เทคนิควิธีการใหม่ๆ ท่ีเป็นนวัตกรรมท่ีสอดคล้องกับ การจดั การเรยี นรขู้ องครู 7. บทบาทการโค้ชของผูเ้ ชี่ยวชาญภายนอกโรงเรียน 1. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับครูใหญ่ครูและผู้เรียน โดยการ พูดคุยสนทนา การซักถามเก่ียวกับสภาพบริบทของการจัดการศึกษา ความต้องการในด้านต่างๆ การสร้างบรรยากาศเชิงบวก เปิดพ้ืนที่การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ท่ีใช้ภาษาในการส่ือสารอย่างสร้างสรรค์ (creative commination) 2. โค้ชครูในลักษณะการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญ ( expert coaching) โดยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องท่ีโค้ชอย่างแท้จริง มปี ระสบการณ์ตรงในเรอ่ื งท่ีทาการโค้ชและใช้คาถามทรงพลัง (power questions) ในการโค้ช การให้คาแนะนา การให้คาปรึกษา เสนอแนะ แ น ว ท า ง ที่ เ ห ม า ะ ส ม กั บ บ ริ บ ท โ ด ย ใ ช้ ภ า ษ า ใ น ก า ร สื่ อ ส า ร อ ย่ า ง สร้างสรรค์

39 3. สร้างความเชื่อม่ันให้กับครูในลักษณะการเสริมพลัง (empowerment) ให้กับครูโดยการสร้างแรงบันดาลใจ (inspiration) สรา้ งเจตคตทิ ่ดี ีต่อการเปน็ ครู กระตนุ้ ใหเ้ ห็นความสาคัญของการพัฒนา คุณภาพของผู้เรียน และสร้างความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของ ตนเองให้กบั ครู 8. ปจั จัยสนบั สนนุ ด้านคุณลักษณะของครูใหญ่ 1. ภาวะผู้นาทางวิชาการ (academic leadership) โดยมี ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การโค้ชเพ่ือการรู้คิด การประเมินผลการเรียนรู้ท่ีเสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการ เรยี นรู้ และการวจิ ยั เพือ่ พัฒนาการเรยี นรู้ มีความสามารถในการส่ือสาร และมมี นุษยสัมพนั ธด์ ี 2. ความรักและปรารถนาดีที่มีให้กับผู้เรียนโดยมีความ ต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดเลข ตลอดจนมีทักษะการคิด ทักษะการใช้ชีวิต และมคี ณุ ธรรมจริยธรรม 3. ความรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยตระหนัก ในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงดูแล ประชาชนโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาสในท้องถ่ินทุรกันดาร โดยไม่จากัด

40 เชื้อชาติ ศาสนา ให้ได้รับโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา และพัฒนาคณุ ภาพชีวติ อยา่ งยั่งยืน 4. ความคิดสร้างสรรค์ โดยมีความสามารถในการคิดปรับ ประยกุ ต์องคค์ วามรเู้ ชิงวิชาการไปสู่การปฏิบัติ สามารถให้ข้อเสนอแนะ หรือข้อแนะนาต่อครูในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้อง กบั ระดบั ความสามารถและธรรมชาติของผู้เรียน 9. ปัจจยั สนบั สนุนดา้ นคณุ ลกั ษณะของครู 1. ความสนใจในงานวิชาการ โดยมีความต้องการได้รับความรู้ ใหม่ๆ ท่ีเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีนิสัย รักการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ สืบเสาะแสวงหาความรู้ ด้วยวิธกี ารตา่ งๆ อยา่ งตอ่ เน่ือง ชอบการแลกเปล่ียนเรยี นรูก้ ับบุคคลอ่ืน 2. ความรักและปรารถนาดีที่มีให้กับผู้เรียนโดยมีความ ตอ้ งการพฒั นาผูเ้ รยี นให้มคี วามรคู้ วามสามารถ โดยเฉพาะด้านการอ่าน การเขยี น และการคิดเลข ตลอดจนมีทักษะการใช้ชีวิต และมีคุณธรรม จรยิ ธรรม 3. ความรักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยตระหนัก ในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงดูแล ประชาชนโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาสในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยไม่จากัด เช้ือชาติ ศาสนา ใหไ้ ด้รบั การศึกษาและพฒั นาคุณภาพชีวติ อยา่ งยง่ั ยืน

41 4. ความคิดสร้างสรรค์ โดยมีความสามารถในการคิดปรับ ประยุกต์องค์ความร้เู ชิงวชิ าการไปสู่การปฏบิ ัติ สามารถให้ข้อเสนอแนะ หรือข้อแนะนาต่อครูในการจัดการเรียนรู้ท่ีมีประสิทธิภาพ สอดคล้อง กบั ระดับความสามารถและธรรมชาตขิ องผู้เรียน 10. ปัจจัยสนบั สนนุ ดา้ นส่ือและทรพั ยากร 1. การใช้ส่ือประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่เป็นสิ่งท่ีอยู่ ในโรงเรยี นมาใช้ประกอบการอธบิ าย การยกตัวอย่าง ทาให้ครูทาความ เขา้ ใจเนอ้ื หาสาระของการสัมมนาได้ง่ายและชัดเจนมากขนึ้ 2. การจัดทาหนังสือคู่มือในลักษณะท่ีนาไปปฏิบัติได้จริง (how to) ท่ีจัดให้ครูได้ศึกษาด้วยตนเองเพ่ิมเติมและนาไปใช้ในชั้น เรียนไดโ้ ดยตรง 3. การใช้ทุนทางสังคมมาช่วยการดาเนินการเสริมสร้าง ศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เช่น แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญา และงบประมาณ เปน็ ต้น 11. ปัจจัยสนบั สนุนด้านการจดั การช้นั เรียนของครู ครูจัดการช้ันเรียนของตนเองโดยให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยตนเองในระหว่างท่ีมีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพ่ือให้ ผ้เู รยี นมกี ารเรยี นรู้ดว้ ยตนเองอยา่ งต่อเน่อื ง เช่น การออกแบบกิจกรรม การเรียนรูใ้ ห้ผเู้ รียนปฏบิ ตั ิการสบื คน้ การฝึกทักษะดว้ ยตนเอง เป็นต้น

42 รปู แบบการเสรมิ สร้างศักยภาพการจดั การเรยี นรู้ ของครูโรงเรยี นตารวจตระเวนชายแดน ในเขตอาเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบรุ ี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook