Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พืชสมุนไพร

พืชสมุนไพร

Published by Phonnatcha Thiauthit, 2022-08-25 03:57:21

Description: พืชสมุนไพร

Search

Read the Text Version

ระบบมาตรฐานและการตรวจสอบรบั รอง เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่เกษตรกรจะต้องยึดถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ก�ำหนดและมีการตรวจสอบรับรองจากองค์กร ที่มีหน้าที่ตรวจสอบรับรอง สินค้าชนิดนั้นจึงจะได้รับการอนุญาตให้ติดตรา เพอ่ื แสดงว่าเป็นสินคา้ เกษตรอนิ ทรียไ์ ด้ ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 3 ฉบับ คือ มาตรฐาน การผลิตพืชอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร มาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ของ กรมการขา้ ว และมาตรฐานเกษตรอนิ ทรยี ข์ องส�ำนกั งานมาตรฐานเกษตรอินทรยี ์ ซ่ึงเป็นองค์กรของภาคเอกชน และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เกษตรอนิ ทรยี ์เลม่ 1 : การผลติ แปรรปู แสดงฉลากและจำ� หนา่ ยเกษตรอินทรยี ์ ของส�ำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ โดยมีองค์กรท่ี ท�ำหน้าท่ีตรวจสอบ รับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ 3 องค์กร คือ ส�ำนักพัฒนา ระบบและรับรองมาตรฐานสนิ คา้ พืช กรมวิชาการเกษตร สำ� นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขา้ ว กรมการขา้ ว ซ่งึ เปน็ ของรฐั บาล และสำ� นกั งานมาตรฐานสินคา้ เกษตรอนิ ทรีย์ ซึ่งเปน็ องค์กรเอกชน พชื สมุนไพร ภมู ปิ ญั ญาไทย 81

การขอใบรบั รองพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ออกใบรับรองผลิตผลเกษตรพืชอินทรีย์ และกรมการข้าวเป็นผู้ออกใบรับรองผลิตผลข้าวอินทรีย์ในนามของหน่วยงาน รฐั บาล ผูป้ ระสงคจ์ ะไดใ้ บรับรองต้องปฏบิ ตั ิ ดงั นี้ ✤ ย่ืนค�ำร้องขอหนังสือรับรองฯ ได้ท่ีส�ำนักพัฒนาระบบและรับรอง มาตรฐานสินคา้ พืช กรมวชิ าการเกษตร เขตจตุจกั ร กทม. 10900 ติดต่อโทรศพั ท์ 0 2579 7520 โทรสาร 0 2940 5472 ✤ กรอกข้อความตามแบบที่ก�ำหนด ✤ กรมวิชาการเกษตรจะสง่ เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบกระบวนการผลติ ✤ หากไดม้ าตรฐานตามท่วี างไว้จะออกใบรับรองให้ ✤ ขณะน้ียังไมต่ อ้ งเสียค่าใชจ้ ่าย (อาจมีการเปล่ียนแปลง) ส�ำนักงานมาตรฐานสินค้า เกษตรอินทรีย์เป็นผู้ออกใบรับรอง ผลิตผลเกษตรอินทรีย์ในนามของ ภาคเอกชน ผู้ประสงค์จะได้รับรอง ให้ติดต่อไปที่ส�ำนักงานมาตรฐาน เกษตรอนิ ทรยี ์ เลขที่ 619/43 อาคาร เกียรติงามวงษ์ ถนนงามวงศ์วาน อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2580 0934 โทรสาร 0 2580 0934 e-mail : actnet@ ksc.th.com 82 พชื สมุนไพร ภูมิปญั ญาไทย

จันทน์เทศ ช่อื วิทยาศาสตร์ : Myristica fragrans Houtt.



ร้มู าตรฐานสมนุ ไพร การปลกู สมุนไพร ควรมคี วามรู้ 1. ความรูเ้ ก่ียวกับพชื สมนุ ไพรท่ปี ลูก ไดแ้ ก่ ช่อื ทอ้ งถิน่ ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ ลกั ษณะทวั่ ไปของพชื สมนุ ไพร แหลง่ กำ� เนดิ ถน่ิ ทอี่ ยู่ สว่ นทใ่ี ชเ้ ปน็ ยา องคป์ ระกอบ ทางเคมีที่เปน็ ตวั ยาออกฤทธิ์ เพ่ือใหป้ ลูกถกู ต้น ถูกชนดิ 2. ความรู้เก่ียวกับการผลิตวัตถุดิบสมุนไพร ได้แก่ วิธีการเพาะปลูก กรรมวิธีเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุและการเก็บรักษา เพ่ือปลูก และเก็บเกยี่ วพชื สมนุ ไพรได้ถูกต้อง 3. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพของพืชสมุนไพร เพื่อสามารถ ผลติ วัตถดุ ิบทีม่ ีคุณภาพ แปลงปัญจขันธ์ พชื สมนุ ไพร ภูมิปัญญาไทย 83

มาตรฐานสมนุ ไพรที่ควรรู้ เอกลักษณท์ างเภสัชเวท เป็นคุณลักษณะจ�ำเพาะทางกายภาพภายนอกของสมุนไพร ส�ำหรับ ตรวจสอบชนิดของสมุนไพรที่น�ำมาใช้เป็นยา ในกรณีที่มีความจ�ำเป็นต้อง ซ้ือสมุนไพรท่ีผ่านการแปรรูปมาแล้ว เช่น การตัด ห่ัน ฝาน ท�ำให้แห้ง ว่าเป็น ชนดิ ทถี่ กู ตอ้ งหรอื ไม่ วธิ กี ารตรวจสอบแบบงา่ ยๆ สำ� หรบั ชมุ ชน คอื การตรวจสอบ สมนุ ไพรโดยใชป้ ระสาทสมั ผสั ทงั้ หา้ คอื รปู รส กล่ิน เสยี ง และสัมผสั วิธนี ี้เป็น การตรวจสอบเบื้องต้นท่ีส�ำคัญ ท่ีจะบอกลักษณะของสมุนไพรอย่างหยาบๆ ชึ่งแบ่งเป็น ✤ รปู รา่ งและขนาด สมนุ ไพร แต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะตัว เช่น ลักษณะเป็นรูปดาวแปดแฉกของ ผลจันทนแ์ ปดกลบี ✤ สีและลักษณะที่น่าสังเกต ภายนอก สี เช่น สีเหลืองของ ขม้ินชันต่างจากสีเหลืองของขมิ้นอ้อย ลักษณะภายนอก เช่น ก้านเป็น ตุ่มของบอระเพ็ด ก้านส่ีเหล่ียม ของ ฟ้าทะลายโจร 84 พชื สมนุ ไพร ภมู ิปัญญาไทย

✤ รอยหักและสีภายใน เม่ือ ลองหักสมุนไพรออกจากกัน จะมี ลักษณะที่สังเกตได้ เช่น สามารถ หั ก อ อ ก จ า ก กั น ไ ด ้ อ ย ่ า ง เ ด็ ด ข า ด หักไม่ขาดออกจากกัน หักแล้วมี เสียงดัง หักแล้วผิวหน้าเรียบมีเส้นใย เปราะหักง่าย หรือเหนียวหักยาก สีภายในรอยหักจะแตกต่างจากผิว ภายนอกหรอื ไม่ ✤ กลิ่นและรส กล่ินของ พริกไทย สมุนไพรแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับปริมาณ และประเภทของสารระเหยที่มี เช่น มะแขว่น กลิ่นของก�ำยาน อบเชย มหาหิงคุ์ พชื สมนุ ไพร ภมู ปิ ัญญาไทย 85 ฯลฯ ซ่งึ เปน็ กล่ินเฉพาะตัว ส่วนรสนั้น ใชว้ ธิ ชี มิ และรบั ความรสู้ กึ ทล่ี น้ิ อาจจะ มีรสต่างๆ กัน เช่น เปร้ียว หวาน เค็ม เผ็ด ฝาด ฉุน ร้อน เป็นต้น (การชิมรสอาจเกิดอันตรายได้ หาก มีการปนปลอมจากพืชท่ีมีพิษ จึงต้อง ทำ� อยา่ งระมดั ระวัง)

ส่งิ แปลกปลอม หมายถึง สิ่งอ่ืนๆ นอกเหนือจากส่วนของพืชท่ีต้องการใช้ เช่น ส่วน ของพืชชนิดอื่นหรือส่วนอื่นของพืช แม้แต่พืชชนิดเดียวกันหากต้องการใช้ใบ ก็ไม่ควรมกี ิ่งและกา้ นปนมา รวมทงั้ ไมค่ วรมีกรวด หนิ ดิน ทราย ปนมา เป็นตน้ โดยทว่ั ไปควรมสี ิง่ แปลกปลอมไมเ่ กินรอ้ ยละ 2 การตรวจสิ่งแปลกปลอม ✤ วิธีการตรวจสอบแบบง่ายๆ ส�ำหรับชุมชน โดยการใช้ตาเปล่า และมือแยกแยะส่ิงแปลกปลอมต่างๆ ช่ังน้�ำหนักส่ิงแปลกปลอม และค�ำนวณ เป็นรอ้ ยละของสมุนไพรทนี่ ำ� มาตรวจ ✤ วิธีการตรวจสอบโดยห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ โดยการ ตรวจปริมาณเถ้า เถ้าท่ีไม่ละลายในกรด สารที่ละลายได้ในน้�ำ สารท่ีละลายได้ ในเอทานอลและน�้ำมนั ระเหยง่าย 86 พืชสมุนไพร ภมู ปิ ัญญาไทย

ความช้ืน โดยท่ัวไปสมุนไพรควรท�ำแห้งให้มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 10-12 ยกเว้น สมนุ ไพรบางชนดิ มีการกำ� หนดไว้ตามความเหมาะสม เชน่ บัวบก ตอ้ งมีความชืน้ ไม่เกินร้อยละ 14 สมุนไพรที่มีความชื้นมากเกินไป จะท�ำให้เช้ือจุลินทรีย์เติบโต ได้ง่าย ท�ำให้เกิดการสูญเสียสารส�ำคัญได้ง่าย วิธีตรวจวัดความช้ืนด้วยตัวเอง ที่ง่ายท่ีสุด คือ การหักชิ้นส่วนดูว่ามีความกรอบและหักง่ายหรือไม่ หรือใช้ การดม สมุนไพรหลายๆ อยา่ งท่ีมคี วามชืน้ จะมกี ลิน่ อบั สารส�ำคัญ/สารออกฤทธ์ิ สมุนไพรที่ทราบชนิดสารส�ำคัญหรือสารออกฤทธิ์ สามารถใช้วิธีเฉพาะ เพ่ือตรวจหาปริมาณของสารเหล่าน้ันได้ การตรวจปริมาณสารส�ำคัญหรือ การตรวจปริมาณตัวยาในวัตถุดิบสมุนไพร ต้องตรวจในห้องปฏิบัติการทาง วิทยาศาสตร์เท่าน้นั การปนเปือ้ นด้วยจลุ ินทรยี ์ สมุนไพรท่ีปราศจากส่ิงปนเปื้อนหรือมีปริมาณส่ิงปนเปื้อนอยู่ในเกณฑ์ ที่ปลอดภัย ก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว การปนเปื้อน ด้วยจุลินทรีย์เป็นสาเหตุท�ำให้เกิดการสูญเสียสารส�ำคัญได้งา่ ย เป็นสาเหตุส�ำคัญ ที่ท�ำให้สมุนไพรมีคุณภาพต�่ำ ได้อนุญาตให้มีการปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ได้บ้าง แต่ต้องไม่เกินค่ามาตรฐานที่ก�ำหนดไว้ วิธีการตรวจสอบการปนเปื้อนจะต้อง ตรวจโดยห้องปฏบิ ัตกิ ารทางวิทยาศาสตร์ พชื สมนุ ไพร ภูมปิ ญั ญาไทย 87

การปนเปือ้ นดว้ ยสารเคมตี กคา้ ง สมุนไพรไม่ควรมีสารเคมีตกค้าง หรืออาจมีได้แต่ต้องไม่เกินค่าท่ี ก�ำหนดไว้ เพราะหากใช้สมุนไพรที่ปนเปื้อนเป็นเวลานาน จะเกิดการสะสมของ สารพิษในร่างกายได้ จึงก�ำหนดค่าท่ีอนุญาตให้มีได้ไว้ต�่ำมาก สารพิษตกค้างที่ ตรวจหาการปนเปอ้ื นในสมนุ ไพรที่ส�ำคัญมี 4 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. สารประกอบคลอรนี เชน่ คลอริเดน ดดี ีที ดลี ดรนิ เฮปตาคลอร์ 2. สารประกอบฟอสเฟต เช่น พาราไธออน มาลาไธออน ไดเททเนท 3. สารคารบ์ าเมท เช่น คาร์บาริล 4. สารประเภทไพรที รอยด์ เช่น ไซเปอรม์ ธี ริน เปอรม์ ีธรนิ การปนเปอื้ นดว้ ยสารหนูและโลหะหนกั สมุนไพรไม่ควรมีสารหนูและโลหะหนักตกค้าง หรืออาจมีได้แต่ต้อง ไม่เกินค่าท่ีก�ำหนดไว้ คือในสมุนไพร 1 กิโลกรัมจะมีการปนเปื้อนด้วยสารหนู แคดเมยี่ ม และตะกว่ั ได้ไม่เกิน 4, 0.3 และ 10 มิลลิกรัม ตามล�ำดับ การตรวจสอบและรับรองคุณภาพสมุนไพรจะเป็นประโยชน์แก่เกษตรกร ในการพัฒนาและส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ซ้ือ/ผู้ใช้วัตถุดิบ ตลอดจนผู้บริโภค หากการตรวจสอบคุณภาพไม่ผ่านก็จะท�ำให้ทราบปัญหาว่าไม่ผ่านข้อไหน เพื่อน�ำไปค้นหาสาเหตุในกระบวนการผลิต น�ำไปสู่การควบคุมและปรับปรุง กระบวนการผลิตเพื่อลดความเส่ียงต่อไป กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสมุนไพร ชุมชน หรือกลุ่มแม่บ้านผู้แปรรูปสมุนไพรที่มีแหล่งผลิตสมุนไพร สามารถส่งตัวอย่าง ขอตรวจรับรองวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้ท่ี สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวทิ ยาศาสตรก์ ารแพทย์ กระทรวงสาธารณสขุ หรอื ศูนยว์ ิทยาศาสตร์การแพทย์ ใกล้บา้ น 88 พชื สมุนไพร ภมู ปิ ัญญาไทย

กวาวเครอื ขาว ช่ือวิทยาศาสตร์ : Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica (Airy Shaw et Suvat.) Niyomdham.



สมนุ ไพรน่ารู้ เจตมูลเพลิงแดง เจตมลู เพลิงแดง หรือ Rose- colored Leadwort มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Plumbago indica Linn. บางท้องถิ่นอาจเรียก ไฟใต้ดิน หรือ ปิดปิวแดง พบว่ามีการกระจายตัว อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีเขต การกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย เกือบทุกภาค สามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.8–1.5 เมตร ยอดอ่อนสีแดง แตกกิ่งก้าน สาขารอบๆ ต้น ใบเด่ียวออกสลับไปตามข้อต้น ลักษณะคล้ายใบมะลิ แต่ ขนาดใหญ่กว่า ดอกมีสีแดง ออกเป็นช่อที่ส่วนยอดของต้น ผลลักษณะเป็น ฝักกลม ทรงรียาว เปน็ ผลแหง้ เมอื่ แกแ่ ตกตามรอ่ งได้ รากของเจตมลู เพลิงแดง มีรสเผด็ ร้อน สารสำ� คญั ในรากเจตมูลเพลิงแดง ช่ือ พลมั บาจนิ (plumbagin) และ 3-คลอโรพลัมบาจนิ มีฤทธิ์บีบมดลกู ใชผ้ สม ในยาบ�ำรุงส�ำหรับสตรีหลังคลอดเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ ปัจจุบันรากเจตมูลเพลิงแดง หายากและมีราคาสูง เกษตรกรสามารถปลูกและขยายพันธุ์ทดแทนการเก็บ จากธรรมชาตไิ ดด้ ี พชื สมนุ ไพร ภูมปิ ัญญาไทย 89

สภาพพื้นท่ปี ลูก ✤ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพฝนตกชุก ร้อนชื้น เช่น ภาคใต้ มีน้�ำ สม�่ำเสมอรากจะสมบูรณ์ ✤ พนื้ ทมี่ คี วามลาดเอยี งตำ�่ ดนิ ต้องชื้น แต่ไมม่ ีน�ำ้ ทว่ มขัง ✤ ชอบแสงแดด หรือรม่ ร�ำไร พนั ธุ์และวธิ กี ารขยายพันธุ์ 1. พันธุ์ เลือกท่อนพันธุ์จากแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ ปลอดโรคและ แมลงทำ� ลาย โดยพันธท์ุ น่ี ิยมปลกู คือ พันธพ์ุ น้ื เมืองในทอ้ งถน่ิ 2. วิธีการขยายพันธ์ุ ขยายพนั ธ์ุดว้ ยการปักช�ำยอดหรือเหง้า การปลูก 1. การเตรียมดิน ดินปลูกควรเป็นดินผสม เพ่ือใช้ปลูกในถังซีเมนต์ หรือถังพลาสติก ส่วนการปลูกในแปลงให้ไถพรวนดิน ก�ำจัดวัชพืชและตากดินไว้ ประมาณ 7-15 วัน 2. การเตรียมพันธุ์ ตัดยอดหรือเหง้ามาช�ำในถุง แล้วย้ายปลูก การตัดยอดทำ� ไดโ้ ดยการตดั ยอดประมาณ 2 คืบ น�ำไปปกั ในถุงชำ� ทีใ่ สแ่ กลบเผา ก่ิงช�ำใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะออกราก เม่ืออายุได้ 2-3 เดือน ต้นแขง็ แรงแลว้ จึงย้ายปลูก 90 พชื สมนุ ไพร ภูมิปัญญาไทย

3. วธิ ีการปลูก 3.1 ปลูกในถัง ซีเมนต์สูง 50 เซนติเมตร ซอ้ นกนั 2 ชน้ั หรอื ถงั พลาสตกิ ลึกประมาณ 1 เมตร และ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง ประมาณ 1 เมตร ผสมดิน ปลูกให้โปร่ง ปลูกประมาณ 10 ตน้ 3.2 ป ลู ก ใ น แปลง ต้องเตรียมดินให้มี ความร่วนซุย ใส่ปุ๋ยคอกให้ ดินโปร่ง เมื่อน�ำก่ิงปักช�ำปลูก ลงแปลงแล้วให้โรยแกลบ รดนำ้� ใหช้ มุ่ การดแู ลรกั ษา 1. การใหน้ ำ้� ระยะเวลา 1-2 เดอื น ใหน้ ำ�้ อยา่ งสม�่ำเสมอ หลังจากนน้ั ใหส้ ปั ดาห์ละ 2-3 คร้งั 2. การใหป้ ยุ๋ ควรให้ปุ๋ยคอกหรือปยุ๋ อินทรยี ์ในช่วงการเตรยี มแปลงปลกู หว่านปุ๋ยคอก หรือปยุ๋ คอก 500 กิโลกรัมตอ่ ไร่ หรอื 250 กรัมตอ่ ต้น 3. การกำ� จดั วชั พชื ใช้แรงงานถอนวชั พชื รอบๆ โคนตน้ อยา่ งสมำ�่ เสมอ 4. การกำ� จัดศัตรพู ืช มีแมลงศตั รสู ำ� คัญ คือ เพลยี้ ไฟ การป้องกนั กำ� จดั ท�ำได้โดยใช้น้�ำฉีดไล่แมลง หรือใช้สารป้องกันก�ำจัดแมลงจากธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากสะเดา เป็นต้น พชื สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย 91

การเกบ็ เกี่ยว 1. ระยะเก็บเกี่ยวท่ีเหมาะสม เก็บเก่ียวได้เม่ืออายุ 1 ปี เก็บเกี่ยว ช่วงปลายฤดูแล้งประมาณเดือนเมษายน และหากเก็บเม่ืออายุ 2 ปีขึ้นไป จะไดร้ ากสีนำ้� ตาลซง่ึ เมื่อตากแลว้ ไมห่ ดตวั 2. วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้วิธียกถังซีเมนต์หรือถังพลาสติกออกจากกอ ของเจตมูลเพลิงแดง แล้วใช้เสียมค่อยๆ คุ้ยเอาเฉพาะรากของเจตมูลเพลิงแดง น�ำไปล้างในน้�ำสะอาดหรือใช้น้�ำฉีด จนเหลือแต่ราก ระมัดระวังเพราะยาง จากรากเมอ่ื ถูกผิวหนงั จะท�ำใหไ้ หม้ พอง เหมือนโดนไฟ การจัดการหลงั การเก็บเก่ยี ว 1. การแปรรูป เมื่อเก็บเก่ียวมาแล้ว น�ำรากมาล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วจึงน�ำไปตากแห้งหรืออบให้แห้งด้วยอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ซ่งึ หลงั จากทำ� ให้แหง้ รากของเจตมูลเพลิงแดงจะเสยี นำ้� หนักไมม่ าก รากสดหนกั 1.5-2 กโิ ลกรัม เมอ่ื นำ� ไปท�ำแหง้ เหลือประมาณ 1 กิโลกรมั 2. การเก็บรักษา น�ำเจตมูลเพลิงแดงท่ีอบแห้งสนิท บรรจุถุงพลาสติกใส 2 ชั้น ปิดปากให้สนิท เขียนฉลากปิดถุงให้เรียบร้อย น�ำเข้าจัดเก็บในห้องที่ สะอาด เย็นไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทดี ป้องกันแสงแดด ระวังไม่ให้มีเชื้อรา หรือแมลงเข้าไปท�ำลาย เจตมูลเพลิงแดงแห้งที่จัดเก็บไว้นานเกิน 3 เดือน ควรจะมกี ารนำ� มาอบใหม่อีกคร้งั การน�ำไปใชป้ ระโยชน์ ประโยชนทางยา ใช้รากแห้ง 1-2 ช้อนชา ต้มกับน้�ำ 2 แก้ว ดื่มคร้ังละ 1/4 แก้ว หรือใช้รากสด 1-2 ราก ต�ำให้ละเอียด ผสมกับน�้ำ หรือเหลา้ ทาบรเิ วณท่เี ป็นโรคผวิ หนัง รากเจตมลู เพลิงแดงแหง้ 92 พืชสมนุ ไพร ภมู ิปญั ญาไทย

ดีปลี ดีปลีมีการปลูกเชิงการค้ามา เป็นเวลานาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม การผลิตยาแผนโบราณ มีท้ังการปลูก เป็นพืชหลัก และการปลูกในสวนผล ไม้เป็นพืชเสริม ดีปลีในประเทศไทย คือ P. retrofractum Vahl (มีชื่อพ้องว่า P. chaba Hunter nom Blume หรือ P. officinarum DC.) มชี อ่ื ภาษาอังกฤษว่า Java long pepper มีถ่ินก�ำเนดิ ที่หมู่เกาะโมลุกกะ แต่น�ำมาปลูกแพร่กระจายในประเทศอินโดนีเซียและ ประเทศไทย ดีปลีมเี ขตการแพร่กระจายพันธุ์พบปลกู ทุกภาคของประเทศไทย ดีปลีเป็นพืชอายุหลายปี ดังนั้นควรเลือกพ้ืนที่ท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ มีความร่วนซุย ระบายน�้ำดี เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าซ่ึงเป็นปัญหาส�ำคัญ การใช้ค้างควรใช้ค้างท่ีมีความแข็งแรง มีอายุการใช้งานนาน เน่ืองจากดีปลี มีอายุยืน การเปลี่ยนค้างบ่อยเป็นการส้ินเปลืองและท�ำให้ดีปลีชะงักการเจริญ เติบโต ประการต่อไปท่ีต้องค�ำนึงถึงคือ จ�ำนวนแรงงาน ดีปลีเป็นพืชท่ีต้องการ การดูแลมากพอสมควรทั้งการให้น้ำ� การใส่ปุย๋ การกำ� จดั วัชพชื และการเกบ็ เกย่ี ว ดังน้ันควรมีแรงงานในครอบครัวหรือแรงงานจ้างเพียงพอที่จะสามารถดูแล จัดการได้ในทุกข้ันตอนการผลิต ประการสุดท้ายคือ การตากแห้งและการเก็บ รักษาเป็นสง่ิ สำ� คัญมากเพือ่ ใหม้ คี ณุ ภาพดี ไมม่ ีเชอื้ รา หรอื มอดเข้าท�ำลาย ท�ำให้ เสยี คุณภาพและขายไดร้ าคาต�ำ่ พืชสมุนไพร ภมู ปิ ญั ญาไทย 93

ผลดีปลีแห้งประกอบด้วยแอลคาลอยด์ ชื่อ ไพเพอริน (Piperine) เหมือนท่ีพบในพริกไทย ประมาณร้อยละ 4-5 ท�ำให้มีรสเผ็ดร้อน มีน�้ำมัน หอมระเหยประมาณร้อยละ 1 สารส�ำคัญดังกล่าวท�ำให้ดีปลีมีสรรพคุณเป็น ยาช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมและขับน้�ำดี ฯลฯ ดปี ลใี ชเ้ ปน็ เครอ่ื งเทศโดยใชแ้ ตง่ กลนิ่ ผกั ดองและชว่ ยถนอมอาหารมใิ หเ้ กดิ การบดู นิยมใส่ในอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงค่ัว แกงเผ็ด เพื่อดับกล่ินคาวของเนื้อสัตว์ ในอาหาร สภาพพ้ืนทปี่ ลูก ✤ เลือกพื้นท่ีที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายนำ�้ ดีเพอื่ ปอ้ งกันโรครากเนา่ โคนเนา่ ซ่งึ เปน็ ปญั หาส�ำคญั ✤ มีฝนตกชุกและความช้นื สงู ✤ เตบิ โตได้ดีท้ังในทแ่ี ดดจัดและแดดร�ำไร พันธุ์ 1. การเลอื กพนั ธุ์ เลอื กต้นพนั ธท์ุ อ่ี ายุ 1-2 ปี ที่สมบูรณแ์ ขง็ แรงปราศจาก โรคและแมลงท�ำลาย 2. พันธุท์ น่ี ยิ มปลูก พันธุพ์ ื้นเมอื ง 94 พืชสมนุ ไพร ภมู ิปัญญาไทย

การปลูก 1. การเตรียมดิน ก�ำจัดวัชพืชและเศษวัสดุ ไถพรวน ตากดินประมาณ 7-15 วนั จากนนั้ ใส่ปุย๋ คอกทย่ี อ่ ยสลายดแี ลว้ คลกุ เคลา้ ให้เข้ากัน อัตรา 2 ตันต่อไร่ และควรใส่ปนู ขาวเพ่ือปรบั ความเป็นกรดด่างของดินให้มีคา่ 5.5-6.5 2. การเตรียมพันธุ์ การปักช�ำ ยอดท่ีจะน�ำมาช�ำให้ใช้ยอดกระโดง หรือยอดที่แยกออกด้านข้าง ตัดต�่ำกว่ายอดลงมา 5 ข้อแล้วเอาดินเหนียวหุ้ม 2 ข้อล่าง เพื่อเพิ่มความชื้นให้แตกรากเร็วข้ึนไม่เช่นน้ันจะเหี่ยวเฉา จากนั้น จึงน�ำยอดไปช�ำลงในถุงจนกระทั่งแตกรากแลว้ จึงนำ� ไปปลกู 3. วิธีการปลูก ค้างท่ีใช้ปลูกดีปลีเป็นค้างปูนสูง เช่นเดียวกับพริกไทย หรือใช้เสาค้างไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง มีอายุการใชง้ าน 10-20 ปี ฝงั ลงดินใหส้ ูงพน้ ดนิ ประมาณ 3-3.5 เมตร ระยะปลกู 1.52 เมตร ขดุ หลมุ และเอากลา้ ลงปลกู เกษตรกรอาจไมเ่ พาะชำ� กลา้ แตใ่ ชว้ ธิ ปี ลกู ทนั ที โดยตัดยอดดปี ลปี ระมาณ 5 ขอ้ แลว้ นำ� ไปปลูกตดิ กับเสาคา้ งเลย 3-5 คา้ ง ต่อเสา ฝังลงดินประมาณ 3 ข้อ น�ำยอดทั้งหมดผูกติดกับเสาค้างเพ่ือให้ราก ยึดเกาะท่ีเกิดขึ้นใหม่เกาะติดกับเสาค้าง จากนั้นพรางแสงด้วยทางมะพร้าว ประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นดีปลีก็สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องพรางแสง อกี ตอ่ ไป เมอื่ ปลูกเสรจ็ แลว้ ควรมีการพูนโคน และทำ� รอ่ งน้ำ� ใหม้ ีความลาดเทเลก็ น้อย เพอ่ื ให้นำ�้ ไหลผ่านสะดวก พืชสมนุ ไพร ภูมปิ ัญญาไทย 95

การดแู ลรกั ษา 1. การให้น�้ำ ให้น�้ำสม่�ำเสมอไม่ควรให้แฉะจนเกินไปเพราะจะท�ำให้ เกิดโรคโคนเนา่ ได้ง่าย 2. การใส่ป๋ยุ ใสป่ ุย๋ อินทรีย์ เช่น มูลวัว มูลไก่ และปุ๋ยหมัก ปีละ 2 คร้งั ช่วงต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นดีปลี และเพิ่ม ผลผลติ 3. การก�ำจัดวัชพืช ใช้แรงงานคนถอนวัชพืชสม่�ำเสมอในช่วงฝนโดย วธิ ถี างตามแนวรอ่ ง การเก็บเกย่ี ว ดีปลีจะออกดอกตลอดปี แต่จะออกดอกมากในช่วงฝน หน้าแล้ง ดอกจะเล็ก ดอกจะออกตรงข้ามกับใบบริเวณข้อปล้องของกิ่งดีปลี ดีปลีสามารถ ให้ผลผลติ และเก็บเกยี่ วไดเ้ มอ่ื มอี ายุ 6 เดือน ถงึ 1 ปหี ลังจากปลกู โดยทรงพุ่ม จะเจริญเติบโตเต็มท่ีและเร่ิมออกดอก อายุเก็บเกี่ยวจากดอกจะเจริญเติบโต เปน็ ผลจนถึงสามารถเกบ็ เกี่ยวไดใ้ ช้เวลาประมาณ 2 เดอื น โดยทั่วไปจะสามารถ เก็บเก่ียวผลผลติ ได้ 3 คร้ังตอ่ ปีการเก็บเกยี่ ว 1. ระยะเก็บเก่ียวที่เหมาะสม ดัชนีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ เก็บเกี่ยวในระยะที่ผลแก่จัดเริ่มมีสีส้มแดงเรื่อๆ แต่ยังไม่สุก เน้ือแน่นแข็งไม่น่ิม จะเปน็ ระยะทด่ี ปี ลีมีกล่ินฉุนจัดที่สดุ ผลต้องไม่สกุ แดงเกินไปหรอื เขยี วไป 2. วิธีการเก็บเก่ียว เก็บเกี่ยวผลเม่ือแก่จัดแต่ยังไม่สุก โดยการใช้ กรรไกรตัดผลออกจากต้น หรือใช้มือเด็ดท่ีก้านขั้วผล ใส่ตะกร้าท่ีสะอาด ใน 1 ก่ิง สามารถเก็บผลดีปลีได้ 2-3 ผลต่อครั้ง การเก็บเกี่ยวแต่ละรุ่น ใช้ระยะเวลาห่างกัน 1-2 เดือน หากมีการบ�ำรุงรักษาที่ดี ดีปลีสามารถให้ ผลผลติ ได้นานถึง 40 ปี 96 พชื สมนุ ไพร ภูมิปญั ญาไทย

การปฏิบัตหิ ลังการเกบ็ เกยี่ วและเก็บรกั ษา 1. การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว น�ำผลท่ีเก็บได้ล้างน�้ำ ผ่ึงให้หมาด เด็ดข้ัวผลออก น�ำไปท�ำแห้งทันทีเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา โดยตากแห้งบนภาชนะ ยกพ้ืน สะอาด ป้องกันฝุ่นละออง หรือการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ จนแห้งสนิท สังเกตจากผลท่ีแห้งสนิทสามารถหักได้ อัตราแห้งของดีปลี 4 กิโลกรัมสด ได้ 1 กโิ ลกรมั แหง้ นำ� ผลท่เี ก็บได้ลา้ งนำ�้ ผง่ึ ใหห้ มาด เด็ดข้วั ผลออก อบแหง้ ด้วย ต้อู บอณุ หภมู ิ 60 องศาเซลเซียส ใหม้ คี วามช้นื ไม่เกนิ ร้อยละ 11 2. การเก็บรักษา น�ำดีปลีท่ีอบแห้งสนิทบรรจุถุงพลาสติกใส 2 ชั้น ปิดปากให้สนิท เขียนฉลากปิดถุงให้เรียบร้อย น�ำเข้าไปจัดเก็บในห้องท่ีสะอาด เย็นไม่อับช้ืน มีอากาศถ่ายเทดี ป้องกันแสงแดด ระวังไม่ให้มีเชื้อราหรือแมลง เข้าไปท�ำลาย ท�ำให้คุณภาพลดลง ดีปลีแห้งท่ีจัดเก็บไว้อายุเกิน 3 เดือนควรจะ มีการน�ำมาอบใหม่อีกคร้ัง เพื่อไม่ให้มีความช้ืน และมีแมลงรบกวน คัดแยกผล ท่มี สี ีส้มแก่ เนอ้ื แนน่ แข็ง ไมม่ รี อยถกู แมลงท�ำลาย ออกจากผลที่ไมม่ คี ุณภาพ พชื สมนุ ไพร ภูมิปญั ญาไทย 97

เพชรสงั ฆาต เพชรสังฆาต มีชื่อวทิ ยาศาสตร์ ว่า Cissus quadrangularis Linn. บางท้องถ่ินอาจเรียก สันชะคอด สามร้อยต่อ สามร้อยข้อ หรือ สนั ซะฆาต พบวา่ มีการกระจายตัวอยู่ อยู่ในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา ชอบข้ึนตามชายป่าหรือท่ีช้ืน มีลักษณะ เป็นไม้เลื้อย เถารูปสี่เหลี่ยม มีข้อและปล้องชัดเจน บางข้ออาจมีมืองอกออก มาดว้ ย ใบเปน็ ใบเดี่ยว ออกสลับและมกั จะอยบู่ ริเวณส่วนบนของล�ำต้น ใบรปู ไข่ หรือสามเหลี่ยมปลายมน ดอกกลมเล็กสีแดงเขียวเป็นช่อเล็ก ออกตามข้อ ผลค่อนข้างกลมเทา่ เมลด็ พริกไทย ผลสแี ดงหรอื ด�ำ เถาของเพชรสงั ฆาต ถูกนำ� มาใชใ้ นทางยา โดยนำ� มาท�ำเปน็ ผงเพชรสังฆาต บรรจุแคปซูล มีสรรพคุณรักษาอาการริดสีดวงทวาร โดยมีงานวิจัยพบว่าการ รับประทานแคปซูลเพชรสังฆาต สามารถใช้ทดแทนการรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยยาดาฟลอนได้เป็นอย่างดี เพชรสังฆาต จึงถูกน�ำมาใช้เป็นยาทางเลือกใน การรักษาริดสีดวงทวารร่วมกับ ยาแผนปจั จบุ ัน 98 พืชสมุนไพร ภมู ปิ ญั ญาไทย

สภาพพ้ืนที่ปลูก ✤ เจริญเตบิ โตได้ดใี นทุกสภาพดิน ✤ พ้ืนท่ีมีความลาดเอียงเล็กน้อย ชอบดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุและ ระบายน�ำ้ ดี ✤ ปลกู ได้ทั้งในทโ่ี ลง่ แจง้ หรือร่มร�ำไร พนั ธแ์ุ ละวิธีการขยายพนั ธ์ุ 1. พันธุ์ เลือกท่อนพันธุ์ จากแม่พันธุ์ท่ีสมบูรณ์ ปลอดโรคและ แมลงท�ำลาย โดยพันธุ์ที่นิยมปลูก คือ พนั ธุ์พ้ืนเมืองในทอ้ งถ่นิ 2. วิธีการขยายพันธุ์ ขยาย พนั ธุด์ ว้ ยใชเ้ ถาปกั ช�ำ การปลูก 1. การเตรียมดิน ไถพรวน ดินให้ร่วนซุยก่อนปลูก หรือปลูก เป็นหลุม และใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม เลก็ น้อยก่อนปลูก 2. การเตรียมพันธุ์ น�ำเถาแก่ที่สมบูรณ์มาตัดเป็นท่อน แต่ละท่อน ให้มีข้อติด 1-2 ข้อ ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปักช�ำลงในดิน โดยให้ข้อ ฝังในดิน 1 ข้อ หรือลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เอียงเล็กน้อย รดน�้ำให้ชุ่ม เมอ่ื แตกใบและรากมากพอควรจงึ ย้ายไปปลกู 3. วิธีการปลูก เพชรสังฆาตปลูกง่าย น�ำกล้าท่ีปักช�ำมาปลูก หรือ อาจตัดเถาไปปลูกโดยไม่ปักช�ำก็ได้ เพชรสังฆาตมีมือจับ จึงควรท�ำค้างเพ่ือให้ เพชรสังฆาตไต่ขึ้น หรือใช้เชือก อวน หรือลวดให้ล�ำต้นเจริญเล้ือยเกาะ หรือ ปลกู ริมรวั้ พืชสมนุ ไพร ภมู ิปญั ญาไทย 99

การดูแลรักษา 1. การให้น้�ำ ให้น้�ำอย่างสม่�ำเสมอให้โคนต้นชุ่มชื้น หากให้น�้ำไม่ท่ัวถึง และไม่สม่�ำเสมอ รากฝอยจะขาด ชะงักการเจริญเติบโต คอยรดน้�ำให้ชุ่มเม่ือ ยอดแตก 2. การใหป้ ุ๋ย ควรใช้ปยุ๋ หมัก 3. หมั่นตดั แตง่ เถา 4. การก�ำจัดวัชพืช หลังปลูกควรใช้วัสดุคลุมแปลงเพ่ือไม่ให้วัชพืชงอก และใชแ้ รงงานถอนวัชพืชรอบๆ โคนต้นอย่างสม่ำ� เสมอ 5. การก�ำจัดศัตรูพืช ใช้สารป้องกันก�ำจัดแมลงจากธรรมชาติ เช่น สารสกดั จากสะเดา เปน็ ตน้ 100 พชื สมุนไพร ภูมิปญั ญาไทย

การเก็บเกีย่ ว 1. ระยะเก็บเกย่ี วท่ีเหมาะสม เกบ็ เกี่ยวเม่ืออายุ 2 ปี 2. วิธีการเก็บเก่ียว ดูสีของเถาซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ยอดและ เถาส่วนปลายจะเป็นสีเขียวอ่อน ทางโคนเถาจะแก่จัดเป็นสีเขียวคล�้ำ ส่วนกลาง ของเถาจะมีสีเขียวเข้ม เป็นส่วนท่ีมีตัวยามากท่ีสุด ตัดมาท้ังเถาเหลือส่วนท่ี แก่จัดไว้ประมาณ 1-2 เมตร การจดั การหลงั การเกบ็ เก่ยี ว 1. การแปรรูป น�ำเถาท่ีตัดมาล้างให้สะอาด ผึ่งให้น้�ำแห้งดี น�ำมาห่ัน เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ ขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร น�ำมาใส่ในตะแกรงโปร่ง เกล่ียให้ทั่วอย่าทับซ้อนกัน ตากแดดนาน 7-10 วัน โดยใช้ผ้าขาวบางคลุม ขณะตาก หรอื อบแห้งทอี่ ณุ หภมู ิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 48 ชว่ั โมง 2. การเก็บรักษา น�ำเพชรสังฆาตที่แห้งสนิทแล้ว บรรจุถุงพลาสติก และปดิ ปากให้สนิท จัดเก็บในทอ่ี ากาศถา่ ยเทดี ป้องกนั แสงแดด พชื สมุนไพร ภมู ิปญั ญาไทย 101

รางจดื ร า ง จื ด ( T h u n b e r g i a Laurifolia Linn.) เป็นพืชสมุนไพร ชนิดหน่ึงท่ีรู้จักกันดีและใช้แพร่หลาย รางจืดมีรสเย็นใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ แก้เบื่อเมา แก้ร้อนใน กระหายน�้ำ ประจ�ำเดือนไม่ปกติ ปวดหู อักเสบ ปวดบวม และใช้รักษาผู้ป่วย ท่ีถูกยาพิษต่างๆ อาทิเช่น พิษจากสุรา เห็ดเมา พิษเนื่องจากอาการแพ้ หรือ รับประทานสัตว์ที่มีพิษ เช่น ปลาปักเป้าทะเลบางชนิด แมงดาทะเลชนิดที่มีพิษ รวมท้งั ใช้รักษาผทู้ ไ่ี ดร้ ับสารเคมที ่ีมีพิษร้ายแรง เชน่ สารหนู และสารกำ� จดั แมลง ชนดิ ต่างๆ ปัจจุบันไดน้ �ำรางจืดมาแปรรูปเปน็ ผลิตภณั ฑ์หลากหลายรปู แบบ เชน่ ชาชงสมุนไพรรางจดื แคปซลู รางจืด เจลล้างหน้า สารส�ำคัญและสรรพคุณของรางจืด ได้แก่สารกลุ่มโพลีฟินอล (polyphenol) ได้แก่ กรดฟินอลิค (phenolic acid) เช่น gallic acid และ caffeic acid ซึ่งมีฤทธ์ิต้านอนุมูลอิสระ กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ได้แก่ apigenin ซึ่งเป็นสารส�ำคัญในรางจืดท่ีสามารถยับยั้งพิษของสารหนู สรรพคุณ รางจืดตามตำ� รายาไทย กล่าวไว้วา่ “รางจืดรสเยน็ ใชป้ รุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้ ถอนพิษผดิ สำ� แดง และพิษอื่นๆ ใชแ้ กร้ อ้ นในกระหายน�ำ้ รกั ษาโรคหอบหืดเร้ือรัง และแก้ผน่ื คันจากอาการแพ้ต่างๆ ใช้แกพ้ ิษเบอ่ื เมาเนอื่ งจากเห็ดพษิ สารหนู” 102 พชื สมุนไพร ภมู ปิ ญั ญาไทย

รางจืดเป็นพืชในวงศ์ ACANTHACEAE เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง มักพบอยู่ตามชายป่าดิบชอบอาศัยพันเกาะเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ มีเถาที่ แข็งแรงมาก ลักษณะของเถากลมเป็นข้อปล้อง มีสีเขียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ และขนาดของใบจะไล่กันขึ้นไปต้ังแต่ขนาดใหญ่ ตรงโคนก้านไปหาขนาดเล็กตรงปลายก้านใบ ใบสีเขียว ผิวเกลี้ยงลักษณะเป็น รูปหัวใจ ตรงโคนเว้าปลายใบเป็นต่ิงแหลม กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อๆ หนึ่งจะมีดอกอยู่ 3-4 ดอก ห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยต้ืนๆ หลอดกรวยยาว ประมาณ 1 เซนตเิ มตร สภาพพืน้ ทปี่ ลกู ✤ เป็นพืชที่ชอบอยู่ตามลุ่มน้�ำ ล�ำห้วย ล�ำธาร ขึ้นในป่าช้ืนจะงามมาก ใบมีขนาดใหญ่ ถ้าอยู่ในบริเวณท่ีมีน�้ำให้ความชุ่มช้ืนอุดมสมบูรณ์จะออก เถาใหมไ่ ดต้ ลอด ตน้ เดยี วจะสามารถออกเถาคลมุ เนอื้ ทกี่ ว้างกว่า 1 งาน ✤ ชอบดนิ ร่วนปนทราย ✤ มักพบอยู่ตามชายปา่ ดิบท่ัวๆ ไปทางภาคกลางและภาคเหนอื ✤ เถาขนาดใหญ่ และแข็งแรงมากอาศยั พันเกาะเก่ยี วกับตน้ ไม้ใหญ่ ✤ แสงแดดรำ� ไร พชื สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย 103

การปลูก 1. การเตรียมดิน ใช้ระยะ ปลูก (ต้น x แถว) 50 x 80 เซนติเมตร ปลูก 1 ตน้ ตอ่ หลมุ 2. การเตรียมพันธุ์ มี 2 วิธี โดยการเพาะเมล็ด และเถาปกั ชำ� 2.1 การเพาะเมล็ด เมล็ดรางจืดจะแก่ในราวเดือนกุมภาพันธ์- มีนาคม เก็บเมล็ดก่อนฝักจะแตก น�ำมาใส่กระด้งหรือผ้าพลาสติกเขียวเพื่อ ป้องกันเมล็ดแตกกระเด็น น�ำเมล็ดไปเพาะแล้วย้ายปลูก การเพาะเมล็ดไม่นิยม เท่าการใช้เถาปักช�ำ เนื่องจากใช้เวลานานกวา่ และเมล็ดมจี �ำนวนนอ้ ย 2.2 การช�ำเถาให้เลือกเถาแก่ น�ำมาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ คืบเศษ (6-8 นิ้ว) ให้มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ช่วงตาหรือข้อของเถาอาจยาว ไมเ่ ท่ากัน อย่างน้อยใหม้ ีตา 2 ตา ในฤดฝู นสามารถน�ำไปปลกู ในหลมุ ท่ีเตรยี มไว้ ได้เลย ไม่ต้องช�ำ แต่ถ้าเป็นฤดูอ่ืน ควรน�ำไปช�ำในกระบะหรือถุงเพาะ ปักเถา ใหเ้ อยี งเล็กน้อย ถา้ ชำ� ในฤดูฝนจะออกรากเร็ว ใชเ้ วลาราว 2 อาทติ ย์ ในฤดแู ล้ง จะช้ากว่า เม่ือเถาช�ำอายุได้ 45 วัน ก็น�ำไปปลูกในหลุมที่รองก้นหลุมด้วย ป๋ยุ คอกหรอื ปุ๋ยหมกั หา่ งจากค้างประมาณ 50 เซนติเมตร การดแู ลรักษา ✤ การท�ำค้างรางจืดอาจใช้ค้างปูน หรือค้างไม้ก็ได้ ค้างรางจืดควรมี ขนาดใหญ่เนือ่ งจากเปน็ ไม้เถาขนาดกลาง มีการเจริญเตบิ โตทร่ี วดเร็ว ✤ ดินบริเวณโคนต้นรางจืด ควรรักษาให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ อย่าให้ ขาดน�้ำจนดินแตกระแหง ท�ำให้รากขาด ไม่สามารถหาอาหารไปเลี้ยงเถา ข้างบนได้ รางจืดจะทิ้งใบ พอออกรากใหม่ เป็นช่วงท่ีอาจโดนแมลงกัด เข้าท�ำลาย แต่ถ้ารักษาความชุ่มช้ืนในดินให้มีอยู่เสมอ ก็ยากที่แมลงจะรบกวน แต่ถ้าพบแมลงหรือเพล้ียมารบกวน หรือใบมีเช้ือรา หรือต้องการจะเร่งให้ แตกยอด ใหต้ ดั เถาเหลือเพียง 1-2 วา รางจดื ก็จะแตกยอดใหม่อย่างรวดเรว็ 104 พชื สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย

การเกบ็ เก่ยี ว 1. ระยะเก็บเก่ียวท่ีเหมาะสม การปลูกโดยใช้เมล็ดจะเก็บเกี่ยวได้ เมื่อมีอายุ 1 ปี การปลูกโดยปักช�ำข้อเถาจะเก็บเก่ียวเม่ืออายุประมาณ 5-6 เดือน 2. วิธีการเก็บเก่ียว เก็บใบเพสลาด (ใบกลางอ่อนกลางแก่) จับดูใบ ไม่น่ิมไม่แข็งเกินไปถ้ามีซุ้มหรือค้างให้รางจืดเลื้อยพันจะเก็บเอาเฉพาะใบมาใช้ ไม่ต้องตัดทั้งเถา แต่ถ้ารางจืดข้ึนพันไม้อื่น ให้ตัดจากโคนเถามาลิดใบการเก็บ ใบต้องระมัดระวังอย่าให้ช้�ำ ซ่ึงจะเป็นสีด�ำคล้�ำ เมือ่ แหง้ การปฏบิ ตั หิ ลังการเก็บเก่ียวและเก็บรักษา น�ำมาล้างน�้ำประมาณ 3 ครั้ง หลงั จากน้ันสะเด็ดน้�ำใหแ้ หง้ น�ำมาหน่ั ลดขนาดก่อนท�ำแห้งโดยหัน่ ใบ ยาวประมาณ 2 นวิ้ เถายาวประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วนำ� มาแยกตากเถา และใบ ตากแดด บนยกพนื้ ทีส่ ะอาดจนแห้งสนทิ ก่อนบรรจุใสถ่ งุ เถารางจืดแหง้ พืชสมุนไพร ภูมปิ ญั ญาไทย 105

ว่านชกั มดลกู ว่านชักมดลูก (Curcuma comosa) เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง อายุหลายปีล�ำต้นอยู่ใต้ดินเรียก เหง้า มีขนาดใหญ่ล�ำต้นตั้งตรง แตกหน่อมาก เหง้ามีใบเกล็ดท่ีแก่ และแห้งหุ้มเป็นวง เหง้าสีออกเหลืองหรือน�้ำตาลอมส้มหรือแดง กาบใบเรียง ซ้อนเป็นล�ำต้นเทียม ผิวใบดา้ นบนสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นแถบสีน้�ำตาลอมแดง ผิวใบด้านล่างสีเขียวน้�ำทะเลหรือเขียวอ่อน ดอกช่อริ้วประดับสีม่วง ดอกย่อย สีออกเหลอื ง ลักษณะลำ� ต้นโดยทั่วไปคลา้ ยขมิน้ อ้อย สรรพคุณทางยาของว่านชักมดลูก ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ของหญิงที่ก�ำลังเข้าสู่วัยทอง ช่วยชะลอความแก่ และยังลดอาการปวดท้อง ประจ�ำเดือน ประจ�ำเดือนมาไม่ปกติส่วนอ่อนของล�ำต้น เหง้า และช่อดอกอ่อน น�ำมารับประทานเป็นผักได้ เหงา้ ให้สีย้อมสีเหลือง และเป็นยาสมุนไพร น�้ำสกัด จากเหง้าใช้รักษาโรคตับ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ปวดตามข้อ ใช้เป็นยาบ�ำรุง หลังคลอดบุตร สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ✤ ว่านชกั มดลกู เจรญิ เตบิ โตไดด้ ีในดินท่ีระบายน�้ำดี มอี นิ ทรยี ว์ ตั ถุสูง ✤ ปลูกได้ในพื้นท่ีสูงกว่าระดับน้�ำทะเลจนถึงสูงกว่าระดับน้�ำทะเล 1,500 เมตร 106 พืชสมนุ ไพร ภมู ปิ ญั ญาไทย

พันธแ์ุ ละวธิ ขี ยายพนั ธ์ุ เนื่องจากว่านชักมดลูกมีหลายพันธุ์จึงต้องใช้ให้ถูกต้อง ว่านชักมดลูก Curcuma comosa หรือที่ท่ัวไปเรียก ว่านชักมดลูกตัวเมีย ซ่ึงมีสรรพคุณ เสริมสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีลักษณะเส้นกลางใบสีเขียว ช่อดอกส้ัน หัวรูปกลมรีและมีแขนงส้ัน เนื้อในมีสีขาวนวล วงในมีสีชมพูเร่ือๆ ทิ้งไว้สีชมพู จะเขม้ ขึ้น เปน็ พันธทุ์ ่ีมีสารส�ำคัญ คอื ไฟโตรเอสโตรเจน หรอื ฮอรโ์ มนเพศหญงิ การปลูก 1. การเตรียมดนิ ไถพรวนดนิ เก็บวัชพชื ตากดินไวป้ ระมาณ 7 วนั และ ปรับระดับแปลงปลูกให้มีความลาดเทระบายน�้ำดี ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุย๋ หมกั ใหม้ ีอินทรยี ์วตั ถุ ใส่ปนู ขาวปรับคา่ ความเปน็ กรดด่างของดิน 2. การเตรียมพันธุ์ ใช้หัวพันธุ์ท่ีเป็นสายพันธุ์ที่ถูกต้อง หัวพันธุ์ต้อง ปราศจากโรคหรือแมลงเข้าท�ำลาย และควรมาจากแปลงปลูกท่ีไม่มีการระบาด ของโรค หวั พนั ธ์ุอายุประมาณ 9 เดือน 3. การปลกู ตดั แบ่งใหม้ ตี า 2-3 ตา ใชร้ ะยะปลกู 80 x 80 เซนตเิ มตร ปลูกใหล้ กึ พอประมาณ รดนำ้� กดดินใหแ้ น่น พืชสมนุ ไพร ภูมปิ ัญญาไทย 107

การดูแลรักษา 1. ให้น้ำ� ในระยะแรกควรให้น้�ำอย่างสม่ำ� เสมอ เมอื่ เข้าฤดฝู นควรดจู าก ความชนื้ ของดิน ก�ำจดั วัชพชื โดยวิธกี ารถอน อย่างสม�่ำเสมอในระยะทพี่ ชื ยังเลก็ 2. โรคและแมลงส�ำคัญ ได้แก่ โรคเน่า เป็นโรคส�ำคัญ สาเหตุจาก เช้ือแบคทเี รีย อาการท�ำใหใ้ บห่อเหลอื ง ต้นเหย่ี วตาย หัวเน่าหมดทง้ั หัว การดแู ล รกั ษาใชห้ ลกั การปอ้ งกนั ไดแ้ ก่ 2.1 ใช้หัวพันธท์ุ ่ปี ราศจากโรค 2.2 ไม่ปลูกซ้�ำที่เดิม ปลกู พืชตระกูลถั่ว 2.3 แหล่งที่มีการระบาดของโรคให้อบดินฆ่าเช้ือโรคในดิน โดยใช้ ยูเรียและปูนขาว อตั รา 80 : 100 กโิ ลกรัมต่อไร่ โรยและคลุกเคล้าดินในแปลงปลกู แล้วใช้พลาสตดิ สีดำ� คลุมแปลงปลูก อบดนิ ไวเ้ ป็นเวลา 3 เดอื น กอ่ นปลูก การเก็บเกยี่ ว 1. ระยะเกบ็ เกีย่ วที่เหมาะสม เมื่อมอี ายุ 9 เดอื นข้ึนไป 2. วิธีการเก็บเกี่ยว โดยขุดเหง้าออกจากแปลงปลูก ตัดราก ท�ำความ สะอาดให้ดิน ทรายออกให้หมด ล้างน�ำ้ ใหส้ ะอาดแล้วน�ำมาผงึ่ ใหแ้ ห้ง การจัดการหลังการเกบ็ เกย่ี ว 1. หนั่ เป็นช้ินบาง และนำ� ไปตากแหง้ บนภาชนะสะอาด ยกพนื้ สูง และ สามารถป้องกันฝุ่นละออง หรือน�ำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส ให้มคี วามชนื้ ไมเ่ กนิ รอ้ ยละ 11 2. บรรจุในถุงพลาสติกสะอาด สองชั้นปิดปากให้สนิท เขียนชื่อ สมุนไพร วันที่บรรจุให้เรียบร้อย เก็บรักษาในภาชนะปิด ในห้อง เก็บรักษาท่ีมีอากาศถ่ายเทดี ป้องกนั แสงแดด 108 พชื สมนุ ไพร ภูมิปัญญาไทย

หญ้าหวาน หญ้าหวาน หรือ สเตเวีย มีช่ือวิทย าศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni อยู่ในวงศ์ Asteraceaeเป็นพืชพื้นเมืองทาง ภ า ค ต ะ วั น อ อ ก เ ฉี ย ง เ ห นื อ ข อ ง ประเทศปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ เป็นไม้ล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี เป็นพุ่มเต้ีย สงู 30-90 เซนติเมตร ลำ� ตน้ กลมเลก็ เรียว ใบเดีย่ วรปู หอกปลายแหลม ขอบใบหยกั มรี สหวานจัด ดอกเลก็ ๆ กลม กลบี รูปไขส่ ีขาวเลก็ มาก เกสรตัวผเู้ ปน็ เสน้ สีขาว งอไปมา ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ความพิเศษของ หญ้าหวาน คือ สารสกัดท่ีเกิดจากหญ้าหวาน มีชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) เป็นสารท่ีให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้�ำตาล ด้วยความพิเศษ ของหญ้าหวานนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชท่ีได้รับความสนใจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ ยาสมุนไพร เครื่องดื่ม เป็นตน้ พืชสมนุ ไพร ภมู ิปัญญาไทย 109

สารส�ำคัญและสรรพคุณในหญ้าหวาน คือ สารกลัยโคซัยด์ (glycosides) 88 ชนิด สารส�ำคัญคือ สตีวิโอไซด์ มนุษย์รู้จักน�ำสาร สกัดท่ีมีรสหวานจากหญ้าหวานมาบริโภค หลายศตวรรษแล้วโดยชาวพ้ืนเมืองในประเทศ ปารากวัยน�ำหญ้าหวานมาผสมกับเครื่องด่ืม เช่น ชา นอกจากนชี้ าวญป่ี นุ่ ยังนำ� สารใหค้ วาม หวานจากหญ้าหวานมาผสมกับผลิตภัณฑ์ อาหาร เช่น ผักดอง ซีอ๊ิว เต้าเจ้ียว เน้ือปลา บด เปน็ ตน้ หญ้าหวานเร่ิมเข้าสู่ประเทศไทยเม่ือ ปี พ.ศ. 2550 และปลูกกันมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ ล�ำพูน และ เชียงราย ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาใหม้ กี ารใชส้ ารสตวี โิ อไซดเ์ พอื่ การบรโิ ภค เป็นอาหารเสริม หญ้าหวานจึงจัดอยู่ในพืช สมนุ ไพรอีกชนิดหนง่ึ สภาพพ้ืนท่ปี ลกู ✤ ในประเทศไทย ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ล�ำพนู พะเยา เป็นพื้นท่ที ีเ่ หมาะสม ✤ หญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อณุ หภมู ิประมาณ 20-26 องศาเซลเซยี ส ✤ เจริญเติบโตได้ดีเม่ือปลูกในพื้นที่ ทสี่ งู จากระดบั นำ�้ ทะเลประมาณ 600-700 เมตร 110 พชื สมนุ ไพร ภมู ปิ ัญญาไทย

การปลกู 1. การเตรียมดิน ดินท่ีเหมาะสมส�ำหรับปลูกหญ้าหวาน คือ ดินร่วน หรือดินรว่ นปนทราย ระบายน้ำ� ไดด้ ี ไถตากดิน 7-10 วนั ยอ่ ยดนิ และทำ� แปลงยกร่อง 2. การเตรยี มพนั ธุ์ มี 2 วธิ ี โดยการเพาะเมลด็ และการปักช�ำกิง่ 2.1 การเพาะเมล็ด ถ้าใช้เมล็ดการเก็บเมล็ดไว้ขยายพันธุ์ท�ำได้ โดย ปล่อยให้ต้นมีดอกในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งจะเก็บเมล็ดในเดือนพฤศจิกายน วธิ เี กบ็ เมลด็ ใหใ้ ชถ้ งุ พลาสตกิ ครอบดอกเขย่าใหเ้ มลด็ รว่ งลงในถงุ นำ� เมลด็ มาเพาะ เดือนมีนาคม-เมษายน จะมีอัตราการงอกดี 2.2 การปักช�ำกิ่ง เป็นวิธีท่ีนิยม เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่า เลือกตัดกงิ่ ทีส่ มบรู ณแ์ ละแขง็ แรง ตัดเกือบถงึ โคนตน้ ใหเ้ หลอื ใบอยู่ 2 คแู่ ล้วตัด กง่ิ ทจี่ ะนำ� มาชำ� ให้ยาว 12-15 เซนติเมตร แลว้ น�ำมาเพาะในถุงหรอื กระบะเพาะ เด็ดใบออกเสยี ก่อน เพราะถ้ารดนำ�้ ความหวานของใบจะลงสู่ดินท�ำใหก้ ลา้ ทชี่ �ำไว้ ตายได้ พอก่ิงช�ำแตกรากออกมาได้ 10-14 วัน จงึ น�ำไปปลูกในแปลงท่เี ตรียมไว้ การดแู ลรักษา หญ้าหวานจะให้ได้ผลดีต้องหม่ันก�ำจัดวัชพืชและให้น�้ำในช่วงฤดูแล้ง หลังการเก็บเก่ียวแต่ละครั้งควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเพ่ือเร่งการแตกใบใหม่ ในช่วงเดือนธันวาคมหญ้าหวานจะให้ผลผลิตต่�ำสุด ควรตัดต้นหญ้าหวานท้ิง ให้เหลอื แตต่ อในดนิ เพื่อให้ต้นตอแตกขึน้ มาใหม่ในเดือนมกราคม พืชสมุนไพร ภมู ิปัญญาไทย 111

การเก็บเกย่ี ว 1. ระยะเก็บเกี่ยวท่ีเหมาะสม เริ่มเก็บเกี่ยวใบคร้ังแรกหลังจาก ปลูกได้ 20-25 วัน หลังจากนั้นก็จะเก็บเก่ียวไปได้เรื่อยๆ ปีละ 6-10 คร้ัง ได้ผลผลติ 600-1,000 กโิ ลกรัมสดตอ่ ไร่ตอ่ ปี สามารถเกบ็ เกย่ี วไดป้ ระมาณ 3-4 ปี ข้ึนอยู่กับการดูแล แต่ผลผลิตจะออกสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม–กรกฎาคม หลังจากน้ันหญ้าหวานก็จะเริ่มแก่และออกดอก เม่ือต้นหญ้าหวานออกดอก ให้ตัดแต่งโดยตัดประมาณกลางต้น ต้นหญ้าหวานจะแตกยอดใหม่เร่ือยๆ จะ อยไู่ ด้ 3-4 ปี หากปล่อยใหอ้ อกดอกโดยไม่ไดต้ ัดต้น ต้นจะตายภายใน 1 ปี 2. วิธีการเก็บเก่ียว ให้ฉีดน�้ำล้างฝุ่นออกเสียก่อนเก็บเกี่ยว ตัดทั้งกิ่ง ถ้าตัดแล้วเอาไปล้างน้�ำความหวานจะละลายไปกับน้�ำท�ำให้ไดค้ ุณภาพต�ำ่ ลง การปฏบิ ตั หิ ลงั การเก็บเกย่ี วและเก็บรักษา นำ� กงิ่ ท่ตี ัดมารดู แยกใบออกจากก้าน แล้วน�ำไปตากแดด 2-3 วัน ไมค่ วร ตากท้ังใบและก่ิงก้านเพราะจะท�ำให้ใบมีสีไม่สวย และมีส่วนกิ่งก้านเจือปนมาก เกล่ียใบใหท้ ัว่ ระหว่างที่ตากเม่ือแห้งดีแลว้ จงึ เกบ็ ในภาชนะบรรจุ 112 พืชสมนุ ไพร ภูมปิ ัญญาไทย

อญั ชนั อัญชัน หรือ Butterfly Pea มีช่ือวิทยาศาสตร์ว่า Clitorea ternatea Linn. บางท้องถิ่นอาจ เรียก แดงชัน เอื้องชัน หรือบังจัน อัญชันเป็นไม้ท่ีส่วนใหญ่รู้จักกันดี อยู่แล้ว นิยมปลูกตามริมร้ัวให้เลื้อยปกคลุม เน่ืองจากอัญชันมีดอกที่มีสีสัน สะดุดตาให้ความสวยงาม อัญชันสามารถปลูกได้ทุกภาคท่ัวประเทศ เนื่องจาก เป็นไม้ท่ีปลูกง่าย สามารถเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมท่ีหลากหลาย ออกดอก ไดต้ ลอดท้งั ปี อัญชันเป็นพืชตระกูลถ่ัว มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยเน้ืออ่อนท่ีมีล�ำต้นกลม ขนาดเล็กและเรียวยาว อายุส้ัน ใช้ยอดเลื้อยพัน ล�ำต้นมีขนปกคลุม ใบเป็น ใบประกอบมีใบย่อยออกเป็นคู่ๆ ติดกับล�ำต้น ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบ ด้านล่างมีขนหนาปกคลุม ดอกมีทั้งชนิดที่เป็นดอกช้ันเดียวซึ่งมีสีน�้ำเงินคราม และดอกซ้อนซึ่งมีทั้งดอกสีขาวและสีม่วง ดอกอัญชันมีขนาดประมาณหัวแม่มือ กลีบดอกเปน็ รปู ไข่กลับ โดยโคนกลบี มีสขี าว ดอกออกเป็นคู่ตามซอกใบ ออกดอก เกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เปน็ ฝักแบน พืชสมนุ ไพร ภูมิปัญญาไทย 113

   อัญชันทนี่ ำ� มาใชป้ ระโยชน์ เปน็ อญั ชันดอกม่วง สามารถ นำ� ไปใชป้ ระโยชน์ได้หลายส่วน ทัง้ ดอก เมลด็ และราก โดยท่ี ดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ซ่ึงเปน สารสีมวง มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดใน หลอดเลือดเล็กๆ เชน หลอดเลือดสวนปลาย ทําใหเลือด ไปเล้ียงรากผมมากขึ้น ทําใหกลไกท่ีทํางานเก่ียวกับการ มองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีหลอดเลือดมาเล้ียงมากข้ึน ดอกอัญชันน�ำไปค้ันเป็นน�้ำเคร่ืองดื่มสมุนไพร ผสมในอาหารหรือ ขนมเพ่ือให้สีสันสวยงาม ใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมการผลิตแชมพูสระผม เพื่อช่วยให้ป้องกันและหยุดผมร่วง ช่วยให้ผมดกด�ำ เมล็ดอัญชันมีสรรพคุณ เปน็ ยาระบายออ่ นๆ รากอัญชันชนิดดอกขาว ใชเ้ ป็นยาขบั ปัสสาวะ ยาระบาย 114 พชื สมุนไพร ภมู ิปัญญาไทย

สภาพพน้ื ท่ปี ลกู ✤ เจรญิ เติบโตไดด้ ใี นเขตกงึ่ รอ้ น อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 18-35 องศาเซลเซียส ✤ ชอบอากาศร้อนหรอื คอ่ นขา้ งรอ้ น ✤ ชอบพนื้ ท่คี ่อนขา้ งแห้ง น้�ำไม่ท่วมขงั ✤ เจริญเติบโตได้ดีในดินท่ีร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้�ำดี มอี ินทรยี วัตถุสงู ✤ เจรญิ ไดด้ ีในท่โี ลง่ แจง้ ชอบแดดปานกลางถึงแดดจัด พันธ์แุ ละวธิ กี ารขยายพนั ธ์ุ 1. พนั ธ์ุ เป็นพนั ธ์พุ ้ืนบา้ นท่พี บไดท้ ว่ั ไป 2. วธิ ีการขยายพนั ธ์ุ ขยายพนั ธุด์ ้วยเมลด็ การปลูก 1. การเตรียมดิน ก�ำจัดวัชพืชและเศษวัสดุ ไถพรวน ตากดินประมาณ 7-15 วัน จากนนั้ ใสป่ ุย๋ คอกคลกุ ให้เขา้ กัน อัตรา 2 ตันต่อไร่ ใส่ปูนขาวเพือ่ ปรับ ความเป็นกรดดา่ งของดนิ 2. วิธกี ารปลูก ปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงในแปลงทเ่ี ตรียมไว้ กะระยะ ให้ห่างกันตามความเหมาะสม เมล็ดอัญชันงอกง่าย ท�ำค้างหรือซุ้มให้อัญชัน เลอ้ื ยเกาะ สงู ประมาณ 1.20-1.50 เมตร ค้างควรมคี วามแข็งแรง อาจใชไ้ ม้รวก ปกั สามเสา้ แบบค้างถ่ัวฝกั ยาวก็ได้ พืชสมุนไพร ภูมิปญั ญาไทย 115

การดูแลรักษา 1. การให้น�้ำ ให้น้�ำโดยสังเกตความชุ่มช้ืนในดิน หากยังชุ่มชื้นอยู่ ก็ยังไม่จ�ำเป็นต้องให้น�้ำ และในช่วงฤดูฝนอาจไม่ต้องให้ทุกวัน ดูให้ดินมีความ ชุ่มช้นื สมำ่� เสมอ เพ่ือให้ออกดอกไดต้ ลอดปี 2. ตดั แต่งก่งิ ทแี่ ห้งท้ิงเสมอ 3. การใหป้ ุ๋ย ควรใหป้ ุย๋ อินทรยี ์ ควรให้ประมาณปลี ะ 2 ครง้ั 4. การก�ำจัดศัตรูพืช ควรใช้วิธีธรรมชาติ เช่น ใช้สารสกัดจากสะเดา ยาสูบ เป็นต้น 5. การกำ� จดั วชั พืช ใชแ้ รงงานถอนวัชพชื รอบๆ โคนตน้ อยา่ งสม�ำ่ เสมอ การเกบ็ เกยี่ ว 1. ระยะเก็บเกย่ี วทเ่ี หมาะสม เกบ็ เก่ียวดอกที่บานเตม็ ท่ี 2. เวลาเก็บเก่ยี วท่ีเหมาะสม เกบ็ เกีย่ วในชว่ งเช้า 3. วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บเก่ียวดอกท่ีบานเต็มท่ีแบบประณีต ระวัง ไม่ใหช้ ำ�้ การจัดการหลงั การเก็บเก่ียว น�ำดอกอัญชันมาดึงก้านออก น�ำมาใส่ตะแกรงหรือกระชอน ร่อนล้าง ในน้�ำสะอาดเพียงครั้งเดียว สะเด็ดน้�ำให้แห้ง การท�ำให้แห้งโดยใช้วิธีการผึ่งลม จนแห้งสนิท หรือการตากแดดโดยน�ำดอกอัญชันมาเกล่ียบางๆ ในภาชนะ ท่ีเตรียมไว้ตาก ใช้ผ้าขาวบางคลุมไว้อย่าให้โดนแดดโดยตรง ตากในช่วงเช้า เม่ือแหง้ ดแี ล้ว น�ำบรรจุใส่ภาชนะต่อไป 116 พชื สมุนไพร ภูมปิ ญั ญาไทย

บรรณานุกรม กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. เกษตรอินทรีย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัท นวิ ธรรมดา(ประเทศไทย) จำ� กัด. กรมส่งเสรมิ การเกษตร. 2545. การผลติ พชื สมุนไพรและเครื่องเทศ. กรงุ เทพ ฯ : โรงพมิ พ์ชมุ นุมสหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกดั . กลุ่มพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ. 2543. คู่มือพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ ชุดที่ 1 การปลูกสมุนไพรและเคร่ืองเทศ. กองส่งเสริมพืชสวน กรมสง่ เสรมิ การเกษตร. กลุ่มพชื สมนุ ไพรและเคร่ืองเทศ. 2543. คู่มือพืชสมนุ ไพรและเคร่อื งเทศ ชุดท่ี 2 ยาจากสมนุ ไพร. กองสง่ เสริมพืชสวน กรมสง่ เสริมการเกษตร. กลุ่มพืชสมุนไพรและเครือ่ งเทศ. 2543. คมู่ ือพืชสมุนไพรและเครอื่ งเทศ ชดุ ที่ 4 เคร่ืองเทศ. กองสง่ เสรมิ พชื สวน กรมส่งเสรมิ การเกษตร. กลุ่มพชื สมุนไพรและเครอื่ งเทศ. 2543. คูม่ ือพืชสมนุ ไพรและเครื่องเทศ ชดุ ที่ 5 อาหารเสรมิ . กองสง่ เสรมิ พืชสวน กรมส่งเสรมิ การเกษตร. กลุ่มส่งเสริมการผลิตสมุนไพร. 2545. เอกสารค�ำแนะน�ำ “สมุนไพรน่ารู้”. ส�ำนกั สง่ เสรมิ และจดั การสินคา้ เกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ฐานข้อมูลสมุนไพร เจตมูล เพลิงแดง. http://www.phargarden.com/main.php?action= viewpage&pid=38 ชยันต์ พิเชียรสุนทร และวิเชียร จีรวงส์. 2545. เครื่องยาพฤกษวัตถุ คู่มือ เภสชั กรรมแผนไทย เล่ม 2. กรุงเทพฯ, สำ� นกั พมิ พ์อัมรินทร์. ดิสทัต โรจนาลักษณ์. 2544. ปลูกยารักษาป่า เล่ม 2 คู่มือการปลูกสมุนไพร เพ่ือเศรษฐกิจชุมชน. กรงุ เทพฯ: พมิ พ์คร้งั ท่ี 1. มลู นธิ สิ ขุ ภาพไทย. พืชสมนุ ไพร ภูมิปญั ญาไทย 117

ผู้จัดการออนไลน์. *หญ้าหวาน* ทางเลือกของคนอ้วน. แหล่งท่ีมา: http:// www.ranthong.com/smf/index.php?topic=27135.0, 29 มถิ นุ ายน 2557. พร้อมจิต ศรลัมพ์. ว่านชักมดลูก. แหล่งที่มา : ส�ำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy. mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id= พิสมัย กุลกาญจนาธร. หวาน-ธรรมชาติ-เพ่ือสุขภาพ. แหล่งท่ีมา: http:// www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0107.pdf, 29 มิถุนายน 2557. ฟรินน์ดอทคอม. 2550. รางจืด สรรพคุณและประโยชน์ของรางจืด 20 ข้อ! (ว่านรางจืด). แหล่งท่ีมา: http://frynn.com/%E0%B8%A3% E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B7% E0%B8%94/, 29 มิถุนายน 2557. มูลนธิ สิ ุขภาพไทย. 2554. ปลูกยารักษาปา่ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : พมิ พค์ รงั้ ที่ 2. บรษิ ัท ที คิว พี จำ� กดั . มูลนธิ ิสขุ ภาพไทย. 2554. ปลกู ยารกั ษาป่า เลม่ 2. กรงุ เทพฯ : พิมพค์ รัง้ ที่ 2. บรษิ ัท ที ควิ พี จ�ำกัด. รางจืด. สมุนไพรล้างพิษ เพ่ือชีวิตที่ปลอดภัย. รู้จักรางจืด. แหล่งที่มา: http://www.xn-- 72cc0b5cyd6a.com/known.php, 29 มิถนุ ายน 2557. วกิ ิพเี ดีย สารานกุ รมเสร.ี 2557. หญา้ หวาน. แหลง่ ที่มา: http://th.wikipedia. org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0% B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99, 29 มิถนุ ายน 2557. 118 พชื สมนุ ไพร ภูมิปญั ญาไทย

วา่ นชกั มดลกู เสริมฮอร์โมนเพศหญิง. แหล่งทม่ี า : http://www.thaipost.net/x- cite/170512/56924, 17 พฤษภาคม 2555. ว่านชักมดลกู จากวิกพิ เี ดีย สารานุกรมเสร.ี แหลง่ ท่ีมา http://th.wikipedia.org/ wiki/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99% E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8 %94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลอื ก. 2553. เอกสารคมู่ อื การปลกู สมนุ ไพรทเ่ี หมาะสม. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพอ์ งค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศกึ . สุภักตร ปัญญา. มปป. สมุนไพรไทย พฤกษศาสตร์และการใช้ประโยชน์. เชียงใหม:่ ขนุ ทรพั ยก์ ารพมิ พ.์ อิศรา. 2550. รางจดื . สมนุ ไพรมหัศจรรยถ์ อนพษิ ได้. แหลง่ ท่ีมา: http://www. oknation.net/blog/print.php?id=98197, 29 มิถนุ ายน 2557. สัจจจะ ประสงคท์ รพั ย.์ GAP ว่านชกั มดลกู . แหล่งที่มา : http://th.apoc12. com/?p=2543 herbdoae92) พืชสมุนไพร ภมู ปิ ญั ญาไทย 119

120 พชื สมนุ ไพร ภมู ปิ ัญญาไทย

ภาคผนวก พืชสมนุ ไพร ภมู ปิ ญั ญาไทย 121

122 พชื สมนุ ไพร ภมู ปิ ัญญาไทย ฤดกู าลเก็บเก่ยี วผลผลิตพชื สมนุ ไพร ท่ี ชอื่ ไทย ช่ือสามญั ชื่อวิทยาศาสตร์ ม.ค. ก.พ. ม.ี ค. เม.ย. พ.ค. ม.ิ ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 1 พรกิ ไทย Pepper Piper nigrum Linn. 2 กระวาน Siam Cardamom 3 กานพลู Clove Amomum Krervanh Picrre. 4 จันทนเ์ ทศ Nutmeg Tree 5 เรว่ Engenia caryophyllus Bullock & Harrism 6 มะแข่น 7 อบเชยไทย Cinnamon Myristica fragrans Houtt. 8 กระเจ๊ยี บแดง Roselle 9 พลู Betel Vine Amomum uliginosum kocnig. 10 ขมน้ิ ชัน Tumeric 11 ดีปลี Long Pepper Zanthoxylum limonella Alston. 12 ตะไคร้ Lemon Grass 13 ตะไครห้ อม Citronella Grass Cinnamomum loureirii Linn. 14 ไพล Hibiscus sabdariffa Linn. Piper betel Linn. Curcuma longa linn. Piper retrofractum Vahl. cymbopogon citratus (DC.) stapf. Cymbopogon winterianus Jowitt. Zingiber purpureum Rosc.

ที่ ช่อื ไทย ช่อื สามัญ ชือ่ วิทยาศาสตร์ ม.ค. ก.พ. ม.ี ค. เม.ย. พ.ค. ม.ิ ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 15 ฟ้าทะลายโจร The Creat Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees. 16 รางจดื Babbler’s Bill Leaf Thunbergia laurifolia linn. 17 มะแว้งเครือ solanum trilobatum linn. 18 บกุ Elephant Yam Amorphopallus oncophyllus Prain. 19 คำ� ฝอย Safflower Carthamus tinctorius Linn. 20 พญายอ Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau. 21 ส้มแขก Garcinia Garcinia cambogia 22 กระชายด�ำ Kaempferia parviflora 23 ยอ Indian Mulberry Morinda citrifolia Linn. 24 กฤษณา Eagle Wood Aquilaria crassna Pierre ex H.Lec. พชื สมุนไพร ภูมปิ ญั ญาไทย 123

บนั ทึก/NOTE 124 พืชสมนุ ไพร ภมู ิปัญญาไทย

เอกสารคำ� แนะน�ำที่ 8/2557 พชื สมุนไพร ภมู ปิ ญั ญาไทย ทป่ี รกึ ษา อธิบดกี รมสง่ เสรมิ การเกษตร นายโอฬาร พทิ กั ษ์ รองอธบิ ดกี รมส่งเสรมิ การเกษตร ฝา่ ยบริหาร นายน�ำชัย พรหมมีชัย รองอธบิ ดกี รมสง่ เสริมการเกษตร ฝา่ ยวิชาการ นายไพรัช หวงั ด ี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ฝา่ ยส่งเสริมและฝึกอบรม นายสุรพล จารุพงศ ์ ผอู้ ำ� นวยการสำ� นักพฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี นางสุกญั ญา อธปิ อนันต์ ผู้อำ� นวยการสำ� นักส่งเสรมิ และจัดการสินคา้ เกษตร นางอรสา ดสิ ถาพร เรียบเรียง นางภัสรา ชวประดิษฐ ์ ผ้อู �ำนวยการกลมุ่ ส่งเสริมพชื สมนุ ไพรและเครื่องเทศ นางสาวสุภทั รธริ า โคตรศลิ ากูล นักวิชาการเกษตรชำ� นาญการ นางสาวพรพมิ ล ศริ ิการ นกั วิชาการเกษตรช�ำนาญการ นางสาวปรารถนา ไปเหนือ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ กลมุ่ ส่งเสริมพชื สมนุ ไพรและเคร่ืองเทศ สำ� นักสง่ เสริมและจดั การสินคา้ เกษตร กรมส่งเสรมิ การเกษตร จัดท�ำ นางอมรทิพย์ ภิรมย์บรู ณ์ ผอู้ �ำนวยการกลุม่ พัฒนาส่อื สง่ เสรมิ การเกษตร นางสาวอจั ฉรา สขุ สมบรู ณ์ นกั วชิ าการเผยแพร่ชำ� นาญการ นางอบุ ลวรรณ อารยพงศ์ นกั ทรพั ยากรบคุ คลช�ำนาญการ กล่มุ พฒั นาส่อื สง่ เสริมการเกษตร สำ� นกั พฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสรมิ การเกษตร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook