คำนำ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแนวนโยบายเพ่ือฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ตามท่ี กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ เมื่อวันท่ี ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ ในประเด็นที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ชาติพันธุ์และ วัฒนธรรม การจัดการทรัพยากร สิทธิในสัญชาติ การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้ย่ังยืน เพื่อให้ชาวไทย เช้ือสายกะเหร่ียงสามารถดำรงชีวิตด้วยความเข้มแข็ง บนรากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุตนเอง โดยการบูรณาการร่วมกับส่วนราชการท่ีเกี่ยวข้องในพื้นท่ี ๒๐ จังหวัด โดยจังหวัดราชบุรี มีกลุ่มชาติพันธ์ุ ชาวไทยเชื้อสายกะเหร่ียง อาศัยอยู่ในพ้ืนที่ ๓ อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอสวนผ้ึง อำเภอบ้านคา และ อำเภอปากท่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การ มหาชน) ได้กำหนดเป้าหมายการขับเคล่ือนการดำเนินงานตามแนวนโยบายเพ่ือฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและ ชาวกะเหร่ียง โดยการจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุในพื้นท่ี เพื่อนำไป พัฒนาฐานข้อมูล โดยมอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดำเนินการ ทั้งน้ี เพ่ือให้การขับเคลื่อนการ ดำเนินงานดังกล่าวสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี จึงได้จัดทำโครงการ ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวไทยเช้ือสายกะเหร่ียง จังหวัดราชบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ข้ึน โดยบูรณาการ ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายชาวไทยเชื้อสายกะเหร่ียงในพื้นท่ีท้ัง ๓ อำเภอ รวมถึงองค์กรปกครองส่วน ท้องถ่ิน และภาคส่วนต่างๆ อาทิ ที่ทำการปกครองอำเภอท้ัง ๓ แห่ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ท่ีเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานสำรวจ รวบรวม การจัดเก็บข้อมูล องค์ความรู้ของกลุ่มชาติพันธ์ุชาวกะเหร่ียงในพ้ืนท่ีจังหวัดราชบุรี เพื่อให้มีฐานข้อมูลเบ้ืองต้นสำหรับการ ศกึ ษาวิจัย การขับเคลื่อนนโยบายด้านสังคมเรื่องการคุ้มครองและสง่ เสริมวิถชี ีวติ กลุ่มชาตพิ ันธุ์ และผลักดัน การข้ึนทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุเพ่ือเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดมรดก ภมู ิปัญญาทางวฒั นธรรมใหค้ งอยู่ตอ่ ไป สำนกั งานวฒั นธรรมจงั หวัดราชบรุ ี กันยายน ๒๕๖๔
สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบญั ข สารบัญภาพ ค แบบ มภ. ๑ แบบสำรวจมรดกภมู ปิ ัญญาทางวฒั นธรรม ๑ แบบ มภ. ๒ แบบจดั ทำรายการเบอ้ื งตน้ มรดกภูมิปญั ญาทางวฒั นธรรม ๒ ๒ งานชา่ งฝมี ือดงั้ เดิม : ผา้ ทอกะเหรยี่ งจังหวดั ราชบุรี ๒ สว่ นท่ี ๑ ลักษณะของมรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรม ส่วนท่ี ๒ คุณคา่ และบทบาทของวถิ ชี มุ ชนท่มี ตี ่อมรดกภมู ิปัญญา ๒๔ ทางวฒั นธรรม ส่วนท่ี ๓ มาตรการในการสง่ เสรมิ และรักษามรดกภมู ปิ ญั ญา ๒๖ ทางวัฒนธรรม ๓๔ สว่ นที่ ๔ สถานภาพป้จจบุ นั ส่วนที่ ๕ การยนิ ยอมของชุมชนในการจัดทำรายการเบ้อื งต้น ๓๘ มรดกภูมิปญั ญาทางวัฒนธรรม ๓๙ สว่ นท่ี ๖ ภาคผนวก
ข สารบัญภาพ หน้า งานช่างฝมี ือด้ังเดิม : ผา้ ทอกะเหรย่ี งจังหวัดราชบรุ ี ภาพท่ี ๑ หน่ยึ คไู๊ ถ้ ๕ ภาพท่ี ๒ หน่ยึ หมึ่ยซา ๕ ภาพท่ี ๓ หน่ึยค๊ยั ไถ้ (ตนี ซิ่น) ๖ ภาพที่ ๔ หนึ่ยอ่องกึย๊ (ผ้าตนี จก) ตกแต่งด้วยเบลงิ จ่ี (เกล็ดเงิน) และดา้ ยสีแดงถกั เป็นเปีย ๗ ภาพที่ ๕ หนย่ึ คั๊ยไถ้ ตกแตง่ ลูกปัดสขี าว ๗ ภาพท่ี ๖ เด็กหญงิ กะเหรยี่ งสวมไชอ่ ั่ว ๘ ภาพท่ี ๗ ผู้หญงิ กะเหรยี่ งท่แี ต่งงานแลว้ สวมไช่โพล่ง ๙ ภาพที่ ๘ สว่ นประกอบของไช่โพล่ง ๙ ภาพที่ ๙ ย่ามขาว (เธอวอั่ว) ๑๐ ภาพท่ี ๑๐ ย่ามแดง ปากย่ามตกแต่งด้วยเกล็ดเงินร้อยลูกปัดสีขาว มดั ด้ายไหมพรมเปน็ พู่ ๑๐ ภาพที่ ๑๑ ยา่ มแดง ปากย่ามตกแต่งดว้ ยเกลด็ เงนิ รอ้ ยลูกปดั สขี าว มดั ด้ายไหมพรมเป็นพู่ ๑๐ ภาพที่ ๑๒ ผ้าโพกหัว ๑๑ ภาพที่ ๑๓ ลายจก ๑๑ ภาพที่ ๑๔ ลายจก ๑๑ ภาพท่ี ๑๕ ลายจก ๑๑ ภาพที่ ๑๖ ส่วนหนย่ึ หม่ยึ ชา (สว่ นตัวซนิ่ ) ใชว้ ิธกี ารทอแบบบุหรืออ่องทา (ทอยกดอก) สลบั กบั ลายมัดหมี่ ๑๒ ภาพท่ี ๑๗ สว่ นหน่ึยหม่ยึ ชา (สว่ นตัวซน่ิ ) ใชท้ อยกดอกคร่งึ เดยี ว ๑๓ ภาพท่ี ๑๘ ลายอะเฉซวั หรอื ลายแดงสลบั ขาวลักษณะลายแนวต้ังสลับด้ายสีขาวและ สีแดง ส่วนทเ่ี ปน็ พื้นสีขาวเรียกวา่ อะมิอั่ว ส่วนท่ีเป็นสีขาวผสมแดงเรยี กว่า อะเฉซัว สว่ นพื้นท่สี ีแดงเรยี กว่า อะมิโว่ ๑๓ ภาพที่ ๑๙ ลายยึงมฉิ าคัง้ ไถ่ หรือลายปีกนกหวั ขวาน ๑๔ ภาพที่ ๒๐ ลายคุฉิคัวหรอื ลายเยมูเปาะ (ลายปน่ิ ปักผมผูช้ าย) ๑๔ ภาพที่ ๒๑ ลายคานโชดง (ลายใยแมงมมุ ) ๑๔ ภาพท่ี ๒๒ ลายชะนิอ่องท้องใหญ่ ๑๔ ภาพท่ี ๒๓ ลายไกดุโพล่ง ๑๔ ภาพท่ี ๒๔ ลายไกควงพูห่ รือขดขวางเล็ก ๑๔ ภาพที่ ๒๕ ลายไกควงพหู่ รอื ขดขวางใหญ่ ๑๕ ภาพที่ ๒๖ ลายอะควงพะดซู่ ้อนกนั ๒ ชน้ั ๑๕
ค สารบัญภาพ (ตอ่ ) หน้า ภาพที่ ๒๗ ลายมิซาโดง่ หรือลายเปลือกตา ๑๕ ภาพที่ ๒๘ ลายเกย่ี วมีเปน็ ลายลูกโซ่เรียงตอ่ กนั ใชก้ ำหนดเปน็ แนวปกั ลวดลายก่อน ทจี่ ะปกั ลายอ่ืนๆ ๑๕ ภาพท่ี ๒๙ ลายเก่ียวมีเปน็ ลายกากบาทเรยี งต่อกนั ใชก้ ำหนดเปน็ แนวปักลวดลายก่อน ทีจ่ ะปกั ลายอนื่ ๆ ๑๕ ภาพที่ ๓๐ ลายไชโคล้งสะหรือลายพระอาทิตย์ ช่ือของลายเรียกตามตำแหนง่ ของ ส่วนทต่ี กแตง่ บริเวณสว่ นอกของไช่โคล้งสะ ประกอบด้วยลายหลายลาย รวมกัน คือ ลายเก่ียวมีเป็นลูกโซต่ ดิ ต่อกันแบง่ ออกเปน็ ชอ่ งๆ และ ลายดีม้งึ หวังสลับช่องระหว่างลายเกี่ยวมี เรยี กรวมกนั ว่า ลายไชโคล้งสะ ลักษณะคลา้ ยรปู พระอาทติ ย์ หมายความวา่ ชวี ิตจะมแี ต่ความรุ่งเรือง ๑๖ ภาพที่ ๓๑ ลายไชยองมิ คือ สว่ นลายท่สี ลับกับลายไชโ่ คลง้ สะ ลกั ษณะของลาย ประกอบด้วย ลายเกี่ยวมีเรียงต่อกนั ในแนวตั้งตรงและเส้นตรงกลาง เปน็ รูปกากบาท ๑๖ ภาพท่ี ๓๒ วัตถุดบิ ในอดีตที่ใชใ้ นการทอผา้ คือเส้นฝา้ ยและปัจจุบันใชเ้ ส้นไหมประดิษฐ์ ๑๗ ภาพที่ ๓๓ วัตถดุ บิ ในอดีตท่ใี ช้ในการทอผา้ คือเส้นฝ้ายและปัจจุบันใชเ้ สน้ ไหมประดิษฐ์ ๑๗ ภาพที่ ๓๔ แผ่นคาดหลังหรืออย่ากุงไผย่ ๑๗ ภาพท่ี ๓๕ ไม้พนั ผา้ (เค่อไถ่ย) ๑๘ ภาพท่ี ๓๖ ไมก้ ระทบ (เน่ยบะ) ๑๘ ภาพที่ ๓๗ ไม้แยกดา้ ย (กงคู๊) ๑๘ ภาพที่ ๓๘ ไม้ไบ่ ๑๘ ภาพที่ ๓๙ ทะคเู่ ถงิ ๑๙ ภาพท่ี ๔๐ เสย่ ถงึ ๑๙ ภาพท่ี ๔๑ ลุงทุ้ย ๑๙ ภาพท่ี ๔๒ คองญ่ายฆ่อง ๑๙ ภาพท่ี ๔๓ ตวั อยา่ งผลิตภณั ฑผ์ ้ากะเหร่ยี งท่ีได้รบั การพฒั นา ๓๑ ภาพที่ ๔๔ ตวั อย่างผลติ ภัณฑ์ผ้ากะเหร่ยี งท่ีไดร้ ับการพฒั นา ๓๑ ภาพที่ ๔๕ ตวั อยา่ งผลิตภณั ฑ์ผา้ กะเหรยี่ งทไ่ี ด้รบั การพัฒนา ๓๑ ภาพที่ ๔๖ ตัวอย่างผลิตภณั ฑ์ผ้ากะเหรี่ยงทไี่ ดร้ ับการพฒั นา ๓๑ ภาพท่ี ๔๗ ตัวอยา่ งผลติ ภณั ฑ์ผ้ากะเหรี่ยงทไ่ี ด้รบั การพัฒนา ๓๒ ภาพที่ ๔๘ ตัวอย่างผลิตภัณฑผ์ า้ กะเหร่ียงทไ่ี ดร้ ับการพฒั นา ๓๒
แบบสำรวจมรดกภมู ิปญั ญาทางวัฒนธรรม แบบ มภ. ๑ อำเภอบ้านคา อำเภอสวนผ้ึง และอำเภอปากท่อ จงั หวดั ราชบุรี ปที ่สี ำรวจ พ.ศ.๒๕๖๔ ลำดับ ชอื่ รายการ ลักษณะ ขอ้ มูลโดยสังเขป พ้ืนที่ ชอื่ ผทู้ ี่ถอื ปฏิบัตแิ ละ สถานะการคงอยู่ หมายเหตุ ที่ ปฏิบัติ วรรณกรรมพื้นบ้านและ ผ้าทอกะเหร่ียงเป็นผ้าทอมือด้วยกี่เอว วิธีการทอ ผู้สบื ทอด ปฏิบตั ิ เสี่ยง ไม่มี ภาษา ผู้ทอต้องนั่งกับพื้น เหยียดขาตรงไปข้างหน้าทั้งสอง อ.บ้านคา ข้าง เส้นยืนมีสายหนังคาดรัดโอบไปด้านหลัง ใช้นิ้ว อ.สวนผง้ึ อยา่ ง ต่อการ ปฏบิ ตั ิ ศลิ ปะการแสดง หรือไม้ไผ่ซ่ีเล็กๆ สอดด้ายพุ่ง และใช้ไม้แผ่นกระแทก อ.ปากท่อ แนวปฏิบัตทิ างสงั คม เส้นด้ายให้แน่น แพร่หลาย สูญหาย แล้ว ๑ ผา้ ทอ พิธกี รรม ประเพณี และ กะเหรยี่ ง เทศกาล ความรแู้ ละการปฏบิ ัติ เก่ียวกบั ธรรมชาติ และ ผถู้ ือปฏิบัต/ิ ผสู้ บื ทอด ✓ จักรวาล นางอารีย์ กงจก งานช่างฝมี ือดงั้ เดิม นางกลงึ คาผูก การเลน่ พื้นบา้ น กฬี า พืน้ บา้ น และศลิ ปะการ ตอ่ สู้ป้องกันตัว ~๑~
แบบ มภ.๒ แบบจัดทำรายการเบ้อื งต้นมรดกภูมปิ ัญญาทางวฒั นธรรม สว่ นท่ี ๑ ลกั ษณะของมรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรม ๑. ชื่อรายการ ผ้าทอกะเหรยี่ งจงั หวดั ราชบุรี ชื่อเรยี กในท้องถ่ิน ผ้าทอกะเหรีย่ งจงั หวัดราชบรุ ี ๒. ลกั ษณะของมรดกภมู ปิ ัญญาทางวัฒนธรรม (เลือกได้มากกว่า ๑ ช่อง) วรรณกรรมพน้ื บา้ นและภาษา ศิลปะการแสดง แนวปฏบิ ัตทิ างสังคม พธิ ีกรรม ประเพณี และงานเทศกาล ความรแู้ ละการปฏิบตั ิเกย่ี วกับธรรมชาตแิ ละจกั รวาล งานชา่ งฝีมอื ด้งั เดิม การเล่นพ้ืนบ้าน กฬี าพืน้ บา้ นและศิลปะการต่อสู้ป้องกนั ตวั ๓. พื้นทปี่ ฏิบตั ิ ผ้าทอกะเหรี่ยงเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงมีการปฏิบัติทอผ้าใน ๓ พื้นที่ของ จังหวัดราชบุรี ได้แก่ หมู่ ๓ บ้านห้วยแห้ง ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี หมู่ ๖ บ้านบึงเหนือ ตำบลบา้ นคา อำเภอบา้ นคา จงั หวดั ราชบรุ ี หมู่ ๑ บา้ นทา่ ยาง ตำบลยางหกั อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ๔. สาระสำคัญของมรดกภูมิปญั ญาทางวฒั นธรรมโดยสังเขป ผา้ ทอกะเหร่ียงมีกรรมวิธีการทอผ้าดว้ ยเครื่องทอก่ีเอว การทอผูท้ อต้องนั่งกับพ้ืน เหยียดขา ตรงไปขา้ งหน้าทั้งสองขา้ ง เส้นยนื มสี ายหนังคาดรัดโอบไปดา้ นหลัง ใช้นิ้วหรือไม้ไผ่ซี่เลก็ ๆ สอดด้ายพุ่ง และ ใช้ไม้แผ่นกระแทกเส้นด้ายให้แน่น ผ้ากะเหรี่ยงแบ่งออกได้ ๕ ประเภท คือ ๑) เสื้อผู้ชาย ๒) เสื้อผู้หญิงสี ขาว (ไช่อั่ว) เป็นเสอื้ ยาวคลุมเขา่ ใช้สวมใส่ตง้ั แตเ่ ด็กจนถึงวยั มีประจำเดือน เสอื้ สีนำ้ เงิน (ไช่โพล่ง) เป็นเส้ือ ที่แสดงถึงผู้หญิงแต่งงานแล้ว เสื้อยางคลุมเข่า คอวี ปักลวดลายรอบตัว ๓) ย่าม ๔) ผ้าโพกศรีษะ ๕) ผ้า อื่นๆ ลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงแบ่งตามวิธีการสร้างลวดลายได้ ๔ ประเภท ได้แก่ ๑) ลายอ่องกึ๊ย ๒) ลาย ออ่ งทา ๓) ลายหนึ่ยคั๊ย ๔) ลายเฉะ ผ้าทอกะเหรี่ยงกับการแต่งกายจะบ่งบอกสถานภาพทางสังคม แสดงให้เห็นถึงคุณวุฒิทาง จรยิ ธรรม การควบคมุ ความประพฤติของผสู้ วมใส่ควบคูก่ ับความสวยงามของลวดลาย ท้ังนไี้ ดม้ ีการส่งเสริม ให้มีการนำผ้ามาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การนำมาใช้ในการสืบสานประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง ประเพณีเวียนศาลา การส่งเสริมให้พัฒนาเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้และการส่งเสริมให้เกิดการสืบทอด ความรู้ให้อยู่กับชุมชน ปัจจุบันผ้าทอกะเหรี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนธรรม คือ การขาดแคลนชา่ งทอผ้ากะเหร่ียงร่นุ ใหม่ การหมดความนิยมใช้ในชีวติ ประจำวัน ~๒~
๕. ประวตั ิความเป็นมา บ้านบึงเหนือได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทอผ้ากะเหรี่ยงที่เป็นที่รู้จักและใหญ่ที่สุดของไทยกะเหรี่ยงใน จังหวัดราชบุรี ที่มีการอนุรักษ์วิธีการทอผ้า ลวดลายผ้า ผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงชุดแต่งกายสตรีแบบ ดั้งเดิม ชาวกะเหรี่ยงภายในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และผู้ที่สนใจผ้าทอกะเหร่ียงจะต้องมาหาซื้อผ้าทอ กะเหรี่ยงที่บ้านบึงเหนืออยู่เสมอ และเป็นแหล่งเดียวที่สามารถมองเห็นพัฒนาการของการทอผ้าที่มีการ สืบทอดจากอดีตยังคงรักษาภูมิปัญญาการทอได้จนถึงปัจจุบนั จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน และกลุ่มสตรี ทอผ้ากะเหรี่ยงได้กล่าวถึงความเป็นมาของผ้าทอกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี พบว่า การทอผ้ากะเหรี่ยงของ ชาวกะเหรี่ยงบ้านบึงเหนือมีมาแต่อดีต เนื่องจากการดำเนินชีวิตของชาวกะเหรี่ยงที่เคร่งครัดในเรื่อง ประเพณีวฒั นธรรม พิธกี รรมตา่ งๆ ไม่ว่าจะเป็นการสรา้ งบา้ นเรือนหรือการแต่งกายท่ีผหู้ ญิงกะเหร่ียงเกือบ ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะต้องทอผ้าเป็น คือ เมื่อแต่งงานมีลูกจะต้องทอผ้าไว้ให้ลูกเป็นผ้าสีขาว เมื่อครบ เกา้ เดือนคลอดลูกก็จะทอผ้าได้หลายผนื นำผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าให้ลูกใส่อย่างง่ายๆ การทอผ้าเร่ิมต้ังแต่ การปลูกฝ้าย ปั่นด้าย หาเปลือกไม้มาทำเป็นสีย้อมเส้นด้ายจากธรรมชาติ ทำเครื่องทอแบบง่ายๆ ที่ สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ คือ กี่คาดเอว โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ของหาง่ายในท้องถิ่น เช่นไม้ไผ่ ไม้ลวก ไม้ มะเกลือ เป็นต้น ผ้าที่ทอใช้ในชีวิตประจำวันจะเป็นเส้ือกะเหรี่ยง ซิ่นหรอื หนึย่ ย่าม ผ้าโพก ผ้าห่ม หรือผ้า ชนิดอื่นๆ จะเน้นความสวยงามและความหนาของเนื้อผ้า โดยเน้นความคงทนสวยงาม และความหนา เพราะเห็นว่าหมู่บ้าน ติดเขตชายแดนภูเขาและมีป่าไม้มาก มีอากาศหนาวเย็น จึงต้องใส่เสื้อผ้าหนา เพ่ือ ความอบอนุ่ แก่รา่ งกาย ซ่งึ ต่อมาความเจรญิ มมี ากข้ึน คนต่างถ่นิ เริ่มเขา้ มาจบั จองซอ้ื ทด่ี ินทำกนิ ถางป่าเพื่อ ทำไร่ และปลูกพืชผัก ความเจริญด้านต่างๆ ก็มีมากขึ้น การแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงก็เริ่มเปลี่ยนไปตาม สมัยนิยม แต่ก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีการแตง่ กายไว้บ้าง จะมีการแต่งกายด้วยชุดกะเหรีย่ งประจำ ท้องถ่ิน ในงานประเพณีต่างๆ เชน่ ประเพณกี ินข้าวหอ่ งานบวช งานแตง่ งาน และงานสำคญั อ่นื ๆ การทอผ้ากะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมได้เริ่มมีการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง เมื่อก่อน พ.ศ.๒๕๔๐ มีการทอผ้าอยู่ บ้างบางบ้าน เช่น บ้านย่าหก กงจก ที่มีการทอผ้าอยู่กับบ้านแล้วมีคนแก่คนเฒ่าชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้าน และบรเิ วณใกล้เคยี งได้มารวมกลุ่มกันทอท่บี ้านย่าหก ทอผ้าแล้วมคี นมาซือ้ ถึงบา้ น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ ผู้ใหญ่บ้าน คือ นายเช้า ทองกง ได้เห็นว่าผู้หญิงกะเหรี่ยงในหมู่บ้านมีความ สนใจในการทอผ้า และมีฝีมือในการทอผ้ากะเหรี่ยงแบบด้ังเดมิ อยู่บ้าง มีการรวมกลุ่มกันทอที่บ้านนางหก กงจก แต่ยังขาดการออกแบบลวดลายผ้าใหม่ๆ และการทอแบบสมัยใหม่ จึงได้ทำหนังสือถึงพัฒนาชุมชน จังหวัด และอุตสาหกรรมจังหวดั ราชบุรี เพื่อขอรับการสนับสนุนและส่งเสรมิ การทอผ้ากี่กระตกุ ซึ่งก็ได้รบั การสนับสนุนในด้านวิทยากรจากอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรีมาสอนทอผ้า และให้วัสดุอุปกรณ์ในการทอ เป็นอย่างดี โดยมีแม่บ้านร่วมฝึกอบรม จำนวน ๑๕ คน ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน เป็นงบการบรรเทาปญั หาการวา่ งงานโครงการฝึกอบรมทอผ้า ได้รับเบยี้ เลยี้ งในการฝึกอบรมคนละ ๕๐ บาท/วัน เป็นระยะเวลา ๙๐ วัน และกลุ่มทอผ้ายังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ อีก เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคา ศนู ย์การศกึ ษานอกโรงเรยี นอำเภอสวนผึง้ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รบั การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจงั หวดั ราชบุรี และสำนักงาน พัฒนาชุมชนอำเภอบ้านคา มาเป็นวิทยากรอบรมทอผ้าให้อีกครั้ง และให้งบประมาณในการสร้างศูนย์ทอ ผ้าขึ้น โดยใช้งบประมาณ ๓๗๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมีผู้บริจาคที่ดินในการสร้างศูนย์ทอผ้าครั้งนี้ ๓ ท่าน คือ ผู้ใหญ่บ้าน (นายเช้า ทองกง) นางหก กงจกและนางไค่ พวงไม้ จากนั้นจึงมีการรวม กลุ่มทอผ้าอย่างเป็น ทางการตั้งชื่อกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านบึงเหนือ การรวมกลุ่มทอผ้าในระยะแรกนั้น มีสมาชิกจำนวน ๑๕ คน ได้แก่ นางโซ่ จีนเทศ นางใบ จีนเทศ นางเรณู ณิยา นางพุ้ยเลิง คุลึง นางเกรียง ทองเอม นางดอกฟ้า ~๓~
เลี่ยจี่ นางนงเยาว บุญเลิศ นางสำลี จิลากาหลง นางจิต คั้งยัง นางกา สุขเจริญ นางสุข เม็ดเต็ง นางไฉไล ทองม้วน นางจี่ เรี่ยจี่ นางหก กงจก โดยมีนางอารีย์ กงจก เป็นประธานกลุ่ม ทางกลุ่มทอผ้าบ้านบึงเหนือ ได้รับการอบรมจากหน่วยงานราชการตา่ งๆ เป็นประจำทกุ ปี เชน่ อบรมการทอผา้ มัดหม่ี การทอผ้า กี่กระตุก แต่การทอผ้ากะเหรี่ยงไม่เหมาะสมกับการทอด้วยกี่กระตุก กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงยังคงทอผ้าแบบ ดั้งเดิมด้วยกเ่ี อว ภายในปีเดียวกันนั้นเองสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี จัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพทอ ผ้ากะเหรี่ยงสู่ชุมชนกะเหรี่ยง โดยให้สมาชิกกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านบึงเหนือเป็นวิทยากรอบรมการสอน ทอผ้ากะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมให้กับสตรีชาวกะเหรี่ยงในชุมชนต่างๆ เช่น บ้านโป่งกระทิง บ้านพุพอน บ้าน หว้ ยน้ำหนัก บา้ นหวั เขาจีน เปน็ ต้น แตล่ ะหมบู่ ้านท่รี บั การอบรมการทอผ้ากะเหรี่ยงจากอบรมท่ีกลุ่มทอผ้า บ้านบึงเหนอื แล้วไปรวมกลมุ่ ก่อตัง้ กจ็ ะอย่ไู ด้ไม่นานนัก ไดเ้ ลกิ ทอผ้ากะเหร่ยี งเปล่ยี นมาปักผา้ หรือทอผ้า กีก่ ระตกุ ลวดลายอื่นที่ไมใ่ ช่ลายดั้งเดมิ ของชาวกะเหรี่ยงเปน็ ลวดลายตามแบบผ้าจก ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับงบยุทธศาสตร์การพัฒนาจงั หวดั ราชบุรี ในการปรับปรุงศูนย์ทอผ้า ให้มี ความพร้อมในการต้อนรับผู้มาเยี่ยมชมซื้อผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เสื้อกะเหรี่ยง ผ้าซิ่นกะเหรี่ยง และผลิตภัณฑ์ แปรรูปอืน่ ๆ จนกระทั่งได้รับการคัดสรรผลิตภัณฑผ์ า้ ทอกะเหรย่ี ง ใหเ้ ป็นหน่งึ ตำบลหน่งึ ผลิตภัณฑ์ในระดับ ตำบลและระดับอำเภอบ้านคา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน ๒๕๖๔ สมาชิกกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงได้รับเชิญให้เป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้การทอผ้ากะเหรี่ยงให้กับลูกหลานชาวกะเหรี่ยงในโรงเรียนบ้านบึงเหนือ โรงเรียนบ้านคา วิทยา โรงเรียนบ้านท่ามะขาม ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านคาและอำเภอสวนผึ้ง ทั้งนี้การทอผ้ากะเหรี่ยงเป็น การสืบทอดภมู ิปัญญาจากบรรพบรุ ุษ ซ่งึ ในอดีตเปน็ การผลิตเพ่อื ใช้เอง ปจั จบุ นั เป็นกจิ กรรมทส่ี ามารถสรา้ ง เป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าและเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่กับชุมชนกะเหรี่ยง ตลอดไป ๖. ลักษณะเฉพาะทแ่ี สดงถึงอตั ลักษณ์ของมรดกภมู ิปญั ญาทางวัฒนธรรม งานชา่ งฝมี ือดั้งเดิม ประกอบดว้ ย ประเภท ลกั ษณะพเิ ศษหรือเอกลักษณ์ เครอื่ งมอื กลวิธีการผลิตงาน และกระบวนการจดั การองคค์ วามรู้ ของช่างฝมี อื ดั้งเดมิ - ผ้าทอกะเหรีย่ ง ผ้าทอกะเหร่ียงท่ีพบต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แบ่งตามลักษณะและประโยชน์ใช้งานในวิถีชีวิต ได้ ๔ ประเภท ๑. ผ้าซิ่นกะเหรีย่ ง หรือ “หนึ่ย” ลักษณะช่วงกลางของลำตัวจะเป็นลายมัดหมี่สีน้ำตาลสลับ กับการทอยกดอกมีขนาดของลายเท่าๆ กัน ส่วนเอวจะต่อด้วยผ้าพื้นสีน้ำเงินเข้ม ส่วนตนี ซน่ิ ทอลวดลาย จก ผา้ ซิ่นกะเหรย่ี งมี ๒ แบบ คือ ๑.๑ ซิ่นจกหรือซิ่นตีนจก ลักษณะตัวซิ่นเป็นลายมัดหมี่สลับลายทอยกดอก ตีนซิ่นทอ ลวดลายจกประดับตกแตง่ ลูกปัดสีขาวเกล็ดเงนิ ถกั ด้ายแดง เป็นเส้นเปียหรือพู่หอ้ ย ซน่ิ จกเปน็ ซ่ินที่แสดงถึง ผู้หญงิ กะเหรีย่ งท่ีแตง่ งานแลว้ ใชใ้ ส่ทำงาน ใสไ่ ปเท่ียวหรือใสใ่ นพธิ ีแต่งงาน งานสงกรานต์ งานประเพณี กนิ ข้าวห่อ เป็นต้น ๑.๒ ซิ่นมัดหมี่ ลักษณะตัวซิ่นทอลายมัดหมี่สีน้ำตาลสลับกับทอยกดอก มีขนาดของลาย เท่าๆ กัน ตีนซิ่นไม่มีลวดลายเหมือนกับหัวซิ่น เป็นซิ่นที่ผู้หญิงกะเหรี่ยงใส่ทำงานไปสวน ไปไร่หรือใช้ใน ทำงานในชวี ติ ประจำวนั ~๔~
โครงสร้างของผ้าซน่ิ ท่ปี ระกอบ ๓ สว่ นคือ หัวซน่ิ ตัวซ่นิ และตนี ซน่ิ แต่ละสว่ นผา้ ซ่ินจะมีวิธีการ ทอสแี ละขนาดท่ีแตกตา่ งกัน ดังนี้ ส่วนหัวซิ่นหรอื หนึ่ยคู้ไถ้ คือ ผ้าที่อยู่บริเวณส่วนบนสุดของซิ่น มีขนาดกว้าง ๙ เซนติเมตร ยาว ประมาณ ๖ เซนตเิ มตร เป็นสว่ นทอพ้ืนสนี ้ำเงินเขม้ เกอื บดำ (คูไ๊ ถ้เพลค)ู่ เป็นสว่ นทีเ่ ยบ็ ต่อกับตัวซนิ่ คไู่ ถเ้ สงิ หลา้ คไู่ ถเ้ พลคู่ ภาพที่ ๑ หน่ึยค๊ไู ถ้ ส่วนตัวซิ่นหรือหนึ่ยหมึ่ยซา คือ ส่วนพื้นที่ท่อนกลางของผ้าซิ่น มีเทคนิคการทอ ๒ วิธี คือ ทอ ผ้าพ้นื เป็นสีนำ้ ตาลด้วยวธิ ีการมัดลายแล้วนำไปย้อมเรยี กว่า “คยั๊ ”และการทอยกดอก (บหุ รือบอุ อง) โดย เน้นการทอสลับกันไปในแนวนอนวิธีการละ ๔ แถว มีความกว้างของตัวซิ่น ประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร สว่ นตวั ซนิ่ จะทอผา้ สว่ นทีเ่ ป็นมัดยอ้ ม และส่วนทท่ี อยกดอก ๒ ผนื มาเยบ็ ติดกัน บุออง (ยกดอก) คย๊ั (ลายมดั หมี่) ภาพที่ ๒ หน่ึยหม่ึยซา ~๕~
ส่วนตีนซิ่นหรือหนึ่ยคั๊ยไถ้ คือ ส่วนที่เป็นชายผ้าซิ่นด้านล่างสุด ยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนบนใช้วิธีการจก (อ่อง) เรียกว่า หนึ่ยอ่องกึ๊ย (ผ้าตีนจก) เป็นลวดลายต่างๆ ส่วน ด้านล่างจะใช้วิธีการทอเป็นสีแดง มีแถบสีแดง สีขาว สีเหลือง สีดำ สลับกับสีแดงเป็นแถบเล็กๆ เรียกว่า หนยึ่ คัย๊ ไถ้โว (ตนี ซ่นิ สีแดง) แต่ละสว่ น มีรายละเอยี ด ดงั นี้ ภาพท่ี ๓ หนย่ึ ค๊ัยไถ้ (ตีนซน่ิ ) หนึ่ยคั๊ยไถ้ส่วนบนหรือหนึ่ยอ่องกึ๊ย คือ ส่วนจกเป็นลวดลายตามแนวขวางในขณะที่ทอ เมื่อทอเสร็จแล้วนำมาเย็บเป็นตีนซิ่น ลักษณะของลวดลายตามแนวตั้ง การจกลวดลายจะจกเป็นช่อง สี่เหลี่ยม ผืนผ้า ขนาดเท่ากันสลับกับการทอพื้นเป็นช่องสี่เหลี่ยมสีดำขนาดเท่ากันสลับกันไป นำผ้าสีโว (สแี ดง) มาเยบ็ ตดิ กับชอ่ งผ้าสีดำแลว้ ปักด้วยเบลิงจี่ (เกล็ดเงนิ ) ส่วนล่างของลายจกรอ้ ยเพล้ถ่องด๊ึย (ลูกปัด) สที องและเย็บดา้ ยให้เปน็ หนึ่ยดอกบล็อก (พู่หอ้ ยผา้ ถุง) ประดับให้สวยงาม บางผืนจะเยบ็ ด้ายถักเปียติดลง เปน็ กรอบช่องสี่เหลย่ี มและปล่อยชายใหด้ ้ายลยุ่ ออก ~๖~
เบลงิ จี่ (เกล็ดเงิน) ภาพท่ี ๔ หนย่ึ อ่องกึ๊ย (ผา้ ตีนจก) ตกแตง่ ด้วยเบลงิ จ่ี (เกล็ดเงนิ ) และดา้ ยสีแดงถกั เป็นเปยี หนึ่ยคั๊ยไถ้ส่วนลา่ งหรือหนึย่ ค๊ัยไถ้โว คือ ส่วนที่ใช้วิธีการทอพ้ืนสแี ดง มีแถบสีขาว สีเหลือง สีดำ เป็นแถบเลก็ ๆ สลบั กับสีแดง ส่วนท่เี ปน็ แถบสนี ี้เรียกวา่ หนึย่ กุเล (ลายเสริมแตง่ ใหส้ วยงาม) ลวดลายต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการสลับสีของเส้นด้ายยืน ตั้งแต่กระบวนการขึ้นด้าย บางผืนมีการสอดเส้นด้ายปล่อยชาย เป็นเส้นร้อยลูกเดือยหรือลูกปัดเล็ก ๆ ประดับให้เป็นชายลุ่ยให้ดูสวยงาม และบริเวณชายซิ่นตกแต่งด้วย ลกู ปัดสขี าว ภาพที่ ๕ หนยึ่ ค๊ัยไถ้ ตกแตง่ ลกู ปัดสีขาว ~๗~
๒. เสอื้ ผ้หู ญิงกะเหร่ยี ง แบ่งออกได้ ๒ ประเภทตามสถานภาพของผู้ใส่ ดงั น้ี ๒.๑ ไช่อั่ว คือ เสื้อสีขาวที่เด็กผู้หญิงสวมใส่ตั้งแต่เป็นเด็กจนกระทั่งมีประจำเดือน หรืออายุ ๑๕ ปี ถือว่าเป็นสาวจนกระทั่งแต่งงานแล้วจะเลิกใส่ไช่อั่วไปใส่เสื้อ “ไช่โพล่ง” ไช่อั่วเป็นชุดผ้าฝ้ายสีขาว ทอเปน็ ผืนยาว มชี อ่ งสวมทางศรี ษะ ยาวคลมุ เขา่ ปกั กุ้นรอบแขนคอ ชายผา้ ตกแตง่ ด้วยด้ายแดง อาจใส่เม็ด เงินหรือลูกไม้ เรียกว่า “พงซ้า” ที่ชายถุง ในอดีตนั้นเมื่อพ่อแม่ทราบว่าลูกสาวมีรอบเดือนจะต้องมีพิธี เปล่ยี นผา้ จากชุดไชอ่ ว่ั มาเป็นชุดไช่โพล่ง คอื เชิญญาตผิ ใู้ หญ่มาอบรมสัง่ สอน เด็กสาว เพ่ือให้ทราบถึงการ เปลี่ยนแปลงของร่างกาย พัฒนาการจากเด็กไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ การรักษาทำความสะอาดร่างกาย ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติตน เปลี่ยนจากเด็กเป็นสาวต้องปรับปรุงตนเอง เพื่อเตรียมตัวมีครอบครัว โดย เดก็ สาวใสไ่ ช่อั่วไม่ออกไปขา้ งนอกประมาณ ๓-๔ วัน ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะว่าให้หมดรอบเดือนพอดี หลงั จาก นั้นเด็กสาวจะไม่สวมไช่อั่วอีกเลย ไช่อั่วแสดงความเป็นสาวของผู้หญิงกะเหรี่ยงที่ครองตัวเป็นโสดบริสุทธ์ิ เป็นการควบคุมความประพฤติ การครองตวั ของหญิงสาว และหากเด็กสาวคนใดมีประจำเดือนแล้วยังสวมใส่ ไช่อั่วจะทำมาหากินไม่ขึ้นต้องขอขมาพ่อแม่ ปัจจุบันเด็กสาวชาวกะเหรี่ยงไม่นิยมใส่ไช่อั่ว จะใส่เนื่องใน ประเพณีหรือโอกาสสำคัญเท่านั้นแต่บางครอบครัวจะทอไช่อั่วให้ลูกสาวใส่ โดยมีความเช่ือว่าสวม ไช่อั่ว ครบ ๓ วันจะทำใหค้ รอบครัวมีความมัง่ มีเงนิ ทอง มีโชคลาภและมคี วามสุข ภาพท่ี ๖ เด็กหญงิ กะเหรย่ี งสวมไช่อ่ัว ๒.๒ ไช่โพล่ง คือ เสื้อผู้หญิงกะเหรี่ยงที่สวมใส่ตั้งแต่เมื่อมีประจำเดอื นหรอื ผู้หญิงที่แต่งงาน แล้วใส่จนกระทัง่ วัยชรา มี ๒ รูปแบบ คือ ไช่เสิงเทิง เป็นเสื้อผ้าฝ้ายทอมือผ้าพ้ืนสีดำหรือสีครามหรือ สีน้ำ เงินเข้ม ทรงกระบอก ยาวคลุมสะโพกจนถึงเกือบหัวเข่า ไม่มีลวดลาย จะเป็นเสื้อที่สวมใส่ทำงานไปไร่ไป สวน สว่ นไช่ก้ึยไถ่ มีลักษณะเหมือนกับไชเ่ สิงเทิง แตต่ ัวเสื้อปกั ลวดลายตา่ ง ๆ ดว้ ยดา้ ยสีขาว สีแดง สีเขียว สีเหลือง การปักใช้เวลานาน เนื่องจากปักด้วยมือใช้เส้นด้ายเล็ก ตกแต่งด้วยลูกปัด และด้ายสีแดง ถักเปีย รอบคอ แขนและชายเส้ือ ~๘~
ไช่โพล่ง แบง่ ออกเป็น ๔ สว่ น ไดแ้ ก่ ส่วนไช่คู๊ไถ่ย คือ ส่วนบ่าหรอื ไหล่ มีขนาดกว้างจากบ่าจนถึงบริเวณอก ส่วนบนของผู้ส่วมใส่ ลวดลายปักในแนวตัง้ ส่วนไชโ่ คล้งสะ คือ ส่วนอกเปน็ สว่ นทเี่ ดน่ ท่ีสุด เพราะมลี ายแตกต่างไปจากสว่ นลวดลายส่วน อ่ืนๆ ส่วนไช่กึ๊ย คือ ส่วนใต้อก ปักลวดลายด้วยด้ายสีอื่นๆ เป็นเส้นเล็กๆ ในแนวตั้ง เป็นส่วนที่มี การปักน้อยกวา่ ส่วนอ่ืนๆ ส่วนไช่หมึ้ยเซีย คือ ส่วนที่มีขนาดยาวและมีขนาดใหญ่ เมื่อสวมใส่จะมีความยาวคลุมถึงต้น ขา บางตัวยาวถงึ หัวเข่าผูส้ วมใส่ ส่วนของไชห่ มึ้ยเซยี จะปักลายเหมือนบ่า สำหรับลายปักจะเปน็ แนวนอน ตลอดทงั้ ตัว บรเิ วณชายเสื้อจะตกแตง่ ดว้ ยลกู ปดั หรือลูกเดอื ยสขี าวตลอดชายโดยรอบ ภาพท่ี ๗ ผู้หญิงกะเหร่ียงทแี่ ตง่ งานแลว้ สวมไชโ่ พล่ง ไชค่ ู้ไถ่ย (สว่ นบ่าหรือสว่ นไหล่) ไช่โคลง้ สะ (สว่ นอก) ไชก่ ย๊ึ (สว่ นลายเสอ้ื หรอื ส่วนใตอ้ ก) ไชห่ มึย้ เซยี (ส่วนตวั เส้ือ) ภาพท่ี ๘ สว่ นประกอบของไช่โพลง่ ~๙~
๓. ย่าม “เธอว” หรือถุงโว ใชใ้ สส่ งิ่ ของ หรอื พกพาไปตามวาระโอกาสตา่ งๆ ย่ามทใ่ี ช้ในวถิ ชี วี ติ มี ๒ แบบ แบ่งตามประโยชน์การใช้งานคือ ย่ามที่ใส่สิ่งของทั่วไป เช่น เอาไว้ใส่เสื้อผ้า หมอน เสื่อพับ ขัน หรืออุปกรณ์ในการทำมาหากินหรือไปไร่หรือใส่ของเล็กน้อยสำหรับไปเที่ยว เพราะฉะนั้นขนาดของย่าม และรูปแบบความสวยงามจึงแตกต่างกัน แบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ ๒ ประเภท ดงั นี้ ๓.๑ ย่ามสีขาว (เธอวอั่ว) คือ ย่ามสีขาวที่มีขนาดใหญ่ใชใ้ ส่สิ่งของทั่วไป หรือไว้ใส่อุปกรณ์ ไปทำงานในไร่ ส่วนใหญจ่ ะใสเ่ สอ้ื ผา้ หรือของใช้เดนิ ทาง จงึ ตอ้ งมีขนาดใหญ่ ทนทาน เพราะใช้ใส่ส่ิงของที่มี จำนวนมากและมีน้ำหนักมาก ก็จะไม่สะพาย ใช้คาดศีรษะ บริเวณปากย่ามจะทอลวดลายยกดอก ตกแต่ง ดว้ ยไหมพรม ถักเปน็ เส้นเปยี แล้วเย็บขอบปลายมดั ใหเ้ ปน็ พู่ ภาพที่ ๙ ย่ามขาว (เธอวอวั่ ) ๓.๒ ย่ามสีแดง (เธอวโว่) เป็นย่ามทีใ่ ช้ใสส่ ิ่งของหรอื พกพาเล็กน้อย เช่น ใช้สะพายไปเท่ยี ว หรือใช้ในพิธีแต่งงาน ย่ามแดงจะมีขนาดกว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร สีท่ี นิยม คือ สีแดง แต่ปัจจุบันได้ใช้เส้นด้ายท่ีเป็นไหมประดิษฐส์ ำเร็จรูปท่ีมีสีสันจากท้องตลาด จึงทำให้ย่าม กะเหรี่ยงหลากสีสันออกไป ส่วนใหญ่ทอเป็นผ้าพื้นและมีการตกแต่งลวดลายบริเวณปากย่ามด้วยเบลิงจ่ี หรอื เกลด็ เงนิ รอ้ ยลกู ปดั สขี าวเย็บรอบปากย่ามมดั ด้ายไหมเปน็ พู่ หรือถกั ไหมพรมเป็นเส้นเปยี รอบปากย่าม ชายมดั ปล่อยเปน็ พู่ ภาพท่ี ๑๐-๑๑ ย่ามแดง ปากย่ามตกแต่งด้วยเกลด็ เงินร้อยลูกปัดสีขาวมัดด้ายไหมพรมเป็นพู่ ~ ๑๐ ~
๔. ผ้าโพกหัว ในอดีตผู้ชายและผู้หญิงกะเหรี่ยงจะนิยมไว้ผมยาว ผู้หญิงมวยผมต่ำไว้ ด้านหลัง โพกหัวด้วยเพิ่งคู่ไพ่ย เป็นผ้าพื้นสีขาวหรือสีน้ำเงิน พันรอบศรีษะและเหน็บชายไว้ทางด้านหลัง หรือปล่อยชายยาว ปัจจุบันไม่นิยมทอ และได้เปลี่ยนไปใช้ผ้าชนิดอื่นโพกแทนผ้าเดิม ส่วนผู้ชายกะเหรี่ยง นิยมใช้โพกหัวพันเป็นยอดแหลมยาวออกมาดูเหมือนเขาสัตว์ แต่ปัจจุบันผู้ชายกะเหรี่ยงตัดผมสั้นแล้วแต่ ยังคงรกั ษาวัฒนธรรมดงั้ เดิมของการโพกหวั กบั การแต่งกายกะเหรยี่ งในพิธีหรอื โอกาสสำคัญเทา่ น้นั ภาพที่ ๑๒ ผา้ โพกหวั ลวดลายผา้ ทอกะเหรี่ยง ๑. ลายจกหรอื ลายอ่องก้ึย คือ ลวดลายท่เี กิดจากการสอดดา้ ยสลับสีเข้าไปบางส่วนเน้ือผ้าตาม ลวดลายและสีในตำแหน่งที่ต้องการ การยกด้ายยืนจะเป็นไปตามการยกตะกอ จะใช้นิ้วมือล้วงหรือควัก เส้นด้ายผูกมัดขัดกับด้ายยืน เรียกวิธีการทำลวดลายจกนี้ว่า “แกะดอก” ลวดลายจกจะปรากฏในส่วน ตีนซนิ่ หรอื หนยึ่ คั่งไถ้ นับวา่ ลายจกของผ้าทอกะเหร่ียงเป็นลวดลายเดน่ ท่สี ุด มีหลายรปู แบบเรียกชื่อต่างกัน เช่น ลายมิซาโด่งหรือลายกรอบตา ลายมิซาพะดู่ ลายมิซาพะ ลายมิซาหลึ่ยต้อง ลายทุไกมิซา ลายมิซา หลึ่ยตอ้ ง ลายทไุ กมิซาหรือกรอบตา จุดเดน่ ของลายอยู่ท่ีการเน้นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ให้นูนเต็มรูปตา ด้วยดา้ ยสเี ขม้ ดคู ลา้ ยลกู ตามีขนาดใหญ่ ภาพท่ี ๑๓-๑๕ ลายจก ~ ๑๑ ~
ลายยกดอกหรือลายอ่องทา คือ ลวดลายที่ทอให้เป็นเส้นนูนตามแนวตั้ง จึงต้องกำหนดลวดลาย ต้งั แตข่ บวนการข้ึนดา้ ย สสี ันของลายจะใส่สที ีส่ ดใส เชน่ อว่ั (สีขาว) โว (สีแดง) บา่ ง (สเี หลือง) ย่ี (สีเขยี ว) ลาย ทอยกดอกนี้เป็นลายหนึ่ยคู้ คือลายเสริมให้เต็มบนผืนผ้า สลับกับการทอมดั หม่ี เพอ่ื ให้เกิดความสวยงาม ลาย ทอยกดอกนี้ มีการทอยกเต็มดอกเชื่อมต่อกัน เรียกว่า บุเกี่ยวลิและยกดอกเพียงครึ่งเดียวเรียก โผล่เคลลี่ คนอสี านเรยี กว่า ลายขิดแตล่ ายทอยกดอกของชาวกะเหรี่ยง มคี วามละเอียดของลายน้อยกว่า มลี ายท่ีนิยมทอ ได้แก่ ลายพคู่ ว่ยุ อวั่ พู่ควุ่ยโว พูค่ วยุ่ ย่ี เป็นลวดลายท่ีตกแตง่ บนสว่ นของหน่ึยหม่ึยชา (สว่ นตวั ซน่ิ ) ลกั ษณะลาย แบบยกดอกเป็นการทอให้เกิดลวดลายโดยกำหนดสีตามด้ายยืน จึงต้องกำหนดลวดลายตั้งแต่กระบวนการ ขนึ้ ด้าย สสี ันของลวดลายจะใส่สีที่สดใส เช่น อัว (สขี าว) โว (สีแดง) บา่ ง (สีเหลือง) ย่ี (สีเขยี ว) ลายมดั หม่ี ลายทอยกดอก บุเกย่ี วลิ ภาพท่ี ๑๖ ส่วนหนึ่ยหมึ่ยชา (ส่วนตัวซนิ่ ) ใช้วิธกี ารทอแบบบหุ รืออ่องทา (ทอยกดอก) สลับกบั ลายมดั หมี่ ลวดลายที่ทอยกดอกในส่วนหนึ่ยหมึ่ยชา (ส่วนตัวซิ่น) ในซิ่นแต่ละผืนจะนิยมให้มี ๕ แถว และ นิยมทอยกดอกเป็นลวดลายเล็กๆ คือ ไกถึงพู่ ถ้าหากใส่จำนวนเส้นพุ่งมากทำให้ลวดลายใหญ่ขึ้น เรียกว่า ไกถึงพะคู่ ส่วนพู่ควุ่ย หรือหักศอกซ้อนกัน เป็นการเรียกชื่อลายพู่ควุย่ ในส่วนหนึ่ยหมึ่ยซาทีท่ อยกดอกจะ นำสีของเส้นด้ายที่ใช้ยกดอกมาเรียกรวมกัน ดังนั้นลายพู่ควุ่ยที่ทอยกดอกด้วยด้ายสีขาวจึงเรียกว่า พู่ควุ่ย อ่ัว (หักศอกซ้อนกันสีขาว) ลายพู่ควุ่ยที่ทอยกดอกด้วยด้ายสีเหลือง เรียกว่า พู่ควุ่ยบ่าง (หักศอกซ้อนกันสี เหลือง) ลายพู่ควุ่ยที่ทอยกดอกด้วยด้ายสีแดง เรียกว่า พู่ควุ่ยโว (หักศอกซ้อนกันสีแดง) ลายพูคว ุ่ยที่ทอ ยกดอกดว้ ยด้ายสเี ขยี ว เรยี กวา่ พูค่ วุ่ยลี่ (หักศอกซ้อนกันสเี ขยี ว) ~ ๑๒ ~
ลายพู่ควุ่ยอ่ัว (หักศอกซ้อนกันสี ขาว) ลายพ่คู วุ่ยโว (หกั ศอกซ้อนกนั สี แดง) ลายพคู่ วุ่ยปา่ ว (หักศอกซอ้ นกันสีเหลือง) ลายพู่ควุ่ยอั่ว (หักศอกซ้อนกันสเี ขยี ว) ภาพท่ี ๑๗ ส่วนหนึ่ยหมย่ึ ชา (สว่ นตวั ซิ่น) ใช้ทอยกดอกครงึ่ เดียว ๒. ลายมัดหมี่หรือลายหนึ่ยไก๊ย เป็นลวดลายที่ตกแต่งบนส่วนหนึ่ยคั๊ยหรือผ้าซิ่นของผู้หญิงที่ แต่งงานแล้ว ซึง่ การทำลายมัดย้อมชาวกะเหรี่ยงเรยี กกันว่า “หนย่ึ ค๊ัย” หมายถึง การคดิ ลวดลายต้ังแต่การ ย้อม ในอดีตชาวกะเหรี่ยงมัดย้อมให้สีผ้า มีลวดลายขึ้นมาด้วยการใช้ด้ายหรือเชือกกล้วยมัดบางส่วนของ เส้นฝ้าย เพื่อมิให้สีย้อมผ้าซึมติดส่วนที่มัดไว้ เมื่อแกะเชือกที่มัดออกจะได้ลายผ้าที่ต้องการ เส้นด้าย มี ลักษณะ ๒ สี คือ สีขาว เป็นสีของด้ายดิบ อีกสีหนึ่ง คือ สีเปียวละหรือสีน้ำตาล เมื่อนำด้ายไปทอเป็นผืน จะได้ลวดลายที่รู้จักกันว่า “ลายมัดหมี่” มีหลายลายได้แก่ ลายอะเฉซัว ลายยึงมึงฉาคั้งไถ้ ลายคุฉิคัว ลายคานโชดง ลายชะนิอ่องทอ้ งใหญ่ ลายไกดุโพลง่ ลายไกควงพู่ ลายอะควงพะดู่ ลายมซิ าโดง่ อะมิอว่ั อะมโิ ว ภาพที่ ๑๘ ลายอะเฉซวั หรอื ลายแดงสลับขาวลักษณะลายแนวตั้งสลบั ดา้ ยสขี าวและสีแดง สว่ นท่ี เปน็ พืน้ สีขาวเรยี กว่า อะมิอัว่ ส่วนทเ่ี ปน็ สขี าวผสมแดงเรียกว่า อะเฉซัว สว่ นพื้นท่ีสแี ดง เรียกวา่ อะมิโว่ ~ ๑๓ ~
ภาพท่ี ๑๙ ลายยึงมิฉาคง้ั ไถ่ หรือลายปีกนก ภาพท่ี ๒๐ ลายคฉุ ิคัวหรือลายเยมเู ปาะ หัวขวาน (ลายปน่ิ ปกั ผมผู้ชาย) ภาพที่ ๒๑ ลายคานโชดง (ลายใยแมงมมุ ) ภาพท่ี ๒๒ ลายชะนอิ ่องทอ้ งใหญ่ ภาพท่ี ๒๓ ลายไกดโุ พลง่ ภาพท่ี ๒๔ ลายไกควงพู่หรือขดขวางเลก็ ~ ๑๔ ~
ภาพท่ี ๒๕ ลายไกควงพู่หรอื ขดขวางใหญ่ ภาพท่ี ๒๖ ลายอะควงพะดซู่ ้อนกนั ๒ ชั้น ภาพที่ ๒๗ ลายมิซาโด่งหรือลายเปลือกตา ๔. ลายปักหรือลายเฉะ คือ ลวดลายปักที่ใช้วิธีการปักเดินเส้นด้ายสีเขียว สีแดง สีเขียว ใช้ ตกแต่งไช่โพล่ง (เสื้อกะเหรี่ยง) ตั้งแต่ส่วนของไช่คู๊ไถ่ย (ส่วนบ่าหรือส่วนไหล่) ไช่โคล้งสะ (ส่วนอก) ไช่กึ๊ย (ส่วนลายเส้ือหรือส่วนใต้อก) และไช่หมึ้ยเซีย (ส่วนตัวเสื้อ) ลายปักมีชื่อเรยี กและเทคนิควิธีการทำท่ี แตกต่างกัน บางลวดลายจะคล้ายคลึงกัน แต่จะมีการพิจารณาความแตกต่างของลวดลาย โดยพลิกกลับ ด้านในของตัวเสื้อ ลวดลายปักจะแสดงวิธีการทำที่แตกต่างกัน ทำให้จำแนกความแตกต่างของลวดลายได้ แตล่ ะลวดลายมี ดงั น้ี ดา้ นหน้า ด้านหลัง ภาพที่ ๒๘ ลายเกย่ี วมีเปน็ ลายลูกโซเ่ รยี งต่อกนั ใช้กำหนดเปน็ แนวปกั ลวดลายกอ่ นที่จะปักลายอนื่ ๆ ดา้ นหน้า ดา้ นหลงั ภาพที่ ๒๙ ลายเก่ยี วมีเป็นลายกากบาทเรียงต่อกนั ใช้กำหนดเปน็ แนวปกั ลวดลายกอ่ นทีจ่ ะปักลายอืน่ ๆ ~ ๑๕ ~
ภาพที่ ๓๐ ลายไช่โคล้งสะหรือลายพระอาทิตย์ ชื่อของลายเรียกตามตำแหน่งของส่วนที่ตกแต่ง บริเวณส่วนอกของไช่โคล้งสะ ประกอบด้วยลายหลายลายรวมกัน คือ ลายเกี่ยวมีเป็น ลกู โซต่ ิดต่อกนั แบ่งออกเป็นช่อง ๆ และลายดีมึง้ หวังสลบั ช่องระหวา่ งลายเกี่ยวมี เรียก รวมกันว่า ลายไช่โคล้งสะ ลักษณะคล้ายรูปพระอาทิตย์ หมายความว่า ชีวิตจะมีแต่ ความรุ่งเรอื ง ภาพท่ี ๓๑ ลายไช่ยองมิ คอื สว่ นลายที่สลบั กับลายไช่โคล้งสะ ลกั ษณะของลายประกอบด้วย ลายเก่ียวมเี รียงต่อกนั ในแนวตงั้ ตรงและเสน้ ตรงกลางเป็นรปู กากบาท วสั ดอุ ุปกรณก์ ารทอผา้ กะเหรี่ยง วัสดกุ ารทอ ในอดตี จะยอ้ มเสน้ ด้ายเองโดยใช้สธี รรมชาตจิ ากวัตถธุ รรมที่หาได้ในท้องถ่ิน เชน่ สเี หลือง (บ่าง) จากเปลือกขนุน สีแดง (โว) จากลูกกระโดน สีดำจากมะเกลือ เป็นต้น การย้อมมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีความ เชอื่ เกี่ยวกับการย้อมตั้งแต่การหาวตั ถุดิบใช้ย้อม ตอ้ งหาคนทมี่ ีครอบครัวท่สี มบรู ณ์ หากบา้ นใดย้อมผ้าแล้ว มญี าตผิ ตู้ ายอยู่ หากจะย้อมผ้าจะต้องเผาก่อนแลว้ จะย้อมผ้าได้ดี การยอ้ มเส้นด้ายของกะเหรี่ยงราชบุรี ได้ ~ ๑๖ ~
เลิกย้อมเพราะมีคนไทยในพื้นที่เข้ามารับจ้างย้อมผ้า ทำให้ชาวกะเหรี่ยงย้อมผ้ากับปี๊บหรือฝากไปย้อม ในตัวเมืองราชบุรี อีกทั้งกะเหรี่ยงไม่รู้เทคนิคการย้อมสีดำด้วยมะเกลือทำให้สีตกและด่าง จึงเลิกย้อมผ้า เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และเมื่อมีคนรับจ้างทอผ้าหรือฝากนำไปย้อมในเมืองราชบุรี ขั้นตอนการย้อม ผ้าด้วยสีธรรมชาติจึงหายไปพร้อมกับภูมิปัญญาการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติของชาวกะเหรี่ยง ยังคงเหลือ วิธีการปั่นเสน้ ด้ายจากด้ายสำเรจ็ รูป ส่วนกะเหร่ียงเพชรบุรยี ังคงมกี ารยอ้ มเส้นดา้ ยดว้ ยวธิ ีธรรมชาติ ในปัจจุบันเส้นด้ายที่เป็นวัตถุดิบหลักของการทอผ้ากะเหรี่ยงได้ใช้เส้นด้ายประดิษฐ์ย้อม ด้วย สีเคมีหรือสีวิทยาศาสตร์ มสี สี ันให้เลอื กมากมาย เช่น สีเขียว สแี ดง สนี ้ำเงิน สชี มพู เปน็ ต้น เนื่องจาก เส้นด้ายมีขนาดเล็ก สม่ำเสมอ สามารถหาซื้อเส้นไหมประดิษฐ์ตามแหล่งทอผ้าในตลาดขายเป็นลูกๆ ละ ๑,๒๐๐ บาท ๑ ถุงมี ๗๓ ใจๆ ละ ๑๘-๑๙ บาท เบอร์ ¼ เท่ากบั ๗๖ ใจ นำ้ หนกั ๔ ½ กิโลกรมั และ เบอร์ ๑/๓ เท่ากบั ๑๐๕ ใจ น้ำหนกั ๔ ½ กิโลกรัม ภาพที่ ๓๒-๓๓ วตั ถดุ ิบในอดีตทใี่ ชใ้ นการทอผา้ คอื เส้นฝ้ายและปจั จบุ ันใชเ้ สน้ ไหมประดิษฐ์ ๑. อุปกรณ์ทอผา้ เคร่ืองทอผ้าทีเ่ ป็นเอกลกั ษณ์ของชาวกะเหร่ียงเรียกว่า “กเ่ี อว” ประกอบไปดว้ ยสว่ นต่างๆ ดังนี้ ๑.๑ แผ่นคาดหลัง (อย่ากุงไผย่) แต่เดิมนั้นทำมาจากหนังสัตว์ เช่น หนังกวาง เพราะหนัง กวางไม่แข็งกระด้าง สามารถรับน้ำหนักผู้ทอขณะเคลื่อนตัวขึ้นลงได้ดี แผ่นหนังจะตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กวา้ งประมาณ ๔-๖ นว้ิ ยาวประมาณ ๒๐ นวิ้ ปลายแผน่ หนงั ทั้งสองข้างเจาะรู เพอ่ื ร้อยเชือกสำหรับคล้อง ไม้รั้งผ้าทอแล้วพันรอบเอวผู้ทอขณะนั่งทอผ้า ปัจจุบันหนังสัตว์หายากได้เปลี่ยนมาใช้ผ้าหนาหรือแผ่น พลาสตกิ ภาพท่ี ๓๔ แผ่นคาดหลังหรอื อยา่ กงุ ไผย่ ~ ๑๗ ~
๑.๒ ไม้พันผ้า (เค่อไถ่ย) คือ ไม้รั้งผ้าสำหรับรั้งและพันผ้าที่ทอแล้วและใช้สำหรับพันด้าย เมื่อเริ่มขึ้นเครื่องทอทำจากไม้มะเกลือ มีลักษณะเป็นไม้ท่อนกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว ยาว ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ผ่าครึ่งประกบกัน ปลายทั้งสองข้างบากเป็นร่อง เพื่อใช้สำหรับคล้องเชือกจาก อย่ากงุ ไผ่ย เปน็ ไมอ้ นั แรกทีใ่ ชเ้ ร่ิมพนั ดา้ ยเม่อื เรม่ิ ข้นึ ดา้ ยทอผ้าและใช้เก็บม้วนผ้าส่วนที่ทอ ภาพท่ี ๓๕ ไม้พันผา้ (เคอ่ ไถ่ย) ๑.๓ ไม้กระทบ (เน่ยบะ) คือ ไม้กระทบผ้า ทำจากไม้มะเกลือ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งจะเหลาเรียวแหลมเป็นคางหมูใช้แยกด้ายยืนให้มีช่วงกว้างขึ้น เพื่อสะดวกในการสอดด้าย ขวางและใช้กระทบด้ายขวางให้แน่น ภาพท่ี ๓๖ ไม้กระทบ (เน่ยบะ) ๑.๔ ไม้แยกด้าย (กงคู๊) คือ ไมแ้ ยกด้ายยืนออกตามแนวของตะกอ ทำจากไม้ไผ่ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร เพื่อให้เกิดช่องว่างสำหรับเส้นด้ายพุ่ง และสอดไม้กระทบเข้าไปได้ เพื่อแกะดอกให้เกิด ลวดลายและทอพนื้ ภาพที่ ๓๗ ไมแ้ ยกด้าย (กงคู๊) ๑.๕ ไม้ไบ่หรือว้าบัง เป็นไม้จุดเริ่มต้นของการพันด้ายหรือใช้คล้องด้ายตะกรอ เพื่อแบ่ง เส้นด้ายยืน ใช้กำหนดแนวและจัดระเบียบเส้นด้ายยืนก่อนผ่านตะกรอและใช้เลื่อนผ้า ทำจากไม้ไผ่กลม เรยี ว ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ภาพท่ี ๓๘ ไม้ไบ่ ~ ๑๘ ~
๑.๖ ทะค่เู ถงิ คอื ไม้ไผเ่ จาะรูทงั้ ๒ ขา้ งใหส้ ำหรับยึดเคร่ืองทอ ภาพท่ี ๓๙ ทะค่เู ถิง ๑.๗ เสย่ ถงึ หรือใสร่ ุ้ง คอื ไมใ้ ส่ด้าย ทำจากไม้กลมหนาประมาณ ๑ นวิ้ ความยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ใช้สำหรบั ใส่เส้นดา้ ยที่ขน้ึ เครื่องทอผ้าเสร็จแลว้ นำไปสอดใส่กบั รูไม้ทะคเู่ ถงิ เพ่ือยดึ เคร่ืองทอ ภาพที่ ๔๐ เสย่ ถงึ ๑.๘ ลุงทยุ้ คือ ไมม้ ว้ นด้ายพุ่งใชส้ ำหรบั สอดดา้ ยพุ่ง ภาพที่ ๔๑ ลงุ ทุ้ย ๑.๙ คะญา่ ยสงุ คอื ไม้สำหรับยันเทา้ สำหรบั ควบคุมให้ดา้ ยยืนตึงหรอื หย่อนในระหว่างการทอ ภาพที่ ๔๒ คะญา่ ยสุง ~ ๑๙ ~
๒. อปุ กรณ์ป่นั ด้าย ๒.๑ คลงึ ลงุ หรอื ระวิง ๒.๒ เขล๊ หรือไนหัน ๓. อุปกรณ์การต้มยอ้ ม ๓.๑ หม้อยอ้ มหรือภาชนะการตม้ ย้อมสี ใช้หมอ้ สแตนเลสทมี่ ขี นาดใหญ่ ๓.๒ มดี ใช้สำหรบั ปอกเปลอื กต้นไม้หรือใช้สบั เปลอื กไม้ให้ละเอยี ด ๓.๓ เขียงใชส้ ำหรบั รองสับเปลือกไม้ ๓.๔ ครกและสากกระเดื่อง ชำ้ หรับตำมะเกลอื และเปลอื กไม้ ๓.๕ เตาและฟืน ใช้เตาถา่ นหรือเตาแกส๊ ๓.๖ ไม้กดผ้า ใชส้ ำหรับกวนพลกิ เสน้ ด้ายขณะยอ้ ม ๔. อปุ กรณป์ ักผ้ากะเหรยี่ ง ๔.๑ เส้นด้าย ๔.๒ เข็ม ๔.๓ ขผี้ ้งึ ๕. อปุ กรณใ์ นการมดั เส้นด้าย ๕.๑ เชอื กกลว้ ย เชือกฟาง ๕.๒ ไมแ้ ยกดา้ ย ๕.๓ กรรไกร ๖. วัตถุดิบในการทอและการย้อมสี ๖.๑ เสน้ ด้าย ๖.๒ เส้นไหมประดิษฐ์ ๖.๓ พืชที่ใช้ย้อมสี ได้แก่ ไม้ฝาง ขมิ้น ไม้ขนุน ใบหูกวาง หมาก ยอป่า นมควาย ประดู่ป่า คำแสด อญั ชัน ๖.๔ สารสม้ ปนู แดง แป้งข้าวโพด ข้าวสุก วธิ ีการยอ้ มเสน้ ดา้ ย การย้อมเสน้ ดา้ ยจากสีธรรมชาตมิ หี ลายสีทแ่ี ตกตา่ งกนั ข้นึ อยชู่ นิดของพชื ย้อมสี มีดงั น้ี ๑. วิธีการย้อมแกน่ แกแล นำแก่นแกแลตากให้แห้ง มาผ่าเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่หม้อต้มเติมน้ำสะอาด ต้มให้เกิดน้ำสี นำ เส้นดา้ ยชบุ น้ำ แลว้ คลเี่ ส้นด้ายลงแชใ่ นนำ้ สีแล้วตม้ ดว้ ยไฟปานกลางใหเ้ ดือดประมาณ ๑ ช่ัวโมง หม่ันพลิก กลับเส้นด้ายไปมา เพื่อให้เส้นด้ายติดน้ำสี บิดเส้นด้ายให้หมาด ผ่ึงแดดใหแ้ ห้ง แลว้ นำมาตม้ ย้อมสีซ้ำกัน อีกได้หลายครั้ง จนได้สีเหลืองที่ต้องการ ผึ่งแดดให้แห้ง ขั้นตอนสุดท้ายนำเส้นด้ายชุบน้ำให้เปียก ต้ม กับข้าวสาร ๑ กำมือ ผ่ึงแดดใหแ้ หง้ แล้ว ใช้เปลอื กมะพรา้ วหวีเส้นด้ายไม่ให้พนั กนั ๒. วธิ ีการย้อมไมข้ ีห้ นอนหรือล่าหม้ึยโจ นำเปลอื กไม้ขีห้ นอนหรือลา่ หมึ้ยโจ หน่ั เป็นช้ินเลก็ ๆ ใสห่ ม้อตม้ เติมนำ้ สะอาด ต้มให้เกิดน้ำสี นำเส้นด้ายชุบน้ำ แล้วคลี่เส้นด้ายลงแช่ในน้ำสีแล้วต้มด้วยไฟปานกลางให้เดือดประมาณ ๑ ชั่วโมง หมั่น พลิกกลับเส้นด้ายไปมา เพื่อให้เส้นด้ายติดน้ำสี บิดเส้นด้ายให้หมาด ผึ่งแดดให้แห้ง แล้วนำมาต้มย้อมสี ~ ๒๐ ~
ซ้ำกนั อกี ไดห้ ลายครัง้ จนไดส้ เี หลืองทีต่ อ้ งการ ผ่ึงแดดให้แหง้ ขั้นตอนสุดทา้ ยนำเส้นด้ายชบุ นำ้ ให้เปียก ตม้ กับขา้ วสาร ๑ กำมอื ผ่งึ แดดให้แหง้ แล้ว ใชเ้ ปลอื กมะพรา้ วหวเี สน้ ดา้ ยไมใ่ ห้พนั กนั ๓. วธิ กี ารย้อมคำแสดหรือมะเกซา นำเม็ดคำแสดแก่ไปตำให้แตกจนเกิดน้ำสี ตำขมิ้นให้ละเอียดลงในหม้อต้ม เติมน้ำสะอาด ต้ม ด้วยไฟปานกลางให้เดือดจนเกิดน้ำสีส้มเหลือง นำเส้นด้ายชุบน้ำบิดพอหมาดลงย้อมในหม้อต้มน้ำสี หมั่น พลิกเส้นด้ายกลับไปกลับมาให้ทั่ว ใส่ปูนแดง ๑ ช้อน เพื่อให้มีสีเข้มขึ้นและกันสีตก ล้างน้ำให้สะอาด บิดให้ หมาด ผง่ึ ใหแ้ หง้ ๔. วธิ กี ารย้อมแกน่ ขนุน แบบที่ ๑ นำแก่นขนุนที่แห้งแลว้ มาห่ันบางๆ ใช้มอื ขยำนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๔-๕ ช่วั โมง เมื่อได้ น้ำสีเหลือง นำเส้นด้ายไปชุบน้ำให้เปียก บิดกระตุกให้เส้นด้ายเรียงเส้นลงย้อมในน้ำสี หมั่นพลิกกลับ เส้นดา้ ยอยู่เสมอประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง บิดใหห้ มาด ตากให้แห้ง ๕. วิธีการย้อมแกน่ ขนนุ แบบท่ี ๒ นำแกน่ ขนนุ ทแ่ี หง้ แลว้ มาหัน่ เป็นชนิ้ เล็กๆ ตำขม้ินให้ละเอยี ดใส่ในหม้อตม้ เติมน้ำสะอาด ต้ม ด้วยไฟปานกลางใหเ้ ดอื ดจนเกิดน้ำสีประมาณ ๔-๕ ชั่วโมง นำเส้นด้ายชุบนำ้ แล้วคลี่เสน้ ดา้ ยแช่ลงในน้ำสี ต้มให้เดือดประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง หมั่นพลิกเส้นด้ายให้น้ำสีซึมติดเส้นด้ายให้ทั่ว ใส่ปูนแดง ๑ ช้อน เพ่ือ เพ่ิมความเขม้ ของสแี ละกนั สตี ก ตม้ ย้อมซ้ำกนั หลายครั้งจนได้สีเหลืองที่ตอ้ งการ ล้างนำ้ เปลา่ ใหส้ ะอาด บิด ให้หมาด ผึง่ ให้แหง้ ๖. วิธกี ารยอ้ มขมิน้ นำหัวขมิ้นล้างน้ำให้สะอาด ตำพอแหลกผสมกับน้ำเปล่าและใส่ปูนแดง แล้วนำด้ายลงแช่ พร้อมทั้งนวดจนเปียก จากนั้นตั้งไฟปานกลาง ต้มเส้นด้ายกับน้ำสีให้เดือดประมาณ ๓๐ นาที หมั่นกลับ เส้นด้ายอยเู่ สมอ หลังจากเสร็จแลว้ ยกด้ายขน้ึ ตากแดดจนแห้ง ต้องการเพมิ่ ความเข้มข้นของสีและป้องกันสี ตก ใส่ปนู แดงลงในน้ำยอ้ มคร้ังที่ ๒ อกี เลก็ นอ้ ย ๗. วิธีการย้อมเปลอื กประดู่ นำเปลือกประดู่มาสับเป็นชิ้น เติมน้ำสะอาด ต้มให้เกิดน้ำสีประมาณ ๑ ชั่วโมง นำเส้นด้าย ชบุ น้ำบิดใหห้ มาด คลีเ่ สน้ ดา้ ย นำลงต้มในนำ้ ย้อมสีแดงออกนำ้ ตาล หมนั่ พลิกเสน้ ดา้ ยกลับไปมาให้น้ำสีซึม ติดเส้นด้ายประมาณ ๑ ชั่วโมง บิดให้หมาดแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าต้องการสีเข้มนำมาต้มย้อมซ้ำกันหลาย ครัง้ จนได้สนี ำ้ ตาลเขม้ ผึง่ แดดใหแ้ หง้ วธิ กี ารทอผ้ากะเหรยี่ ง วิธกี ารทอธรรมดา ทอธรรมดา เป็นการทอลายขัดมีโครงสร้างหลัก โดยการสอดด้ายขวางเข้าไประหว่างเส้นด้าย ยืนสลับข้ึนลง ๑ ลง ๑ หรือขึ้น ๒ ลง ๒ ตามจำนวนเส้นด้ายท่ีเรียงไว้ขณะขึ้นเคร่ืองทอ ผ้าที่ได้จะมีสีเดียว ตลอดทั้งผืน เรียบสม่ำเสมอเป็น วิธีการทอขั้นพื้นฐาน ใช้สำหรับทอเย็บชุดเดก็ หญิง เสื้อผ้าหญิงทีแ่ ต่งงาน แลว้ ยา่ มกะเหรย่ี ง ผ้าถุงลายมดั หม่ี การทอธรรมดาจะใช้แบบด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่งจะมจี ำนวนเท่ากันท้ัง ผืน วิธีการทอมีดังน้ี ด้ายพุ่ง ด้านสอดอยู่ทางซ้ายมือ ตั้งไม้ตี สอดด้ายพุ่ง มาทางขวามือ ตีผ้า ๒ คร้ัง รูดกระบอกไม้ไผ่ มาติดตะกอ ๑ เกิดช่องว่าง ล่างตะกอ ๑ สอดไม้ตีผ้า ๒ ครั้ง ตั้งไม้ตีผ้า สอดด้าย พุง่ กลบั ไปทางซ้ายมือแล้วตผี ้า ๒ ครัง้ ดันกระบอกไม้ไผ่ ไปตดิ ตะกอ ๒ ยกตะกอ ๑ ใหต้ รงขึ้นดันกระบอก ~ ๒๑ ~
ไม้ไผ่ทับตะกอ ๒ กดตะกอ ๒ เกิดช่องว่างล่างตะกอ ๑ สอดไม้ตีผ้า ๒ ครั้ง ตั้งไม้ตีผ้า สอดด้ายพุ่งมาทาง ขวามือ ทำแบบนีเ้ รื่อยๆ จะไดผ้ า้ พืน้ วิธกี ารทอลวดลายจก วธิ ีการทำผา้ จกมีลายหลาย เช่น ลายโพว่เซย มีวธิ กี ารทอ ดงั นี้ แยกตะกอ ๒ (บน) แกะดอก เริม่ ตน้ ซา้ ยใส่ ๑ กอ้ น เวน้ ๒ ก้อน หมดแถว ทา่ ยกตะกอ สอดดา้ ยพุ่ง แยก ตะกอ ๒ (ล่าง) แกะดอกใส่ ๒ ก้อน เว้น ๑ ก้อน ท่ารูดรวบตะกอ สอดด้ายพุ่ง แยกตะกอ ๒ (บน) แกะดอกใส่ ๓ ก้อน ตลอดสีตลอดแถวไม่เว้นก้อนด้าย ท่ายกตะกอ สอดด้ายพุ่ง แยกตะกอ ๒ (ล่าง) แกะดอกใส่ ๒ ก้อน เว้น ๑ ก้อน ท่ารดู รวบตะกอ สอดดา้ ยพงุ่ แยกตะกอ ๒ (บน) แกะดอกใส่ ๑ ใสก่ อ้ น เว้น ๒ ก้อน ทา่ ยกตะกอ สอดด้ายพงุ่ ลายเคย้ เก๊ยหรือลายปนั่ ด้าย มีวิธกี ารทอ ดังนี้ แยกตะกอ ๒ (ล่าง) แกะดอก เริ่มต้นซ้าย ใส่ม่วง ๒ ก้อน เว้น ๑ ก้อน ใส่ขาว ๒ ก้อน เว้น ๑ ก้อน ทำหมดแถว ท่ายกตะกอ สอดด้ายพุ่ง แยกตะกอ ๒ (บน) แกะดอก ใส่ม่วง ๒ ก้อน เว้น ๑ ก้อน ใส่ขาว ๒ กอ้ น เว้น ๑ กอ้ น ท่ารดู รวบตะกอ สอดดา้ ยพุ่ง แยกตะกอ ๒ (ลา่ ง) แกะดอก ใส่มว่ ง ๒ กอ้ น เว้น ๑ กอ้ น ใสข่ าว ๒ กอ้ น เวน้ ๑ กอ้ น ท่ายกตะกอ สอดด้ายพงุ่ แยกตะกอ ๒ (บน) แกะดอก ใสม่ ่วง ๒ ก้อน เวน้ ๑ ก้อน ใส่ขาว ๒ กอ้ น เว้น ๑ กอ้ น ทา่ รูดรวบตะกอ สอดด้ายพงุ่ ความเชื่อหรอื ข้อห้ามการทอผา้ กะเหร่ียง ๑. ความเช่อื เกย่ี วกบั ไมย้ อ้ มสีธรรมชาตแิ ละนำ้ มนั สัตว์ ในอดตี นน้ั จะเช่อื ว่าไม้ที่ใช้ย้อมสีและที่ ใช้ย้อมสีแดงคือ ต้นยอป่าหรือขุ เชื่อกันว่าเป็นไม้อาถรรพ์ ก่อนจะทำการย้อมสีจะต้องทำพิธีขอขมาต้นไม้ วิธีบูชาใช้ดอกไม้ ธูปเทียน บุหรี่ กล่าวขอไม้ไปใช้ย้อม ขออย่าให้มีปัญหาอะไร เรื่องร้ายอย่าให้เกิดขึ้น ถ้าทำการย้อมผิดขั้นตอนไม่บอกครู ผิดผี คนทั้งหมดในบ้านจะเป็นอันตราย เข้าป่าเสือจะกัด หรือคนใน บ้านไม่เหลือเลย อยู่เฉยๆ ก็จะป่วยตาย” หลังจากย้อมสีเสร็จแล้ว ขออย่าให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ชาว กะเหรยี่ งมคี วามเช่ือและวธิ ีการแกเ้ คล็ด ให้เอาไม้ไผ่มาหนึ่งลำ เอามาผา่ ออกเปน็ ๔ สว่ น สานให้เป็นกรวย ข้ึน นำเศษด้ายที่ย้อมสีธรรมชาติและเศษเปลือกไม้ที่ใช้ย้อม ใส่ลงไปในกรวยไม้ไผ่ ถุยน้ำลาย ๓ ครั้ง แล้ว กล่าว อย่าให้มีฟ้าผ่า อย่าให้มีเสือกัด ว่าไปหลายอย่าง อย่าให้เป็นอันตราย ก็เป็นอันเสร็จพิธี หากไม่ทำ เช่นนี้ คนในครอบครัวของผู้ย้อมเมื่อเข้าป่าจะถูกเสือกัด งูกัดหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ขณะที่เข้าป่า” ส่วน น้ำมนั สัตว์ เชน่ นำ้ มันเสอื นำ้ มันหมี น้ำมนั จระเข้ หรอื นำ้ มนั สตั ว์อืน่ ๆ ทเ่ี ป็นสัตว์ร้ายในป่า ท่ีนำมาใช้เป็น ส่วนผสมของการนวดเส้นด้ายแล้วย้อมสี ชาวกะเหรี่ยงเชื่อกันว่าวิญญาณสัตว์ป่าจะมาทำร้ายผู้ย้อมสีและ ครอบครัวหรืออาจเกิดอบุ ัติเหตุ ๒. ข้อหา้ มปฏิบัติ ๒.๑ ห้ามไม่ให้คุยขณะย้อมผ้า ชาวกะเหรี่ยงจะสั่งสอนบุตรหลานว่า ขณะที่ย้อมผ้าห้ามคุย กัน เพราะถา้ ชวนคยุ ขณะยอ้ มสจี ะทำให้ทำงานไมเ่ สรจ็ ๒.๒ ห้ามไม่ให้ย้อมสีเส้นด้ายในวันที่มีคนตาย ชาวกะเหรี่ยงจะไม่ย้อมสีในวันที่คนตาย ในหมู่บ้าน เพราะว่าจะไม่เป็นมงคลแก่คนตาย และจะมีอุปสรรคต่างๆแก่คนในครอบครัว เมื่อพิจารณา ขอ้ หา้ มมใิ ห้คนทำงาน แต่ตอ้ งการให้คนในครอบครวั ไปชว่ ยงานศพของคนในหมู่บ้าน นับว่าเป็นภูมิปัญญา ทีท่ ำใหเ้ กดิ ความสามัคคตี ่อกนั ในชุมชน ~ ๒๒ ~
๒.๓ ห้ามยอ้ มสีเสน้ ดา้ ยท่นี วดเส้นด้ายด้วยน้ำมนั สตั วภ์ ายในบา้ น ให้ย้อมสีนอกหมู่บ้าน หรือ ต้มในป่าริมห้วย เพราะเชื่อว่าหากย้อมไม่ดีฟ้าจะผ่า พิจารณาข้อห้ามเนื่องจากการย้อมสีต้องใช้น้ำในการ ย้อมสีและมีควนั ไฟ จงึ ไมใ่ ห้ควันรบกวนคนในบ้านและเพ่อื สะดวกต่อการซักล้าง ๒.๔ หา้ มเยบ็ ผา้ ขาดในเวลากลางคืน เพราะเชอื่ ว่าจะออกลกู ยาก ๒.๕ หา้ มมใิ ห้ผู้ท่ที ำการยอ้ มสีเส้นดา้ ยตักข้าวในหม้อรับประทาน แตใ่ หผ้ ูอ้ ่ืนตักให้ เพราะเชื่อ ว่าเส้นด้ายที่ย้อมจะไม่ติดสี ซึ่งพิจารณาข้อห้ามพบว่าผู้ที่ทำการย้อมสีอาจจะเหน็ดเหนื่อยและมือเปื้อน ดังนั้นข้อห้ามจึงเป็นภมู ิปญั ญาเพือ่ ใหผ้ ทู้ ี่ทำงานไดพ้ ักผอ่ นจากการทำงาน ๒.๖ ห้ามนำเอาไม้ย้อมสีเข้าบ้านโดยเฉพาะไม้ขุ ต้องย้อมในป่าหรือท่าน้ำหรือที่ร่มเท่าน้ัน เมื่อยอ้ มสีเสร็จเรยี บร้อยแล้ว คนในบ้านจะเท่ยี วปา่ ไม่ได้ เพราะเช่ือว่าจะถูกงูกัดหรือเสือกัดตายหรือฟ้าผ่า เคยมีคนย้อมสแี ล้วทำไม่ถกู วิธี ไมเ่ ชื่อถอื ตามคำบอกเลา่ โบราณ ถกู งูกดั ตาย ๒.๗ ห้ามคนย้อมสีรากไม้ขุเข้าบ้าน หากย้อมสีไม่เสร็จ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น เพราะเชื่อว่าคน ในครอบครัวจะเป็นอันตราย เมื่อพิจารณาข้อห้าม อาจเป็นเพราะว่าการย้อมสีธรรมชาติใช้เวลานานต้อง ยอ้ มใหเ้ สร็จเรียบรอ้ ย หากทำไมต่ อ่ เนอื่ ง ดา้ ยทย่ี ้อมสีจะไมต่ ิดสไี ดด้ ี ~ ๒๓ ~
สว่ นท่ี ๒ คุณคา่ และบทบาทของวิถีชุมชนที่มีตอ่ มรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรม ๑. คณุ คา่ ของมรดกภมู ปิ ัญญาทางวฒั นธรรมทสี่ ำคญั คณุ คา่ ของมรดกภมู ิปัญญาทางวฒั นธรรมผ้าทอกะเหร่ยี ง คุณคา่ ของผา้ ทอกะเหรีย่ งท่มี ี ชุมชนมีดงั นี้ ๑. คุณคา่ ดา้ นการอนรุ ักษส์ บื สานภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรีย่ งให้สบื ทอดถงึ ลูกหลาน ปลูกฝังให้ มีจิตสำนึก เห็นคุณค่าของผ้าทอ โดยวิธีการเล่าเรื่องราวจากความสำคัญของผ้าทอจากอดีตมาจน ปัจจุบนั ทม่ี คี วามเก่ยี วขอ้ งกบั ชุมชนกะเหรีย่ งอย่างไร และการนำไปใชใ้ นชีวิตประจำวัน ๒. คณุ ค่าทางวฒั นธรรม ผ้าทอกะเหรย่ี งนบั ว่าเปน็ ภูมปิ ัญญาเชงิ ช่างที่สะท้อนวฒั นธรรมของ ชาวกะเหรี่ยงในเรื่องการทอผ้ากับผู้หญิงกะเหรี่ยง เนื่องจากในอดีตนั้นการดำรงชีวิตของกะเหรี่ยง มีความผูกพันกับความเชื่อ ค่านิยม และประเพณีปฏิบัติ สำหรับประเพณีการถ่ายทอดความรู้ด้านการ ทอผ้านั้นจะยึดถือประเพณีดั้งเดิมคือ ทอผ้าเฉพาะผู้หญิงกะเหรี่ยงเท่านั้น ซึ่งจะเริ่มต้นถ่ายทอด เมื่อเด็กหญิงอายุประมาณ ๖-๘ ขวบ โดยเรียนรู้จากแม่ ย่า ยาย และต้องฝึกจากการทอย่ามก่อน เมื่อทอได้แล้วจึงเริม่ ทอผา้ ชิน้ ใหญ่เป็นเสื้อผ้า ทอเป็นลวดลาย และเมื่อโตมีครอบครัวผู้หญิงกะเหรี่ยงก็ ต้องทอผ้าให้คนในครอบครัวได้ การทอผ้ากะเหรี่ยงประกอบด้วยหลายขั้นตอนการที่มีแฝงความเชื่อ และความหมายในการดำรงชีวิตของชาวกะเหรี่ยง แม้ว่าในปัจจุบันวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างของ ชุมชนจะหายไป เช่น ประเพณีไหว้ต้นไม้ ประเพณีย่องสาว แต่ผ้ากะเหรี่ยงยังคงถูกนำไปใช้ในงาน วัฒนธรรมกะเหร่ียงในเชิงสัญลกั ษณ์ของชนเผ่ากะเหร่ียงในงานประเพณีกินข้าวห่อ และอื่นๆ นับว่าผา้ ทอเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทม่ี คี ุณคา่ ยิ่งของชาวกะเหร่ยี ง ๓. คุณค่าทางเศรษฐกจิ นบั ต้งั แตห่ ลายหน่วยงานเขา้ ไปส่งเสริมการรวมกลุ่มทอผา้ กะเหร่ียง และสนับสนนุ ให้เป็นอาชีพเสริมในชมุ ชน และยงั ผลักดันเป็นผลิตภัณฑช์ ุมชนที่เป็น OTOP ของจังหวัด ราชบุรีและ ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น การทอผ้ากะเหรี่ยงช่วยสร้างได้ให้กับครอบครัว ผ้ากะเหรี่ยง ชุดกะเหร่ยี ง ผา้ ซ่ิน และเส้อื กะเหรย่ี ง ราคาประมาณเกือบหมื่นบาท ส่วนผ้าทอกะเหรี่ยงแปรรูปก็สร้าง รายไดใ้ ห้กบั ชมุ ชน ๔. คุณค่าทางศิลปะ ผ้าทอกะเหรี่ยงมีคุณค่าทางความงามและศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงความ สวยงามของลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยง ด้วยความงามของฝีมือเชิงช่างที่มีความประณีตการทอต้องทอให้ แน่นละเอยี ด เทคนิคและวิธีการปักลวดลาย สม่ำเสมอ สที ี่นิยมใช้ ไดแ้ ก่ สีดำ สกี รมท่า สีแดง สีเหลือง เลือกใช้สีเส้นด้ายต้องสีสดใสใช้สลับสีในการแกะดอกหรือจกดอกให้เกิดลวดลาย การตกแต่งวัสดุอื่นๆ ลงบนผ้ากะเหรี่ยงให้เกิดความน่าสนใจ เช่น ตกแต่งลูกปัดลงบนย่ามหรือชายเสื้อ และชายผ้าซ่ิน กะเหรี่ยง ๕. คุณคา่ ทางการศึกษา ภูมิปัญญาผา้ ทอกะเหร่ียงได้รวบรวมเปน็ องค์ความรู้เก่ียวกับการทอ ผ้ากะเหรี่ยงจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น จัดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษาของ ๓ ชุมชน และยัง เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้สนใจในพื้นที่ได้มาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ความรู้ได้แพร่หลายเป็นที่ รู้จกั มากข้ึน ๖. คุณคา่ ทมี่ ีต่อวิถีชีวิต ผ้าทอกะเหร่ยี งมีบทบาทสำคัญต่อวิถชี ีวติ ของคนกะเหร่ียงเป็นอย่าง มาก ในอดีตนั้นผู้หญิงกะเหรี่ยงจะต้องทอผ้าไว้ใช้เอง เตรียมให้ลูกหลานใช้ ปัจจุบันผู้หญิงกะเหรี่ยงก็ ยังคงทอไว้ใช้จะสวมใส่ในงานกิจกรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยง เช่น กินข้าวห่อกะเหรี่ยง งานวัน ประเพณีเวียนศาลา เปน็ ต้น มีราคาแพงชุดละเปน็ หมนื่ บาท หากทอเองไดก้ ็จะประหยัด ~ ๒๔ ~
๗. คุณค่าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ผ้าทอกะเหรี่ยงมีส่วนช่วยในเรื่องของการส่งเสริม การท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมที่นำภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงมาเป็นต้นทุนสู่การพัฒนาในการท่องเที่ยว เช่น การตั้งศูนย์เปิดให้นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจเข้ามาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและ การศกึ ษาใชเ้ ปน็ สถานทีเ่ รียนรกู้ ารทอผ้า การจำหน่ายผลิตภณั ฑผ์ ้าทอกะเหรย่ี ง ๒. บทบาทของชุมชนที่มีต่อมรดกภูมิปัญญาทางวฒั นธรรม จากการประชุมแบบมีส่วนร่วมเกี่ยวการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทาง วฒั นธรรม สรุปไดด้ ังนี้ ๑. การจะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ คนในชุมชน เยาวชนใน ชุมชนจะต้องตระหนักถึงสิ่งดีๆ ที่บรรพบุรุษสร้างสรรค์ขึ้นมา ไม่ลบหลู่รากเหง้าของตัวเองไม่ต้องอาย ที่จะประกาศตัวเองว่าเป็นชนกลุ่มต่าง ๆ ในทางตรงกันข้ามจะต้องสร้างความภาคภูมิใจให้คนในชุมชน ท่ีเรามเี อกลกั ษณ์ เปน็ ของตนเอง ชว่ ยกันสง่ เสริมสนบั สนุนให้เปน็ ทป่ี ระจักษ์ตอ่ สายตาคนภายนอก ๒. ส่วนราชการจัดงบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการทอผ้ากะเหรี่ยงไว้ทุกปี โดยเป็นโครงการต่อเนื่องหรือบรรจุไว้ในแผนงานประจำปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ผ้าทอกะเหรี่ยงไว้ใน อนาคตและเปน็ ประโยชนต์ อ่ ศกึ ษาและอาชีพในชุมชน ๓. หน่วยงานภาครัฐ เช่น องค์การบริการส่วนตำบลยางหัก ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ ๔๙ ราชบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีได้จัดการกระตุ้นส่งเสริม และสนับสนุนการสืบทอดผ้าทอ กะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดงบประมาณสนับสนุนการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ผ้าทอกะเหรี่ยง สนับสนนุ วัสดุ อุปกรณ์ วทิ ยากร เปน็ ต้น ๔. ร่วมกันจัดการเก็บรวบรวมองค์ความรู้ผ้าทอกะเหรี่ยงอย่างเป็นระบบ แล้วนำข้อมูล เผยแพรป่ ระชาสัมพันธใ์ หเ้ ป็นท่รี ู้จักอย่างแพรห่ ลาย ๕. เป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้วิธีการผ้าทอกะเหรี่ยง แล้วถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ วัฒนธรรมทอ้ งถ่ิน ขยายผลถา่ ยทอดวิธกี ารทอผ้ากะเหรี่ยงให้กับชุมชนกะเหรี่ยงในพ้ืนท่ี อื่นๆ ในตำบล ตะนาวศรี ตำบลสวนผึ้ง ตำบลบ้านคา ตำบลบ้านบึง ให้เห็นคุณค่าและความสำคัญในการสร้างอาชีพ เป็นรายได้เสริมช่วยเหลอื ครอบครวั ๖. เข้าร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีหรืองานเทศกาลหรือวันสำคัญทางราชการ ส่งเสริม ใหค้ นในชมุ ชนและหน่วยงานภาครัฐ โรงเรียนในพ้ืนท่ีใช้เคร่ืองแตง่ กายชดุ กะเหรี่ยงแสดงเอกลกั ษณ์ของ ทอ้ งถิน่ ~ ๒๕ ~
ส่วนที่ ๓ มาตรการในการส่งเสรมิ และรกั ษามรดกภมู ปิ ัญญาทางวฒั นธรรม ๑. โครงการ กจิ กรรมทีม่ ีการดำเนินงานของรายการมรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรม การศกึ ษา วิจัย (ระบุวิธดี ำเนินงาน พืน้ ที่ ชุมชน ระยะเวลา และงบประมาณ) งานศลิ ปหตั ถกรรมผ้าทอกะเหรี่ยง มหาวิทยาลัยราชภฏั หมู่บา้ นจอมบึง โดยปรียาพร ทองผุด ได้ศึกษาเป็นงานวิจัย แล้วเขียนบทความวิชาการในประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ประวัติความเป็นมา ลวดลายผา้ ทอ วธิ กี ารยอ้ มสี แนวทางการอนรุ กั ษผ์ ้าทอกะเหรีย่ ง นำเสนอได้ดงั นี้ ปรียาพร บุษบา (๒๕๕๒) ได้ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยง รวมทั้งค้นหา เอกลกั ษณ์ของผา้ ทอกะเหรย่ี ง และเพอ่ื หาแนวทางในการอนรุ ักษ์และฟื้นฟูภมู ิปัญญาผ้าทอกะเหร่ียง ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี ผลการวิจัย สรุปว่า ๑) องค์ ความรู้และภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี มีประวัติความเป็นมาของผ้าทอกะเหรี่ยง ตั้งแต่ ในอดีตผู้หญิงชาวกะเหร่ียงจะต้องทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ได้รับการถ่ายทอดความรู้การทอผ้ามา จากบรรพบุรุษ มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้าที่สำคัญ คือ กี่เอวและใช้ฝ้ายเป็นวัตถุดิบ เริ่มตั้งแต่การปลูก ฝ้ายและย้อมสีธรรมชาติดว้ ยวัสดุในท้องถนิ่ แตป่ จั จบุ นั ขั้นตอนการเตรียมเส้นด้ายจากฝ้ายและการย้อม สีได้สูญหายไปจากชุมชน เนื่องจากมีกระบวนและขั้นตอนที่ยุ่งยาก จึงได้เปลี่ยนมาใช้ไหมสำเร็จรูปหรอื ไหมประดษิ ฐ์ ชนดิ ของผา้ ทอกะเหรี่ยงทีพ่ บ ไดแ้ ก่ เสื้อผูช้ าย เส้ือผ้หู ญงิ ผา้ ซน่ิ ย่าม ผา้ โพกหัว เปน็ ต้น ลกั ษณะลายแบง่ ออกได้ ๔ กลมุ่ คอื ลายอ่องกึย๊ หรอื ลายจก ลายออ่ งทาหรือลายยกดอก ลายหนึ่ยคั๊ย หรือลายมัดย้อม ลายเฉะหรือลายปัก ลวดลายส่วนใหญ่สืบทอดจากบรรพบุรุษคิดดัดแปลงจาก ธรรมชาติ การเลือกลายเพื่อการอนุรักษ์ คือ ลายอ่องกึ๊ยและลายเฉะ ๒) แนวทางการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาผ้าทอ ควรจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี เพื่อส่งเสริมการใช้ผ้าทอ กะเหรี่ยงในกิจกรรมต่างๆ จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นโดยเชิญช่างฝีมือทอเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ทอผ้ากะเหรี่ยงในโรงเรียน อนุรักษ์วิธีการทอผ้าแบบดั้งเดิมเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของผ้าทอท้องถิ่นไว้ สร้างความตระหนักในชุมชนให้เหน็ ความสำคัญของผ้าทอที่มตี ่อวิถชี วี ิต และยกย่องช่างฝีมือทอผ้าให้ เกิดความภูมิใจในอาชีพ ส่วนแนวทางการฟื้นฟู ควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ รณรงค์ใช้ผ้ากะเหรี่ยง พัฒนาเชิงอาชีพและเศรษฐกิจและหน่วยงานภาครัฐให้การสนั บสนุน งบประมาณ เพือ่ ให้เกิดการพัฒนาอย่างยงั่ ยนื ปรยี าพร บษุ บา (๒๕๕๕). ไดศ้ ึกษาการรวบรวมและการจดั เก็บข้อมูลผา้ ทอกะเหร่ยี งในจังหวัด ราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเรื่องผ้าทอกะเหรี่ยง ในจังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี ๒) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเก็บรวบรวม ข้อมูลผ้าทอกะเหรี่ยง เห็นคุณค่าความสำคัญของผ้าทอกะเหรี่ยงและเกิดจิตสำนึกร่วมกันที่จะ “อนุรักษ์และสืบสาน” การทอผ้ากะเหรี่ยงให้คงอยู่กับชุมชน ๓) หาแนวทางการส่งเสริมและการ รกั ษามรดกทางวัฒนธรรมผ้าทอกะเหร่ยี ง ผลการวจิ ยั พบว่า ผ้าทอกะเหรย่ี งเป็นผา้ ทอท่ีสืบทอดกันมา ในอดีตใช้ในวิถีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไปได้ถูกนำมาใช้ในงานทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย ชุดผู้ชาย เส้ือ ผู้หญิง ย่าม ลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงมี ๔ ประเภท ได้แก่ ๑) ลายจกหรือลายอ่องกึ๊ย ๒) ลายยกดอก หรือลายอ่องทา ๓) ลายมัดหมี่หรือลายหนึ่ยไก๊ย ๔) ลายปักหรือลายเฉะ การผลิตผ้าทอกะเหรี่ยง ประกอบด้วย การย้อมสี การเตรียมเครื่องทอผ้า ตั้งเครื่องทอแล้วเดินเส้นด้าย วิธีการทอและเทคนคิ การสรา้ งลวดลายมี ๔ วิธี คือ ๑) ทอธรรมดา ๒) ทอลายมัดหม่ี ๓) ทอลายยกดอก และ ๔) ทอลายจก ~ ๒๖ ~
มคี วามเชอื่ เก่ยี วกับลวดลายเสอื การยอ้ มสเี ส้นด้าย การทอผ้า ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปแตแ่ นวคดิ ความ เช่ือยงั คงอยูใ่ นชมุ ชน คณุ ค่าผ้าทอกะเหร่ียงทางวฒั นธรรม เป็นภมู ปิ ัญญาเชงิ ช่างทสี่ บื ทอดกันมาถา่ ยทอดสู่ลูกหลาน คุณค่าทางเศรษฐกิจ สร้างงานและอาชีพให้กับคนในท้องถิ่นให้มีรายได้เพิ่มขึ้น คุณค่าทางศิลปะมี คุณคา่ ทางความงามลวดลาย สีสันโครงสร้างลวดลาย วธิ ีการทอ ฝมี ือเชิงช่างท่ีมีความประณีต คุณค่า ทางการศึกษาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น จัดให้มีการเรียนการสอนเผยแพร่ความรู้ในสถานศึกษา เปิด โอกาสให้ประชาชนมาเรียนรู้ทำให้ผ้าทอกะเหรี่ยงได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น คุณค่าในกิจกรรม ประเพณีใช้สวมใส่ในงานประเพณีพิธีกรรมของชาวกะเหรี่ยง เช่น งานประเพณีกินข้าวห่อ งานวัน ประเพณีเวียนศาลา เป็นต้น และคุณค่าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้านวัฒนธรรมที่นำภูมิปัญญาผ้าทอ กะเหร่ยี งมาเปน็ ต้นทุนสู่การพัฒนาการท่องเท่ียว แนวทางการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าทอกะเหรี่ยง ได้แก่ ๑) การ อนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยง มีการจัดตั้งศูนย์ทอผ้ากะเหรีย่ ง สาธิตการทอผ้าในงานพเิ ศษ สำคัญของทางราชการ จดั ทำสอ่ื ส่งเสริมการเผยแพรข่ ้อมลู ผ้าทอกะเหร่ยี งไปตามหน่วยงานวัฒนธรรม ตลอดจนประชาสัมพันธ์ของเวบ็ ไซตท์ างอนิ เตอร์เนต็ ให้แกผ่ ู้สนใจท่ัวไป มีการพัฒนาในเชิงอาชีพและ เศรษฐกิจ ๒) การสืบสานและถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยง มีการสอนลูกหลานโดยตรง จัดการเรียนรูก้ ารทอผ้าเปน็ หลกั สูตรท้องถ่ิน โดยจัดการเรียนการสอนรว่ มกับศูนย์ทอผ้ากะเหรีย่ งท่มี ี อยู่ในชุมชน แล้วเชิญผู้ทรงภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงที่อยู่ในชุมชนไปถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียน จัด อบรมให้ความรู้เก่ยี วกับการทอผา้ กะเหรีย่ ง ๓) การพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงเป็น ผลติ ภณั ฑ์ใหม่ใหส้ อดคล้องกับความต้องการของตลาดและนำภูมิปัญญาผา้ ทอกะเหรี่ยงมาจัดหมู่บ้าน ท่องเทยี่ วเชงิ อนรุ ักษ์วถิ ชี วี ติ ชุมชน ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของมรดกภูมปิ ัญญาผ้าทอกะเหรีย่ ง มีการถ่ายทอดความรู้ที่ยังคงอยู่ ในบางครอบครวั หรือเครือญาติ มีการถา่ ยทอดความรู้ทีจ่ ัดโดยหนว่ ยงานภาครฐั จัดการเรียนสอนการ ทอผ้ากะเหรี่ยงในสถานศึกษา จัดตั้งศูนย์ทอผ้ากะเหรี่ยงภายในชมุ ชน นำผ้าทอกะเหรี่ยงไปใช้ในงาน วัฒนธรรมชุมชน ส่งเสริมเป็นอาชีพเสริม ปัจจัยที่มีผลต่อการสูญหายหรือการเปลี่ยนแปลงมรดก ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหร่ียง คือ การลดขั้นตอนการผลิต ขาดแคลนช่างทอผ้า ขาดผู้สืบทอด สภาพวิถี ชีวิตสังคมเปลี่ยนไป ความนิยมใช้ในชีวิตประจำวนั ลดลงไป ตลอดจนนโยบายภาครัฐที่เข้ามาส่งเสรมิ ใช้กี่กระตุกแทนการใช้กี่เอว ความต้องการของตลาดที่ผู้บริโภคมีความต้องการปรับเปลี่ยนเรื่องวัสดุ สสี นั ให้มจี ดุ เด่น สสี นั สะดุดตาท่ีแตกตา่ งไปจากรูปแบบเดมิ การเปล่ียนแปลงที่เกดิ ข้นึ จากการวจิ ัย ไดส้ ร้างกระบวนการมสี ว่ นรว่ มของชุมชน สบื ค้นหาองค์ ความรู้ผ้าทอกะเหรี่ยงร่วมกัน รู้จักการทำงานแบบมีส่วนร่วมสามารถใช้กระบวนการไปใช้ในการ บริหารจดั การวฒั นธรรมรว่ มกัน ไดแ้ นวทางในการร่วมกนั อนุรักษ์สืบสานผ้าทอกะเหรยี่ งให้เป็นมรดก ของทอ้ งถิ่นสืบไป อีกทง้ั ได้กระตนุ้ จิตสำนึกให้ภาคภมู ิใจในวัฒนธรรม เกิดความรักและหวงแหนมรดก ภมู ิปญั ญารว่ มกนั ปรียาพร บุษบา (๒๕๕๕) ได้ศึกษาแนวทางการฟืน้ ฟูภูมปิ ัญญาการย้อมสีของผ้าทอกะเหรี่ยง จังหวัดราชบรุ ี การวิจัยนี้มีวตั ถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษารวบรวมภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติ ๒) เพื่อ ศึกษาปญั หาและอุปสรรคของการยอ้ มสธี รรมชาติ ๓) เพ่ือหาแนวทางการอนรุ ักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญา การย้อมสีธรรมชาติของผ้าทอกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาการย้อมสี ธรรมชาติของชาวกะเหรี่ยง มีส่วนประกอบของการยอ้ มสี คอื ๑) ผา้ ทอหรือเส้นดา้ ย ๒) พืชทใ่ี ช้ย้อมสี ~ ๒๗ ~
มี ๑๓ ชนิด ได้แก่ ยอป่า (ขุ) นมควาย (ตะปู้ยู้) กะพงแดงหรือปอสำโรง (โซ่บอง) รางจืด (จังกะเลิง) ประดู่ป่า (ประดง) ฝาง (ตะงาย) มะเกลือ มะเดื่อชุมพร (กุ๊ง) ขนุน (โน้ย) ขมิ้น (ยาบัง) เข, แกแล ขี้หนอน (ล่าหมึ่ยโจ) คำแสด (มะเก) ๓) สารช่วยติดสี มี ๔ ชนิด ได้แก่ โคลน ปูนแดง ใบมะไฟ และ น้ำด่าง มีกระบวนการย้อมสี คือ เตรียมวัตถดุ บิ และการสกัดสี ใช้วิธีการตำและการต้มเปลือกไม้ การ ทำความสะอาดเส้นด้ายด้วยวิธีการชุบน้ำบีบให้หมาด แล้วนำเส้นด้ายไปย้อมสี ด้วยวิธีการย้อมร้อน และการย้อมเย็น การย้อมเส้นด้ายให้เกิดลวดลายใช้กาบกล้วยห่อมัดเส้นด้ายแล้วย้อมสี เรียกว่า “ลายมัดหม่ี” มีหลายลาย เช่น ลายยึงมิฉาคั่งไถ่ ลายอะเฉซัว ลายอะคั่วพู่ ลายมิซาโด่ง เป็นต้น มีความสัมพันธ์ของการย้อมสีกับวิถีชีวิต ด้วยการรู้จักนำทรัพยากรป่าไม้มาใช้กับงานศิลปหัตถกรรม ผา้ ทอ มีความเช่ือและข้อห้ามขณะปฏบิ ัตกิ ารย้อมสเี กย่ี วกับไมย้ ้อมสแี ละน้ำมันสัตว์ ปญั หาและอปุ สรรคของการย้อมสธี รรมชาติ พบวา่ กระบวนการยอ้ มสี มหี ลายขนั้ ตอน ยุ่งยาก ใช้เวลานาน คุณภาพของการย้อมสีไม่ได้มาตรฐาน วัตถุดิบทีใ่ ช้ย้อมมีน้อย หายาก ไม่เพียงพอต่อการ ย้อมในแต่ละคร้งั ไม่มีวัตถุดิบอ่ืนมาทดแทน จึงเปลย่ี นมาใช้สีวิทยาศาสตร์หรือเส้นด้ายสำเร็จรูป การ สบื ทอดภมู ปิ ญั ญากำลังจะหายไป เพราะผู้ที่มคี วามรู้ในการยอ้ มสีของชาวกะเหรีย่ งได้ล่วงลับไป ไม่ได้ ถ่ายทอดความรู้ไว้ คนรุ่นหลังไม่เห็นคุณค่า ไม่สนใจที่จะสืบทอดความรู้ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากเส้นด้ายย้อมสีธรรมชาติ ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้ซื้อ เพราะสีซีดจาง ไม่น่าสนใจ และขาดการออกแบบผลิตภัณฑ์ แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติ ๑) ควรสร้างความตระหนักให้ ชุมชนมีส่วนรว่ มและเห็นคุณค่าความสำคญั ของการย้อมสีธรรมชาติของผ้าทอกะเหรีย่ งท่ีมีต่อวิถชี วี ติ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๒) ควรจัดการฟื้นฟูช่างฝีมือจัดอบรมให้ความรู้การย้อมสี จัดทำ หลักสูตรท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าทอและย้อมสีธรรมชาติ อนุรักษ์ลวดลายและ วธิ กี ารทอแบบดง้ั เดมิ ๓) ควรอนุรักษ์พันธไุ์ ม้และปลูกพืชทดแทนไวย้ อ้ มสีอยา่ งต่อเน่ือง ๔) ควรพัฒนา กระบวนการย้อมสีให้มีคุณภาพ ๕) ควรออกแบบผลิตภัณฑ์บนฐานภมู ิปัญญาด้ังเดิมรักษาเอกลกั ษณ์ ของท้องถิ่นมีรูปแบบความงามและประโยชน์ใช้สอยสอดคล้องกับความต้องการของตลาด กำหนด ราคาทีเ่ หมาะสม จัดสถานทจ่ี ำหนา่ ย เช่น ออกรา้ นของหน่วยงานราชการ สถานทีท่ อ่ งเท่ยี วในจังหวัด ราชบุรี และประชาสัมพันธ์ให้ผ้าทอมีส่วนรว่ มในกจิ กรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานประเพณี หรืองาน สำคญั ของทางราชการ ปรียาพร บุษบา (๒๕๕๖). ได้ศึกษาการออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรีย่ ง บ้านบึงเหนือ ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและความ ต้องการออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยง การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ผลิตภัณฑ์ ให้มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและหาแนวทางการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผา้ ทอกะเหรี่ยงของกลุ่มทอผ้ากะเหร่ียงบ้านบึงเหนือ ผลการวิจัยพบว่า ๑) ปญั หาการออกแบบและพัฒนารูปแบบผลติ ภัณฑผ์ า้ ทอกะเหรี่ยง คอื ไมม่ ีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มี รูปแบบใหม่ๆ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและลูกค้า เนื่องจากกลุ่มสมาชิกไม่มีความรู้เร่ือง หลักการออกแบบทางศิลปะ ไม่มีทักษะแปรรูปผลิตภัณฑ์ จึงมีความต้องการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับ หลักการออกแบบทางศิลปะ การออกแบบผลิตภัณฑ์และฝึกปฏิบัติการทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ของใช้ และของที่ระลึก ๒) ออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด ได้จัดกิจกรรมให้สมาชิกกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การวิเคราะห์ผลิตภัณ ฑ์ การศึกษาดงู านการออกแบบและพฒั นารูปแบบผลิตภัณฑ์ การอบรมเชงิ ปฏบิ ตั ิการออกแบบลวดลาย ~ ๒๘ ~
และการใชส้ ี ทดลองทอผ้า ปกั ผ้าลวดลายกะเหรี่ยง เพ่ือนำผา้ ไปออกแบบ และแปรรูปผลิตภัณฑ์ของ ใช้ของที่ระลึกให้มีความหลากหลาย เช่น กระเป๋าย่าม กระเป๋าสะพาย กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าใส่ ไอแพด กล่องใส่กระดาษทิชชู เป็นต้น ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดปัจจุบันและขยายตลาด ไปสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้ ความคิดเห็นของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะเน้นประโยชน์ใช้สอย มีความงามทางศิลปะ วัสดุที่นำมาใช้เหมาะสมในท้องถิ่นและมีแบบอย่างทางวัฒนธรรม ๓) แนวทาง การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยง ควรออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่หลากหลาย ออกแบบใหเ้ ปน็ ชุดหรือเป็นเซ็ต ปรบั ปรุงคุณภาพการเย็บให้มีความประณีต พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เป็นผ้าทอจากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ จัดทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามมีเรื่องราวของสิน ค้า ควรคำนึง ต้นทุนการผลิตและกำไรให้เหมาะสมกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับราคาขายสินค้า ควรจัด จำหน่ายในศูนย์สินค้า OTOP การจัดหน่ายตลาดหรือพื้นท่ีประจำหรอื ตลาดอื่นๆ ร้านค้าหรอื รีสอรท์ ในสถานที่ท่องเที่ยวและการจำหน่ายทางเว็บไซด์ ควรประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร และทางอินเตอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซด์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการออ กร้านแสดงสินค้าเป็นประจำจะทำใหส้ ินค้าของกลุม่ เปน็ ทรี่ ู้จักมากยงิ่ ขน้ึ การอนุรักษ์ ฟ้ืนฟู (ระบุวธิ ดี ำเนินงาน พืน้ ท่ี ชุมชน ระยะเวลา และงบประมาณ) การอนรุ ักษม์ รดกภูมิปญั ญาผ้าทอกะเหรี่ยง จากการสัมภาษณ์และจัดเวทีสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ผ้าทอกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี พบว่า ตลอดระยะเวลาท่ีผ่านมาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี หลายหนว่ ยงานเข้าไปช่วยส่งเสรมิ สนับสนุนการอนุรกั ษ์ผา้ ทอกะเหรย่ี ง มหี ลายรปู แบบดงั นี้ ๑. การจดั ตัง้ ศนู ยท์ อผ้ากะเหรย่ี งโดยเฉพาะทางจงั หวดั ราชบุรี ได้มีหลายหนว่ ยงานทเี่ ข้าไปช่วย ส่งเสรมิ กลมุ่ ทอผ้ากะเหร่ียงบา้ นบึงเหนือได้รวมกนั ข้นึ ภายในชุมชน ตอ่ มาสำนักงานวฒั นธรรมจังหวัด ราชบุรี สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวดั ราชบุรไี ด้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดตัง้ ศูนย์ทอผ้ามี วัตถุประสงค์เพื่อสืบสานภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชาวกะเหรี่ยง ได้จัด แสดงเรอ่ื งราวของผา้ ทอกะเหร่ยี ง ถา่ ยทอดความรูใ้ ห้กับเยาวชนในพ้นื ท่ีและผสู้ นใจในชุมชนให้มาทอ ผา้ และปฏิบัติ เป็นศูนย์ท่ีรวบรวมผา้ ทอกะเหรยี่ งจดั จำหน่ายผลติ ภัณฑช์ ุมชน ๒. การจัดกจิ กรรมเก่ียวกับการอนรุ กั ษว์ ฒั นธรรมประเพณีหรือกจิ กรรมในโอกาสพิเศษของทาง ราชการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีจัดกิจกรรมในพื้นที่อำเภอบ้านคา อำเภอปากท่อ โดย ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผ้าทอกะเหรี่ยงได้เข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การเดินแฟช่ัน เคร่ืองแต่งกายผา้ ทอกะเหรี่ยง การสาธิตการทอผา้ กะเหรย่ี ง การประกวดผ้าทอกะเหรยี่ ง การแตง่ กาย ของศิลปะการแสดงของชาวกะเหรี่ยงในงานสืบสานวัฒนธรรม ๘ ชนเผ่า ทุกวันที่ ๑ ธันวาคม เป็น ประจำทุกปี งานสืบสานวัฒนธรรมแผ่นดินเมืองชัยราชบุรี วิถีกลุ่มน้ำแม่กลองภายใต้เทศกาล ศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดราชบุรี (Creative Province) โครงการถนนสายวัฒนธรรม บ้านมหกรรมวัฒนธรรมภาคกลาง งานประเพณีกินข้าวห่อ เน้นการอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมการแต่ง กายดว้ ยผา้ ทอกะเหรย่ี งแบบดั้งเดมิ ๓. การอนุรักษ์ทอผ้าจากภูมิปัญญาทอผ้ากะเหรี่ยงไปสู่สถานศึกษาให้เป็นระบบ คือ สถานศึกษาในท้องถิ่นได้ตระหนักเห็นความสำคัญและได้มีการส่งเสริมการ เรียนทอผ้าพื้นเมืองแก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านบึงเหนือ โรงเรียนบ้านคาวิทยา อำเภอบ้านคา โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา อำเภอ สวนผง้ึ จังหวดั ราชบรุ ี ไดเ้ หน็ ความสำคัญของผา้ ทอกะเหรีย่ งจงึ ได้จัดทำรายวิชาภูมิปญั ญาท้องถ่ินการ ~ ๒๙ ~
ทอผ้ากะเหร่ียงขึน้ โดยให้ศึกษาต้ังแต่ข้นั ตอนกระบวนการผลิตทอผ้ากะเหร่ียง การยอ้ มผ้า การทอผ้า และการนำผ้าทอประยุกต์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเชิญสมาชิกกลุ่มทอผ้าเป็นวิทยากรภูมิปัญญา ท้องถิ่นไปให้ความรู้แก่นักเรียน ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้ตั้งแต่วิธีการขึ้นด้าย วิธีการทอผ้า รวมทั้งช่ือ อุปกรณ์การทอผ้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงประยุกต์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีการจัด อบรมค่ายวัฒนธรรมผ้าทอกะเหร่ียงให้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในสถานศึกษาในท้องถิ่น เพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักเห็นคุณค่า ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถี ชีวติ กะเหรี่ยง พิพิธภัณฑ์ผา้ ทอกะเหร่ียง เพ่อื รวบรวมของวัสดุอุปกรณ์การทอใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ครบ วงจรของผ้าทอกะเหรยี่ ง ๔. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หนว่ ยงานภาครฐั เช่น พฒั นากรอำเภอบ้านคา องค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านคา องค์การบริหารส่วนตำบลท่ายาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ตลอดจน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการส่งเสริมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าทอกะเหรี่ยงในรูปแบบต่างๆ เช่น การจดั กิจกรรมประกวดผ้ากะเหร่ียงในงานสับปะรดบ้านคา การสาธิตการทอในงานพิเศษสำคัญ ของทางราชการ การจัดทำสื่อส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลผ้าทอกะเหร่ียง สื่อในรูปแบบกิจกรรมสาธิต แผ่นพับ วิดีโอ หนังสือ เอกสารตำรา ส่งเผยแพร่ไปตามหน่วยงานวัฒนธรรม หน่วยงานสถานศึกษา จังหวัดราชบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนประชาสัมพันธ์ของเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตให้แก่ผู้สนใจ ทั่วไป ทั้งนี้เพือ่ เปน็ การเผยแพร่ประชาสมั พันธผ์ ้าทอกะเหรี่ยงให้เป็นท่ีรู้จักและช่วยสร้างรายได้ให้แก่ ชมุ ชน เพ่อื ใหก้ ลุม่ ทอผ้าชมุ ชนไดม้ ีความเขม้ แขง็ ยงิ่ ข้ึน ๕. การรณรงค์การใช้ผ้ากะเหรี่ยง เป็นการส่งเสริมการใช้ผ้าไทยในพื้นที่ให้เกิดการเห็นคุณค่า ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยง เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน มีการรณรงค์ให้ข้าราชการได้สวมใส่ผ้า ไทยในทุกวันศุกร์ และนักเรียนในพื้นที่หมู่บ้านกะเหร่ียง ได้สวมใส่ชุดกะเหรีย่ งไปโรงเรียน และใช้ใส่ ในโอกาสสำคญั ของทางราชการ เปน็ ตน้ ๖. การพัฒนาในเชิงอาชีพและเศรษฐกิจ หน่วยงานภาครัฐ เช่น พัฒนาชุมชนอำเภอบ้านคา การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านคา ควรมีการจัดอบรมความรู้ในด้านการผลิตด้านการตลาด ด้าน การจัดทำแผนธรุ กิจใหส้ ามารถวางแผนธุรกิจนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพฒั นาภูมิปัญญาผ้าทอ ใหค้ งอยู่ได้ ดา้ นการแปรรปู ผลติ ดา้ นการเพม่ิ ทกั ษะการย้อมไหมประดิษฐ์ ด้านการทอผา้ ดว้ ยกกี่ ระตุก และการสร้างลวดลายผ้าทอใหม่ๆ ให้กับสมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจสามารถศึกษาหาความรู้และนำ ความรู้ไปประกอบเป็นอาชีพได้ จะได้มีผลงานต่อเนื่องและเกิดแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กะเหรี่ยงให้คงอยู่ โดยให้กลุ่มทอผ้าได้คิดเสนอกิจกรรม แนวการปฏิบัติเพื่อให้กลุ่มทอผ้าและชุมชน คงอยูไ่ ด้อยา่ งย่ังยืน การสบื สานและถ่ายทอด (ระบุวิธดี ำเนินงาน พนื้ ที่ ชุมชน ระยะเวลา และงบประมาณ) การสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรีที่ผ่านมาบ้านบึงเหนือ บ้านท่ายาง และ บา้ นยางน้ำกลัดใต้ไดม้ ีการจัดการถ่ายทอดความรู้ผ้าทอกะเหรี่ยงส่ชู มุ ชนในรูปแบบตา่ งๆ เชน่ ๑. การสอนลูกหลานโดยตรง เป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ได้รับ การถ่ายทอดความรู้จากพ่อแม่ ใช้วิธีการสอนแบบปฏิบัติทำให้ลูกหลานจดจำและปฏิบัติตามการ ถา่ ยทอดความรูจ้ ะในชว่ งทล่ี ูกหลานว่าง หรอื วนั หยดุ เสาร์ อาทติ ย์ หรอื ปดิ เทอม ~ ๓๐ ~
๒. การจดั การเรยี นรู้การทอผา้ ในสถานศึกษาเป็นรายวิชาภูมปิ ัญญาท้องถ่ิน เช่น บ้านบึงเหนือ ได้จัดการเรียนสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยง โดยจัดการ เรยี นการสอนร่วมกับศูนย์ทอผ้ากะเหร่ียงบ้านบงึ เหนือ สอนโดยภมู ปิ ญั ญาท้องถ่ินช่างทอผ้ากะเหร่ียง เนน้ การฝกึ ปฏิบัตใิ หน้ ักเรียนเรยี นรูแ้ ละปฏิบัติการทอผา้ ๓. การจัดโครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทอผ้ากะเหรี่ยง โดยหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน เช่น ศูนย์พัฒนาอาชีพพื้นที่สูงชาวเขาจังหวัดราชบุรี ได้เข้าไปส่งเสริมจัดการอบรมให้ความรู้ การทอผา้ ซนิ่ เก่ียวกบั การประกอบอาชีพการทอผ้า การมดั ลาย การปกั ผ้าแก่กลมุ่ ทอผ้ากะเหร่ียงบ้าน บึงเหนอื และกลมุ่ ทอผ้ากะเหรี่ยงบา้ นทา่ ยาง ๔. การจัดต้ังศูนย์การเรียนรู้กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยง เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าทอ กะเหรี่ยง โดยใช้ศูนย์ทอผา้ เป็นสถานแลกเปลีย่ นความรู้ สถานที่สาธิต ถ่ายทอดความรู้กระบวนการ ผลติ ใหแ้ ก่นกั เรียน นักศกึ ษา ประชาชนให้เรยี นรขู้ ัน้ ตอนการทอผ้ากะเหร่ยี ง การพัฒนาต่อยอดมรดกภมู ปิ ัญญา (ระบุวธิ ดี ำเนินงาน พืน้ ที่ ชุมชน ระยะเวลา และงบประมาณ) บ้านบึงเหนือ ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีมรดกวัฒนธรรมของชาวไทย กะเหรี่ยงที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ศูนย์ทอผ้ากะเหรี่ยง วัดบ้านบึง ประเพณีกินข้าวห่อ จึงมีการพัฒนา ต่อยอดนำผ้าทอกะเหรี่ยงมาออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานอาทิ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี มาให้ความรู้ และร่วมปฏิบัติพัฒนาผ้าทอกะเหรี่ยง ตลอดจนจัดหาช่องทางจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคา ได้จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน ทอ่ งเทยี่ วเชงิ วฒั นธรรมกะเหร่ยี งให้เกดิ การท่องเทีย่ วชมภมู ปิ ญั ญาผ้าทอกะเหร่ยี งในอนาคต ภาพท่ี ๔๓-๔๖ ตัวอยา่ งผลิตภัณฑ์ผ้ากะเหรยี่ งที่ได้รบั การพัฒนา ~ ๓๑ ~
ภาพท่ี ๔๗-๔๘ ตัวอยา่ งผลิตภณั ฑ์ผ้ากะเหรย่ี งทไี่ ด้รับการพัฒนา การดำเนินงานด้านอ่ืนๆ (ระบุวธิ ีดำเนินงาน พื้นท่ี ชมุ ชน ระยะเวลา และงบประมาณ) ๒. มาตรการส่งเสริมและรักษามรดกภมู ิปัญญาทางวัฒนธรรมอน่ื ๆ ที่คาดว่าจะดำเนินการในอนาคต ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ให้การสนับสนุนผ้าทอ กะเหรย่ี งหลายรูปแบบ ไดแ้ ก่ ๑) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรีให้การสนับสนุนการอนุรักษ์และเผยแพร่สืบสาน ประเพณีของชาวกะเหรี่ยง ในโครงการกิจกรรมสืบสานประเพณี เช่น ประเพณีข้าวห่อกะเหรี่ยง ให้ ชุมชนจัดกิจกรรมแล้วแต่งกายชุดกะเหรี่ยง ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยง เชิญกลุ่ม ชาติพันธ์กะเหรี่ยงเขา้ รว่ มงาน ๘ ชาตพิ นั ธุ์ ๒) สำนักงานพฒั นาชุมชนจงั หวดั ราชบุรีไดใ้ หก้ ารสนับสนนุ ใหเ้ กดิ การรวมกลุ่มอาชีพ ทอผ้า ให้ งบประมาณในการจัดตั้งศูนย์ทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านบึงเหนือ และจัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพผ้าทอ กะเหร่ยี ง โดยให้สมาชิกกลุ่มทอผา้ เปน็ วิทยากรเผยแพรค่ วามรู้ทอผ้าให้กับชุมชนกะเหรีย่ งแล้วสง่ เสริม ให้เปน็ อาชีพเสรมิ ทอผา้ กะเหรี่ยงสร้างรายไดใ้ ช้กบั ชมุ ชน ๓) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี ได้ให้การสนับสนุนโครงการทอผ้ากี่กระตุก ให้ งบประมาณในการจดั ซอ้ื กกี่ ระตกุ และวทิ ยากรมาสอนทอผ้า วัสดุอุปกรณ์การทอผา้ ๔) อำเภอบา้ นคาไดจ้ ัดกจิ กรรมประเพณีสับปรดหวานบ้านคา ไดน้ ำผา้ ทอกะเหรยี่ งไปร่วมแต่ง กาย เผยแพร่การใช้ผ้าทอกะเหรย่ี งให้เป็นที่รจู้ ักอย่างแพร่หลาย ๕) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคาได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชาว กะเหรี่ยงและโครงการส่งเสริมและสนับสนุนขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตไทยกะเหรี่ยง เพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นให้นำไปสู่การศึกษา สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวกะเหรี่ยงตำบลบ้านคาให้สืบทอดสู่ลูกหลาน และเผยแพร่ ประชาสมั พันธ์ กระตุน้ ให้เกิดความรักและหวงแหนแหล่งวฒั นธรรมประเพณีท้องถ่นิ ๖) มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงได้จัดเก็บรวบรวมองค์ความรู้การทอผ้ากะเหรี่ยง จัดทำ คู่มือทอกผ้ากะเหรี่ยง การปักผ้าลายกะเหรี่ยง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การย้อมผ้า การนำองค์ความรู้ไป เผยแพร่ในสถานศึกษาการนำข้อมูลขึ้นให้การสนับสนุนการเผยแพร่การทอผ้ากะเหรี่ยงในงานประชุม วิชาการ นำเสนอเรอื่ งราวกระบวนการทอผ้า การใช้ผ้าในงานวฒั นธรรมประเพณี ~ ๓๒ ~
๗) มลู นิธิศภุ นมิ ติ ไดใ้ หก้ ารสนับสนุนงบประมาณวัสดุอปุ กรณท์ อผ้า ๘) ศูนย์พัฒนาอาชีพชาวเขาจังหวัดราชบุรี ได้จัดทำการอบรมการทอผ้ากะเหรี่ยง การปัก ลวดลายกะเหรีย่ ง การยอ้ มสีเส้นด้ายใหก้ ับกลุ่มผา้ ทอกะเหรี่ยงบ้านท่ายาง เพอ่ื ส่งเสรมิ ให้รวมกลุ่มกัน ทอผ้าเป็นอาชพี เสริม และจดั หาวสั ดุอุปกรณ์การทอผ้า ๙) หน่วยงานการศึกษา เช่น โรงเรียนบ้านบึงเหนือ บ้านทางยาง ได้สนับสนุนให้โรงเรียนมา เรียนรู้ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยง นำนักเรียนมาเรียนรู้กับแหล่งเรียนรู้ในศูนย์ทอผ้ากะเหรี่ยง เพ่ือ เรียนรู้ความเปน็ มา วสั ดอุ ุปกรณ์ วธิ กี ารทอผ้า เป็นการสรา้ งจิตสำนึกให้รว่ มกันสืบสานประเพณี ๓. การส่งเสริม สนบั สนุนจากหนว่ ยงานภาครัฐ หรอื ภาคเอกชน หรือภาคประชาสงั คม (ถา้ มี) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้เล็งเห็นความของการสง่ เสริม และรักษามรดก ภูมิปัญญาของชาติจึงได้กำหนดพระราชบัญญตั ิส่งเสริมและรักษามรดกวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ มีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๙ กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการสง่ เสริมและรักษามรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มีหน้าที่เสนอนโยบายและแผนการส่งเสริมดำเนินการร่วมกับชุมชน เพื่อ จัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พิจารณาและคัดเลือกมรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมจากรายการเบื้องต้น เพื่อเสนอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประสานเครือข่าย ความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อหาทางส่งเสริมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไป เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์องค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ฝึกอบรม ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ มรดกทางวัฒนธรรม และส่งเสริมให้มีการสบื ทอดมรดกมรดกภมู ิปัญญาทางวัฒนธรรมให้คงอย่สู ืบไป ได้มีข้อคิดเห็นในการดำเนินการผ้าทอกะเหรี่ยงในอนาคต ๑) จัดทำข้อมูลเพื่อเผยองค์ความรู้ผ้าทอ กะเหรย่ี งใหเ้ ปน็ ท่ีรจู้ ักอยา่ งแพร่หลาย ๒) จดั กจิ กรรมส่งเสริมยกย่องฝมี ือช่างทอผ้ากะเหร่ียง ใหเ้ ป็นที่ ยอมรับทักษะฝีมือเชิงช่างเพื่อกระตุ้นชุมชนในการสืบทอดภูมิปัญญาและอาชีพชุมชน ๓) ส่งเสริมให้ เกิดหมูบ่ ้านท่องเท่ยี วผา้ ทอกะเหร่ยี ง นำวฒั นธรรมประเพณีมาเปน็ ทุนในการพฒั นาต่อสกู่ ารท่องเที่ยว สร้างแพลตฟอร์มการท่องเที่ยววฒั นธรรมและจดั หาชอ่ งทางออนไลน์ ๔) สร้างความรว่ มมอื เครือข่าย ช่างทอผ้ากะเหรี่ยงนำความรู้วิธีการทอผ้าเข้าสู่สถานศึกษาให้มากขึ้นและขยายผลไปสู่พื้นที่ชุมชน กะเหรย่ี งอ่นื ๆ ให้เกดิ การสืบทอดในชมุ ชน ~ ๓๓ ~
ส่วนที่ ๔ สถานภาพปจั จบุ ัน ๑. สถานะการคงอยขู่ องมรดกภมู ิปญั ญาทางวัฒนธรรม มีการปฏบิ ัติอย่างแพรห่ ลาย เสีย่ งต่อการสญู หายตอ้ งไดร้ บั การส่งเสรมิ และรักษาอย่างเร่งด่วน ไมม่ ีการปฏิบัติอยู่แล้วแตม่ ีความสำคัญต่อวิถชี ุมชนท่ตี ้องได้รบั การฟน้ื ฟู ๒. สถานภาพปจั จุบนั ของการถ่ายทอดความรแู้ ละปจั จัยคุกคาม ๒.๑ สภาพปจั จบุ ันของการถ่ายทอดความรู้ การถ่ายทอดความรู้ภูมปิ ัญญาผา้ ทอกะเหรี่ยงจังหวัดราชบรุ ี มี ๔ รปู แบบดงั น้ี (๑) มีการถ่ายทอดความรู้อยู่ในบางครอบครัวหรือเครือญาติ ทั้งนี้ การถ่ายทอดฝีมือช่าง จะอยู่ในวงจำกัดในครอบครัวเครือญาติเท่านั้น ยังคงถ่ายทอดวิธีการเตรียมเส้นด้าย การมัดลวดลาย การย้อมสี การทอผ้าซิ่นตีนจก และการปักลวดลายผ้า ลักษณะการถ่ายทอดจะเน้นการฝึกปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายทอดที่เป็นช่างและความสนใจของผู้รับการถ่ายทอดที่เป็นลูกหลานหรือเป็นพี่น้อง ตลอดจนภูมิปัญญาเชิงช่างเป็นทักษะเฉพาะบุคคลที่จะต้องเรียนรู้กันตัวต่อตัว เพราะการทอผ้า กะเหรี่ยงมีหลายขนั้ ตอนใช้เวลานาน ต้องเรยี นรแู้ ละฝกึ ปฏบิ ัติจนชำนาญ (๒) มีการถ่ายทอดความรู้ที่จัดโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จังหวัดราชบุรี ได้มีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทอผ้าซิ่นกะเหรี่ยง การมัดลายย้อมสีเคมีผ้าทอ กะเหรี่ยง การปักลวดลายผ้ากะเหรี่ยงให้แก่สมาชิกกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านท่ายาง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เพื่อให้เกิดการฟื้นความรู้และมีการสอนการทอผ้าให้กับประชาชนผู้สนใจทอผ้า กะเหรีย่ งในชุมชน (๓) มีการจัดการเรียนสอนการทอผ้ากะเหรี่ยงในโรงเรยี น เช่น ชุมชนบ้านบึงเหนือได้จดั ใหม้ ีการเรียนการสอนการทอผ้ากะเหรี่ยง และการปกั ผ้ากะเหร่ียงให้กบั นักเรียน โดยโรงเรียนบ้านบึง เหนือ และโรงเรียนบ้านคาวิทยา ได้ใช้ศูนย์ทอผ้ากะเหรี่ยงเป็นแหล่งเรียนรู้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ ช่างทอผ้ากะเหรี่ยงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน มีวัตถุประสงค์ให้เรียนรู้ภูมิปัญญาวิธีการทอ ผา้ กะเหรย่ี ง จากการสมั ภาษณ์อารีย์ กงจก กลา่ วว่า นบั ตง้ั แต่ปี ๒๕๖๒ จนถึงปี ๒๕๖๔ ไม่ได้ไปสอน การทอผ้า และปักผ้ากะเหรี่ยงให้กับนักเรียน เนื่องจากสถานการณ์โควิด จึงทำให้การถ่ายทอด สูน่ ักเรยี นขาดความตอ่ เนื่อง (๔) มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรูว้ ัฒนธรรมกะเหรี่ยง เช่น ชาวบ้านบ้านบึงเหนือได้รว่ มกนั ตง้ั กลมุ่ ทอผ้ากะเหร่ียงบ้านบงึ เหนือ ต่อมาไดร้ ับการสนับสนนุ งบประมาณจากสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ในการจัดตัง้ ศนู ย์ทอผ้า มีวัตถุประสงค์เพือ่ ส่งเสรมิ อาชีพชุมชน สืบสานภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงและวัฒนธรรมที่เกี่ยวขอ้ งกับชาวกะเหร่ียง ได้จัดแสดง เรื่องราวของผ้าทอกะเหรี่ยง ถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนในพื้นที่และผู้สนใจในชุมชนให้มาทอผ้า และปฏิบัติ เป็นศูนย์ที่รวบรวมผ้าทอกะเหรี่ยงจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ เปน็ เส้ือ ผา้ ซ่ิน และยา่ ม ช่างทอผ้าของศูนยส์ ามารถมาทอผา้ เม่ือมวี นั ว่างหรือจะทออยู่บา้ นแล้วมาส่ง ที่ศูนย์ ปัจจุบันผู้สูงอายุบางคนก็เลกิ ทอผ้า เนื่องจากปญั หาสุขภาพจะยังคงเหลอื คนท่ีทอผ้ากะเหร่ยี ง แล้วปักผา้ กะเหร่ยี ง ๑๕ คน เทา่ น้ัน ~ ๓๔ ~
๒.๒ ปจั จยั คกุ คามทมี่ ีผลตอ่ การสืบทอดมรดกภมู ปิ ัญญาผ้าทอกะเหร่ยี ง ปัจจยั คุกคามท่ผี ลต่อการสืบทอดมรดกภมู ิปัญญาผ้าทอกะเหร่ียงตงั้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปี ๒๕๖๔ มีหลายประการ ดงั น้ี (๑) ปจั จยั ภายในที่เกย่ี วขอ้ งกับกระบวนการผลติ ผา้ ทอกะเหรีย่ ง มหี ลายประการ ดงั น้ี (๑.๑) การลดขั้นตอนการผลิต จากการลดขั้นตอนการผลิตด้ายและหันมาซื้อด้าย สำเร็จรูปแทนการผลิตเอง ทั้งนี้ได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในอดีตมีการเตรียมวัตถุดิบที่สำคัญคือ ฝ้าย มกี ารเตรียมต้ังแตก่ ารปลูกฝ้ายในไร่ขา้ ว เมอื่ ถงึ ชว่ งฤดูเก็บข้าวกจ็ ะเก็บฝา้ ย มาปน่ั ตากแล้วดีดเป็นเส้น ฝ้าย จากนั้นนำไปมัดเส้นด้าย เพื่อย้อมสีธรรมชาติ วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการของย้อมสีมามีทุกฤดู ปัจจุบันในแต่ละพื้นที่เลิกการปลูกฝ้าย ที่จะนำมาทำเส้นใย ประกอบกับจังหวัดราชบุรีมีโรงงานผลิต เสน้ ด้าย พืชบางชนดิ ทใ่ี ช้ยอ้ มสีก็หายาก เพราะไม่มีป่าต้องส่ังซื้อวัตถุดิบการย้อมสีจากแหล่งผลิตอื่นๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น และสั่งซื้อเส้นด้ายที่ย้อมสีเส้นด้ายสำเร็จรูปจะสะดวกกว่า จากการ สัมภาษณ์ นางอารีย์ กงจก (๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๔) กล่าวว่า ซื้อไหมประดิษฐ์ที่อำเภอโพธาราม ส่วน ฝ้ายกซ็ อ้ื ท่สี มุทรสาครบางทกี่ ไ็ ปซอื้ ทก่ี รุงเทพฯ การเปลี่ยนมาใช้ไหมประดิษฐ์ เพราะฝา้ ยมันไม่มีแล้ว เราไม่ได้ปลูกฝ้ายเอง อีกอย่างไหมประดิษฐ์ให้สีสด สีย้อมมาแล้วสีไม่ตก ส่วนฝ้ายเราเอามาย้อมเอง แต่วิธีการย้อมเด๋ียวนี้เราหาไม้ตามธรรมชาติ มันหายากแล้วมันก็เลยไม่ค่อยได้ย้อมเอง อย่างเส้น มัดหมี่เราก็เอากลับเครือข่ายกลุ่มทอผ้า ส่วนไหมประดิษฐ์เราก็ซื้อมาเอง (กลึง คาผูก สัมภาษณ์ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๔) จะเห็นได้ว่าการเตรียมเส้นด้ายที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชนตั้งแต่การปลูกฝ้าย การ เตรยี มเส้นด้าย การยอ้ มสีไดส้ ูญหายไป (๑.๒) จำนวนสีธรรมชาติที่ใช้ย้อมมีน้อยและวัตถุดิบที่ใช้ย้อมมีต้นทุนสูง ต้องสั่งซ้ือ จากแหลง่ อนื่ ๆ ทำให้ตน้ ทนุ การย้อมสธี รรมชาตมิ ีราคาแพง (๑.๓) ขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ย้อมสี เนื่องจากการย้อมสีเส้นด้ายได้เปลีย่ นไปจากเดมิ เพราะวัตถุดิบหายาก ไม่มีป่า มีแต่พื้นที่เกษตรกรรม ขั้นตอนการย้อมสีธรรมชาติมีหลายขั้นตอน มี ความยุ่งยาก การย้อมสีธรรมชาติไม่สม่ำเสมอ ทำให้สีซีดจาง สีตก ซีดจาง จึงเปลี่ยนแปลงจากสี ธรรมชาติมาเป็นสีเคมี เพราะวิธีการย้อมสีเคมีไม่ยุ่งยาก สะดวกและง่าย มีสีสันสดใสให้เลือก หลากหลาย ย้อมแล้วสีไม่ตก วัสดุที่ใช้มัดเส้นด้ายสำหรับย้อมสีได้เปลี่ยนจากเชือกกล้วยมาเป็นเชือก ฟาง เพราะมีคุณภาพดีกว่าเชือกกล้วย สีไม่ซึมไม่ขาด จากการสัมภาษณ์ กลึง คาผูก (๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๔) กล่าวว่า สาเหตุของการเปลี่ยนจากสีธรรมชาติมาเป็นเคมี เพราะวัสดุในการย้อมสีธรรมชาติ มันหายาก ไมส่ วยแล้วซักไปตกไป สวี ทิ ยาศาสตรแ์ บบน้ีมันสวย เราจะเลอื กสสี ันอะไรก็ได้ เพราะมันซัก แลว้ ไม่ตก สีออกมากส็ วย ไมเ่ หมอื นไปหาสีธรรมชาติ หาก็ยากมหี ลายขั้นตอน ย้อมออกมาไม่สวยอย่าง ท่ตี อ้ งการ มที างเลอื กท่ีดีกว่าไงสวยกวา่ ก็เอา อีกทง้ั คนแก่ ทีเ่ คยย้อมสีธรรมชาติในชุมชนทำไม่เป็นแล้ว ช่วงหลังมาก็ทำไม่เป็นกันแล้ว เพราะทำแบบนี้มาหลายปีแล้ว ดังนั้นภูมิปัญญาที่มีในชุมชนจึงค่อย ๆ หายไป (ปี พ.ศ ๒๕๖๔) (๑.๔) ขาดแคลนช่างทอผ้า (นับตั้งแต่ ปี ๒๕๔๖ จนถึง ปี ๒๕๖๔) เนื่องจากช่างทอ ผ้าส่วนใหญเ่ ปน็ คนแก่สูงอายุ เมื่อทอผ้าด้วยก่ีเอวไปนาน ๆ จะประสบปัญหาสุขภาพ ปวดหลัง สายตา พล่ามัวทำให้มองไม่ค่อยเห็น และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เป็นอุปสรรคต่อการทอผ้ากะเหรี่ยง เพราะแตข่ ้ันตอนใช้เวลานาน จงึ เลกิ ทอผ้า เช่น บ้านบึงเหนือ และบ้านท่ายาง ถงึ แม้ว่าจะมีการสอนทอ ผ้าให้กับคนรุ่นใหม่ในโรงเรียนเป็นการสอนเพื่อให้รู้ขั้นตอนกระบวนการทอ แต่ยังไม่คนรุ่นใหม่มาสืบ ทอดต่ออย่างจริงจัง จากการสัมภาษณ์ กุหลาบ อิรัชวา (๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๔) กล่าวว่า ปัญหาของมัน ~ ๓๕ ~
ก็คือว่าคนที่จะสืบสานเป็นช่างทอผ้าต่อเนี่ยไม่ค่อยมี วิธีการทอผ้าวิธีการทอมันก็ทำยากหน่อย คือ เหนื่อยเพราะการทอมักทำให้ปวดขา และปวดหลัง และสัมภาษณ์ อารีย์ กงจก (๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๔) กล่าว เพมิ่ เติมว่า การทีจ่ ะเป็นช่างทอผ้าจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง การท่ีจะมาเรียนทอผา้ วัน หรอื ๕ วัน ถึง ๑๐ วัน เป็นเรอ่ื งยากที่จะเข้าใจ เพราะคนสมัยก่อนเรียนรู้การทอผ้าแต่แต่ยังเด็ก และมาการทอผ้า อย่างต่อเนื่องจนโตจนกลายเป็นช่างทอผ้าที่มีฝีมือ ปัจจุบันหาคนรุ่นใหม่เข้ามาสืบทอดในการทอผ้า น้อยมาก ถึงแม้จะเคยเรียนในโรงเรียนที่เคยไปสอนทอผ้า แต่ก็ยังไม่มีช่างรุ่นใหม่เข้ามาทดแทนช่าง รุ่นเกา่ (๑.๕) ขาดผู้สืบทอด ส่วนใหญ่ผู้ทอจะเป็นวัยกลางคนและผู้สูงวัยขึ้นไป คนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่จะเรียนรู้การทอผ้ากะเหรี่ยงในโรงเรียน เป็นการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ยังไม่ได้นำไป ประกอบอาชีพ เนื่องจากคนรุ่นใหม่ในชุมชนบางส่วนเรียนหนังสือเมื่อจบการศึกษาชั้น ป ๖ หรือช้ัน มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ก็ไปศึกษาต่อในสถานศึกษาอื่น ๆ ในเมือง จึงขาดความต่อเนื่อง เมื่อจบการศึกษา แล้วไปประกอบอาชีพอื่น ๆ แทนการทอผ้าเพราะเห็นว่าการทอผ้าใช้เวลาทอนาน รายได้น้อย ไม่ เพียงพอต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น จึงไม่สนใจสืบทอดความรู้ต่อหรือประกอบอาชีพทอผ้า หันไปทำงาน รบั จา้ งในโรงงาน หรือทำงานต่างถิ่นประกอบอาชีพอืน่ ๆ จงึ เปน็ สาเหตุที่ทำให้เกดิ ขาดแคลนผู้สืบทอด ปัจจุบัน ปี ๒๕๖๔ การทอผ้ากะเหรี่ยงแทบจะหาคนทอผ้าไม่มี เนื่องจากสถานการณ์ โควิดระบาดใน พื้นท่ี อำเภอบ้านคา อำเภอสวนผง้ึ (๒) ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อผ้าทอกะเหรี่ยงเปลี่ยนแปลงไป มีหลายประการ ดงั น้ี (๒.๑) สภาพสงั คมและความเจริญเทคโนโลยสี ่งผลใหว้ ิถีชวี ติ ของชุมชนเปลยี่ นไป การ รับอิทธิพลของสื่ออินเตอร์เนตทำให้คนรุ่นใหม่รับวัฒนธรรมอื่นๆ เข้ามาในชุมชน โดยเฉพาะการแต่ง กายตามวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ต้องสวมชุดไช่อั่วและไช่โพล่งเปลี่ยนไป เพราะวัยเด็กจะเรียนหนังสือใน โรงเรยี น การแต่งกายชดุ กะเหร่ียงใส่ในวนั เวลาท่โี รงเรียนกำหนดทุกวันศุกร์หรือวันอังคารเท่าน้ัน คน ในชุมชน ส่วนใหญ่จึงหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้า ตามสมัยนิยมที่มีการจำหน่ายในท้องตลาด หาซื้อได้ ง่ายและราคาถูก จะสวมใส่ผ้ากะเหรี่ยงในวันสำคัญหรือประเพณีที่สำคัญหรือการประกอบพิธีกรรม ต่างๆ ถึงใส่ชุดกะเหรี่ยงครบถว้ น เช่น งานแต่งงาน งานประเพณีกินข้าวกะเหรี่ยง งานประเพณีเวยี น ศาลา หรือใสไ่ ปทำบญุ ทวี่ ดั เมื่อใส่ชดุ กะเหรยี่ งในวิถีประจำวันจะร้สู ึกอายทเ่ี ปน็ กะเหรย่ี ง (๒.๒) การสง่ เสรมิ ของหน่วยงานต่างๆ ที่เขา้ ไปสง่ เสรมิ สนบั สนุนการทอผา้ กะเหร่ียง เช่น บ้านบึงเหนือ ไดร้ ับสนบั สนนุ เคร่ืองทอนำก่ีกระตุกมาใช้ เพือ่ ความสะดวกรวดเร็วย่ิงขึ้น จะทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทอผ้าจากกี่เอวเป็นกี่กระตุก กล่าวคือ การทอผ้ากะเหรี่ยงจะใช้ เครื่องทอแบบกี่เอว เป็นเครื่องทอแบบดั้งเดิมที่มีข้อจำกัดในเรื่องการทอได้ช้า ขนาดความกว้างของ หนา้ ผ้าแคบและความยาวจะไมม่ ากนัก แต่สามารถทอเป็นลวดลายกะเหรย่ี งไดง้ ่ายกวา่ แต่การทอผ้า ด้วยกี่กระตกุ ทำให้หนา้ ผ้ามีความกวา้ งและความยาวของผ้าทอเพิ่มข้นึ นำผ้ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ได้หลากหลาย แตก่ ารทอดว้ ยกี่กระตุกมขี อ้ จำกดั ไมส่ ามารถทอลวดลายแบบจกของกะเหร่ียงได้ (๒.๓) ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน (๒๕๖๔) สถานการณ์ไวรัส ๑๙ โควิดระบาด มี ผลกระทบต่อชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีงานทางวัฒนธรรม ไม่มีการจัดแสดงสินค้า ไม่มีการจำหน่ายผ้า ทอได้ ถึงแม้ว่ากลุ่มทอผ้าได้พยายามปรับตัวจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอทางช่องทางออนไลน์ แต่ก็ยัง ไม่ได้รับความนิยม ดังนั้นการทอผ้ากะเหรีย่ งเพื่อใช้ในวิถีชีวติ หรือในงานวัฒนธรรมได้ก็ลดลง การทอ ผ้าเพื่อจำหน่ายไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว ช่างทอผ้าได้เปลี่ยนมาทำงานรับจ้าง เพื่อหา ~ ๓๖ ~
รายไดม้ าซื้อขา้ ว และใชจ้ ่ายภายในบ้าน การทอผา้ กะเหรยี่ งคงเหลือแต่ผหู้ ญิงท่ีอยู่บ้าน คนแก่สูงอายุ ที่ทอผ้าเป็นในชว่ งท่ีวา่ งจากภาระงานอนื่ ๆ เท่านั้น (๒.๔) ปัจจุบัน ๒๕๖๔ การซื้อเสื้อผ้าเคร่ืองกาย สามารถหาซื้อได้ง่าย เสื้อผ้าสำเร็จ รูปมีความเบาสบาย ไม่ร้อนมีหลากหลายแบบ สีสันสวยงาม ไม่ต้องเสียเวลาผลิตเอง คนรุ่นใหม่ใน ชุมชนได้รับอิทธิพลการแต่งกายตามแบบคนไทยปัจจุบัน จึงไม่มีความผูกพันกับการแต่งกายของชาติ พันธ์ขุ องตนเอง ท่ีตอ้ งสวมใส่ตามวัฒนธรรมในอดีตตามความนิยม เพราะเส้ือผ้ากะเหรี่ยงที่หนา หนัก และร้อน จะสวมใสใ่ นงานวัฒนธรรมท่แี สดงอตั ลกั ษณ์ของชาติพันธ์ุเทา่ นน้ั (๒.๕) จากการสัมภาษณ์อารีย์ กงจก (๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๔) ก่อนปี ๒๕๖๔ มี หน่วยงานภาครัฐส่งเสริมให้มีการทอผ้าเปน็ อาชีพเสรมิ หารายได้ เมื่อมีลูกค้าต้องการผ้ากะเหรี่ยงที่มี ความยาวและหน้ากวา้ ง ก็เปลี่ยนแปลงเครื่องทอจากก่เี อวมาเป็นก่ีกระตุกให้ได้ผ้าแล้วนำไปออกแบบ แปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า จะเห็นได้ว่าเปลี่ยนแปลงวิธีการทอ เพราะเครื่องทอกี่กระตุก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ต้องกับความ ตอ้ งการของตลาด ๓. รายชื่อผสู้ ืบทอดหลัก (เช่น บุคคล กลุม่ คน เปน็ ต้น) รายช่อื บคุ คล/หัวหน้า อาย/ุ องคค์ วามรู้ดา้ นท่ีไดร้ ับการ สถานท่ตี ดิ ต่อ/ คณะ/กลุม่ /สมาคม/ อาชีพ สบื ทอด/จำนวนปีทสี่ บื ทอดปฏิบัติ โทรศพั ท์ ชมุ ชน นางอารยี ์ กงจก / ๕๓ ปี / วิธีการทอผ้ากะเหรยี่ ง / ๒๐ ปี กลุ่มทอผา้ กะเหรีย่ ง บา้ นบงึ เหนือ แมบ่ ้าน บา้ นบงึ เหนือ โทร ๐๘ ๑๙๔๓ นางกหุ ลาบ อิรชั วา / ๕๐ ปี / วธิ กี ารปกั ผา้ กะเหรี่ยง / ๑๕ ปี ๖๖๖๗ บา้ นบึงเหนอื แม่บา้ น กลมุ่ ทอผา้ กะเหรี่ยง นางรัชนก บญุ ประเสริฐ/ ๔๗ ปี / วธิ ีการปักผา้ กะเหร่ยี ง / ๑๕ ปี บ้านบึงเหนือ บา้ นบึงเหนือ แม่บา้ น โทร ๐๘ ๗๐๐๗ ๐๘๙๒ นางกลงึ คาผูก / ๖๔ ปี / วิธีการทอผ้ากะเหร่ียง / ๑๕ ปี บา้ นท่ายาง แมบ่ า้ น กลุ่มทอผา้ กะเหรีย่ ง บ้านบึงเหนือ นางคลอง ใจคม / ๖๑ ปี / วธิ ีการปกั ผา้ กะเหร่ียง / ๑๕ ปี โทร - บ้านทา่ ยาง แมบ่ ้าน กลมุ่ ทอผ้ากะเหร่ียง บา้ นทา่ ยาง โทร ๐๙ ๕๗๕๙ ๑๔๖๓ กลุม่ ทอผ้ากะเหรยี่ ง บา้ นทา่ ยาง โทร - ~ ๓๗ ~
สว่ นท่ี ๕ การยนิ ยอมของชมุ ชนในการจดั ทำรายการเบื้องตน้ มรดกภูมิปญั ญาทางวัฒนธรรม (ไม่จำกัดจำนวน) ๑. ช่ือ-สกุล นายฉัตรชัย ธนกิ กลุ สถานภาพที่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (เช่น เป็นครูผู้สืบทอด เป็นผู้ได้รับการ ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้นำชุมชน เป็นเจ้าหน้าที่ในชุมชน เป็นผู้รับบริการ หรือเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ ที่ เก่ียวข้อง) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคา ตำบลบา้ นคา อำเภอบา้ นคา จงั หวดั ราชบรุ ี ขอรบั รองข้อมูลตามเอกสารคำขอเสนอฯ และยนิ ยอมใหเ้ ปิดเผยข้อมูลและนำไปใช้ประโยชนต์ อ่ ไป (ลงชอ่ื ) ( นายฉัตรชยั ธนกิ กลุ ) วนั ท่ี กนั ยายน ๒๕๖๔ . ๒. ชอ่ื -สกุล นางอารีย์ กงจก สถานภาพที่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (เช่น เป็นครูผู้สืบทอด เป็นผู้ได้รับการ ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้นำชุมชน เป็นเจ้าหน้าที่ในชุมชน เป็นผู้รับบริการ หรือเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ ท่ี เก่ียวข้อง) ช่างทอผ้ากะเหร่ียงและเปน็ ประธานกลุ่มทอผ้ากะเหร่ียง บา้ นบงึ เหนือ ตำบลบ้านคา อำเภอ บา้ นคา จังหวัดราชบรุ ี ขอรับรองข้อมูลตามเอกสารคำขอเสนอฯ และยนิ ยอมให้เปดิ เผยข้อมูลและนำไปใชป้ ระโยชน์ตอ่ ไป (ลงชอ่ื ) ( นางอารีย์ กงจก ) วนั ที่ กันยายน ๒๕๖๔ . ๓. ชอื่ -สกลุ นายเท่ยี ง ใจคม สถานภาพที่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (เช่น เป็นครูผู้สืบทอด เป็นผู้ได้รับการ ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้นำชุมชน เป็นเจ้าหน้าที่ในชุมชน เป็นผู้รับบริการ หรือเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ ท่ี เกี่ยวข้อง) ผ้ใู หญ่บ้าน บ้านท่ายาง ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบรุ ี ขอรบั รองข้อมลู ตามเอกสารคำขอเสนอฯ และยนิ ยอมใหเ้ ปดิ เผยข้อมลู และนำไปใชป้ ระโยชน์ต่อไป (ลงชือ่ ) ( นายเที่ยง ใจคม ) วนั ท่ี กันยายน ๒๕๖๔ . ๔. ชอ่ื -สกลุ นางกลงึ คาผูก สถานภาพที่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (เช่น เป็นครูผู้สืบทอด เป็นผู้ได้รับการ ถ่ายทอดความรู้ เป็นผู้นำชุมชน เป็นเจ้าหน้าที่ในชุมชน เป็นผู้รับบริการ หรือเป็นผู้สนับสนุนด้านอื่นๆ ท่ี เกี่ยวข้อง) ช่างทอผ้ากะเหรี่ยงและเป็นประธานกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยง บ้านท่ายาง ตำบลยางหัก อำเภอ ปากท่อ จังหวัดราชบุรี ขอรบั รองขอ้ มูลตามเอกสารคำขอเสนอฯ และยินยอมใหเ้ ปิดเผยข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป (ลงชื่อ) นางกลึง คาผกู ) ( วนั ที่ กนั ยายน ๒๕๖๔ . ~ ๓๘ ~
สว่ นที่ ๖ ภาคผนวก ๑. เอกสารอา้ งอิง กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (๒๕๕๓). การบรหิ ารจดั การวัฒนธรรมพนื้ บ้านแบบมสี ่วนรว่ มด้วย นวตั กรรมการวจิ ัย. กรุงเทพฯ : ภาพพมิ พ์ กนกวรรณ ตนั ตวิ รางกรู . (๒๕๕๔). ตน้ ทุนและผลตอบแทนของการผลติ ผา้ ทอกะเหร่ียงลายโบราณ ของวสิ าหกิจชุมชนบา้ นเด่นยางมลู อำเภอลี้ จังหวดั ลำพูน. ปริญญามหาบณั ฑติ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่. โกศล มคี ณุ . (๒๕๓๖). รายงานการวิจัย เรือ่ ง สภาพสังคมวัฒนธรรมทีเ่ ปลี่ยนไปของชาวกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบรุ ี. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหง่ ชาติ. ขจัดภัย บุรุษพัฒน.์ (๒๕๒๘). ชาวเขา. พิมพค์ รั้งท่ี ๒ กรุงเทพมหานคร : พิฆเณศวรพริน้ ตง้ิ . จนิ ตนา สขุ จานนั ท์. (๒๕๔๙). การศกึ ษาและการพัฒนาชมุ ชน. กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร์. จารวุ รรณ วนาลัยเจริญจติ . (๒๕๔๓). แบบแผนการผลติ งานหัตถกรรมผา้ ทอไทลอื้ กรณศี ึกษา อำเภอเวยี งคำ จังหวดั พะเยา. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่. ณรงค์ศักดิ์ ศรีวิลยั . (๒๕๔๕). การพฒั นาหลกั สตู รทอ้ งถนิ่ รายวิชาชา่ งทอผา้ กะเหรย่ี งช้นั มธั ยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแม่ต่ืนวทิ ยาคม อำเภออมก๋อย จังหวดั เชยี งใหม่. วิทยานิพนธ์ ศิลปกรรมศาสตร์มหาบณั ฑติ มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม.่ นนั ทวรรณ สุทธปิ ระภา. (๒๕๕๐). ยทุ ธศาสตร์การพฒั นาศักยภาพการทอผา้ โสรง่ ของกลุ่มสตรี กะเหร่ยี งในศนู ย์พักพงิ ช่ัวคราวถ้ำหิน อำเภอสวนผ้ึง จงั หวดั ราชบุรี. ปริญญานิพนธ์ ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑติ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมบู่ ้านจอมบึง. นันทวัน อนิ ทรจ์ นั ทร์.(๒๕๔๕). การศึกษารูปแบบเครื่องแต่งกายกะเหรยี่ งโปและกะเหรย่ี งสะกอใน เขตอำเภอแมส่ ะเรียง จงั หวัดแมฮ่ อ่ งสอน. คณะวจิ ติ รศลิ ป์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่ นิตพิ ร ลาดปาละ. (๒๕๕๐). อาชพี ทอผ้ากรณศี ึกษากลุ่มผา้ ทะกะเหรี่ยงสะกอ หมู่บา้ นพะมะลอ อำเภอแม่สะเรยี ง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ปรญิ ญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑติ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ประชาสงเคราะห์,กรม.(๒๕๔๓). ผ้าชาวเขา. กรงุ เทพมหานคร : ม.ป.พ. บุญช่วย ศรสี วัสดิ์. (๒๕๔๕). ชาวเขาในไทย. พิมพ์ครัง้ ที่ ๒ กรงุ เทพมหานคร : พฆิ เณศวรพร้ินต้งิ . ปรียาพร บุษบา. (๒๕๔๙). ผ้าในวิถชี วี ิตของกลุม่ ชาตพิ นั ธุใ์ นจงั หวดั ราชบุร.ี ราชบุรี : มหาวิทยาลัย ราชภฏั หมู่บ้านจอมบึง. _______(๒๕๕๒). แนวทางการอนรุ ักษ์และพื้นฟภู มู ิปญั ญาผา้ ทอกะเหรีย่ งจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : มหาวิทยาลยั ราชภฏั หม่บู ้านจอมบึง. _______(๒๕๕๕). แนวทางการพน้ื ฟภู ูมปิ ัญญาการย้อมสีผ้าทอกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุร.ี ราชบุรี : มหาวิทยาลยั ราชภฏั หมบู่ า้ นจอมบงึ . _______(๒๕๕๖). การออกแบบและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผา้ ทอกะเหรี่ยงบา้ นบงึ เหนือ ตำบล บ้านคา อำเภอบา้ นคา จังหวัดราชบุรี. ราชบรุ ี : มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั หมู่บ้านจอมบงึ . _______(๒๕๖๒). การรวบรวมและจัดเก็บขอ้ มูลผ้าทอกะเหรย่ี งจังหวดั ราชบุรแี ละเพชรบรุ .ี ราชบรุ ี :มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั หมู่บา้ นจอมบึง. ~ ๓๙ ~
ผะอบ นะมาตรแ์ ละคณะ. (๒๕๔๔). รายงานการวิจยั เร่อื ง ผ้าและการสบื ทอดความรู้เรอ่ื งผ้า กรณีศกึ ษากะเหรีย่ งโปว์ในพ้ืนทีจ่ ังหวดั กาญจนบรุ ี ราชบุรี และสุพรรณบุรี. สถาบันวจิ ัยและ พัฒนา มหาวทิ ยาลัยศิลปากร. เพชร ธรุ ะวร นริ มล นะซอ วันดี นะซอ.(๒๕๔๔). รายงานวจิ ัยเรื่องโครงการกระบวนการพฒั นา และสืบทอดภูมปิ ัญญาในการยอ้ มสดี ้ายดว้ ยวัสดุธรรมชาติของผู้หญิงกะเหร่ียงสะกอ ตำบลแมย่ าว อำเภอเมือง จังหวดั เชียงราย. สำนักงานกองทุนสนับสนนุ การวิจัย. มาลี ศรีฤงคาร.(๒๕๓๖). การวเิ คราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วา่ ดว้ ยงานหัตถกรรมชนเขาเผา่ กะเหรี่ยง : กรณศี ึกษาทอผา้ ณ หมบู่ า้ น พระบาทหว้ ยต้ม จังหวดั ลำพูน วิทยานพิ นธเ์ ศรษฐศาสตร มหาบณั ฑิต มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม.่ รชั นก เกตุบุญเรอื ง. (๒๕๔๓). ผ้าทอชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง. คณะวชิ าศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ฤชุอร แซ่โกย. (๒๕๔๔). อาชพี ทอผ้ากเ่ี อวของชนเผ่ากะเหร่ยี ง บา้ นพระบาทห้วยต้ม อำเภอล้ี จงั หวัดลำพูน. วิทยานิพนธห์ ลกั สตู รปรญิ ญาศึกษาศาสตรมหาบณั ฑิต มหาวิทยาลยั เชยี งใหม.่ วนชิ ญา หลักหมั่น. (๒๕๕๓). การเปล่ียนแปลงการทอผ้าของชาวลัวะ บา้ นเฮาะ ตำบลปางหันฝน วิบูลย์ ล้ีสวุ รรณ. (๒๕๕๐). สารานุกรมผ้าและเคร่ืองถักทอ. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ. อำเภอแมแ่ จ่ม จงั หวดั เชียงใหม.่ วทิ ยานพิ นธ์หลกั สตู รปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑติ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม.่ วุฒิ บุญเลศิ และคณะ. (๒๕๔๖). เมื่อกะเหรย่ี งสวนผึ้งลุกขน้ึ พดู . สำนักงานกองทนุ สนับสนุนการ วจิ ัย. วฒั นธรรมจงั หวดั ตาก, สำนกั งาน. (๒๕๕๑). รายงานวจิ ยั เร่อื ง การศกึ ษากระบวนการ ผลติ และลายของผา้ ทอกะเหร่ียง จังหวัดตาก กรณีศกึ ษา : บ้านไร่ หมทู่ ี่ ๓ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวดั ตาก. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแหง่ ชาติ. ศริ ิวรรณ ศริ ริ กั วงษา. (๒๕๕๑). ยุทธศาสตรก์ ารพฒั นาการทอผา้ ไหมลายกะเหรี่ยง อำเภอบ้านคา จังหวดั ราชบุรี. ปรญิ ญานิพนธ์ ศลิ ปศาสตรม์ หาบณั ฑติ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏหมู่บ้านจอมบงึ . ศลิ ปากร, มหาวทิ ยาลยั . ผา้ ทอพนื้ เมืองในภาคเหนอื . กรงุ เทพมหานคร : อมรินทร์พรินต์. สนธยา พลศร.ี (๒๕๕๐). เครอื ข่ายการเรียนรใู้ นงานพฒั นาชมุ ชน. พิมพ์คร้ังที่ ๒ กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร.์ สมสุย หนิ วมิ าน. (๒๕๕๑). แนวคิดในการศึกษาการบรหิ ารจดั การวฒั นธรรมทอ้ งถิ่น. เอกสาร ประกอบการอบรมเชงิ ปฏบิ ัติการ “การพฒั นานักวจิ ยั ท้องถิ่น ดา้ นการบรหิ ารจดั การวฒั นธรรม แบบมสี ว่ นร่วม” สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกบั ศนู ย์สหวทิ ยาการชุมชน ศึกษา (สบศ.) มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราชและโครงการเมธีวิจยั อาวุโส การสังเคราะหอ์ งค์ ความรเู้ ร่ืองการใช้และเสรมิ ความเข้มแข็งแกก่ ารส่ือสารเพ่ือการพัฒนาชมุ ชน สำนักงานกองทนุ สนับสนนุ การวจิ ยั (สกว.) วันที่ ๒-๓ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๕๑. ณ มหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช. สารภี มณีโชติและรชั ดาภรณ์ กณุ ามา. (๒๕๒๖). การทอผ้าของชาวเขาเผา่ กะเหรี่ยง. ศนู ยว์ ิจัย ชาวเขา จงั หวัดเชียงใหม.่ _______(๒๕๔๔). “ไทยกะเหรี่ยง”. ใน ๘ ชาติพนั ธใุ์ นราชบรุ ี. ราชบุรี : ธรรมรกั ษ์การพิมพ.์ สำนกั งานวัฒนธรรมจังหวัดราชบรุ ี. (๒๕๔๔). ๘ ชาติพันธุ์ในราชบรุ .ี ราชบรุ ี ม.ป.พ. สนุ ทร เกตอุ ินทร.์ (๒๕๔๕). โครงสร้างลวดลายผ้ากะเหร่ียง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอทุ ัยธานี วิทยานิพนธ์ศกึ ษาศาสตรมหาบณั ฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ~ ๔๐ ~
สุรเศรษฐ์ บญุ เกตุ. (๒๕๓๙). วฒั นธรรมและภมู ิปัญญาของชาวกะเหรีย่ งสวนผึ้ง. โรงเรยี นสวนผึง้ วิทยา อำเภอสวนผ้งึ จังหวัดราชบรุ ี. สุรนิ ทร์ เหลือละมัย. (๒๕๔๐). ความเช่อื ทางศาสนาของชาวกะเหรีย่ ง : กรณีศึกษาวันปใี หม่ กะเหรย่ี งท่ีวดั แจง้ เจริญ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แหง่ ชาต.ิ เสรี อาจสาลี. (๒๕๐๖). ๑๕ เผา่ ในไทย. กรุงเทพมหานคร : อักษรสมั พันธ.์ อรชร มณสี งฆแ์ ละธนั ยา พรหมบรุ มย์. (๒๕๕๐). รายงานวิจัย การศึกษาความเป็นไปไดใ้ นการ พัฒนาหตั ถกรรมทอ้ งถ่นิ และการตลาดในพ้ืนท่โี ครงการหลวง : กรณศี ึกษาผา้ ทอชาตพิ นั ธุ์ กะเหร่ยี ง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทหว้ ยต้ม. สถาบันวจิ ัยและพฒั นาทส่ี งู (องคก์ าร มหาชน) มหาวิทยาลัยเชยี งใหม.่ อรชร มณสี งฆ์และวิสทุ ธ์ิ จิตอารี. (๒๕๕๐). การศึกษาความเปน็ ไปไดใ้ นการพฒั นาหตั ถกรรมท้องถิ่น และการตลาดในพนื้ ที่โครงการหลวง : กรณีศึกษาผา้ ทอ ชาติพนั ธุ์กะเหรีย่ งบ้านห้วยหอ้ ม. สถาบันวิจยั และพฒั นาพื้นทสี่ ูง. (องค์การมหาชน) : มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่. อลังการ เจรญิ สุข. (๒๕๕๔). รปู แบบวถิ กี ะเหรยี่ งโปว์ อำเภอบา้ นคา จงั หวัดราชบุร.ี ปริญญารฐั ประศาสนศาสตรมหาบัณฑติ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ . อาภรณ์ สนุ ทรวาท. (๒๕๔๙). การศกึ ษาอัตลักษณใ์ นรำกะเหรยี่ งอำเภอสวนผงึ้ จังหวดั ราชบุร.ี ราชบรุ ี : มหาวทิ ยาลัยราชภฏั หมู่บ้านจอมบึง. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคา. (๒๕๕๖). ข้อมูลและสภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล บา้ นคา. อำเภอบา้ นคา จงั หวดั ราชบุรี. เอกสารอัดสำเนา. ๒. บุคคลอ้างอิง ๑) นางอารยี ์ กงจก ทอ่ี ยู่ ๑๘ หมู่ ๖ บ้านบงึ เหนือ ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จงั หวดั ราชบุรี ๒) นางกุหลาย อริ ัชวา ทอ่ี ยู่ ๒๑ หมู่ ๖ บ้านบงึ เหนอื ตำบลบา้ นคา อำเภอบ้านคา จงั หวดั ราชบรุ ี ๓) นางรชั นก บญุ ประเสรฐิ ทอี่ ยู่ ๙/๒ หมู่ ๖ บ้านบงึ เหนอื ตำบลบา้ นคา อำเภอบา้ นคา จงั หวดั ราชบรุ ี ๔) นางหก กงจก ที่อยู่ ๑๘ หมู่ ๖ บ้านบึงเหนือ ตำบลบ้านคา อำเภอบา้ นคา จังหวัดราชบุรี ๕) นางสดุ เพชรเม็ดเตง่ ทอ่ี ยู่ ๑๓ หมู่ ๖ บ้านบงึ เหนอื ตำบลบา้ นคา อำเภอบ้านคา จังหวดั ราชบุรี ๖) นายฉัตรชยั ธนิกกุล ที่อยู่ หมู่ ๑ บา้ นคา ตำบลบา้ นคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบรุ ี ๗) นางกลงึ คาผกู ที่อยู่ ๑๑๓/๓ หมู่ ๓ บ้านท่ายาง ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวดั ราชบรุ ี ๘) นางคลอง ใจคม ทอ่ี ยู่ ๙ หมู่ ๓ บ้านท่ายาง ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จงั หวดั ราชบรุ ี ~ ๔๑ ~
๙) นางเท้ย บญุ ชูเชดิ ทอี่ ยู่ ๔๘ หมู่ ๓ บา้ นท่ายาง ตำบลยางหัก อำเภอปากทอ่ จงั หวัดราชบุรี ๑๐) นางเกย ยอดทะเนีย ท่อี ยู่ ๔๖ หมู่ ๓ บา้ นท่ายาง ตำบลยางหัก อำเภอปากทอ่ จังหวดั ราชบรุ ี ๑๑) นายเท่ยี ง ใจคม ท่ีอยู่ ๙ หมู่ ๓ บา้ นท่ายาง ตำบลยางหกั อำเภอปากท่อ จังหวดั ราชบรุ ี ๓. รูปภาพ พร้อมคำอธิบายใตภ้ าพ จำนวน ๑๐ ภาพ รหัสภาพ ภาพ คำอธบิ าย วัน/เดือน/ปี ผู้ถ่ายภาพ ทถ่ี ่ายภาพ ผ้าทอ ซิ่นจกหรอื ซิ่นตีนจก มีลักษณะตัว ๑๕ มค.๕๖ ปรียาพร กะเหรี่ยง ซิ่นเป็นลายมัดหมี่สลับลายทอยก ทองผุด ๐๐๑ ดอก ตีนซิน่ ทอลวดลายจกประดับ ตกแต่งลูกปัดสีขาวเกล็ดเงินถัก ด้ายแดง เป็นเส้นเปียหรือพู่ห้อย ซ ิ ่ น จ ก เ ป ็ น ซ ิ ่ น แ ส ด ง ถ ึ ง ผ ู ้ ห ญิ ง กะเหรยี่ งทแ่ี ตง่ งานแลว้ ใชใ้ ส่ทำงาน ใส่ไปเที่ยวหรือใส่ในพิธีแต่งงาน งานสงกรานต์ งานประเพณีกิน ข้าวหอ่ เปน็ ตน้ ผ้าทอ ซิ่นมัดหมี่มีลักษณะตัวซิ่นทอลาย ๑๕ มค.๕๖ ปรียาพร กะเหรย่ี ง มัดหม่สี นี ้ำตาลสลับกบั ทอยกดอก ทองผุด ๐๐๒ มีขนาดของลายเท่า ๆ กัน ตีนซ่ิน ไม่มีลวดลายเหมือนกับหัวซิ่น เป็น ซิ่นที่ผู้หญิงกะเหรี่ยงใส่ทำงานไป สวน ไปไร่หรือใช้ในทำงานในชีวิต ประจำวนั ผา้ ทอ ส่วนหัวซิ่นหรือหนึ่ยคู้ไถ้ คือ ผ้าที่ ๑๕ มค.๕๖ ปรยี าพร กะเหร่ียง อยู่บริเวณส่วนบนสุดของซิ่น มี ทองผดุ ๐๐๓ ขนาดกว้าง ๙ ซ.ม. ยาวประมาณ ๖ ซ.ม. เป็นส่วนทอพื้นสีน้ำเงิน เข้มเกอื บดำ (ค๊ไู ถเ้ พลค่)ู เป็นส่วน ท่ีเย็บตอ่ กับตัวซิ่น ผา้ ทอ ส่วนตัวซิ่นหรือหนึ่ยหมึ่ยซา คือ ๑๕ มค.๕๖ ปรยี าพร กะเหรีย่ ง ส่วนพื้นที่ท่อนกลางของผ้าซิ่นมี ทองผุด ๐๐๔ เทคนิคการทอ ๒ วิธี คือ ทอผ้า พื้นเป็นสีน้ำตาลด้วยวิธีการมัด ลายแล้วนำไปย้อมชาวกะเหรี่ยง ~ ๔๒ ~
รหสั ภาพ ภาพ คำอธิบาย วัน/เดือน/ปี ผถู้ ่ายภาพ ทถ่ี ่ายภาพ เรียกว่า “คั๊ย” และการทอยกด อก (บหุ รอื บอุ อง) โดยเนน้ การทอ สลับกันไปในแนวนอนวิธีการละ ๔ แถว มีความกว้างของตัวซิ่น ประมาณ ๕๐-๖๐ ซ.ม. ส่วนตัว ซิ่นจะทอผ้าส่วนที่เป็นมัดย้อม และส่วนที่ทอยกดอก ๒ ผืนมา เย็บตดิ กนั ผา้ ทอ ส่วนตีนซิ่นหรือหนึ่ยคั๊ยไถ้ คือ ๑๕ มค.๕๖ ปรียาพร กะเหร่ยี ง ส่วนที่เป็นชายผ้าซิ่นด้านล่างสุด ทองผดุ ๐๐๕ มีความยาวประมาณ ๑๐ ซ.ม. แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนบนใช้ วิธีการจก (อ่อง) เรียกว่า หนึ่ย อ่องกึ๊ย (ผ้าตีนจก) เป็นลวดลาย ต่างๆ ส่วนด้านล่างจะใช้วิธีการ ทอเป็นสีแดง มีแถบสีแดง สีขาว สีเหลือง สีดำ สลับกับสีแดงเป็น แถบเล็กๆ เรียกว่า หนึ่ยคั๊ยไถ้โว (ตนี ซ่นิ สีแดง) ผ้าทอ หนึ่ยคั๊ยไถ้ส่วนบน หรือหนึ่ย ๑๕ มค.๕๖ ปรยี าพร กะเหรยี่ ง อ่องกึ๊ย คือ ส่วนจกเป็นลวดลาย ทองผดุ ๐๐๖ ตามแนวขวางในขณะที่ทอ เมื่อ ทอเสร็จแล้วนำมาเย็บเป็นตีน ซิ่นมีลักษณะของลวดลายตาม แนวตั้ง การจกลวดลายจะจก เป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด เทา่ กนั สลบั กบั การทอพื้นเป็นช่อง สี่เหล่ียมสีดำขนาดเท่ากันสลับกนั ไป นำผ้าสีโว (สีแดง) มาเย็บติด กับช่องผ้าสีดำแล้วปักด้วยเบลิงจี่ (เกล็ดเงิน) ส่วนล่างของลายจก ร้อยเพล้ถ่องดึ๊ย (ลูกปัด) สีทอง และเย็บด้ายให้เป็นหนึ่ยดอก บล็อก (พู่ห้อยผ้าถุง) ประดับให้ สวยงาม บางผืนจะเย็บด้ายถัก ~ ๔๓ ~
รหสั ภาพ ภาพ คำอธิบาย วนั /เดอื น/ปี ผู้ถา่ ยภาพ ทถี่ า่ ยภาพ เปียติดลงเป็นกรอบช่องสี่เหลี่ยม และปล่อยชายให้ด้ายลุ่ยออก ผ้าทอ หนึ่ยคั๊ยไถ้ส่วนล่างหรือหนึ่ยคั๊ย ๑๕ มค.๕๖ ปรยี าพร กะเหรี่ยง ไถ้โว คือ ส่วนที่ใช้วิธีการทอพื้น ทองผดุ ๐๐๗ สีแดง มีแถบสีขาว สีเหลอื ง สีดำ เปน็ แถบเล็กๆ สลบั กบั สีแดง สว่ น ที่เป็นแถบสีนี้ เรียกว่า หนึ่ยกุเล (ลายเสริมแต่งให้สวยงาม) ลวด ลายต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการ สลับสีของเส้นด้ายยืน ตั้งแต่ กระบวนการข้ึนดา้ ย บางผืนมีการ สอดเส้นด้ายปล่อยชายเป็นเส้น ร้อยลูกเดือยหรือลูกปัดเล็กๆ ป ร ะ ด ั บ ใ ห ้ เ ป ็ น ช า ย ล ุ ่ ย ใ ห ้ ดู สวยงาม และบริเวณชายซ่ิน ตกแต่งดว้ ยลูกปัดสขี าว ผา้ ทอ ไช่อั่ว คือ เสื้อสีขาวที่เด็กผู้หญิง ๓๐ มค.๕๖ ปรียาพร กะเหรี่ยง สวมใส่ตั้งแต่เป็นเด็กจนกระทั่งมี ทองผดุ ๐๐๘ ประจำเดือนหรืออายุ ๑๕ ปี ถือ ว่าเป็นสาวจนกระทัง่ แต่งงานแลว้ จะเลิกใส่ไช่อั่วไปใส่เสื้อ “ไช่ โพล่ง” ไช่อั่วเป็นชุดผ้าฝ้ายสีขาว ทอเป็นผืนยาว มีช่องสวมทาง ศีรษะ ยาวคลุมเข่า ปักกุ้นรอบ แขนคอ ชายผ้าตกแต่งด้วยด้าย แดง อาจใส่เม็ดเงินหรือลูกไม้ เรียกวา่ “พงซ้า” ทช่ี ายถงุ ผา้ ทอ ไช่โพล่ง คือ เสื้อผู้หญิงกะเหรี่ยง ๓๐ มค.๕๖ ปรียาพร กะเหรี่ยง ที่สวมใส่ตั้งแต่เมื่อมีประจำ ทองผุด ๐๐๙ เดือนหรือผู้หญิงท่ีแตง่ งานแล้วใส่ จนกระทั่งวัยชรา มี ๒ รูปแบบ คือ ไช่เสิงเทิง เป็นเสื้อผ้าฝ้ายทอ มอื ผ้าพน้ื สดี ำหรือสีครามหรือสีน้ำ เงินเข้ม ทรงกระบอก ยาวคลุม สะโพกจนถึงเกือบหัวเข่า ไม่มี ลวดลาย จะเป็นเสื้อที่สวมใส่ ~ ๔๔ ~
Search