Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 2564_รายงานการวิจัย

2564_รายงานการวิจัย

Published by banchongmcu_surin, 2022-06-05 05:59:24

Description: 2564_รายงานการวิจัย(พยุง)

Search

Read the Text Version

51 ๘) ห้องนำ้ -ห้องสุขา (๑) ห้องน้ำอุบาสก/อุบาสิกา แห่งที่ ๑ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ แบ่งออกเป็น ห้องน้ำผู้ชาย จำนวน ๕ ห้อง ห้องน้ำผู้หญิงจำนวน ๔ ห้อง ห้องน้ำคนพิการและคนชราจำนวน ๑ ห้อง กว้าง ๕ เมตรยาว ๑๕ เมตร จำนวน ๑ หลงั ค่ากอ่ สรา้ ง ๑๗๕,๐๐๐ บาท (๒) ห้องน้ำอุบาสก/อุบาสิกา แห่งที่ ๒ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกเป็น หอ้ งน้ำผ้ชู ายจำนวน ๘ หอ้ ง ห้องนำ้ ผูห้ ญงิ จำนวน ๔ ห้อง ห้องน้ำคนพกิ ารและคนชราจำนวน ๒ ห้อง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสรา้ ง ๒๗๕,๖๐๐ บาท (๓) หอ้ งนำ้ พระสงฆ์ ต้ังอยู่ทางทศิ ตะวนั ตก จำนวน ๖ ห้อง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๑ หลงั ค่ากอ่ สร้าง ๑๑๕,๒๐๐ บาท ๒.๒.๔ พัฒนาการด้านศาสนบุคคล การพัฒนาความรู้พระสังฆาธิการ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี เพื่อให้มีความรู้ถูกต้อง ทันสมัยทั้งทางโลกและทางธรรม สามารถนำวิทยาสมัยใหม่มาใช้จัดการบริหารกิจการ ของวดั ได้ และสรา้ งองคก์ รปกครองในคณะสงฆ์ของวดั ให้มีประสิทธภิ าพ และเป็นผนู้ ำชุมชนได้ ๑) พระภิกษุ สามเณร ได้รบั การศกึ ษาปรยิ ตั ิธรรม ตรี โท เอก ๒) พระภิกษุ สามเณร ได้รับการฝึกปฏิบัตวิ ิปสั สนากรรมฐาน ตามโครงการทีไ่ ปปฏบิ ัติอบรม เช่น โครงการอบรมพระสังฆาธิการ โครงการอบรมพระวปิ สั สนาจารย์คณะสงฆ์ธรรมยตุ รนุ่ ๙ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓) พระภิกษุ สามเณร ได้ศึกษาฝึกหัดฝีมือด้านปฏิมากรรม การสร้างแบบพระพุทธรูป การ แกะสลกั เปน็ แบบรูปหลอ่ ดว้ ยดนิ เหนียวผสมนำ้ มนั และแบบหลอ่ ลายพุทธศิลปข์ อมโบราณ ๔) พระภิกษุ สามเณร ได้ศึกษาฝึกหัดฝีมือด้านการก่อสร้างสาธารณูปการ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฏทิ รงไทยประยุกต์ ๕) พระภกิ ษุ สามเณร ไดศ้ ึกษาความรู้ดา้ นชา่ งยนต์ ชา่ งไฟฟ้า และด้านเคร่ืองเสียง ๖) และยังไดศ้ กึ ษาเก่ียวกบั การทำเกษตรอินทรย์ เชน่ ปลูกขา้ ว ผัก ผลไมแ้ ละทำปุ๋ย ๗) ในวดั ยังมีโยม...การสอนตัดเยบ็ จวี รดว้ ย สำหรบั ผทู้ ีต่ ้องการเรยี นรู้ ๒.๒.๕ พัฒนาการด้านศาสนพิธี ๑) พิธกี รรมวนั ปกติ ในกิจวตั รปกติของวัดปราสาทโคกกลันธรรมามราม

52 - ช่วงเชา้ เวลา ๐๕.๔๕ น. สญั ญาณระฆัง พระภิกษุสงฆ์สามณรท้ังหมดในวัดออกบิณฑบาตร ทต่ี ลาดเทศบาลตำบลระแงง กลับจากตลาดเทศบาลแล้วลงรับบิณฑบาตรที่บา้ นระเวียง และบ้านโคกกลันแล้ว เดินกลับเขา้ วัด - เวลา ๐๘.๓๐ น. สัญญาณระฆัง พระภิกษุสงฆ์สามณรทั้งหมดในวัด ออกรับภัตตาหารเช้า โดยพระภิกษุสงฆ์ สามเณร แมช่ ี ทั้งหมด ออกบิณฑบาตรภายในวัดอีกรอบหนึง่ เพอื่ สนองศรัทธาญาติโยมที่มา จากท้องถิ่นอื่นและต่างจังหวัด พระภิกษุสงฆ์สามเณรรับภัตตาหารแล้ว กลับไปที่วิหาร เพื่อทำพิธีสวดอุทิศ ปุพพเปตพลี เสร็จแล้วพระภิกษุกล่าวอนุโมทนาบุญ และทำภัตธกิจฉันในบาตรเป็นวัตร แล้วยกภัตตาหารท่ี เหลือจากสงฆ์ ให้กับญาติโยมที่มาทำบุญ ได้รับประทานอาหารที่เป็นมงคลต่อไป เป็นอันเสร็จพิธีในทุกๆ วัน ๒) พธิ บี รรพชา-อปสมบท (บวชนาคหม)ู่ ผูท้ ี่จะขอบวชต้องได้รับการตรวจสอบพิจารณาจากสำนักงานอำเภอ เกยี่ วกับประวตั ิผู้ขอบวช อาจมคี ดคี วามเปน็ ตน้ และตอ้ งได้รบั การพิจารณาจากพระอปุ ชั ฌาย์ กับเจา้ อาวาสของวดั ปราสาทโคกกลนั ด้วย เมื่อผ่านการตรวจสอบถูกต้องดีแล้ว จึงจะเข้าพิธีกรรมที่ทางวัดจัดการให้ โดยทางวัดได้เป็นผู้จัดบริขาร ๘ มี บาตร ไตรจีวร เปน็ ต้นให้เอง แต่หากผู้ขอบวชจะหามาเองกไ็ ดส้ มควร ระเบียบพิธีกรรม ช่วงเย็น ก่อนวันบรรพชาอุปสมบทตอนเช้า มีขั้นตอนพิธีกรรมประมาณ เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป เริ่มพิธีปลงผมเจ้านาค เสร็จแล้วในเวลา ๒๐.๐๐ น.เป็นต้นไป เมื่อจัดเตรียม สถานที่ ดอกไม้ ธูปเทียน บายศรี ผลไม้ ขนม จัดเตรียมผ้าไตรจีวรบาตรบริขารแปดเรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มพิธี เจริญพระพุทธมนต์สมโภชเจ้านาค เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว ทายกอาราธนาพระธรรม พระสงฆส์ วดบงั สุกุลอุทศิ ปุพเปตพลีตอ่ เม่ืออสวดจบแลว้ ประธานสงฆ์ก็กล่าวอบรมเจา้ นาคตอ่ ไป ช่วงเช้า ในวันบรรพชาอุปสมบท มีพิธีการรับบณิ ฑบาตรตอนเช้าภายในวดั เพื่อสนองศรัทธา ญาติโยมที่มาจากท้องถน่ิ อ่ืนและต่างจังหวัด พระภกิ ษุสงฆส์ ามเณรรบั ภัตตาหารแลว้ กลบั ไปที่วหิ าร ทำพิธีสวด อุทิศปุพพเปตพลี เสร็จแล้วพระภิกษุกล่าวอนุโมทนาบุญ เมื่อพระสงฆ์ สามเณร เจ้านาค อุบาสกอุบาสิกา ทำ ภตั ทกจิ เสรจ็ แล้ว เตรียมตวั แหเ่ จ้านาคไปยงั วัดพระอุปชั ฌาย์ เพ่ือบรรพชาอปุ สมบทในอุโบสถเป็นอนั เสรจ็ พธิ ี ๓) พิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมการเวียนเทียนในพิธีวันมาฆบูชา วันวิ สาขบูชา วันอาสาฬหบชู า มกี ารปฏบิ ัตดิ งั น้ี (๑) ถึงกำหนดเวลา ทางวัดประกาศให้พทุ ธบริษทั ทราบท่ัวกนั บอกกำหนดเวลาประกอบ พิธดี ้วยวา่ จะประกอบเวลาไหน จะเป็นตอนบา่ ยหรือคำ่

53 (๒) เม่อื ถงึ เวลากำหนด ทางวัดตีระฆงั สัญญาณให้พุทธบริษัท ภิกษุสามเณร อุบาสกและ อุบาสิกา ประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถกลางน้ำ อันเป็นหลักของวัด พระภิกษุอยู่แถวหน้าถัดไปสามเณร ท้ายสุด อุบาสกอุบาสิกาจะจัดให้ชายอยู่กลุ่มชาย หญิงอยู่กลุ่มหญิง หรือปล่อยให้คละกันตามอัธยาศัย ทุกคน ถือดอกไมธ้ ูปเทยี นตามแตจ่ ะหาได้ และศรทั ธาของตน ขนาดของเทียนควรจุดเทยี นให้เดินจนครบ ๓ รอบ (๓) เมื่อทำวัตรสวดมนต์พร้อมกันเสร็จแล้ว ประธานสงฆ์จุดเทียนและธปู ทุกคนจุดของ ตนตามเสร็จแล้ว ถือดอกไม้ธูปเทียนที่จุดแล้วประนมมือ หันหน้าเข้าหาปูชนียสถานที่เวียนนั้น แล้วกล่าวคำ บชู า ตามแบบทกี่ ำหนดไวต้ ามประธานสงฆ์จนจบ (๔) ประธานสงฆ์ประนมมือถือดอกไม้ธูปเทยี นเดินนำหน้าแถวไปทางขวามือของสถานที่ ทเ่ี วียนเทียน คอื เดินเวยี นไปทางท่มี อื ขวาของตนหนั เข้าหาสถานที่ทีเ่ วยี นนนั้ จนครบ ๓ รอบ การเดินเวยี นขวา เพื่อเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงตามธรรมเนียมอินเดีย ในสมัยพุทธกาลในแต่ละรอบให้ระลึกถึ งพระ พุทธคณุ พระธรรมคณุ และพระสังฆคณุ ตามลำดบั (กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, พิธีกรรมและประเพณี, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย จำกดั , กรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๒.) ๔) พธิ วี ันเข้าพรรษา/ขัน้ ตอน/ธรรมเนียมปฏบิ ตั ิ พีธีกรรมวันเข้าพรรษา ถือกันว่าเป็นวันพิเศษในพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนขะมักเขม้น ในการบุญกศุ ลยิง่ กวา่ ธรรมดาบางคนรักษาศีลอุโบสถตลอด ๓ เดอื น บางคนไปวัดฟงั เทศน์ท้ัง ๓ เดือน บางคน ตั้งใจงดเว้นบาปทั้งปวง ส่วนพระภิกษุสงฆ์ เมื่อใกล้ถึงวันเข้าพรรษาก็ปัดกวาดเสนาสนะ ตั้งใจบำเพ็ญสมณ ธรรมยิง่ ๆ ข้ึนไป ในวันเขา้ พรรษาจะประชุมกันในพระอโุ บสถไหว้พระสวดมนต์ ทำพธิ เี ขา้ พรรษาแล้วขอขมาต่อ กันและกนั ครั้นในวนั ถัดไปกเ็ อาดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระเถรานุเถระต่างวัดซง่ึ เป็นท่ีเคารพนบั ถือ การประกอบพิธีวันเข้าพรรษาในปัจจุบัน การประกอบพิธีในวันสำคัญนี้ แบ่งออกเป็น ๓ ประการ คอื (๑) พธิ รี าษฎร์ หรอื พิธีของพทุ ธสาสนกิ ชนทว่ั ไป (๓) พธิ ีสงฆ์ สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ก็จะทำบุญตักบาตรเป็นกรณีพิเศษ เช่นถวาย สังฆทาน ถวายผ้าอาบนํ้าฝน ถวายดอกไม้ธูปเทียน จตุปัจจัยไทยธรรม และผู้มีศรัทธาแก่กล้าจะทำการ เข้าพรรษาด้วยคือ การงดเว้นจากอบายมุข สิ่งเสพติด สุราเมรัย ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขต่าง ๆ ตลอด ระยะเวลา ๓ เดอื น ของการเข้าพรรษา ซึง่ จะเป็นหนทาง ใหส้ ามารถละ เลกิ ไดต้ ลอดกาลในโอกาสขา้ งหน้า พิธีสงฆ์ ทางวดั จะมกี ารอธิษฐานเข้าพรรษาโดยเรมิ่ จาก (๑) เมื่อพระสงฆม์ าพร้อมกนั ท่พี ระอุโบสถ หรอื สถานทีท่ ่กี ำหนด ทำวตั รสวดมนต์ในตอน เย็นพรอ้ มกนั กับอุบาสกอุบาสิกา

54 (๒) ประธานสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา เรื่องการเข้าพรรษา หรืออ่านประกาศเรื่องการ เขา้ พรรษาเพ่ือบอกให้รู้เร่ืองประวัติ ความเปน็ มา และเหตผุ ล ทีต่ อ้ งมกี ารเข้าพรรษา เพอื่ บอกใหร้ ู้ถึงภารกิจ ที่ ภิกษุสงฆ์ต้องกระทำในช่วงวันเข้าพรรษา เช่น ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติธรรม และบอกให้ทราบเรื่องที่ไม่ สามารถไปคา้ งคืนท่อี น่ื ได้ ในช่วงเข้าพรรษา และเพ่อื บอกกติกาทค่ี วรปฏิบัตริ ว่ มกัน ขณะอยรู่ ว่ มพรรษา (๓) กล่าวคำอธิฐานเข้าพรรษาว่า อมิ สั มงิ อาวาเส อมิ ัง เตมาสงั วตั สงั อุเปมิ ฯ. (๔) เสรจ็ แล้วใหพ้ ระสงฆ์กล่าวขอขมาขอโทษต่อกันเปน็ อนั เสร็จพธิ ี ข้อปฏบิ ัตทิ ั่วไปสำหรบั พทุ ธศาสนกิ ชนในวันเขา้ พรรษา (๑) ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า (๒) ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา (๓) ถวายผา้ อาบน้าํ ฝน ร่วมหล่อเทียนพรรษา และถวายจตุปจั จัยไทยธรรม (๔) สมาทานศลี ปฏบิ ัตธิ รรม ละเว้นอบายมุขทงั้ ปวง ๕) พธิ ีกรรมวนั ออกพรรษา กิจกรรมสำคัญในวันออกพรรษา วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ การจำ พรรษาของพระภิกษุสามเณรตลอดระยะเวลา ๓ เดือน นับว่าเป็นอีกหนึ่งวันที่เป็นประเพณีอันงดงามอยู่คู่กับ คนไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งวันออกพรรษาของทุกปี พระภิกษุสามเณรของทางวัด จะร่วมกันประกอบพิธี สังฆกรรมใหญ่ และนับว่าเปน็ อกี หน่ึงในโอกาสอันดี ที่จะให้พุทธศาสนิกชนท้ังหลาย ได้ร่วมทำบุญในประเพณี สำคัญที่ถูกจัดขึ้น เพื่อสืบสานประเพณี และคงความเป็นเอกลักษณ์อันดีของชาวไทยพุทธเอาไว้ด้วย จึงมี กิจกรรมให้ทำรว่ มกนั เพอ่ื เปน็ การบำเพ็ญบญุ กุศลดังน้ี (๑) ตกั บาตรเทโว ซง่ึ การตักบาตรเทโวนั้น ตรงกบั วันแรม ๑ คำ่ เดอื น ๑๑ ได้จัดข้ึนท่ีวัด และแบ่งคณะสงฆ์บางส่วนไปยังโรงเรียนบ้านระเวียงด้วย เพื่อให้นักเรียน, นักศึกษา ชาวบ้านทั้ง ๕ หมู่ร่วม ทำบญุ ด้วยการเตรยี มขา้ วสารอาหารแหง้ มาใส่บาตรด้วย (๒) อุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลใหญ้ าตผิ ู้ลว่ งลับ ในวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนที่มาในวดั นี้ มักนิยมทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการอาราธนาพระสงฆ์สวดมาติกา บังสุกุลและสวดดาร (บทสวดติโรกณั ฑสตู ร) พร้อมฟังธรรมเทศนาและปฏิบัติธรรมตามกาล แล้วตรวจน้ำอทุ ิศ และรบั พรเปน็ อนั เสรจ็ พิธี ๖) พธิ ีกรรมบุญกฐิน

55 การถวายผา้ กฐิน การถวายผ้ากฐนิ น้ัน เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐิน นั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน ๓ จบ ถ้า เป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เพื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำกล่าวคำถวาย ครั้นจบ แล้ว พระสงฆ์รบั ว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่พระภิกษผุ ู้เถระ ครัน้ แล้วประเคนเคร่ืองบริขารอื่นๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์กล่าวอปโลกน์ทำพธิ ีมอบผ้าให้แกภ่ ิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวนิ ัย ครน้ั เสร็จแล้ว พระสงฆ์อนโุ มทนา เจา้ ภาพกรวดนำ้ รบั พร ก็เปน็ อนั เสรจ็ พิธกี ารทอดกฐนิ เพยี งน้ี พิธีกรานกฐิน เป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ เมื่อพระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้า กฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กลา่ วเรอื่ งประวัติกฐินและอานสิ งส์คแล้ว ภกิ ษผุ รู้ บั ผา้ กฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม ๓ จบ แลว้ เปลง่ วาจาในท่ามกลางชมุ นมุ นน้ั ตามลักษณะผา้ ทก่ี รานดงั น้ี ถ้าเป็นผา้ สงั ฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินวา่ \"อิมายสงฆฺ าฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ\" แปลว่า ข้าพเจ้า กรานกฐินด้วยผ้าสมั ฆาฎนิ ี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ตอ้ งว่าคำแปลน)้ี ๓ จบ ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า \"อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ\" แปลว่า จา้ พเจ้ากรานกฐนิ ด้วยผา้ อุตตราสงคน์ ้ี ๓ จบ ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า \"อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ\" แปลว่าขา้ พเจา้ กรานกฐนิ ดว้ ยผา้ อนั ครวาสกนี้ ๓ จบ ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกราบพระ ๓ หนเสร็จแล้ว ตั้งนโมพร้อมกัน ๓ จบ แล้ว ทา่ นผู้ได้รับผ้ากฐนิ หันหนา้ มายังกลุ่มภิกษุสงฆ์ กล่าวคำอนุโมทนา ดงั นี้ \"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ\" ๓ จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐิน สงฆ์กราบแลว้ การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจา้ ขออนโุ มทนา) ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า \"อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ\" ๓ จบ สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จน หมดภกิ ษุผ้ปู ระชุมอนุโมทนา เมือ่ เสรจ็ แล้ว ใหน้ ั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หนั หน้าตรงตอ่ พระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก ๓ จบ แต่ใหเ้ ปลย่ี นคำวา่ อนโุ มทามิ เปน็ อนโุ มทามะ เป็นอันเสรจ็ ไปชนั้ หนง่ึ ตอ่ แตน่ ้ันกราบพระ ๓ หน นง่ั พับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเน่ืองด้วยกรานกฐิน จบแลว้ ก็เป็น เสร็จพิธกี ารกรานกฐิน

56 ๗) พิธกี รรมบำเพญ็ บญุ อุทศิ ปุพพเปตพลี (เบญตูจ-เบญทม) “ปุพพเปตพลี” คือ การทำพลีกรรมเพื่ออุทิศให้แก่ท่านที่ล่วงลับไปก่อน จัดเป็นทาน คือ การให้อันหนึ่งของบุคคลที่ยังมีชีวติ อยู่ในโลกนี้ และจัดเป็นบญุ กิริยาวัตถุ คือ ที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญประการ หนึ่ง เรียกว่า “ปัตติทานมัยบุญ” คือ บุญที่สำเร็จหรือเกิดขึ้นจากการให้ ผลแห่งความดีที่ตนทำไว้ พระพุทธศาสนา ได้แสดงถึงการอุทิศส่วนกุศลให้คนทีต่ ายไปแล้วไว้มากหลายแห่ง อันเป็นการยอมรับถึงความ มีอยู่ของผลที่บุคคลอุทิศไปให้ผู้ตาย ซึ่งเป็นแนวความคิดที่มีมาก่อนพุทธกาล เมื่อพระพุทธศาสนาบังเกิดขึ้น ๒.๒.๖ พฒั นาการด้านศาสนธรรม ๑) การศึกษาด้านปริยัติ ทางวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม มีการสอนเรียนการเรียน นักธรรมตรี โท เอก ในสำนัก โดยมคี ณาจารย์ในวัดและนิมนต์พระอาจารย์ท่ีอืน่ มาสอนอีกด้วย ส่วนการศึกษา ด้านแผนกบาลีนัน้ ทางวัดก็จะทำการจัดสง่ ไปศึกษาเลา่ เรียนตามสำนักที่ทางวัดได้เลือกไว้ เช่น สำนักวัดบูรพา ราม พระอารามหลวง สำนกั วดั เขาศาลาอตลุ ฐานะจาโร เป็นต้น การศกึ ษาปรยิ ัติธรรมในแต่ละปีมีดงั นี้ - พ.ศ. ๒๕๖๐ นกั ธรรมตรี ๑๘ รูป นกั ธรรมโท ๖ รูป นกั ธรรมเอก ๓ รปู - พ.ศ. ๒๕๖๑ นกั ธรรมตรี ๑๔ รูป นักธรรมโท ๔ รูป นกั ธรรมเอก ๒ รปู - พ.ศ. ๒๕๖๒ นกั ธรรมตรี ๑๖ รูป นักธรรมโท ๕ รปู นักธรรมเอก ๓ รปู - พ.ศ. ๒๕๖๓ นกั ธรรมตรี ๑๙ รูป นกั ธรรมโท ๖ รูป นกั ธรรมเอก ๓ รปู - พ.ศ. ๒๕๖๔ นกั ธรรมตรี ๔ รปู นักธรรมโท ๘ รปู นักธรรมเอก ๔ รปู ๒) การปฏบิ ัตวปิ ัสสนากรรมฐาน ไดม้ ีการปฏบิ ัติธรรมของคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ของทุกปี จัดให้ มีการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานภายในวัด ตามวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วัน อาสาฬหบูชา ในโครงการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน และปฏิบัติธรรมทุกเช้าเย็นในการทำวัตร สวดเจริญพระ พุทธมนต์ โดยได้ปฏบิ ัติกับอุบาสก อบุ าสกิ าทีม่ ารว่ มกนั อกี ดว้ ย ๓) การฝึกอบรมพระนักเทศน์ปาฐกถาธรรม สำหรับการฝึกอบรมพระนักเทศน์ ได้จัดให้มี การเทศนาประจำทุกวันพระ มีการเทศนาในงานบุญกฐิน และในวันสำคัญต่างของพระพุทธศาสนา จัดเทศน์ พระเวสสันดรชาดกประจำทุกปี และมีโอกาสก็ส่งพระภิกษุไปฝึกอบรมการเทศนาในสำนักต่างๆ อีกด้วย เพื่อ พัฒนาศาสนบคุ คล ใหม้ คี วามรเู้ พอ่ื เผยแผพ่ ระศาสนาต่อไป ๔) พระไตรปิฎก/คัมภีร์โบราณ ทางวัดได้จัดเก็บพระคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนา เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎกแปลภาษาไทย-บาลี คัมภีร์ใบลานเก่า คัมภีร์ภาษาล้านนา คัมภีร์ภาษาขอมโบราญ คัมภีร์

57 ภาษามอญ เป็นต้น ได้เก็บรวบรวมเพื่อรักษาคัมภีร์พระธรรม ที่โบราณจารย์ได้บันทึกไว้แล้ว ให้คงอยู่สืบพระ ศาสนาตอ่ ไป ๒.๓ แนวคิดเกย่ี วกบั บทบาทดา้ นสาธารณสงเคราะหว์ ดั ปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม ๒.๓.๑ สาธารณสงเคราะหด์ า้ นวตั ถุ ๑) ถวายผา้ ไตรจวี รแกค่ ณะสงฆ์ และสงเคราะหแ์ ก่เจ้านาค ผ้าไตรจีวร ทางวัดและผู้มีจิตศรัทธาเจ้าของธนบัติปัจจัย ได้นำเงินไปจัดซื้อผ้ามัสซิลินสีกลัก ทอง มาเป็นวัตถุดบิ ในการตัดเย็บจีวร โดยให้คุณโยมแม่ตงึ ชมภูแดง เป็นช่างชำนาญการตดั เย็บจีวร และเป็น ผู้ดูแลด้านบริขารของพระสงฆ์ในวัด เมื่อมีผ้าไตรจีวรประจำวัดแล้ว ก็จะจัดถวายตามที่คณะสงฆ์ได้มีการขอ ความอนุเคราะหม์ าวดั ทางวัดก็จะจดั ถวายตามทไี่ ด้แจ้งความประสงค์ไว้แลว้ นนั้ สำหรบั ผา้ ไตรจวี รทจ่ี ะสงเคราะหใ์ หแ้ ก่เจ้านาคผู้มศี รัทธาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แต่ยังขาด ธนบัติปัจจัยซื้อผ้าไตรจีวร ก็ให้บิดามารดาของเจ้านาคแจ้งความประสงค์มาทางวัด ทางวัดก็จะจัดผ้าไตรจีวร พร้อมบริขารแปดครบเพือ่ บวชเจา้ นาคไดท้ ันที จะเป็นการบวชเจ้านาคหมู่หรือเจ้านาคเดี่ยวก็ตามที ก็เพื่อเป็น สาธารณสงเคราะห์ให้พุทธบุตรสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป มีรายนามวัด ที่ทางวัดปราสาทโคกกลันธรรมา ราม ได้ถวายผ้าไตรจีวร ดังนี้ (๑) วัดป่าสาลวัน นครราชสมี า (๒) วัดสุทธจินดาราม นครราชสีมา ผ้าไตรจีวรท่ี มอบให้เจ้านาคเพื่อบรรพชาอุปสมบท (๑) พ.ศ. ๒๕๕๙ มอบให้เจ้านาคบรรพชาอุปสมบท ๒๐ รูป (๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ มอบให้เจ้านาคบรรพชาอุปสมบท ๔๗ รูป (๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ บรรพชาอปุ สมบท ๑๕ รปู (๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ มอบให้แก่เจ้านาคเพื่อบรรพชาอุปสมบท ๒๕ รูป (๕) พ.ศ. ๒๕๖๓ มอบให้แก่เจ้านาคเพื่อบรรพชาอุปสมบท ๑๘ รูป พ.ศ. ๒๕๖๔ มอบให้เจ้านาคบรรพชาอปุ สมบท ๒๕ รูป ๒) มอบอปุ กรณเ์ ครอ่ื งคอมพวิ เตอร์ สำหรับเครื่องคอมพิเตอร์ที่หมดสัญญาเช่า ทางวัดได้รับมาจากหน่วยงานมหาลัยการศึกษา เปน็ ผนู้ ำมามอบถวายให้แก่ทางวัด และวัดได้ทำการจดั ถวายและส่งมอบแก่พระสงฆแ์ ละหน่อยงานราชการ ดัง มีรายงานดังนี้ (๑) มอบเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ ให้วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอ บัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๐ เครื่อง (๒) มอบเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ให้โรงเรียนบ้านระเวียง ตำระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๐ เครื่อง (๓) มอบเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ให้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนุบาลเด็กเล็ก กองทุนหมู่บ้านบุไทร ตำบลไทยสามคั คี (๔) มอบถวายให้แก พระภกิ ษุไวใ้ ช้ในการศึกษาและสนองงานคณะสงฆ์ ทั้งทเ่ี ป็นคณะสงฆแ์ ละภิกษุเป็นรายบุคคล ๓) มอบผ้าปเู ตยี งนอนใหโ้ รงพยาบาล

58 ผ้าปูเตียงนอน เป็นแนวคิดที่จะช่วยงานสาธารณะสุขโรงพยาบาล ในการสาธารณสงเคราะห์ ผ้าปูเตียงนอนผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยได้ให้คุณโยมแม่ตึ๋ง ชมภูแดง เป็นผู้ชำนาญงานทำการตัดเย็บจีวร ภายในวัดและวดั ในสาขาด้วย โดยทางวดั จดั ซ้ืออุปกรณ์ผา้ ปูที่ใช้ในโรงพยาบาล เม่ือตัดเย็บเสร็จแล้วจึงส่งมอบ ใหท้ างโรงพยาบาล ดังมรี ายนามโรงพยาบาลดงั นี้ (๑) มอบผ้าปูเตียงนอนใหก้ ับโรงพยาบาลศีขรภูมิ อำเภอศีขร ภูมิ จังหวัดสุรินทร์ (๒) มอบผ้าปูเตียงนอนให้กับวัดป่ามะขาม จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นอุปกรณ์บริบาล ภิกษุอาพาธที่มารักษาในวัดนี้ (๓) มอบผ้าปูเตียงนอนให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน ตำบลไทย สามัคคี อำเภอวังนำ้ เขียว จงั หวดั นครราชสีมา ๔) มอบข้าวสารอาหารแห้งใหผ้ ู้ประสพภัย (๑) ในปีที่มีภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึน้ กับชุมชน ทางวัดได้ไปรับบิณฑบาตรจากหน่วยงาน แต่ละจังหวัด ที่มาขอความอนุเคราะห์จากคณะสงฆ์ ให้ไปรับแต่ละอำเภอ แต่ละเทศบาล ได้นิมนต์ไปรับ ข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมแต่ละปี พร้อมทั้งบอกบุญกับคณะลูกศิษย์สายเด็ก วัดผู้ใจบุญ ช่วยกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยแต่ละปีด้วย เช่น ทางวัดได้ร่วมกับสายใยน้ำใจชาวพี่น้องญาติธรรม มอบขา้ วสารอาหารแหง้ ชว่ ยเหลือผปู้ ระสบอทุ กภัย ในพ้นื ท่ีจังหวัดอบุ ลราชธานี ๒.๓.๒ สาธารณสงเคราะห์ด้านจติ ใจ ๑) วัดได้นำพาพุทธบริษัททั้งสี่ ร่วมกันปฏิบัติกิจวัตรสวดเจริญพระพุทธมนต์เช้า-เยน็ พร้อม ด้วยปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน วัดมีโครงการปฏิบัติธรรมบวชสามเณรภาคฤดูร้อนของทุกปี มีกุลบุตรมาของ บวชไม่ต่ำกว่า ๑๐ คน ซึ่งรับบวชตั้งแต่อายุเก้าขวบขึ้นไป และมีการสวดเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปี ซึ่งวัดได้ จดั ทำโครงการเป็นประจำของทุกปเี ชน่ กนั ๒) ทางวัดจัดให้มีการเทศมหาชาติเวสสันดรชาดก โดยนิมนต์พระสงฆ์ในวัดเป็นองค์เทศนา แสดงธรรม เพื่อสร้างศรัทธาใหก้ ับพุทธบริษัทสี่ มีโยมพ่อโยมแม่ของพระสงฆ์ผู้แสดงธรรม เป็นต้น เป็นการฝกึ บคุ ลากรของวดั ด้วย ๓) ทางวัดได้ช่วยจัดงานฌาปณกิจศพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังเช่นเป็นเจ้าภาพสวดพระ อภิธรรม แสดงเทศนาธรรมเพ่อื คลายความเศร้าโศก ให้ไดพ้ ิจารณาความจริงของสังขารชวี ิตน้ี ๔) พระสงฆ์ไปเยี่ยมพระภิกษุอาพาธตามวดั ญาติโยมผู้กำลังป่วยไข้ตามหมู่บ้าน หรืออุบาสก อุบาสิกาที่เคยมาอุปถัมภ์สร้างวัด เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยพิการ และผู้ประสพภัยจากธรรมชาติ เพื่อแสดง ธรรมใหก้ ำลงั ใจ มอบอุปกรณด์ งรงชีพดว้ ย

59 ๒.๓.๓ การสร้างความผกู พันอนั ดรี ะหว่างวัดกับบา้ น ๑) ทางวัดจัดให้มีศูนย์กลางการเรียนรูใ้ นด้านต่างๆ เพื่อเผยแผ่ความรู้แก่ชุมชน เช่น การฝึก อาชีพช่างซ่อมเครื่องยนต์จักรกล ช่างไฟฟ้า ช่างก่อสร้าง ช่างศิลปกรรมด้านหล่อลายพุทธศิลปแ์ บบขอม และ การศึกษาสงเคราะห์ ๒) การให้ชุมชนใช้สถานที่ภายในวัดดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น จัดงาน สงกรานต์ทรงน้ำพระ รดนำ้ ขอพรผู้สงู วยั สร้างกำลงั ใจให้แก่พ่อแม่ สว่ นงานลอยกระทงนั้นวดั จัดไปเพ่ือให้ญาติ โยมไดม้ าอธฐิ านกระทงลอดประทปี เพอื่ บูชาพระรัตนไตย และวันสำคญั อนื่ ๆ อกี เปน็ ตน้ ๓) พระสงฆ์กับญาติโยม ได้ร่วมกันริเริ่มทำการก่อสร้างวัดขึ้น ด้วยกำลังของตนเองพร้อม ปัจจัยสี่ ต้งั แต่เร่มิ สร้างรากฐานวดั ขน้ึ มาเป็นกุฏิ ศาลา โรงครัว พระวิหาร อโุ บสถ พร้อมท้ังห้องนำ้ ห้องสุขา ได้ เกดิ ขน้ึ มาเพราะความศรทั ธาสามัคคีของวัดกบั ชุมชน ทีม่ ตี อ่ คุณของพระรัตนไตย ว่าเปน็ ทีพ่ งึ่ ทีเ่ คารพ ๔) ทางวัดได้จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ด้านเกษตรอินทรีย์หลายอย่าง เช่น ปลูกข้าวนาดำ โดยวัดมีแปลงนา ๑๐ ไร่ มีกิจกรรมตั้งแต่เริ่มไถดะ ไถกลบ และไถดำนา โดยบอกกล่าวไปยังชุมชนให้มาร่วม ช่วยกันดำนาไปจนถึงการเกีย่ วข้าวด้วย เป็นการสร้างความผูกพันอันดีระหว่างวัดกับบ้าน และยังมีข้าวเปลอื ก มาสแี ปลงเป็นข้าวสาร เพือ่ จดั แบ่งแจกจ่ายให้กับชุมชนท่ีมาร่วมกันลงมือดำนาด้วย แลว้ ยังเป็นเสบียงคลังเก็บ ไวเ้ พอื่ ช่วยเหลอื ดา้ นสาธารณสงเคราะห์ดว้ ย ๒.๔ งานวจิ ยั ทเ่ี กยี่ วข้อง ๑. พระมหากฤษณ์ธนินต์ เสฏฺฐเมธี, ดร. และ พระใบฎีกาพงษ์ศักดิ์ ขนฺติพโล, ผลงานการวิจัยท่ี เกี่ยวข้อง เรื่อง กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชงิ เทรา หนา้ ๘๙. ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการ บริหารจัดการด้านสาธารณะสงเคราะห์ ของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒. เพ่ือ ศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการด้านสาธารณะสงเคราะห์ ของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอเมือง จังหวัด ฉะเชงิ เทรา ๓. เพื่อเสนอกลยุทธ์รูปแบบการบริหารจัดการด้านสาธารณะสงเคราะห์ ของพระสงั ฆาธิการในเขต อำเภอเมอื ง จังหวัดฉะเชงิ เทรา สรุปวิเคราะห์ผลงานวิจัยได้ว่า ในกรณีการบริหารจัดการด้านสาธารณะสงเคราะห์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรานั้น เน้นการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ที่สามารถบริหารงานออกมาแล้วเป็นสาธารณะ ประโยชน์อย่างแท้จริง เป็นรูปประธรรม และที่สำคัญมีการปรับประยุกต์หลักธรรมอันเหมาะสม มีหลักสังคห วตั ถุ ๔ มาใช้ในการบรหิ ารงานทัง้ ระบบอย่างเหมาะสมดงี าม โดยมเี ป้าหมายจุดประสงคห์ ลักวา่ ให้คณะสงฆ์ได้

60 ถือบริหารดำเนินงาน เน้นให้คณะสงฆ์ได้ทำงานช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับความเดอื ดร้อนในด้านต่าง ๆ เป็น หลักสำคัญ การบริหารงานด้านสาธารณะสงเคราะห์ของอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชงิ เทรา จึงต้องเน้นหนักไปใน ทิศทางที่เกี่ยวกับการที่คณะสงฆ์ ต้องให้ความสงเคราะห์ประชาชนในชุมชนและสังคม ยังเป็นการสร้างความ ผกู พนั ระหวา่ งวดั กับบ้านอีกทางหน่ึงด้วย ที่ไม่ขัดตอ่ พระธรรมวินัยและกฎหมายระเบียบข้อบงั คบั บ้านเมืองที่ดี เพื่อมุ่งพัฒนาทั้งคณุ ภาพชีวิตของประชาชน ทั้งทางวัตถุและจติ ใจ เพื่อให้มีความสมบูรณท์ ั้งกาย วาจา จิต จะ นำความสุขพัฒนามาสู่วัดและชุมชน สังคม ประเทศชาติได้ โดยมีวัดคือ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร เป็นผู้นำท่ี สำคัญ และเป็นการดำเนินการช่วยเหลือสังคมทางด้านวัตถุและจิตใจ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่การพัฒนาจิตใจ ด้านการด้านคุณภาพชีวิต ด้านการพัฒนาชุมชน ด้านพัฒนาอาชีพผู้ยากไร้ ด้านการส่งเสริมอนุรักษ์ ศลิ ปวฒั นธรรม ส่งผลใหเ้ กิดความสงบร่มเยน็ เป็นการพฒั นาชนบททีย่ ัง่ ยืน ๒. สุริยนต์ น้อยสงวน เรื่อง รูปแบบการปฏบิ ัติงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ในจังหวดั ศรีสะ เกษ ผลจากการวจิ ัยพบว่า องคก์ ารพระพทุ ธองคท์ รงบัญญัตพิ ระธรรมวนิ ยั เพ่ือเป็นเครื่องมือใน การปฏิบัติและ ปกครองคณะสงฆ์โดยการวางหลักการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบในองค์กร ไว้ การคัดเลือก และ การด าเนินงานเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามหลักพระธรรมวินัย ๓ ประการ กล่าวคือ (๑) หลักพระวินัย คือ การแต่งตั้งสมมติด้วยการถือเอาอายุพรรษาเป็นเครื่องมือกำหนด (๒) หลักพระธรรม คือ การแต่งตั้งสมมติ พระภิกษุเพื่อทำการแทนคณะสงฆ์ โดยถือเอาความสามารถเป็น หลักในการแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่ให้ ดำเนินการในกิจนั้นๆ กำหนดคุณสมบัติเพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อยบรรลุวัตถุประสงค์ ตามที่วางไว้ (๓) หลักพระธรรมวนิ ัยรวมกัน คือ การแต่งต้ังสมมติพระภกิ ษุเป็นเจา้ หน้าที่ทำการแทนสงฆ์ โดย ยึดหลักพระธรรมวินยั เปน็ การถอื เอาอายุ พรรษา ซึ่งผู้ที่รับการแต่งต้ังอาจจะเป็นผูท้ ี่มพี รรษามากหรือพรรษา นอ้ ยก็ได้ตามความเหมาะสมตาม หลักธรรมาธิปไตย รูปแบบการปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ พระสงฆ์ต้อง อาศัยหลัก พุทธธรรมทางพุทธศาสนาที่สำคัญ คือ ไตรสิกขา พรหมวิหาร เป็นต้น โดยพระสงฆ์ควรมี รูปแบบการพัฒนา งานสังคมสงเคราะห์ในส่วนท่ีสังคมคาดหวงั ไวท้ ง้ั ๒ นัย คอื การสงเคราะหท์ างวตั ถุ และสงเคราะหท์ างจติ ใจไป พร้อมๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายอันจะนำไปสู่การพัฒนาและบูรณาการสังคม อย่างยั่งยืนถาวร ต้องพัฒนา คุณภาพจิตใจ พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ และ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ภายใต้รูปแบบการปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะ สงฆ์ เพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ ทัง้ ปวง ยอ่ มนำประโยชน์สุขอยา่ งสงู สุดมาส่สู ังคมไทยสืบไป

61 ๓. พระครูสมุห์ไพทูรย์สิริภทฺโท, พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร เรื่อง รปู แบบการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ในจังหวัดนครปฐม ผลการวจิ ยั ประเด็นท่ี ๑ ผลการศึกษาวิเคราะห์ สภาพท่วั ไปในการจดั การงานสาธารณสงเคราะห์ ในจงั หวัดนครปฐม จุดแข็ง ในการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วยปัจจัย หลักๆ ๑๐ ข้อ คือ ๑) วัดเป็นศูนย์กลางความเจริญ ความเข้มแข็งของชุมชน ๒) การบริหารจัดการ ดูแลบริเวณวัดให้เป็น สถานที่ร่มรื่น ร่มเย็น สำหรับประชาชน ๓) วัดเป็นสถานที่ช่วยเหลือเกื้อกูล ให้เป็นที่พักพิง ๔) วัดมีมูลนิธิ กองทุน เพื่อช่วยเหลือคนยากจนและผู้ประสบภัยพิบัติ ๕) พระผู้ใหญ่มีความรู้ มีน้ำใจ ใส่ใจงานในการ ช่วยเหลือสังคม เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนใน ชุมชนในสังคมได้อย่างดี ๖) เจ้าอาวาสหรือสมภารคือผู้นำ พระภิกษุสงฆ์สามเณร และคฤหัสถ์ ๗) มีองค์ประกอบหรือทรัพยากรที่สำคัญในการบริหารจัดการที่พร้อม ๘) พระสงั ฆาธกิ ารมี ความสามารถสงู ๙) สนบั สนุน บุคลากร เงนิ อปุ กรณ์ เพื่อกจิ การงานของชมุ ชน ๑๐) วัดเป็น สถานที่ท่มี ศี ักยภาพ เปน็ สถานทท่ี ี่ประชาชนสามารถใช้บรกิ ารได้ จดุ ออ่ น ในการจดั การงานสาธารณสงเคราะห์ในจังหวดั นครปฐม มี ๑๐ ข้อ คอื ๑) การทำงานบริหาร สาธารณสงเคราะหบ์ างคร้งั ยงั เป็นแบบตา่ งคน ตา่ งทำ ๒) การจดั การเชงิ นโยบายขาดแคลนงานการจัดการที่ดี ๓) ปัญหาการบรหิ ารงานของเจ้าอาวาสที่ยังขาดวิสัยทัศน์ ในการให้บริการงานสาธารณสงเคราะหท์ ่ีดี ๔) ขาด บุคลากรในวัดที่เป็นฟันเฟือง กลไกในการ จัดการที่มีประสิทธิภาพ ๕) ขาดการประสานงานที่พอเหมาะ พอดี ประสานงานใหไ้ ด้ผลต้อง ประสานคนใหไ้ ด้ใจ ๖) ขาดผู้บรหิ ารวัดท่เี ปน็ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างแรงจูงใจให้ บุคลากรมุ่ง ผลสำเร็จของงานอย่างเต็มความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ ๗) ปัญหาด้านการปกครองและการ สื่อสารท่ยี ังไม่ท่วั ถึง ๘) ศกั ยภาพในการทำความเขา้ ใจต่อพุทธศาสนิกชนไมเ่ ทา่ กันจึงมีงาน สาธารณสงเคราะห์ ที่เด่นชัดไม่เหมือนกัน ๙) ไม่มีแผนงาน ไม่มีทิศทาง ไม่มีเป้าหมายการบริหาร และไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ดี ๑๐) ปญั หาดา้ นอาคารสถานที่ โอกาส ในการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ในจังหวัดนครปฐม มี ๘ ข้อ คือ ๑) วัดเป็น ของชุมชน หรือของสังคมในแต่ละท้องถิ่น เป็นศูนย์รวมทางจิตใจและทางกิจกรรมของสังคมนั้น เป็นที่อุปการะ ๒) ใน ปัจจุบันสังคมไทยมีความคาดหวัง และมีความตื่นตัวที่จะได้ผู้นำ ผู้บริหารที่ ดี มีความซื่อสัตย์ มีความตั้งใจใน การบริหารเพื่อประโยชน์โดยส่วนรวม ๓) ความคิดก้าวหน้า คิดในเชิงบวก ๔) การบริหารจัดการต้องอาศัย วิทยาการสมยั ใหม่เข้ามาช่วยในบริหารงาน ๕) เป้าหมายในการบริหารจัดการวัด ๖) การนำเอาหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนามาประยุกต์เข้ากับการบริหารจัดการ ๗) การมีความเห็นใจกัน การตระหนักในตนเอง การ ยอมรับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล การตระหนักในความคิดเห็นของผู้อื่น ๘) วัดได้รับการสนับสนุนจาก ชาวบ้านดว้ ย การอปุ ถมั ภ์

62 อุปสรรค ในการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ในจังหวัดนครปฐม มี ๔ ข้อ คือ ๑) ถ้าบุคลากรไม่ เขา้ ใจงานที่รบั ผิดชอบก็จะส่งผลให้งานไม่เปน็ ไปตามวตั ถุประสงค์ แต่ถ้าได้ บุคลากรทม่ี คี วามรูค้ วามเข้าใจก็จะ ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ๒) ความไม่โปร่งใส ไม่ ซื่อสัตย์ในเรื่องตัวเลข จ่ายเงินไม่มีบัญชีรายรับ รายจ่าย และไมเ่ กบ็ รกั ษาเอกสารหลกั ฐานเอาไว้ เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในเร่ืองการเงิน ๓) การหาเงินทนุ ๔) นโยบายของคณะสงฆห์ รือภาครัฐ ๔. พิรญาณ์ แสงปัญญา และ พินิจ ลาภธนานนท์ เรื่อง พุทธศาสนาเพื่อสังคม: บทบาทพระสงฆ์ ด้านงานสาธารณสงเคราะห์ กรณศี ึกษาพระราชธรรมนเิ ทศ (พระพยอม กลฺยาโณ) วัดสวนแกว้ จังหวดั นนทบุรี ผลการวจิ ัยพบว่า ๑. บทบาทงานดา้ นสาธารณสงเคราะหข์ องพระราชธรรมนิเทศ พระราชธรรมนิเทศ นอกจาก จะมีบทบาทการเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ ยอมรับของสังคมไทยแล้ว ยังเป็นที่ยอมรับอย่าง กวา้ งขวางในบทบาทของสงฆท์ ่มี ผี ลงานด้านสา ธารณสงเคราะห์มาอย่างต่อเน่อื งยาวนานกวา่ ๓๔ ปี จดุ เริม่ ตน้ งานด้านสาธารณสงเคราะห์ ดังกล่าว เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นที่จะทำงานเผยแผ่พระศาสนาเพือ่ ให้ญาตโิ ยม พ้นทุกข์ตาม แนวทางพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากในระหว่างที่ออกไปบรรยายธรรมตามสถานที่ต่าง ๆ พระ ราชธรรมนเิ ทศได้พบเห็นปัญหาสังคมท่เี กิดข้ึนอย่างต่อเน่ือง จึงตระหนักว่าการจะทำให้ พระพุทธศาสนาดำรง อยอู่ ย่างม่ันคงถาวร ควรตอ้ งดำเนินการโดยคำนงึ ถึงองค์ประกอบ ๒ ดา้ น ควบคกู่ ัน คือ ๑) เป็นที่พ่ึงทางจิตใจ ๒) เป็นท่ีพง่ึ ทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นพระสงฆ์จึงควรเขา้ มามี บทบาทในการช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยมให้อยู่ดีมี สุขควบคู่ไปกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยแนวคิดดังกล่าวท่านจึงได้ก่อตั้งมูลนิธิสวนแก้วขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ณ วัดสวนแก้ว อำเภอ บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เพื่อขับเคลื่อนงานด้านสาธารณสงเคราะห์ภายใต้ แนวคิดว่า “ศาสนิก ชนในศาสนาใดถูกปล่อยปละละเลยจากผู้นำศาสนาให้อดอยากยากจน ฝืดเคืองข้นแค้น ศาสนา นั้นจะอยูเ่ ปน็ ที่พึ่งไดไ้ ม่นาน จะต้องอันตรธานเสื่อมหายไป ... ” (พระราชธรรมนิเทศ (พระ พยอม กลฺ ยาโณ), ๒๕๖๒) จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลทั้ง ๕ คน สรุปได้ว่าบทบาทงานด้านสาธารณสงเคราะห์ ของพระ ราชธรรมนเิ ทศไดด้ ำเนินการผ่านองคก์ รในความอุปถมั ภ์และท่ีก่อตั้งขึน้ ๒ รูปแบบ ได้แก่ ๑.๑ มูลนิธิสวนแกว้ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ มีเป้าหมายในการ จัดตั้งเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทกุ ข์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และสัญชาติ วัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิมี ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อเผยแผ่ ศีลธรรมในศาสนา ๒) เพื่อสนับสนุน ให้กำลังใจแก่ผู้กระทำความดี และ ๓) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนดีมี สัมมาชีพ ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ มูลนิธิสวนแก้วได้รับการรับรองเป็นองค์กร สาธารณประโยชน์ ตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖

63 ภายใต้ กำกับของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดกิ ารสังคมแห่งชาติ กระทรวงพฒั นา สังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลกั ๖ ประการ คือ ๑) เพอ่ื เผยแผ่ พระพทุ ธศาสนา ๒) เพ่ือส่งเสริม ศีลธรรมจรรยาอันดี ๓) เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมและ ประเพณีไทย ๔) เพื่อร่วมมือกับองค์กรการ กศุ ลอนื่ ๆ เพ่อื สาธารณประโยชน์๕) ไมด่ ำเนนิ การ เก่ียวข้องกับการเมืองแตอ่ ย่างใด และ ๖) เพื่อจัดการศึกษา และส่งเสริมการศึกษา ดงั นน้ั เพอ่ื ให้ การดำเนินงานสนองตอบตอ่ วัตถปุ ระสงคท์ ว่ี างไว้ มูลนิธสิ วนแกว้ จงึ กำหนดโครงการต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรม รวม ๑๘ โครงการ ได้แก่ ๑) โครงการบวชสามเณรภาคฤดูรอ้ น ๒) โครงการเข้าค่าย อบรมจรยิ ธรรม ๓) โครงการรม่ โพธแ์ิ กว้ ๔) โครงการเวทบี ำเพญ็ ประโยชน์ ๕) โครงการลอกคราบ ๖) โครงการ กระบอกสำรอกกิเลส ๗) โครงการช่วยน้องท้องหิว ๘) โครงการรณรงค์ผู้ไม่รู้หนังสือให้มีโอกาสได้เรียน ๙) โครงการสลบมาฟื้นไป ๑๐) โครงการที่ พักคนชรา ๑๑) โครงการสะพานบุญจากผู้เหลือจุนเจือผู้ขาด ๑๒) โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ ยากไร้ ๑๓) โครงการสวนแก้วเนอร์สเซอรี่ ๑๔) โครงการเพื่อการเกษตรและ สิ่งแวดล้อม ๑๕) โครงการบ่อหมักสิ่งปฏิกูลตามแนวพระราชดำริ ๑๖) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ๑๗) โครงการคอนโดสนุ ัข ๑๘) โครงการบา้ นทักษะชวี ิต อย่างไรก็ตาม ปัจจบุ ันพบวา่ มีการ ปรบั เปล่ยี นโครงการบางประเภทเพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้อง กบั สภาพการณ์ในปจั จุบนั (เดชา (นามสมมต)ิ , ๒๕๖๓). สัมภาษณ.์ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓) ดงั น้ี ๑) โครงการ บวชสามเณร วารสารมหาจฬุ านาครทรรศน์ Journal of MCU Nakhondhat | ๒๙๕ ภาคฤดูรอ้ น ๒) โครงการ ร่มโพธิ์แก้ว ๓) โครงการกระบอกสำรอกกิเลส ๔) โครงการช่วยน้อง ท้องหิว ๕) โครงการที่พักคนชรา ๖) โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้ ๗) โครงการสวนแก้ว เนอร์สเซอรี่ ๘) โครงการเพื่อการเกษตรและ ส่งิ แวดลอ้ ม ๙) โครงการบ่อหมกั สิง่ ปฏิกลู ตามแนว พระราชดำริ ๑๐) โครงการคอนโดสุนัข และ ๑๑) โครงการ ผลไม้กระจายบุญ เป็นตน้ . ๕. พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ (แย้มชุ่ม) เรื่อง การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตาม กระบวนทัศน์วิถีพุทธ สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาการพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวน ทัศนว์ ถิ ีพุทธ สรุป ผลการวิจยั ไดด้ งั น้ี ๑. แนวคิด ทฤษฎี หลักพุทธธรรมในการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของ คณะสงฆ์ไทย ผลการวิจัยพบว่า การสาธารณสงเคราะห์ เป็นภารกิจกรรมสำคัญของพระสงฆ์ในการทำงานช่วยเหลือ ชาวบ้านหรือคนส่วนมากหรอื คนทั่วไป ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของเจ้าอาวาสตามมาตรา ๓๗ แห่ง พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ข้อ ๔ บัญญัติไว้ว่า “ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล” ความหมายของ ข้อน้ี คอื ให้วดั กบั บา้ นต่างถ้อยท่ีถ้อยอาศัยซง่ึ กันและกัน ชาวบ้านช่วยกันทำนบุ ำรุงวัด บางคนถึงจะยากจนหา

64 เช้ากินค่ำ อาศัยกระท่อมที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นที่พำนักอาศัย แต่ด้วยแรงศรัทธามีเงินเพียงเล็กน้อยก็บริจาค สมทบสร้างกุฎิ วิหาร ถาวรวัตถุ ในวัดเพื่อความผาสุกของพระ ทางวัดจึงมีหน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกแก่ ชาวบา้ นบา้ ง ในทางทชี่ อบนบั วา่ เปน็ งานดา้ นการสาธารณสงเคราะหโ์ ดยตรง ๒. สภาพปัญหางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ได้พบสภาพปัญหา ดังต่อไปนี้ ๑) ปัญหางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ : ข้อมูลเชิงลึกจากพระสังฆาธิการผู้ปกครองผู้นำงานสา ธารณสงเคราะห/์ ผบู้ ริหารงานสาธารณสงเคราะห์คณะสงฆ์ และผสู้ นองงานสาธารณสงเคราะห์คณะสงฆ์พบว่า ปัญหาด้านการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ในสถานการปัจจุบันมีอยู่หลาย ประเดน็ ทีส่ ะท้อนใหเ้ ห็นว่าคณะสงฆ์ควรท่ีจะให้ความสำคัญและแกไ้ ขปัญหากับงานสาธารณสงเคราะห์ ให้ทัน กับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาการขาดแผนงานและการกระจายงาน และอนุเคราะห์ส่งเสริมในด้านการสา ธารณสงเคราะห์ ให้แก่ชุมชนไม่ทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ และปัญหาขาดการจัดกิจกรรมด้านส่งเสรมิ ในงาน การสาธารณสงเคราะห์ ให้แก่ชุมชนและการดำเนินงาน หรือดำเนินกิจกรรมขาดความต่อเนื่องและเป็น รูปธรรม เพราะขาดกำลัง ทุนสนับสนุนและกับหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานเอกชน ตลอดจนปัญหา ขาด การส่งเสรมิ สนับสนนุ จากคณะสงฆ์ และประกอบกับการทำงานของวัด ต่างทำขาดความรว่ มมือกันทำงาน ทำ ให้การทำงานไปคนละทิศไมส่ อดคล้องกนั ทำใหง้ านด้านการสาธารณสงเคราะห์ไม่กา้ วหนา้ ทเี่ ป็นรปู ธรรมและ ต่อเนอื่ ง ๓. การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ สรุปข้อค้นพบได้ ดังน้ี รูปแบบการบริหารงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ : การบริหารงาน สาธารณสงเคราะห์คณะ สงฆ์ที่สำคัญอยู่ที่ระดับภาค ๑๕ และระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และวัด ซึ่งมีความใกล้ชิดและกำกับดูแล รับผิดชอบ การบริหารงานสาธารณสงเคราะห์คณะสงฆ์ภาค ๑๕ โดยตรง ซึ่งทั้งระดับภาคและระดับจังหวัด ต้องมีการจัดตั้งศูนย์กลางการทำงานขึ้น เพื่อใช้เป็นทั้งสถานที่ทำงานและ รองรับงานตลอดทั้งให้การอำนวย งาน/กำกบั ดูแลรับผิดชอบโดยตรง ตอ่ งานการสาธารณสงเคราะห์ของ คณะสงฆ์อยา่ งทวั่ ถึง และครอบคลุมทุก พน้ื ของตงั้ แต่ ระดับภาค ระดบั จังหวัด ระดับอำเภอ/ตำบลและ วัด โดยมกี ารปฏิบัตงิ านรว่ มกันดังนี้ (๑) กำหนดนโยบายทศิ ทางการทำงานของงานสาธารณสงเคราะหใ์ หช้ ดั เจน (๒) กำหนดวตั ถุประสงค/์ เป้าหมายชัดเจนเปน็ รูปธรรมและไดป้ ระโยชนแ์ ก่ทกุ ฝ่าย (๓) การวางแผนงานร่วมกนั อย่างรดั กุมครอบคลมุ ทุกพนื้ ที่ และมีทิศทางเดยี วกัน (๔) การสนับสนุนบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความชำนาญการในการปฏิบัติงานสาธารณ สงเคราะห์ ตลอดจนจดั สรรงบประมาณอดุ หนนุ อยา่ งเพยี งพอ (๕) ประสานงาน/สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกนั อย่างเป็นทีม มีการแบ่งปันข้อมูล แลกเปลี่ยน ความร้รู ่วมกัน

65 (๖) ตดิ ตามผล/ประเมนิ ผล /ปรบั ปรงุ /แก้ปญั หาอยา่ งต่อเนื่อง (๗) สรา้ งขวัญกำลังใจ /จงู ใจแก่บุคลากร ควรแยกเป็นสว่ นงานเฉพาะด้าน และที่สำคัญสำนักงาน พระพทุ ธศาสนาแหง่ ชาติ /สำนกั งานพระพทุ ธศาสนาประจำจงั หวัด สำนกั งานวฒั นธรรมประจำจงั หวัด ตอ้ งมา ช่วยเป็นพี่เลี้ยงและช่วยสนองงานด้านการสาธารณสงเคราะห์ แก่คณะสงฆ์ภาค ๑๕ โดยการ ส่งเสริมอุดหนุน จดั สรรงบประมาณอย่างเพียงพอเหมาะสม อำนวยการในการดำเนนิ งาน / ดำเนินกจิ กรรมต่างๆ ประสานงาน/ ประชาสมั พันธ์ กบั หนว่ ยงานอน่ื ๆ ทเ่ี ก่ียวขอ้ ง

66 บทที่ ๓ วธิ ดี ำเนนิ การวิจัย การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาด้านสาธารณสงเคราะห์วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาพัฒนาการของวัดปราสาทโค กกลันธรรมาราม (๒) เพื่อศึกษาบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย (๓) เพื่อศึกษาบทบาทด้าน สาธารณสงเคราะหข์ องวดั ปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม วธิ ดี ำเนินการวิจัยกำหนดหัวขอ้ ศกึ ษา ๕ ประการ ดงั นี้ ๓.๑ รูปแบบการวิจยั การวจิ ยั นีเ้ ปน็ การวิจยั เชงิ คณุ ภาพ (Qualitative Research) โดยมีวธิ กี ารวจิ ยั ดงั นี้ ๑) การศึกษาวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยผู้วิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาเอกสาร และสำรวจขอ้ มูลภาคสนามเบื้องตน้ ทเี่ ป็นรายงานการวิจัย ตำรา วารสารและเอกสารวิชาการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวขอ้ งกับด้านสาธารณสงเคราะห์ เป็นต้น เพื่อวางกรอบแนวคิดในการแสวงหาองคค์ วามรู้เก่ียวกับการสา ธารณสงเคราะห์ ๒) การศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในภาคสนาม (Field Study) เพ่อื ทราบถงึ ปจั จัย ที่มีผลต่อการปฏบิ ัติด้านสาธารณสงเคราหข์ องวดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม ในพื้นที่ที่เป็นกรณีศึกษา โดยมี ข้นั ตอนการศกึ ษาค้นควา้ ดังน้ี (๑) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร จากการสัมภาษณ์ การสังเกตุการณ์ และการประชุม กลุ่มย่อยร่วมกับคณะสงฆ์วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ที่การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีความโดดเด่น ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวดั (๒) ดำเนินการศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลัน ธรรมาราม โดยใช้การสำรวจ สังเกตุ และสัมภาษณ์ ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล หลังจากนั้น จึงทำการ สังเคราะห์ข้อมูลที่ปัจจัยทำให้วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ประสบความสำเร็จ และด้านที่เป็นอุปสรรค ปญั หา ในการดำเนนิ งานสาธารณสงเคราะห์ของวดั (๓) สรุปและนำเสนอผลการศึกษา ที่ได้จากการศึกษาเชิงเอกสารและภาคสนาม โดยนำมา วิเคราะห์ตามประเด็นสำคัญคือ เพื่อศึกษาพัฒนาการของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม เพื่อศึกษาบทบาท ด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆไ์ ทย และ เพื่อศกึ ษาบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกก ลนั ธรรมาราม

67 (๔) สรปุ ผลการศกึ ษาวจิ ยั และข้อเสนอแนะ20 ๓.๒ ขอบเขตการวจิ ัย การทำวิจัยในครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่การวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลหลักในเขตชุมชน บ้านโคกกลนั และการจัดเก็บข้อมลู ภาคสนามในพ้นื ทเี่ ปา้ หมาย จำนวน ๕ กลมุ่ ไดแ้ ก่ ๑) กลุม่ คณะสงฆข์ องวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม มีประธานสงฆ์ เจา้ อาวาส ผู้ชว่ ยเจา้ อาวาส เลขา เจ้าอาวาส เปน็ ต้น ๒) กลุม่ ผนู้ ำหมบู่ ้าน มผี ใู้ หญบ่ ้านโคกกลัน ผูช้ ่วยผใู้ หญบ่ ้าน สอบต.ระแงง เปน็ ต้น ๓) กลุ่มปัญญาชน/ปราชญ์ชาวบ้าน อาทิ ปราชญ์การเกษตร ปราชญ์การทอผ้าไหม ปราชญ์พิธีกรรม ศาสนา ครูเกษยี ณ เปน็ ต้น ๔) กลมุ่ อุบาสกอุบาสิกาผใู้ กลช้ ดิ วัด ทม่ี าทำบุญในวดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม ๕) กลมุ่ วิชาการ ๑ รูป แผนภูมทิ ี่ ๓.๑ แผนทีก่ ารลงเก็บข้อมูลภาคสนาม ๓.๓ การสร้างเครอ่ื งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั 20 พระครูสิรบิ รมธาตุพิทักษ์,ผศ.ดร., ปุระวิชญ์ วันตา, การสงเสริมแนวปฏิบัตใิ นการสังคมสงเคราะหข์ องจงั หวัด เชยี งใหม,่ มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๖๑.

68 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงาน วิชาการทเ่ี กยี่ วข้อง เพ่อื นำประกอบการจดั ทำเคร่อื งมือวจิ ยั จำนวน ๓ ชุด คือ ๑. บัตรบันทึก สำหรับบทคัดย่อ เอกสาร รายงานการวิจยั ที่เกี่ยวขอ้ ง ในเนื้อหาด้านการสาธารณสงฆ์ เคราะหข์ องคณะสงฆ์ไทย ๒. แบบสัมภาษณ์ สำหรับสัมภาษณ์กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มปัญญาชน/ ปราชญ์ชาวบ้าน กลุม่ อบุ าสกอุบาสกิ าผู้ใกล้ชดิ วัด เก่ียวกับการวจิ ัยทม่ี ีผลต่อการปฏิบตั ดิ ้านสาธารณสงเคราะห์ ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ประวตั ิส่วนตัว ประวตั กิ ารศึกษา ประวัตอิ าชีพการทำงาน ของผูถ้ กู สัมภาษณ์ ส่วนที่ ๒ คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับ พัฒนาการของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม เป็นมาอย่างไร มี คำถามดงั ตอ่ ไปน้ี ๑) วดั มคี วามเป็นมาอยา่ งไร ๒) พัฒนาการด้านศาสนวัตถุของวดั เป็นมาอยา่ งไร ๓) พฒั นาการด้านศาสนบคุ คลของวัดเป็นอยา่ งไร ๔) ด้านศาสนธรรมมพี ัฒนาการอยา่ งไร ๕) ดา้ นศาสนพธิ ีวดั มพี ฒั นาการอยา่ งไร ส่วนที่ ๓ คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับ บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมา ราม มคี ำถามดังต่อไปน้ี ๑) บทบาทของวดั ในการชว่ ยเหลอื เก้อื กูลวดั /คณะสงฆ์อยา่ งไร ๒) บทบาทของวัดในการช่วยเหลอื เกื้อกูลชมุ ชนเปน็ อยา่ งไร ๓) บทบาทของวัดในการชว่ ยเหลอื เกือ้ กูลหน่วยงานสาธารณะอย่างไร ๔) บทบาทของวดั ในการส่งเสริมสัมมาอาชพี แกช่ มุ ชนอย่างไร ๕) บทบาทของวดั ในการสง่ เสรมิ การศึกษาอย่างไร ๖) บทบาทของวดั ในการชว่ ยสังคมท่ปี ระสบภยั อย่างไร ๓. การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ขอ้ มลู จากการสังเกตบริบทพฒั นาการของวัด สงั เกตวัสดุสง่ิ ของเพื่อบริจาคช่วยเหลือ สังเกตพฤติกรรมของการ ทำงานสาธารณสงเคราะหใ์ นวัด ท่ีเป็นพ้นื ทีใ่ นการศกึ ษา ๓.๔ การตรวจสอบเครอ่ื งมือ การตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมอื การวิจยั ผวู้ ิจัยมีขน้ั ตอนดงั ตอ่ ไปนี้

69 ๑. ศึกษาค้นคว้าแนนคิดทฤษฎี เกี่ยวกับการสาธารณสงเคราะห์ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการ เครอื ขา่ ย แนงคดิ เกยี่ วกบั พระสงฆ์กับงานด้านสาธารณสงเคราะห์ และงานวิจยั ทีเ่ กย่ี วข้อง เพอ่ื แนวทางในการ สรา้ งแบบสอบถาม ๒. สร้างเครื่องมือการวิจัยให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับบทบาทด้านสาธารณ สงเคราะห์ของวดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม ๓. นำเครื่องมือการวิจัยที่สร้างเสร็จแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ และปรับปรุงแก้ไข ตามคำแนะนำ จำนวน ๒ ท่าน ได้แก่ - รศ.ดร. ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ อาจารย์ประจำภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั วทิ ยาเขตสรุ นิ ทร์ - ผศ. บรรจง โสดาดี อาจารย์ประจำภาควิชาศึกษาอิสระทางพระพุทธศาสนา คณะพุทธ ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรนิ ทร์ ๓.๕ การเกบ็ รวบรวบรวมข้อมลู การศึกาวิจัยน้ี เป็นการวิจยั เชงิ คุณภาพ โดยใช้วิธวี จิ ยั ทลี่ งเก็บข้อมลู ภาคสนามเน้นการสังเกตแบบมี ส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลวิจัยแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ข้อมูลที่เป็นเอกสารวิชาการ และข้อมูลทีไ่ ด้จากการสงั เกตและการสมั ภาษณ์ในภาคสนาม การเก็บรวบรวมขอ้ มูลวจิ ัย มีข้นั ตอนดังนี้ ๑) การเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร (Documentary Study) ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูล จาก เอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหนังสือ รายงานการวิจัย รายงานการประชุม ภาพถ่าย เอกสารแสดง ความสัมพันธ์ ด้านสาธารณสงฆ์เคราะห์ โดยเน้น ข้อมูลที่เป็นเอกสารมีเน้ือหาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี วิธี ดำเนนิ งาน งานวิจยั ท่ีเกีย่ วข้อง ผวู้ ิจยั ใช้บตั รบันทึกการค้นควา้ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใชว้ ิธีบันทกึ ข้อมลู ดงั นี้ (๑) ย่อความใหไ้ ด้ใจความตรงตามความหมายของข้อความเดิม (๒) บนั ทกึ โดยถอดขอ้ ความเป็นขอ้ ความของผู้วิจยั เอง (๓) คัดลอกข้อความแล้วทำอัญประกาศ แหล่งข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์ อเิ ลก็ ทรอนคิ ส์ ซ่ึงสมารถสืบคน้ ได้ทางอินเตอรเ์ นต็ ผา่ นทางเวบ็ ไซด์จำนวนมาก แลว้ นำมาวเิ คราะห์ สังเคราะห์ ให้เกิดองค์ความรู้ทเ่ี ป็นทฤษฎคี รบถว้ น จากนั้นจงึ วเิ คราะหส์ งั เคราะห์ทฤษฎีเหล่านั้น เพ่อื ให้ได้องคค์ วามรู้เกีย่ วกบั ด้านสาธารณสงฆ์เคราะห์ เพือ่ เป็นแนวทางในการศกึ ษาค้นควา้ ในภาคสนาม

70 ๒) การเก็บรวบรวมข้อมลู ในภาคสนาม (Field Study) เพอื่ ทราบถงึ สภาพด้านสาธารณสงเคราะห์ ตามหลกั พนั ธกิจ ๖ ของวดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม โดยมีข้ันตอนการศึกษาค้นคว้า ดังนี้ (๑) ศึกษาสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกตัวแทน กลุ่มคณะสงฆ์วัดปราสาทโคก กลันธรร มาราม กลุ่มผู้นำหมู่บ้าน กลุ่มปัญญาชน/ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มอุบาสกอุบาสิกา และกลุ่มนักวิชาการ จำนวน ๑๘ รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) (๒) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบบันทึกการสังเกต สถานที่หรือแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยผู้วิจัยนำแบบบันทึกการสังเกต ลงเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับ พัฒนาการและบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ด้วยตนเอง ตาม แผนที่ ๓.๑ ซ่ึงเครื่องมอื ชนิดน้จี ะถูกนำไปใชใ้ นพ้นื ที่ตั้งแต่การเรม่ิ สำรวจภาคสนามในเบ้ืองต้น จนกระทั่งส้ินสุด การวจิ ัย และเปน็ เครื่องมอื ภาคสนามชนิดเดยี ว ท่ีนำไปใช้ในการเกบ็ รวบรวมข้อมูลของพื้นทง่ี านวจิ ยั นี้ (๓) การเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยดำเนินการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกลุ่ม ผูใ้ ห้ขอ้ มลู หลกั จำนวน ๑๘ รปู /คน ประกอบด้วย กล่มุ คณะสงฆว์ ัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม จำนวน ๕ รูป กลุ่มผนู้ ำชมุ ชน จำนวน ๔ คน กลมุ่ ปญั ญาชน/ปราชญช์ าวบ้าน จำนวน ๓ คน อุบาสกอุบาสิกา จำนวน ๕ คน และกลุ่มนักวชิ าการ ๑ คน ๓.๖ การวิเคราะหข์ อ้ มลู วิจัย หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร และข้อมูลจากภาคสนาม เกี่ยวกับองค์ความรู้พัฒนาการด้านสา ธารณสงเคราะหข์ องวดั ปราสาทโคกกลันธรรมารามแลว้ ผ้วู ิจยั ไดด้ ำเนินการวิเคราะหข์ ้อมลู วิจยั ดังน้ี ๑) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เมื่อเก็บข้อมูลทั้งภาคสนามและข้อมูลทีเ่ ป็นเอกสารได้แล้ว ผู้วิจัยดำเนินการต่อโดย กำหนดช่วงเวลา จัดประชุม วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ที่ปรึกษา โครงการวิจยั เพือ่ ร่วมกนั แกไ้ ขปัญหา และตรวจสอบขอ้ มลู อยา่ งสม่ำเสมอ ๒) นำข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม มาศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์เชื่อมโยงองค์ความรู้ เกี่ยวกับพัฒนาการด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ พัฒนาการของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย และบทบาท ดา้ นสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม

71 ๓) สรุปและนำเสนอผลการศึกษา ที่ได้ทั้งจากการศึกษาในเชิงเอกสารและภาคสนาม โดยนำมา วิเคราะห์ตามประเด็นที่สำคัญ คือ พฒั นาการด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ทั้งนี้ เน้นการนำผลการศึกษาวิจยั มาเผยแพรใ่ ห้ คณะสงฆ์ ผบู้ ริหาร และผู้ทีม่ ีส่วนเก่ียวข้องทุกระดับไดร้ ับทราบ ๔) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้านบุคคล ด้านการประสาน ด้านการเรียนรู้และประสบการณ์ ด้าน กระบวนการทำงาน ด้านแนวร่วม และด้านผู้นำ/วิสัยทัศน์ โดยมุ่งเน้นเพื่อให้เกิด องค์ความรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการด้านการสงเคราะหข์ องวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ๓.๗ สรุปกระบวนการวจิ ยั สรุปกระบวนการวิจัย แบ่งเป็นหัวข้อนำเสนอได้ ๒ หัวข้อ คือ สรุปขั้นตอนการวิจัย และข้อตกลง เบ้อื งต้น ดังนี้ ๑) สรุปขั้นตอนการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการศึกษา แสวงหาคำตอบตามลำดับเป็น ๕ ขั้นตอน คือ การศึกษาสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การกำหนดกลุ่มประชากร การสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบ เครือ่ งมอื การเกบ็ รวบรวมข้อมลู ภาคสนาม วิเคราะห์ขอ้ มูล และเขียนรายงานการวจิ ัย ตามแผนผังดงั ต่อไปนี้ แผนภูมิท่ี ๓.๒ กระบวนการวิจยั ๕ เขยี นรายงานการวิจยั ๔ วิเคราะห์ขอ้ มลู ๓ เกบ็ รวบรวมข้อมูลภาคสนาม ๒ สรา้ งเครอื่ งมือ ตรวจสอบเครื่องมือ ๑ การศึกษาสำรวจข้อมูลเบื้องต้น กำหนดกล่มุ ประชากร

72 จากแผนผังที่ ๓.๒ การศึกษาสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เป็นขั้นตอนแรกในการศึกษาวิจัย โดยผู้วิจัยได้ทำ การสำรวจข้อมูลที่เป็นเอกสารด้านสาธารณสงเคราะห์ จากนั้นผู้วิจัยสร้างเครื่องมือ ตรวจสอบเครื่องมือ กำหนดกลุ่มประชากร หลงั จากนัน้ ลงเกบ็ รวบรวมข้อมูลภาคสนาม และวเิ คราะหข์ ้อมลู ตามทีอ่ ธบิ ายไว้แล้วใน หัวข้อทผ่ี า่ นมา และผู้วิจัยสรุปและเขียนรายงานการวจิ ยั เปน็ ขนั้ ตอนสดุ ท้าย ๒) ขอ้ ตกลงเบื้องตน้ (๑) ให้ถือว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด เป็นบุคคลที่มีบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัด ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (๒) ให้ถือว่าเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม มีความน่าเชื่อถือเท่ากับการ สัมภาษณ์บคุ คล

73 บทท่ี ๔ ผลการศึกษาวจิ ัย การศึกษาวิจยั ในบทท่ี ๔ นี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ผลการปฏบิ ัติงาน ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ ในประเด็นต่างๆ ได้จากการศึกษาวิจัยภาคสนาม (Field research) ด้วยวิธีการศึกษาสังเกตการณ์ประชากรท่ี เป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสังเกตแบบมี ส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เป็นหลักในการเก็บ รวบรวมข้อมูลการวิเคราะหข์ ้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเหตุผล ไม่ได้มุ่งเก็บข้อมูลเป็นตัวเลขมาวิเคราะห์ วิธี การศึกษาเชิงคุณภาพ จะเริ่มต้นด้วยข้อมูลสภาพการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ข้อมูล เหล่านี้จะถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์ ด้วยวิธีการสรุปตีความ ผลการวิเคราะห์ตั้งเป็นองค์ความรู้ เป็นกฎหรือ ทฤษฎี ส่วนข้อมูลเชิงประจักษ์จะถูกรวบรวม และนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอนุมาน และสรุปเป็นข้อ คน้ พบ เป็นการค้นหาความจรงิ ดว้ ยวธิ วี ิจยั เชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการศกึ ษาด้วยวธิ ีการพรรณนา ดังนั้น จากการศึกษาภาคเอกสาร และภาคสนามการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ในกลุ่มตัวอย่างพระภิกษุ ๕ รูป กลุ่มผู้นำชุมชน ๔ ท่าน กลุ่มปัญญาชน ๓ ท่าน กลุ่มอุบาสกอุบาสิกาผูใ้ กลช้ ิด วัด ๕ ท่าน กลุ่มนักวิชาการ ๑ ท่าน ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ของวัด ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) และผมู้ คี วามรู้ทางวชิ าการด้านสาธารณสงเคราะหด์ ้วย โดยผู้วิจัยมุ่งประเด็น การสมั ภาษณ์ และสังเกตการณ์ ทท่ี ำให้ไดเ้ ก่ียวกบั ข้อมูล การสัมภาษณ์ความเห็นทเี่ ก่ียวกับ บทบาทดา้ นสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม (ธ) ในกลุ่มพระสงฆ์/กลุ่มผู้นำชุมชน/กลุม่ ปญั ญาชน/กลมุ่ อุบาสกอบุ าสิกาผู้ใกลช้ ดิ วัด และกลุ่มนกั วชิ าการ รวม ๑๘ รูป/คน ได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับด้านพัฒนาการของวัด ด้านศาสนวัตถุ ด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนธรรม ด้านศาสนพิธี และบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัด เกี่ยวกับด้านเกื้อกูลชุมชน ด้านเกื้อกูลสาธารณะ ด้านสงเสริมสมั มาชพี สง่ เสรมิ ด้านการศกึ ษา และการช่วยเหลือผู้ประสบภยั ผลที่ได้จากการสัมภาษณ์ สามารถ สรุปวเิ คราะหไ์ ด้มรี ายละเอียด ดังนี้

74 ๔.๑ พัฒนาการของวดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ๔.๑.๑ ประวตั ิวดั ปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม (ธ) วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ได้จัดตั้งสร้างขึ้นโดยความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวบ้านโค กกลัน พรอ้ มหมู่บา้ นใกล้เคียงและพุทธศาสนิกชนต่างจังหวัด ทีม่ าร่วมกันสร้างวดั ขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยกำลังส รัทธาความเสื่อมใสในพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นสถานที่ป่าไม้ร่มเรื่นเหมาะแก่การเปลียกวิเวก และไม่ห่างจาก หมู่บ้านโคกกลันมากนัก ประมาณ ๓๕๐ เมตร ได้มีศัทธาจากพุทธศาสนิกชนจัดซื้อที่ดินสร้างเป็นที่ตั้งวัด (ปจั จบุ ันกำลังสร้างวิหาร) จำนวน ๑ ไร่ โดย พระเทพ จารธุ มฺโม และคณะสงฆ์เป็นผู้ท่รี บั มอบปจั จัย เพ่ือจัดซื้อ ท่ดี ินของ นางแสงสรุ ยิ า สิงคเวหน เป็นฐานแรกในการสร้างวัด วันที่ ๒๘-๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ เป็นวันวิสาขบูชา พระเทพ จารุธมฺโม ประธานสงฆ์ผู้ดำเนินงาน และ พระวิรัตน์ อคฺคธมโม เจ้าอาวาสวัดปราสาทโคกกลัน ได้ฤกษ์วางศิลาเทเสากลางพระวิหาร เริ่มการสร้างศาสนสถานลำ เปน็ ดับปฐมข้นึ ในที่พักสงฆ์ มพี ระสงฆ์อยู่รว่ มจำพรรษา ๒๕ รปู ในปนี นั้ และตอ่ มา พ.ศ. ๒๕๕๙ จัดซ้ือท่ีดิน ๑ ไร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ จัดซ้อื ท่ีดิน ๒ ไร่ งาน พ.ศ. ๒๕๖๑ จดั ซอื้ ทดี่ ิน ๔ ไร่ งาน พ.ศ. ๒๕๖๓ จดั ซอื้ ที่ดนิ ๔ ไร่ เพื่อ จดั สรา้ งถาวรวัตถดุ า้ นปฏมิ ากรรม และวางแผนจัดการบริบทภายในวัดต่อไป21 ๔.๑.๒ พัฒนาการดา้ นศาสนวตั ถุ พัฒนาการด้านศาสนวัตถุและปรับสภาพแวดล้อมในวัด ได้จัดทำแผนผังวัดได้เป็นระเบียบ แบ่งสดั ส่วนการก่อสรา้ งไดช้ ดั เจน และสภาพแวดลอ้ มในวดั ก็มีความสะอาด มีความรม่ ร่นื พอควรเพราะพ่ึงปลูก ต้นไม้เพิ่ม และจัดการกำหนดใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภายในวัดอย่างเหมาะสมกับสภาพใช้งาน ดังนี้ คือ ๑) พระ วิหารปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ทางทศิ เหนอื กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๕๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง ๒) พระพุทธรูปประธาน องค์ดำปางนั่งประทานพร ๑ องค์, พระพุทธรูปทวารวดีองค์ใหญ่ปางยืนประทานพร ๓ องค์ ประดิษฐานใจ กลางพระวหิ าร ๓) กำลังสร้างพระอุโบสถกลางน้ำศลิ ปปฏิมากรรมขอมโบราญ ตง้ั อยทู่ างทิศตะวันออกเฉียงใต้ กวา้ ง ๙.๒ เมตร ยาว ๒๖.๔ เมตร จำนวน ๑ หลงั ๔) กุฏิพระสงฆ์ แบง่ ออกเป็น ๔ โซน คือ (๑) กุฏิสงฆ์โซนที่ ๑ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๓ หลัง (๒) กุฏิสงฆ์โซนที่ ๒ ตั้งอยู่ ทางทิศตะวันตก กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๕ หลัง (๓) กุฏิสงฆ์โซนที่ ๓ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๔ เมตร จำนวน ๘ ห้อง (๔) กุฏิสงฆ์โซนที่ ๔ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๔ หลัง ๕) โรงงานสร้างพระพุทธรูปและประติมากรรม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก กว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๒๗ เมตร จำนวน ๑ หลัง ๖) กำแพงรอบวัด กว้าง ๒ เมตร ยาว ๒ เมตร ๗) โรงครัว 21 สัมภาษณ์ พระเทพ จารธุ มโฺ ม ประธานสงฆ์ วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศขี รภมู ิ จงั หวดั สุรินทร์ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔.

75 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ กว้าง ๕ เมตร ยาว ๒๒ เมตร จำนวน ๑ หลัง และ ๘) ห้องน้ำ-ห้องสุขา22 ซึ่งได้มี พฒั นาการก่อสร้างตามแผนบริบทที่ได้วางเอาไว้ดีแล้ว แต่บางส่วนงานยงั ไม่เสร็จสมบูรณ์ เช่น พระวิหาร พระ อุโบสถกลางน้ำ เป็นต้น ซึ่งกำลังก่อสร้างรอสายทานศรทั ธาจากพทุ ธศาสนิกชนท่ัวไป ได้มาช่วยกันจัดสร้างวดั ให้เป็นสถานที่ปฏบิ ัตธิ รรมและบำเพ็ญบุญ ใหส้ ำเร็จสมั ฤทธ์สิ บื ตอ่ ไป ๔.๑.๓ พัฒนาการดา้ นศาสนบคุ คล การพัฒนาความร้พู ระสังฆาธิการ พระภิกษุ สามเณร แมช่ ี เพ่ือใหม้ ีความรถู้ กู ตอ้ ง ทันสมัยท้ัง ทางโลกและทางธรรม สามารถนำวทิ ยาสมยั ใหม่มาใช้จัดการบริหารกจิ การของวดั ได้ และสร้างองคก์ รปกครอง ในคณะสงฆ์ของวัดให้มีประสิทธิภาพ และเป็นผู้นำชุมชนได้ ดังนี้คือ ๑) พระภิกษุ สามเณร ได้รับการศึกษา ปริยัติธรรม ตรี โท เอก ในช่วงเข้าพรรษาและนอกพรรษาด้วย ๒) พระภิกษุ สามเณร ได้รับการฝึกปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน ตามโครงการที่ไปปฏิบัติอบรม เช่น โครงการอบรมพระสังฆาธิการ โครงการอบรมพระ วิปัสสนาจารย์คณะสงฆ์ธรรมยุต รุน่ ๙ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓) พระภิกษุ สามเณร ได้ศกึ ษาฝกึ หัดฝีมือดา้ นปฏิมากรรม การสร้างแบบพระพุทธรูป การแกะสลัก เป็นแบบรูปหล่อด้วยดินเหนียวผสมน้ำมัน และแบบหล่อลายพุทธ ศิลป์ขอมโบราณ เป็นต้น ๔) พระภิกษุ สามเณร ได้ศึกษาฝึกหัดฝีมือด้านการก่อสร้างสาธารณูปการ เช่น พระ วิหาร อุโบสถ กุฏิทรงไทยประยุกต์ เป็นตน้ ๕) พระภกิ ษุ สามเณร ไดศ้ กึ ษาความรดู้ ้านช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่าง ทำสีรถยนต์ และด้านเครื่องเสียง และยังได้เรียนขับรถแมคโคอีกด้วย เป็นต้น ๖) และยังได้ศึกษาเกี่ยวกับการ ทำเกษตรอินทรย์ เช่น ปลูกข้าว ผัก ผลไม้และทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น ๗) ในวัดยังมีโยมผู้ชำนานการเย็บจีวร ช่วยสอนตดั เยบ็ จวี รดว้ ย สำหรับผู้ท่ีต้องการเรียนรู้ มกี ารสอนการทำอาหารเจ สอนทำขนม และการทำเกษตร ปลอดสารพิษ เป็นตน้ และยังมคี วามรจู้ ากปราชญช์ าวบ้านท่ีมาอยู่วัดเพ่ือบำเพ็ญบุญ เป็นผู้แนะนำความรู้ของ ท่านอกี ดว้ ย23 ๔.๑.๔ พัฒนาการดา้ นศาสนพิธี ๑) พิธกี รรมวนั ปกติ ในกจิ วัตรปกติของวัดปราสาทโคกกลนั ธรรมามราม 22 สมั ภาษณ์ พระวริ ตั น์ อคฺคธมโฺ ม เจา้ อาวาส วดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศขี รภมู ิ จงั หวัดสรุ ินทร์ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔. 23 สมั ภาษณ์ พระวริ ัตน์ อคฺคธมฺโม เจา้ อาวาส วดั ปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศขี รภมู ิ จังหวดั สรุ ินทร์ ๑๘ กนั ยายน ๒๕๖๔.

76 ในช่วงเช้า เวลา ๐๕.๔๕ น. สัญญาณระฆัง พระภิกษุสงฆ์สามณรทั้งหมดในวัดออก บิณฑบาตรที่ตลาดเทศบาลตำบลระแงง กลับจากตลาดเทศบาลแล้วลงรับบิณฑบาตรที่บ้านระเวียง และบ้าน โคกกลันแล้วเดินกลับเข้าวัด ช่วงเวลา ๐๘.๓๐ น. สัญญาณระฆัง พระภิกษุสงฆ์สามณรทั้งหมดในวัด ออกรับ ภัตตาหารเช้า โดยพระภิกษุสงฆ์ สามเณร แม่ชี ทั้งหมด ออกบิณฑบาตรภายในวัดอีกรอบหนึ่ง เพื่อสนอง ศรัทธาญาติโยมที่มาจากท้องถิ่นอื่นและต่างจังหวัด พระภิกษุสงฆ์สามเณรรับภัตตาหารแล้ว กลับไปที่วิหาร เพื่อทำพิธีสวดอุทิศปุพพเปตพลี เสร็จแล้วพระภิกษุกล่าวอนุโมทนาบุญ และทำภัตธกิจฉันในบาตรเป็นวัตร แล้วยกภัตตาหารที่เหลือจากสงฆ์ ให้กับญาติโยมที่มาทำบุญ ได้รับประทานอาหารที่เป็นมงคลต่อไป เป็นอัน เสร็จพิธีในทกุ ๆ วัน ๒) พิธีบรรพชา-อปสมบท (บวชนาคหมู่) ผู้ที่จะขอบวชต้องได้รับการตรวจสอบพิจารณา จากสำนักงานอำเภอ เกี่ยวกับประวัติผู้ขอบวช อาจมีคดีความเป็นต้น และต้องได้รับการพิจารณาจากพระ อุปัชฌาย์ กับเจ้าอาวาสของวดั ปราสาทโคกกลนั ดว้ ย เมื่อผ่านการตรวจสอบถูกตอ้ งดีแล้ว จึงจะเข้าพิธีกรรมท่ี ทางวดั จัดการให้ โดยทางวัดไดเ้ ป็นผ้จู ดั บริขาร ๘ มบี าตร ไตรจีวร เปน็ ต้นให้เอง แตห่ ากผขู้ อบวชจะหามาเองก็ ได้สมควร ๓) พิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมการเวียนเทียนในพิธีวันมาฆบูชา วันวิ สาขบชู า วันอาสาฬหบชู า ๔) พิธีวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา ถือกันว่าเป็นวันพิเศษในพระพุ ทธศาสนา พุทธศาสนิกชนขะมักเขม้นในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดาบางคนรักษาศีลอุโบสถตลอด ๓ เดือน บางคนไปวัด ฟังเทศน์ทั้ง ๓ เดือน บางคนตั้งใจงดเว้นบาปทั้งปวง ส่วนพระภิกษุสงฆ์ เมื่อใกล้ถึงวันเข้าพรรษาก็ปัดกวาด เสนาสนะ ตั้งใจบำเพญ็ สมณธรรมย่ิงๆ ขนึ้ ไป ในวนั เข้าพรรษาจะประชุมกันในพระอโุ บสถไหวพ้ ระสวดมนต์ ทำ พธิ เี ขา้ พรรษาแล้วขอขมาต่อกนั และกนั ครัน้ ในวันถัดไปก็เอาดอกไม้ ธปู เทยี น ไปขอขมาพระเถรานุเถระต่าง วัดซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ มีการตักบาตรเทโว และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับในวันออกพรรษา พทุ ธศาสนกิ ชนท่ีมาในวัดน้ี มักนิยมทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศสว่ นบุญให้แก่ผู้ทล่ี ว่ งลับไปแล้ว ด้วยการอาราธนา พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุลและสวดดาร (บทสวดติโรกัณฑสูตร) พร้อมฟังธรรมเทศนาและปฏิบัติธรรมตาม กาล แล้วตรวจนำ้ อุทิศและรบั พรเปน็ อนั เสรจ็ พธิ ี24 ๔.๑.๕ พัฒนาการดา้ นศาสนธรรม 24 สมั ภาษณ์ พระเทพ จารุธมโฺ ม ประธานสงฆ์ วดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศขี รภมู ิ จงั หวัดสรุ ินทร์ ๑๘ กนั ยายน ๒๕๖๔.

77 ด้านการศึกษาด้านปริยัติ ทางวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม มีการสอนเรียนการเรียน นักธรรมตรี โท เอก ในวดั โดยมีคณาจารย์ในวดั และนมิ นตพ์ ระอาจารย์ที่อ่นื มาร่วมสอนอกี ดว้ ย สว่ นการศึกษา ด้านแผนกบาลีน้ัน ถ้ามีพระ-สามเณรต้องการเรียนบาลี ทางวัดก็จะทำการจัดส่งไปศึกษาเลา่ เรียนตามสำนักที่ ทางวัดได้เลือกไว้ เช่น สำนักวัดบูรพารามพระอารามหลวง สำนักวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร เป็นต้น ของ การศกึ ษาปรยิ ตั ิธรรมในแตล่ ะปี ดา้ นการปฏิบัตวปิ สั สนากรรมฐาน ไดม้ ีการปฏบิ ัตธิ รรมของคณะสงฆ์หม่ใู หญข่ องทุกปี จัดให้ มีการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานภายในวัด ตามวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วัน อาสาฬหบูชา ในโครงการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน และปฏิบัติธรรมทุกเช้าเย็นในการทำวัตร สวดเจริญพระ พุทธมนต์ โดยไดป้ ฏิบัตกิ ับอบุ าสก อุบาสกิ าที่มารว่ มกันอีกด้วย ด้านการฝึกอบรมพระนักเทศน์ปาฐกถาธรรม สำหรับการฝึกอบรมพระนักเทศน์ ได้จัดให้มี การเทศนาประจำทุกวันพระ มีการเทศนาในงานบุญกฐิน และในวันสำคัญต่างของพระพุทธศาสนา จัดเทศน์ พระเวสสันดรชาดกประจำทุกปี และมีโอกาสก็ส่งพระภิกษุไปฝึกอบรมการเทศนาในสำนักต่างๆ อีกด้วย เพ่ือ พฒั นาศาสนบคุ คล ใหม้ คี วามรเู้ พื่อเผยแผพ่ ระศาสนาตอ่ ไป ด้านพระไตรปิฎก/คัมภีร์โบราณ ทางวัดได้จัดเก็บพระคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนา เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎกแปลภาษาไทย-บาลี คัมภีร์ใบลานเก่า คัมภีร์ภาษาล้านนา คัมภีร์ภาษาขอมโบราญ คัมภีร์ ภาษามอญ เป็นต้น ได้เก็บรวบรวมเพื่อรักษาคัมภีร์พระธรรม ที่โบราณจารย์ได้บันทึกไว้แล้ว ให้คงอยู่สืบพระ ศาสนาต่อไป25 ๔.๒ บทบาทดา้ นสาธารณสงเคราะหข์ องคณะสงฆไ์ ทย ๔.๒.๑ รูปแบบดา้ นสาธารณสงเคราะหข์ องคณะสงฆไ์ ทย การสาธารณสงเคราะห์ จำแนกรูปแบบได้ตามกรอบ ๔ หลักการสำคญั คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลอื การสนับสนุนเก้ือกูล การมีสว่ นร่วมพัฒนา และบรู ณาการเครอื ขา่ ย ดงั รายละเอียดต่อไปนี้ ๑) สงเคราะห์ช่วยเหลอื เป็นกิจกรรมทใ่ี ห้ความชว่ ยเหลอื ทางตรงในแบบใหเ้ ปล่า ซึง่ เป็นการ จัดให้การช่วยเหลือสงเคราะห์แก่ประชาชน ทั้งในยามปกติและประสบภัย เป็นการช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ 25 สมั ภาษณ์ พระเทพ จารธุ มฺโม ประธานสงฆ์ วดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศขี รภูมิ จงั หวดั สุรนิ ทร์ ๑๘ กนั ยายน ๒๕๖๔.

78 ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิต เช่น ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็กบนดอย เป็นต้น ทั้งน้ี กล่มุ เปา้ หมายในการดำเนนิ กจิ กรรมสงเคราะหช์ ่วยเหลือจำแนกไดเ้ ปน็ ๕ กลมุ่ คอื (๑) ผู้ยากไร้ หรือคนที่ได้รับคาวมทุกข์ยากเดือดร้อนจากปัญหาในการดำเนินชีวิต หรือ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แร้นแค้น หรือไม่เหมาะสมในเชิงสุขภาวะ เช่น ในถิ่นทุรกันดาร อยู่ในสลัม หรืออยู่ ในพนื้ ทม่ี ีผลต่อภาวะ อนั สง่ ผลตอ่ การมสี ขุ ภาพชีวิตที่ไมด่ ี และตอ้ งการความชว่ ยเหลอื ในด้านตา่ งๆ (๒) ผดู้ ้อยโอกาสในสังคม หรือผทู้ ไ่ี มไ่ ดร้ บั การดูแลอย่างเหมาะสมจากหนว่ ยงานใดหรือ จากญาติพี่น้อง ได้แก่ ผู้พิการ เด็กพิเศษ คนชราที่ถูกทอดทิ้ง หรือชนกลุ่มน้อย ซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้ (๓) ผปู้ ว่ ย เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือผปู้ ่วยใกลต้ าย และผปู้ ว่ ยตดิ เตยี งหรือติดบ้าน ทั้ง ในแนวทางการเสริมกำลังใจแก่ผู้ป่วย โดยใช้หลักธรรมเป็นสื่อในการเตรียมตัว และเตรียมใจสำหรับวิถีแห่ง ความตาย ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีความสงบทางจิตใจ ลดความทุกข์ความกังวล และความหวาดกลัวกับสิ่งที่ กำลังจะเผชิญได้ (๔) ผู้วายชนม์ ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องประสบพบเจอ และเมื่อเสียชีวิตแล้วชาว พุทธทุกคน จะต้องประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนา สำหรับคนทั่วไปแล้ว การจัดพิธีฌาปนกิจศพ อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของครอบครัว แต่บางกรณีของครอบครัวยากจน หรือการเสียชีวิตแบบกระทันหัน หรือ จากอุบัตภิ ัยและสาธารณภัย ครอบครัวผู้เสยี ชีวติ อาจเกิดปัญหาในการจัดพิธฌี าปนกิจศพ หรอื กรณีศพไรญ้ าติ (๕) ผู้ประสบภัย เมื่อเกิดภัยพิบัติหรือสาธารณภัย ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือแบบเฉพาะหน้าเร่งด่วน หรือมีความเดือดร้อนจำเป็นต้องได้รับ การดแู ลเป็นกรณีเฉพาะ ๒) สนับสนุนเกอื้ กลู การทพ่ี ระสงฆ์ใหก้ ารสนบั สนุนชุมชนหรือหน่วยงาน/องค์กรสาธารณะท่ี ต้องการความช่วยเหลือ เข้ามาขอความร่วมมือหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของวัด เป้าหมายของการ ดำเนินงาน คือ การตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาของประชาชน รวมถึงวัดและพระสงฆ์อาจจะเข้า ไปมีให้การสนับสนุนหน่วยงานหรือองค์กร เช่น (๑) สนับสนุนใหห้ นว่ ยงานของรฐั หรือกลุ่ม/องค์กรชุมชน (๒) สนับสนุนการฝึกอบรมหรือให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่คนในชุมชน (๓) สนับสนุนโครงการหรือกิจกรรม เศรษฐกจิ ของชมุ ชน (๔) สนบั สนนุ ให้หน่วยงานราชการและองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น ๓) การมีส่วนร่วมพัฒนา การทพี่ ระสงฆ์มีบทบาทในแนวทาง ทเ่ี น้นใหว้ ดั เปน็ ศูนย์กลางการ ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ในลักษณะการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม หรือกระตุ้นให้พระสงฆ์และ ประชาชนไดร้ ว่ มกันค้นหาปัญหา และสาเหตขุ องปญั หาที่เกิดขึ้นในชุมชนรว่ มกนั ปรึกษาหารอื วางแผนเพ่ือการ

79 แก้ไขปัญหาร่วมกัน แสวงหาทรัพยากรการจัดการดำเนินร่วมดำเนิน หรือบริหารโครงการให้คุ้มค่าและเกิด ประโยชน์ เชน่ (๑) การทำงานพฒั นาตามปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียงและการพงึ่ ตนเอง (๒) การพฒั นาศักยภาพ ผู้นำการพัฒนาชุมชน (๓) การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการพัฒนา (๔) ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาที่ เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น (๕) การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของประชาชนและชุมชน (๖) การพัฒนา โครงการจัดกจิ กรรมอนรุ กั ษ์สิ่งแวดล้อม และทรพั ยากรธรรมชาติ เปน็ ต้น ๔) บูรณาการเครือข่าย เป็นการผลักดันกิจกรรมสาธารณะสงเคราะห์ ที่เริ่มจากพระสงฆ์ได้ ร่วมกับคณะสงฆ์หรือประชาชนทำงาน จนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ และกลายเป็น ความร่วมมือทั้งในเชิงนโยบายและโครงการ หรือกิจกรรมที่ร่วมกันทำงานเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมผลักดัน การทำงานอย่างเป็นระบบ มีเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุน ทั้งในด้านการดำเนินงานบุคลากรเทคโนโลยีหรือ งบประมาณ เพื่อเป้าหมายการประยุกต์แนวทางในแนวทางพุทธศาสนา เพื่อสังคมในกิจกรรมการคณะสงฆ์ เกือ้ กูล และพฒั นาอย่างย่ังยนื อย่างตอ่ เนอ่ื ง เช่น (๑) เครอื ข่ายคณะสงฆ์ เปน็ การดำเนินงานบูรณา การ ทั้งในลักษณะที่เป็นการทางการและไม่เป็นทางการ (๒) เครือข่ายราชการ โดยการประสานความร่วมมือ ระหว่างคณะสงฆ์กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด (๓) เครือข่ายภาค ประชาสังคม และองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นการทำงานร่วมกับคณะสงฆ์ร่วมมือกันกับกลุ่ม/องค์กรที่ได้จัดตั้ง โดยประชาชนหรือชุมชนและ/หรือองค์กรพัฒนาเอกชนจากภายนอกชุมชน เป็นการสร้างเครือข่ายงานสา ธารณสงเคราะห์ เป็นต้น26 ๔.๒.๒ วิธกี ารด้านสาธารณสงเคราะหข์ องคณะสงฆ์ไทย การดำเนนิ งานสาธารณะสงเคราะห์ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมคี วามจำเปน็ ผู้ที่รับผิดชอบ หรือพระสงฆ์เถระผู้ใหญ่หรือเจ้าเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ จะต้องใช้อำนาจดุลยพินิจ สถานการณ์ หรือมองภาพของ ผู้ประสบภัยพิบตั ิต่างๆ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัตงิ านให้ ดำเนินไปด้วยความราบร่ืน การวางแผนมี ดังต่อไปนี้ คือ ๑. การวางระเบยี บเกีย่ วกบั การรบั ผ้มู าขอรับบริการเขา้ สรู่ ะบบของการชว่ ยเหลือ ตลอดจนการ กำหนดระเบยี บวธิ กี ารชว่ ยเหลอื ในกรณตี า่ งๆ รวมทั้งกำหนดระยะเวลาของการ ชว่ ยเหลอื การตดิ ตามและการ ประเมินผล จนถึงวาระสุดท้ายของช่วยเหลือ ๒. แบ่งหน้าที่ให้แก่ผู้ที่รวมทีมการปฏิบัติงาน โดยปกติงาน สาธารณะสงเคราะห์ จะมี เหตกุ ารณ์ฉกุ ฉินเฉพาะหน้า และกรณที ี่ต้องใชเ้ วลาใหก้ ารสงเคราะห์ในระยะยาว จึง ต้องแบ่งหน้าที่ให้ เป็นชุดปฏิบัติงานฉุกเฉิน ที่สามารถปฏิบัติงานได้ทันท่วงทีและรวดเร็ว ๓. แผนเกี่ยวกับ 26 พนิ ิจ ลาภธนานนท์, อดีต ปัจจุบัน และอนาคต งานสาธารณสงเคราะห์วิถีพทุ ธของคณะสงฆไ์ ทย, โครงการ การศึกษาแนวทางสาธาณสงฆเ์ คราะห์วถิ ีพุทธของคณะสงฆไ์ ทย สถาบันวจิ ยั สงั คม จฬุ าลงกรณร์ าชวทิ ยาลยั , หน้า ๗๘-๘๗.

80 กิจกรรมต่างๆ ทพ่ี งึ จัดข้ึนในการสงเคราะห์ กำหนดเวลาในการ ปฏบิ ตั กิ ิจกรรมน้ันๆ ตามเวลาและโอกาส เพ่ือ ส่งเสริมใหพ้ ระสงฆม์ ีการต่นื ตัวตามกจิ กรรมท่ีปฏิบัติ ๔. แผนในการจัดหา การใช้จ่ายเงนิ วัสดอุ ุปกรณ์ การเก็บ รักษา การเบิกจา่ ย การ จัดทำบัญชรี ายรบั รายจ่ายวัสดุส่ิงของ ให้อยู่ในสภาพท่ถี ูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย ๕. แผนปฏิบตั กิ บั ผ้มู ารบั บรกิ ารเฉพาะกรณี และการจัดทำสาระบบผ้มู าใช้บริการ ๖. แผนในการแก้ปัญหาของ การปฏิบัติงาน เช่น กรณีที่เกินความสามารถของตน จะต้องมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไว้ ๗. แผนในการ ประสานงานกบั หน่วยงานที่เปน็ เครือข่าย ซ่งึ จัดบรกิ ารท่เี หมือน ใกล้เคยี ง หรือเหนือกว่า เพอ่ื ประโยชน์ในการ ส่งต่อกรณีปริมาณผู้ใช้บริการมีจำนวนมาก จะให้บริการ ได้ หรือกรณีที่เกินความสามารถในการให้บริการ ท่ี จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือเข้าช่วย หรือเทคนิค ที่เหนือกว่า ๘. แผนในการจัดฝึกอบรมผู้ร่วมปฏิบัติงาน ก่อนทำหน้าที่ เพื่อให้มีความรู้ความ เข้าใจในหน้าที่ของตนอันจำเป็นต้องปฏิบัติ เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาด บกพร่อง หรอื ผิดนอ้ ยท่สี ุด27 สำหรับแนวทำงการปฏบิ ตั ิงานสาธารณสงเคราะหเ์ พ่ือสงั คมท่ียง่ั ยืน สำนักงานฝา่ ยสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม จะแบ่งการปฏบิ ตั งิ านออกเป็น ๓ แนวทาง คือ แนวางที่ ๑ การปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ในภาวะปกติ เป็นแนวทำงานที่ชี้แจงใหเ้ หน็ รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบ รวมทั้งลักษณะการรายงานผล การดำเนินงานท่ีเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน สาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ระดับพื้นที่ มีประเด็นในการทำงาน คือ ๑) วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ ๒) วางแผน และ เตรยี มการดำเนนิ งานสาธารณสงเคราะห์ ท้งั ๓ ดา้ น ได้แก่ (๑) ด้านเกอื้ กลู (๒) ด้านการพัฒนา (๓) ด้านการบูรณาการ ๓) ดำเนินการตามแผนที่ได้เตรียมไว้ ๔) สรุปผลการดำเนินงาน ๕) รายงานผลการ ดำเนินงาน มีผู้รับผดิ ชอบ คือ จร., จล., จต., จอ., สธส., จจ. จภ., มส. รายงานผลปีละสองครัง้ แนวทางที่ ๒ การปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ในภาวะวิกฤต เป็นแนวทำงานที่ชี้แจงให้ เห็นรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบ รวมทั้งลักษณะการรายงานผลการดำเนินงาน และการสร้างเครือข่าย เพื่อการประสานงานในสถานการณท์ ่ีมีความเรง่ ดว่ น มปี ระเดน็ การทำงาน คือ ๑) ประเมนิ ความเสียหาย และ ความพร้อมเมื่อเกิดสาธารณภัย ๒) รวบรวมข้อมูลสถานการณ์สาธารณภัย และความต้องการความช่วยเหลือ ๓) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ในกรณีที่พื้นที่มีความพร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค และจัดสรร พื้นที่วัด สำหรับเป็นที่พักชั่วคราว ๔) กรณีที่ภัยพิบัติรุนแรง ให้รายงานเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับชั้น ๕) ประสานงานความร่วมมือภาคีเครือข่าย สนบั สนนุ การช่วยเหลือ ๖) ดำเนนิ การสาธารณสงเคราะห์ ๗) สรุปผล 27 สุรยิ นต์ น้อยสงวน, รปู แบบการปฏบิ ตั ิงานสาธารณสงเคราะหข์ องคณะสงฆ์ ในจังหวัดศรสี ะเกษ, มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.

81 การดำเนินงาน ๘) รายงานเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับ แนวทางการช่วยเหลือโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง มี หนว่ ยงานผู้รับผิดชอบ คอื จร., จล., จต., จอ., สธส., จจ. จภ., มส. แนวทางที่ ๓ การปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ เพื่อรวบรวมข้อมูลภาคีเครือข่าย เป็น แนวทำงานที่ชี้แจงให้เห็นรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบ รวมทั้งลักษณะการรายงานผลการดำเนินงาน เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการปฏิบตั ิงานสาธารณสงเคราะห์ โดยเป้าหมายสำคัญ คือ การส่งเสริม ให้เกิดการขยายต่อเครือข่ายการทำงาน ที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนา กิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์ในพื้นที่ได้ มีประเด็นการทำงาน คือ ๑) จัดทำฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก ๒) รวบรวมฐานข้อมูลภาคีไว้ในระบบสารสนเทศ ๓) กำหนดแผนสร้างความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนความรู้ จากท้งั เครือข่ายทั้งภายในและภายนอก ๔) สง่ เสริมให้มโี ครงการความรว่ มมือกบั ภาคีเครือข่าย ท้ังภายในและ ภายนอก อย่างน้อยจังหวัดละ ๑ โครงการ ๕) ส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคีเครือข่ายภายใน ๖) สรุปผลการดำเนินงาน ๗) รายงานเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับ แนวทางปฏิบัติงานรวบรวมข้อมูลภาคี เครือข่าย มหี นว่ ยงานผรู้ บั ผดิ ชอบ คือ จร., จล., จต., จอ., สธส., จจ. จภ., มส. เปน็ ต้น28 ๔.๒.๓ คำสมั ภาษณ์นักวชิ าการ ด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆไ์ ทย ในมุมมองของ พระครูใบฎีการเวียง กิตฺติวณฺโณ ผศ. ดร. ท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่า สาธารณ สงเคราะห์ เป็นพัทธกิจด้านหนึ่งของคณะสงฆ์ไทย เป็นงานของพระสงฆ์โดยเฉพาะที่วัดต้องมี โดยมีวิธีการ จัดตั้งคณะกรรมการวัด เพื่อดำเนินงานร่วมกับคณะสงฆ์ในวัด ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการด้านสาธารณ สงเคราะห์ให้มีประสิทธิผล ซึ่งแต่ละวัดต้องมีวัสถุสิ่งของเครื่องใช้สำหรับอุปโภคบริโภคพร้อมเตรียมไว้พร้อม ชว่ ยเหลือ ดงั เช่น ผูป้ ระสบกบั โควิด ๑๙ ทต่ี อ้ งเก็บตวั เพื่อรักษาตน บางคนกต็ ้องเก็บตัวอยู่ในวัด ดังนั้นทางวัด จึงต้องเตรียมพร้อมไว้ในหลายด้าน เช่น ด้านสถานที่ของวัด ด้านอาหารข้าวของเครื่องใช้ เป็นต้น เปรียบเสมือนให้วัดเป็นที่เก็บเสบียงคลังของบริจาค เพื่อนำไปบริจาคต่อให้กับผู้ลำบากที่ต้องการความ ชว่ ยเหลอื อยา่ งเรง่ ด่วน ส่วนการสงเคราะห์ทางด้านจิตใจ ทางวัดควรมีการทำข้อวัตรสวดมนตไ์ ว้พระเจริญกรรมฐาน ทุกๆ วันเช้า-เย็น เพื่อมีความต่อเนื่องในการปฏิบัติ หรือมีโครงการปฏิบัติธรรมในทุกวันพระ หรือวันเสาร์ - อาทติ ย์ และวนั สำคญั ๆ ในทางพระพุทธศาสนา กช็ ว่ ยไดด้ ใี นดา้ นพัฒนาจิตใจของคนในชุมชนและผู้ประสบภัย 28 สาธารณสงเคราะห์วถิ ีพทุ ธ, แผนการดำเนินงาน ฝา่ ยสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม, ๒๕๖๔. https://www.xn--๔๒cf๙at๙cd๗bdm๓cobg๗q๓g.com/ ค้นหาเม่อื ๒๕/๙/๖๔.

82 ทั้งนี้พระสงฆ์ในวัดต้องมีความรู้และความชำนาญในด้านการปฏิบัติด้วย เช่น การเทศนาธรรมะ หรือผู้นำสวด มนต์ ผนู้ ำพาปฏบิ ตั ิจงึ ประสบผลดี ตอ่ ผูม้ าปฏบิ ัตธิ รรมและผู้นำปฏิบัติธรรมดว้ ย29 ๔.๓ บทบาทดา้ นสาธารณสงเคราะห์ของวดั ปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม การสมั ภาษณม์ ีจดุ ดมุ่งหมายในการศึกษารวบรวมข้อมูลประกอบการวเิ คราะห์ เพื่อศกึ ษาบทบาทด้าน สาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) มีผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๘ รปู /คน รวบรวมผลได้ดงั นี้ ๔.๓.๑ บทบาทในการช่วยเหลอื เก้อื กูลวดั /คณะสงฆ์ ๑) สำหรับปัจจัยที่ได้มาจากศรัทธาของแต่ละหน่วยงาน เช่น หน่วยงานราชการและก็พ่อค้า โรงงานต่างๆ ทม่ี ีของเหลือใช้หรือของใหม่ หรือของที่หมดสัญญาเชา่ หนว่ ยงานเหล่านนั้ ได้มอบให้ทางวัด ทาง วัดได้ทำการจัดสรรแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลวัดในสังกัด และนอกสังกัด โดยการช่วยสรา้ งและบูรณะซ่อมแซม แต่ละวัดตามสมควร ทั้งวัสดุการก่อสร้างและบุคคลากรพระสงฆ์ในวัด ไปช่วยกันสร้างเอง และการช่วยเหลือ พระภิกษุผู้อาพาธ ทางวัดได้ให้ความช่วยเหลือผ้าไตรจีวร และอุปกรณ์การพยาบาลสงฆ์มีแพมเพิส ผ้าปูเตียง นอน ขา้ วสารอาหารแหง้ เป็นตน้ 30 ๒) ทางวัดได้พาคณะสงฆ์ไปช่วยเตรียมงานที่วัดสุทธิธรรมาราม เช่น จัดเตรียมสถานที่สอบ ปริยัติธรรม ช่วยเตรียมงานการประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุต พร้อมทางวัดได้นำภัตตาหารเปิดเป็นโรงทานให้อีก ด้วย31 ๓) ทางวัดได้พาพระลูกวัด ไปช่วยการก่อสร้างวัดที่เปิดใหม่ในตำบลใกล้เคียง โดยอาศัยช่วย แรงงานของพระสงฆ์ และอุปกรณข์ องทางวดั ร่วมดว้ ยชว่ ยกัน32 ๔) ทางวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ได้ร่วมกับอุบาสกอุบาสิกา ได้นำผ้าไตรจีวร จำนวน ๒๐ ชดุ ถวายแกว่ ดั สุทธจินดาวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวดั นครราชสมี า33 29 สัมภาษณ์ พระครูใบฎกี าเวียง กิตฺติวณฺโณ ผศ. ดร. กลุ่มนักวชิ าการ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั วทิ ยาเขตสุรนิ ทร์, ๓๐ ตลุ าตม ๒๕๖๔. 30 สัมภาษณ์ พระเทพ จารุธมฺโม ประธานสงฆ์, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวดั สุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 31 สัมภาษณ์ พระวิรัตน์ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาส, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวัดสรุ นิ ทร์, ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔. 32 สมั ภาษณ์ พระบญุ ธรรม ชาตปญฺโญ ช่างศลิ ปป์ ฏิมากรรม, วดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอ ศขี รภูมิ จงั หวัดสุรินทร์, ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔. 33 สัมภาษณ์ พระเอกพนั ธ์ อภินนฺโท, วดั ปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จังหวัดสรุ ินทร,์ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.

83 ๕) ทางวัดได้ช่วยอนุเคราะห์เกื้อกูลพระภิกษุอาพาธ ณ วัดป่ามะขาม จังหวัดนครราชสีมา เปน็ ทพี่ กั ดูแลภกิ ษุอาพาธ ทางวัดได้ช่วยอุปกรณ์การพยาบาลภิกษุผู้อาพาธ และทางวดั ยังช่วยสร้างวัดเปิดใหม่ อนุเคราะหแ์ บบหลอ่ พระพทุ ธรปู หนา้ ตัก ๒ เมตร เพอื่ ประดิษฐานเปน็ พระประธาน ใหห้ ลายวัดหลายจังหวัด34 ๖) พระสงฆใ์ นวดั นี้ได้ชว่ ยเหลือเกื้อกูลวัดอ่ืนเปน็ อย่างดี เช่น ทางวดั พาพระสงฆ์ลูกวัดไปช่วย จัดสถานที่สอบธรรมสนามหลวงที่วัดสุทธิธรรมาราม ช่วยจัดสถานที่การประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัด สรุ ินทร์ และก็ชว่ ยไปสรา้ งวัดท่ีกำลังสรา้ งขึ้นใหม่ด้วย35 ๗) ทางวัดให้ความชว่ ยเหลือตอ่ คณะสงฆ์เป็นอย่างดี ในด้านความร่วมมือในกิจของคณะสงฆ์ จังหวดั เชน่ ช่วยจดั เตรียมสถานท่ีการประชุมจังหวัด ช่วยจัดสถานทีก่ ารสอบธรรมสนามหลวงท่ีวัดสุทธิธรรมา ราม เป็นต้น พร้อมช่วยเหลือพระภิกษุผู้อาพาธ โดยมอบเครื่องบริบาลผู้ป่วย เยี่ยมเยียนให้กำลังใจ วัดได้ช่วย ตามกำลังท่มี วี ตั ถสุ ่ิงของจากญาติโยมทีไ่ ด้อนุเคราะห์มา36 ๘) วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ทางวัดมีเจตนาท่ีชว่ ยเหลือคณะพระสงฆ์ดี เห็นได้จากการ ที่พระเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธ) และพระสังฆาธิการได้เข้ามาเยียมเยียนอยู่เสมอ ทางวัดก็ได้ให้ความ ช่วยเหลือเปน็ อยา่ งดี ดังที่ได้เหน็ และได้ยินมาว่า ทางวัดได้มอบถวายเคร่ืองคอมพิวเตอร์ เครื่องปรินท์เอกสาร พร้อมทั้งไดพ้ าพระลกู วัดในสังกัดไปชว่ ยงานท่ีวดั อื่นท่สี รา้ งใหม่อกี ด้วย37 ๙) มีการช่วยสรา้ งวัดอื่นๆ ในเขตและนอกเขตตำบล ทางวัดได้นำพระสงฆ์พร้อมกับญาติโยม เยาวชนในชุมชนไปร่วมช่วยกันสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ สร้างเขตรั้ววัดโดยนำอุกรณ์ที่ทางวัดมีอยูไ่ ปช่วยด้วย พร้อม กับภตั ตาอาหารโรงทานไปดว้ ย เพอ่ื ใหญ้ าติโยมได้มสี ว่ นรว่ มในกิจกรรมของทางวัด38 34 สัมภาษณ์ พระปรีชา ภูริสีโล วัดป่าท่าแจ้ง (เทพนิมิตร) ตำบลแกะแก้ว อำเภอเสลาภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด , ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 35 สัมภาษณ์ นายสุเทพ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 36 สัมภาษณ์ นายยงยุทธ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสรุ ินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 37 สมั ภาษณ์ นายวิรัตน์ แอกทอง ผูใ้ หญ่บ้านโคกกลัน, บ้านโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔. 38 สมั ภาษณ์ นายบญุ ทม แอกทอง กลุ่มปราชญ์ชุมชน, บ้านโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จงั หวดั สุรนิ ทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔.

84 ๑๐) ทางวัดได้ให้ความช่วยเหลือคณะสงฆเ์ ปน็ อย่างดี มีการช่วยสรา้ งวัดที่กำลังก่อตัง้ ใหม่ขนึ้ ตั้งแตร่ ากฐาน โดยมกี ารดำเนนิ การช่วยติดต่อรถแมคโครขุดถมดิน ช่วยเป็นธุระหากลา้ ต้นไม้นำมาปลูกที่วัด ได้ แบง่ ไปหลายวัดดว้ ย เพื่อให้เปน็ สถานทรี่ ม่ ร่ืนซึง่ เหมาะแกว่ ดั ปา่ ตามแนวทางปฏิบตั ิ39 กล่าวโดยสรุป ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ในบทบาทการช่วยเหลือ เกื้อกูลวัด/คณะสงฆ์ วัดได้รับปัจจัยทัยทานจากศรัทธาของพุทธบริษัทสี่ พ่อค้าแม่ค้า กลุ่มเจ้าของโรงงาน ชาวบ้านชุมชน และหน่วงานของรัฐ ทางวัดได้ทำการจัดสรรแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลวัดในสังกัด และวัดนอก สังกัด โดยการชว่ ยสรา้ งและบูรณะซอ่ มแซมแตล่ ะวัดตามสมควร ทัง้ วัสดกุ ารกอ่ สร้างและบคุ คลากรพระสงฆ์ใน วัด ไปช่วยกันสร้างเอง และการช่วยเหลือพระภิกษุผู้อาพาธ ทางวัดได้ให้ความช่วยเหลือผ้าไตรจีวร และ อุปกรณ์การพยาบาลสงฆ์มีแพมเพิส ผ้าปูเตียงนอน ข้าวสาร และทางวัดได้พาคณะสงฆ์ไปช่วยเตรยี มงานที่วัด สุทธิธรรมาราม ในการจัดเตรียมสถานที่สอบปริยัติธรรม และช่วยเตรียมงานการประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุต พร้อมทางวัดไดน้ ำภัตตาหารเปิดเป็นโรงทานใหอ้ ีกดว้ ย ๔.๓.๒ บทบาทในการชว่ ยเหลอื เกือ้ กูลชมุ ชน ๑) การช่วยเหลือเกือ้ กูลชุมชนก็มีเกี่ยวกบั การอนุเคราะห์พิธีกรรมงานฌาปนกิจ โดยทางวัด มเี จตนาสวดพระอภธิ รรมบังสุกลุ ให้แก่ผ้วู ายชนมโ์ ดยไม่มีคา่ ใช่จ่าย พร้อมทง้ั ชว่ ยเหลือขา้ วสารและเคร่ืองครัว ทำอาหารเลี้ยงผู้มาร่วมงานฌาปนกิจอีกด้วย ก็เพื่อบรรเทาคลายทุกข์แก่ผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ให้ สำหรับครอบครัวท่ยี ากจนและทั่วไปด้วย40 ๒) อาหารบิณฑบาตรที่เหลือจากพระสงฆ์ พระสงฆ์พิจารณาเสร็จแล้ว ขอยกอาหารที่เหลือ ทง้ั หมดใหก้ ับญาตโิ ยมท่ีมาวัดและท่ีอยู่ทางบ้าน โดยแบ่งสว่ นหนึ่งให้กับโรงเรยี น และชุมชนกลางหมู่บ้าน จะมี ตกู้ บั ขา้ วแบง่ ปันกันกนิ พร้อมกนั ฉันพน่ี ้อง สร้างความปรองดองสามคั คีให้แก่ชุมชนเปน็ อยา่ งดี41 ๓) วัดได้ช่วยเหลือชุมชน มีข้าวสารอาหารแห้งแก่ผู้ยากไร้ขัดสนคนพิการ และได้ไปเยี่ยม เยียนผปู้ ่วยนอนตดิ เตยี ง แลว้ ใหก้ ำลงั ใจ และให้สิ่งของเครื่องใช้ แก่ผู้ป่วยไขท้ ่นี อนตดิ เตยี งดว้ ย42 39 สัมภาษณ์ นายประยูร บำรุงนาม กลุ่มผู้ใกล้ชิดวัด, บ้านตะแบก ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔. 40 สัมภาษณ์ พระเทพ จารุธมฺโม ประธานสงฆ์, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรนิ ทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 41 สัมภาษณ์ พระวิรัตน์ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาส, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวดั สุรินทร์, ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔. 42 สัมภาษณ์ พระบุญธรรม ชาตปญฺโญ ผช.ช่างศิลป์ปฏิมากรรม, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวัดสุรินทร์, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔.

85 ๔) การช่วยเหลือสิ่งของแก่ชุมชนที่ทางวัดพอจะช่วยได้ก็มีข้าวสารและอุปกรณ์เครื่องครัวท่ี ทางวัดได้มาจากผู้มาทำบุญที่วัด เช่น ได้มาจากการทำบุญอุทิศปุพพเปตตพลี ประจำทุกปีของวัด ข้าวของ อาหารแห้งท่ีไดจ้ ากการบิณฑบาตรวนั ออกพรรษา ตักบาตรเทโวโรหนะ เปน็ ตน้ 43 ๕) วดั มกี ารจัดเตรยี มข้าวสาร นำ้ ดมื่ อาหารแห้ง ไว้เพือ่ ช่วยเหลือคนยากจนในถิ่นทุระกันดาร และพันธ์พชื การเกษตรให้กับชุมชนครอบครวั ผูย้ ากไร้ดว้ ย44 ๖) วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ได้อนุเคราะห์รถเครื่องเสียงใช้เปิดประชาสัมพันธ์ในงาน ฌาปนกิจ งานบวช และใหห้ น่วยงานสาธารณะ ทต่ี อ้ งการใช้รถเครอ่ื งเสยี ง โดยไม่คิดคา่ ใชจ้ า่ ย45 ๗) ในแต่ละงานทที่ างวัดจดั เพือ่ ใหญ้ าตโิ ยมไดร้ ว่ มบุญ เมอื่ เสร็จงานแลว้ กแ็ บง่ ส่วนที่เหลือจาก สงฆ์ให้กับชุมชนชาวบ้านที่มาร่วมงาน เช่น งานบุญกฐิน งานตักบาตรเทโวโรหนะ งานเทศมหาชาติ โดย ส่วนมากจะเปน็ ผลไม้ พชื ผัก และขา้ วสารอาหารแหง้ เป็นต้น46 ๘) ในการช่วยเหลือชุมชน ทางวัดได้ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ดังเช่น ครัวเรือนที่ เดือดร้อนทางวัดก็ได้ช่วยเหลือข้าวสารอาหารเพื่อบรรเทาความลำบาก และช่วยอนุเคราะห์ด้านงานฌาปนกิจ ศพ โดยได้มอบข้าวสารอาหารเครื่องครัว บริการรถเครื่องเสียง และสวดบังสุกุลให้โดยไม่เสียค่าใช่จ่ายไม่ต้อง ถวายเงิน47 ๙) ทางวัดให้ความอุปถัมภ์แก่โรงเรียนบ้านระเวียง ได้มอบสิ่งของข้าวสารอาหารแห้งให้โรง อาหาร พร้อมทั้งชว่ ยเหลืออปุ กรณก์ ารเรียนการสอน และทีน่ อนสำหรับเดก็ เล็ก48 ๑๐) วัดได้ให้ความชว่ ยเหลือชุมชนด้านการเกษตร มีพชี พันธต์ุ น้ ไม้ แจกข้าวเปลือกพันธุ์ดีท่ีมี อยู่ในวัดแล้ว พร้อมท้ังชว่ ยเหลือเร่ืองการจัดการงานฌาปนกิจศพ มีใหข้ ้าวสารอาหารเคร่ืองทำอาหารรับแขกผู้ 43 สมั ภาษณ์ พระเอกพนั ธ์ อภนิ นโฺ ท, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศขี รภูมิ จังหวัดสรุ ินทร,์ ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 44 สัมภาษณ์ พระปรีชา ภูริสีโล, วัดป่าท่าแจ้ง (เทพนิมิตร) ตำบลแกะแก้ว อำเภอเสลาภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 45 สัมภาษณ์ นายสุเทพ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กนั ยายน ๒๕๖๔. 46 สัมภาษณ์ นายยงยุทธ ประภาสยั สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 47 สัมภาษณ์ นายวิรตั น์ แอกทอง ผใู้ หญ่บ้านโคกกลนั , บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศขี รภูมิ จังหวดั สุรินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔. 48 สมั ภาษณ์ นายบญุ ทม แอกทอง กลุ่มปราชญ์ชุมชน, บา้ นโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศขี รภูมิ จังหวดั สุรินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔.

86 มาร่วมงานดว้ ย และเป็นตัวอยา่ งในดา้ นการเกษตรไรส้ ารเป็นการเกษตรอิทรีย์ท่ีกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน น้ี49 กล่าวโดยสรุป ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ในบทบาทการช่วยเหลือ เกอ้ื กลู ชมุ ชน วดั ไดช้ ่วยเหลือชุมชนในดา้ นมีขา้ วสารอาหารแห้งแกผ่ ู้ยากไร้ขดั สนคนพิการ และได้ไปเยี่ยมเยียน ผู้ป่วยนอนติดเตียง และให้สิ่งของเครื่องใช้ แก่ผู้ป่วยไข้ที่นอนติดเตียง และอาหารบิณฑบาตรที่เหลือจาก พระสงฆ์ พระสงฆพ์ ิจารณาเสร็จแลว้ ขอยกอาหารทเี่ หลือท้ังหมดให้กับญาติโยมที่มาวัดและที่อยู่ทางบ้าน โดย แบ่งสว่ นหน่ึงให้กบั โรงเรยี น และชมุ ชนกลางหมู่บ้านจะมีตู้กับข้าวแบ่งปันกนั กินพร้อมกนั ฉันพ่ีน้อง สร้างความ ปรองดองสามัคคีให้แก่ชุมชนเป็นอย่างดี การอนุเคราะห์พิธีกรรมงานฌาปนกิจ โดยทางวัดมีเจตนาสวดพระ อภิธรรมบงั สกุ ลุ ให้แก่ผวู้ ายชนม์ โดยไมม่ ีค่าใช่จา่ ย พร้อมทง้ั ชว่ ยเหลือข้าวสาร และเครื่องครัวทำอาหารเล้ียงผู้ มารว่ มงานฌาปนกจิ อกี ด้วย ๔.๓.๓ บทบาทในการชว่ ยเหลอื เก้อื กูลหน่วยงานสาธารณะ ๑) ทางด้านหน่วยงานที่เป็นสาธารณะ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อนามัยตำบล โรงเรียนอนุบาล หน่วยงาน อ.ส.ม.หมู่บ้าน ทางวัดได้ช่วยเหลือทางด้านอุปกรณ์การพยาบาล มีผ้าปูเตียงนอน แพมเพสิ ชุดคอมพวิ เตอร์ เคร่ืองปรนิ ท์ กระดาษ พรอ้ มทง้ั ข้าวสารอาหารแห้งและเครื่องครัว เปน็ ตน้ 50 ๒) ได้ใหก้ ารช่วยเหลือผ้ปู ว่ ยตดิ เตยี ง ทงั้ ทเี่ ปน็ พระสงฆ์ และคฤหสั ค์ญาตโิ ยม ช่วยอนุเคราะห์ วัสดุการก่อสร้างวัดในและนอกตำบล ช่วยสร้างบ้านให้กับคนยากไร้ และไปให้กำลังใจแก่ผู้ประสบภัยทาง ธรรมชาติ มีอุทกภัย เป็นต้น โดยการช่วยเหลือสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ของการดำรงชีพต่อไปได้อย่างไม่ ลำบากมากนกั 51 ๓) ทางวัดได้มอบคอมพิวเตอร์ ให้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดสุรินทร์ และ นครราชสมี า และมอบให้กับกองทนุ หมบู่ ้าน เพื่อใชใ้ นสำนักงานและในกลมุ่ กองทุนหมบู่ ้าน52 49 สัมภาษณ์ นายประยูร บำรุงนาม กลุ่มผู้ใกล้ชิดวัด, บ้านตะแบก ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔. 50 สัมภาษณ์ พระเทพ จารุธมฺโม ประธานสงฆ์, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวดั สรุ นิ ทร์, ๑๘ กนั ยายน ๒๕๖๔. 51 สัมภาษณ์ พระวิรัตน์ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาส, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวดั สุรินทร์, ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔. 52 สัมภาษณ์ พระบุญธรรม ชาตปญฺโญ ผช.ช่างศิลป์ปฏิมากรรม, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวัดสรุ นิ ทร์, ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.

87 ๔) ได้เห็นมาทางวัดได้รับคอมพิวเตอร์ที่หมดสัญญาเช่า มาจากหน่วยงานมามอบถวายมาให้ ทางวัดได้แบ่งจัดสรรบริจาคต่อให้กับหนว่ ยงานในชนบททีข่ าดแคลนอุปกรณ์ ด้านการศึกษาของพระสงฆ์และ เยาวชน พร้อมทั้งใว้ใช้ในสำนักงานของหน่วยงานต่างๆด้วย เช่น โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน และนักเรียน ครอบครัวที่ยากจนแต่ขยนั มนั่ เพยี รในการศึกษา53 ๕) การช่วยเหลือส่วนรวมหรือหน่วยงานสาธารณะ ทางวัดมีการเย็บที่นอนสำหรับผู้ป่วยติด เตียง และสำหรับเด็กอนุบาล แล้วส่งมอบให้กับโรงพยาบาล และศุนย์อนุบาลเด็กเล็ก ที่มีการร้องขอมาทาง วัด54 ๖) ที่ได้ยินและได้เห็นมาว่า ทางวัดมีคอมพิวเตอร์ที่ได้จากหน่วยงานถวายมาให้จัดแบ่งมอบ ให้แก่โรงเรียน โรงพยาบาล อนามัย และศนู ย์อนุบาลเด็กเลก็ พรอ้ มท่ีนอนเด็กด้วย55 ๗) สำหรบั หน่วยงานของรฐั ที่ทางวัดได้ช่วยอนุเคราะห์นั้น มโี รงเรยี นอนบุ าล ประถม อนามัย โรงพยาบาล กองทุนหมบู่ า้ น อสม. และวัด เปน็ ต้น มกี ารมอบเคร่ืองคอมพวิ เตอร์ ทีน่ อนสำหรบั เด็ก ผ้าปูเตียง ผปู้ ว่ ย มีทั้งท่ีอยู่บนเขาและอยชู่ ายแดน ซ่งึ ทางวดั ได้แบง่ จัดสรรใหต้ ามท่ีขอ56 ๘) สำหรับการช่วยเหลือหน่วยงานสาธารณะ มีโรงเรียนบ้านระเวียง ที่ทางวัดได้มอบเครื่อง คอมพวิ เคร่ืองและอุปกรณ์การศึกษาให้ทางโรงเรียน มโี รงพยาบาลศขี รภมู ิ ศูนยด์ แู ลเด็กเลก็ ศูนย์อสม.หมู่บ้าน โคกกลัน ที่ได้รับความช่วยเหลือจากทางวัดได้ดีเสมอมา และต้องประสานงานช่วยเหลือกับหน่วยงานอื่นอีก ด้วย57 ๙) วัดได้ให้การช่วยเหลืออุปกรณ์การสอนให้กับโรงเรียน อุปถัมภ์ศูนย์เด็กเล็กในชุมชน ชว่ ยเหลือกองทนุ หมู่บ้านได้มอบคอมพิวเตอร์ไว้ใชใ้ นสำนักงานของหม่บู ้าน ชว่ ยอนเุ คราะห์โรงพยาบาลด้านผ้า 53 สมั ภาษณ์ พระเอกพนั ธ์ อภินนโฺ ท, วัดปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศขี รภูมิ จงั หวดั สุรินทร์, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 54 สัมภาษณ์ พระปรีชา ภูริสีโล, วัดป่าท่าแจ้ง (เทพนิมิตร) ตำบลแกะแก้ว อำเภอเสลาภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 55 สัมภาษณ์ นายสุเทพ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 56 สัมภาษณ์ นายยงยุทธ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 57 สมั ภาษณ์ นายวิรัตน์ แอกทอง ผู้ใหญบ่ า้ นโคกกลัน, บ้านโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศขี รภมู ิ จงั หวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔.

88 ปูเตียง และดูแลอนุเคราะห์กองงานคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ฝ่ายธรรมยุต-มหานิกาย ด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเกบ็ ขอ้ งมลู เอกสารของคณะสงฆ์58 ๑๐) วัดได้รับอุปกรณ์การศึกษามีคอมพิวเตอร์ เครื่องปรินท์จากหน่วยงานการศึกษาที่หมด สัญญาเช่าแล้วนำมามอบให้กับวัด เพื่อให้วัดนำไปมอบแจกจ่ายให้กับโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก อนามัยตำบล กองทุนหมู่บ้าน กลมุ่ อสม. ซ่ึงแตล่ ะหนว่ งงานได้ร้องขอมาทางวัดให้ช่วยเหลือตามแต่จะพอช่วยได้ ทางวัดก็รับ โดยความอนเุ คราะห์ตามท่รี อ้ งขอมานนั้ 59 กล่าวโดยสรุป ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ในบทบาทการช่วยเหลือ เกื้อกูลหน่วยงานสาธารณะ ในด้านหน่วยงานที่เป็นสาธารณะ วัดได้อนุเคราะห์มีโรงพยาบาลศีขรภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อนามัยตำบล โรงเรียนอนุบาล อ.ส.ม.หมู่บ้าน ทางวัดได้ช่วยเหลือทางด้าน อุปกรณ์การพยาบาล มีผ้าปูเตียงนอนและแพมเพิส และชุดคอมพิวเตอร์ เครื่องปรินท์พร้อมกระดาษ ซึ่งสร้าง ความยินดอี ย่างยิ่งต่อหน่วยงาน ท่ีได้รบั มอบอุปกรณ์สิ่งของเหล่านั้น เพือ่ นำไปใชใ้ นการบริการประชาชนต่อไป ๔.๓.๔ บทบาทในการส่งเสริมสมั มาอาชพี แก่ชมุ ชน ๑) เกี่ยวกับการสงเสริมสัมมาชีพแก่ชุมชนนั้น มีอาชีพช่างก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างเคาะพ่นสี รถยนต์ ช่างซ่อมช่วงล่างรถยนต์ ช่างเชื่อม ซึ่งทางวัดได้ก่อสร้างพระวิหาร พระอุโบสถกลางน้ำ ชาวบ้านและ ชุมชนใกล้เคียง พร้อมภิกษุ-สามเณร ได้มาช่วยกันสร้างตั้งแต่รากฐานขึ้นมา และท่ีสำคัญคือ ช่างแกะลาย ปฏิมากรรมศิลปแบบขอม พรอ้ มทั้งยังมกี ารส่งเสรมิ งานตดั เย็บจวี ร ตัดเย็บผา้ โหลอกี ด้วย เปน็ ต้น60 ๒) มีการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ เช่น ทำนาข้าวอินทรีย์ ทำปุ๋ย ปลูกผัก ปลูกป่าและ ปลูกผลไม้อีกด้วย มีการสอนเกี่ยวกับช่างยนต์ ซึ่งในวัดมีอุปกรณ์พร้อม เช่น รถไถ รถแมคโค รถเครน และรถ เคร่ืองเสียง ถา้ รถเสยี สามารถซ่อมได้ทนั ที เป็นตน้ 61 58 สัมภาษณ์ นายบุญทม แอกทอง กลุ่มปราชญช์ มุ ชน, บา้ นโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศขี รภูมิ จงั หวัดสรุ ินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔. 59 สัมภาษณ์ นายประยูร บำรุงนาม กลุ่มผู้ใกล้ชิดวัด, บ้านตะแบก ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔. 60 สัมภาษณ์ พระเทพ จารุธมฺโม ประธานสงฆ์, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวดั สรุ ินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 61 สัมภาษณ์ พระวิรัตน์ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาส, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวัดสรุ นิ ทร์, ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔.

89 ๓) ทางวัดได้ส่งเสริมสัมมาอาชีพ เช่น อาชีพช่างก่อสร้าง ช่างเชื่อม ช่างเคาะพ้นสี ช่างไฟฟ้า ชา่ งแกะสละแบบลายพทุ ธศิลป์ และอาชพี การเกษตร62 ๔) วัดแห่งนี้เป็นเสมือนโรงงานเพาะช่างแห่งหนึ่ง ที่ให้โอกาสแก่พระสงฆ์-สามเณรและกลุ่ม คนในชุมชนนี้ พระสงฆ์-สามเณร เมื่อบวชมาแล้วไม่เพียงแค่ทำกิจสวดมนต์อย่างเดียว แต่ต้องร่วมกันทำงาน ด้วย เช่น ด้านการก่อสร้างพระวิหาร พระอุโบสถ ด้านเทแบบศิลป์ปฏิมากรรมแบบขอม เพื่อสร้างพระวิหาร และพระอุโบสถกลางน้ำซ่ึงกำลังกอ่ สร้างอยู่ เปน็ การสืบทอดฝกึ หัดบุคคลากรของวัดไปด้วย63 ๕) วดั ไดส้ ง่ เสรมิ ใหญ้ าตโิ ยมในชมุ ชนทำเกษตรอินทรีย์ ทำนาดำ ปลูกผกั สวนผสม โดยทางวัด มีแปลงทำนาปลูกผักเป็นตัวอย่าง ซึ่งจัดเป็นกิจกรรมประจำของวัด เพื่อเป็นวัตถุดิบให้กับโรงทานของวัด ซ่ึง ได้รับการร่วมมอื อนั ดมี ากจากชุมชน ได้มามสี ่วนรว่ มในการทำนาดำ ปลกู ผัก ปลกู ผลไม้ เป้นต้น64 ๖) ตง้ั แต่สรา้ งวัดขึ้นมา พระสงฆ-์ สามเณรในวัดนี้ ก็มแี ตก่ ่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง วัดนี้อยู่ เสมอไม่มีหยุด ซึ่งพระ-เณรมีความชำนาญด้านการก่อสร้างเป็นอย่างดี และยังมีการซ่อมรถยนต์ เพราะ ประธานสงฆ์และเจ้าอาวาสวัดนี้ เป็นช่างซ่อมรถยนต์มาก่อน จึงมีความรู้สามารถสอนให้พระ-เณร มีความรู้ ความชำนาญได้ แล้วความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้ในยามสกิ ขาลาเพศ65 ๗) สมั มาอาชพี ท่ีทางวัดสามารถสอนให้ได้หลายอาชพี เช่น อาชพี การกอ่ สรา้ ง อาชีพช่างยนต์ อาชีพด้านทำเครื่องเสียง อาชีพด้านศิลป์ปฏิมากรรม อาชีพด้านการตัดเย็บจีวร ตัดเย็บผ้าที่นอน และอาชีพ ด้านการเกษตร เป็นต้น ก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลด้วย จึงจะมีความชำนาญไว้เพื่อ ประกอบอาชีพต่อไป66 ๘) ในด้านการส่งเสริมสัมมาอาชีพที่เห็นได้ชัดมีอาชีพด้านการก่อสร้าง เพราะทางวัดกำลัง ก่อสร้างอยู่ในทุกวันนี้ งานช่างที่นำไปเป็นอาชีพได้นั้นมีช่างเชื่อมเหล็ก ช่างทาสี ช่างซ่อมรถยนต์ ช่าง 62 สัมภาษณ์ พระบุญธรรม ชาตปญฺโญ ผช.ช่างศิลป์ปฏิมากรรม, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จังหวัดสรุ นิ ทร์, ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔. 63 สัมภาษณ์ พระเอกพนั ธ์ อภินนโฺ ท, วัดปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวัดสรุ ินทร์, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 64 สัมภาษณ์ พระปรชี า ภรู สิ โี ล, วัดป่าทา่ แจง้ (เทพนิมติ ร) ตำบลแกะแก้ว อำเภอเสลาภมู ิ จงั หวดั รอ้ ยเอ็ด, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 65 สัมภาษณ์ นายสุเทพ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กนั ยายน ๒๕๖๔. 66 สัมภาษณ์ นายยงยุทธ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔.

90 อเิ ลก็ ทรอนิกส์ดา้ นเคร่ืองเสียงตดิ รถยนตแ์ ละกลางแจง้ ได้ มีการส่งเสรมิ ด้านการช่างแกะสลักลายไทย-ขอมจาก ดนิ เหนยี วเปน็ แบบเทปนู ประกอบสร้างปฏมิ ากรรม พร้อมมีการสง่ เสรมิ การเกษตรอนิ ทรยี ์ด้วย เปน็ ต้น67 ๙) สำหรับการฝึกอาชีพภายในวัดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสนในในแต่ละบุคคลด้วย ซึ่งในวัดก็มี กิจกรรมให้ได้เรียนรู้สามารถฝึกเป็นอาชีพได้หลายอาชีพด้วยกัน เช่น งานการซ่อมรถยนต์ งานการก่อสร้าง มี ช่างปูน งานช่างเชื่อม งานช่างสี งานช่างทำเครื่องเสียง งานช่างฝีมือแกะสละปฏิมากรรมแบบนูนสูง นูนต่ำ และแบบลอยตัว มกี ารแกะแบบพระพุทธรูป แกะแบบพยานาคขอม แกะแบบลายไทย-ลายขอม และมีการฝึก ใหท้ ำอาชพี การเกษตรอนิ ทรยี ์ด้วย68 ๑๐) พระสงฆ์ได้บวชอยู่วัดนี้แล้ว มีโอกาสได้ฝึกด้านอาชีพให้มีฝีมือไว้ประกอบอาชีพในกาล สิกขาลาเพศไป อาชีพที่พอเลี้ยงตนได้น้ัน ทางวัดได้มีการฝึกสอนให้ดังเช่น การฝึกช่างปูนการก่อสร้างบ้าน สร้างศาลา อุโบสถ และฝึกด้านช่างเชื่อม ช่างซ่อมรถยนต์ โดยประธานสงฆกับเจ้าอาวาสนั้นเปน็ ผู้ชำนาญการ มีความร้ใู นด้านนม้ี าก่อนอยแู่ ลว้ ผ้ทู บ่ี วชมาแลว้ จงึ ได้รบั การฝกึ อาชพี โดยการรว่ มก่อสร้างวัดรว่ มกับชาวบ้านใน ชุมชน69 กล่าวโดยสรุป ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ในบทบาทการส่งเสริม สัมมาอาชีพแกช่ ุมชน การสงเสริมสัมมาชีพแก่ชุมชนนั้น วัดมีการสอนโดยให้พระสงฆ์ไดล้ งมือทำโดนได้รับการ แนะนำจากประธานสงฆ์และเจ้าอาวาส มีอาชีพช่างก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างเคาะพ่นสีรถยนต์ ช่างซ่อมช่วงล่าง รถยนต์ ช่างเชื่อม ซึ่งทางวัดได้ก่อสร้างพระวิหาร พระอุโบสถกลางน้ำ ชาวบ้านและชุมชนใกล้เคียง พร้อม ภิกษุ-สามเณร ได้มาช่วยกันสร้างตั้งแต่รากฐานขึ้นมา และที่สำคัญคือ ช่างแกะลายปฏิมากรรมศิลปแบบขอม พร้อมทง้ั ยงั มกี ารส่งเสรมิ งานตดั เยบ็ จีวร ๔.๓.๕ บทบาทในการสง่ เสรมิ การศกึ ษา ๑) สำหรับปัจจัยที่ได้มาจากศรัทธาของแต่ละหน่วยงาน เช่น หน่วยงานราชการและก็พ่อค้า โรงงานตา่ งๆ ที่มขี องเหลือใช้หรือของใหม่ หรอื ของที่หมดสัญญาเชา่ หน่วยงานเหล่านนั้ ได้มอบให้ทางวัด ทาง วดั ไดท้ ำการจัดสรรแบง่ ปนั ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจริง เชน่ หน่วยงานครูเก่งในด้านการสอน ในการทำงาน แต่ ไม่มีอุปกรณ์การเรียนการสอน ตั้งแต่อนุบาลถึงประถมปีที่ ๖ ทางวัดได้จัดแบ่งอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น 67 สัมภาษณ์ นายวิรตั น์ แอกทอง ผใู้ หญบ่ ้านโคกกลัน, บา้ นโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จังหวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔. 68 สมั ภาษณ์ นายบุญทม แอกทอง กลมุ่ ปราชญช์ ุมชน, บ้านโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จังหวัดสรุ นิ ทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔. 69 สัมภาษณ์ นายประยูร บำรุงนาม กลุ่มผู้ใกล้ชิดวัด, บ้านตะแบก ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔.

91 คอมพิวเตอร์ เครื่องปรินท์ กระดาษA4 ที่นอนเด็กอนุบาล มีทั้งในเขตชนบท และเขตทุรกันดานที่เชงิ เขา เป็น ตน้ 70 ๒) ทางวัดได้มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่วัดป่าสาละวัน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๑๐ เครื่อง เพื่อช่วยงานคณะสงฆ์ส่วนกลาง ได้มอบคอมพิวเตอร์แก่โรงเรียนบ้านระเวียง ตำบลระแงง อำเภอศีขร ภูมิ จงั หวัดสุรินทร์ เพอื่ การศกึ ษาของเดก็ ในโรงเรยี นด้าน IT การสอ่ื สารอนิ เตอร์เนต71 ๓) ทางวดั ได้มอบอุปกรณ์เคร่ืองคอมพิวเตอรใ์ ห้แก่โรงเรียนบ้านระเวยี ง โรงเรียนอนุบาลบ้าน ยางเตี้ย และโรงเรียนอนุบาลบ้านกางของ ให้กับโรงเรียนที่มีครูผูเ้ ก่งการสอนแต่ยังขาดอุปกรณ์การสอน และ เคร่ืองเก็บข้อมลู การสอนนักเรยี น72 ๔) เนื่องในโอกาสการตรวจเยีย่ มวัดของ พระเทพวชิรญาณโสภณ (เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าคณะ จังหวัดสุรินทร์ ทางวัดได้มอบถวายเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน ๑๐ เครื่อง ให้แก่วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรสั อำเภอบวั เชด จังหวัดสรุ นิ ทร์ เพ่ือใช้ในงานคณะสงฆ์จงั หวัดสุรินทร์ฝา่ ยธรรมยตุ 73 ๕) วัดได้ส่งเสริมการศึกษาทั้งด้านปริยัติและการปฏิบัติกรรมฐาน โดยทางวัดสนันสนุนพระ ภิกษุ-สามเณร ให้สนในการศกึ ษาวิชาความรู้ทางฝ่ายธรรมและทางฝา่ ยโลก โดยสนบั สนุนอปุ กรณ์ในการศึกษา เช่น เครอ่ื งเขียน คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค เป็นทงั้ หน่วยงานและกลมุ่ บุคคล74 ๖) วัดได้ส่งเสริมการศึกษา เห็นได้จากได้มอบคอมพิวเตอร์ใหแ้ ก่โรงเรียนบ้านระเวยี ง พร้อม อปุ กรณ์การรียน มเี คร่อื งปรินท์ กระดาษ เป็นตน้ 75 70 สัมภาษณ์ พระเทพ จารุธมฺโม ประธานสงฆ์, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวดั สรุ ินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 71 สัมภาษณ์ พระวิรัตน์ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาส, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวดั สุรนิ ทร์, ๑๖ กนั ยายน ๒๕๖๔. 72 สัมภาษณ์ พระบุญธรรม ชาตปญฺโญ ผช.ช่างศิลปป์ ฏิมากรรมประจำวัด, วดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบล ระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวดั สรุ ินทร์, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 73 สมั ภาษณ์ พระเอกพันธ์ อภินนฺโท, วดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศขี รภูมิ จงั หวัดสรุ ินทร์, ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔. 74 สัมภาษณ์ พระปรีชา ภูริสีโล, วัดป่าท่าแจ้ง (เทพนิมิตร) ตำบลแกะแก้ว อำเภอเสลาภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 75 สัมภาษณ์ นายสุเทพ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔.

92 ๗) วัดส่งเสริมเรือ่ งการศึกษาของพระสงฆ์และประชาชนท่ัวไป ได้สรับสนุนอุปกรณ์ใช้ในการ เรียน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปรินท์ กระดาษ ดินสอ ปากกา ให้แก่โรงเรียนประถม ในเขตบริการของ วดั และโรงเรยี นบนเขา โรงเรียนทรุ กันดารท่พี อไปชว่ ยเหลือได้ เปน็ ต้น76 ๘) ดา้ นการศึกษาของวดั พระสงฆ์ในวัดไดเ้ รียนนักธรรมตรี โท เอก ศกึ ษาพระธรรมวนิ ัย สวด มนต์ไหว้พระทำวัตรเช้า-เย็น เจริญกรรมฐานร่วมกัยญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรม และวัดได้อนุเคราะห์อุปกรณ์ การเรียนให้กับโรงเรียน ให้กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มนักเรียนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงด้วย เพื่อพัฒนาบุคลากร ของวัดของชมุ ชนดว้ ย77 ๙) ในด้านการศึกษาของทางวัดมีการเรียนนักธรรมตรี โท เอก เรียนบทสวดที่ใช้ในงานพิธี ต่างๆ เช่น งานฌาปนกิจศพ เน้นหนักในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานในช่วงเย็นและตลอดคืน และส่งไปเรียน กรรมฐานในท่ีต่างๆ ตามทท่ี างวดั เห็นสมควรและถกู จริตของผู้ปฏิบัติ78 ๑๐) วัดได้ให้อนุเคราะห์ด้านการศึกษาในด้านทุนการศึกษา ด้านอุปกร์การศึกษา ให้กับ พระสงฆ์ทั้งบุคคลและหน่วยงาน ให้กับโรงเรียนในชนบลและบนเขา ตลอดจนขอบชายแดนที่ติดต่อกันกับ ประเทศเพื่อนบ้านตามทีส่ มควร79 กล่าวโดยสรุป ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ในบทบาทการส่งเสริม การศึกษา ปัจจัยท่ไี ด้มาจากศรัทธาของพทุ ธบรษิ ัท และแต่ละหน่วยงาน มีหนว่ ยงานราชการและก็พ่อค้าแม่ค้า ในตลาดเทศบาลระแงง หรือโรงงานต่างๆ ที่มีของเหลือใช้หรือของใหม่ก็ตาม และของที่หมดสัญญาเช่า เช่น คอมพิวเตอร์ หน่วยงานเหล่านั้นได้มอบให้ทางวัด ทางวัดได้ทำการจัดสรรแบ่งปันช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจริง ดงั เชน่ หนว่ ยงานครูเกง่ ในด้านการสอน แต่ไม่มอี ุปกรณ์การเรยี นการสอน ทางวดั กจ็ ดั ให้ และทางวดั ไดส้ ่งเสริม การศึกษาทั้งด้านปริยัติและการปฏิบัติกรรมฐาน โดยทางวัดสนันสนุนพระภิกษุ-สามเณร ให้สนในการศึกษา วิชาความรทู้ างฝา่ ยธรรมและทางฝา่ ยโลก 76 สัมภาษณ์ นายยงยุทธ ประภาสยั สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 77 สมั ภาษณ์ นายวริ ัตน์ แอกทอง ผใู้ หญ่บ้านโคกกลนั , บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวดั สุรินทร์, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔. 78 สมั ภาษณ์ นายบุญทม แอกทอง กลุ่มปราชญ์ชุมชน, บา้ นโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จังหวัดสรุ ินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔. 79 สัมภาษณ์ นายประยูร บำรุงนาม กลุ่มผู้ใกล้ชิดวัด, บ้านตะแบก ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔.

93 ๔.๓.๖ บทบาทของวัดในการชว่ ยสังคมผู้ประสบภัย ๑) สำหรับด้านช่วยผูป้ ระสบภัยพิบัติธรรมชาตินั้น ทางวัดได้ไปรับบิณฑบาตรจากหน่วยงาน แต่ละจังหวัด ที่มาขอความอนุเคราะห์จากคณะสงฆ์ ต้องไปรับแต่ละอำเภอ แต่ละเทศบาล ได้นิมนต์ไปรับ ข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมแต่ละปี พร้อมทั้งบอกบุญกับคณะลูกศิษย์สายเด็ก วัดผ้ใู จบญุ ชว่ ยกันช่วยเหลอื ผปู้ ระสบภยั แตล่ ะปีด้วย80 ๒) ในด้านช่วยเหลือผู้ประสบภัย พระสงฆ์ไปรับบิณฑบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ไปช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยนำ้ ทว่ ม ไดช้ ่วยเหลอื สิ่งของอุปกรณท์ ุกอย่างตามท่หี ามาได้ หรอื ตามทผี่ ูบ้ รจิ าคมา แล้วส่งต่อให้กับ ผปู้ ระสบภัย81 ๓) ทางวัดได้ร่วมกับสายใยน้ำใจชาวพี่น้องญาติธรรม มอบข้าวสารอาหารแห้ง ช่วยเหลือผู้ ประสบอุทกภัย ในพ้ืนทีจ่ ังหวดั อบุ ลราชธานี82 ๔) ทางวัดพร้อมกับญาติมิตรลูกศิษย์ ได้ทำการรวบรวมข้าวสารอาหารแห้ง และของใช้ใน ครวั เรือน เพื่อช่วยผู้ประสบภยั น้ำทว่ ม ทีจ่ งั หวัดอุบลราชธานี ในปี ๒๕๖๓83 ๕) วัดได้ช่วยเหลือผู้ถูกน้ำท่วมบ้าน ไฟไหม้บ้าน ได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ข้าวสาร อาหารยงั ชีพ นำ้ ดื่ม ให้แกผ่ ปู้ ระสบภัยไดใ้ ช้สอยในยามลำบาก84 80 สัมภาษณ์ พระเทพ จารุธมฺโม ประธานสงฆ์, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวดั สุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 81 สัมภาษณ์ พระวิรัตน์ อคฺคธมฺโม เจ้าอาวาส, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวดั สรุ นิ ทร์, ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔. 82 สัมภาษณ์ พระบุญธรรม ชาตปญฺโญ ผช.ช่างศิลป์ปฏิมากรรม, วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จงั หวดั สรุ นิ ทร์, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔. 83 สัมภาษณ์ พระเอกพนั ธ์ อภนิ นโฺ ท, วดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสรุ ินทร์, ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔. 84 สัมภาษณ์ พระปรีชา ภูริสีโล, วัดป่าท่าแจ้ง (เทพนิมิตร) ตำบลแกะแก้ว อำเภอเสลาภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด, ๑๗ กนั ยายน ๒๕๖๔.

94 ๖) วดั มขี ้าวเปลือกและ ขา้ วสาร ที่ไดจ้ ากการทำบญุ ข้าวเปลือกประจำทุกปี ได้นำไปแปรรูปสี เป็นข้าวสารไว้แจกจา่ ยผปู้ ระสบภยั และครอบครวั ทย่ี ากจน อกี ส่วนหนึง่ ชว่ ยเหลืองานฌาปนกิจของชมุ ชน85 ๗) ในบางปที ม่ี ีน้ำทว่ มหลายจงั หวัด ทางวดั กไ็ ด้รวบรวมสิง่ ของ ข้าวสาร อาหารบรโิ ภค น้ำดื่ม เครื่องใช้จำเป็นโดยไปรับบิณฑบาตมาจากญาติโยมท่ีเป็นลูกศิษย์และหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำไปมอบส่งต่อ ใหก้ บั ผปู้ ระสบภยั เชน่ ภัยนำ้ ท่วม ไฟไหม้บา้ น และผปู้ ่วยติดเตียง เปน็ ตน้ 86 ๘) การช่วยเหลือผ้ปู ระสบภัยน้ัน ทางวดั ไดใ้ ห้ความช่วยต่อผปู้ ระสบภัยพิบตั ิจากธรรมชาติใน ด้านสิ่งของอุปโภคบริโภค มีข้าวสารอาหารของแห้งเครื่องใช้ในครัวเรือน พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการซ่อมแซม บ้านเรอื น หรอื สง่ คนไปช่วยซอ่ มบา้ นพร้อมทั้งปัจจยั สด่ี ว้ ย87 ๙) วัดมีการรวบรวมวัสดุสิ่งของข้าวปลาอาหารของแห้ง ไปร่วมช่วยเหลือผู้ทีป่ ระสบทุกขภยั พิบัติจากธรรมชาติ ที่จงั หวัดอบุ ลราชธานี โดยมีญาตโิ ยมไปร่วมด้วยชว่ ยกนั ตามกำลังปจั จัยให้ทานแต่ละบุคคล และมีเครอื ข่ายมาจากกรุงเทพฯ ร่วมชว่ ยเหลอื ดว้ ยกัน เป็นการรว่ มมือวดั กบั ชมุ ชนและบุคคลทวั่ ไป88 ๑๐) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยนัน้ วัดได้การช่วยข้าวสารพร้อมอาหารแห้ง โดยได้รับมาจาก ญาติโยมที่มาร่วมบริจาค วัดเป็นผู้นำในการจัดส่งมอบให้กับผู้ประสบภัยในแต่ละสถานที่ โดยมีญาติโยมและ หนว่ ยงานบางส่วนไปร่วมด้วย89 กล่าวโดยสรุป ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ในบทบาทของวัดในการ ช่วยสังคมผู้ประสบภัย ด้านช่วยผู้ประสบภัยพิบัติธรรมชาตินั้น วัดได้ไปรับบิณฑบาตรจากพุทธบริษัทและ หน่วยงานราชการบ้าง ต้องไปรับแต่ละอำเภอ แต่ละเทศบาล มีข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัยน้ำท่วมบ้าง ไฟไหม้บ้านแต่ละปี พร้อมทั้งบอกบุญกับคณะลูกศิษย์สายเด็กวัดผู้ใจบุญ ช่วยเหลือ ผ้ปู ระสบภัยแต่ละปดี ว้ ย ทงั้ นี้ทางวดั ไดจ้ ัดแบง่ ตามความสมควร เพ่ือความเพียงพอแกก่ ลุ่มบุคคลผปู้ ระสบภยั 85 สัมภาษณ์ นายสุเทพ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 86 สัมภาษณ์ นายยงยุทธ ประภาสัย สอบต. ระแงง, บ้านโคกกลัน ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔. 87 สัมภาษณ์ นายวิรัตน์ แอกทอง ผใู้ หญ่บา้ นโคกกลัน, บ้านโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จังหวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔. 88 สมั ภาษณ์ นายบญุ ทม แอกทอง กลุม่ ปราชญช์ มุ ชน, บ้านโคกกลนั ตำบลระแงง อำเภอศีขรภมู ิ จังหวดั สรุ นิ ทร์, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔. 89 สัมภาษณ์ นายประยูร บำรุงนาม กลุ่มผู้ใกล้ชิดวัด, บ้านตะแบก ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, ๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๔.

95 บทท่ี ๕ สรุปอภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ การศกึ ษาดา้ นสาธารณสงเคราะห์วัดปราสาทโคกกลนั ธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอ ศขี รภมู ิ จังหวัดสรุ นิ ทร์ สรุปผลการวิจยั และมีขอ้ เสนอแนะ ดงั ตอ่ ไปน้ี ๕.๑ สรปุ ผลการศกึ ษา การศึกษาด้านสาธารณสงเคราะห์ตามหลักพันธกิจ ๖ ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบล ระแงง อำเภอศขี รภูมิ จังหวดั สรุ ินทร์ สรุปผลการวิจยั ได้ ๓ ประเดน็ คือ ๑) พฒั นาการของวัดปราสาทโคกกลัน ธรรมาราม (ธ) ๒) บทบาทด้านสาธารณสงเคาะห์ของคณะสงฆ์ไทย ๓) บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ดังน้ี ๕.๑.๑ ความเป็นมา วตั ถุประสงค์ ขอบเขตและวิธกี ารวจิ ัย การศึกษาด้านสาธารณสงเคราะห์ตามหลักพันธกิจ ๖ ที่กรมศาสนาและคณะสงฆ์ไทยได้ กำหนดไว้ว่ามีด้านการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ ด้านสาธารณูปการ และด้านสาธารณสงเคราะห์ ในการศึกษาวิจัยผู้วจิ ัยได้เลือกด้านการสาธารณสงเคราะห์ โดยเลือกสถานที่ของ วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นสถารที่ทำการศึกษาวิจัย ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัด โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาพัฒนาการของวัดปราสาทโค กกลนั ธรรมาราม (ธ) ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จงั หวัดสุรนิ ทร์ ๒. เพ่อื ศกึ ษาบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ ของคณะสงฆ์ไทย ๓. เพื่อศึกษาบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ตำบล ระแงง อำเภอศขี รภูมิ จงั หวดั สรุ ินทร์ ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านเนื้อหา ม่งุ เนน้ การศึกษาในมิตติ า่ งๆ เกีย่ วกบั ความเป็นมาด้านสาธารณ สงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ด้านพัฒนาการของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม มีความ เป็นมาอย่างไร พัฒนาการด้านศาสนวัตถุของวัด พัฒนาการด้านศาสนบุคคลของวัด ด้านศาสนธรรมมี พัฒนาการอย่างไร ด้านศาสนพิธี และประเด็นสำคัญศึกษาบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโค กกลันธรรมาราม ได้ทราบถึง บทบาทของวัดในการช่วยเหลือเกื้อกูลวัด/คณะสงฆ์อย่างไร บทบาทของวัดใน การช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชนเป็นอย่างไร บทบาทของวัดในการช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชน/สาธารณะอย่างไร บทบาทของวัดในการส่งเสริมสัมมาอาชีพแก่ชุมชนอย่างไร บทบาทของวัดในการส่งเสริมการศึกษาอย่างไร และบทบาทของวดั ในการชว่ ยสังคมที่ประสบภัยอย่างไร

96 ด้านประชากรและกลุม่ ตัวอย่าง มุ่งเน้นการสัมภาษณ์ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มคณะสงฆ์ กลุ่มผู้นำชุมชน กลมุ่ ปัญญาชน/ปราชญ์ชมุ ชน และกลุ่มผูใ้ กลช้ ิดวัด (อบุ าสกอุบาสกิ า) จำนวนทั้งหมด ๑๘ รปู /คน โดยแบ่งเปน็ กลุ่มนักวชิ าการ จำนวน ๑ รปู /คน กลุ่มพระสงฆ์ จำนวน ๕ รูป กลมุ่ ผูน้ ำชุมชน จำนวน ๔ คน กลุ่มปัญญาชน/ ปราชญ์ชุมชน จำนวน ๓ รูป/คน และกลุ่มผู้ใกล้ชิดวัด (อุบาสกอุบาสิกา) จำนวน ๕ คน ขอบเขตด้านเวลา ทำการศกึ ษาวิจัย ศึกษาสำรวจเบ้ืองตน้ รวบรวมข้อมูลเอกสาร และขอ้ มลู ภาคสนามใน ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ วธิ ดี ำเนนิ การวจิ ัย เน่อื งจากเปน็ การวจิ ัยเชิงคุณภาพ จึงเนน้ กระบวนการศกึ ษาวจิ ยั ขอ้ มูลเอกสาร และ ข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก ดังนี้ ๑) การศึกษาในเชิงเอกสาร (Documentary Study) ศึกษารวบรวม ข้อมูล เอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารวิชาการ รายงานการวิจัย เป็นต้น๒) การศึกษาในภาคสนาม (Field Study) (๑) ทำการศึกษาและคัดเลือกกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มตัวแทนคณะสงฆ์ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่ม ปัญญาชน/ปราชญ์ชุมชน และกลุ่มผู้ใกล้ชิดวัด จำนวนทั้งหมด ๑๘ รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ตามความสำคัญของเนื้อหาการวิจัย ๓) ด้าเนินการศึกษาเชิง สำรวจพัฒนาการของ วัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) รูปแบบด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม ใน ลักษณะของการวิเคราะห์ เน้นกระบวนการสงั เกตและการสมั ภาษณ์ผ้ทู ี่เกย่ี วข้องในการศกึ ษาวิจัย ๔) รวบรวม และจัดระบบข้อมูลท่ีได้ทงั้ จากการศึกษาในเชิงเอกสารและภาคสนาม นำมาวิเคราะห์สงั เคราะห์ตามประเด็นท่ี สำคัญ ๕) วิเคราะห์ด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม โดยมุ่งเน้นเพื่อทราบรูปแบบ และบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ๖) สรุปผลการศึกษาวิจัย และ ขอ้ เสนอแนะ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ด้าเนินการและใช้เครื่องมือที่ส้าคัญ ได้แก่ ๑) บัตรบันทึก ส้าหรับคัด ย่อ สรปุ เอกสาร รายงานท่เี ก่ยี วข้อง เพ่ือคน้ หาแนวคิด รูปแบบ ดา้ นสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย ๒) แบบ บันทกึ การสังเกต ซ่ึงเปน็ การสงั เกตเก่ียวกบั บรบิ ทของชุมชน ด้านวิถีความเปน็ อยู่ของชุมชน ดา้ นพัฒนาการศา สนวัตถุของวัด พัฒนาการด้านศาสนบุคคลของวัด พัฒนาการด้านศาสนธรรม ด้านศาสนพิธี และด้านพุทธ ศิลปกรรมของวัด ๓) แบบบันทึกการสัมภาษณ์ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interviews) ตัวแทน จากกลุม่ พระสงฆ์ และภาคประชาชนผเู้ ก่ียวข้องกบั ดา้ นสาธารณสงเคราะห์ของวัด ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย (๑) ได้ทราบถึงพัฒนาการของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ใน ด้านศาสนวัตถุ พัฒนาการด้านศาสนบุคคล พัฒนาการด้านศาสนธรรม พัฒนาการด้านการศึกษา และ พัฒนาการด้านศาสนพิธีกรรม (๒) ได้ทราบถึงบทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย เพื่อเป็น แนวทางนำเป็นหลักปฏิบัติ (๓) ไดท้ ราบถงึ บทบาทดา้ นสาธารณสงเคราะห์ ของวดั ปราสาทโคกกลันธรรมาราม

97 (ธ) ด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลวัด/และคณะสงฆ์ ในด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชน/สาธารณะ ในด้านการ ส่งเสรมิ สัมมาอาชพี แก่ชมุ ชน ในการส่งเสริมการศกึ ษา และในดา้ นการชว่ ยสังคมทป่ี ระสบภัย เป็นต้น ๕.๑.๒ ผลการวิจยั ๑) พัฒนาการของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) ประวัติวัดปราสาทโคกกลันธรรมา ราม ได้จัดตั้งสร้างขึ้นโดยความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวบ้านโคกกลัน พร้อมหมู่บ้านใกล้เคียงและ พุทธศาสนิกชนตา่ งจังหวัด ทีม่ ารว่ มกันสร้างวัดข้ึนอย่างรวดเรว็ ดว้ ยกำลงั ศรทั ธาความเส่ือมใสในพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นสถานที่ป่าไม้ร่มเรื่นเหมาะแก่การปลีกวิเวก และไม่ห่างจากหมู่บ้านโคกกลันมากนัก ประมาณ ๓๕๐ เมตร ได้มีศรัทธาจากพุทธศาสนกิ ชนจดั ซ้ือทีด่ ินสร้างเป็นที่ตัง้ วัด (ปัจจุบันกำลังสร้างวิหาร) จำนวน ๑ ไร่ โดย พระเทพ จารุธมฺโม และคณะสงฆ์เป็นผู้ที่รับมอบปจั จัย เพื่อจัดซื้อที่ดินของ นางแสงสุริยา สิงคเวหน เป็นฐาน แรกในการสร้างวดั พัฒนาการดา้ นศาสนวตั ถุ พัฒนาการดา้ นศาสนวัตถแุ ละปรับสภาพแวดล้อมในวดั ได้จัดทำแผนผงั วัด ได้เป็นระเบียบ แบ่งสัดส่วนการก่อสร้างได้ชัดเจน และสภาพแวดล้อมในวัดก็มีความสะอาด มีความร่มรื่น พอควรเพราะพึ่งปลูกต้นไม้เพิ่ม และจัดการกำหนดใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภายในวัดอย่างเหมาะสมกับสภาพใช้ งาน ดงั นี้ คอื ๑) พระวหิ ารปฏบิ ัติธรรม ๒) พระพุทธรูปประธานองคด์ ำปางน่ังประทานพร ๑ องค์, พระพทุ ธรูป ทวารวดีองค์ใหญ่ปางยืนประทานพร ๓ องค์ ประดิษฐานใจกลางพระวิหาร ๓) กำลังสร้างพระอุโบสถกลางน้ำ ศิลปปฏิมากรรมขอมโบราญ ๔) กุฏิพระสงฆ์ แบ่งออกเป็น ๔ โซน ๕) โรงงานสร้างพระพุทธรูปและ ประติมากรรม พัฒนาการด้านศาสนบุคคล การพัฒนาความรู้พระสังฆาธิการ พระภิกษุ สามเณร แม่ชี เพื่อให้มี ความรถู้ กู ตอ้ ง ทันสมยั ท้ังทางโลกและทางธรรม สามารถนำวทิ ยาสมัยใหม่มาใชจ้ ดั การบริหารกจิ การของวัดได้ และสร้างองค์กรปกครองในคณะสงฆ์ของวัดให้มีประสิทธิภาพ และเป็นผู้นำชุมชนได้ ดังนี้คือ ๑) พระภิกษุ สามเณร ไดร้ บั การศึกษาปริยัติธรรม ตรี โท เอก ๒) พระภิกษุ สามเณร ได้รับการฝึกปฏิบัตวิ ิปัสสนากรรมฐาน ตามโครงการที่ไปปฏิบตั ิอบรม เช่น โครงการอบรมพระสังฆาธิการ ๓) พระภิกษุ สามเณร ได้ศึกษาฝึกหัดฝีมอื ด้านปฏิมากรรม การสร้างแบบพระพุทธรูป การแกะสลัก ๔) พระภิกษุ สามเณร ได้ศึกษาฝึกหัดฝีมือด้านการ กอ่ สรา้ งสาธารณูปการ เช่น พระวหิ าร อุโบสถ กฏุ ทิ รงไทยประยุกต์ ๕) พระภิกษุ สามเณร ไดศ้ กึ ษาความรดู้ ้าน ชา่ งยนต์ ชา่ งไฟฟ้า ช่างทำสีรถยนต์ ๖) และยงั ได้ศึกษาเก่ียวกบั การทำเกษตรอินทรย์ เช่น ปลกู ขา้ ว ผัก ผลไม้ และทำปยุ๋ อนิ ทรยี ์ ๗) ในวัดยังมีโยมผู้ชำนานการเยบ็ จวี ร ชว่ ยสอนตดั เยบ็ จวี รด้วย สำหรบั ผ้ทู ี่ตอ้ งการเรียนรู้ มี การสอนการทำอาหารเจ สอนทำขนม และการทำเกษตรปลอดสารพิษ เปน็ ต้น

98 พัฒนาการด้านศาสนธรรม ๑) ด้านการศึกษาด้านปริยัติ ทางวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม มีการ สอนเรียนการเรียนนักธรรมตรี โท เอก ในวัด ๒) ด้านการปฏิบัตวิปัสสนากรรมฐาน ได้มีการปฏิบัติธรรมของ คณะสงฆ์หมใู่ หญข่ องทุกปี จัดให้มีการอบรมปฏิบัติวปิ ัสสนากรรมฐานภายในวัด ตามวันสำคญั ทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ในโครงการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ๓) ด้านการฝึกอบรมพระ นกั เทศนป์ าฐกถาธรรม สำหรับการฝกึ อบรมพระนักเทศน์ ไดจ้ ดั ใหม้ กี ารเทศนาประจำทุกวนั พระ มีการเทศนา ในงานบุญกฐิน ๔) ด้านพระไตรปิฎก/คัมภีร์โบราณ ทางวัดได้จัดเก็บพระคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนา เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎกแปลภาษาไทย-บาลี คัมภีร์ใบลานเก่า คัมภีร์ภาษาล้านนา คัมภีร์ภาษาขอมโบราญ คัมภีร์ ภาษามอญ เปน็ ต้น พัฒนาการด้านศาสนพิธี ๑) พิธีกรรมวันปกติ ในกิจวัตรปกติของวัดปราสาทโคกกลันธรรมามราม พระภกิ ษสุ งฆ์สามณรท้ังหมดในวัดออกบิณฑบาตรท่ีตลาดเทศบาลตำบลระแงง กลบั จากตลาดเทศบาลแล้วลง รับบิณฑบาตรที่บ้านระเวียง และบ้านโคกกลันแล้วเดินกลับเข้าวัด ๒) พิธีบรรพชา-อปสมบท (บวชนาคหมู่) โดยทางวัดได้เป็นผู้จัดบริขาร ๘ มีบาตร ไตรจีวร เป็นต้นให้เอง แต่หากผู้ขอบวชจะหามาเองก็ได้สมควร ๓) พิธีกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมการเวียนเทียนในพิธีวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วัน อาสาฬหบชู า ๔) พธิ วี ันเขา้ พรรษา ๒) บทบาทด้านสาธารณสงเคาะห์ของคณะสงฆ์ไทย รูปแบบด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ไทย การสาธารณสงเคราะห์ จำแนกรูปแบบได้ตามกรอบ ๔ หลกั การสำคัญ คือ การสงเคราะหช์ ่วยเหลือ การ สนบั สนนุ เกอ้ื กลู การมสี ่วนรว่ มพฒั นา และบูรณาการเครือขา่ ย ดงั รายละเอยี ดต่อไปนี้ (๑) สงเคราะห์ช่วยเหลือ เป็นกิจกรรมที่ให้ความช่วยเหลือทางตรงในแบบให้เปล่า ซึ่งเป็น การจัดให้การช่วยเหลือสงเคราะห์แก่ประชาชน ทั้งในยามปกติและประสบภัย (๑) ผู้ยากไร้ หรือคนที่ได้รับ คาวมทุกข์ยากเดือดร้อนจากปัญหาในการดำเนินชีวิต หรือต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แร้นแค้น หรือไม่ เหมาะสมในเชิงสุขภาวะ (๒) ผู้ด้อยโอกาสในสังคม หรือผู้ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากหน่วยงานใด หรือจากญาติพี่น้อง (๓) ผู้ป่วย เป็นการสงเคราะห์ชว่ ยเหลือผู้ป่วยใกลต้ าย และผู้ป่วยติดเตียงหรือติดบ้าน ท้ัง ในแนวทางการเสริมกำลังใจแก่ผู้ป่วย (๔) ผู้วายชนม์ ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องประสบพบเจอ และเมื่อ เสียชีวิตแล้วชาวพุทธทุกคน จะต้องประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนา (๕) ผู้ประสบภัย เมื่อเกิดภัย พบิ ตั ิหรือสาธารณภัย ไมว่ า่ จะเป็นอุทกภัย วาตภยั อคั คภี ัย ผู้ประสบภยั สว่ นใหญต่ ้องการความช่วยเหลือแบบ เฉพาะหนา้ เร่งดว่ น หรอื มีความเดือดรอ้ นจำเปน็ ต้องไดร้ บั การดแู ลเปน็ กรณีเฉพาะ (๒) สนับสนนุ เกอื้ กลู การทีพ่ ระสงฆ์ให้การสนับสนุนชุมชนหรือหน่วยงาน/องค์กรสาธารณะ ที่ต้องการความช่วยเหลือ เข้ามาขอความร่วมมือหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของวัด เป้าหมายของการ

99 ดำเนินงาน คือ การตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาของประชาชน รวมถึงวัดและพระสงฆ์อาจจะเขา้ ไปมีให้การสนับสนุนหน่วยงานหรอื องค์กร เช่น (๑) สนับสนุนให้หน่วยงานของรฐั หรือกลุ่ม/องค์กรชุมชน (๒) สนับสนุนการฝึกอบรมหรือให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่คนในชุมชน (๓) สนับสนุนโครงการหรือกิจกรรม เศรษฐกจิ ของชมุ ชน (๔) สนับสนุนใหห้ นว่ ยงานราชการและองคก์ รพัฒนาเอกชน เปน็ ต้น ( ๓) การมีส่วนร่วมพฒั นา การที่พระสงฆ์มีบทบาทในแนวทาง ที่เน้นให้วดั เป็นศูนย์กลางการ ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ในลักษณะการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม หรือกระตุ้นให้พระสงฆ์และ ประชาชนได้รว่ มกันค้นหาปัญหา และสาเหตุของปญั หาทเี่ กิดขึ้นในชมุ ชนร่วมกัน ปรกึ ษาหารอื วางแผนเพือ่ การ แก้ไขปัญหาร่วมกัน แสวงหาทรัพยากรการจัดการดำเนินร่วมดำเนิน หรือบริหารโครงการให้คุ้มค่าและเกิด ประโยชน์ เชน่ (๑) การทำงานพฒั นาตามปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งและการพง่ึ ตนเอง (๒) การพฒั นาศกั ยภาพ ผู้นำการพัฒนาชุมชน (๓) การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการพัฒนา (๔) ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาท่ี เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น (๕) การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของประชาชนและชุมชน (๖) การพัฒนา โครงการ จัดกิจกรรมอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม และทรพั ยากรธรรมชาติ เปน็ ต้น (๔) บูรณาการเครือขา่ ย เป็นการผลกั ดันกจิ กรรมสาธารณะสงเคราะห์ ทเี่ รมิ่ จากพระสงฆ์ได้ ร่วมกับคณะสงฆ์หรือประชาชนทำงาน จนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ และกลายเป็น ความรว่ มมอื ทง้ั ในเชิงนโยบายและโครงการ วิธีการด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย การดำเนินงานสาธารณะสงเคราะห์ให้บรรลุผล ตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมีความจำเป็น ผู้ที่รับผิดชอบ หรือพระสงฆ์เถระผู้ใหญ่หรือเจ้าเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ จะตอ้ งใชอ้ ำนาจดุลยพินิจ สถานการณ์ หรอื มองภาพของผูป้ ระสบภยั พิบตั ิต่างๆ ทงั้ นเ้ี พอื่ ใชเ้ ป็นแนวทางในการ ปฏิบัติงานให้ ดำเนินไปด้วยความราบรื่น การวางแผนมีดังต่อไปนี้ ๑. การวางระเบียบเกี่ยวกับการรับผู้มา ขอรับบริการเข้าสู่ระบบของการช่วยเหลือ ๒. แบ่งหน้าที่ให้แก่ผู้ที่รวมทีมการปฏิบัติงาน ๓. แผนเกี่ยวกับ กิจกรรมต่างๆ ที่พึงจัดขึ้นในการสงเคราะห์ กำหนดเวลาในการ ปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ ตามเวลาและโอกาส ๔. แผนในการจัดหา การใชจ้ ่ายเงิน วสั ดุอุปกรณ์ การเกบ็ รักษา การเบิกจา่ ย การ จดั ทำบัญชรี ายรับรายจ่ายวัสดุ ส่งิ ของ ให้อยใู่ นสภาพทีถ่ ูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย ๕. แผนปฏบิ ัติกับผมู้ ารับบริการเฉพาะกรณี ๖. แผนใน การแก้ปัญหาของการปฏิบัติงาน ๗. แผนในการประสานงานกับหน่วยงานที่เป็นเครอื ข่าย ๘. แผนใน การจดั ฝึกอบรมผูร้ ่วมปฏิบัตงิ านกอ่ นทำหน้าที่ แนวางที่ ๑ การปฏิบัตงิ านสาธารณสงเคราะห์ในภาวะปกติ เป็นแนวทำงานที่ชีแ้ จงให้เห็น รูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบ รวมทั้งลักษณะการรายงานผล การดำเนินงานท่ีเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน สาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ระดับพื้นที่ มีประเด็นในการทำงาน คือ ๑) วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ ๒)

100 วางแผน และ เตรียมการดำเนินงานสาธารณสงเคราะห์ ทง้ั ๓ ด้าน ไดแ้ ก่ (๑) ดา้ นเกือ้ กูล (๒) ด้านการพัฒนา (๓) ด้านการบูรณาการ ๓) ดำเนินการตามแผนที่ได้เตรียมไว้ ๔) สรุปผลการดำเนินงาน ๕) รายงานผลการ ดำเนินงาน มผี ูร้ ับผดิ ชอบ คือ จร., จล., จต., จอ., สธส., จจ. จภ., มส. รายงานผลปีละสองครง้ั แนวทางที่ ๒ การปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ในภาวะวิกฤต เป็นแนวทำงานที่ชี้แจงให้ เห็นรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบ รวมทั้งลักษณะการรายงานผลการดำเนินงาน และการสร้างเครือข่าย เพื่อการประสานงานในสถานการณ์ที่มีความเร่งด่วน มีประเด็นการทำงาน ๑) ประเมินความเสียหาย และ ความพร้อมเมื่อเกิดสาธารณภัย ๒) รวบรวมข้อมูลสถานการณ์สาธารณภัย และความต้องการความช่วยเหลือ ๓) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ในกรณีที่พื้นที่มีความพร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค และจัดสรร พื้นที่วัด สำหรับเป็นท่ีพักชั่วคราว ๔) กรณีที่ภัยพิบัติรุนแรง ให้รายงานเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับชั้น ๕) ประสานงานความรว่ มมือภาคเี ครือข่าย สนบั สนนุ การช่วยเหลือ ๖) ดำเนินการสาธารณสงเคราะห์ ๗) สรุปผล การดำเนินงาน ๘) รายงานเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับ แนวทางการช่วยเหลือโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง มี หนว่ ยงานผรู้ บั ผิดชอบ คือ จร., จล., จต., จอ., สธส., จจ. จภ., มส. ๓) บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ของวัดปราสาทโคกกลันธรรมาราม (ธ) บทบาทในการ ช่วยเหลอื เก้ือกลู วัด/คณะสงฆ์ สำหรบั ปจั จยั ท่ีไดม้ าจากศรัทธาของแตล่ ะหนว่ ยงาน เช่น หนว่ ยงานราชการและ กพ็ อ่ คา้ โรงงานตา่ งๆ ทีม่ ขี องเหลอื ใชห้ รือของใหม่ หรอื ของทหี่ มดสญั ญาเช่า หนว่ ยงานเหลา่ นั้นได้มอบให้ทาง วัด ทางวัดได้ทำการจัดสรรแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลวัดในสังกัด และนอกสังกัด โดยการช่วยสร้างและบูรณะ ซ่อมแซมแต่ละวัดตามสมควร ทั้งวัสดุการก่อสร้างและบุคคลากรพระสงฆ์ในวัด ไปช่วยกันสร้างเอง และการ ช่วยเหลือพระภิกษุผู้อาพาธ ทางวัดได้ให้ความชว่ ยเหลือผ้าไตรจีวร และอุปกรณ์การพยายบาลสงฆ์มีแพมเพิส ผา้ ปเู ตยี งนอน ขา้ วสารอาหารแห้ง เปน็ ตน้ และทางวัดยังได้พาคณะสงฆ์ไปชว่ ยเตรียมงานท่วี ัดสุทธิธรรมาราม เช่น จัดเตรียมสถานที่สอบปริยัติธรรม ช่วยเตรียมงานการประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุต พร้อมทางวัดได้นำ ภตั ตาหารเปดิ เปน็ โรงทาน ทางวัดไดพ้ าพระลูกวดั ไปชว่ ยการก่อสร้างวดั ท่ีเปิดใหมใ่ นตำบลใกล้เคียง โดยอาศัย ช่วยแรงงานของพระสงฆ์ และอุปกรณ์ของทางวัดร่วมด้วยช่วยกัน ทางวัดได้ร่วมกับอุบาสกอุบาสิกา ได้นำผ้า ไตรจีวร จำนวน ๒๐ ชุด ถวายแก่วัดสุทธิจินดาวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทางวัดได้ช่วย อนุเคราะห์เกื้อกูลพระภิกษุอาพาธ ณ วัดป่ามะขาม จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่พักดูแลภิกษุอาพาธ ทางวัดได้ ช่วยอุปกรณ์การพยาบาลภิกษุผู้อาพาธ และทางวัดยังช่วยสร้างวัดเปิดใหม่ อนุเคราะห์แบบหล่อพระพุทธรูป


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook