Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทคโนโลยีดิจิทัล

เทคโนโลยีดิจิทัล

Published by ajtong1, 2020-07-15 08:41:30

Description: เทคโนโลยีดิจิทัล

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ านวตั กรรมและเทคโนโลยดี จิ ิทัลเพ่ือการเรยี นรู้อย่างสรา้ งสรรค์ รหัสวชิ า 1032103 เรื่อง เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั เพอ่ื การพฒั นาการเรยี นการสอน 1. ความสำคัญและความหมายสอ่ื ดิจทิ ลั 2. ประเภทของสื่อดิจิทัล 3. บทบาทความสำคัญของผู้เรยี นในยุคดจิ ิทัล 4. เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรูใ้ นยคุ ดจิ ทิ ลั อาจารย์ ดร.ชนนิ ทร์ ฐติ ิเพชรกุล คณะครศุ าสตร์ พ.ศ. 2563

เทคโนโลยดี จิ ทิ ัลเพอ่ื การพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างก้าวกระโดด ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีอย่างฉับพลัน (Disruptive technology) ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อ ระบบเศรษฐกิจแล้ว ยัง ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับเทคโนโลยีดิจิทัลใน ชีวิตประจำวันมากมาย ทั้งด้านการเรียนการสอนในสถานศึกษาการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ การเดินทาง การใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการการ ทำงาน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง ในชีวติ ประจำวนั ดงั นน้ั ผู้เรยี นรุ่นใหม่ จงึ ควรเรียนร้แู ละเข้าใจเกยี่ วกบั เทคโนโลยดี ิจิทัล เพ่ือให้รู้เท่าทันและน และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สงั คมและประเทศต่อไป ซึง่ เป็นบทบาทของการศึกษาท่ีต้องพัฒนา เด็กและผู้เรียนให้มีทักษะและความรู้ในเรื่องสื่อดิจิทัล (Digital Media) นับเป็นส่ือท่ีมีบทบาทใน ชีวติ ประจาวนั ความสำคัญและความหมายสือ่ ดิจิทลั สื่อดิจิทัล (Digital Media) หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำงานโดยใช้รหัสดิจิทัล ในปัจจุบัน การ เขียน โปรแกรมตอ้ งอยูบ่ นพ้นื ฐานของเลขฐานสอง หรอื ชุดตัวเลขดิจิทัล หมายถงึ การแยกแยะระหวา่ ง \"0\" กับ \"1\" ในการ แสดงข้อมูล คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรที่มักจะแปลข้อมูลดิจิตอลฐานสองแล้วจึงแสดงชนั้ ของ เครื่องประมวลผลชัน้ ของ ข้อมูลดิจิตอลที่เหนือกว่า สื่อดิจิตอลเช่นเดียวกับสือ่ เสียง วิดีโอ หรือเนื้อหาดิจิตอล อน่ื ๆ สามารถถูกสร้างขน้ึ อ้างองิ ถึง และไดร้ ับการแจกจ่ายผ่านทางเครื่องประมวลผลขอ้ มูลดจิ ิตอล สอื่ ดจิ ิทัล และ มัลตมิ ีเดยี (Multimedia) ทั้งสองคำน้ีเป็นเร่ืองของสื่อ ทงั้ หมดหรอื อาจจะเรียกรวมว่า สื่อใหม่ (New media) ก็พอจะนับรวมไปได้ ทั้งสอง คำต่างก็มีความ เกี่ยวโยงกัน ถ้าลองคิดถึงสื่อประเภท ใดบ้างที่มีลักษณะเป็นดิจิตอลหลายๆ คนคงพอนึกได้ เนื่องด้วย ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสิ่งที่เราได้เคยใช้อยู่แล้วใน ชีวิตประจำวนั เช่น การพิมพ์ข้อความเพื่อสง่ เมล์ การเปิด ฟังเพลงด้วย คอมพิวเตอร์ การชมภาพถ่ายที่เก็บใน ฮาร์ดดิสก์ การชมภาพเคลื่อนไหวผ่าน จอคอมพิวเตอร์ การดูวิดีโอ หรือการติดต่อสื่อสาร ในยุคปัจจุบัน ทง้ั หมดนีเ้ รารบั ขอ้ มูลผ่านส่ือที่เป็น ดิจิตอลท้งั ส้ิน และถา้ หากเรานำสื่อดิจิตอลทงั้ หมดน้ีมารวมเข้าด้วยกัน เรา จะได้เป็นมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งถือเป็นสื่อใหม่ (New media) ที่กำลังมีอิทธิพลต่อการสื่อสารในยุค ปัจจุบัน สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วิดีโอ เป็นต้น โดย อาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เปน็ สอ่ื ตา่ งๆ เหล่านั้นมาแปลงสภาพ และเชอ่ื มโยงเขา้ ด้วยกนั เพ่ือประโยชน์ในการใช้งาน

สื่อดิจิทัล (Digital Media) หมายถึง สื่อที่อาศัยระบบคอมพิวเตอร์เป็นช่องทางในการ สื่อสาร คำว่า “ดิจิทัล” เป็นคำศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน แต่เกิดขึ้นภายหลังคำว่า “ดิจิตอล” ที่ใช้ในสื่อมวลชน อย่างแพร่หลายอยู่ก่อน โดยบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ทำสื่อโฆษณาเผยแพร่ในสื่อ จนคนไทยคุ้นเคย มากกวา่ คำว่า “ดจิ ติ อล” รงุ่ ชชั ดาพร เวหะชาติ กล่าววา่ สอื่ การสอน คือ ส่งิ ใดๆ กต็ ามทเี่ ปน็ ตัวกลางระหวา่ ง แหล่งกำเนิดของ สารกับผู้รับสารเป็นสิ่งที่นำพามาจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการ สื่อสาร เป็นสิ่งที่นำความรู้ไปสู่ผู้เรียน อยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์ ที่ผู้สอนสามารถส่งถึงผู้เรียน เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยกำหนดความมุ่งหมายของการใช้สื่อการสอนไว้ 6 จดุ มุง่ หมาย ดังนี้ 1. สรา้ งความรเู้ ปน็ รูปธรรมเพ่อื ให้ผเู้ รียนเกดิ แนวคิด และได้ประสบการณต์ รงมากข้นึ 2. เรา้ ความสนใจและสร้างแรงใจในการเรยี นรใู้ หผ้ ้เู รียน 3. ให้ผเู้ รียนสามารถจำส่ิงทเ่ี รยี นได้ในระยะยาว 4. นำสง่ิ ทเ่ี ปน็ ประสบการณต์ รงจากแหล่งตา่ งๆ มาสหู่ อ้ งเรยี นไดม้ ากขน้ึ 5. สร้างพื้นฐานในดา้ นความคิดสรา้ งสรรคใ์ ห้แกผ่ เู้ รียนไดม้ ากขึน้ 6. เพอ่ื ใหผ้ ้เู รยี นไดเ้ ขา้ ใจในบทเรยี นและเนอื้ หาวิชาต่างๆ ไดช้ ัดเจนมากข้ึน 7. เสรมิ สร้างเจคตติ ่อการเรียนรู้ 8. เป็นเครอื่ งมอื ทใี่ ชท้ บทวนบทสรปุ และทำให้เน้อื หาวชิ าสัมพันธ์กัน 9. เสรมิ สร้างกิจกรรมทีแ่ ปลกออกไป และใหผ้ ้เู รียนมีสว่ นรว่ มในบทเรียนทกี่ ำลังเรียนอยู่ 10. ชว่ ยใหผ้ ู้เรยี นเรียนได้สะดวกทุกที่ ทกุ เวลา โดยสรุป สื่อดิจิทัล คือ สื่อใหม่ที่มีการผสมผสานบูรณาการทั้งองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ พ้นื ฐานทางดา้ นวิทยาการคอมพวิ เตอร์ องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ ตลอดท้ัง องค์ความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์เข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาทั้งระดับ บัณฑิตศึกษาใมหา วิทยาลัยในประเทศไทย นักวิชาการในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงบุคคลภายนอกแวงวง วิชาการแตต่ ้องการศึกษาหาความรเู้ กย่ี วกับสื่อดจิ ทิ ัลใหเ้ ท่าทันการ เปลย่ี นแปลงของโลกดิจิทัลในปัจจุบันอย่าง ทนั สมยั องคป์ ระกอบของสือ่ ดิจิทัล

องค์ประกอบเบ้อื งตน้ ของมัลติมเี ดียด้วย ประกอบไปดว้ ยพืน้ ฐาน 5 ชนิด ได้แก่ 1. ข้อความ เป็นส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาของมัลติมีเดีย ใช้แสดงรายละเอียด หรือเนื้อหา ของเรื่องที่น าเสนอ ถือว่า เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ส าคัญของมัลติมีเดีย ระบบมัลติมีเดียที่นำเสนอ ผ่านจอภาพของ เครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจาก จะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตาม ความต้องการแล้วยัง สามารถก าหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ (โต้ตอบ)ในระหว่างการนำเสนอได้ อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันมีหลาย รปู แบบ ไดแ้ ก่ 1.1 ข้อความที่ได้จากการพิมพ์ เป็นข้อความปกติที่พบได้ทั่วไป ได้จากการพิมพ์ด้วย โปรแกรมประมวลผลงาน (Word Processor) เชน่ NotePad, Text Editor, Microsoft Word โดย ตัวอักษร แตล่ ะตัวเก็บในรหสั เชน่ ASCII 1.2 ขอ้ ความจากการสแกน เป็นข้อความในลกั ษณะภาพ หรอื Image ได้จากการน า เอกสาร ที่พิมพ์ไว้แล้ว (เอกสารต้นฉบับ) มาทำการสแกน ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) ซึ่งจะ ได้ผลออกมาเป็น ภาพ (Image) 1 ภาพ ปัจจุบันสามารถแปลงข้อความภาพ เป็นข้อความปกติได้ โดยอาศัยโปรแกรม OCR ข้อความอเิ ลก็ ทรอนิกส์ เป็น ขอ้ ความที่พฒั นาให้อยใู่ นรูปของสือ่ ทีใ่ ช้ ประมวลผลได้ 1.3 ข้อความไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) เป็นรูปแบบของข้อความ ที่ได้รับความนิยม สูงมาก ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเผยแพร่เอกสารในรูปของเอกสารเว็บ เนื่องจากสามารถใช้เทคนิค การ Link หรือ เชอ่ื มขอ้ ความไปยงั ข้อความ หรอื จุดอื่นๆ ได้ 2. เสียง ถกู จดั เกบ็ อยใู่ นรปู ของสัญญาณดจิ ติ อลซึ่งสามารถเลน่ ซ้ ากลับไปกลบั มาได้ โดย ใชโ้ ปรแกรม ท่ี ออกแบบมาโดยเฉพาะส าหรบั ทำงานด้านเสียง หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสยี งที่เร้า ใจและสอดคลอ้ งกับ เน้ือหาใน การนำเสนอ จะช่วยใหร้ ะบบมลั ตมิ ีเดียน้ันเกิดความสมบรู ณ์แบบมาก ยิ่งขน้ึ นอกจากนี้ยังช่วยสร้าง ความน่าสนใจและ น่าติดตามในเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เนื่องจากเสียงมีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่ า ข้อความหรือภาพนิ่งดังนั้น เสียง จึงเป็นองค์ประกอบที่จำเป็น สำหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถน าเข้าเสียงผ่าน ทางไมโครโฟน แผ่นซีดี ดวี ดี ี เทป และวทิ ยุ 3. ภาพนิ่ง เป็นภาพที่ไม่มีการเคล่ือนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็น ต้น ภาพนิ่ง นับวา่ มี บทบาทตอ่ ระบบงานมัลติมีเดียมากกวา่ ขอ้ ความหรือตัวอักษร เนือ่ งจากภาพจะ ใหผ้ ลในเชิงการเรียนรู้ หรือรับรู้ด้วยการ มองเห็นได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดความหมาย ได้ลึกซึ่งมากกว่าข้อความหรือ ตัวอักษรซึ่งข้อความหรือ ตัวอักษรจะมีข้อจ ากัดทางด้านความแตกต่าง ของแต่ละภาษา แต่ภาพนั้นสามารถ สื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิด ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หรือ วารสารวิชาการ

4. ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการ ให้เกิดแรงจูงใจจากผ้ชู ม การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจ มีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับ ขนาดของ ไฟล์ท่ตี อ้ งใช้พ้นื ทใี่ นการจดั เกบ็ มากกวา่ ภาพนิง่ หลายเท่า 5. วิดีโอ เป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอใน ระบบ ดจิ ิตอล สามารถนำเสนอขอ้ ความหรือรูปภาพ นิ่งหรือภาพเคล่ือนไหว โดยสรุป สื่อดิจทัล ถือเป็นคุณสมบัติของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถเลือกรับ วิเคราะห์ ประเมิน และนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางสร้างสรรค์ รวมทั้งความสามารถในการผลิตสื่อที่ดี เพื่อขับเคลื่อน สังคม อยา่ งสรา้ งสรรค์ ประเภทของสือ่ ดจิ ิทัล สื่อดจิ ทิ ลั มี 4 ประเภทคอื 1. CD Training คือ การสร้าง สื่อดิจิทัลในลักษณะที่เป็น CD ที่ใช้ในการสอนการใช้งาน จะเป็นการ สอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น สอนการใช้โปรแกรม Microsoft Word เป็นต้น นอกจากนั้น CD Training ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องการสอนการทำงานของโปรแกรมต่างๆ จะใช้เป็น การสาธิตการทำงานของ โปรแกรม เปน็ ต้น 2. CD Presentation คือ การสร้างเป็นส่ือดจิ ิทัลในลักษณะที่เปน็ CD ที่ใช้สำหรับในการ นำเสนอใน สถานทต่ี ่าง ๆ เช่น นำเสนอขอ้ มูลในท่ปี ระชมุ นำเสนอข้อมูลบรษิ ทั ทเ่ี รยี กวา่ Company Profile 3. VCD /DVD คือ การสร้างสื่อดิจิทัลในลักษณะที่เป็น CD ภาพยนตร์ ที่มีการตัดต่อ ภาพยนตร์ใน ลกั ษณะท่ีเปน็ Movie Clip แล้วนำมาจัดเรียงต่อกนั เปน็ ภาพยนตร์ 1 เรอื่ ง เป็นต้น 4. E-book และ E-document คือ การสร้างสื่อดิจิทัลในลักษณะที่เป็นการทำเป็น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถสร้างโดยการแปลงไฟล์เอกสารต่าง ๆ ให้เป็น Webpage หรือเป็น PDF File เป็น ตน้ ประโยชน์ของดิจิทลั ขอ้ ดีของสอ่ื ดิจทิ ัล 1. ความคงทน คุณภาพของสิ่งที่อยู่ใน “Digital Media” การเสื่อมสภาพจะใช้เวลานาน กว่า เพราะ รูปแบบของข้อมูลที่จัดเก็บแบบ สองระดับ” (0 กับ 1) โอกาสที่จะผิดเพี้ยนจะเกิดขึ้น ได้ยากกว่า ข้อมูล แบบต่อเนื่อง เช่น การบันทึกภาพลงในวีดิทัศน์แบบอนาลอก กับการบันทึกภาพลง วีดิทัศน์ ในระบบดิจิตอล

เมื่อเส้นเทปยืด การอ่านข้อมูลกลับมาในแบบดิจิตอลนั้น จะทำได้ง่ายกว่า และสามารถทำให้ได้ข้อมูลกลับมา ไดเ้ หมือนเดมิ ได้งา่ ยกวา่ แต่สำหรับอนาลอก จะใหค้ ุณภาพของภาพท่ีลดลงโดยทนั ที 2. รปู แบบของการนำไปใชง้ านทำได้หลากหลายวิธี ขอ้ มูลท่จี ดั เกบ็ ในแบบดิจิตอล ถอื ได้ ว่า เป็นขอ้ มูล กลาง ที่สามารถแปลงไปสู่รูปแบบอื่นได้ง่ายเช่น ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล เมื่อได้เป็น ข้อมูลภาพออกมาแล้ว จากนั้น สามารพิมพ์ภาพลงบนกระดาษหรือการแสดงภาพบนจอคอมพิวเตอร์ หรือแสดงภาพบนจอทีวี ก็ได้ เชน่ กนั 3. การนำไปผสมผสานกับสื่อรูปแบบอื่น เช่น ภาพถ่าย นำมารวมกับเสียง มีการแสดง แบบ Multi- Media 4. การปรับแต่ง (Edit) เป็นการปรับแต่งสื่อที่เป็นภาพถ่าย วิดีโอ เสียงนกร้องนำมา ปรับแต่งให้ดีขึ้น กวา่ เดมิ การสอดแทรก สง่ิ เหลา่ น้ีทำใหน้ า่ ดู นา่ ฟงั มากกว่าปกติ มีความวจิ ติ ร พสิ ดาร โดยสรปุ สื่อดจิ ิทลั หมายถงึ สอื่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ซึง่ ทำงานโดยใชร้ หัสดิจิทลั ในปัจจุบัน การเขียนโปรแกรม ตง้ั อยู่ บนพื้นฐานของเลขฐานสอง ในกรณีนี้ ดิจิทัล หมายถึง การแยกแยะระหว่าง \"๐\" กับ \"๑\" ในการแสดงข้อมูล คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องจักรที่มักจะแปลข้อมูลดิจิทัลฐานสองแล้วจึงแสดง ชั้นของเครื่องประมวลผลชั้นของ ขอ้ มูลดิจทิ ัลทเี่ หนอื กวา่ ผู้เรียนในยุคดจิ ิทลั ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างก้าวกระโดด ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีอย่าง ฉับพลัน (Disruptive technology) ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของ ประชาชนในประเทศ ต่างๆ ทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากมาย ทั้งด้าน การเรียนการสอนใน สถานศึกษาการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการการทำงาน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกี่ยวข้อง กับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน ดังนั้น เยาวชนรุ่นใหม่ที่ควรเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ รู้เท่าทันและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศต่อไป ซึ่งเป็นบทบาทของการศึกษาที่ต้อง พัฒนานักเรียนให้มีทักษะและความรู้ในเร่ืองการ ปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 เพื่อพัฒนาผู้เรียน ในยุคดจิ ิทัล

รูปภาพ ผู้เรยี นในยุคดจิ ิทลั https://kittidhaj.wordpress.com/ คณุ ลักษณะของผู้เรยี นในยคุ ดจิ ิทัล Prensky (2001) ได้จำแนกประเภทของบคุ คลเปน็ 3 กลมุ่ คอื 1. กลุ่มผู้เรียนที่เกิดในยุคดิจิทัล (digital natives) จนคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์ (computer) สมาร์ต โฟน (smart phone) แท็บเล็ต (tablet) คอมพิวเตอร์แบบพกพา (notebook) ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ ได้ เปน็ อยา่ งดีจนเป็นเสมอื นหน่ึงของชีวิต 2. กลุ่มครู อาจารย์หรือบุคคลที่เกิดก่อนการใช้ดิจิทัล (digital Immigrates) ส่วนหนึ่ง สามารถหา ความรู้ ฝกึ ฝนให้รูจ้ กั ใชอ้ ุปกรณด์ ังกล่าวพอได้ 3. กลุ่มผู้ใหญ่อายุมากหรือผู้ที่อยู่ห่างไกลไม่ค่อยรู้เรื่องเทคโนโลยี (digital aliens) ควร ได้รับโอกาส ทางการศึกษาเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้อง ปรับตัวเพื่อการ ดำรงชีวติ ในสังคมท่กี ำลังเปลีย่ นแปลงอยา่ งรวดเร็ว นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล กล่าวถึง ผู้เรียนในยุคดิจิทัลหรือเด็กยุคดิจิทัล เป็นเด็กที่เกิดใน ช่วยปลาย ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะเด็กท่ีเกดิ ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนถึงปัจจบุ นั เป็นชว่ งที่พัฒนา ดิจิทลั อย่างรวดเร็ว เรียก เด็กกลุ่มนี้ว่า ชนพื้นเมืองชาวดิจิทัล (digital native) เป็นเด็กที่เติบโตและ คุ้นเคยกับเทคโนโลยียุคดิจิทัลที่ เป็นผลจากการเรยี นรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี และอุปกรณ์ดิจิทลั ตัง้ แตว่ ัย เด็กว่า ผู้เรียนจะใช้ความจำเกีย่ วกับภาพ (visual memory) และการประมวลข้อมูลจากภาพได้ดีกว่าข้อความตัวหนังสือ สามารถแยกแยะข้อมูลจาก ภาพและเสียงได้ดีกวา่ คนยุคก่อนชอบมองภาพท่ีมสี ี สดใสทกี่ ระตุ้นใหเ้ กิดความสนใจมากกว่าสีมดื ๆ ทึบๆ โดย ลักษณะการกวาดสายตาผู้เรียนในยุคที่มี เนื้อหาข้อมูลบนหน้าจอมอนิเตอร์ ต่างไปจากลักษณะการกวาด สายตาในการอา่ นหนังสือ แบ่งลักษณะการกวาดสายตาดังน้ี 1. ลักษณะการกวาดสายตารูปแบบอักษร Z (Z pattern) เป็นลักษณะการกวาดสายตา อ่านหนังสือ ของเด็ก หรือผู้เรียนหรือผู้เรียนจะกวาดสายตาจากด้านซ้ายไปขวา และจากด้านบนลงลา่ ง ในลักษณะคล้าย ตวั อกั ษร Z 2. ลกั ษณะการกวาดสายตารูปแบบอักษร F (F pattern) เปน็ ลกั ษณะการกวาดสายตาท่ี ผู้เรียนในยุค ดิจิทัลมองหน้ามอนิเตอร์ ผู้เรียนที่กวาดสายตาแบบแสกนจากบนลงล่าง เมื่อเจอสิ่งที่ สนใจจึงแสกนสายตา จากซ้ายไปขวา เปน็ การมองแบบแสกนหาข้อมูลแทนการหาเน้ือหาท้งั หมด มี ลักษณะคล้ายตวั อักษร F

บทบาทของผ้เู รยี นในยุคดิจิทลั เมื่อเปรียบเทียบผู้เรียนในยุคดิจิทัลว่า ผู้เรียนเป็นดังวงจรที่มีความสามารถในการควบคุม หรือน าทางตนเอง และต้องเชื้อเพลิงที่เหมาะสมจากครู เพื่อช่วยให้เดินทางไปยังที่หมายใหม่ และ กว้างไกลกว่าเดิม กล่าวถึง ผเู้ รยี นในยุคดิจิทัลในฐานะเปน็ หุ้นสว่ นการเรยี นรู้ ท่ีมีลกั ษณะ๑๓ดงั น้ี 1. นักวิจัย ใบบทบาทเป็นนักวิจัยของผู้เรียน ครูไม่จำเป็นต้องบอกความรู้ให้ผู้เรียนมากนัก แต่จะ ปล่อยให้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 2. ผู้ใช้และผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ผู้เรียนในยุคดิจิทัลนี้เป็นคนที่มีความคุ้นเคยกับการ ใช้ เทคโนโลยี จนบางคนเป็นผู้เชี่ยวชาญ และผู้เรียนในยุคนี้จะสนุกและมีความสุขกับการเรียนรู้ผ่าน วีดีโอ เกม บลอ็ ก และสอื่ สารออนไลน์ต่างๆ นับวา่ เป็นการสรา้ งบรรยากาศแลกเปล่ยี นเรียนร้รู ว่ นกัน เปน็ การส่งเสริมการ เรยี นร้อู กี แบบหน่งึ 3. นกั คิดและนกั สอื่ ความคิด การคิดว่าผู้เรียนไม่คิดหรือไม่สามารถคิดได้ ถือว่าเปน็ การ ไม่เคารพหรือ ให้เกียรติผู้เรียน โดยที่ครูไม่ควรคิดแทนผู้เรียนว่าคิดได้ไหม เข้าใจหรือไม่ แต่ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างมี เหตุผล และคิดวิเคราะหม์ ากขน้ึ 4. ผู้เปลี่ยนโลก การที่ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ได้เป็นไปในทางสร้างสรรค์หรือยิ่งใหญ่ บางครั้งความรู้น้ัน สามารถเปล่ยี นแปลงบางส่ิงได้ 5. ครูของตนเอง การเป็นครขู องตนเอง หมายความว่า ผเู้ รยี นสามารถเรียนร้ไู ด้ดว้ ย ตนเองด้วยวธิ ีการ ทีห่ ลากหลาย Jukes and Others (2010) กล่าวถึง ลักษณะของผู้เรียนในยุคดิจิทัลและสะท้อนให้ เห็นความ แตกตา่ งระหว่างผ้เู รยี นในยุคดจิ ิทัลและครูหรือนักศึกษาในยุคดิจทิ ลั ดังน้ี 1. ผู้เรียนรู้ในยุคดิจิทัล สามารถทำความเข้าในเทคโนโลยีสานสนเทศจากสื่อได้อย่าง หลากหลาย ช่องทางอย่างรวดเร็ว แต่ครูหรือนักศึกษาเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ช้าและค่อนข้างจำกัดในเรื่อง ช่องทางที่สามารถ เข้าถงึ ชอ่ งทางเหล่านนั้ ได้ 2. ผู้เรียนรู้ในยุคดิจิทัล สามารถเรียนรู้หรือท างานได้หลายรูปแบบ มีความหลากหลาย มิติใน ขณะเดียวกัน แต่ครูหรอื นักศกึ ษายงั คงท างานหรือใช้งานกับผู้เรียนทีละงานหรือเป็นลำดบั ข้ัน ไม่หลากหลาย มิติ 3. ผู้เรียนรู้ในยุคดิจิทัลชื่นชมการเข้าถึงหรือเชื่อมโยงข้อมูลสาสนเทศที่มีความหลากหลาย อย่างสุ่ม แต่ครูหรอื นักศึกษายังคงได้พวกเขาเรยี นรหู้ รอื สารสนเทศให้เรียนรู้

4. ผ้เู รยี นรูใ้ นยุคดจิ ทิ ลั มักจะเลือกเรยี นเท่าที่อยากรู้ แต่ครูหรอื นักศกึ ษามกั สอนในส่ิงที่ควรเรยี นรู้ 5. ผู้เรียนรู้ในยุคดิจิทัล ต้องการการให้คำชมการแสดงความพึงพอใจหรือการให้รางวัลอย่างรวดเร็ว แตค่ รูหรอื นักศึกษาสว่ นมากยังคงใหค้ ำชมหรอื ใหร้ างวลั ในภายหลงั โดยสรปุ ผเู้ รียนในยุคดจิ ิทลั เปน็ ชาวพ้นื เมืองดิจทิ ัล คือ ผ้เู กดิ ในยุคความเจรญิ ก้าวหนา้ ทางเทคโนโลยี ทมี่ ีการใช้เทคโนโลยสี ่วนหนึง่ ในชวี ติ ประจำวนั และการเรียนรู้สามารถเข้าถึง เทคโนโลยสี ารสนเทศท่ีมีอยู่อย่าง มากหมายได้ทุกเวลา ด้วยการเชื่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์พกพาหรือเครื่องมือ สื่อสารต่างๆ การเรยี นรใู้ นยคุ ดิจทิ ัล การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล มีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเรียนรู้ยุคที่ผ่านมา ในยุคที่ผ่านมาการอ่าน ออกเสียงได้เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา แต่ในยุคดิจิทัลนั้น ลักษณะ ของความรู้ ทฤษฎี การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ได้เปลี่ยนแผลงไปจากการเรียนในศตวรรษที่ 20 อย่างสิ้นเชิงและสามารถ สรปุ ผลการเปล่ยี นแปลงที่สำคัญของลกั ษณะการเรยี นรยู้ คุ ดิจทิ ัล ลกั ษณะการเรียนรูใ้ นยคุ ดิจทิ ัล Bruce and Other (2013) นำเสนอความเปลี่ยนแปลงขององคค์ วามรู้จาก เทคโนโลยเี ป็นตวั กระตุ้นความรู้ใน ยุคดจิ ทิ ัลจะมีลักษณะ ดงั นี้ 1. มีความเชื่อมโยง (Hyperlinked) 2. มีหลายมิติ (Multidimensional) 3. สร้างขึ้นได้เอง (Constructed) 2. อยู่ในรูปแบบกราฟิก เสียง วีดีโอ (held in graphic audio and video formats) จากลักษณะ ของความรู้ในยคุ ดจิ ิทลั ที่กลา่ วมาล้าวสามารถสรปุ ไดว้ า่ ความรใู้ นยคุ ดิจิทลั มีลักษณะ ดงั น้ี 1. มคี วามหลากหลายมติ ิ 2. ความรสู้ ามารถเปล่ยี นแปลงไดแ้ ละอยใู่ นรูปแบบทห่ี ลากหลาย 3. สามารถเขา้ ถงึ ได้ง่าย ครูในยุคดิจทิ ัล จากการเปลี่ยนแปลงบริบทของผู้เรียนในยุคดิจิทัล และการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้น ให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ตลอดถึงองค์ความรู้นั้นเพื่อนำไปผลิตเป็นผลงานใหม่หรือ

นวัตกรรมใหม่ ไม่ได้หมายความว่าครูไม่มีความสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือเด็กในยุคนี้อีกต่อไป ท้ังน้ีครูตอ้ งเปลย่ี นแปลงบทบาทใหม่และทกั ษะใหม่สำหรบั การเป็นครูในยุค ดิจิทัล ดังนี้ 1. บทบาทของครูในยคุ ดจิ ิทัล บทบาทใหม่ของครูในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในยุคดิจิทัลมีความสำคัญ และคุณประโยชน์กับ ผเู้ รยี นมากยิง่ กว่าการเปน็ ผบู้ อกความรู้ และบทบาทของครมู ี ดงั น้ี 1.1 ผู้ฝึกสอนและนำทาง ในการไปถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคน ต้องการชี้แจงแนว ทางการช่วยเหลือหรือการสนับสนุน สำหรบั การเปน็ หุ้นสว่ นการเรยี นรู้ โดยครู จะตอ้ งกำกับตดิ ตามการทำงาน และความก้าวหนา้ ในการทำงานของผเู้ รยี น 1.2 กำหนดเป้าหมายและนักต้ังคำถาม การกำหนดเป้าหมายของการเรียนรูใ้ ห้กับ ผู้เรียนด้วยการต้งั คำถาม เพอ่ื ให้ผเู้ รียนได้ค้นหาคำถาม บทบาทการตงั้ คำถามจึงเป็นบทบาทสำคัญ ครจู ะต้องฝึกตั้งคำถามอย่าง มอื อาชีพ 1.3 นักออกแบบการเรียนรู้ สำหรับบทบาทนี่ครูครูต้องเป็นนักสร้างสรรค์ ประสบการณ์การเรียน ให้กบั ผูเ้ รยี น เพ่อื เปลยี่ นแปลงพฤติกรรมผเู้ รยี นไปในทางสร้างสรรค์ 1.4 ผู้จัดสภาพแวดล้อม การเรียนรู้แต่ละเนื้อรายวิชาจะมีสภาพแวดล้อมหรือ บริบทที่แตกต่างกัน ออกไป ครูต้องผู้จัดสภาพแวดล้อมหรือบริบทให้กับสิ่งที่ผู้เรียนก าลังเรียนอยู่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ เนอ้ื หาน้นั ๆ ไดอ้ ยา่ งแท้จรงิ 1.5 ผู้กวดขันหรือประกันคุณภาพ บทบาทสำคัญของครูในยุคดิจิทัล คือ การควบคุมคุณภาพอย่าง พิถีพิถนั โดยการประเมินผลจะไม่เป็นเพยี งการให้คะแนนช้ินงานเม่ือส้นิ สุดการ เรยี นรเู้ ทา่ นน้ั แต่ตอ้ งคอยกำกับ ควบคมุ คณุ ภาพของชิ้นงานจนกวา่ จะมีคุณภาพในระดับหนึ่ง วิจารณ์ พานิช กล่าวถึง บทบาทใหม่ของครูในศตวรรษที่ 21 เป็นครูในยุคดิจิทัล ว่า ผู้เรียนจะเรียนรู้ ได้จากการปฏิบัติ เช่น เดียวกับครูต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติเหมือนกัน ครูทำ หน้าที่ครูฝึก หรือ อำนวยการ การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยที่ครูทำงานเป็นทีม การทำงานและ การเรียนรู้กันเป็นทีมกับครูเรียกว่า (Professional leaching Community (PLC) คือ หลักการสำหรับ ชีวิตครุสมัยใหม่ต้องทำงานเป็นทีมและ เรียนรู้เป็นทีม โดยกระบวนจัดการเรียนรู้ต้องปรึกษาหารือกันตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน โดยสรุปบทบาทครูใน ศตวรรษท่ี 21 ได้ ดงั น้ี

1. ครูไม่ตั้งตนเป็นเป็นผู้รู้ เพราะความรู้ต่างๆมีอยู่มากมายอย่างไรครูก็รู้ไม่หมด และที่สำคัญ คือไม่ ควรสอนสาระให้เด็ก ควรจะให้เด็กค้นหาเอง เพื่อจะได้เรียนรู้วิธีคิด วิธีเลือกเอามาปรับใช้ ครูไม่ใช่เป็นผู้รู้แต่ ตอ้ งเปน็ เรยี นทร่ี ว่ มเรยี นรูข้ องตนดว้ ย 2. ครเู รียนรูพ้ รอ้ มกับเพอื่ นครู ครตู อ้ งเลิกเป็นศิลปินเดี๋ยวในโลกสมยั ใหม่ เพราะ ถา้ ใครยังยนื หยัดเป็น ศลิ ปนิ เดย๋ี วจะเดือดรอ้ นมาก ลำบากมาก เพราะไมม่ ีทางเป็นครทู ่ดี ไี ด้ หากไม่ ตอ้ งการความคดิ เหน็ ท่แี ตกต่าง 3. ครูต้องสร้างความรูข้ ึน้ เอง เพ่ือทำหนา้ ที่ “คณุ อำนวย” การเรียนรขู้ องผู้เรยี นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กบั เพือ่ นครู และเผยแพรผ่ ลงานทางวิชาการ 4. ครตู อ้ งเรยี นร้แู ลกเปล่ียนกับโลกเรือ่ งการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 5. ครตู อ้ งเปน็ นกั รุกออกไปใชท้ รัพยากร การเรยี นรู้ของชมุ ชนในสถานประกอบการและอ่ืนๆ 6. ครูต้องจัดให้ศิษย์เรียนรู้จากชีวิตจริง ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติเรียนรู้ จากความซับซ้อน และไม่ชดั เจน 7. ครตู อ้ งสง่ เสรมิ ให้ผเู้ รียนสร้างความร้ขู ้นึ ใช้เอง 8. ครตู ้องสง่ เสรมิ ให้ผูเ้ รยี นแลกเปลยี่ นเรยี นรู้กบั โลกภายนอก 9. ครตู อ้ งเปน็ ตัวอยา่ งและเสวนากับผเู้ รยี นในเร่อื งความดี คุณธรรม จริยธรรม เช่ือมโยงกับเหตุการณ์ จริง ชีวติ จริง ทักษะของครใู นยคุ ดิจิทัล จากบทบาทของครูในยุคดิจิทัลที่ได้เสนอดังกล่าวมา ครูจำเป็นต้องมีทักษะที่สำคัญ ในการส่งผ่าน ความรหู้ รือการเป็นผู้เรยี นรรู้ ว่ มกับผูเ้ รียน สอดคลองกับ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ กล่าวว่า ครูต้องเป็นแกนหลักในการถ่ายทอดความรู้และทักษะ ต่างๆ ให้ผู้เรียน ดงั นน้ั ครคู วรฝกึ ทกั ษะในศตวรรษท่ี 21 มี 7 ทักษะดังน้ี 1. สร้างและบูรณาการความรู้ได้ เพราะปัจจุบันความรู้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ครูต้อง รู้จักหาความรู้ ดว้ ยตนเอง สามารถบรู ณาการความรูท้ ไ่ี ด้ศกึ ษามาน้ันเขา้ กบั ผู้เรียนและกระบวนการ เรยี นการสอนได้ 2. มีความคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ สังคมยุคใหม่มีสื่อที่หลากหลาย และมาใน หลายรูปแบบ ครู ตอ้ งวเิ คราะหไ์ ดว้ า่ สิ่งใดเหมาะสมแล้วถา่ ยทอดไปสู่ผู้เรยี น

3. มีวิสัยและตกผลึกทางความคิด เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก มองสถานการณ์ไกลใน อนาคต 4. รูแ้ ละเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ พร้อมท้งั ข้อดีข้อเสยี 5. ทกั ษะการสอนเด็กให้เตบิ โตเต็มศักยภาพ และสร้างผลงานใหมๆ่ 6. เขม้ แข็งในจรรยาบรรณ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม 7. มีบทบาทในด้านการสอนในรายวิชา ครูรุ่นใหม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา คุณภาพของ สถานศึกษากับผู้บริหารมากขึ้นในยคุ ต่อไป ทิศนา แขมมณี กล่าวว่า ครูต้องพัฒนาทักษะใน ๓ กลุ่มหลัก คือ ทักษะทางปัญญา ทักษะทางสังคม และทักษะทางเทคโนโลยี เพราะทักษะเหล่านี้ถือว่าเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน ที่จำเป็นนำมาใช้ในการ ดำเนินชีวติ ประจำวันอย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ซ่งึ ครสู อนต้องหาแนวทางนำทักษะมาบูรณาการในการ จัดการเรียนการสอน เพื่อสนับสนุนให้การเรียนรู้ประสบ ความสำเร็จมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ และมีทกั ษะ 21 ดังนี้ 1. ความรใู้ นวชิ าแกน 2. คณุ ธรรมและคุณลักษณะ 3. ทกั ษะทางปัญญา รวมถึงทักษะการส่ือสารการวิเคราะหแ์ ละความคิดสรา้ งสรรค์ 4. ทักษะทางสงั คม คือ ความรบั ผดิ ชอบต่อตนเองและสงั คม 5. ทักษะทางเทคโนโลยี โดยสรุป สิ่งสำคัญที่จะทำใหก้ ารเรียนรูท้ ี่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ ตัวผู้เรียนและครูต้องรับมือกบั การเปลี่ยนแปลง หัวใจสำคญั ของการเป็นครใู นยคุ ดิจิทลั ทีม่ ีบทบาทสำคญั เทคโนโลยแี ละนวัตกรรมการเรยี นร้ใู นยุคดจิ ทิ ัล การใช้เทคโนโลยที างการศกึ ษานั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ.2553 สนับสนุนให้มีการผลติ และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนงั สือทาง วชิ าการ สือ่ สง่ิ พิมพ์ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพือ่ การศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถ ในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุน การผลติ และแรงจงู ใจแกผ่ ูผ้ ลติ และพัฒนาเทคโนโลยเี พื่อการศึกษา ทัง้ นี้ โดยเปดิ โอกาสใหม้ ีการแขง่ ขันโดยเสรี อยา่ งเปน็ ธรรม รวมท้ังใช้เทคโนโลยที ีเ่ หมาะสมมีคณุ ภาพ และประสิทธภิ าพ โดยกำหนดนโยบายและมาตรฐาน

การพัฒนาเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร เพอื่ การศกึ ษาขน้ึ ตามความเหมาะสม สนับสนนุ ใหส้ ถานศึกษา และหนว่ ยงานทางการศกึ ษาดำเนินการด้านต่างๆ ดงั น้ี 1. ดา้ นนโยบายการส่งเสรมิ การพัฒนาและเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สารเพื่อ การศึกษาโดยจัด ให้ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน ได้รับการพัฒนาตามความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการอย่างสร้างสรรค์ พร้อมกับการปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามในเรื่องของคุณธรรม และจริยธรรมตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 2. ด้านการบริหารจัดการในสถานศึกษา จัดให้มีการสนับสนุนงบประมาณด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน จัดให้มีบุคลากรรับผิดชอบด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร โดยตรง 3. ด้านการเรยี นการสอน ดำเนนิ การใหผ้ ู้สอนสามารถใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการ ส่ือสาร โดยค านึงถึงกฎหมาย คณุ ธรรมและจริยธรรม โดยสรุป เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่การสร้าง การวิเคราะห์ การประมวล การจัดเก็บ การสืบค้น นำมาใช้ใหม่ได้อย่าง เป็นระบบ โดยใช้ หลักการแนวคิด สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยี ผ่านเครือข่าย การสื่อสาร หรือวิธีการที่ครู และผู้เรียนร่วมกัน ออกแบบการเรียนร้เู พ่อื ใช้เป็นเครื่องมือในการสรา้ งองค์ความรู้ได้ดว้ ยตนเอง รปู แบบการเรยี นร้เู ทคโนโลยแี ละนวัตกรรมการเรยี นรูใ้ นยุคดจิ ิทลั เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรยี นรู้ที่สำคัญและถูกนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในยุคดจิ ิทัลที่สำคัญๆ ดงั น้ี 1. อินเตอร์แอ็กทิฟไวบอร์ด (interactive whiteboards: IWBs) เป็นอุปกรณ์ที่ เป็นมาตรฐานใน หลายโรงเรียน IWBs เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการน าเสนอที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และ เครื่องฉายภาพ ซึ่งผู้ใช้ สามารถควบคุมคุณภาพโดยใช้หรืออุปกรณ์ในการสร้างความเคลื่อนไหวหรือ การปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน ซึ่งมี ผลกระทบเชิงบวกตอ่ การเรยี นรู้ 2. แท็บเล็ต (tablet) เป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กและสะดวกต่อการพกพา ในปัจจุบัน หนังสือตำราได้ จัดท าเป็นสง่ิ พมิ พ์อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ทำให้สะดวกต่อการเข้าถงึ

3. เครื่องถ่ายทอดภาพสามมิติ (document cameras) เป็นอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกับ เครื่องฉายทึบ สามารถแสดงภาพท่ฉี ายอยู่ใตก้ ล้องไปยงั จอภาพ และสามารถบันทึกท้ังภาพและเสยี ง เป็นคณุ ลกั ษณะทีท่ าให้ ครูสามารถบนั ทึกให้นักเรียนดูผ่านเว็บไซต์ เป็นอุปกรณ์ทมี่ ีขนาดเล็กแต่ มีประสิทธภิ าพ ปัจจุบันมีกล้องบันทึก แบบไรส้ ายจนทำใหก้ ารทำงานสะดวกมากขน้ึ 4. โครมบ็ก (chrome book) ดังทกี่ เู กิล (Google) ไดพ้ ัฒนาอปุ กรณ์ที่ประกอบดว้ ย ระบบปฏิบัติการ และหน่วยความจำ ซ่ึงเมื่อเปิดเครื่องแล้วติดต่อกับอินเตอร์เน็ตในเวลาเพียง 10 นาที อุปกรณ์มีราคาถูกกว่า คอมพิวเตอรพ์ กพา 5. แอปเปิลทีวี (Apple TV) ความสามารถในการแสดงจอภาพจากอุปกรณ์ Apple อื่นๆ ไปยังเครื่อง ฉายภาพหรือโทรทัศน์โดยต่อผ่าน HDMI เมื่อจัดเตรียมการเชื่อมต่อได้ก็จะทำให้สถานศึกษามีเครื่องมือเป็น พ้นื ฐานในราคาที่ตำ่ กวา่ โดยใช้ประโยชนจ์ ากเทคโนโลยีนี้ 6. เนื้อหาสามมิติ (3-D content) ได้เสริมสร้างการจัดการเรียนการสอนจากเครื่อง ฉายภาพและ วิธกี ารเรยี นด้วยภาพ 7. การบริการพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต (cloud computing) เป็นการ อ้างถึงการ บรกิ ารพ้ืนที่ในการเกบ็ ข้อมลู ทสี่ ามารถเข้าถึงไดผ้ ่านอินเตอร์เน็ต สถานศึกษาหลายแห่ง ลงทุนในระบบเสมือน ซึ่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม สำหรับนักศึกษาและนักศึกษาแล้ว คลาวด์ (Cloud) เป็นวิธีการที่มี ประสิทธิภาพในการจดั เอกสาร โครงการและข้อมลู ท่วั ไป 8. เว็บไซต์ 3.0 ในคลาวด์ (Cloud) หลายๆแอปพลิเคช่นั (applications) อ้างถงึ เครื่องมอื เว็บไซต์ 3.0 ซึ่งฟรีและส่งเสริมชุดทักษะที่ จำเป็น เช่น การทำงานร่วมกัน การสื่อสาร การสร้างสรรค์ และความตระหนัก ตอ่ โลก ทำให้การแสดง ความคดิ เหน็ อยา่ งกว้างขวางและเติบโตอย่างมปี ระสิทธิภาพ 9. โมไบล์เทคโนโลยี (mobile technology) ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้โมไบล์ เทคโนโลยีเข้ามามี บทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะทางการศึกษา สถานศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา เริ่มที่จะมีคุณค่าในการจดั หา โมไบลเ์ ทคโนโลยี การเรียนรผู้ า่ นอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่มศี ักยภาพทีส่ งู เพราะผเู้ รียนสามารใช้ได้ทกุ ที่ทุกเวลา ส่วนครูหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสามารถใช้ในการถ่ายทอด เนื้อหา การประเมินผล การสังเกตการณ์เรียนการ สอน การวจิ ยั รวมทั้งการใช้ในการบริหารจัดการ องคก์ าร ประสานงานโครงการ 10. การประชุมทางไกล (video conferencing) ปัจจุบันสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ต้องการเพียง อุปกรณ์ที่มีกล้อง (Webcam) เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desktop) คอมพิวเตอร์พกพา (laptop notebook) หรอื tablet หรือสมาร์ตโฟน (smart phone) ท่ีเชอ่ื มต่ออินเตอรเ์ นต็

11. คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (open course ware: OCW) และระบบการ บริหารจัดการ การเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดส ำหรับมหาชน (Massive Open Online Courses: MOOCs) ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีแห่งการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้แบบเปิดเริ่มโดย สถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูแซตส์ หรอื MIT ท่ีเชอื่ วา่ เป็นการส่งเสริมการเรียนรขู้ องมนษุ ยชาติ ให้แพร่หลายโดยผา่ นเวบ็ ไซต์แห่งการเรยี นรู้ 12. โรงเรียนเสมือน (virtual schooling) อาจถูกเรียกว่า โรงเรียนไซเบอร์ หรือ การศึกษาทางไกล โดยสถานศกึ ษาสามารถลงทุนให้ผูเ้ รียนเรียนได้ที่ไหนหรือเม่ือไรก็ได้ สถานศกึ ษา สามารถสร้างหลักสูตรใหม่ๆ ทีต่ รงกับความสนใจของผ้เู รยี นได้เสมอ 13. เกม (Gaming) หลายงานวิจยั ในปจั จุบันแสดงให้เห็นถงึ มุมมองที่แตกต่างของเกม เพื่อการศึกษา เกมสามารถพัฒนา IQ และความสามารถในการจำทักษะบางอย่างที่หนังสือไม่สามารถ บ่มเฉพาะได้ สถานศกึ ษาแห่งนวัตกรรมเริ่มทจี่ ะใช้โอกาสจากเกมเพื่อการศึกษาโดยการลงทุนผ่าน เครอื่ งเล่นเกมทีม่ ชี ื่อ เช่น Nintendo Wii หรือ x box สร้างเกมเพื่อการศึกษาโดยมีนักวิจัยจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่านักเรียนสามารถ เรียนรู้ได้เร็วและสะดวกขึ้น ครูสามารถแฝงการเรียนรู้ฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษ เครื่องมือบางตัวท่ี น่าสนใจ คือ VR quest (www.vrquest.net) ที่สร้าง เป็นแอพลิเคชั่น ที่ใช้งานได้ง่ายบนแท็บเล็ตหรือสมาร์ต โฟน โดยสรุป การเปลี่ยนแปลงบริบทของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลด้งในด้านคุณลักษณะและ บทบาทของ ผเู้ รียนทเ่ี ป็นผลเมืองดิจทิ ลั การเปลีย่ นแปลงของลักษณะขององคค์ วามรูท้ ่ีมีการเชื่อมโยง มีหลายมิติและอยู่ใน รูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย หลากหลายวิธี และเทคโนโลยีทางการศึกษาและ นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ และการ สร้างความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ การเพิ่มโอกาสในการ ประยุกต์ใช้ความรู้ และสร้างความรู้หรือนวัตกรรม ใหม่ใหส้ อดคลอ้ งกบั สภาพทีจ่ ะนำไปใช้ได้จริงให้ มากที่สดุ คำถามท้ายบท 1. ใหน้ กั ศึกษาอธิบายความของส่อื ดิจิทลั พร้อมท้ังยกตัวอย่างประกอบ 2. ให้นกั ศึกษาบอกขอ้ ดแี ละข้อเสยี ของการใช้ส่ือดิจิทลั ในการเรยี นการสอน พรอ้ มยกตวั อยา่ ง 3. บทบาทของผู้เรยี นมนยคุ ดิจทิ ัลมีลกั ษณะอย่างไร 4. บทบาทของครใู นยุคดจิ ทิ ัลควรมลี ักษณะอย่างไร 5. ยกตัวอยา่ งและอธบิ าย สอื่ นวตั กรรมเทคโนโลยีดิจิทัลทน่ี ำไปใชใ้ นการจัดการเรียนการสอน

ณัฐกร สงคราม. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สํานักพมิ พแ์ หง่ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , 2557. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์คร้ัง 18. กรงุ เทพมหานคร: สํานกั พิมพ์แหง่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 สุกัญญา แช่มช้อย. การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , 2561. ฝ่ายวิชาการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542, แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553๓, (กรงุ เทพมหานคร: สำนกั พิมพเ์ ดอะบคุ ส์, 2556), หนา้ 24. อุษา ศิลป์เรืองวิไล. “การสื่อสารบูรณาการในยุคดิจิทัลในประเทศไทย: กรณีศึกษา สื่อวิทยุออนไลน์”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับ ท่ี 2 ประจาํ เดือน (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559) Andrew E. Fluck. Integration or Transformation? A cross – national study of Information and Communication Technology in School Education, 2003.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook