Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บันทึกกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ

บันทึกกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ

Published by ayusakorn, 2020-06-03 02:39:40

Description: บันทึกกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ

Search

Read the Text Version

บันทึกกระบวนการเรยี นรู เพื่อการเปลยี่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวิจัยเชิงปฏิบตั ิการช้นั เรียนจิตวิทยาในพระไตรปฎก ดร.อยษุ กร งามชาติ

บนั ทกึ กระบวนการเรยี นรู้ เพื่อการเปล่ียนแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชิงปฏิบตั กิ ารชน้ั เรียนจติ วิทยา ในพระไตรปฎิ ก

บนั ทึกกระบวนการเรยี นรู้เพอ่ื การเปลีย่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชงิ ปฏิบตั ิการชนั้ เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปฎิ ก หอ้ งเรียนวดั ไชยชุมพลชนะสงคราม จ.กาญจนบุรี คณะพทุ ธศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย คณะผวู้ ิจัย ผศ.ดร.กาญจนา จิตต์วฒั น ที่ปรึกษางานวิจยั ดร.อยษุ กร งามชาต ิ ผวู้ จิ ัย พระครูกติ ตชิ ยั กาญจน์ ผูช้ ว่ ยผูว้ ิจยั ฉบบั พิมพเ์ ผยแพร่เปน็ ธรรมทาน ท่รี ะลกึ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙ ในงานทำ� บญุ ครบรอบชาตกิ าล พระเดชพระคุณพระธรรมคุณาภรณ์ (หลวงพ่อไพบูลย์ กตปุญฺโญ) อดตี เจา้ อาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ISBN 978-616-423-115-3 พมิ พค์ รงั้ ที่ 1 : กนั ยายน 2559 ลขิ สทิ ธ์ิ : ดร.อยษุ กร งามชาติ พิมพท์ ่ี หา้ งหุ้นส่วนจ�ำกัด ภาพพมิ พ์ 45/12-14, 33 หมู่ 4 ถนนบางกรวย-จงถนอม ต.บางขนุน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 โทร. 02-879-9154-6 โทรสาร 02-879-9153 [email protected] www.parbpim.com

คำ� นิยม คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลยั ทไ่ี ดร้ ับการยกยอ่ งว่าเป็นมหาวทิ ยาลยั ทด่ี ีทสี่ ดุ เพราะ มคี ุณสมบัตทิ โ่ี ดดเด่น ๒ ประการ คือ (๑) คณุ ภาพของนิสิตท่จี บจาก มหาวิทยาลัย (๒) คุณภาพงานวิจัย ท้ังของนิสิตและคณาจารย์ท่ีเป็น ประโยชน์ต่อสังคมและประชาคมโลก ดร.อยุษกร งามชาติ เป็นอาจารย์ บรรยายพิเศษหลายแห่ง รวมถึงเป็นท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ์ และสอบ วิทยานิพนธ์ ได้เข้าอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับศาสตร์สมัยใหม่และอื่นๆ อีกมากแห่ง มีความสนใจเก่ียวกับจิตวิทยา โดยเฉพาะจิตวิทยาในทาง พระพทุ ธศาสนาเพ่อื ประยกุ ตศ์ าสตรส์ มยั ใหม่กบั พระพทุ ธศาสนา เพอ่ื การ เปล่ียนแปลงตัวเอง งานวิจัยท่ี ดร.อยุษกร น�ำเสนอนี้ มีการสังเกตใน ระหว่างการปฏบิ ัติและหลงั ปฏิบัต,ิ การสมั ภาษณเ์ ชิงลึก เช่น บนั ทึกประจำ� วนั , การสนทนาอยา่ งไมเ่ ปน็ ทางการ, การประชมุ กลมุ่ ยอ่ ย เปน็ ตน้ งานวจิ ยั ในลกั ษณะน้ี นอกจากจะเปน็ ประโยชน์ต่อนักวชิ าการ, นิสิตนกั ศึกษาแล้ว แมแ้ ตป่ ระชาชนทว่ั ไปไดอ้ า่ นงานวจิ ยั เลม่ นกี้ ส็ ามารถเรยี นรเู้ พอื่ เปลยี่ นแปลง ตวั เองได้ ขออนโุ มทนา ดร.อยษุ กร งามชาติ นอกจากสอนวชิ ารายวชิ าทต่ี นเอง รับผิดชอบแล้ว ยังมีผลงานวิจัยที่ตนเองสอนอีกด้วย และขอให้ก�ำลังใจ ดร.อยุษกร ไดผ้ ลิตงานวชิ าการออกมาอยา่ งสม่ำ� เสมอเพอ่ื เปน็ ประโยชน์แก่ วงวชิ าการและผสู้ นใจทัว่ ไป คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย

มทุ ิตาอนโุ มทนากถา พระราชวิสุทธิเมธี ผูอ้ ำ� นวยการโครงการขยายหอ้ งเรียนคณะพุทธศาสตร์ วดั ไชยชุมพลชนะสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี การจัดท�ำการวิจัยเชิงปฏิบัติการช้ันเรียน (Action Research) โดยการบูรณการองค์ความรู้จากวิชาจิตวิทยาในพระไตรปิฎก ท่ีอาจารย์ ดร.อยุษกร งามชาติ ได้มาเป็นอาจารย์สอนประจ�ำวิชา โครงการขยาย หอ้ งเรยี น วดั ไชยชมุ พลชนะสงคราม หลายปี มคี วามรแู้ ละเขา้ ใจในการสรา้ ง กระบวนการเรยี นรู้สู่การเปลยี่ นแปลงภายใน ท�ำใหไ้ ดข้ ้อมูลทเี่ ปน็ จริงและ สามารถปฏิบัติการได้จริง นับได้ว่าเป็นคุณูปการต่อการศึกษาของอาจารย์ ดร.อยษุ กร งามชาติและโครงการขยายหอ้ งเรียนอยา่ งแท้จริง เพ่อื พัฒนา หอ้ งเรยี นให้มคี ุณภาพในการจดั การศึกษาดีย่ิงขนึ้ บันทึกกระบวนการเรียนรู้เพ่ือการเปล่ียนแปลงภายในแนวพุทธ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการชั้นเรียนจิตวิทยาในพระไตรปิฎก ห้องเรียนวัดไชย ชุมพลชนะสงคราม เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยท่ีได้จากทฤษฎีสู่การ ปฏบิ ตั ิ เพ่ือให้เกดิ กระบวนการเรยี นรู้ในการปฏบิ ตั ิการจริง อันกอ่ ให้เกิด ท้ังประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ อันจะสามารถรองรับการต่อยอดในการจัดต้ังหรือพัฒนาห้องเรียนให้ เป็นที่ยอมรับต่อสังคมภายนอกได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการท�ำงานวิจัย ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของห้องเรียนวัดไชย ชุมพลชนะสงคราม และเป็นเครื่องการันตีคุณภาพในการท�ำงานอย่าง มืออาชีพตอ่ ไป

ขออนุโมทนาและมุทิตาจิตในความคิดพยายามการท�ำงานวิจัยเชิง ปฏบิ ตั กิ ารครง้ั นี้ ขอให้ อาจารย์ ดร.อยษุ กร งามชาติและคณะผู้มสี ว่ นร่วม ในการท�ำงานวจิ ยั น้ี จงประสบความส�ำเรจ็ ในหนา้ ทีก่ ารงาน และเจริญยงิ่ ๆ ข้นึ ไป พระราชวสิ ทุ ธิเมธี ผู้อำ� นวยการโครงการขยายหอ้ งเรยี นคณะพทุ ธศาสตร์ วัดไชยชมุ พลชนะสงคราม จังหวดั กาญจนบุรี

คำ� ขอบคณุ ...จาก คณะผู้วจิ ัย บนั ทกึ กระบวนการเรยี นรเู้ พอ่ื การเปลยี่ นแปลงภายในแนวพทุ ธ เลม่ ท่ีท่านก�ำลังถืออยู่นี้ เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจท่ีได้รับโอกาสจากพระเดช พระคณุ พระสธุ ธี รรมานวุ ตั ร (เจา้ คณุ เทยี บ) ทเี่ คยมอบหมายใหข้ า้ พเจา้ สอน นสิ ติ ระดบั ชนั้ ปรญิ ญาโท ในวชิ าจติ วทิ ยาแนวพทุ ธ และไดเ้ รม่ิ ตน้ พานสิ ติ ทำ� กระบวนการเรยี นร้เู พ่ือการเปลยี่ นแปลงภายใน และมาโอกาสนก้ี ็ไดร้ บั การ สนบั สนนุ จากพระเดชพระคุณพระราชวสิ ุทธิเมธี (เจ้าคุณปญั ญา) ผ้อู ำ� นวย การโครงการขยายหอ้ งเรียนวดั ไชยชมุ พลชนะสงคราม ให้ผู้วจิ ยั ด�ำเนินการ จัดการเรียนรู้ให้แก่พระนิสิตชั้นปีที่ ๔ ท่ีลงเรียนรายวิชาจิตวิทยาในพระ ไตรปิฎก ข้าพเจา้ ในฐานะตวั แทนคณะผูว้ จิ ัยขอกราบขอบพระคณุ ในความ เมตตาอยา่ งท่สี ุด ขอขอบพระคณุ ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจรญิ , ผศ.ดร. ชัยสทิ ธิ์ ทองบรสิ ทุ ธิ์ และ ดร.อำ� นาจ บวั ศิริ ทไี่ ด้ตรวจทานวธิ ีการด�ำเนิน การวจิ ยั และชดุ เครอ่ื งมอื ในการจดั กระบวนการเรยี นรเู้ พอื่ การเปลย่ี นแปลง ภายในแนวพุทธใหแ้ ก่ผู้วจิ ยั ขอขอบคณุ ครอบครัว และญาตสิ นทิ มิตรสหาย รวมท้งั ลูกศิษย์ ทงั้ หลายทมี่ อบเงนิ สนบั สนนุ ในการวจิ ยั และการจดั พมิ พเ์ ผยแพรผ่ ลงานครงั้ นี้ ข้าพเจา้ รู้สึกซาบซึง้ ใจเป็นอย่างย่ิง ขอน้อมจิตคารวะ

ดว้ ยจิตคารวะแด่ผู้มอี ุปการคุณ ผสู้ นับสนนุ โครงการวิจยั ๑. พระราชวิสทุ ธิเมธ ี ๓๕,๐๐๐ บาท ๒. พระครูวลิ าศกาญจนธรรม,ดร. ๕,๐๐๐ บาท ๓. พระครกู ิตติชยั กาญจน์ ๓,๐๐๐ บาท ๔. พระธนภัทร ปัญญาวโุ ธ ๒,๐๐๐ บาท ๕. น.พ.สงัด พูลผล ๘,๐๐๐ บาท ๖. น.อ.องอาจ-คุณสมทรง งามชาติ ๕,๐๐๐ บาท ๗. คณุ เพญ็ ศิริ ศรีรงคท์ อง ๓,๐๐๐ บาท ๘. คณุ ทบั ทมิ ท�ำสะดวก ๓,๐๐๐ บาท ๙. คุณเรวดี ศริ ิภาพ ๓,๐๐๐ บาท ๑๐. คณุ พรชัย นุ่นละออง ๓,๐๐๐ บาท ๑๑. บจก.ทรัพยอ์ นนั ต์ อนิ เตอร์ ๓,๐๐๐ บาท ๑๒. ผศ.ดร.กาญจนา จิตตว์ ัฒน ๒,๐๐๐ บาท ๑๓. หอ้ งเรียนวดั ไชยชุมพลชนะสงคราม ๔,๐๐๙ บาท ๑๔. คุณอมรรตั น์ คนั ธอุลิศ ๑,๐๐๐ บาท ๑๕. คุณทิพวรรณ พระไตรปิฎกศกึ ษา ๑,๐๐๐ บาท ๑๖. คณุ เอกสทิ ธิ์ งามชาติ ๑,๐๐๐ บาท ๑๗. คณุ สุวรยี ์ งามชาติ ๑๘. คณุ จารวุ ฒุ ิ-คุณชตุ มิ า เจรญิ พฒั นา ๕๐๐ บาท ๑๙. คณุ รงั สยิ า ฤกษเ์ ลือ่ นฤทธ์ ิ ๕๐๐ บาท ๒๐. MJ & Aya ๕๐๐ บาท ๒๑. คณุ ไตรรงค์ จิรพวิ ัฒน์ ๑๐๐ บาท ๒๒ คุณกัลยา ทวีกลุ ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท

สพฺพทานํ ธมมฺ ทานํ ชนิ าติ การให้ธรรมะ ยอ่ มชนะการให้ทัง้ ปวง กล่าวคอื “ผูม้ ีธรรมเพียงคนเดียว ยอ่ มยังความเย็นความสขุ ให้เกิดได้เปน็ อันมาก” สมเด็จพระญาณสงั วร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรนิ ายก (อดตี )

สารบัญ ๑ บทนำ� ๑ วตั ถปุ ระสงค์หลักของการวจิ ัย ๒ เปา้ หมายของการจดั กระบวนการเรยี นรเู้ พื่อการเปล่ยี นแปลงภายใน ๒ การด�ำเนนิ การวิจัยเชงิ ปฏบิ ตั ิการ ๒ ชดุ กระบวนการเรียนร้เู พอ่ื การเปล่ยี นแปลงภายในแนวพุทธ ๔ ๒. แนวคดิ ในการออกแบบการเรยี นรเู้ พือ่ การเปลีย่ นแปลงภายใน ๖ การเรียนร้เู พ่อื การเปลีย่ นแปลงภายใน ๖ หลกั การพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนร้เู พ่อื การเปลี่ยนแปลง ๘ แนวคิดจากหลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนา ๑๐ ๓ กระบวนการเรยี นรู้เพือ่ การเปลย่ี นแปลงภายใน ๒๔ กระบวนการรับรู้เป็นปัจจัยให้เกิดความรูส้ ึกตอ่ สิ่งที่รบั รู้ ๒๘ จากทฤษฎีส่กู ารปฏบิ ตั ิการ : คา่ ยการเรียนรสู้ ู่การเปลีย่ นแปลง ภายในแนวพทุ ธ ๓๓ ๔ บันทกึ การเรียนรสู้ ู่การเปลย่ี นแปลงภายในแนวพุทธ ๔๓

“Education is the most powerful weapon whichyoucanusetochangetheworld.”-:NelsonMandela “การศึกษาเป็นอาวุธที่ทรงพลังทสี่ ุด ที่เราจะนำ� มาใชใ้ นการเปลย่ี นแปลงโลก” เนลสัน แมนเดลา (อดีตประธานาธิบดีผ้ยู ่ิงใหญข่ องแอฟริกาใต)้

๑ บทน�ำ กระบวนการเรียนรู้ของกระแสหลักในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษา แบบแยกส่วน เน้นตวั ความรู้ ขาดความเชอื่ มโยงในหลากหลายมิติ โดย เฉพาะอยา่ งย่งิ มติ ิด้านใน ซง่ึ เป็นสว่ นส�ำคัญในการพฒั นาศกั ยภาพภายใน แบบยง่ั ยนื คณะผู้วจิ ัย ซ่ึงประกอบด้วย ดร.อยษุ กร งามชาตใิ นฐานะอาจารย์ ประจ�ำรายวิชาจิตวิทยาในพระไตรปิฎกและหัวหน้าการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีความต้ังใจท่ีจะเช่ือมโยงองค์ความรู้ภายในช้ันเรียนกับภายนอกช้ันเรียน เพอ่ื ให้เกดิ การเรียนรูแ้ ละพฒั นาศักยภาพภายในแบบยง่ั ยนื แกผ่ เู้ รียน รวม ท้งั พระครกู ติ ติชัยกาญจน์ ผู้ชว่ ยผวู้ จิ ยั และอาจารยป์ ระจำ� ของหอ้ งเรยี น วดั ไชยชมุ พลชนะสงคราม จ.กาญจนบรุ ี คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั โดยมี ผศ.ดร.กาญจนา จติ ต์วัฒน ที่ปรึกษา โครงการวจิ ยั ไดต้ ระหนกั ถงึ ความสำ� คญั ของการจดั กระบวนการเรยี นรู้ เพอ่ื นำ� ไปสกู่ ารเปลย่ี นแปลงภายใน จงึ ไดร้ ว่ มกนั จดั โครงการวจิ ยั เชงิ ปฏบิ ตั กิ าร (Action Research) โดยเน้นหลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนา คอื เมตตา ภาวนาและมรณัสสติภาวนามาประยุกตก์ ับศาสตร์สมยั ใหม่ คอื แนวคดิ การ เรียนรู้สู่การเปล่ียนแปลงของ แจ็ค เมซิโรว์ เพ่ือขยายกรอบแนวคิดของ ศาสตรต์ ะวันตกให้เชือ่ มโยงกับมติ ิทางจติ วญิ ญาณของพระพทุ ธศาสนา ซึ่ง เปน็ การพฒั นาศกั ยภาพดา้ นในใหม้ คี วามรู้ ความเขา้ ใจตอ่ โลกและชวี ติ อยา่ ง ลึกซ้ึงและเช่ือมโยงมากขึ้น เกิดการเปล่ียนแปลงภายในจิตใจของผู้เรียน เพ่อื สร้างสรรค์สงั คมที่เกอ้ื กลู และดงี ามอย่างแท้จริง

2 บนั ทกึ กระบวนการเรียนรูเ้ พ่ือการเปลีย่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชิงปฏิบตั กิ ารชน้ั เรียนจิตวทิ ยาในพระไตรปฎิ ก วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ เพอื่ การเปล่ียนแปลงภายในโดยใชห้ ลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนา เปา้ หมายของการจดั กระบวนการเรยี นรเู้ พอ่ื การเปลย่ี นแปลงภายใน เพ่ือให้นิสิตท่ีลงเรียนรายวิชาจิตวิทยาในพระไตรปิฎกได้เกิดกระบวนการ เรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพภายในของตนเอง ได้ใคร่ครวญภายใน จิตใจของตนเอง โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจ เพ่ือเข้าสู่ กระบวนการเรียนรูเ้ พ่ือการเปลี่ยนแปลงภายใน ท่ี ส�ำนกั สหปฏบิ ัติ ค่าย อารยาภวิ ัธน์ อ.ด่านชา้ ง จ.สุพรรณบรุ ี เปน็ ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน การด�ำเนินการวิจยั เชงิ ปฏิบัตกิ าร การวิจัยการจัดกระบวนการเรียนรู้เพ่ือการเปล่ียนแปลงภายใน เปน็ การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ โดยมลี กั ษณะเปน็ การวจิ ยั เชงิ ปฏบิ ตั กิ าร (Action Research) จุดเน้นที่การสร้างความรแู้ ละการสร้างศกั ยภาพภายใน โดย ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีฐานคิดจาก กรอบทฤษฎีการ เรียนร้สู กู่ ารเปลี่ยนแปลงของเมซโิ รว์ โดยเน้นเรอ่ื งขยายกรอบแนวคิดเดมิ ไปสู่กรอบแนวคิดใหม่ เพื่อพัฒนาความรู้และเกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อ การเปลี่ยนแปลงภายใน โดยน�ำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาผสม ผสาน ไดแ้ ก่ หลักธรรมเมตตาภาวนา และมรณสั สตภิ าวนา มาประยุกต์ ใชเ้ ปน็ เครอ่ื งมอื เชงิ ปฏบิ ตั กิ ารใหบ้ คุ คลกลบั มาใครค่ รวญภายในตนเอง เกดิ กระบวนการพิจารณาอย่างลึกซึง้ ผา่ นกิจกรรมการเรยี นรู้ การด�ำเนินการวิจัยมีการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ ครอบคลุมหลากหลายมติ อิ ยา่ งครบถว้ น ประกอบด้วย ๑. การสงั เกตในระหวา่ งการปฏบิ ตั กิ ารกระบวนการเรยี นรู้ และ

3 บันทกึ กระบวนการเรียนรู้เพ่ือการเปลีย่ นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจัยเชงิ ปฏิบตั กิ ารชัน้ เรียนจติ วทิ ยาในพระไตรปิฎก ภายหลังกระบวนการเรียนรู้ และบันทึกความเปลย่ี นแปลงทเ่ี กดิ ขึ้น โดยผู้วิจัยศึกษาและตรวจสอบประสบการณ์ภายในจากการสังเกต ตามค�ำบอกเล่า ซ่ึงเป็นประสบการณ์ภายในท่ีเกิดข้ึนเฉพาะบุคคล เปน็ ระเบยี บวธิ แี บบอตั นัย (Subject Method) ๒. การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยรวบรวมขอ้ มูลจาก ๒.๑ บันทึกประจ�ำวัน (Journal) ซ่ึงผู้วิจัยแจกสมุด จดบันทึก และขอให้ผู้เข้าร่วมโครงการบันทึกการเรียนรู้ในแต่ละ ครงั้ ของกจิ กรรมการเรยี นรู้ เปน็ การศกึ ษา ใครค่ รวญประสบการณ์ ภายในจติ ใจของตนเอง (Introspection) ๒.๒ การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้วิจัยกับ ผู้เข้าร่วมโครงการ เกี่ยวกับประวัติชีวิต ปมภายใน เพื่อน�ำไปสู่ การขยายกรอบความคิด ให้เกิดมุมมองใหม่ๆ และน�ำไปสู่การ เปลีย่ นแปลงภายใน ๓. การประชุมกลมุ่ ยอ่ ย (focus group) หลังจากการอบรม เชิงปฏิบัติการในแต่ละวัน ผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมโครงการมาร่วม ประชุมกนั เพอื่ สะทอ้ นผลการปฏิบตั กิ าร ผวู้ จิ ยั ไดส้ งั เกตแบบเชิงลกึ (reflective observation) จาก นนั้ วิเคราะหข์ อ้ มลู และแปลความหมายขอ้ มลู ในโครงการวจิ ัยนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนิสิตชั้นปี ๔ ที่ศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาศักยภาพภายใน ได้แก่ วิชาจิตวิทยาในพระ ไตรปิฎก จากมหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย ห้องเรียน วัดไชยชุมพลชนะสงคราม จ.กาญจนบุรี จ�ำนวน ๑๖ รูป/คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจ (Volunteer

4 บันทกึ กระบวนการเรยี นรู้เพื่อการเปลีย่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชงิ ปฏบิ ตั ิการชนั้ เรียนจิตวทิ ยาในพระไตรปิฎก Sampling) เพื่อเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลง ภายในแนวพุทธ ที่ส�ำนักสหปฏิบัติ ค่ายอารยาภิวัธน์ ด่านช้าง สุพรรณบุรี ในวันที่ ๒๙ เม.ย. ถึง วนั ท่ี ๑ พ.ค. ๒๕๕๙ ชดุ กระบวนการเรยี นรูเ้ พ่อื การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ กจิ กรรมท่ี เครือ่ งมือ/เทคนิค เป้าหมาย ระยะเวลา (ช่วั โมง) ๑ ฉนั คอื ใคร? - ตรวจสอบจดุ ทตี่ นเองอยู่ ๑ ชัว่ โมง ฉนั ทำ� อะไรเพื่อใครได้บ้าง? - ตรวจสอบโลกภายในของตนเอง ๓๐ นาที เปา้ หมายชวี ิตฉันคืออะไร?/ เบอ้ื งตน้ เทคนคิ สนุ ทรียสนทนา - รจู้ ักตนเอง และเหน็ คณุ ค่าของ ตนเองอยา่ งแท้จริง - เรยี นร้ศู ลิ ปะการฟงั อยา่ งลึกซึ้ง และไมต่ ัดสินทั้งตนเองและผอู้ น่ื ๒ และ ครง้ั ที่ ๑ - ขยายกรอบความคิดให้แผ่กวา้ ง ๔๕ นาที ๘ เมตตาภาวนา : ค�ำสอนว่าด้วย - ขยายจติ คบั แคบใหเ้ ปน็ จิตใหญ่ ๑ ชั่วโมง รกั อย่างสากล จิตสาธารณะ ๓๐ นาที ครง้ั ท่ี ๒ เมตตาภาวนา / เทคนิคสมาธิ ภาวนา ๓ ครั้งที่ ๑ - การเตรียมตัวเพ่อื ตายกอ่ นตาย ๓๐ นาที และ การส้ินสดุ ของชวี ติ (Ending - สะสางส่งิ ท่คี ้างคาใจ และเรียนรู้ท่ี ๑ ช่วั โมง ๙ of Life) / เทคนคิ สุนทรีย จะปล่อยวาง สนทนา - เรียนรู้ในการด�ำเนินชวี ติ อย่าง ครั้งท่ี ๒ มีสตใิ นปัจจบุ นั ด้วยความไม่ มรณสตภิ าวนา / เทคนิคมรณ ประมาทต่อชวี ิต สตภิ าวนา

5 บันทกึ กระบวนการเรยี นร้เู พือ่ การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจยั เชงิ ปฏบิ ตั กิ ารชั้นเรียนจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก กิจกรรมท่ี เครอื่ งมือ/เทคนคิ เป้าหมาย ระยะเวลา (ชัว่ โมง) ๔ วิถีแห่งสติ ครงั้ ท่ี ๑ - เรยี นรใู้ นการด�ำรงอยอู่ ย่างมีสติ ๕ ชว่ั โมง ๕ วถิ แี ห่งสติ คร้งั ท่ี ๒ ในปัจจุบันขณะ ๒ ชว่ั โมง ๑๐ วิถแี ห่งสติ ครง้ั ที่ ๓ - เรียนรู้ในการพจิ ารณาดโู ลก ๕ ชว่ั โมง ๑๑ วิถีแห่งสติ คร้งั ท่ี ๔ / ภายในจติ ใจตนเองท่เี กดิ ข้ึนอย่าง ๒ ชั่วโมง เทคนคิ การเจริญสติ ลกึ ซึง้ โดยไมต่ ดั สินความถูกผิด หรอื ดีชั่วต่อสิ่งทผี่ ุดขึ้นมาภายใน จิตใจ เพียงแค่รับรตู้ ามความเปน็ จริงเท่าน้นั ๖ การท�ำกระบวนการกลมุ่ ผา่ น - เล่าประสบการณท์ ่ผี ดุ ขน้ึ ภายใน ๑ ชวั่ โมง การเลา่ เรื่อง / เทคนคิ จติ ใจของตนเอง สง่ิ ที่ตนเองได้ สุนทรียสนทนา มองเห็น ความคดิ ต่างๆท่เี กดิ ขึ้น - เรียนรู้ในการฟังผอู้ น่ื อยา่ งลึกซ้ึง และไม่ตัดสนิ ท้ังตนเองและผู้อื่น ๗ พลงั ของคำ� พดู - เรียนรู้ความสมั พันธ์ของพลงั งาน ๑ ชวั่ โมง ในระดบั ต่างๆทง้ั ท่ีเปน็ กศุ ล และอกศุ ล ท่ีปรากฏในรปู แบบ ของกายกรรม วจกี รรม และ มโนกรรม ๑๒ การแลกเปล่ียนขอ้ มลู สะทอ้ น - เรยี นรู้ในการไวว้ างใจต่อคนรอบ ๑ ชั่วโมง กลบั / เทคนคิ สุนทรยี ขา้ ง สนทนา - เรียนรใู้ นการฟงั อย่างไมต่ ดั สิน เพอ่ื ให้เกิดกระบวนการแลก เปลย่ี นเรยี นรูซ้ ึ่งกันและกันอยา่ ง เป็นธรรมชาติ ๑๓ โลกเปลย่ี นไป เม่อื ใจ แลกเปล่ยี นเรยี นรู้สิ่งต่างๆท่ีเกิด ๑ ชวั่ โมง เปล่ียนแปลง / เทคนคิ ข้ึนภายในจติ ใจ ความร้สู ึก ความคดิ สุนทรยี สนทนา และมมุ มองตา่ งๆทม่ี ตี อ่ โลกและชวี ติ

๒ แนวคดิ ในการออกแบบการเรยี นรู้เพือ่ การเปลย่ี นแปลงภายใน การเรียนร้เู พอ่ื การเปล่ยี นแปลงภายใน ผู้เริ่มต้นทฤษฎีการเรียนรู้เพ่ือการเปลี่ยนแปลงภายใน (Trans- formative Learning) คือ แจ็ค เมซิโรว์ (Jack Mezirow) ศาสตราจารยด์ า้ นการศกึ ษาของผใู้ หญท่ มี่ หาวทิ ยาลยั โคลมั เบยี สหรฐั อเมรกิ า สงิ่ ทเี่ ปน็ หวั ใจสำ� คญั ของทฤษฎนี คี้ อื การเปลยี่ นกรอบอา้ งองิ (Frames of References) การปรบั เปลยี่ นการรบั รใู้ นการมองโลกและชีวติ การสรา้ ง ประสบการณก์ ารเรยี นรใู้ หมๆ่ และใหค้ วามหมายใหม่ และเปน็ อสิ ระจากการ ตคี วามประสบการณท์ เี่ กดิ ขน้ึ ในอดตี มคี วามใครค่ รวญอยา่ งมวี จิ ารณญาณ และมคี วามพร้อมทางอารมณ์ทจี่ ะเปล่ียนแปลง ตามทศั นะของเมซโิ รว์ (Mezirow) การเรยี นรเู้ พอ่ื การเปลย่ี นแปลง (Transformative Learning) หมายถงึ กระบวนการสร้าง “ความหมาย ใหม่” ให้แก่ประสบการณเ์ ดมิ เพ่อื ชน้ี ำ� การกระทำ� ของตนในอนาคต โดย มีองค์ประกอบหลกั ๔ ประการ ได้แก่ ๑. ประสบการณ์ (experience) ๒. การใคร่ครวญด้วยวจิ ารณญาณ (critical reflection) ๓. วาทกรรมท่ีเกิดจากการใครค่ รวญ (reflective discourse) ๔. การกระทำ� (action)

7 บันทกึ กระบวนการเรยี นรเู้ พ่อื การเปลยี่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชงิ ปฏิบตั ิการช้ันเรียนจติ วทิ ยาในพระไตรปิฎก สว่ นกระบวนการเรยี นรเู้ พอื่ การเปลย่ี นแปลงทเี่ มซโิ รวเ์ สนอประกอบ ด้วย ๑๐ ขั้น ได้แก่ ๑. การใหผ้ เู้ รยี นไดเ้ ผชญิ กบั วกิ ฤตกิ ารณท์ ไ่ี มเ่ ปน็ ไปตามมมุ มองเดมิ ของตน ๒. การตรวจสอบตนเอง ๓. การประเมนิ สมมุติฐานเดมิ ของตนอยา่ งจริงจงั ๔. การเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง ๕. การค้นหาทางเลอื กใหม่ ๖. การวางแผนการกระทำ� ใหม่ ๗. การหาความร้แู ละทักษะส�ำหรบั การปฏบิ ตั ติ ามแผน ๘. การเร่ิมทดลองท�ำตามบทบาทใหม่ ๙. การสร้างความสามารถและความม่ันใจในบทบาทและความ สัมพนั ธ์ใหม่ ๑๐. การบรู ณาการจนเปน็ วถิ ีชีวิตใหมข่ องตน๑ การเรียนรู้สู่การเปล่ียนแปลงภายในเร่ิมต้นจากการเปลี่ยนแปลง มุมมอง (Perspective Transformation) โดยเมซิโรว์ อธิบาย ว่า “การเปล่ียนแปลงมุมมอง คือ กระบวนการในการตระหนักรู้เชิง วิพากษ์ว่าเหตุใดและท�ำไมสมมติฐานของเรา จึงได้ก�ำหนดวิธีการรับรู้ ความเข้าใจและความรู้สึกต่อโลก การเปลี่ยนโครงสร้างของความเคยชิน น้ีจะน�ำไปสู่มุมมองท่ีโอบอุ้มทุกสรรพสิ่ง ไม่แบ่งแยก และบูรณาการ”๒36 ๑ Mezirow Jack., Taylor, Edward W., and Associates. Transformative Learning in Practice : Insights from Community, Workplace, and Higher Education. San Francisco, CA. : Jossey-Bass, 2009. ๒ Mezirow, J., Transformative Dimensions of Adult Learning. San Francisco : Jossy-Bass, 1991, p.167, อา้ งใน ศักดิช์ ยั อนันต์ตรีชยั , งานวิจยั แบบฉนั (งานวิจยั มุมมองที่ หนง่ึ ), (นครปฐม:ศูนย์จติ ตปญั ญาศกึ ษา มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล, ๒๕๕๕) , หนา้ ๗๖.

8 บันทึกกระบวนการเรยี นรู้เพ่ือการเปลี่ยนแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจยั เชงิ ปฏบิ ัติการชนั้ เรียนจติ วิทยาในพระไตรปฎิ ก หลักการพ้ืนฐานในการจัดกระบวนการเรียนรเู้ พ่ือการเปลย่ี นแปลง หลักการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยน�ำมาประยุกต์กับ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาจากฐานคดิ ของหลกั จิตตปัญญา 7 หรือ ทีเ่ รียกว่า 7 C ไดแ้ ก่ 1. การพิจารณาด้วยใจอย่างใครค่ รวญ (contemplation) คือ การเข้าสสู่ ภาวะจิตใจท่ีเหมาะสมต่อการเรียนรู้ เข้าถงึ ศักยภาพ ภายในของตนเอง 2. ความรกั ความเมตตา (compassion) คอื การสรา้ งบรรยากาศ ของความรกั ความเมตตา ความไว้วางใจ ความเข้าใจและการ ยอมรับ บนพื้นฐานของการเช่ือม่ันในศักยภาพของความเป็น มนษุ ย์ เพ่อื ใหเ้ กดิ สงิ่ แวดล้อมและบรบิ ทท่ีเกื้อกูลต่อการเรยี นรู้ 3. การเชื่อมโยงสัมพันธ์ (connectedness) คือ การช่วยให้ ผเู้ ขา้ รว่ มกระบวนการเชอ่ื มโยงประสบการณใ์ นกระบวนการเขา้ กบั ชีวติ เพ่ือน้อมนำ� เขา้ ส่ตู นเอง บรู ณาการกับวถิ ีชีวติ ของตน 4. การเผชิญความจริง (confronting reality) คือ การจัด สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ท่ีเอื้อให้ผู้เข้าร่วม กระบวนการน�ำพาตนเองออกจากพ้ืนที่ปลอดภัย หรือความ คุ้นชิน เพ่ือเผชิญกับพ้ืนที่เส่ียงหรือความไม่คุ้นเคย ซึ่งถือ เป็นการเปดิ พ้นื ท่ใี ห้กบั การเรียนรใู้ หม่ๆ อนั จะช่วยใหผ้ ู้เข้าร่วม กระบวนการมองเหน็ ความจรงิ ในตนเอง และในบรบิ ทแวดลอ้ ม 5. ความต่อเน่ือง (continuity) คือ การสรา้ งความไหลลื่นของ กระบวนการ ซึ่งจะชว่ ยใหเ้ กดิ พลังและพลวตั ในการเรียนรู้ ท่ี

9 บนั ทกึ กระบวนการเรียนรเู้ พ่ือการเปลีย่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชิงปฏิบตั กิ ารช้นั เรียนจติ วทิ ยาในพระไตรปฎิ ก เออ้ื ให้ศกั ยภาพการเรียนรู้ ของผ้เู ขา้ รว่ มกระบวนการได้รบั การ ปลดปล่อย จนสามารถบ่มเพาะพัฒนาคุณภาพภายในของตน ได้อย่างตอ่ เน่อื ง 6. ความมุ่งมน่ั (commitment) คือ การสรา้ งเงอ่ื นไขให้ผู้เขา้ รว่ มกระบวนการเกิดความมุง่ มน่ั ท่จี ะเปลี่ยนแปลงตนเอง และ น�ำการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการกลับไปบูรณาการในชีวิต เพื่อใหก้ ารพัฒนาและการเปลย่ี นแปลงภายในตนด�ำรงอยอู่ ยา่ ง ตอ่ เนอ่ื งและยงั่ ยนื 7. ชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้ (community) คือ ความรสู้ กึ เปน็ ชุมชน ร่วมกันของผูเ้ ข้ารว่ มกระบวนการทั้งกระบวนกร ทเี่ ก้อื หนนุ ให้ เกดิ การเรยี นรแู้ ละการเปลย่ี นแปลงภายในของแตล่ ะคน รวมไป ถงึ การสร้างเครอื ข่ายความสัมพนั ธ์และการแลกเปลี่ยนเรียนรทู้ ่ี เกดิ ขน้ึ ในกลมุ่ ซงึ่ เปน็ การเรยี นรทู้ ต่ี อ่ เนอื่ งและเชอื่ มโยงกบั ชวี ติ ๓37 ผศ.นพ.ธนา นลิ ชยั โกวทิ ย์ กลา่ วไวโ้ ดยสรปุ วา่ หลกั การจติ ตปญั ญา 7C ช่วยให้การออกแบบ กระบวนการเรียนรู้มีนัยของการกลับเข้าสู่ ภายในตนเองเพ่ิมขึ้น ให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการมีโอกาสพิจารณาด้วยใจ อยา่ งใคร่ครวญ มจี ังหวะที่จะหยดุ หรือมีความสงบ เปดิ รบั ส่ิงต่างๆ เขา้ มา พิจารณา มีบรรยากาศของความรักความเมตตา ความโอบอุ้มของกลุ่ม ซ่ึงจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการมีการเปล่ียนแปลงตนเอง อย่างตอ่ เน่อื งและยงั่ ยืน๔38 ๓ ธนา นลิ ชัยโกวิทย,์ อดศิ ร จันทรสุข, ศิลปะการจัดกระบวนการเรยี นร้เู พื่อการเปล่ยี นแปลง : คมู่ ือกระบวนกรจติ ตปัญญา, (นครปฐม:ศนู ย์จติ ตปญั ญาศึกษา มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล, ๒๕๕๒) หน้า ๑๔๐-๑๔๑. ๔ เรื่องเดยี วกัน.

10 บันทึกกระบวนการเรียนร้เู พ่ือการเปล่ยี นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวจิ ยั เชงิ ปฏิบัตกิ ารช้ันเรียนจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก การจัดกระบวนการเรียนรู้ในครั้งน้ีจึงเป็นไปเพ่ือสร้างบรรยากาศ ของการเรียนรู้ที่เปิดกว้างให้กับผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ เพ่ือให้ เกิดความเช่ือมโยงระหว่างตัวผู้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ กับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเผชิญกับความจริงภายในของตัวผู้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ ภายใต้บรรยากาศของกัลยาณมิตรเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาด้านในและเกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อ การเปลย่ี นแปลงภายใน แนวคดิ จากหลักธรรมทางพระพทุ ธศาสนา ผู้วิจัยใช้กรอบหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ เมตตาภาวนา และมรณัสสติภาวนา จากฐานคิดที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ชั้น อรรถกถาวา่ เมตตา และมรณสั สติ เป็นสัพพัตถกรรมฐาน คือกรรมฐานที่ เหมาะใชเ้ ป็นพ้ืนฐานแกก่ รรมฐานทกุ อย่าง มรณัสสติน้ัน เป็นกรรมฐานท่ีมีอานิสงส์มาก ดังท่ีพระพุทธ องค์ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติท่ีบุคคลเจริญท�ำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ ๒ มีอมตะเป็นท่ีสุด๕ 39 ส่วนเมตตาน้ัน เป็นธรรมชาติของจิตที่นุ่มนวลควรแก่การใช้งาน พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายลักษณะของเมตตา ไว้ว่า มีลักษณะ อันเป็นไปในทางแห่งความประพฤติที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล๖ น้อมน�ำ เอาสิ่งซ่ึงเป็นประโยชน์เก้ือกูลแก่สัตว์ทั้งหลายเป็นกิจ๗ ปลดเปลื้อง ๕ อง.ฺ ฉกกฺ (ไทย) ๒๒/๑๙/๔๔๔. ๖ ขุ.อติ ิ.อ. (ไทย) ๑/๔/๑๔๖. ๗ ขุ.อิต.ิ อ. (ไทย) ๑/๔/๑๔๖.

11 บันทึกกระบวนการเรียนรเู้ พ่อื การเปล่ียนแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชิงปฏบิ ัติการชัน้ เรยี นจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก ความอาฆาต๘42เป็นผลปรากฏ และมีความสงบแห่งความพยาบาทเป็น สมบตั ๙ิ 43มีอนั ได้เหน็ ภาวะทีน่ า่ เจรญิ ใจของสัตวท์ ัง้ หลายเปน็ บรรทดั ฐาน๑๐44 หลักธรรมเมตตา อธบิ ายตามศัพท์ ค�ำว่า เมตตา๑๑45 แปลว่า ความรกั ความเอ็นดู ไมตรี มาจาก มิท ธาตุ ในความหมายว่ารักใคร่ ลง ต ปัจจยั อาอติ .ฺ , ลบ ท ซอ้ น ต,ฺ พฤทธ์ิ อิ เป็น เอ มีบทวเิ คราะห์ศัพทว์ ่า มชิ ฺชติ สนิ ิยฺหตี ติ เมตตฺ า ธรรมชาติทร่ี กั ใคร่ และมิตเฺ ต ภวา มติ ตฺ ตสสฺ วา เอสาติ เมตฺ ตา ธรรมชาติท่ีมีอยู่ในมิตร หรือธรรมชาติของมิตร (มิตฺต+ณ+อา)๑๒ หลักของพุทธธรรม เมตตา มีลักษณะเป็นกุศล ในพระไตรปิฎก ให้ค�ำอธิบายว่า เมตตา หมายถึง ความรัก กิริยาท่ีรัก ภาวะที่รัก ความเอ็นดู ภาวะท่ีเอ็นดู ความปรารถนาเกื้อกูลกัน ความอนุเคราะห์ ความไม่พยาบาท ความไม่ปองร้าย กุศลมูลคือ อโทสะในหมู่สัตว์๑๓ ลกั ษณะของเมตตา คือ การทำ� ความปรารถนาดีให้เกดิ ขึ้น๑๔ เปน็ ไปโดย อาการคดิ เกอื้ กลู แกส่ ตั ว์ทงั้ หลาย จติ ใจนมุ่ นวล อ่อนโยน ปรารถนาให้ผู้ ๘ ความอาฆาต แปลวา่ ความโกรธเคอื ง ความฉุนเฉยี ว ความกระทบกระท่งั ความผกู โกรธ ผูกใจเจบ็ และอยากแก้แค้น (พระอุดรคณาธกิ าร (ชวนิ ทร์ สระค�ำ) และ รศ.ดร.จ�ำลอง สาพดั นกึ , พจนานกุ รมบาลี – ไทย ฉบับนักศึกษา, พมิ พ์คร้งั ที่ ๒, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพม์ หาจฬุ า ลงกรณราชวทิ ยาลัย, ๒๕๓๐), หน้า ๑๔๗.) ๙ ขุ.อติ .ิ อ. (ไทย) ๑/๔/๑๔๖. ๑๐ ข.ุ อติ .ิ อ. (ไทย) ๑/๔/๑๔๖. ๑๑ เมตตา มศี ัพท์บาลี ๒ ศพั ทค์ อื เมตตฺ า (มิท เสนฺเห+ต+อา) ความเมตตา, ความรกั และ อกี ศพั ท์ คือ เมตฺติ (มทิ เสนเฺ ห+ติ) ความเมตตา ความรกั ความเอ็นดู ไมตรีจิต, พระมหาสมปอง มทุ โิ ต, คัมภรี อ์ ภธิ านวรรณา, หนา้ ๒๒๑-๒๒๒. ๑๒ เรื่องเดยี วกนั , หนา้ ๕๓๖. ๑๓ ขุ.ม. (ไทย) ๒๙/๒๐๒/๕๙๐. ๑๔ พระอุปตสิ สเถร ,วมิ ตุ ตมิ รรค, หนา้ ๑๗๒.

12 บันทกึ กระบวนการเรียนรู้เพ่อื การเปลีย่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวิจัยเชิงปฏิบตั ิการชั้นเรยี นจติ วทิ ยาในพระไตรปฎิ ก อื่นเปน็ สขุ องคธ์ รรมของเมตตาคอื อโทสเจตสกิ ท่มี ปี ิยมนาปสตั วบญั ญตั ิ เป็นอารมณ์๑๕49 เป็นอาการแหง่ จติ อยา่ งหนง่ึ ทเ่ี รยี กว่า เจตสิกซ่งึ เปน็ สภาพ ธรรมท่ีเกิดดับร่วมกับจิต และรู้อารมณ์เดียวกับจิต จิตเมตตามีลักษณะ อาการเปน็ มิตรไมตรี ปรารถนาเกอ้ื กูลตอ่ บุคคลอ่นื ไม่ขดั เคือง ไม่หยาบ กระดา้ งดุร้าย จ�ำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑) เมตตาอย่างเจาะจงบุคคล โอธิโสผรณาและ ๒) เมตตาอยา่ งไมเ่ จาะจงบคุ คล (อโนธิโสผรณา)๑๖50 ๑) เมตตาอย่างเจาะจงบุคคล (โอธโิ สผรณา) มุมมองของพุทธธรรม ท่ีเรียกว่า เมตตาแบบเจาะจงบุคคล หรือ โอธิโสผรณาน้ัน เป็นรูปแบบแรกของการพัฒนาจิตใจของบุคคลที่ฝึกหัด ให้จิตใจนุ่มนวล อ่อนโยนในการเจริญเมตตาพรหมวิหารให้เกิดข้ึนในจิต สนั ดานของตนเอง๑๗51 ตามหลักพุทธธรรมน้ี เมตตาจิตไม่ได้เกิดข้ึนเองตามธรรมชาติ แต่เป็นกระบวนการท่ีต้องเรียนรู้ในการฝึกหัดปฏิบัติการ โดยเร่ิมต้น จากการเจริญเมตตาให้แก่ตนเองก่อน๑๘ เพื่อเป็นสักขีพยานแก่การ แผ่ไปยังบุคคลอ่ืน๑๙ ทั้งนี้เพราะตนเป็นท่ีรักของตนมากกว่าสิ่งอ่ืน ๑๕ พระสัทธัมมโชตกิ ะ ธมั มาจริยะ, ปรมตั ถโชติกะ ปริเฉทที่ ๙ เลม่ ๑ สมถกรรมฐานทปี นี, (กรุงเทพมหานคร : มลู นธิ ิสทั ธมั มโชตกิ ะ, ๒๕๔๗), หนา้ ๑๗๙. ๑๖ อภิ.ว.ิ อ. (ไทย) ๒/๒/๓๘๓, วสิ ุทธฺ ิ. (ไทย) ๒๕๕/๕๑๖. ๑๗ วสิ ุทฺธ.ิ (ไทย) ๒๔๐/๔๘๑. ๑๘ พระสทั ธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะกล่าวไว้วา่ การแผ่เมตตาที่มิไดม้ ุ่งหวังจะไดอ้ ัปปนาฌาน มกี าร แผ่ไปในบคุ คลอ่ืน ส�ำหรับตนเองนัน้ จะแผก่ ไ็ ด้ ไม่แผ่ก็ได้ แต่ถา้ หวงั อปั ปนาฌานจะตอ้ งแผ่ใหแ้ ก่ ตนเองก่อน, พระสัทธมั มโชตกิ ะ ธมั มาจริยะ. ปรมตั ถโชติกะ ปริเฉทท่ี ๙ เล่ม ๑ สมถกรรมฐาน ทปี นี, หน้า ๑๘๑. ๑๙ เรอื่ งเดยี วกนั , ๑๘๑.

13 บันทกึ กระบวนการเรยี นรู้เพอ่ื การเปลย่ี นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชงิ ปฏิบตั ิการชัน้ เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปฎิ ก เสมอ เราปรารถนาความสุข เกลียดกลัวทุกข์มีประจ�ำใจอยู่ในใจของ ทุกคนเสมอ ซ่ึงจะท�ำให้การนึกเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับผู้อื่น เกิดข้ึนได้ง่ายว่าสัตว์ทั้งหลายล้วนมีความปรารถนาเช่นเดียวกับตน จึง เป็นเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้เมตตาจิตเกิดขึ้นได้ง่าย และตั้งอยู่มั่นคง๒๐ จากนนั้ จึงแผ่ไปยงั คนทเ่ี รารัก คนทเ่ี ราเคารพนับถอื แผ่ไปยังเพื่อนทรี่ กั กัน มากเปน็ ลำ� ดบั ทสี่ าม และคนทวั่ ๆ ไป (มชั ฌตั บคุ คล) เปน็ ลำ� ดบั ทส่ี ่ี สดุ ทา้ ย แผ่ไปยงั คนท่ไี มร่ กั กัน คนทีเ่ กลยี ดชงั กนั (เวรบี คุ คล) เปน็ ลำ� ดับที่หา้ ๒๑ การเจริญเมตตาแบบเจาะจงบุคคลนี้ เป็นกระบวนการพัฒนา จติ ใจให้สามารถแผ่ขยายความรกั แก่บคุ คลทุกประเภทอยา่ งเสมอกัน โดย เฉพาะการฝกึ จติ ใจใหร้ กั แมก้ ระทงั่ บคุ คลทไ่ี มร่ กั กนั หรอื เกลยี ดชงั กนั เปน็ สง่ิ ทตี่ อ้ งอาศยั ความศรทั ธา ความเพยี ร ความตงั้ มนั่ ของจติ มสี ตเิ ปน็ เครอื่ ง ค้มุ ครองจิต เพ่อื พฒั นาไปสกู่ ระบวนการเพ่ือการเปล่ียนแปลงภายในอยา่ ง ยงั่ ยืน ๒) เมตตาแบบไม่เจาะจงบุคคล (อโนธิโสผรณา) เมตตาแบบไม่เจาะจงบุคคลน้ีเป็นรูปแบบของจิตที่มีคุณภาพ ดมี ากขน้ึ กว่าเมตตาจติ รปู แบบแรก เนอื่ งจากเมตตาแบบไมเ่ จาะจงบุคคลน้ี เป็นการแผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ท่ีพระพุทธศาสนาเรียกว่า เมตตา อัปปมัญญา เป็นการท�ำลายขอบเขตแห่งความเมตตา หรือเมตตาถึง ขั้นสีมาสัมเภท๒๒ จิตใจของผู้ท่ีประกอบด้วย เมตตาอัปปมัญญา จึง เป็นความรักความเมตตาที่วางจิตไว้เสมอกันท้ังตนเองและผู้อ่ืนโดยไม่มี ขอบเขตแบง่ แยก ๒๐ เร่ืองเดยี วกัน, หนา้ ๑๘๒. ๒๑ วสิ ทุ ฺธ.ิ (ไทย) ๒๔๒/๔๘๘-๔๘๙. ๒๒ คำ� วา่ “สมี าสัมเภท” การท�ำลายขอบเขตแหง่ เมตตา คือ ไม่ท�ำการแบง่ แยกว่า ตน, คนท่ีรกั , คนเป็นกลางๆ, คนค่เู วร อธบิ ายวา่ คน ๔ พวกน้ี เปน็ สีมาเขตแดนทจี่ ะแผเ่ มตตาไปถึง เมือ่ แรกเจริญเมตตาน้นั กเ็ จริญไปทลี ะเขตๆ ครัน้ ภาวนามกี �ำลังกล้าขน้ึ จิตก็เห็นเสมอกนั ในคน ๔ จ�ำพวกนี้ ไมม่ แี ยกเป็นเขตๆ, วสิ ทุ ฺธ.ิ (ไทย) ๒๕๒/๕๑๒-๕๑๓.

14 บันทกึ กระบวนการเรียนรเู้ พอื่ การเปลย่ี นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชิงปฏิบตั ิการชั้นเรยี นจติ วทิ ยาในพระไตรปฎิ ก พระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั พระคาถาแกพ่ ระภกิ ษผุ อู้ ยปู่ า่ ไวใ้ นเมตตสตู ร วา่ ผูฉ้ ลาดในประโยชนม์ ุ่งหวังบรรลสุ นั ตบท๒๓ ควรบำ� เพญ็ กรณียกิจ ควรเป็นผ้อู าจหาญ ซ่อื ตรง เครง่ ครดั ว่าง่าย ออ่ นโยน และไม่เยอ่ หย่ิง ควรเปน็ ผู้สนั โดษ เลี้ยงงา่ ย มีกิจนอ้ ย มคี วามประพฤติเบา มอี ินทรียส์ งบ มีปัญญารักษาตน ไมค่ ะนอง ไมย่ ึดติดในตระกลู ทงั้ หลาย อนงึ่ ไม่ควรประพฤตคิ วามเสียหายใดๆ ทจี่ ะเป็นเหตุให้วิญญูชนเหล่าอื่นตำ� หนิเอาได้ (ควรแผ่เมตตาไปในสรรพสตั วอ์ ย่างนี้ว่า) ขอสตั ว์ท้งั ปวงจงมีความสุขมคี วามเกษม มตี นเป็นสุขเถิด คอื เหล่าสัตว์ทย่ี งั เป็นผหู้ วาดสะด้งุ หรอื เป็นผ้มู นั่ คง ขอสัตวเ์ หล่าน้นั ทง้ั หมดจงมีตนเป็นสขุ เถดิ เหลา่ สัตวท์ ีม่ ขี นาดกายยาว ขนาดกายใหญ่ ขนาดกายปานกลาง ขนาดกายเตยี้ ขนาดกายผอม หรือขนาดกายอว้ น ขอสัตว์เหลา่ น้ันทงั้ หมดจงมีตนเปน็ สขุ เถิด เหลา่ สตั ว์ท่ีเคยเหน็ กด็ ี เหลา่ สัตว์ท่ีไมเ่ คยเห็นกด็ ี เหล่าสตั ว์ทอ่ี ยใู่ กลแ้ ละอยู่ไกลก็ดี ภตู หรอื สัมภเวสี ๒ กด็ ี ขอสัตวเ์ หล่านัน้ ทั้งหมดจงมีตนเปน็ สขุ เถิด ไมค่ วรขม่ เหง ไม่ควรดูหม่ินกันและกันในทกุ โอกาส ไม่ควรปรารถนาทกุ ขแ์ ก่กันและกัน เพราะความโกรธและความแคน้ ควรแผ่เมตตาจิตอยา่ งไมม่ ปี ระมาณไปยงั สรรพสตั ว์ ๒๓ สันตบท หมายถึง นิพพาน , (ขุ.ข.ุ อ. ๙/๒๑๒).

15 บนั ทกึ กระบวนการเรยี นรเู้ พ่อื การเปลยี่ นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจัยเชิงปฏิบตั กิ ารช้ันเรยี นจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก ดจุ มารดาเฝ้าถนอมบตุ รคนเดยี วดว้ ยชีวิต ฉะน้ัน อนึ่ง ควรแผ่เมตตาจติ อยา่ งไมม่ ีประมาณ กว้างขวาง ไมม่ เี วร ไม่มีศัตรูไปยังสัตวโ์ ลกทั่วท้งั หมด ท้งั ชน้ั บน ชน้ั ลา่ ง และชั้นกลาง ผู้แผ่เมตตาจะยืน เดิน นง่ั หรือนอน ควรตง้ั สตินไ้ี วต้ ลอดเวลาท่ียงั ไมง่ ่วง นกั ปราชญเ์ รียกการอย่ดู ้วยเมตตาน้วี า่ พรหมวหิ าร อนึ่ง ผู้แผเ่ มตตาท่ีไม่ยดึ ถอื ทิฏฐิ มศี ลี ถงึ พร้อมด้วยทัสสนะ ก�ำจัดความยนิ ดใี นกามคุณไดแ้ ลว้ กจ็ ะไมเ่ กิดในครรภอ์ กี ต่อไป๒๔ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคกล่าวถึง เมตตาแบบไม่เจาะจงบุคคล ในอโนธโิ สบุคคล ๕ จำ� พวก คอื สตั ว์, ปาณะ, ภูต, บุคคล และผมู้ ีอัตภาพ น้ัน๒๕ คัมภรี ์วิสุทธิมรรคไดอ้ ธบิ ายขยายความไวว้ ่า ในบคุ คล ๕ จ�ำพวก นั้น คือไวพจน์ท่ีใช้แทนค�ำว่าสัตว์ทั้งปวง แต่ยกข้ึนมาเพ่ืออธิบายความ ให้กระจ่างชัดเจนยิ่งขึ้น๒๖60ดังนั้นเมตตาแบบไม่เจาะจงบุคคลนี้จึงหมาย ถึงการแผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ไม่เจาะจงบุคคล ด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ ๑) ขอสัตว์ทงั้ ปวง จงอย่าผูกเวรกัน ๒) ขอสตั ว์ทง้ั ปวง จงอย่าเบยี ดเบยี นกนั ๓) ขอสัตวท์ ัง้ ปวงจงอยา่ มที กุ ข์ ๔) ขอสตั วท์ ั้งปวง จงมสี ขุ ประคองตนไปใหร้ อดพ้นเถิด๒๗ ๒๔ ข.ุ ขุ. (ไทย) ๒๕/๑-๑๐/๒๐-๒๒. ๒๕ ขุ.ป. (ไทย) ๓๑/๒๒/๔๖๐-๔๖๑. ๒๖ วิสทุ ธฺ .ิ (ไทย) ๒๕๖/๕๓๒-๕๓๔. ๒๗ วิสุทธฺ ิ. (ไทย) ๒๕๗/๕๓๔.

16 บันทึกกระบวนการเรียนรู้เพ่อื การเปล่ียนแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชงิ ปฏิบตั ิการชน้ั เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปฎิ ก พระโบราณาจารย์ได้ประพันธ์ถึงการเจริญเมตตาแบบเจาะจงและ เมตตาแบบไมเ่ จาะจงไวว้ า่ “ภิกษุผู้เจริญเมตตากัมมัฏฐานนั้น ตราบใดท่ียังเห็นแตกต่าง กนั อยใู่ นบุคคล ๔ จำ� พวก คอื ตน, คนทรี่ ัก, คนเปน็ กลางๆ, และคนท่ีเกลียดชัง ในคนใดคนหน่ึงเรียกเพียงว่า เธอเป็นผู้มี จิตปรารถนาดีในสัตว์ท้ังหลาย แต่ยังไม่จัดว่าเป็นผู้มีความรัก ด้วยเมตตาแท้ หรอื เปน็ ผ้มู กี ุศลอันประเสรฐิ ต่อเมอ่ื ใด ภกิ ษนุ ั้น ท�ำลายขอบเขตแหง่ เมตตา คือ บุคคล ๔ จำ� พวกเสียได้ จงึ จะแผ่ เมตตาแท้ไปได้ทั่วโลกมนุษย์กับท้ังโลกเทวดาอย่างสม�่ำเสมอกัน ขอบเขตแห่งเมตตาไม่ปรากฏมแี ก่ภกิ ษุใด เธอไดช้ ือ่ ว่าเปน็ บุคคลผู้ ประเสรฐิ ยงิ่ ใหญก่ วา่ คนทยี่ งั เหน็ แตกตา่ งในบคุ คล ๔ จำ� พวกนน้ั ”๒๘ จากแนวคดิ ท่กี ล่าวมานี้ หลกั ธรรมเมตตาจงึ สอดคล้องและเหมาะทจ่ี ะ น�ำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายใน เพ่ือให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตของจิตใจให้แผ่ กวา้ งมากย่งิ ขึ้น ปรบั เปล่ียนมุมมองทค่ี ับแคบใหแ้ ผ่ขยายมากขึ้น เรียนรทู้ ่ี จะรกั ใหอ้ ภยั และปลอ่ ยวาง หลกั ธรรมมรณัสสติ หรอื มรณานุสสติ หลกั ธรรมมรณสั สติ เปน็ หลกั ธรรมทสี่ อนใหเ้ ราเรยี นรใู้ นการวางใจ ให้เป็น เพื่อชีวิตท่ีดีงามในเบื้องต้น และการตายอย่างสงบและปล่อยวาง ในท่สี ุดเมอื่ ถงึ เวลาของลมหายใจสดุ ท้าย ๒๘ วสิ ทุ ฺธิ. (ไทย) ๒๕๒/๕๑๓.

17 บันทึกกระบวนการเรียนร้เู พอ่ื การเปล่ยี นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชิงปฏบิ ตั ิการชนั้ เรยี นจิตวทิ ยาในพระไตรปฎิ ก อธบิ ายตามศพั ท์ คำ� วา่ มรณ มาจาก มร ธาตุ หมายความวา่ ความตาย ลง ยุ ปจั จยั ในนามกติ ต์ มรี ปู วเิ คราะหว์ า่ มรยิ เต มรณํ หมายความวา่ ความ ตาย มชี อื่ วา่ มรณะ มตี วั อยา่ งคอื อเิ ธว เม มรณํ ภวสิ สฺ ติ ความวา่ เราจกั ตาย ในทน่ี แ้ี หละ และคำ� วา่ อนสุ สฺ ติ มาจาก อนุ บทหนา้ กบั สติ ความระลกึ ถงึ มรี ปู วเิ คราะหว์ า่ อนุ ปนุ ปปฺ นุ ํ สติ อนสุ สฺ ติ หมายความวา่ ความระลกึ ถงึ อยู่ บอ่ ยๆ ชอื่ วา่ อนสุ สติ มตี วั อยา่ ง คอื อตเฺ ถสา ภกิ ขฺ เว อนสุ สฺ ติ เนสา นตถฺ ตี ิ วทา มิ หมายความวา่ ภกิ ษทุ ง้ั หลาย ความระลกึ ไดม้ อี ยู่ เราไมไ่ ดก้ ลา่ ววา่ ไมม่ ๒ี ๙63 มรณสั สติ หรือ มรณานสุ สติ คือ การระลึกถึงความตายท่ีตนจะ ต้องได้ประสบแล้วเกิดความสังเวชสลดใจอยู่เนืองๆ ช่ือว่า มรณานุสสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ในมหากุศลจิต ที่มีชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะ เป็นอารมณ์ มรณะมี ๔ ประการ คอื ๑. สมุจเฉทมรณะ ได้แก่ การเข้าปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้ง หลายทีต่ ดั เสียซ่ึงวัฏฏะทุกขท์ ง้ั ปวงได้โดยสน้ิ เชงิ ๒. ขณกิ มรณะ ไดแ้ ก่ ความดับของสังขารธรรม รปู นาม ทเ่ี ป็น อยู่ทกุ ๆ ภังคขณะ ๓. สมมติมรณะ ได้แก่ ความตายท่โี ลกสมมตุ ิเรียกกนั วา่ ต้นไม้ ตาย ทองแดงตาย ปรอทตาย เหล็กตาย ๔. ชีวติ นิ ทริยปุ จั เฉทมรณะ ไดแ้ ก่ รูปชวี ติ นามชีวติ ของสัตว์ทัง้ หลายดับส้ินลงในภพหนึ่งๆ ๒๙ พระมหาสมปอง มุทโิ ต, คมั ภีร์อภิธานวรรณา, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พธ์ รรมสภา, ๒๕๔๒), หนา้ ๕๐๖.

18 บันทกึ กระบวนการเรยี นร้เู พือ่ การเปลยี่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชิงปฏิบตั ิการชัน้ เรยี นจิตวิทยาในพระไตรปิฎก มรณะ ๔ ประการน้ี มรณะที่จะใช้เป็นมรณัสสติได้น้ัน ได้แก่ ชวี ติ นิ ทรยิ ปุ จั เฉทมรณะอยา่ งเดยี ว สำ� หรบั สมจุ เฉทมรณะนน้ั ไมไ่ ดเ้ กย่ี วขอ้ ง กบั บุคคลท่วั ไป คงมแี ต่เฉพาะพระอรหันตเ์ ท่านนั้ ขณิกมรณะกเ็ ปน็ มรณะ ชนิดละเอยี ดมาก บุคคลธรรมดาไมส่ ามารถพิจารณาเหน็ ได้ สมมติมรณะ ก็ไมไ่ ด้ทำ� ใหค้ วามสงั เวชเกิดข้นึ อยา่ งใดเลย ฉะนน้ั มรณะท้งั ๓ เหลา่ นี้ จึงไม่ใช้ในการเจริญมรณัสสติ ส่วนชีวิตตินทริยุปัจเฉทมรณะนั้น เป็น มรณะท่ีเกี่ยวขอ้ งกับบคุ คลท่ัวไป และมีอยู่ ๒ ประการคอื กาลมรณะ กับ อกาลมรณะ กาลมรณะ ไดแ้ ก่ การตายดว้ ยส้นิ บญุ หรือ สน้ิ อายุ หรอื สิน้ ทง้ั บญุ สน้ิ ทง้ั อายทุ ง้ั ๒ อกาลมรณะ ไดแ้ ก่ การตายดว้ ยอปุ ทั เฉทกกรรม คอื อปุ ัทวเหตตุ ่าง ๆ น้นั เอง ซึ่งผู้เจรญิ มรณัสสติใชร้ ะลกึ ไดท้ ง้ั ๒ ประการ๓๐64 พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน ปฐมมรณัสสติสูตร ว่า “ภิกษุท้ังหลาย มรณัสสติท่บี คุ คลเจริญทำ� ให้มากแลว้ ย่อมมผี ลมาก มอี านิสงส์มาก หยง่ั ลงสู่อมตะ มอี มตะเป็นท่สี ดุ เธอทัง้ หลายเจริญมรณัสสตอิ ยหู่ รอื ไม่” เมอ่ื พระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ได้มีภิกษุหลายรูปต่างก็ทูลตอบตาม แนวคดิ ทต่ี นไดป้ ฏบิ ตั ดิ งั เชน่ ภกิ ษรุ ปู หนง่ึ ไดก้ ราบทลู พระผมู้ พี ระภาควา่ “ขา้ แตพ่ ระองค์ผ้เู จริญ ขา้ พระพทุ ธเจา้ ได้เจริญมรณสั สติวา่ ‘เราพงึ เป็นอย่ไู ด้ คนื หน่งึ และวันหน่ึง เราพงึ มนสิการถงึ ค�ำสอนของพระผู้มพี ระภาค เราพงึ ทำ� กจิ ใหม้ าก’ ภิกษุรูปทสี่ องกราบทลู ว่า “ข้าแต่พระองคผ์ ู้เจริญ ขา้ พระพทุ ธเจา้ ได้ เจริญมรณสั สติว่า ‘เราพงึ เปน็ อยไู่ ด้วนั หนง่ึ เราพึงมนสกิ ารถึงคำ� สอนของ พระผมู้ พี ระภาค เราพงึ ทำ� กจิ ให้มาก’ ๓๐ พระสทั ธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถโชตกิ ะ ปริเฉทที่ ๙ เล่ม ๑ สมถกรรมฐานทปี นี, พมิ พค์ รั้งท่ี ๔, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธ,์ิ ๒๕๓๙), หนา้ ๑๓๖.

19 บนั ทกึ กระบวนการเรยี นรูเ้ พอ่ื การเปล่ยี นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชงิ ปฏิบัตกิ ารชน้ั เรียนจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก ภิกษุรูปท่ีสามกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ไดเ้ จริญมรณัสสตวิ ่า ‘เราพงึ เปน็ อยูไ่ ดก้ ง่ึ วัน เราพึงมนสิการถึงคำ� สอนของ พระผ้มู พี ระภาค เราพึงทำ� กิจให้มาก’ ภิกษุรูปที่สี่กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ เจริญมรณสั สตวิ ่า ‘เราพึงเปน็ อยูไ่ ดเ้ พยี งช่ัวขณะฉนั บิณฑบาตมื้อหนง่ึ เรา พึงมนสกิ ารถงึ คำ� สอนของพระผู้มพี ระภาค เราพึงทำ� กจิ ให้มาก’ ภิกษรุ ปู ทีห่ า้ กราบทลู ว่า “ข้าแตพ่ ระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจา้ ได้ เจรญิ มรณัสสตวิ า่ ‘เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชว่ั ขณะฉนั บิณฑบาตครงึ่ หนึ่ง เรา พงึ มนสกิ ารถึงคำ� สอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำ� กิจใหม้ าก’ ภกิ ษุรปู ทห่ี กกราบทูลว่า “ขา้ แต่พระองคผ์ เู้ จรญิ ขา้ พระพทุ ธเจ้าได้ เจรญิ มรณสั สตวิ ่า ‘เราพึงเป็นอยู่ไดเ้ พยี งช่วั ขณะเค้ียวกนิ คำ� ข้าว ๔-๕ คำ� เราพงึ มนสกิ ารถึงคำ� สอนของพระผ้มู ีพระภาค เราพงึ ทำ� กิจใหม้ าก’ ภิกษุรูปท่ีเจ็ดกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ไดเ้ จริญมรณสั สตวิ า่ ‘เราพงึ เปน็ อยูไ่ ด้เพียงชัว่ ขณะเคีย้ วกินค�ำข้าว ๑ ค�ำ เราพงึ มนสกิ ารถึงคำ� สอนของพระผมู้ ีพระภาค เราพงึ ทำ� กจิ ใหม้ าก’ ภิกษุรูปท่ีแปดกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ได้เจริญมรณัสสติว่า ‘เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะหายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการถึงค�ำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพงึ ทำ� กจิ ให้มาก’ เม่ือภิกษุเหล่านนั้ กราบทลู อย่างน้ีแล้ว พระผมู้ ีพระภาคจึงได้ตรสั วา่ “ภกิ ษทุ งั้ หลาย ภกิ ษุรปู ที่เจรญิ มรณัสสติ เหมอื นคำ� กราบทูลของ ภกิ ษรุ ปู ทหี่ น่ึง ถงึ รปู ทห่ี กนี้ ยังเป็นผปู้ ระมาทอยู่ เจรญิ มรณัสสติอยา่ งเพลาคอื ยัง น้อยอยู่

20 บนั ทึกกระบวนการเรียนรเู้ พ่ือการเปล่ยี นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจยั เชงิ ปฏิบัตกิ ารชั้นเรียนจิตวิทยาในพระไตรปิฎก ส่วนภิกษุรูปท่ีเจ็ด เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็น อยู่ได้เพียงช่ัวขณะเคี้ยวกินค�ำข้าว ๑ ค�ำ เราพึงมนสิการถึงค�ำสอนของ พระผู้มพี ระภาค เราพงึ ท�ำกจิ ใหม้ ากหนอ’และภกิ ษรุ ูปท่แี ปด เจริญมรณัส สตอิ ยา่ งนีว้ ่า ‘โอหนอ เราพงึ เป็นอยู่ไดเ้ พียงช่ัวขณะหายใจเขา้ หายใจออก หรือหายใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการถึงค�ำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพงึ ทำ� กิจใหม้ ากหนอ’ ภิกษุทง้ั ๒ รูปนีเ้ ปน็ ผู้ไม่ประมาทอยู่ เจริญมรณั สสตอิ ย่างแรงกลา้ เพ่อื ความสิ้นอาสวะท้งั หลาย ในทีส่ ดุ พระพทุ ธองคท์ รง เตอื นให้ ภกิ ษทุ ง้ั หลายระลกึ อยเู่ สมอวา่ ‘เราทง้ั หลายจกั เปน็ ผไู้ มป่ ระมาทอยู่ จักเจริญมรณสั สติอย่างแรงกลา้ เพ่ือความสิ้นอาสวะท้ังหลาย’๓๑65 และเน่ืองจาก มีภัยภยันตรายอยู่รอบตัว พระพุทธองค์จึงทรง พระเมตตาเตือนไว้ในทุติยมรณัสสติสูตรให้ ภิกษุท้ังหลาย หม่ันเจริญ มรณัสสติ วา่ เมื่อกลางวนั ผ่านไป กลางคนื ย่างเขา้ มา ภัยต่างๆก็ปรากฎจงึ ควรพจิ ารณาดังนี้วา่ ‘ปัจจัยแหง่ ความตายของเรามมี ากแท้ คอื งูพึงกดั เรา กไ็ ด้ แมงปอ่ งพงึ ตอ่ ยเราก็ได้ หรอื ตะขาบพงึ กัดเรากไ็ ด้ เพราะเหตนุ นั้ เรา พึงตาย เราพงึ มอี ันตรายนั้นเราพึงพลาดหกลม้ ก็ได้ ภัตตาหารทีเ่ ราฉันแล้ว ไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงก�ำเริบก็ได้ เสมหะของเราพึงก�ำเริบก็ได้ ลม มพี ษิ ดงั ศสั ตราของเราพงึ กำ� เรบิ กไ็ ด้ พวกมนษุ ยพ์ งึ ทำ� รา้ ยเรากไ็ ด้ หรอื พวก อมนุษย์พึงทำ� รา้ ยเราก็ได้ เพราะเหตุน้นั เราพงึ ตายเราพงึ มีอันตรายนั้น’ และถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างน้ีว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เรายังละ ไมไ่ ด้ ซง่ึ จะพงึ เปน็ อนั ตรายแกเ่ ราผจู้ ะตายในเวลากลางคนื ยงั มอี ย’ู่ ภกิ ษนุ น้ั ควรท�ำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมกั เขมน้ ความ ไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพ่ือละบาปอกุศลธรรม เหลา่ น้นั ๓๑ อง.ฺ อฏฺ ก.(ไทย)๒๓/๗๓/ ๓๘๒-๓๘๕.

21 บันทกึ กระบวนการเรยี นรู้เพอื่ การเปลย่ี นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชงิ ปฏบิ ตั กิ ารชนั้ เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปฎิ ก ถ้าภิกษุพิจารณาอย่รู ูอ้ ย่างน้ีว่า ‘บาปกศุ ลธรรมทีเ่ รายงั ละไมไ่ ด้ ซึ่ง จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้จะตายในเวลากลางคืนไม่มี’ ภิกษุน้ันพึงเป็น ผมู้ ปี ตี แิ ละปราโมทยน์ น้ั แล ตามสำ� เหนยี กในกศุ ลธรรมทง้ั หลายทง้ั กลางวนั และกลางคนื อย่เู ถิด๓๒66 วิถีแห่งมรณัสสติท่ีพระพุทธองค์ทรงด�ำเนินและตรัสส่ังสอนสาวก ตั้งแต่ครั้งพทุ ธกาลนัน้ ก็ยงั คงเปน็ ปฏปิ ทาใหแ้ กพ่ ทุ ธสาวกของพระองคใ์ น กาลปัจจุบัน ดงั ทีห่ ลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ไดแ้ สดงธรรมไว้ดงั น้ี หลวงปเู่ ทสก์ เทสรังสี วัดหนิ หมากเปง้ จ.หนองคาย ได้แสดงธรรม ณ วดั หินหมากเป้ง เมอ่ื วันที๗่ ตลุ าคม ๒๕๑๕ วา่ มรณสติ คอื ระลึกถึง ความตายเป็นอารมณ์เป็นกัมมัฏฐานชั้นสูงสุด เพราะว่าเม่ือระลึกถึงความ ตายเป็นอารมณ์แล้ว จิตก็จะสลดสังเวชถอนจากอารมณ์อื่นๆ ถ้าหากเรา ไม่ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จิตจะเพลิดเพลนิ ลุ่มหลงมัวเมา ประมาท เพราะคนเรารกั ชวี ติ ความตายเปน็ การดำ� เนนิ ถงึ ทสี่ ดุ ของชวี ติ คนเรา เมอื่ เปน็ เช่นนี้ นอกจากความตายแล้วก็ไม่มอี ะไรเหลืออยู่อกี สงิ่ ทง้ั ปวงทีเ่ กย่ี วขอ้ ง พวั พันอยนู่ ้ลี ้วนแล้วแตเ่ ป็นของทง้ิ ทัง้ หมด ถงึ ไม่อยากทิ้งมัน ก็ต้องละไป โดยปริยาย เราตายแลว้ มันก็ทอดท้งิ ลงทนั ที จึงวา่ มรณสติ น้นั เปน็ ยอด ของกมั มฏั ฐาน พอพจิ ารณาถึงความตาย หรือมรณสติ จนจิตสลดสังเวช แลว้ หลงั จากนัน้ จิตจะสงบเยน็ อารมณ์ทงั้ หลายทว่ี นุ่ วายสง่ สา่ ยเกย่ี วข้อง ด้วยเรื่องภายนอกต่างๆ จะหายหมด เมื่อผู้ใดพิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกน้ันจึงจะเป็น ผ้ไู มป่ ระมาท หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแลว้ ไมห่ ายใจ เข้า ก็ตาย เปน็ อยู่อย่างน้ี เรยี กว่าเป็นผู้ ไมป่ ระมาท แท้ทจ่ี รงิ ความตาย ๓๒ องฺ. อฏฺ ก.(ไทย) ๒๓/๗๔/๓๘๕-๓๘๘.

22 บันทกึ กระบวนการเรียนรเู้ พ่อื การเปลยี่ นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจัยเชงิ ปฏิบตั ิการช้ันเรียนจติ วิทยาในพระไตรปิฎก นั้นไม่เท่าไรหรอก ก่อนท่ีจะตายนั่นสิมันส�ำคัญ จะต้ังสติรักษาจิตด้วย อาการอย่างไรให้มันคงท่ี จะไม่ให้หว่ันไหว ตรงนั้นมันส�ำคัญท่ีสุด๓๓67 การเจรญิ มรณสั สติ ผูเ้ จรญิ ตอ้ งพจิ ารณาศพทีอ่ ยู่เฉพาะหนา้ หรือ ระลกึ ถงึ คนทต่ี ายไปแลว้ ทมี่ ยี ศ มอี ำ� นาจ มที รพั ยส์ มบตั ิ แลว้ กน็ กึ บรกิ รรม อยูใ่ นใจวา่ “มรณํ เม ภวสิ สฺ ติ, ชวิ ิตินทฺ รยิ ํ อปุ จฺฉิชชฺ ิสสฺ ติ” เราจะต้องตาย รปู ชวี ติ นามชวี ติ จะตอ้ งขาดจากกนั อยอู่ ยา่ งนเ้ี รอื่ ยๆ ไป หรอื จะบรกิ รรม ว่า “มรณํ เม ธวุ ํ ชวี ติ ํ เม อธุวํ” ความตายเป็นของแน่ ความมีชวี ติ อยู่เปน็ ของไมแ่ น่ การเจรญิ นี้ ผเู้ จริญจะระลึกนึกบรกิ รรมไปเฉย ๆ นน้ั ไมไ่ ด้ จะตอ้ ง มีโยนิโสมนสิการประกอบไปด้วย ถ้าระลึกนึกอยู่โดยไม่มีโยนิโสมนสิการ แล้ว ปัญญาท่ีเกี่ยวด้วยความสังเวชสลดใจย่อมไม่เกิด และจะกลับเป็น โทษเกิดข้นึ กล่าวคือ เมอ่ื นึกถงึ ความตายของคนท่ตี นรักใครช่ อบพอแล้ว ความเศรา้ โศกเสยี ใจกจ็ กั เกดิ ขนึ้ เมอ่ื นกึ ถงึ ความตายของผทู้ เ่ี ปน็ ศตั รคู วาม ดีใจกจ็ ักเกดิ ขนึ้ เมอื่ นึกถงึ ความตายของคนท่ีตนไม่รกั ไมเ่ ปน็ ศตั รู กจ็ ะร้สู กึ เฉยๆ เมือ่ นกึ ถงึ ความตายของตนเอง กจ็ ะเกิดความกลัว ความรู้สึกเหล่านี้ เปน็ โทษทีเ่ กิดจากการไม่มโี ยนิโสมนสิการ สว่ นการเจรญิ ทป่ี ระกอบดว้ ยโยนโิ ส มนสกิ ารนนั้ ผเู้ จรญิ มกี ารระลกึ นกึ ถงึ แตค่ วามตายอยา่ งเดยี วเทา่ นนั้ ไมว่ า่ จะเปน็ ความตายของบคุ คลจำ� พวกใด เมอ่ื ระลกึ นกึ อยแู่ ตใ่ นความตายอยา่ ง เดยี ว ไมเ่ กยี่ วดว้ ยความรกั ความชงั หรอื เปน็ ศตั รแู ลว้ ความสงั เวชสลดใจก็ จะบงั เกดิ ขน้ึ ความรสู้ กึ นจ้ี งึ เปน็ การระลกึ ทปี่ ระกอบดว้ ยโยนโิ สมนสกิ าร๓๔68 ๓๓ ปฐม และภัทรา นคิ มานนท์ (เรยี บเรยี ง), โครงการหนังสือบูรพาจารย์หลวงปเู่ ทสก์ เทสรังส,ี (กรุงเทพมหานคร: บ.พี.เอ.ลีฟวงิ่ จ�ำกดั , ๒๕๔๘), หน้า ๕๔๑ – ๕๕๑. ๓๔ พระสทั ธมั มโชติกะ ธมั มาจรยิ ะ, ปรมัตถโชติกะ ปรเิ ฉทที่ ๙ เล่ม ๑ สมถกรรมฐานทีปนี, หนา้ ๑๓๖ - ๑๓๗.

23 บันทกึ กระบวนการเรียนรเู้ พอ่ื การเปล่ยี นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวจิ ยั เชงิ ปฏิบตั ิการช้นั เรยี นจติ วทิ ยาในพระไตรปฎิ ก จากที่กล่าวมาน้ี หลักธรรมมรณัสสติมีความสอดคล้องต่อการ น�ำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพ่ือการเปลี่ยนแปลง ภายใน เพื่อเปิดโอกาสแกผ่ ูเ้ ขา้ ร่วมกระบวนการได้พจิ ารณาด้วยใจของตน เรียนรู้ท่ีจะวางใจให้เป็นสุขในทุกสถานการณ์ที่เกิดข้ึนกับชีวิต เรียนรู้ด้วย ใจอยา่ งใครค่ รวญ เรยี นรู้ด้วยการยอมรบั และกล้าเผชิญหน้าทกุ ความจริง ของชวี ติ ดว้ ยใจท่ีปล่อยวาง

๓ กระบวนการเรยี นรู้ เพอื่ การเปลี่ยนแปลงภายใน การวจิ ยั เชงิ ปฏบิ ัตกิ าร (Action Research) ช้นั เรียนจติ วิทยา ในพระไตรปิฎก : กระบวนการเรียนรู้เพ่ือการเปล่ียนแปลงภายในแนว พทุ ธ เปน็ การวจิ ยั ในชน้ั เรยี นทอ่ี อกแบบกระบวนการเรยี นรเู้ พอ่ื ใหน้ สิ ติ ทล่ี ง เรียนรายวิชาจิตวิทยาในพระไตรปิฎกได้เชื่อมโยงองค์ความรู้ท่ีเรียนจาก ตำ� รากบั การดำ� เนนิ ชวี ติ จรงิ เพอื่ ใหน้ สิ ติ ไดค้ น้ พบตวั ตนทแ่ี ทจ้ รงิ ของตนเอง ในหลากมติ ิ ท้ังทางกาย ทางอารมณ์ ทางสงั คม ทางปญั ญา และทางจติ วิญญาณ โดยผ่านกจิ กรรมการเรยี นรทู้ ี่ออกแบบโดยคณะผวู้ จิ ัย การเรยี นรสู้ ว่ นหนงึ่ ของชน้ั เรยี นจติ วทิ ยาในพระไตรปฎิ ก กค็ อื การ ศกึ ษาจติ วทิ ยาตะวนั ตกและจติ วทิ ยาทปี่ รากฏในพระไตรปฎิ ก องคค์ วามรทู้ ี่ เรยี นภายในชน้ั เรยี นจงึ ผสมผสานระหวา่ งศาสตรท์ ง้ั สอง และเชอื่ มโยงสวู่ ถิ ี การด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ ความเข้าใจธรรมดาของโลก และการรับรู้โลก ซงึ่ ในงานชน้ิ นมี้ งุ่ เนน้ องคค์ วามรเู้ รอ่ื งการรบั รโู้ ลก เนอ่ื งจากแนวคดิ Trans- formative Learning มุง่ ไปท่ีการปรับเปลย่ี นมมุ มองทีม่ ีตอ่ โลกและชวี ิต องค์ความรู้เรื่องการรับรู้ในพุทธจิตวิทยา พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไว้ในหมวดธรรมอายตนะ เริ่มจากจำ� แนกอายตนะออกเป็น ๒ ประเภท คอื อายตนะภายในกับอายตนะภายนอก๓๕ ๓๕ ดร.อยษุ กร งามชาต,ิ พทุ ธจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก, (กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พ์ บรษิ ทั พิมพ์ สวย จำ� กัด, ๒๕๕๗) ,หนา้ ๔๕

25 บันทึกกระบวนการเรียนรู้เพอ่ื การเปลีย่ นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวจิ ัยเชิงปฏิบัตกิ ารชั้นเรยี นจติ วทิ ยาในพระไตรปฎิ ก การรับรู้โลกและสิ่งต่างๆ ของผู้คนทั่วไปนั้นอาศัยอุปกรณ์ในการ รับรู้ท่ีอยภู่ ายในร่างกาย คือตา หู จมูก ลิน้ กาย และใจ พระพุทธศาสนา เรียกว่า อายตนะภายใน ๖ หรือ ทวาร ๖ สว่ นสงิ่ ที่เข้ามาสู่อายตนะภายใน ทง้ั ๖ นน้ั เรยี กวา่ อายตนะภายนอก หรือ อารมณ์ ไดแ้ ก่ รปู เสียง กลนิ่ รส สัมผสั และธรรมารมณ์ และเมือ่ อายตนะภายในกับอายตนะภายนอก ปฏิบตั ิการร่วมกนั จะเกิดความรู้เฉพาะขึน้ มา เรยี กวา่ วญิ ญาณ หรอื จิต ดังแผนภาพ ก แผนภาพ ก๓๖36 แสดงความสมั พนั ธร์ ะหว่างอารมณ์ (สง่ิ ท่ถี กู รู้) กบั จิต (ตัวร้)ู โดยผา่ นทางทวาร ๖ จากความละเอียดลึกซึ้งของพุทธธรรมยังแสดงให้เห็นว่ามีส่ิงที่ เกิดข้ึนพร้อมความรู้เฉพาะที่เรียกว่า วิญญาณ ด้วย นั่นคือ การจ�ำได้ หมายรู้ ทเี่ รยี กวา่ สญั ญา หรอื สญั ญาเจตสกิ ๓๗37 เกดิ ขน้ึ ขณะปฏบิ ตั กิ ารรว่ ม ๓๖ www.buddism-online.org ๓๗ สญั ญาเจตสกิ หมายถงึ อาการแหง่ จติ หรือวิญญาณที่แสดงพฤติกรรมออกมาเป็นความก�ำหนด หมาย จำ� ได้ หมายรู้ ซงึ่ เกดิ พร้อมกบั วญิ ญาณ ๖ , ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๕๐/๔๙๐.

26 บนั ทกึ กระบวนการเรียนรเู้ พอ่ื การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ: การวิจยั เชิงปฏบิ ตั กิ ารช้ันเรียนจติ วทิ ยาในพระไตรปฎิ ก กนั นอกจากนใ้ี นการปฏบิ ตั กิ ารรว่ มกนั ระหวา่ งอายตนะภายในกบั อายตนะ ภายนอกจนเกิดวิญญาณขึ้นรับรู้น้ัน พุทธธรรมยังให้ความส�ำคัญแก่การ ประจวบเหมาะในการกระทบกนั ท่เี รยี กวา่ ผสั สะ องค์ความรูใ้ นเรื่องการรบั รู้ นี้ ผัสสะจะมงุ่ ไปในความหมาย การ ประจวบเหมาะแหง่ องคป์ ระกอบสามประการ คอื อายตนะภายใน อายตนะ ภายนอก และวญิ ญาณ๓๘ 38ดงั นัน้ ผสั สะจงึ สามารถจำ� แนกตามทิศทางแห่ง อายตนะได้ ๖ ประการ ไดแ้ ก่ การสมั ผสั ทางตา (จกั ขสุ มั ผสั ) การสมั ผสั ทาง หู (โสตสัมผัส) การสัมผสั ทางจมูก (ฆานสมั ผสั ) การสัมผัสทางล้ิน (ชิวหา สมั ผสั ) การสมั ผสั ทางกาย (กายสมั ผสั ) และการสมั ผสั ทางใจ (มโนสมั ผสั )๓๙93 แผนภาพ ข๔๐40 แสดงความสัมพันธ์การประจวบเหมาะแห่งองค์ประกอบ ๓ ประการ ระหว่างอายตนะภายนอก ๖ อายตนะภายใน ๖ วญิ ญาณ ๖ อายตนะภายนอก (อารมณ์) กระทบ (ผัสสะ) อายตนะภายใน(ทวาร) จติ (วญิ ญาณ) รูป........................................ จกั ขุสัมผัส ตา............................... รเู้ หน็ เสยี ง..................................... โสตสัมผสั หู.................................. รู้ไดย้ ิน กลน่ิ ..................................... ฆานสัมผสั จมกู ............................. รกู้ ลิน่ รส........................................ ชวิ หาสัมผสั ล้นิ ................................ รูร้ ส โผฏฐัพพะ............................ กายสัมผัส กาย.............................. รู้สมั ผสั ธรรมารมณ.์ ......................... มโนสัมผัส ใจ................................... ร้สู ึกนึกคดิ ๓๘ อภ.ิ สงฺ.อ. (ไทย) ๑/๑/๒๔๒. ๓๙ ส.ํ น.ิ (ไทย) ๑๖/๒/๖ ๔๐ อ้างจาก ดร.อยษุ กร งามชาต,ิ พุทธจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก, หนา้ ๔๘.

27 บันทึกกระบวนการเรียนรูเ้ พื่อการเปล่ยี นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวจิ ัยเชิงปฏบิ ัติการชนั้ เรยี นจิตวทิ ยาในพระไตรปิฎก กระบวนการรับรู้โลกแห่งปรากฏการณ์นั้นมีปัจจัยท่ีเก่ียวข้องกัน อยา่ งส�ำคัญ ๒ ประการ คือ ๑. จิต คือผูร้ ู้ ๒. อารมณ์ คือสงิ่ ท่ถี ูกจิตรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับอารมณ์นั้นมีลักษณะที่จะอยู่ด้วยกัน เป็นคเู่ สมอ เรื่อยไปทุกขณะจติ และการทำ� หนา้ ทร่ี ู้อารมณ์ของจติ มคี �ำทใี่ ช้ เรยี กแทนกันไดว้ ่า วญิ ญาณ๔๑ เชน่ ในขณะทเ่ี ราเหน็ สนุ ขั กำ� ลงั เหา่ ตา ซง่ึ เปน็ อายตนะภายใน กระทบ กบั รปู ซง่ึ เป็นอายตนะภายนอก หรอื อารมณ์ เกิดผสั สะขึน้ จกั ขวุ ิญญาณ เกิด คอื รู้เห็น เปน็ ขณะจติ หนง่ึ และ หู ซ่งึ เป็นอายตนะภายใน กระทบกับ เสียง ซง่ึ เป็นอายตนะภายนอก หรอื อารมณ์ เมื่ออายตนะภายในกระทบ กบั อายตนะภายนอก เกดิ ผสั สะขน้ึ โสตวญิ ญาณจงึ เกดิ ขน้ึ คอื รไู้ ดย้ นิ เปน็ ขณะจติ หน่งึ จิตที่เกิดข้ึนในขณะเห็น กับ ได้ยิน เป็นจิตท่ีเกิดข้ึนต่างขณะกัน และแต่ละขณะจะสามารถรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว คือวิถีจิตที่รับรู้ เสียง เป็นคนละวิถีท่ีรับรู้สีสัน คือขณะเม่ือมองเห็นรูปารมณ์นั้น ไม่ได้ ยินสัททารมณ์ และในทางกลับกัน ขณะท่ีได้ยินเสียง ก็ไม่เห็นรูป แต่ เปน็ การเปลีย่ นสลบั ไปมาระหวา่ งการรบั รู้ ๒ ทวารของตัวเรา แตเ่ พราะจิต เกิดดับเร็วมาก ในขณะดีดน้ิวครั้งเดียว จิตเกิดข้ึนหลายโกฏิแสนดวง๔๒ หมายความว่า จติ เกดิ ดับประมาณ ๑ ลา้ นล้านครั้งต่อเวลา ๑ ลัดน้วิ มอื ๔๓34 ๔๑ ส.ํ น(ิ ไทย) ๑๖/๖๑/๑๑๕, สํ.นิ.อ. (ไทย) ๒/๒๙๓. ๔๒ ส.ํ นิ.อ.(ไทย) ๒/๒๙๘ ๔๓ โกฏิแสน หมายถึง หน่ึงแสนของโกฏิ , หนง่ึ โกฏิ มคี ่าเทา่ กับ สบิ ล้าน ดงั น้นั โกฏิแสน มคี า่ เท่ากับ ลา้ นลา้ น.

28 บันทกึ กระบวนการเรียนรูเ้ พอ่ื การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจยั เชงิ ปฏิบตั ิการชัน้ เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปฎิ ก ด้วยเหตุน้ีจึงท�ำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าการเห็นกับการได้ยินเกิดข้ึนพร้อม กัน ดังน้ัน ในชีวิตประจ�ำวันของบุคคลทั่วๆ ไปจึงไม่สามารถรู้เท่าทัน ปรากฏการณ์ในแต่ละขณะจิตได้ แต่รับรู้ผลรวมซึ่งเป็นความรู้สึกนึกคิด ตามการปรุงแต่งของจิตเรียบร้อยแล้ว แต่บุคคลผู้ฝึกฝนสติจะตรวจสอบ ได้ถึงความรวดเร็วในการเกดิ ดับของจติ ๔๔44 กระบวนการรับรู้เป็นปัจจยั ใหเ้ กิดความรูส้ กึ ตอ่ ส่ิงท่รี บั ร๔ู้ ๕45 ผัสสะเป็นกระบวนธรรมที่ส�ำคัญในการเกดิ การรับรู้ เมื่อผสั สะเกดิ ขึ้นกระบวนธรรมต่อไป ก็คือความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้ ความรู้สึกน้ีใน ภาษาธรรม เรยี กว่า “เวทนา” เวทนา คือ การเสวยอารมณ์๔๖46หมายถึงความรู้สึกสุข ทุกข์ และเฉยๆ ท่ีเกิดจากการมีผัสสะ๔๗47วิภังคสูตรอธิบายว่า เวทนามี ๖ ประการ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากการสัมผัสทาง ตา) โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ฆานสัมผัสสชา เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก) ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนา เกิดจากสัมผัสทางลิ้น) กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัส ทางกาย) และมโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ)๔๘ ๔๔ ดร.อยุษกร งามชาต,ิ พุทธจิตวทิ ยาในพระไตรปฎิ ก , หนา้ ๔๙. ๔๕ ดร.อยษุ กร งามชาติ, พุทธจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก, หนา้ ๕๗-๖๐. ๔๖ เวทนา มีความหมาย ๓ ประการคอื ๑. สภาวะเสวยอารมณ์ = เวทยตตี ิ เวทนา ๒. สภาวะที่ ทำ� ใหเ้ หล่าสตั วเ์ กดิ ความรสู้ ึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ = วนิ ฺทนฺติ เอตาย สตตฺ า สาตํ วา อสาตํ วา ลภนตฺ ตี ิ เวทนา ๓. การเสวยอารมณ์ = เวทยติ ํ เวทนา, ปรมตถฺ . (ไทย) ๒๕๖. ๔๗ บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏจิ จสมุปบาท, หนา้ ๔๗-๕๐, วชั ระ งามจิตรเจรญิ , พุทธศาสนาเถรวาท, หนา้ ๒๑๐. ๔๘ สํ.นิ. (ไทย) ๑๖/๒/๖.

29 บนั ทกึ กระบวนการเรียนร้เู พ่อื การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชิงปฏิบัติการชนั้ เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปิฎก เช่นเดียวกับในสุตตันตภาชนีย์๔๙49พระสัทธัมมโชติกะได้อธิบายขยาย ความว่า เวทนา ๖ ท่ีเกิดข้ึนนั้น เกิดขึ้นโดยอาศัยผัสสะเป็นเหตุ๕๐ ดังปรากฏในคัมภีร์วิภังค์ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาท่ีมีผัสสะเป็น เหตจุ งึ มี๕๑ โดยมีการเสวยอารมณ์ ๓ ประการคือ ๑) สขุ เวทนา ความ รู้สึกสบายกายสบายใจเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ท่ีถูกใจ ๒) ทุกขเวทนา ความรู้สึกไมส่ บายกายไม่สบายใจเมอื่ ได้ประสบกบั อารมณท์ ่ีไมถ่ กู ใจ และ ๓) อเุ บกขาเวทนา ความร้สู ึกเฉยๆ เมอ่ื ไดป้ ระสบกับอารมณ์ปานกลาง๕๒ กระบวนธรรมเวทนาเป็นจุดส�ำคัญหนึ่งที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดผล สบื เนอ่ื งวา่ จะเกดิ เป็นกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก (สังสารวัฏฏ์) หรือ กระบวนธรรมแบบญาณทศั นะ (วิวัฏฏ)์ กระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลกกค็ อื เมอ่ื รบั รอู้ ารมณอ์ ยา่ งใดอยา่ ง หนง่ึ ทด่ี ี (อิฏฐารมณ์) แล้วเกดิ ความรูส้ กึ สุขใจ สบายใจ พอใจ (สุขเวทนา) จงึ ตดิ ใจ ใจพัวพันอยากใหอ้ ารมณ์นน้ั คงอยตู่ ลอด (ตณั หา) ยึดตดิ ถอื มน่ั ในอารมณน์ ัน้ อยา่ งไม่อาจวางลงได้ คา้ งใจอยูเ่ ชน่ น้ัน (อปุ าทาน) กระบวน ธรรมน้ีย่อมก่อให้เกิดผลคือทุกข์ตามมา และจะวนเวียนซ้�ำซากในวงจร น้ีเป็นสังสารวัฏฏ์ หมุนวนไปในวงจรปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์ ตามหลัก ปฏจิ จสมปุ บาท ตณั หาเกดิ จากเวทนาเปน็ ปจั จยั ๕๓ โดยมอี วชิ ชาเปน็ มลู ราก๕๔45 ๔๙ อภ.ิ ว.ิ (ไทย) ๓๕/๒๓๑/๒๒๑. ๕๐ ส.ํ น.ิ (ไทย) ๑๖/๒/๖.พระสทั ธมั มโชติกะ ธมั มาจรยิ ะ, ปรมตั ถโชติกะ ปฏจิ จสมุปบาททปี น,ี หนา้ ๖๘-๗๐. ๕๑ สํ.น.ิ (ไทย) ๑๖/๒/๖. อภิ.ว.ิ (ไทย) ๓๕/๒๕๗/๒๔๒. ๕๒ ส.ํ นิ. (ไทย) ๑๖/๓๒/๖๕, สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๒๙/๒๙, ๑๖๙/๙๘, ๑๙๒/๒๙๓, ๔๑๕/๒๗๒, ขุ.อิ ต.ิ (ไทย) ๒๕/๕๒-๕๓/๔๐๕-๔๐๗, พระสัทธมั มโชตกิ ะ ธัมมาจรยิ ะ, ปรมัตถโชตกิ ะ ปฏจิ จสมุ ปบาททีปนี, หน้า ๖๘-๗๐. ๕๓ วิสุทธฺ .ิ (ไทย) ๖๔๔/๙๔๔. ๕๔ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, หนา้ ๔๙๐.

30 บนั ทกึ กระบวนการเรยี นรู้เพือ่ การเปล่ยี นแปลงภายในแนวพุทธ: การวิจยั เชงิ ปฏิบัติการช้ันเรียนจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก เช่น การได้เห็นรปู สวย พอใจ ติดใจในรูปสวยนนั้ (รปู ตณั หา) การไดย้ ิน เสียงไพเราะ พอใจ ติดใจในเสียงไพเราะนั้น (สัททตัณหา) เป็นต้น๕๕ ซง่ึ ความพอใจ ตดิ ใจ ใฝร่ กั อยากได้น้นั เกดิ ขน้ึ เพราะเม่อื เสพอารมณ์ที่ น่ารัก นา่ ปรารถนานนั้ แล้ว ทำ� ใหเ้ กิดความร้สู กึ สุข (สขุ เวทนา) จงึ อยาก เสพเสวยสขุ เวทนา๕๖ นัน้ เรอ่ื ยไป ดงั นเ้ี ป็นลกั ษณะของตัณหาทีม่ ีเวทนาเป็น ปจั จยั แตห่ ากเรารับรอู้ ารมณท์ ีม่ ากระทบด้วยสติ กระบวนการรับรูจ้ ะเกดิ ขนึ้ อย่างรูเ้ ทา่ ทันตามสภาวะความเปน็ จรงิ รบั รู้ส่ิงเกดิ ขนึ้ แลว้ ปลอ่ ยวางได้ ไม่น�ำไปสกู่ ระบวนการแหง่ ทกุ ข์ เป็นกระบวนธรรมแบบญาณทศั นะ เขียน แผนภาพแสดงได้ ดงั นี้ ๕๕ ตณั หา จ�ำแนกตามอารมณ์ มี ๖ อย่าง คือ ๑. รปู ตัณหา คือความยินดีตดิ ใจในรูปารมณ์ (รูป) ๒. สัททตณั หา คือความยนิ ดตี ิดใจในสทั ทารมณ์ (เสยี ง) ๓. คนั ธตัณหา คอื ความยินดตี ิดใจในคนั ธารมณ์ (กล่นิ ) ๔. รสตัณหา คอื ความยนิ ดตี ดิ ใจในรสารมณ์ (รส) ๕. โผฏฐัพพตณั หา คอื ความ ยนิ ดตี ิดใจในโผฏฐพั พารมณ์ (สัมผัส) ๖. ธมั มตัณหา คือความยินดีตดิ ใจในธรรมารมณ์ (เรอ่ื ง ราวในใจ), สํ.นิ. (ไทย) ๑๖/๒/๕, อภิ.ว.ิ (ไทย) ๓๕/๒๓๒/๒๒๑, วิสุทฺธิ. (ไทย) ๖๔๔/๙๔๔- ๙๔๖. ๕๖ วภิ งั คสตู รอธบิ ายว่า เวทนามี ๖ ประการ คอื ๑. จักขสุ ัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกดิ จากการ สมั ผสั ทางตา) ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกดิ จากสมั ผัสทางห)ู ๓. ฆานสมั ผัสสชาเวทนา (เวทนาเกดิ จากสัมผัสทางจมูก) ๔. ชิวหาสมั ผัสสชาเวทนา (เวทนาเกดิ จากสัมผสั ทางล้นิ ) ๕. กายสัมผสั สชาเวทนา (เวทนาเกดิ จากสัมผสั ทางกาย) ๖. มโนสมั ผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจาก สัมผสั ทางใจ) เช่นเดยี วกับในสุตตันตภาชนยี ์ ส่วนในกาฬารสตู รและเวทนาสูตรอธบิ ายว่า เวทนา มี ๓ ประการ คือ ๑.สุขเวทนา ๒. ทกุ ขเวทนา ๓. อทุกขมสขุ เวทนา, สํ.น.ิ (ไทย) ๑๖/๒/๖, ส.ํ นิ. (ไทย) ๑๖/๓๒/๖๕, สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๒๙/๒๙, ๑๖๙/๙๘, ๑๙๒/๒๙๓, ๔๑๕/๒๗๒, ขุ.อิติ. (ไทย) ๒๕/๕๒-๕๓/๔๐๕-๔๐๗, อภ.ิ ว.ิ (ไทย) ๓๕/๒๓๑/๒๒๑.

31 บนั ทกึ กระบวนการเรียนรูเ้ พอื่ การเปล่ยี นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจัยเชิงปฏบิ ัติการช้ันเรียนจติ วิทยาในพระไตรปิฎก แผนภาพแสดงกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏฏ์ และแบบญาณทศั นะ๕๗ อายตนะ + อารมณ์ +วิญญาณ = ผสั สะ เวทนา กระบวนธรรมแบบสงั สารวฏั ฏ์ กระบวนธรรมแบบญาณทศั นะ กระบวนธรรมแบบญาณทัศนะ หรือกระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ หมายความถงึ กระบวนการทนี่ �ำไปส่ขู ัน้ ตอนแหง่ ความพน้ ทุกข์ ไมว่ นเวยี น เป็นวงจรในปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์อีกต่อไป ในแง่ของการใช้ชีวิตใน ปัจจุบนั ก็คอื การมชี ีวิตอยูด่ ้วยปญั ญา ท่านพระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) ใหค้ วามหมายการมชี วี ิต อยดู่ ว้ ยปญั ญาวา่ หมายถงึ การอยอู่ ยา่ งรเู้ ทา่ ทนั สภาวะ และการถอื ประโยชน์ จากธรรมชาติอย่างประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ เป็นการอยู่อย่างอิสระ ไมต่ กอยู่ในอำ� นาจของตัณหาอุปาทาน การมีชวี ิตอยดู่ ้วยปญั ญาจึงเป็นการ อยู่อย่างไม่ยึดม่ันถือม่ัน รับรู้และเก่ียวข้องจัดการกับส่ิงทั้งหลายตามวิถี แหง่ เหตุปัจจัย๕๘ ท่านกล่าวขยายความวา่ การมชี วี ติ อยดู่ ว้ ยปญั ญา เป็นส่งิ ส�ำคญั ยิ่ง ท้ังในฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม ที่จะช่วยให้มนุษย์ถือเอาประโยชน์ได้ทั้ง กระบวนการฝ่ายจิตและกระบวนการฝ่ายวัตถุ ชีวิตแห่งปัญญา จึงเป็น ลักษณะที่มองได้สองดา้ น คอื ด้านภายใน และด้านภายนอก ๕๗ ดดั แปลงจาก พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ. ปยตุ โฺ ต), พทุ ธธรรม ฉบับปรบั ขยาย, พมิ พค์ ร้ังท่ี ๓๒, (กรุงเทพมหานคร : สำ� นักพิมพ์ผลธิ ัมม,์ ๒๕๕๕), หนา้ ๓๖. ๕๘ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยตุ โฺ ต), พทุ ธธรรม, หนา้ ๑๖๖.

32 บนั ทกึ กระบวนการเรยี นร้เู พอ่ื การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ: การวิจยั เชงิ ปฏบิ ตั ิการช้ันเรยี นจติ วิทยาในพระไตรปิฎก ชวี ติ แหง่ ปัญญา ด้านภายใน มีลกั ษณะสงบ เยือกเย็น ปลอดโปรง่ ผอ่ งใส ดว้ ยความรู้เท่าทนั เปน็ อิสระ เมอ่ื เสวยสุขกไ็ มห่ ลงระเรงิ ไมเ่ หลิง ลมื ตวั เมื่อพลาด เม่ือพรากจาก กม็ ั่นคง ปลอดโปรง่ อย่ไู ด้ ไมห่ ว่นั ไหว หรอื หดหู่ ซึมเศรา้ สิ้นหวัง ไมฝ่ ากสุขทุกข์ของตวั ไว้กับอามิสภายนอก ชีวติ แห่งปญั ญา ด้านภายนอก มลี ักษณะคล่องตวั วอ่ งไว พร้อม อยู่เสมอที่จะเข้าเก่ียวข้องและจัดการกับส่ิงท้ังหลายตามที่มันควรจะเป็น โดยเหตผุ ลบรสิ ทุ ธ์ิ ไมม่ เี งอื่ นปม หรอื ความยดึ ตดิ ภายในทเี่ ปน็ นวิ รณท์ ำ� ให้ ล�ำเอียงหรือท�ำให้พร่ามัว๕๙ สิ่งส�ำคัญในท่นี ้ี คือ ความรู้ ท่ีเรียกวา่ ปญั ญา และปญั ญาเปน็ เจตสกิ ฝา่ ยดงี ามทเ่ี ปน็ คณุ สมบตั ขิ องจติ จดั อยใู่ นสงั ขารขนั ธ์ ในหลกั ธรรมขันธ์ ๕ ซง่ึ เป็นกระบวนการในการพฒั นามติ ภิ ายใน เมอื่ บุคคลมคี วามส�ำรวมระวังในอายตนะภายใน คอื ตา หู จมกู ล้นิ กาย ใจ และอายตนะภายนอก คอื รปู เสยี ง กล่ิน รส สมั ผัส สง่ิ นกึ คิดทางใจ กย็ ่อมมชี ีวติ อย่างมีสตใิ นแต่ละขณะปัจจบุ ัน มคี วามสงบสุข ภายใน และจดั การปญั หาภายนอกไดอ้ ยา่ งดี กระบวนการพฒั นามติ ภิ ายใน จึงช่วยให้กระบวนการพฒั นามติ ภิ ายนอกเติบโตอย่างดงี ามได้ ดังน้ันกระบวนการเรียนรู้เพ่ือการเปล่ียนแปลงภายในจึงเป็นเรื่องท่ี ทุกคนควรฝึกฝน เพ่ือไม่ให้อารมณ์ความรู้สึกของตนเองไหลไปสู่ด้านลบ คือ อารมณโ์ กรธ เกลยี ด อิจฉา รษิ ยา หงุดหงิด กงั วล ร�ำคาญใจ อารมณ์ ดา้ นลบเหลา่ นี้ ล้วนประกอบอยใู่ นอกุศลจติ ทำ� ใหจ้ ิตใจของบคุ คลไม่เกิด ภาวะแห่งการเรียนรู้และพัฒนา การฝึกให้ตนเองมีอารมณ์ด้านบวก อาทิ อารมณ์สดชนื่ แจม่ ใส การช่ืนชมตนเองและผอู้ นื่ ความรักความปรารถนาดี ๕๙ เรือ่ งเดียวกัน, หน้า ๑๖๗.

33 บนั ทกึ กระบวนการเรียนรเู้ พ่ือการเปลีย่ นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวจิ ัยเชงิ ปฏบิ ตั กิ ารช้ันเรียนจติ วิทยาในพระไตรปิฎก ทม่ี ใี หแ้ กต่ นเองและผอู้ น่ื จะชว่ ยใหเ้ ราเปดิ หวั ใจมองโลกดว้ ยสายตาทกี่ วา้ ง ข้ึน มีพลังงานเชิงบวกท่ีช่วยให้ผ่อนคลาย มีความเช่ือใจ และไว้วางใจ แม้ก�ำลังเผชิญกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ท่ีเลวร้ายทั้งด้านบุคคลและ สถานท่ี การหาส่ิงชื่นชมได้แมเ้ พียงเลก็ นอ้ ย และน�ำมาสูใ่ จของเรา จะท�ำให้ เกิดพลงั งานเชงิ บวก ทีส่ ามารถชว่ ยให้เราเปล่ยี นวกิ ฤตให้กลายเปน็ โอกาส และเกดิ กระบวนการเรยี นรูอ้ ย่างสร้างสรรค์ จากทฤษฎสี ู่การปฏบิ ัติการ : คา่ ยการเรียนรเู้ พอื่ การเปลย่ี นแปลง ภายในแนวพุทธ จากการศกึ ษาทฤษฎใี นชน้ั เรยี นจติ วทิ ยาในพระไตรปฎิ ก คณะผวู้ จิ ยั ได้จัดให้นิสิตมีโอกาสเรียนรู้ภาคปฏิบัติน�ำไปสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อการ เปลย่ี นแปลงภายในแนวพทุ ธ เป็นเวลา ๓ วนั ๒ คืน ตั้งแตว่ ันศกุ ร์ท่ี ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึง วนั อาทิตย์ท่ี ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ท่ี ส�ำนักสหปฏิบัติ๖๐ คา่ ยอารยาภิวัธน์ อ.ดา่ นช้าง จ.สพุ รรณบุรี ผู้วิจัยได้จัดสภาพแวดล้อมเพ่ือเอื้อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเกิด การเรียนรู้ เพ่ือเปิดพื้นท่ีให้นิสิตได้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ (Confronting Reality) โดยจัดสถานท่ีปลีกวิเวกในการภาวนา ทั้งกายวิเวก จิตวิเวก คล้ายการธดุ งค์ในปา่ ดังทพ่ี ระพทุ ธองค์ตรสั สอนไวใ้ น อรกสตู ร วา่ “ภิกษุ ทัง้ หลาย กจิ ใด ทีศ่ าสดาผู้แสวงหาประโยชนเ์ กื้อกลู ผอู้ นุเคราะห์ อาศัย ความอนเุ คราะหพ์ งึ ทำ� แกส่ าวกทงั้ หลาย กจิ นนั้ เราไดท้ ำ� แลว้ แกเ่ ธอทง้ั หลาย ภิกษทุ ัง้ หลาย นนั่ โคนไม้ นน่ั เรอื นวา่ ง เธอท้งั หลายจงเพง่ อย่าประมาท อยา่ เป็นผู้มีวิปปฏสิ าร (ความร้อนใจ) ในภายหลงั เลย นเ้ี ป็นอนสุ าสนีของ เราเพื่อเธอทั้งหลาย”๖๑ ๖๐ บริหารงานโดย คณุ ลุงธวัช คณิตกุลและคณุ ปา้ บุปผา คณิตกลุ เปน็ ผดู้ แู ล. ๖๑ องฺ.สตตฺ . ๒๓/๗๔/๑๗๐.

34 บันทึกกระบวนการเรยี นรเู้ พอ่ื การเปลยี่ นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชงิ ปฏบิ ตั กิ ารชน้ั เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปิฎก ภาพสถานทจ่ี ัดกระบวนการเรยี นรู้เพอ่ื การเปล่ยี นแปลงภายในแนวพทุ ธ

35 บนั ทกึ กระบวนการเรียนรู้เพือ่ การเปล่ยี นแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ยั เชิงปฏิบตั กิ ารช้นั เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปฎิ ก กระบวนการเรียนร้ทู เ่ี กิดขึน้ จากประสบการณ์ใหมท่ ไี่ มค่ นุ้ เคย และ ความกลัวภัยในกิจกรรมยามค�่ำคืน ท�ำให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการได้ด�ำเนิน ด้วยวิถีแห่งสติ และน้อมน�ำเมตตาภาวนา และมรณัสสติ มาพิจารณา ใครค่ รวญภายในตนเองไดเ้ ป็นอย่างดี ผู้เข้าร่วมกระบวนการบางท่าน พบงู ก็ได้พิจารณาถึงค�ำสอนของ พระพุทธองค์ ที่ตรัสเร่ืองภิกษถุ กู งูกดั ”สมัยน้ัน ภิกษุรูปหน่ึงถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพภิกษุท้ังหลายจึง น�ำเรื่องน้ีไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบพระผู้มีพระภาครับส่ังว่า “ภกิ ษทุ งั้ หลาย ภกิ ษนุ นั้ คงจะไมไ่ ดแ้ ผเ่ มตตาจติ ใหต้ ระกลู พญางู ๔ ตระกลู เพราะถา้ ภิกษนุ ัน้ แผ่เมตตาจติ ให้ตระกลู พญางู ๔ ตระกลู นี้ ภกิ ษุน้นั กจ็ ะไมถ่ ูกงกู ัดถงึ แกม่ รณภาพ”๖๒ และตรัสว่า ภิกษุรูปนนั้ ไม่ได้แผ่เมตตา และสอนวธิ กี ารแผ่เมตตา แก่สรรพสัตว์ “ภิกษุท้ังหลาย ภิกษุรูปน้ันคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้ตระกูล พญางู ๔ ตระกูลนี้ เพราะถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลน้ี ภิกษุนั้นจะไม่ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลน้ีเพื่อคุ้มครอง ตน เพอ่ื รกั ษาตน เพือ่ ปอ้ งกนั ตน ๖๒ ว.ิ จู. (ไทย) ๗/๒๕๑/๑๔-๑๕.

36 บันทึกกระบวนการเรียนรู้เพอ่ื การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ: การวจิ ัยเชิงปฏิบัตกิ ารชน้ั เรียนจิตวิทยาในพระไตรปฎิ ก วธิ ีแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ ภิกษทุ ้งั หลาย ภิกษุพงึ แผเ่ มตตาอย่างน้ี เราขอมีเมตตาตอ่ ตระกลู พญางวู ริ ูปักษ์ เราขอมีเมตตาตอ่ ตระกูลพญางูเอราปถะ เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูฉัพยาบตุ ร เราขอมีเมตตาต่อตระกลู พญางกู ณั หาโคตมกะ เราขอมเี มตตาตอ่ เหล่าสตั วท์ ไ่ี ม่มเี ท้า เราขอมเี มตตาต่อเหล่าสตั วส์ องเท้า เราขอมเี มตตาตอ่ เหลา่ สัตวส์ ่เี ท้า เราขอมเี มตตาตอ่ เหลา่ สัตวห์ ลายเทา้ สตั ว์ไม่มเี ท้าอย่าไดเ้ บียดเบียนเรา สัตวส์ องเท้าอยา่ ได้เบียดเบียนเรา สตั วส์ ี่เทา้ อย่าไดเ้ บยี ดเบียนเรา สัตว์หลายเทา้ อย่าได้เบียดเบยี นเรา ขอสรรพสัตว์ท่ีมีลมหายใจ ขอสรรพสตั ว์ทย่ี ังมชี ีวิตท้งั มวล จงประสบกับความเจริญ ความเลวรา้ ยอยา่ ได้มาแผว้ พานสตั ว์ใด ๆ เลย พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหา ประมาณมิได้พระสงฆม์ พี ระคณุ หาประมาณมไิ ด้ สัตว์เลอื้ ยคลานทงั้ หลาย คือ งู แมงปอ่ ง ตะขาบ แมงมมุ ตกุ๊ แก หนู มคี ณุ พอประมาณ”๖๓ การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปล่ียนแปลงภายในแนวพุทธ ผ่านกิจกรรมเมตตาภาวนาและมรณัสสติ ในสถานท่ีเงียบสงบจึงช่วย สร้างประสบการณ์ใหมใ่ ห้ผู้เขา้ รว่ มกระบวนการไดเ้ รียนรู้ในการดำ� เนินชวี ติ ๖๓ ว.ิ จ.ู (ไทย) ๗/๒๕๑/๑๔-๑๕.

37 บันทกึ กระบวนการเรียนรเู้ พอื่ การเปลีย่ นแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวจิ ัยเชิงปฏบิ ัตกิ ารชนั้ เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปิฎก อยา่ งไมป่ ระมาท ขยายกรอบความคดิ แผก่ ว้าง และเรียนร้ทู จี่ ะยอมรบั กบั สภาวะและเหตุการณท์ ีเ่ กดิ ขึ้นด้วยใจปล่อยวาง นอกจากน้ี กิจกรรมยามเช้าตรู่ของแต่ละวัน เราได้ด�ำเนินวิถีแห่ง สติร่วมกันในบรรยากาศริมเขื่อน (Contemplation) แต่ละท่านได้ มีโอกาสใคร่ครวญ พิจารณาส่ิงต่างๆท่ีเกิดข้ึน รับรู้ตามความเป็นจริง ด�ำเนินวถิ ีอยา่ งช้า มีสติ เข้าถึงความเชื่อมโยงระหว่างตนเอง และธรรมชาติ รอบตวั (Connection) พจิ ารณาถงึ ความไมแ่ นน่ อนของชวี ติ ดงั ทพี่ ระพทุ ธ องคต์ รัสเลา่ ให้พระภกิ ษฟุ ังว่ากลา่ วกบั พราหมณ์ไวใ้ น อรกสตู ร วา่ “ภิกษุทั้งหลาย เร่ืองเคยมีมาแล้ว มีครูชื่ออรกะ เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความก�ำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดง ธรรมแกส่ าวกอยา่ งนีว้ ่า “พราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณน้อย เล็กน้อย รวดเร็ว มที กุ ขม์ าก มคี วามคับแคน้ มาก บุคคลพงึ รดู้ ้วยปญั ญา พงึ ทำ� กุศล พงึ ประพฤติพรหมจรรย์ ไมม่ หี รอก สตั วท์ ่ีเกดิ มาแลว้ จะไมต่ าย หยาดน้�ำค้างท่ียอดหญ้า เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ก็เหือดแห้งไปอย่าง รวดเรว็ อยไู่ ดไ้ มน่ าน แมฉ้ นั ใด ชวี ติ ของมนษุ ยท์ งั้ หลายทเ่ี ปรยี บดว้ ยหยาด นำ้� คา้ งก็ฉนั นนั้ เหมอื นกนั เปน็ ของเล็กนอ้ ย รวดเรว็ มีทุกข์มาก มีความ คบั แค้นมาก บคุ คลพงึ ร้ดู ว้ ยปญั ญา พงึ ทำ� กุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สตั ว์ทเี่ กิดมาแล้วจะไม่ตาย พราหมณ์ เมื่อฝนเม็ดใหญ่ ฟองน�้ำย่อมแตกหายไปอย่างรวดเร็ว คงอย่ไู ด้ไมน่ าน แม้ฉนั ใด ชีวิตของมนษุ ยท์ งั้ หลายทเ่ี ปรยี บด้วยฟองน�ำ้ ก็ ฉนั น้นั เหมือนกนั เป็นของเล็กนอ้ ย รวดเรว็ มีทุกข์มาก มีความคับแคน้ มาก บคุ คลพงึ รดู้ ว้ ยปญั ญา พงึ ทำ� กศุ ล พงึ ประพฤตพิ รหมจรรย์ ไมม่ หี รอก

38 บนั ทึกกระบวนการเรียนรเู้ พือ่ การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพทุ ธ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการชนั้ เรียนจิตวทิ ยาในพระไตรปิฎก สัตวท์ ่ีเกดิ มาแล้วจะไม่ตาย พราหมณ์ รอยขีดในน�้ำย่อมขาดหายไปอย่างรวดเร็ว คงอยู่ได้ ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายท่ีเปรียบด้วยรอยขีดในน�้ำ กฉ็ ันนน้ั เหมอื นกัน เป็นของเลก็ น้อย รวดเรว็ มีทกุ ขม์ าก มีความคับแค้น มาก บคุ คลพงึ รดู้ ว้ ยปญั ญา พงึ ทำ� กศุ ล พงึ ประพฤตพิ รหมจรรย์ ไมม่ หี รอก สัตวท์ ีเ่ กดิ มาแล้วจะไม่ตาย พราหมณ์ แม่น�้ำที่ไหลมาจากภูเขา มาจากท่ีไกล มีกระแส เชี่ยว พัดส่ิงที่พาไปได้ ไม่มีขณะ เวลา หรือช่ัวครู่ที่มันจะหยุด โดยที่ แท้ แม่น�้ำน้ันย่อมไหลบ่าเร่ือยไป แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ท้ังหลายที่ เปรียบด้วยแม่น�้ำท่ีไหลมาจากภูเขาก็ฉันน้ันเหมือนกัน เป็นของเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงท�ำ กุศล พึงประพฤตพิ รหมจรรย์ ไมม่ หี รอก สตั ว์ทีเ่ กิดมาแลว้ จะไม่ตาย”๖๔ ภาพกจิ กรรมยามเชา้ ตรขู่ องการเรยี นรเู้ พอื่ การเปลยี่ นแปลงภายในแนวพทุ ธ ๖๔ องฺ.สตตฺ . ๒๓/๗๔/๑๖๗-๑๖๘.

39 บนั ทกึ กระบวนการเรยี นรู้เพอื่ การเปลี่ยนแปลงภายในแนวพุทธ: การวิจัยเชงิ ปฏิบัติการชัน้ เรยี นจติ วิทยาในพระไตรปิฎก