Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539และที่แก้ไขเพิ่มเติม

Published by suwapatmanee, 2020-07-18 23:12:40

Description: พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539และที่แก้ไขเพิ่มเติม

Keywords: แนวข้อสอบ

Search

Read the Text Version

พระราชบญั ญตั ิ วธิ ปี ฏบิ ตั ริ าชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ---------------------- ภมู พิ ลอดลุ ยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันท่ี ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เปน็ ปที ี่ ๕๑ ในรัชกาลปัจจุบนั พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศวา่ โดยท่สี มควรมีกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัตริ าชการทางปกครอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอม ของรฐั สภา ดงั ตอ่ ไปน้ี มาตรา ๑ พระราชบัญญัติน้ีเรียกว่า “พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙” มาตรา ๒๑ พระราชบัญญัติน้ีให้ใช้บังคับเม่ือพ้นกาหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ วันถัดจากวันประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามท่ีกาหนด ในพระราชบัญญัติน้ี เว้นแต่ในกรณีท่ีกฎหมายใดกาหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเร่ืองใด ไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ท่ีประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ไมต่ า่ กวา่ หลกั เกณฑท์ ่กี าหนดในพระราชบัญญตั ิน้ี ความในวรรคหน่ึงมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กาหนด ในกฎหมาย มาตรา ๔ พระราชบญั ญตั ิน้ีมิให้ใชบ้ ังคับแก่ (๑) รฐั สภาและคณะรัฐมนตรี (๒) องคก์ รทีใ่ ช้อานาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ (๓) การพิจารณาของนายกรฐั มนตรีหรือรัฐมนตรใี นงานทางนโยบายโดยตรง (๔) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดาเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการ พิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ ๑ ราชกจิ จานุเบกษา เลม่ ๑๑๓/ตอนที่ ๖๐ ก/หนา้ ๑/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙

(๕) การพจิ ารณาวินิจฉัยเร่ืองร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ กฤษฎีกา (๖) การดาเนนิ งานเกย่ี วกับนโยบายการต่างประเทศ (๗) การดาเนินงานเก่ียวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าท่ีซ่ึงปฏิบัติหน้าท่ีทางยุทธการ ร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภา ยนอก และภายในประเทศ (๘) การดาเนนิ งานตามกระบวนการยุตธิ รรมทางอาญา (๙) การดาเนินกจิ การขององค์การทางศาสนา การยกเว้นไม่ให้นาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติน้ีมาใช้บังคับแก่การดาเนินกิจการใด หรือกับหน่วยงานใดนอกจากที่กาหนดไว้ในวรรคหน่ึง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการวธิ ีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา ๕ ในพระราชบญั ญตั ิน้ี “วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดาเนินการ ของเจ้าหน้าท่ีเพื่อจัดให้มีคาสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดาเนินการใด ๆ ในทางปกครอง ตามพระราชบัญญัตนิ ี้ “การพจิ ารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดาเนินการของเจ้าหน้าท่ี เพ่ือจัดใหม้ ีคาส่งั ทางปกครอง “คาส่งั ทางปกครอง” หมายความวา่ (๑) การใช้อานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าท่ีที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือช่ัวคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอทุ ธรณ์ การรบั รอง และการรบั จดทะเบียน แต่ไมห่ มายความรวมถงึ การออกกฎ (๒) การอ่ืนท่กี าหนดในกฎกระทรวง “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติ ท้องถ่ิน ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอ่ืนที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ แก่กรณีใดหรือบคุ คลใดเปน็ การเฉพาะ “คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งข้ึนตามกฎหมาย ทม่ี ีการจัดองค์กรและวธิ ีพิจารณาสาหรับการวินิจฉัยชขี้ าดสทิ ธิและหนา้ ท่ีตามกฎหมาย

“เจ้าหนา้ ท”่ี หมายความวา่ บคุ คล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซ่ึงใช้อานาจหรือได้รับมอบ ให้ใช้อานาจทางปกครองของรัฐในการดาเนินการอย่างหน่ึงอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดตัง้ ขน้ึ ในระบบราชการ รัฐวิสาหกจิ หรอื กจิ การอ่นื ของรฐั หรือไม่กต็ าม “คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ย่ืนคาขอหรือผู้คัดค้านคาขอ ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับ ของคาส่ังทางปกครอง และผู้ซง่ึ ได้เขา้ มาในกระบวนการพจิ ารณาทางปกครองเนื่องจากสิทธิของผู้นั้น จะถกู กระทบกระเทอื นจากผลของคาสั่งทางปกครอง มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจ ออกกฎกระทรวงและประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบญั ญตั นิ ้ี กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมือ่ ประกาศในราชกิจจานเุ บกษาแล้ว ใหใ้ ชบ้ ังคบั ได้ หมวด ๑ คณะกรรมการวธิ ปี ฏบิ ตั ริ าชการทางปกครอง ---------------------- มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหน่ึงเรียกว่า “คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง” ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง ปลัดสานักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง มหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการ คณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคณุ วฒุ อิ กี ไมน่ อ้ ยกว่าหา้ คนแตไ่ ม่เกนิ เกา้ คนเปน็ กรรมการ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแต่งต้ังจาก ผ้ซู ึง่ มคี วามเช่ยี วชาญในทางนติ ศิ าสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือการบริหาร ราชการแผ่นดิน แตผ่ ู้นน้ั ต้องไม่เป็นผ้ดู ารงตาแหน่งทางการเมือง ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งต้ังข้าราชการของสานักงานคณะกรรมการ กฤษฎกี าเปน็ เลขานกุ ารและผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร มาตรา ๘ ให้กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระดารงตาแหน่งคราวละสามปี กรรมการซงึ่ พน้ จากตาแหนง่ อาจได้รับแตง่ ต้ังอกี ได้ ในกรณีท่ีกรรมการพน้ จากตาแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งต้ังกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้น ปฏิบัตหิ น้าทไ่ี ปพลางก่อนจนกว่าจะได้แตง่ ตงั้ กรรมการใหม่ มาตรา ๙ นอกจากการพน้ จากตาแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตงั้ พน้ จากตาแหน่งเมอ่ื คณะรัฐมนตรีมมี ติให้ออกหรอื เมื่อมเี หตุหนงึ่ เหตุใดตามมาตรา ๗๖ มาตรา ๑๐ ให้สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทาหน้าที่เป็นสานักงานเลขานุการ ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง รับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษา หาข้อมูลและกิจการตา่ ง ๆ ที่เกีย่ วกบั งานของคณะกรรมการวธิ ปี ฏิบัติราชการทางปกครอง

มาตรา ๑๑ คณะกรรมการวธิ ีปฏบิ ัตริ าชการทางปกครองมอี านาจหน้าที่ ดงั ตอ่ ไปน้ี (๑) สอดส่องดูแลและให้คาแนะนาเก่ียวกับการดาเนินงานของเจ้าหน้าท่ีในการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญตั นิ ้ี (๒) ใหค้ าปรึกษาแกเ่ จ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ี ตามที่บุคคลดังกล่าว รอ้ งขอ ท้งั น้ี ตามหลักเกณฑท์ คี่ ณะกรรมการวิธปี ฏบิ ตั ิราชการทางปกครองกาหนด (๓) มีหนังสือเรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบ การพจิ ารณาได้ (๔) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศ ตามพระราชบญั ญัติน้ี (๕) จัดทารายงานเก่ียวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรี เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมแต่อย่างน้อยปีละหน่ึงคร้ัง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติ ราชการทางปกครองให้เป็นไปโดยมีความเปน็ ธรรมและมปี ระสิทธภิ าพยิง่ ข้ึน (๖) เรอื่ งอน่ื ตามทค่ี ณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรมี อบหมาย หมวด ๒ คาสง่ั ทางปกครอง ---------------------- สว่ นท่ี ๑ เจา้ หนา้ ท่ี ---------------------- มาตรา ๑๒ คาสงั่ ทางปกครองจะตอ้ งกระทาโดยเจ้าหน้าท่ซี ึ่งมีอานาจหนา้ ท่ีในเรื่องนัน้ มาตรา ๑๓ เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนจ้ี ะทาการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ (๑) เป็นคูก่ รณเี อง (๒) เปน็ คหู่ ม้นั หรอื คูส่ มรสของค่กู รณี (๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพ่ีน้อง หรือลูกพล่ี ูกน้องนับไดเ้ พียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาตเิ ก่ียวพนั ทางแตง่ งานนับไดเ้ พยี งสองช้นั (๔) เป็นหรือเคยเปน็ ผแู้ ทนโดยชอบธรรมหรอื ผพู้ ิทักษห์ รือผแู้ ทนหรอื ตวั แทนของคกู่ รณี (๕) เปน็ เจ้าหนห้ี รือลกู หน้ี หรอื เป็นนายจา้ งของคกู่ รณี (๖) กรณอี นื่ ตามทีก่ าหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๔ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๑๓ หรือคู่กรณีคัดค้านว่าเจ้าหน้าท่ีผู้ใดเป็นบุคคล ตามมาตรา ๑๓ ให้เจ้าหน้าที่ผู้น้ันหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อน และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตน ขึน้ ไปชน้ั หน่ึงทราบ เพอ่ื ท่ผี บู้ ังคบั บญั ชาดังกลา่ วจะไดม้ คี าส่งั ตอ่ ไป การย่ืนคาคัดค้าน การพิจารณาคาคัดค้าน และการสั่งให้เจ้าหน้าที่อื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่ แทนผทู้ ถี่ กู คดั คา้ นใหเ้ ป็นไปตามหลักเกณฑ์และวธิ ีการทก่ี าหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๕ เม่ือมีกรณีตามมาตรา ๑๓ หรือคู่กรณีคัดค้านว่ากรรมการในคณะกรรมการ ที่มีอานาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีลักษณะดังกล่าว ให้ประธานกรรมการเรียกประชุม คณะกรรมการเพ่ือพิจารณาเหตุคัดค้านน้ัน ในการประชุมดังกล่าวกรรมการผู้ถูกคัดค้านเมื่อได้ช้ีแจง ข้อเทจ็ จริงและตอบข้อซกั ถามแล้วต้องออกจากทีป่ ระชมุ ถ้าคณะกรรมการที่มีอานาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีผู้ถูกคัดค้านในระหว่าง ทกี่ รรมการผู้ถูกคัดค้านต้องออกจากทีป่ ระชุม ใหถ้ ือวา่ คณะกรรมการคณะน้ันประกอบด้วยกรรมการ ทกุ คนท่ไี ม่ถกู คดั ค้าน ถ้าที่ประชุมมีมติให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าท่ีต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สองในสามของกรรมการท่ีไม่ถูกคัดค้าน ก็ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ มติดังกล่าว ให้กระทาโดยวธิ ลี งคะแนนลบั และให้เปน็ ทสี่ ุด การยนื่ คาคัดค้านและการพิจารณาคาคดั ค้านให้เป็นไปตามหลกั เกณฑ์และวิธีการที่กาหนด ในกฎกระทรวง มาตรา ๑๖ ในกรณีมีเหตุอ่ืนใดนอกจากท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ เก่ียวกับเจ้าหน้าที่ หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอานาจพิจารณาทางปกครองซ่ึงมีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้ การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าท่ีหรือกรรมการผู้น้ันจะทาการพิจารณาทางปกครอง ในเรอื่ งนัน้ ไม่ได้ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ใหด้ าเนินการ ดังนี้ (๑) ถา้ ผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดงั กลา่ ว ให้ผู้น้ันหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อนและแจ้งให้ ผบู้ งั คบั บัญชาเหนือตนข้ึนไปช้ันหนึง่ หรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี (๒) ถ้ามคี กู่ รณคี ัดคา้ นว่าผ้นู ั้นมเี หตุดังกล่าว หากผู้น้ันเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านน้ัน ผู้นั้นจะทาการพิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง หรือประธานกรรมการทราบ แลว้ แต่กรณี (๓) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือคณะกรรมการท่ีมีอานาจพิจารณาทางปกครอง ซึ่งผู้น้ันเป็นกรรมการอยู่มีคาส่ังหรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นมีอานาจในการพิจารณา ทางปกครองในเรอ่ื งนั้นหรอื ไม่ ให้นาบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคสอง และมาตรา ๑๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคส่ี มาใช้บงั คับโดยอนโุ ลม

มาตรา ๑๗ การกระทาใด ๆ ของเจ้าหน้าท่ีหรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอานาจ พิจารณาทางปกครองที่ได้กระทาไปก่อนหยุดการพิจารณาตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ ย่อมไม่เสียไป เว้นแต่เจ้าหน้าท่ีผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ถูกคัดค้านหรือคณะกรรมการที่มีอานาจ พิจารณาทางปกครอง แลว้ แตก่ รณจี ะเห็นสมควรดาเนินการสว่ นหนง่ึ ส่วนใดเสียใหมก่ ็ได้ มาตรา ๑๘ บทบัญญัติมาตรา ๑๓ ถึงมาตรา ๑๖ ไม่ให้นามาใช้บังคับกับกรณี ท่ีมคี วามจาเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้ล่าช้าไปจะเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะหรือสิทธิของบุคคล จะเสียหายโดยไมม่ ที างแกไ้ ขได้ หรือไมม่ เี จา้ หน้าทอ่ี ่ืนปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ทนผู้นนั้ ได้ มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฏภายหลังว่าเจ้าหน้าท่ีหรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอานาจ พิจารณาทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้น้ันต้องพ้นจากตาแหน่ง การพ้นจากตาแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใด ท่ีผู้น้นั ไดป้ ฏิบัตไิ ปตามอานาจหน้าท่ี มาตรา ๒๐ ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ ให้หมายความรวมถึง ผู้ซ่ึงกฎหมายกาหนดให้มีอานาจกากับหรือควบคุมดูแลสาหรับกรณี ของเจา้ หนา้ ท่ที ไ่ี มม่ ีผู้บงั คับบัญชาโดยตรง และนายกรฐั มนตรีสาหรบั กรณีทเี่ จา้ หนา้ ท่ีผู้นั้นเป็นรฐั มนตรี สว่ นท่ี ๒ คกู่ รณี ---------------------- มาตรา ๒๑ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณา ทางปกครองไดต้ ามขอบเขตทีส่ ิทธิของตนถกู กระทบกระเทอื นหรอื อาจถกู กระทบกระเทือนโดยมิอาจ หลกี เล่ยี งได้ มาตรา ๒๒ ผู้มีความสามารถกระทาการในกระบวนการพิจารณาทางปกครองได้ จะตอ้ งเป็น (๑) ผซู้ งึ่ บรรลุนิติภาวะ (๒) ผู้ซ่ึงมีบทกฎหมายเฉพาะกาหนดให้มีความสามารถกระทาการในเรื่องท่ีกาหนดได้ แมผ้ ู้น้นั จะยงั ไม่บรรลนุ ติ ภิ าวะหรือความสามารถถกู จากดั ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๓) นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา ๒๑ โดยผแู้ ทนหรือตวั แทน แล้วแต่กรณี (๔) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายในราชกิจจานุเบกษา กาหนดให้มีความสามารถกระทาการในเรื่องที่กาหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือ ความสามารถถกู จากัดตามประมวลกฎหมายแพง่ และพาณชิ ย์

มาตรา ๒๓ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าท่ี คู่กรณมี ีสทิ ธินาทนายความหรอื ทีป่ รกึ ษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ การใดท่ที นายความหรอื ทีป่ รึกษาไดท้ าลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทาของคู่กรณี เวน้ แต่คู่กรณจี ะไดค้ ดั ค้านเสยี แตใ่ นขณะนัน้ มาตรา ๒๔ คู่กรณีอาจมีหนังสือแตง่ ต้งั ให้บคุ คลหนึ่งบคุ คลใดซ่ึงบรรลุนิติภาวะกระทาการ อย่างหนึ่งอย่างใดตามท่ีกาหนดแทนตนในกระบวนการพิจารณาทางปกครองใด ๆ ได้ ในการนี้ เจ้าหน้าท่ีจะดาเนินกระบวนพิจารณาทางปกครองกับตัวคู่กรณีได้เฉพาะเม่ือเป็นเรื่องท่ีผู้นั้นมีหน้าที่ โดยตรงทจ่ี ะต้องทาการน้นั ดว้ ยตนเองและต้องแจ้งให้ผไู้ ดร้ บั การแตง่ ต้งั ใหก้ ระทาการแทนทราบด้วย หากปรากฏว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งให้กระทาการแทนผู้ใดไม่ทราบข้อเท็จจริงในเร่ืองนั้น เพยี งพอหรอื มเี หตุไม่ควรไว้วางใจในความสามารถของบุคคลดังกล่าวให้เจ้าหน้าท่ีแจ้งให้คู่กรณีทราบ โดยไม่ชกั ชา้ การแต่งต้ังให้กระทาการแทนไม่ถือว่าสิ้นสุดลงเพราะความตายของคู่กรณีหรือการที่ ความสามารถหรือความเป็นผู้แทนของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ผู้สืบสิทธิตามกฎหมาย ของคกู่ รณหี รือคูก่ รณจี ะถอนการแตง่ ตงั้ ดงั กลา่ ว มาตรา ๒๕ ในกรณีท่ีมีการยื่นคาขอโดยมีผู้ลงชื่อร่วมกันเกินห้าสิบคนหรือมีคู่กรณี เกินห้าสิบคนย่ืนคาขอท่ีมีข้อความอย่างเดียวกันหรือทานองเดียวกัน ถ้าในคาขอมีการระบุ ให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของบุคคลดังกล่าวหรือมีข้อความเป็นปริยายให้เข้าใจได้เช่นนั้น ให้ถือว่า ผทู้ ่ถี ูกระบชุ อื่ ดังกลา่ วเป็นตวั แทนร่วมของค่กู รณเี หล่านั้น ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคาขอให้มีคาส่ังทางปกครองในเร่ืองเดียวกัน โดยไม่มี การกาหนดให้บุคคลใดเป็นตัวแทนร่วมของตนตามวรรคหน่ึง ให้เจ้าหน้าที่ในเร่ืองนั้นแต่งตั้งบุคคล ทีค่ ู่กรณีฝ่ายขา้ งมากเห็นชอบเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว ในกรณีน้ีให้นามาตรา ๒๔ วรรคสอง และวรรคสาม มาใชบ้ ังคบั โดยอนโุ ลม ตวั แทนรว่ มตามวรรคหนงึ่ หรอื วรรคสองต้องเป็นบคุ คลธรรมดา คู่กรณีจะบอกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดาเนินการแทนตนเม่ือใดก็ได้แต่ต้องมีหนังสือ แจ้งให้เจา้ หน้าท่ีทราบและดาเนนิ การใด ๆ ในกระบวนการพจิ ารณาทางปกครองตอ่ ไปด้วยตนเอง ตัวแทนร่วมจะบอกเลิกการเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ กับตอ้ งแจ้งใหค้ กู่ รณีทุกรายทราบด้วย

สว่ นท่ี ๓ การพจิ ารณา ---------------------- มาตรา ๒๖ เอกสารที่ย่ืนต่อเจ้าหน้าท่ีให้จัดทาเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทาข้ึน เป็นภาษาต่างประเทศ ให้คู่กรณีจัดทาคาแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายใน ระยะเวลาท่ีเจ้าหน้าท่ีกาหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ย่ืนต่อเจ้าหน้าท่ีในวันที่เจ้าหน้าท่ี ได้รับคาแปลน้ัน เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารท่ีทาข้ึนเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีน้ี ให้ถือว่าวันท่ีได้ยื่นเอกสารฉบับท่ีทาขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าท่ีได้รับเอกสาร ดังกลา่ ว การรับรองความถูกต้องของคาแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทาขึ้น เป็นภาษาต่างประเทศ ใหเ้ ป็นไปตามหลกั เกณฑ์และวธิ ีการท่กี าหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๗๒ ให้เจ้าหน้าท่ีแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง ใหค้ ู่กรณที ราบตามความจาเป็นแกก่ รณี เม่ือมผี ู้ยืน่ คาขอเพอ่ื ใหเ้ จา้ หน้าท่ีมคี าส่งั ทางปกครอง ให้เป็นหน้าท่ีของเจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอ ท่ีจะต้องดาเนินการตรวจสอบความถูกต้องของคาขอและความครบถ้วนของเอกสาร บรรดา ท่ีมีกฎหมายหรือกฎกาหนดให้ต้องยื่นมาพร้อมกับคาขอ หากคาขอไม่ถูกต้อง ให้เจ้าหน้าท่ีดังกล่าว แนะนาให้ผู้ย่ืนคาขอดาเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้อง และหากมีเอกสารใดไม่ครบถ้วนให้แจ้ง ให้ผู้ยื่นคาขอทราบทันทีหรือภายในไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคาขอ ในการแจ้งดังกล่าว ให้เจ้าหน้าท่ีทาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับคาขอและระบุรายการเอกสารที่ไม่ถูกต้องหรือ ยังไม่ครบถ้วนให้ผู้ย่ืนคาขอทราบพร้อมทั้งบันทึกการแจ้งดังกล่าวไว้ในกระบวนพิจารณาจัด ทาคาส่ัง ทางปกครองน้ันด้วย เม่ือผู้ยื่นคาขอได้แก้ไขคาขอหรือจัดส่งเอกสารตามท่ีระบุในการแจ้งตามวรรคสอง ครบถ้วนแล้วเจ้าหน้าที่จะปฏิเสธไม่ดาเนินการตามคาขอเพราะเหตุยังขาดเอกสารอีกมิได้ เว้นแต่ มีความจาเป็นเพ่ือปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎและได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา เหนือตนขนึ้ ไปชนั้ หนง่ึ ตามมาตรา ๒๐ ในกรณีเช่นนั้นให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวดาเนินการตรวจสอบ ข้อเทจ็ จริงโดยพลนั หากเหน็ วา่ เปน็ ความบกพรอ่ งของเจา้ หน้าทใี่ ห้ดาเนินการทางวินัยต่อไป ผู้ยื่นคาขอตอ้ งดาเนินการแกไ้ ขหรอื สง่ เอกสารเพมิ่ เตมิ ต่อเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่ กาหนดหรือภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ขยายออกไป เมื่อพ้นกาหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากผู้ย่ืนคาขอไม่แก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคาขอไม่ประสงค์ที่จะให้ เจา้ หน้าท่ีดาเนนิ การตามคาขอต่อไป ในกรณเี ช่นน้ันให้เจ้าหน้าท่ีส่งเอกสารคืนให้ผู้ย่ืนคาขอพร้อมท้ัง แจง้ สทิ ธใิ นการอทุ ธรณใ์ หผ้ ้ยู ื่นคาขอทราบ และบนั ทึกการดาเนินการดังกล่าวไว้ ๒ มาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเตมิ โดยพระราชบญั ญตั วิ ธิ ปี ฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗

มาตรา ๒๘ ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าท่ีอาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ ตามความเหมาะสมในเรอื่ งน้นั ๆ โดยไม่ตอ้ งผกู พนั อยกู่ บั คาขอหรอื พยานหลกั ฐานของคู่กรณี มาตรา ๒๙ เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานท่ีตนเห็นว่าจาเป็นแก่การพิสูจน์ ข้อเท็จจรงิ ในการน้ี ใหร้ วมถึงการดาเนนิ การดังตอ่ ไปน้ี (๑) แสวงหาพยานหลกั ฐานทกุ อยา่ งทเี่ กี่ยวขอ้ ง (๒) รับฟังพยานหลักฐาน คาช้ีแจง หรือความเห็นของคู่กรณีหรือของพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญท่ีคู่กรณีกล่าวอ้าง เว้นแต่เจ้าหน้าท่ีเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างท่ีไม่จาเป็น ฟุ่มเฟือยหรอื เพื่อประวิงเวลา (๓) ขอขอ้ เท็จจริงหรอื ความเห็นจากคูก่ รณี พยานบคุ คล หรือพยานผู้เชีย่ วชาญ (๔) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารสง่ เอกสารที่เกีย่ วข้อง (๕) ออกไปตรวจสถานท่ี คู่กรณีต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และมีหน้าที่ แจ้งพยานหลกั ฐานทต่ี นทราบแกเ่ จา้ หนา้ ที่ พยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่เจ้าหน้าท่ีเรียกมาให้ถ้อยคาหรือทาความเห็นมีสิทธิได้รับ ค่าปว่ ยการตามหลกั เกณฑ์และวิธีการทีก่ าหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๐ ในกรณีที่คาส่ังทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้ คู่กรณีมีโอกาสท่ีจะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน ของตน ความในวรรคหนึ่งมิให้นามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปน้ี เว้นแต่เจ้าหน้าท่ีจะเห็นสมควร ปฏิบัติเปน็ อยา่ งอ่ืน (๑) เมื่อมีความจาเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เน่ินช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างรา้ ยแรงแกผ่ ู้หน่ึงผู้ใดหรอื จะกระทบต่อประโยชนส์ าธารณะ (๒) เมื่อจะมีผลทาให้ระยะเวลาท่ีกฎหมายหรือกฎกาหนดไว้ในการทาคาส่ังทางปกครอง ตอ้ งลา่ ชา้ ออกไป (๓) เมือ่ เป็นขอ้ เทจ็ จริงที่คู่กรณีนนั้ เองไดใ้ หไ้ วใ้ นคาขอ คาให้การหรอื คาแถลง (๔) เมือ่ โดยสภาพเห็นได้ชดั ในตวั ว่าการให้โอกาสดงั กล่าวไม่อาจกระทาได้ (๕) เมือ่ เป็นมาตรการบงั คบั ทางปกครอง (๖) กรณีอ่ืนตามที่กาหนดในกฎกระทรวง ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อประโยชน์สาธารณะ

มาตรา ๓๑ คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จาเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจง หรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทาคาสั่งทางปกครองในเรื่องน้ัน คู่กรณีไม่มีสิทธิขอตรวจดู เอกสารอนั เป็นตน้ ร่างคาวนิ จิ ฉัย การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทาสาเนาเอกสารให้เป็นไปตาม หลกั เกณฑแ์ ละวธิ กี ารท่ีกาหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๓๒ เจา้ หนา้ ทอ่ี าจไมอ่ นญุ าตใหต้ รวจดเู อกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณี ที่ตอ้ งรักษาไว้เป็นความลับ มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการอานวยความสะดวกแก่ประชาชน ความประหยัด และความมีประสิทธิภาพในการดาเนินงานของรัฐ ให้คณะรัฐมนตรีวางระเบียบกาหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อให้เจ้าหน้าที่กาหนดเวลาสาหรับการพิจารณาทางปกครองข้ึนไว้ตามความเหมาะสม แกก่ รณี ทั้งนี้ เทา่ ท่ีไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายหรอื กฎในเรอ่ื งน้ัน ในกรณีท่ีการดาเนินงานในเรื่องใดจะต้องผ่านการพิจารณาของเจ้าหน้าท่ีมากกว่าหนึ่งราย เจา้ หนา้ ท่ีท่เี ก่ยี วข้องมีหน้าที่ตอ้ งประสานงานกนั ในการกาหนดเวลาเพื่อการดาเนนิ งานในเร่อื งนัน้ สว่ นท่ี ๔ รปู แบบและผลของคาสั่งทางปกครอง ---------------------- มาตรา ๓๔ คาส่ังทางปกครองอาจทาเป็นหนังสือหรือวาจาหรือโดยการส่ือความหมาย ในรูปแบบอื่นกไ็ ด้ แตต่ ้องมขี อ้ ความหรอื ความหมายท่ชี ดั เจนเพยี งพอที่จะเข้าใจได้ มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คาสั่งทางปกครองเป็นคาสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคาสั่งน้ันร้องขอ และการร้องขอได้กระทาโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันท่ีมีคาสั่งดังกล่าว เจ้าหน้าท่ี ผู้ออกคาส่ังต้องยืนยนั คาส่ังน้นั เป็นหนังสอื มาตรา ๓๖ คาสั่งทางปกครองท่ีทาเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องระบุ วัน เดือน และปี ทท่ี าคาสั่ง ชือ่ และตาแหนง่ ของเจ้าหนา้ ทีผ่ ทู้ าคาส่ัง พร้อมทั้งมีลายมอื ชื่อของเจ้าหนา้ ท่ีผทู้ าคาสงั่ น้ัน มาตรา ๓๗ คาสั่งทางปกครองท่ีทาเป็นหนังสือและการยืนยันคาส่ังทางปกครอง เป็นหนงั สอื ตอ้ งจดั ให้มเี หตุผลไว้ดว้ ย และเหตผุ ลนน้ั อย่างนอ้ ยต้องประกอบดว้ ย (๑) ขอ้ เท็จจรงิ อันเปน็ สาระสาคญั (๒) ข้อกฎหมายที่อา้ งองิ (๓) ข้อพจิ ารณาและข้อสนบั สนุนในการใช้ดุลพนิ จิ นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กาหนดให้คาส่ังทางปกครองกรณีหนึ่งกรณีใดต้องระบุเหตุผลไว้ในคาสั่งนั้นเองหรือในเอกสาร แนบท้ายคาสั่งนั้นก็ได้

บทบญั ญัติตามวรรคหนึง่ ไมใ่ ชบ้ ังคบั กบั กรณดี งั ตอ่ ไปน้ี (๑) เปน็ กรณที ่ีมีผลตรงตามคาขอและไมก่ ระทบสทิ ธิและหนา้ ทีข่ องบคุ คลอ่ืน (๒) เหตุผลน้ันเปน็ ทีร่ ้กู นั อยแู่ ล้วโดยไม่จาตอ้ งระบุอกี (๓) เปน็ กรณีทต่ี ้องรักษาไว้เปน็ ความลับตามมาตรา ๓๒ (๔) เป็นการออกคาส่ังทางปกครองด้วยวาจาหรือเป็นกรณีเร่งด่วนแต่ต้องให้เหตุผล เป็นลายลกั ษณ์อกั ษรในเวลาอนั ควรหากผู้อย่ใู นบงั คับของคาสัง่ นัน้ รอ้ งขอ มาตรา ๓๘ บทบัญญัติตามมาตรา ๓๖ และมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับ คาส่ังทางปกครองที่กาหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขท่ีกาหนด ในกฎกระทรวง มาตรา ๓๙ การออกคาสัง่ ทางปกครองเจ้าหน้าท่ีอาจกาหนดเง่ือนไขใด ๆ ได้เท่าท่ีจาเป็น เพอ่ื ใหบ้ รรลวุ ตั ถุประสงคข์ องกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกาหนดขอ้ จากัดดลุ พนิ จิ เป็นอยา่ งอนื่ การกาหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกาหนดเง่ือนไขในกรณี ดังตอ่ ไปนี้ ตามความเหมาะสมแก่กรณีด้วย (๑) การกาหนดให้สิทธหิ รอื ภาระหนา้ ทีเ่ ริ่มมผี ลหรอื สิน้ ผล ณ เวลาใดเวลาหนง่ึ (๒) การกาหนดให้การเริ่มมีผลหรือส้ินผลของสิทธิหรือภาระหน้าท่ีต้องขึ้นอยู่กับ เหตกุ ารณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน (๓) ข้อสงวนสิทธทิ จ่ี ะยกเลกิ คาสง่ั ทางปกครอง (๔) การกาหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ต้องกระทาหรืองดเว้นกระทาหรือต้องมีภาระหน้าท่ี หรือยอมรับภาระหน้าท่ีหรือความรับผิดชอบบางประการ หรือการกาหนดข้อความในการจัดให้มี เปล่ยี นแปลง หรอื เพมิ่ ข้อกาหนดดงั กลา่ ว มาตรา ๓๙/๑๓ การออกคาสั่งทางปกครองเป็นหนังสือในเรื่องใด หากมิได้มีกฎหมาย หรือกฎกาหนดระยะเวลาในการออกคาสั่งทางปกครองในเร่ืองน้ันไว้เป็นประการอื่น ให้เจ้าหน้าที่ ออกคาส่ังทางปกครองนน้ั ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีเจ้าหน้าที่ได้รับคาขอและเอกสาร ถูกตอ้ งครบถ้วน ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือข้ึนไปของเจ้าหน้าที่ ท่ีจะกากับดูแลให้เจ้าหน้าท่ี ดาเนนิ การใหเ้ ป็นไปตามวรรคหน่งึ ๓ มาตรา ๓๙/๑ เพ่ิมโดยพระราชบญั ญัตวิ ธิ ปี ฏิบัตริ าชการทางปกครอง (ฉบบั ท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗

มาตรา ๔๐ คาสง่ั ทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรอื โต้แยง้ ต่อไปได้ให้ระบุกรณีท่ีอาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง การยื่นคาอุทธรณ์หรือคาโต้แย้ง และระยะเวลาสาหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้ง ดังกลา่ วไวด้ ้วย ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสาหรับการอุทธรณ์หรือ การโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหน่ึง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และ ระยะเวลาดงั กล่าวมรี ะยะเวลาสัน้ กว่าหนึง่ ปี ใหข้ ยายเปน็ หนึง่ ปีนับแต่วันทไ่ี ดร้ ับคาสั่งทางปกครอง มาตรา ๔๑ คาสง่ั ทางปกครองทอี่ อกโดยการฝ่าฝนื หรือไมป่ ฏิบตั ิตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปน้ี ไมเ่ ปน็ เหตใุ ห้คาสัง่ ทางปกครองน้ันไม่สมบรู ณ์ (๑) การออกคาสั่งทางปกครองโดยยังไม่มีผู้ย่ืนคาขอในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะดาเนินการเอง ไมไ่ ดน้ อกจากจะมผี ู้ยื่นคาขอ ถ้าต่อมาในภายหลงั ได้มกี ารยน่ื คาขอเช่นนน้ั แลว้ (๒) คาส่ังทางปกครองท่ีต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มี เหตุผลดงั กลา่ วในภายหลงั (๓) การรบั ฟงั คกู่ รณที ่ีจาเปน็ ตอ้ งกระทาได้ดาเนินการมาโดยไม่สมบูรณ์ ถ้าได้มีการรับฟัง ใหส้ มบรู ณใ์ นภายหลัง (๔) คาส่ังทางปกครองท่ีต้องให้เจ้าหน้าท่ีอ่ืนให้ความเห็นชอบก่อน ถ้าเจ้าหน้าที่น้ัน ได้ให้ความเหน็ ชอบในภายหลัง เมื่อมีการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้ว และเจ้าหน้าท่ีผู้มีคาส่ัง ทางปกครองประสงคใ์ ห้ผลเป็นไปตามคาส่งั เดิมให้เจ้าหนา้ ทผ่ี นู้ น้ั บันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์ ของตนไว้ในหรอื แนบไว้กับคาสัง่ เดมิ และต้องมีหนงั สอื แจ้งความประสงค์ของตนใหค้ กู่ รณีทราบด้วย กรณีตาม (๒) (๓) และ (๔) จะต้องกระทาก่อนส้ินสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ ตามส่วนที่ ๕ ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการน้ัน หรือถ้าเป็นกรณีที่ไม่ต้อง มกี ารอุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนาคาสั่งทางปกครองไปสู่การพิจารณาของผู้มีอานาจพิจารณา วินจิ ฉยั ความถูกตอ้ งของคาสั่งทางปกครองนน้ั มาตรา ๔๒ คาส่งั ทางปกครองใหม้ ผี ลใชย้ ันต่อบุคคลตั้งแตข่ ณะท่ผี ู้นัน้ ได้รบั แจ้งเป็นต้นไป คาสั่งทางปกครองย่อมมีผลตราบเท่าท่ียังไม่มีการเพิกถอนหรือส้ินผลลงโดยเงื่อนเวลา หรือโดยเหตอุ ื่น เมื่อคาส่ังทางปกครองส้ินผลลง ให้เจ้าหน้าที่มีอานาจเรียกผู้ซ่ึงครอบครองเอกสาร หรือวัตถุอ่ืนใดท่ีได้จัดทาขึ้นเน่ืองในการมีคาสั่งทางปกครองดังกล่าว ซ่ึงมีข้อความหรือเคร่ืองหมาย แสดงถึงการมีอยูข่ องคาสัง่ ทางปกครองน้นั ให้สง่ คนื ส่ิงนัน้ หรือให้นาสิ่งของดังกล่าวอันเป็นกรรมสิทธ์ิ ของผนู้ ้นั มาใหเ้ จ้าหน้าท่ีจดั ทาเครื่องหมายแสดงการสิน้ ผลของคาสัง่ ทางปกครองดังกลา่ วได้

มาตรา ๔๓ คาสัง่ ทางปกครองท่ีมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยน้ัน เจ้าหน้าท่ี อาจแกไ้ ขเพมิ่ เตมิ ได้เสมอ ในการแก้ไขเพิ่มเติมคาสั่งทางปกครองตามวรรคหนึ่งให้แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ตามควรแกก่ รณี ในการนี้เจ้าหนา้ ท่อี าจเรียกใหผ้ ู้ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งจัดสง่ คาสั่งทางปกครอง เอกสารหรือวัตถุ อืน่ ใดท่ีไดจ้ ัดทาขน้ึ เนื่องในการมคี าส่งั ทางปกครองดังกล่าวมาเพ่อื การแกไ้ ขเพมิ่ เตมิ ได้ สว่ นที่ ๕ การอทุ ธรณค์ าสัง่ ทางปกครอง ---------------------- มาตรา ๔๔ ภายใตบ้ ังคับมาตรา ๔๘ ในกรณีทค่ี าส่ังทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกาหนดข้ันตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์ คาส่ังทางปกครองนั้นโดยย่ืนต่อเจ้าหน้าท่ีผู้ทาคาส่ังทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตน ไดร้ บั แจ้งคาสั่งดงั กล่าว คาอุทธรณ์ต้องทาเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิง ประกอบดว้ ย การอทุ ธรณ์ไม่เป็นเหตใุ ห้ทเุ ลาการบังคับตามคาส่ังทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลา การบงั คับตามมาตรา ๕๖ วรรคหนง่ึ มาตรา ๔๕ ใหเ้ จ้าหน้าทตี่ ามมาตรา ๔๔ วรรคหน่ึง พิจารณาคาอทุ ธรณแ์ ละแจ้งผู้อุทธรณ์ โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคาอุทธรณ์ ไม่ว่าท้ังหมดหรือบ างส่วนก็ให้ดาเนิน การเปลี่ยนแปลงคาส่ังทาง ปกครองต ามความเห็นของต น ภายในกาหนดเวลาดงั กล่าวดว้ ย ถ้าเจา้ หนา้ ที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ไมเ่ ห็นดว้ ยกบั คาอุทธรณ์ไมว่ า่ ทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอานาจพิจารณาคาอุทธรณ์ภายในกาหนดเวลา ตามวรรคหน่ึง ให้ผ้มู อี านาจพจิ ารณาคาอทุ ธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีตน ได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจาเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอานาจ พิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกาหนดเวลาดังกล่าว ในการน้ี ให้ขยาย ระยะเวลาพจิ ารณาอทุ ธรณ์ออกไปไดไ้ ม่เกินสามสิบวันนับแต่วนั ทค่ี รบกาหนดเวลาดงั กล่าว เจ้าหน้าท่ีผู้ใดจะเป็นผู้มีอานาจพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กาหนด ในกฎกระทรวง บทบัญญตั ิมาตรานไี้ มใ่ ช้กับกรณีทมี่ ีกฎหมายเฉพาะกาหนดไวเ้ ปน็ อยา่ งอ่นื

มาตรา ๔๖ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าหน้าท่ีพิจารณาทบทวนคาสั่งทางปกครองได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทาคาส่ังทางปกครอง และอาจมีคาสั่งเพิกถอนคาส่ังทางปกครองเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคาส่ังนั้นไปในทางใด ทั้งนี้ ไม่ว่า จะเป็นการเพ่ิมภาระหรือลดภาระหรือใช้ดุลพินิจแทนในเรื่องความเหมาะสม ของการทาคาสั่ง ทางปกครองหรอื มขี ้อกาหนดเปน็ เงื่อนไขอยา่ งไรก็ได้ มาตรา ๔๗ การใดที่กฎหมายกาหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าท่ีซ่ึงเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น สาหรับกระบวนการพิจารณา ใหป้ ฏบิ ตั ติ ามบทบญั ญัติ หมวด ๒ น้ี เทา่ ท่ไี ม่ขดั หรอื แย้งกับกฎหมายดงั กล่าว มาตรา ๔๘ คาสั่งทางปกครองของบรรดาคณะกรรมการต่าง ๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายหรือไม่ ให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วย คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันท่ี ไดร้ ับแจง้ คาส่งั น้นั แตถ่ า้ คณะกรรมการดงั กล่าวเปน็ คณะกรรมการวินจิ ฉยั ขอ้ พิพาท สิทธิการอุทธรณ์ และกาหนดเวลาอทุ ธรณ์ ให้เป็นไปตามทบ่ี ญั ญัตใิ นกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา สว่ นท่ี ๖ การเพกิ ถอนคาสง่ั ทางปกครอง ---------------------- มาตรา ๔๙ เจ้าหน้าท่ีหรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคาสั่งทางปกครองได้ ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกาหนดให้อุทธรณ์ หรอื ให้โตแ้ ยง้ ตามกฎหมายนห้ี รอื กฎหมายอน่ื มาแลว้ หรอื ไม่ การเพิกถอนคาส่ังทางปกครองท่ีมีลั กษณะเป็นการให้ประโ ยชน์ ต้องกระทาภ ายใน เก้าสิบวันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุที่จะให้เพิกถอนคาส่ังทางปกครองน้ัน เว้นแต่คาส่ังทางปกครองจะได้ ทาขึ้นเพราะการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งหรือการข่มขู่ หรือการชกั จงู ใจโดยการให้ทรพั ย์สินหรอื ประโยชน์อื่นใดทม่ี ิชอบดว้ ยกฎหมาย มาตรา ๕๐ คาสัง่ ทางปกครองทีไ่ มช่ อบดว้ ยกฎหมายอาจถูกเพิกถอนทง้ั หมดหรือบางส่วน โดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหน่ึงตามท่ีกาหนดได้ แต่ถ้าคาสั่งนั้นเป็นคาส่ังซ่ึงเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับ การเพิกถอนต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒ มาตรา ๕๑ การเพิกถอนคาส่ังทางปกครองท่ีไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงิน หรือใหท้ รัพย์สนิ หรือให้ประโยชน์ทอ่ี าจแบ่งแยกได้ ให้คานึงถึงความเช่ือโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ ในความคงอย่ขู องคาส่งั ทางปกครองนั้นกบั ประโยชน์สาธารณะประกอบกนั

ความเชื่อโดยสุจริตตามวรรคหน่ึงจะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อผู้รับคาสั่งทางปกครอง ได้ใช้ประโยชน์อันเกิดจากคาส่ังทางปกครองหรือได้ดาเนินการเก่ียวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่อาจ แกไ้ ขเปล่ยี นแปลงได้หรอื การเปลยี่ นแปลงจะทาใหผ้ นู้ น้ั ต้องเสยี หายเกนิ ควรแก่กรณี ในกรณดี ังตอ่ ไปนี้ ผู้รับคาส่ังทางปกครองจะอ้างความเช่ือโดยสจุ ริตไม่ได้ (๑) ผู้นน้ั ได้แสดงข้อความอันเปน็ เท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือข่มขู่ หรือชกั จูงใจโดยการใหท้ รัพย์สนิ หรือใหป้ ระโยชน์อืน่ ใดท่มี ชิ อบด้วยกฎหมาย (๒) ผนู้ ้ันไดใ้ ห้ข้อความซงึ่ ไม่ถกู ตอ้ งหรือไม่ครบถ้วนในสาระสาคัญ (๓) ผู้นั้นได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคาส่ังทางปกครองในขณะได้รับคาสั่ง ทางปกครองหรือการไม่รนู้ ้นั เป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออยา่ งรา้ ยแรง ในกรณีท่ีเพิกถอนโดยให้มีผลย้อนหลัง การคืนเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ท่ีผู้รับคาส่ัง ทางปกครองได้ไป ให้นาบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยถ้าเม่ือใดผู้รับคาส่ังทางปกครองได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของคาสั่งทางปกครองหรือควรได้รู้เช่นนั้นหากผู้น้ันมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้ถือว่า ผู้นั้นตกอยู่ในฐานะไม่สุจริตตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป และในกรณีตามวรรคสาม ผู้น้ันต้องรับผิด ในการคนื เงนิ ทรพั ยส์ ินหรือประโยชนท์ ไี่ ด้รบั ไปเตม็ จานวน มาตรา ๕๒ คาส่ังทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๕๑ อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ แต่ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคาส่ังทางปกครอง ดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากความเช่ือโดยสุจริตในความคงอยู่ของคาสั่ง ทางปกครองได้ และให้นาความในมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับ โดยอนุโลม แต่ต้องร้องขอค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบ ถงึ การเพิกถอนนั้น ค่าทดแทนความเสียหายตามมาตราน้ีจะต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ผู้นั้นอาจได้รับ หากคาส่งั ทางปกครองดังกลา่ วไมถ่ ูกเพิกถอน มาตรา ๕๓ คาสั่งทางปกครองทช่ี อบด้วยกฎหมายซงึ่ ไมเ่ ปน็ การให้ประโยชน์แก่ผู้รับคาสั่ง ทางปกครองอาจถูกเพกิ ถอนท้ังหมดหรอื บางสว่ นโดยให้มีผลตัง้ แต่ขณะที่เพิกถอนหรือมีผลในอนาคต ไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามท่ีกาหนดได้ เว้นแต่เป็นกรณีท่ีคงต้องทาคาสั่งทางปกครองที่มีเน้ือหา ทานองเดียวกันนั้นอีก หรือเป็นกรณีที่การเพิกถอนไม่อาจกระทาได้เพราะเหตุอื่น ทั้งนี้ ให้คานึง ถงึ ประโยชน์ของบุคคลภายนอกประกอบด้วย คาสั่งทางปกครองท่ีชอบด้วยกฎหมายซ่ึงเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคาสั่งทางปกครอง อาจถูกเพิกถอนท้ังหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอน หรือมีผลในอนาคตไปถึง ขณะใดขณะหน่งึ ตามทก่ี าหนดได้เฉพาะเม่อื มกี รณดี ังตอ่ ไปน้ี

(๑) มีกฎหมายกาหนดให้เพิกถอนได้หรือมีข้อสงวนสิทธิให้เพิกถอนได้ในคาสั่ง ทางปกครองน้นั เอง (๒) คาสั่งทางปกครองน้ันมีข้อกาหนดให้ผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการปฏิบัติ ภายในเวลาท่กี าหนด (๓) ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปล่ียนแปลงไป ซึ่งหากมีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เช่นนี้ ในขณะทาคาส่ังทางปกครองแล้วเจ้าหน้าท่ีคงจะไม่ทาคาส่ังทางปกครองนั้น และหากไม่เพิกถอน จะกอ่ ให้เกดิ ความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้ (๔) บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทกฎหมายเช่นนี้ในขณะทาคาสั่ง ทางปกครองแล้ว เจ้าหน้าที่คงจะไม่ทาคาสั่งทางปกครองน้ัน แต่การเพิกถอนในกรณีนี้ให้กระทาได้ เท่าท่ีผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือยังไม่ได้รับประโยชน์ตามคาสั่งทางปกครองดังกล่าว และหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายตอ่ ประโยชนส์ าธารณะได้ (๕) อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชน อนั จาเปน็ ต้องป้องกันหรอื ขจัดเหตดุ ังกล่าว ในกรณีที่มีการเพิกถอนคาสั่งทางปกครองเพราะเหตุตามวรรคสอง (๓) (๔) และ (๕) ผู้ได้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากความเช่ือโดยสุจริตในความคงอยู่ ของคาสัง่ ทางปกครองได้ และให้นามาตรา ๕๒ มาใชบ้ งั คับโดยอนโุ ลม คาส่ังทางปกครองท่ีชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สินหรือให้ประโยชน์ ท่ีอาจแบ่งแยกได้ อาจถูกเพิกถอนท้ังหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลย้อนหลังหรือไม่มีผลย้อนหลัง หรือมผี ลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนง่ึ ตามที่กาหนดไดใ้ นกรณดี งั ตอ่ ไปนี้ (๑) มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ คาสั่งทางปกครอง (๒) ผู้ได้รับประโยชน์มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันท่ีจะดาเนินการให้เป็นไปตาม เงอื่ นไขของคาสัง่ ทางปกครอง ท้งั น้ี ใหน้ าความในมาตรา ๕๑ มาใชบ้ ังคบั โดยอนโุ ลม สว่ นที่ ๗ การขอใหพ้ จิ ารณาใหม่ ---------------------- มาตรา ๕๔ เมื่อคู่กรณีมีคาขอ เจ้าหน้าท่ีอาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพ่ิมเติมคาส่ัง ทางปกครองที่พน้ กาหนดอุทธรณ์ตามสว่ นท่ี ๕ ได้ในกรณดี ังต่อไปน้ี

(๑) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทาให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปล่ียนแปลงไป ในสาระสาคัญ (๒) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามา ใ น ก ร ะ บ ว น ก า ร พิ จ า ร ณ า ค รั้ ง ก่ อ น แ ล้ ว แ ต่ ถู ก ตั ด โ อ ก า ส โ ด ย ไ ม่ เ ป็ น ธ ร ร ม ใ น ก า ร มี ส่ ว น ร่ ว ม ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง (๓) เจ้าหน้าท่ไี มม่ ีอานาจท่จี ะทาคาส่ังทางปกครองในเร่อื งน้ัน (๔) ถ้าคาสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมา ข้อเท็จจรงิ หรอื ข้อกฎหมายนน้ั เปลยี่ นแปลงไปในสาระสาคัญในทางทจ่ี ะเป็นประโยชน์แก่คกู่ รณี การยื่นคาขอตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓) ให้กระทาได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบ ถึงเหตุนั้นในการพจิ ารณาครั้งทีแ่ ล้วมากอ่ นโดยไมใ่ ช่ความผดิ ของผ้นู ัน้ การยื่นคาขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระทาภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุ ซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหมไ่ ด้ สว่ นท่ี ๘ การบงั คบั ทางปกครอง ---------------------- มาตรา ๕๕ การบังคับทางปกครองไม่ใช้กับเจ้าหน้าที่ด้วยกัน เว้นแต่จะมีกฎหมาย กาหนดไว้เป็นอย่างอนื่ มาตรา ๕๖ เจ้าหน้าที่ผู้ทาคาส่ังทางปกครองมีอานาจท่ีจะพิจารณาใช้มาตรการบังคับ ทางปกครองเพ่ือให้เป็นไปตามคาส่ังของตนได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เว้นแต่จะมีการส่ังให้ทุเลา การบังคับไว้ก่อนโดยเจ้าหน้าที่ผู้ทาคาส่ังน้ันเอง ผู้มีอานาจพิจารณาคาอุทธรณ์หรือผู้มีอานาจ พิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคาส่ังทางปกครองดงั กลา่ ว เจา้ หน้าทีต่ ามวรรคหน่ึงจะมอบอานาจให้เจ้าหน้าท่ีซ่ึงอยู่ใต้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่อื่น เป็นผดู้ าเนินการก็ได้ตามหลักเกณฑ์และวธิ กี ารท่ีกาหนดในกฎกระทรวง ให้เจา้ หน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพียงเท่าท่ีจาเป็น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของคาสั่งทางปกครอง โดยกระทบกระเทือนผู้อยู่ในบังคับของคาส่ัง ทางปกครองนอ้ ยทีส่ ดุ

มาตรา ๕๗ คาสั่งทางปกครองท่ีกาหนดให้ผู้ใดชาระเงิน ถ้าถึงกาหนดแล้วไม่มีการชาระ โดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าท่ีมีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชาระภายในระยะเวลาท่ีกาหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคาเตือน เจ้าหน้าท่ีอาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยยดึ หรอื อายัดทรัพย์สนิ ของผูน้ ้นั และขายทอดตลาดเพ่ือชาระเงินให้ครบถว้ น วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอานาจส่ังยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตาม ทก่ี าหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๕๘ คาสั่งทางปกครองท่ีกาหนดให้กระทาหรือละเว้นกระทา ถ้าผู้อยู่ในบังคับ ของคาสั่งทางปกครองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง อยา่ งหนง่ึ อยา่ งใด ดังตอ่ ไปนี้ (๑) เจ้าหน้าที่เข้าดาเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทาการแทน โดยผู้อยู่ในบังคับของคาส่ังทางปกครองจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบห้า ต่อปีของค่าใชจ้ ่ายดังกลา่ วแกเ่ จา้ หน้าที่ (๒) ให้มีการชาระค่าปรับทางปกครองตามจานวนที่สมควรแก่เหตุแต่ต้องไม่เกิน สองหมน่ื บาทต่อวัน เจ้าหน้าที่ระดับใดมีอานาจกาหนดค่าปรับทางปกครองจานวนเท่าใดสาหรับในกรณีใด ให้เป็นไปตามทกี่ าหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่มีความจาเป็นที่จะต้องบังคับการโดยเร่งด่วนเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทา ท่ีขัดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญาหรือมิให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ เจ้าหน้าที่ อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยไม่ต้องออกคาสั่งทางปกครองให้กระทาหรือละเว้น กระทาก่อนกไ็ ด้ แต่ท้ังนีต้ ้องกระทาโดยสมควรแกเ่ หตแุ ละภายในขอบเขตอานาจหน้าทีข่ องตน มาตรา ๕๙ ก่อนใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา ๕๘ เจ้าหน้าที่จะต้อง มีคาเตือนเป็นหนังสือให้มีการกระทาหรือละเว้นกระทาตามคาสั่งทางปกครองภายในระยะเวลา ทกี่ าหนดตามสมควรแกก่ รณี คาเตือนดงั กล่าวจะกาหนดไปพร้อมกบั คาส่งั ทางปกครองก็ได้ คาเตือนน้ันจะต้องระบุ (๑) มาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ให้ชัดแจ้ง แต่จะกาหนดมากกว่าหนึ่งมาตรการ ในคราวเดยี วกันไมไ่ ด้ (๒) ค่าใช้จ่ายในการท่ีเจ้าหน้าท่ีเข้าดาเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่น กระทาการแทน หรือจานวนคา่ ปรบั ทางปกครอง แล้วแต่กรณี การกาหนดค่าใชจ้ า่ ยในคาเตือน ไม่เป็นการตัดสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายเพ่ิมข้ึน หากจะต้อง เสยี คา่ ใช้จา่ ยจริงมากกวา่ ทไี่ ด้กาหนดไว้

มาตรา ๖๐ เจ้าหน้าที่จะต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามที่กาหนดไว้ในคาเตือน ตามมาตรา ๕๙ การเปล่ียนแปลงมาตรการจะกระทาได้ก็ต่อเม่ือปรากฏว่ามาตรการที่กาหนดไว้ ไมบ่ รรลตุ ามวตั ถปุ ระสงค์ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคาส่ังทางปกครองต่อสู้ขัดขวางการบังคับทางปกครอง เจ้าหน้าที่ อาจใช้กาลังเข้าดาเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการบังคับทางปกครองได้ แต่ต้องกระทา โดยสมควรแก่เหตุ ในกรณีจาเป็นเจา้ หน้าท่ีอาจขอความช่วยเหลอื จากเจา้ พนกั งานตารวจได้ มาตรา ๖๑ ในกรณีไม่มีการชาระค่าปรับทางปกครอง ให้เจ้าหน้าท่ีดาเนินการต่อไป ตามมาตรา ๕๗ มาตรา ๖๒ ผู้ถูกดาเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองอาจอุทธรณ์การบังคับ ทางปกครองนั้นได้ การอุทธรณ์การบังคับทางปกครองให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกันกับการอุทธรณ์ คาสง่ั ทางปกครอง มาตรา ๖๓ ถ้าบทกฎหมายใดกาหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามาตรการบังคับน้ันมีลักษณะที่จะเกิดผลน้อยกว่ามาตรการบังคับตามหมวดน้ี เจ้าหน้าท่จี ะใช้มาตรการบังคบั ทางปกครองตามหมวดนแี้ ทนก็ได้ หมวด ๓ ระยะเวลาและอายคุ วาม ---------------------- มาตรา ๖๔ กาหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปีนั้น มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้น รวมเข้าด้วย เวน้ แต่จะไดเ้ ร่ิมการในวันน้ันหรือมกี ารกาหนดไว้เป็นอย่างอน่ื โดยเจ้าหน้าท่ี ในกรณีท่ีเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องกระทาการอย่างหน่ึงอย่างใดภายในระยะเวลาท่ีกาหนด ใหน้ บั วันส้นิ สดุ ของระยะเวลานน้ั รวมเขา้ ด้วยแมว้ ่าวันสดุ ท้ายเปน็ วนั หยดุ ทาการงานสาหรบั เจ้าหนา้ ที่ ในกรณีท่ีบุคคลใดต้องทาการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาท่ีกาหนดโดยกฎหมาย หรือโดยคาส่ังของเจ้าหน้าที่ ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทาการงานสาหรับเจ้าหน้าท่ีหรือวันหยุด ตามประเพณีของบุคคลผู้รับคาส่ัง ให้ถือว่าระยะเวลาน้ันสิ้นสุดในวันทางานที่ถัดจากวันหยุดน้ัน เวน้ แตก่ ฎหมายหรอื เจา้ หน้าท่ที ่ีมคี าสงั่ จะกาหนดไว้เป็นอยา่ งอ่นื มาตรา ๖๕ ระยะเวลาท่ีกาหนดไว้ในคาส่ังของเจ้าหน้าท่ีอาจมีการขยายอีกได้ และ ถ้าระยะเวลานั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว เจ้าหน้าที่อาจขยายโดยกาหนดให้มีผลย้อนหลังได้เช่นกัน ถ้าการสิน้ สดุ ตามระยะเวลาเดมิ จะก่อใหเ้ กดิ ความไม่เปน็ ธรรมท่จี ะให้ส้นิ สดุ ลงตามน้ัน

มาตรา ๖๖ ในกรณีทีผ่ ใู้ ดไม่อาจกระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้ ในกฎหมายได้เพราะมีพฤติการณ์ท่ีจาเป็นอันมิได้เกิดข้ึนจากความผิดของผู้นั้น ถ้าผู้นั้นมีคาขอ เจา้ หนา้ ทอ่ี าจขยายระยะเวลาและดาเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดที่ล่วงมาแล้วเสียใหม่ก็ได้ ท้ังนี้ ต้องยื่น คาขอภายในสบิ ห้าวนั นบั แต่พฤติการณ์เชน่ วา่ นั้นไดส้ ้นิ สุดลง มาตรา ๖๗ เม่ือมีการอุทธรณ์ตามบทบัญญตั ิในส่วนท่ี ๕ ของหมวด ๒ แห่งพระราชบัญญัติน้ี หรือการย่ืนคาขอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทหรอื คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมาย ว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎกี าเพอ่ื ใหว้ ินจิ ฉัยชขี้ าดแล้วให้อายคุ วามสะดดุ หยุดอยไู่ ม่นบั ในระหว่างน้ัน จนกว่าการพิจารณาจะถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น แต่ถ้าเสร็จไปเพราะเหตุถอนคาขอ หรือท้ิงคาขอให้ถอื ว่าอายุความเรยี กรอ้ งของผยู้ ่ืนคาขอไม่เคยมีการสะดุดหยุดอย่เู ลย หมวด ๔ การแจง้ ---------------------- มาตรา ๖๘ บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทาโดยวาจา หรอื เปน็ หนังสือไดห้ รอื มกี ฎหมายกาหนดวธิ กี ารแจ้งไว้เป็นอย่างอืน่ ในกรณีคาสั่งทางปกครองท่ีแสดงให้ทราบโดยการส่ือความหมายในรูปแบบอ่ืนตามที่ กาหนดในกฎกระทรวง ใหม้ ผี ลเม่ือได้แจง้ มาตรา ๖๙ การแจ้งคาส่ังทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอย่างอ่ืนที่เจ้าหน้าที่ ต้องแจ้งให้ผู้ท่ีเก่ียวข้องทราบอาจกระทาด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทาเป็นหนังสือ ก็ใหแ้ จ้งเป็นหนงั สือ การแจง้ เปน็ หนงั สอื ให้ส่งหนงั สือแจ้งต่อผนู้ น้ั หรือถ้าได้ส่งไปยงั ภูมิลาเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่า ไดร้ บั แจง้ ตั้งแตใ่ นขณะทีไ่ ปถงึ ในการดาเนินการเร่ืองใดท่ีมีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังท่ีอยู่ดังกล่าว ให้ถือว่าเปน็ การแจง้ ไปยงั ภมู ลิ าเนาของผู้นัน้ แลว้ มาตรา ๗๐ การแจ้งเป็นหนังสือโดยวิธีให้บุคคลนาไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้าขณะ นาไปส่งไม่พบผู้รับ และหากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะท่ีอยู่หรือทางานในสถานที่นั้น หรอื ในกรณที ผี่ นู้ ้ันไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือน้ันหรือปิดหนังสือน้ันไว้ในท่ีซ่ึงเห็นได้ง่าย ณ สถานท่ีน้ัน ตอ่ หน้าเจา้ พนักงานตามทีก่ าหนดในกฎกระทรวงท่ไี ปเปน็ พยานก็ใหถ้ อื วา่ ได้รับแจง้ แลว้ มาตรา ๗๑ การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับให้ถือว่าได้รับแจ้งเม่ือครบกาหนด เจ็ดวันนับแต่วันส่งสาหรับกรณีภายในประเทศ หรือเม่ือครบกาหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสาหรับ กรณีสง่ ไปยงั ต่างประเทศ เว้นแตจ่ ะมีการพสิ จู น์ไดว้ ่าไม่มีการได้รับหรอื ไดร้ ับกอ่ นหรือหลังจากวันนนั้

มาตรา ๗๒ ในกรณีที่มีผู้รับเกินห้าสิบคนเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบต้ังแต่เร่ิมดาเนินการ ในเร่ืองนั้นว่าการแจ้งต่อบุคคลเหล่านั้นจะกระทาโดยวิธีปิดประกาศไว้ ณ ท่ีทาการของเจ้าหน้าที่ และทีว่ ่าการอาเภอที่ผู้รับมีภูมิลาเนาก็ได้ ในกรณีนี้ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวัน นับแตว่ นั ท่ีได้แจง้ โดยวิธดี ังกล่าว มาตรา ๗๓ ในกรณีท่ีไม่รู้ตัวผู้รับ หรือรู้ตัวแต่ไม่รู้ภูมิลาเนา หรือรู้ตัวและภูมิลาเนา แตม่ ผี ูร้ ับเกินหนงึ่ รอ้ ยคน การแจง้ เป็นหนังสอื จะกระทาโดยการประกาศในหนังสือพิมพ์ซ่ึงแพร่หลาย ในท้องถ่ินนั้นก็ได้ ในกรณีนี้ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันท่ีได้แจ้ง โดยวิธีดงั กล่าว มาตรา ๗๔ ในกรณีมีเหตุจาเป็นเร่งด่วนการแจ้งคาส่ังทางปกครองจะใช้วิธีส่งทาง เครื่องโทรสารกไ็ ด้ แต่ต้องมีหลักฐานการไดส้ ่งจากหนว่ ยงานผู้จัดบริการโทรคมนาคมท่ีเป็นส่ือในการ ส่งโทรสารนัน้ และตอ้ งจัดสง่ คาส่ังทางปกครองตัวจริงโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามหมวดน้ีให้แก่ผู้รับในทันที ทอ่ี าจกระทาได้ ในกรณนี ใ้ี หถ้ อื วา่ ผู้รบั ไดร้ ับแจ้งคาส่ังทางปกครองเป็นหนังสือตามวัน เวลา ท่ีปรากฏ ในหลักฐานของหนว่ ยงานผู้จัดบริการโทรคมนาคมดังกล่าว เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับ หรอื ได้รบั กอ่ นหรอื หลังจากนน้ั หมวด ๕ คณะกรรมการท่มี อี านาจดาเนนิ การพจิ ารณาทางปกครอง ---------------------- มาตรา ๗๕ การแต่งตง้ั กรรมการในลักษณะท่ีเปน็ ผทู้ รงคณุ วฒุ ิให้แต่งต้ังโดยระบุตัวบคุ คล มาตรา ๗๖ นอกจากพน้ จากตาแหนง่ ตามวาระ กรรมการพน้ จากตาแหนง่ เมือ่ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลลม้ ละลาย (๔) เป็นคนไรค้ วามสามารถหรอื คนเสมอื นไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นความผิดลหุโทษหรือ ความผดิ อนั ไดก้ ระทาโดยประมาท (๖) มีเหตุตอ้ งพน้ จากตาแหนง่ กอ่ นครบวาระตามกฎหมายว่าดว้ ยการนนั้

มาตรา ๗๗ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตาแหน่งก่อนวาระ ผู้มีอานาจแต่งต้ังอาจแต่งตั้ง ผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งต้ังให้ดารงตาแหน่งแทนอยู่ในตาแหน่งเท่ากับวาระ ทเ่ี หลืออย่ขู องผซู้ ง่ึ ตนแทน ในกรณีที่มีการแต่งต้ังกรรมการเพิ่มข้ึนในระหว่างที่กรรมการซ่ึงแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระ อยู่ในตาแหน่ง ให้ผู้ท่ีได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพ่ิมข้ึนอยู่ในตาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ ของกรรมการท่ไี ดร้ ับแต่งตงั้ ไวแ้ ล้ว มาตรา ๗๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๖ การให้กรรมการในคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท พ้นจากตาแหน่งกอ่ นครบวาระจะกระทามไิ ด้ เวน้ แต่กรณมี ีเหตุบกพร่องอย่างยิ่งต่อหน้าท่ีหรือมีความ ประพฤตเิ ส่อื มเสียอยา่ งร้ายแรง มาตรา ๗๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๕ วรรคสอง การประชุมของคณะกรรมการต้องมี กรรมการมาประชุมอย่างน้อยก่ึงหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือกฎ หรอื คาส่ังทีจ่ ัดใหม้ คี ณะกรรมการชุดนั้นจะกาหนดไว้เปน็ อย่างอนื่ ในกรณีมีกรรมการครบที่จะเป็นองค์ประชุมได้ แต่การพิจารณาเร่ืองใดถ้าต้องเล่ือนมา เพราะไม่ครบองค์ประชุม ถ้าเป็นการประชุมของคณะกรรมการซ่ึงมิใช่คณะกรรมการวินิจฉัย ข้อพิพาท หากได้มีการนัดประชุมเร่ืองน้ันอีกภายในสิบส่ีวันนับแต่วันนัดประชุมท่ีเล่ือนมา และการประชุมคร้ังหลังนี้มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจานวนกรรมการท้ังหมด ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม แต่ท้ังนี้ต้องระบุความประสงค์ให้เกิดผลตามบทบัญญัตินี้ไว้ในหนังสือ นัดประชมุ ดว้ ย มาตรา ๘๐ การประชมุ ให้เปน็ ไปตามระเบยี บการท่คี ณะกรรมการกาหนด การนัดประชุมต้องทาเป็นหนังสือและแจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า สามวัน เว้นแต่กรรมการน้ันจะได้ทราบการบอกนัดในท่ีประชุมแล้ว กรณีดังกล่าวน้ีจะทาหนังสือ แจ้งนัดเฉพาะกรรมการทไ่ี มไ่ ดม้ าประชมุ กไ็ ด้ บทบญั ญตั ิในวรรคสองมิใหน้ ามาใชบ้ งั คับในกรณีมีเหตุจาเป็นเร่งด่วนซ่ึงประธานกรรมการ จะนัดประชมุ เปน็ อย่างอน่ื กไ็ ด้ มาตรา ๘๑ ประธานกรรมการมีอานาจหน้าที่ดาเนินการประชุม และเพ่ือรักษา ความเรยี บร้อยในการประชมุ ให้ประธานมีอานาจออกคาส่งั ใด ๆ ตามความจาเป็นได้ ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในท่ีประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธาน กรรมการทาหน้าท่ีแทน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าท่ีได้ ใหก้ รรมการที่มาประชมุ เลอื กกรรมการคนหนง่ึ ข้ึนทาหนา้ ที่แทน ในกรณีท่ีประธานกรรมการมีหน้าที่ต้องดาเนินการใด ๆ นอกจากการดาเนินการประชุม ให้นาความในวรรคสองมาใชบ้ ังคบั โดยอนโุ ลม

มาตรา ๘๒ การลงมติของทีป่ ระชุมใหถ้ อื เสียงขา้ งมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหน่ึงเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธาน ในทีป่ ระชมุ ออกเสียงเพิม่ ข้ึนอีกเสยี งหนงึ่ เป็นเสียงชข้ี าด เรื่องใดถ้าไม่มีผู้คัดค้าน ให้ประธานถามท่ีประชุมว่ามีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ เม่ือไม่มี ผู้เหน็ เป็นอย่างอนื่ ใหถ้ ือว่าท่ีประชมุ ลงมติเห็นชอบในเร่อื งน้นั มาตรา ๘๓ ในการประชุมตอ้ งมีรายงานการประชุมเป็นหนงั สอื ถ้ามี คว ามเ ห็น แย้ งให้ บัน ทึกควา มเ ห็นแ ย้ง พร้ อมทั้ งเ หตุ ผลไ ว้ใ นรา ยง าน การ ปร ะชุ ม และถา้ กรรมการฝ่ายขา้ งนอ้ ยเสนอความเหน็ แย้งเปน็ หนงั สือก็ให้บันทกึ ความเห็นแยง้ น้ันไว้ดว้ ย มาตรา ๘๔ คาวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทต้องมีลายมือช่ือของกรรมการ ทวี่ นิ จิ ฉยั เร่อื งน้นั ถ้ากรรมการคนใดมีความเห็นแย้ง ใหม้ ีสิทธิทาความเห็นแย้งของตนรวมไวใ้ นคาวินจิ ฉัยได้ บทเฉพาะกาล ---------------------- มาตรา ๘๕ ให้ถือวา่ ระเบยี บสานกั นายกรัฐมนตรีว่าดว้ ยการปฏิบัติราชการเพ่ือประชาชน ของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นระเบียบที่คณะรัฐมนตรีวางขึ้นตามมาตรา ๓๓ แหง่ พระราชบญั ญตั ิน้ี มาตรา ๘๖ บรรดาคาขอเพื่อให้มีคาสั่งทางปกครองท่ีเจ้าหน้าท่ีได้รับไว้ก่อนท่ี พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ทาการพิจารณาคาขอดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ท่ีกฎหมาย หรอื กฎสาหรบั เร่อื งนั้นได้กาหนดไว้ มาตรา ๘๗ เม่ือไดม้ กี ารจัดต้งั ศาลปกครองข้นึ แลว้ บทบัญญัตมิ าตรา ๔๘ ให้เป็นอันยกเลิก ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรฐั มนตรี

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การดาเนินงานทางปกครอง ในปัจจบุ ันยังไม่มีหลักเกณฑ์และข้ันตอนที่เหมาะสม จึงสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่าง ๆ สาหรับการดาเนินงานทางปกครองข้ึนเพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีประสิทธิภาพในการใช้บังคับกฎหมายให้สามารถรักษาประโยชน์สาธารณะได้ และอานวย ความเป็นธรรมแก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ จึงจาเป็นต้องตราพระราชบญั ญัติน้ี พระราชบัญญัติวธิ ปี ฏบิ ัตริ าชการทางปกครอง (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗๔ หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับน้ี คือ โดยท่ีเป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายวา่ ด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเพื่อกาหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทาคาสั่งทางปกครอง ให้มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะและอานวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน อีกทั้ง ยังเปน็ การปอ้ งกนั การทุจรติ และประพฤตมิ ิชอบในวงราชการ จึงจาเป็นต้องตราพระราชบญั ญตั นิ ้ี ๔ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๙ ก/หนา้ ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗