Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Chapter 1. Anatomy and Physiology 2018 BOOK

Chapter 1. Anatomy and Physiology 2018 BOOK

Published by ไกรศร จันทร์นฤมิตร, 2018-08-19 09:23:05

Description: Chapter 1. Anatomy and Physiology 2018 BOOK

Search

Read the Text Version

ศุภชัย ไตรอุโฆษบทเรียนปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม 2017

บทเรียนนี้สําหรับพยาบาลและ EMT เรียนรู้การอ่าน Electrocardiography และการดูแลพยาบาลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ

หัวข้อเรื่องที่จะเรียน กล่าวถึงทฤษฎีและหลักการ รวมถึงการปฎิบัติในการอ่านคลื่นไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นในหัวใจ กล่าวถึง Anatomy และ Physiology ของหัวใจ รวมถึง Pathophysiology และ โรคหัวใจ กล่าวถึงการดูแลพยาบาลรักษาผู้ป่วยโรค หัวใจ และการใช้ยา จุดประสงค์ของการเรียนเพื่อการอ่านและแปลผลของคลื่นไฟฟ้าในหัวใจเพื่อเข้าใจถึงโรคของหัวใจเพื่อนํามาใช้ดูแลพยาบาลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ



หัวใจเป็นกล้ามเนื้อกลวง อยู่ในทรวงอก อยู่ข้างหลังกระดูกsternum และซี่โครงอยู่ระหว่างปอดทั้งสองข้างและอยู่เหนือกระบังลม ส่วนฐาณล่างของหัวใจ (Apex) อยู่ตรงแนว กึ่งกลางของกระดูก ไหปลาร้า กับช่อง กระดูกซี่โครงช่องที่ห้า ข้างซ้าย ส่วนบนของหัวใจอยู่ ประมาณช่องกระดูก ซี่โครงช่องที่สอง

ขนาดของหัวใจ มีความยาวประมาณ 5 นิ้ว, กว้าง 3.5 นิ้วและหนา 2.5 นิ้วนํ้าหนักประมาณ 250 – 350 กรัมหัวใจเต้นประมาณ 72 ครั้งในหนึ่งนาที หรือประมาณ104,000 ครั้งในหนึ่งวันหัวใจปั้มเลือดออกไปประมาณ8,000 ลิตร ในหนึ่งวันข้างหน้าของหัวใจเรียกว่า Anteriorข้างหลังของหัวใจเรียกว่า Posterior.ข้างล่างของหัวใจเรียกว่า Inferior.ข้างข้างของหัวใจเรียกว่า Lateral

ข้างในของหัวใจ

กล้ามเนื้อของหัวใจแบ่งออกเป็น 3 ชั้นชั้นนอกเรียกว่า Epicardiumชั้นกลางเรียกว่า Myocardiumและชั้นในสุดเรียกว่า Endocardiumส่วนถุงที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อหัวใจ เรียกว่า Pericardium

การอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นใน Endocardium และ ลิ้นหัวใจ เรียกว่า Endocarditis การถูกทําลายของกล้ามเนื้อหัวใจ ชั้น Myocardium มีผลทําให้หัวใจทํางานบีบตัวไม่ได้เป็นปกติ ทําให้หัวใจปั้มเลือดออกมาได้น้อยลงอายุมากขึ้น นํ้าหนักตัวมากขึ้น ไขมันจะไปเกาะตัวเพิ่มขึ้นในชั้น Epicardium ทําให้เลือดไป เลี้ยงกล้ามเนื้อของหัวใจไม่สะดวก มีโอกาสเกิด Myocardial Infarction เพิ่มขึ้น

Pericardium เป็นถุงที่คลุมกล้ามเนื้อของหัวใจ และเส้นเลือดใหญ่เช่น ส่วนของ Ascending Aorta, Pulmonary artery and Pulmonary vein.ในช่องระหว่าง Pericardium กับกล้ามเนื้อของหัวใจ จะมีนํ้าหล่อลื่น Lubricating fluid.นิดหน่อย

การอักเสบของ Pericardium เรียกว่า Pericarditis Aorta rupture or dissect จะทําให้เลือดไหลเข้าไปในช่องของ pericardium จะทําให้เกิดTamponade หัวใจไม่สามารถปั้มเลือดออกจากหัวใจได้เพียงพอ อาจจะทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้องห้องข้างบนข้างขวาห้องข้างบนข้างซ้ายห้องข้างล่างข้างขวาและห้องข้างล่างข้างซ้ายผนังที่กั้นระหว่างห้องข้างขวาและห้องข้างซ้ายเรียกว่า SEPTUM

หัวใจห้องข้างบนทั้งซ้ายและขวา เป็นที่รับเลือดเพื่อส่งผ่านไปที่หัวใจห้องข้างล่าง ผนังกล้ามเนื้อของหัวใจห้องข้างบนทั้งสองข้างจะบางไม่หนา กล้ามเนื้อของหัวใจข้างขวาล่างก็ไม่หนามากเท่ากับห้องข้างซ้ายข้างล่าง เมื่อได้รับความดันเพิ่มมากขึ้นจากปอดหัวใจข้างขวาล่างจึงเกิดการล้มเหลวได้มากกว่าหัวใจห้องข้างล่างข้างซ้าย เมื่อได้รับความดันเพิ่มมากขึ้นที่มาจากร่างกาย

ลิ้นหัวใจทําหน้าที่คล้ายประตูเปิดปิดลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องข้างบนและห้องข้างล่าง เรียกว่าAtrioventricular Valve. ( AV Valve )ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องข้างบนและข้างล่างข้างขวา เรียกว่า TricuspidValve.ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องข้างบนและข้างล่างข้างซ้าย เรียกว่า Mitral Valve.ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องหัวใจข้างขวาข้างล่างกับเส้นเลือด Pulmonaryartery เป็น semilunar valve เรียกว่าPulmonic Valveลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องข้างล่างข้างซ้ายกับ Aorta เป็น semilunarvalve เรียกว่า Aortic Valve.

Chordae Tendineae( หมายเลข 14 ) เป็นเส้นสาย ที่ใช้สําหรับดึงลิ้นของหัวใจให้เปิดปิดได้สนิทเป็นเส้นสายที่ข้างหนึ่งยึดติดกับกลีบลิ้นของหัวใจอีกข้างหนึ่งยึดติดกับกล้ามเนื้อ Papillarymuscleเมื่อหัวใจห้องข้างล่างบีบตัว สายเส้นChordae Tendineaeจะดึงลิ้นหัวใจไว้ไม่ให้ลิ้นหัวใจถูกดันผลุบเข้าไปในหัวใจห้องข้างบน

เมื่อผู้ป่วยเกิดมี AcuteMyocardium Infarctionในส่วนที่ใกล้กับหรือที่Papillary muscle จะทําให้ Papillary muscle ถูกทําลายและฉีกขาดเมื่อ Papillary muscleถูกทําลายหรือฉีกขาดจะทําให้ chordaetendineae ไม่สามารถดึงรั้งลิ้นหัวใจได้เมื่อหัวใจห้องข้างล่างบีบตัว ลิ้นหัวใจจะผลุบขึ้นไปยังห้องหัวใจข้างบน มีผลทําให้เลือดไหลย้อนกลับ เกิดปัญหาตามมาคือLow cardiac outputเกิดการทํางานของหัวใจล้มเหลว Heart failure

Semilunar valve โดยปกติ ประกอบด้วยลิ้น 3 กลีบ (cusp) เมื่อหัวใจห้องข้างล่างบีบตัว (systolic) ความดันในห้องหัวใจห้องข้างล่างจะสูงขึ้น มีผลทําให้ semilunar valve ทั้งสองลิ้น เปิดเลือดก็จะถูกบีบตัวออกจากห้องหัวใจห้องข้างล่าง เมื่อสิ้นสุดการบีบตัวแล้ว หัวใจจะคลายตัว (diastolic) ความดันในห้องหัวใจห้องข้างล่างจะน้อยลง ความดันน้อยลงกว่าเส้นเลือดข้างนอก ของหัวใจ ( pulmonary artery และ aorta) จึงมีผลทําให้ semilunar valve ทั้งสองปิด

เสียงที่ได้ยินจากหัวใจ Heart Sounds.เสียงที่ 1 First heart sound  ได้ยินเสียง “LUB” เสียงตํ่า ระยะยาว เกิดจาก A-V Valve ปิดเสียงที่ 2  Second heart sound  ได้ยินเสียง “DUB” เสียงสูง ระยะสั้น - เกิดจาก Aortic และPulmonary Valve ปิดเสียงที่ 3 Third heart soundเป็นเสียงผิดปกติ ที่เกิดขึ้นหลังจากเสียงที่ 2 เกิดในผู้ป่วยที่มี heartfailure, Mitral regurgitation, Ventricular septal defect,Dilate cardiomyopathy จะได้ยินเสียงคล้ายกับ fluid ไหลกลับ( Sloughing in ) ฟังแล้วได้ยินดังนี้ S1 = Slough, S2 = ing, S3 =in หรือ “Kentucky” ( Ken = S1, Tuck = S2 and Ky = S3 )เสียงที่ 4 Fourth heart soundเป็นเสียงผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนเสียงที่หนึ่ง เกิดในผู้ป่วยที่มีหัวใจห้องข้างล่างยืดขยายตัวไม่ค่อยดี เช่น Ventricular hypertrophy,Hypertension, aortic stenosis, ventricular fibrosis,Hypertrophic cardiomyopathy.ภาษาอังกฤษเรียกว่า “A Stiff Wall” ฟังได้ยินเสียงดังนี้ S4=A, S1= Stiff, S2 = Wall หรือ “Tennessee” ( Ten = S4, Ness =S1,See = S2 )

เลือดไหลเข้าออกในหัวใจเลือดดํา Deoxygenated blood ไหลมาทางเส้นเลือด superior vena cava, inferior venacava and coronary sinus เข้ามาที่หัวใจห้องข้างขวาบน แล้วส่งผ่าน Tricuspid valve ลงมาที่หัวใจห้องข้างขวาล่างเมื่อหัวใจห้องข้างล่างบีบตัว เลือดจะไหลออกจากหัวใจห้องข้างขวาล่างผ่าน Pulmonicvalve.ไปทาง Pulmonary artery เข้าสู่ปอดเลือดที่ผ่านเข้ามาที่ปอด มีการแลกเปลี่ยนOxygen and Carbon-dioxide เปลี่ยนเป็นเลือดแดง Oxygenated blood แล้วจะไหลกลับสู่หัวใจโดยมาทาง Pulmonary vein เข้าหัวใจห้องบนข้างซ้ายเลือดแดงจากหัวใจห้องข้างบนซ้าย จะไหลผ่านMitral valve ลงมาที่หัวใจห้องข้างซ้ายข้างล่างเมื่อหัวใจห้องข้างล่างบีบตัว เลือดจากห้องหัวใจห้องข้างซ้ายข้างล่างจะถูกส่งออกผ่าน Aorticvalve ไปที่ Aorta ซึ่งเป็นทางส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนของร่างกายต่อไป

ปกติระยะเวลาของการขยายตัวของหัวใจDiastole period จะนานมากกว่าสองเท่าของระยะเวลาการบีบตัวของหัวใจ Systolic periodเมื่อหัวใจเต้นไว ระยะเวลาของการขยายตัวของหัวใจจะลดน้อยลง (Filling Time) จึงทําให้ จํานวนเลือดที่ไหลจากหัวใจห้องข้างบนลงมายังห้องหัวใจข้างล่างลดน้อยลงเมื่อจํานวนเลือดในหัวใจห้องข้างล่างมีน้อย จึงมีผลทําให้จํานวนเลือดที่ปั้มออกจากหัวใจลดน้อยลง ( Low Cardiac output )

ในการบีบตัวของหัวใจโดยปกติ เมื่อมีไฟฟ้าวิ่งผ่านห้องหัวใจห้องข้างบนจะมีการบีบตัวของหัวใจห้องข้างบนเกิดขึ้น ที่เรียกว่า Atrial Kick จะมีผลทําให้ จํานวนเลือดไหลลงมาจากห้องหัวใจห้องข้างบนลงมายังห้องหัวใจห้องข้างล่างเป็นปกติแต่ผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ คือไม่มีไฟฟ้าชนิดปกติวิ่งผ่านหัวใจห้องข้างบน เช่น AtrialFibrillation จึงไม่ทําให้เกิดการบีบตัวของหัวใจห้องข้างบน จึงมีผลทําให้จํานวนเลือดจากห้องหัวใจห้องข้างบนไหลลงมายังห้องหัวใจห้องข้างล่างลดน้อยลงถึงประมาณ 30 %.จํานวนเลือดที่มีน้อยกว่าปกติในห้องหัวใจห้องข้างล่าง จึงเป็นผลทําให้จํานวนเลือด ที่ปั้มออกไปจากหัวใจลดน้อยลง

เส้นเลือดที่นําเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของหัวใจมี 2 เส้นใหญ่คือ1. -Right coronary artery. (RCA)2 -Left main (LMCA)แยกออกเป็น 2 เส้น ใหญ่2.1 - Left Anterior Descending artery LAD. ซึ่งมีแขนงเล็กแยกออกไปหลาย แขนงเรียกว่า Diagonal branch artery.2.2 - Left Circumflex artery ซึ่งมีแขนง แยกออกไปหลายแขนงเรียกว่า Obtuse Marginal branch artery.ส่วนด้านหลังของหัวใจ มีเส้นเลือดใหญ่ที่ เรียกว่า Posterior Descending Branch Artery ( PDA ) ที่ส่วนมากจะ แยกมาจาก RCA ( 70%) ที่เราเรียกว่า Right dominance แต่ในบางคนพบว่า เส้นเลือด PDA นั่นแยกมาจากเส้นเลือด Left Circumflex artery (10%) เรา เรียกว่า Left dominance อีก 20% พบ ว่าแยกมาจาก Anastomosis ของ Left and Right Coronary artery.

เส้นเลือด LAD นําเลือดไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจข้างล่างข้างซ้ายข้างหน้า, 2/3 ของกล้ามเนื้อผนังกั้น ระหว่างห้องหัวใจห้องข้างขวาและข้างซ้าย, และ Bundle of HIS and Bundle Branched เส้นเลือด Circumflex artery นําเลือดไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจห้องข้างบนข้างซ้าย, กล้ามเนื้อส่วนข้างซ้ายและข้างหลังของหัวใจข้างซ้ายข้างล่าง, 45% SA node, 10% AV node, และ 20% posterior septumเส้นเลือด RCA นําเลือดไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจห้องข้างขวาข้างบน ส่วนฐาณข้างล่าง และกล้ามเนื้อ หัวใจห้องข้างขวาข้างล่าง ด้านหลังของห้องข้างซ้ายข้างล่าง, 55% SA node, 90% AV node, 80% posterior septum and left posterior bundle branch.

Coronary artery perfusionเกิดขึ้นในขณะกล้ามเนื้อหัวใจคลายตัว Diastoleเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจจะเริ่มต้นเลี้ยงจาก Epicardium ต่อจากนั้นก็ไปที่ Myocardium และEndocardiumฉะนั้นเมื่อเกิดมีการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของหัวใจ ส่วนที่เกิด infarction เซลกล้ามเนื้อถูกทําลายก่อนก็คือส่วนEndocardium.ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อของหัวใจใหญ่โต Hypertrophy เลือดจะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนEndocardium ได้ยากลําบากมากขึ้น

Cardiac Cycle เป็นการทํางานหนึ่งรอบของหัวใจแบ่งออกเป็น 2 จังหวะ คือ จังหวะบีบตัว (Systole) และ จังหวะคลายตัว (Diastole)

Cardiac Cycle คือหนึ่งรอบของการปั้มและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ Systole and Diastole.Cardiac Cycle แบ่งออกเป็น 5 ระยะระยะที่ 1. เรียกว่า Early Diastole - ระยะนี้หัวใจห้องข้างล่างจะคลายตัว -Semilunar valves ( pulmonary valve & Aortic valve ) จะปิด เนื่องจาก ความดันpressure ใน pulmonary artery and aorta มากกว่า ความดัน pressure ใน ventricles - Atrioventricular (AV) valves ( Tricuspid & Mitral ) จะเปิด เนื่องจาก ความดันpressure Atriums มากกว่า ความดัน pressure ใน Ventriclesระยะที่ 2. เรียกว่า Atrial Systole - ระยะนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากไฟฟ้าวิ่งผ่าน ห้องหัวใจข้างบน จะทําให้เกิด Atrial Depolarizationทําให้กล้ามเนื้อของหัวใจห้องข้างบนเกิดการหดและบีบตัว Atrial contraction. ( Atrial Kick ) - ทําให้เลือดไหลลงมายังห้องหัวใจข้างล่างได้ดีขึ้น













Repolarization เป็นสภาวะที่ประจุไฟฟ้าภายในเซลลดลงกลับมาอยู่ในสภาวะเดิม เป็นช่วงที่ Potassium ไหลออกจากเซลดูจากคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ในช่วงของการrepolarization จะเห็น T wave

ไฟฟ้าในหัวใจที่เกิดขึ้น จะไป กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภายในเซล มีการไหลเข้าของ sodium, calcium ทําให้ ประจุไฟฟ้าภายในเซล มีค่าเป็น บวกเพิ่มขึ้น เรียกว่าเป็นการ Depolarization หลังจากนั้น Potassium ที่อยู่ภายในเซลจะ ไหลออกจากภายในเซล ทําให้ ค่าประจุไฟฟ้าลดลงมาเหมือน เดิม ที่เราเรียกว่าเป็นการ Repolarization. ขบวนการ Depolarization และ Repolarization จะทําให้เกิดเป็นคลื่น waveform ที่เราสามารถบันทึกได้ที่เราเรียกว่า ECG ( ElectroCardioGraphy ) เมื่อไฟฟ้าเคลื่อนผ่านห้องหัวใจข้างบน ( Atriums ) จะทําให้เกิด waveform ที่เราเรียกว่า P wave เมื่อไฟฟ้าเคลื่อนผ่านห้องหัวใจข้างล่าง ( Ventricles ) จะทําให้เกิด wavefrom ที่เราเรียกว่า QRS complexหลังจากการ Depolarization แล้วเซลจะเกิดการ Repolarization, waveform ที่เกิดจากการ Repolarization ของ Atriums จะมองไม่เห็นเพราะซ่อนอยู่ใน QRS complex แต่การ Repolarization ของ Ventricles จะเห็น waveform ที่เราเรียกว่า T wave

Cardiac action potential แบ่งเป็น 5 phaseคือ

Phase 4, Resting Membrane potential เป็นช่วงที่กลับคืนมาสู่ภาวะปกติ คือPotassium ไหลหลับเข้าไปภายใน cell และ Sodium ไหลออกไปอยู่ข้างนอกของ cell

Phase 0 : Depolarization ;Influx of Na+ through fast SodiumChannel.Sodium ไหลเข้าไปในเซลอย่างรวดเร็ว

Phase 1. Early Repolarizationเมื่อผ่าน Phase 0, Depolarization Sodiuminflux เข้าสุ่ภายในเซล เริ่มช้าลง ขณะเดียวกัน Potassium เริ่มซึมออกนอกเซล ทําให้ค่าประจุไฟฟ้าบวกลดน้อยลงนิดหน่อย

Phase 2. Plateau Phase.หลังจาก early repolarization phase การเปลี่ยนแปลงเข้าของ calcium และการออกของ Potassium ของเซลจะมีอัตราช้าลง ทําให้ประจุไฟฟ้าบวกลบไม่เปลี่ยนแปลง เราเรียกว่า Plateau Phase.

Phase 3 Rapid Repolarization.เป็นช่วงที่ Potassium ไหลออกจากภายในเซลอย่างรวดเร็ว

Phase 4. Resting state.กลับมาอยู่ในสภาวะปกติเดิม

Refractory PeriodRefractoriness is a term used to describethe extent to which cell able to respondto a stimulus ใช้บ่งบอกถึงช่วงจังหวะของเซล ที่มีผลตอบสนองจากไฟฟ้าที่มากระตุ้น Refractory period แบ่งเป็น 3 period คือ 1. Absolute Refractory Period. 2. Relative Refractory Period 3. Supernormal Period

Absolute refractory period เป็นช่วงระยะเวลาระหว่าง Phase 0 จนถึงบางส่วนของ Phase 3Absolute refractory period เป็นช่วงที่เซลไม่สามารถตอบสนองต่อไฟฟ้าอื่นที่มากระตุ้นต่อเซลได้อีกเพราะตัวเองยังทําการตอบสนองต่อไฟฟ้าตัวเดิมที่มาก่อนหน้านี้อยู่

Relative refractory periodเป็นช่วงระยะเวลาที่เกือบจะสิ้นสุดการ repolarization ของ cellRelative refractory periodเป็นช่วงที่เซลไม่สามารถตอบสนองต่อไฟฟ้าอย่างอ่อนๆที่มากระตุ้นต่อเซลได้ แต่สามารถตอบสนองต่อไฟฟ้าที่แรงมากหน่อยได้ทําให้เซลเกิดการdepolarization เกิดขึ้นอีก

Supernormal periodเป็นช่วงต่อจาก relativerefractory period หรือเป็นช่วงที่เซลได้มีการ repolarizationสิ้นสุดไปแล้ว ใน ECG ก็คือช่วงข้างหลังของ T waveช่วง Supernormal period นี้เซลจะสามารถรับและตอบสนองต่อไฟฟ้าที่มากระตุ้นได้ และมีการdepolarization เกิดขึ้น

ทางเดินของไฟฟ้าตามปกติ ไฟฟ้าจะผลิตมาจาก Sinus node ส่งผ่านมาที่หัวใจห้องข้างบนข้าง ขวาทาง Inter-nodal pathway ส่งไปที่หัวใจข้างบนข้างซ้ายทาง Bachmann’s bundle ไฟฟ้าถูกส่งมาพักนิดหนึ่งที่ AV node แล้วเดินทางต่อลงมาที่หัวใจห้องข้างล่างทาง Bundle of HIS และแยกออกไปเลี้ยงห้องหัวใจข้างล่างข้างขวาทาง Right Bundle branch และแยกไปที่หัวใจห้องข้างซ้ายด้านหน้าทาง Left Anterior Fascicular branch และไปที่ด้านหลังข้างซ้ายข้างล่างทาง Left Posterior Fascicular branch ต่อจากนั้นก็มาถึงเซลกล้ามเนื้อของห้องหัวใจห้องข้างล่างที่เรียกว่า Purkinje Fibers

Sinoatrial nodeตั้งอยู่ส่วนบนด้านหลังของหัวใจห้องข้างบนข้างขวาปกติจะมีกําลังการผลิตไฟฟ้าในอัตรา 60 – 100 ครั้งในหนึ่งนาทีAtrioventricular nodeตั้งอยู่ที่ส่วนข้างล่างของหัวใจห้องข้างล่างข้างขวาเมื่อไฟฟ้าเดินทางมาถึง AV nodeไฟฟ้าจะหยุดพักนิดหนึ่งก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังหัวใจห้องข้างล่างการหยุดพักการเดินทางของไฟฟ้านี้จะเป็นจังหวะพอดีที่รอให้เลือดไหลลงมายังห้องหัวใจห้องข้างล่างก่อนที่ห้องหัวใจห้องข้างล่างจะได้รับไฟฟ้าและเกิดการบีบต้วปั้มเลือดออกไปจากหัวใจ

ไฟฟ้าที่มาที่ AV node จะเดินทางต่อไป ลงมายังหัวใจห้องข้างล่างโดยผ่านมาทางBundle of HISและแยกออกไปเลี้ยงห้องหัวใจข้างล่างข้างขวาทาง RightBundle branch และห้องข้างล่างข้างซ้ายทาง Left Bundlebranch.Left Bundle branch ยังแยกไปที่หัวใจห้องข้างซ้ายด้านหน้าทาง Left AnteriorFascicular branch และไปที่ด้านหลังข้างซ้ายข้างล่างทางLeft Posterior Fascicularbranchต่อจากนั้นไฟฟ้าก็เดินทางมาถึงเซลกล้ามเนื้อของห้องหัวใจห้องข้างล่างที่เรียกว่าPurkinje Fibers

การที่เซลได้รับอาหารและออกซิเจน Tissue perfusion ได้เพียงพอ หัวใจต้องปั้มเลือดออกไปเพียงพอ นั่นหมายถึงต้องมี Cardiac output เพียงพอ Cardiac output มีความสําพันธ์กันกับ Heart rate และ Stroke volume Stroke volume ก็คือจํานวนเลือด ที่หัวใจปั้มออกไปในแต่ละครั้ง จํานวนเลือดที่หัวใจปั้มออกเป็นเปอร์เซนต์เป็น สัดส่วนกับจํานวนเลือดก่อนที่จะปั้ม ออกไป เราเรียกว่า Ejection Fraction.Stroke volume ประกอบไปด้วยสิ่งสามอย่างนั่นคือ Preload, Afterload และ contractility. Heart rate โดยปกติจะไวหรือช้าขึ้นอยู่กับ ความต้องการของร่างกาย metabolic need. ถ้าหัวใจเต้นช้ามากๆ ก็จะมีผลทําให้ Cardiac output ลดน้อยลง แต่ถ้าหัวใจเต้นไวเกินไป จะทําให้หัวใจไม่มีเวลาให้เลือดไหลลงมาที่ห้องหัวใจข้างล่างมากเพียงพอ ก่อนที่จะปั้มเลือดออกไป จึงมีผลทําให้ Cardiac output ลดน้อยลงได้เช่นกัน

Swan Ganz catheter เป็นสาย ยางที่ใส่เข้าไปในหัวใจ ใส่ผ่าน Right atrium, Rightventricle และปลาย สุดจะอยู่ที่Pulmonary artery. Swan Ganz catheter สามารถ ให้ค่าข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น ค่าของ Cardiac output, Cardiac index, Preload ( CVP, PcWP ),afterload ( SVR ), Pulmonarypressure and PVR และ SvO2


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook