Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การบริหารจัดการ แก้ปัญหาทางการพยาบาล

การบริหารจัดการ แก้ปัญหาทางการพยาบาล

Published by apichaya-15, 2021-12-19 17:46:12

Description: การบริหารจัดการ แก้ปัญหาทางการพยาบาล

Search

Read the Text Version

ก ลุ่ ม ที่ 6 การบริหารจัดการ แก้ปัญหาทางการพยาบาล รายวิ ชา 1901322 Leadership and nursing management อ า จ า ร ย์ ที่ ป รึ ก ษ า อาจารย์ ดร.วิภาดา ศรีมันทยามาศ

\"การส่งต่อผู้ป่วย\" ที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ จะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์สูงสุด ลดการสูญเสีย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี คณะทำงานจัดทำคู่มือปฏิบัติงานระบบการส่งต่อผู้ป่วย ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์

วิเคราะห์สถานการณ์ ตามแนวคิด การบริหารความขัดแย้ง (Conflict management) ในสถานการณ์เป็นประเภทความขัดแย้งระหว่างบุคคล (interpersonal conflict) รูปแบบของสถานการณ์ คือ การประนีประนอม (negotiation or compromising) ต่างฝ่ายต่างมีเป้าหมายชัดเจน พยาบาลหัวหน้าเวรมี เป้าหมายในการส่งต่อผู้ป่วย พยาบาลศัลยกรรมหญิง มีเป้าหมายในการลงเวรจึงทำให้มีการขัดแย้ง ผลสรุป คือไม่มีฝ่ายไหนได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด ทำให้ต้องมี ฝ่ายช่วยเจรจานั่นก็คือพยาบาลผู้ตรวจการ ซึ่งวิธีการนี้ จะส่งผลเสียหากไม่มีการเจรจา

การสื่อสารในการปฏิบัติงานพยาบาล (Communication in nursing) ในสถานการณ์เป็นประเภทการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ (informal communication) ตามแนวปฎิบัติของโรงพยาบาลคาดว่า เป็นการสื่อสารแบบวงล้อ (wheel pattern) โดยจะมีสมาชิกคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง คือหัวหน้าเวรหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงจะ ประสานงานกับพยาบาลผู้ตรวจการ ซึ่งมีหน้าที่ ในการสั่งงานหรือเป็นผู้ตัดสิน ผู้ประสานงานให้ กับพยาบาลหัวหน้าเวรและพยาบาลศัลยกรรม หญิง ถือว่าเป็นการรวมอำนาจทำให้มีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และในการสื่อสารครั้งนี้ มีอุปสรรค คือ พยาบาลหัวหน้าเวรแก้ไขปัญหา ด้วยตัวเองเป็นการส่วนตัวเป็นการจัดระบบงาน ที่ไม่แน่นอน และไม่ได้มีการแจ้งรายละเอียดของ ผู้ป่วยอย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดการปฏิเสธและ ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการส่งต่อผู้ป่วย

การบริหารองค์การ (Organization management) จากสถานการณ์มีการบริหารจัดการใน องค์กรที่ไม่เป็นระบบ ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน โดยพยาบาลหัวหน้าเวรไม่แจ้งแก่พยาบาลเวร ตรวจการ แต่เลือกแก้ปัญหาด้วยตนเองโดย โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากพยาบาลหอผู้ ป่วยศัลยกรรมหญิงเป็นการส่วนตัว เนื่องจากที่ผ่านมาพยาบาลตรวจการมักให้ พยาบาลแต่ละหอผู้ป่วยแก้ปัญหาด้วยตนเอง จึงส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการส่งต่อผู้ป่วย การจัดอัตรากำลังและการจัด ตารางเวลา (Staffing process and scheduling) จากสถานการณ์ขาดความสมดุลระหว่าง ปริมาณความต้องการพยาบาลของผู้ป่วยกับ ปริมาณบุคลากรพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วย เนื่องจากพยาบาลหัวหน้าเวรไม่ได้รายงานให้ พยาบาลเวรการตรวจทราบ ขาดการวางแผน ความต้องการบุคลากรพยาบาลจึงส่งผลให้ ขาดกำลังพยาบาลในการส่งต่อผู้ป่วย

กระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Process of problem solving and decision making) จากสถานการณ์ ขาดการแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างมี วิจารณญาณ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานและการ ดำเนินชีวิต ขาดการวิเคราะห์หลายๆปัจจัย เช่น คุณภาพการ ตัดสินใจ (Decision quality) ไม่มีการตัดสินใจที่มีวัตุประสงค์ที่ ทำให้เกิดผลดีต่อการปฏิบัติงานของกลุ่มและบุคคล ซึ่งทำให้มี ปัญหาตามมา

PROBLEM เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในองค์กร เนื่องจาก บุคคลากรที่ปฏิบัติหน้าไม่ปฏิบัติ ตามแนวปฏิบัติของโรงพยาบาล ที่มา : http://chutimanursing.blogspot.com อัตรากำลังคนของพยาบาลไม่ เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ที่มา : McCormick Hospital ChiangMai การส่งต่อผู้ป่วยเกิดความล่าช้า เนื่องจากพยาบาลหัวหน้าเวรไม่ปฏิบัติ ตามแนวปฏิบัติของโรงพยาบาล ที่มา : https://thainakarin.co.th PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM PROBLEM

RELATED FACTORS ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย เนื่องจากมีพยาบาลขึ้นปฏิบัติงานเวร บ่าย (16.00-00.00 น.) จำนวน 3 คน แต่ผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลขณะนั้นจำนวน 30 คน พยาบาลหัวหน้าเวรไม่ได้ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล เนื่องจากพยาบาลหัวหน้าเวรไม่ได้ รายงานให้พยาบาลเวรตรวจการทราบ แต่แก้ปัญหาด้วยตนเองโดยโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ จากพยาบาลหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงเป็นการส่วนตัว พยาบาลเวรตรวจการไม่ได้ปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบของตน เนื่องจากทุกครั้งที่พยาบาล หัวหน้าเวรรายงานแก่พยาบาลตรวจการ พยาบาลตรวจการมักให้พยาบาลแต่ละหอผู้ป่วยแก้ ปัญหาด้วยตนเอง การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและมาตรการการปฏิบัติของโรงพยาบาล ทำให้การสื่อสารในหน่วย งานเกิดความล่าช้าและมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ปัจจัยที่ช่วยแก้ปัญหา เพิ่มจำนวนบุคลากรให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย โดยคำนึงถึงจำนวนผู้ป่วย ลักษณะและสภาพของผู้ป่วย การบริการ และความสามารถของการปฏิบัติงานของพยาบาลใน แต่ละเวร กำหนดหน้าที่รับผิดชอบและลักษณะงานของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลทุกระดับเป็นลายลักษณ์ อักษร กำหนดการติดต่อสื่อสารและขั้นตอนการรายงานต่างๆอย่างละเอียด รวมทั้งมีการประเมินผล และแก้ไขปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ กำหนดให้มีมาตรการการปฏิบัติงานอย่างเคร่งคัด และมีการเตือนหรือบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละ เลยการปฎิบัติหน้าที่

EFFECT ผ ล ก ร ะ ท บ ที่ เ กิ ด ขึ้ น แ ล้ ว การส่งต่อผู้ป่วยเกิดความล่าช้า เกิดความเข้าใจผิดและไม่พึงพอใจกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน ผ ล ก ร ะ ท บ ที่ อ า จ เ กิ ด ขึ้ น ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น จนเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้อาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการจัดการที่ไม่เป็นระบบ

การจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาการส่งต่อผู้ป่วย โครงการ : ทบทวนกิจกรรม การส่งต่อผู้ป่วย

โครงการ : ทบทวนกิจกรรมการส่งต่อผู้ป่วย หลักการและเหตุผล ปัจจุบัน “กระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย”ที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์ สูงสุด ลดการสูญเสีย มีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่จาก สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง เกิดปัญหาการส่งต่อผู้ ป่วยที่ล่าช้า เนื่องจากการประสานงานของบุคลากร ขาดการรับส่งสาร และข้อมูลที่ถูกวิธี ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงวางแผนริเริ่มโครงการ ทบทวนกิจกรรมการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อทั้งผู้ป่วย พยาบาล บุคลากรภายในโรง พยาบาล และโรงพยาบาล ทั้งยังเป็นการพัฒนาการ ส่งต่อผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงป้องกันการ เกิดปัญหาเนื่องจากการสื่อสาร และจากข้อพิพาท ระหว่างบุคลากรเอง จนก่อให้เกิดการส่งต่อผู้ป่วยที่ ล่าช้า หรือผิดพลาด

โครงการ : ทบทวนกิจกรรมการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อพัฒนาความรู้และ ทักษะในการส่งต่อผู้ป่วย OBJECTIVE ของพยาบาล และสามารถ ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ภายในโรงพยาบาลอย่างถูก ต้อง ให้พยาบาลมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ การทำงานภายในองค์กร รวมถึงเพื่อไม่ให้เกิดข้อร้อง เรียนจากผู้ป่วยเนื่องจาก การส่งต่อผู้ป่วยล่าช้าหรือ ไม่มีประสิทธิภาพ พยาบาลวิชาชีพ นักปฏิบัติ การฉุกเฉินการแพทย์ เจ้า พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบส่ง ต่อในโรงพยาบาล จำนวน 80 คน TARGET GROUP

โครงการ : ทบทวนกิจกรรมการส่งต่อผู้ป่วย ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงาน การดำเนินการก่อนการอบรม 1.ดำเนินจัดเตรียมเอกสารโครงการ และเอกสารประกอบการอบรมต่างๆ 2.สร้างแบบทดสอบความรู้ ความคิดเห็น สัมภาษณ์ และตรวจสอบเนื้อหา 3.ติดต่อวิทยากร และประชุมทีมดำเนินการเพื่อชี้แจงรายละเอียด 4.จัดเตรียม และตรวจสอบความพร้อม ของสถานที่ อุปกรณ์ การดำเนินการระหว่างการอบรม 1. อำนวยความสะดวกต่างๆภายในงาน 2. เปิดลงทะเบียนเข้าร่วม 3. คอยสังเกตการอบรม 4.ดูแลจัดเตรียมอาหาร แก่วิทยากร และผู้เข้าร่วม 5.แจกแบบทดสอบ แบบสอบถาม พร้อมเก็บคืนให้ครบ ระยะหลังการอบรม 1. ส่งหนังสือขอบคุณวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. รวบรวมและวิเคราะห์การอบรม 3. จัดทำรายงานการประเมินโครงการ

โครงการ : ทบทวนกิจกรรมการส่งต่อผู้ป่วย หลักสูตรการอบรม 1. ทบทวนแนวปฏิบัติของโรงพยาบาล 2.คู่มือแนวทางปฏิบัติการพยาบาล รับ-ส่งต่อผู้ป่วย 3. การพัฒนาระบบการทำงานภายในองค์กร การบูรณาการแนวคิด 1. บุคลากรในหน่วยงานทุกคนต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ขององค์การหรือระดับหน่วยงาน 2. เปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์ของ หน่วยงาน 3. มีข้อมูลย้อนกลับเน้นการตรวจสอบและการรายงานเป็นระยะเพื่ อการปรับปรุงแก้ไข 4. การกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดวัตถุประสงค์การเตรียมการ การดำเนินงาน

โครงการ : ทบทวนกิจกรรมการส่งต่อผู้ป่วย วิธีดำเนินการอบรม ตัวชี้วัด / การประเมินผล โครงการ 1. บรรยาย 2. ประชุมกลุ่มย่อย อัตราการส่งต่อผู้ป่วยล่าช้าลดลงจาก 3. นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย เดิม ร้อยละ 50 ผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนนี้ได้รับการ ระยะเวลาการดําเนินโครงการ ดูแลและส่งต่อที่ถูกต้องเหมาะสม ร้อย ละ 80 20 ธันวาคม 2564 - 20 มกราคม 2565 พยาบาลและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานมี ความรู้เกี่ยวกับการส่งต่อผู้ป่วยเพิ่ม สถานที่ดําเนินการ ขึ้น ร้อยละ 80 พยาบาลและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ห้องประชุมของโรงพยาบาล สามารถดูแลและส่งต่อผู้ป่วยได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 งบประมาณ พยาบาลและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน สามารถส่งต่อและลงข้อมูลผู้ป่วยได้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,340 บาท อย่างสมบูรณ์ ถูกต้อง ทันเวลา ร้อยละ 100 ผู้รับผิดชอบโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มงานกิจกรรมการพยาบาล ของโรงพยาบาลชุมชน พยาบาล และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลมีความรู้เรื่องการส่งต่อผู้ ป่วยเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อทันที และได้รับการพยาบาลขณะส่งต่อได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม รวมไปถึงพยาบาลและ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพใน การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย และปฏิบัติตาม มาตรฐานการส่งต่อของโรงพยาบาล

REFFERENCE




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook