PSYCHOLONG เสนอ จิตวิทยา อาจารย์เขมินต์ธารากรณ์ บัวเพ็ชร สำหรับครู จัดทำโดย นางสาวนูรซาฟีกา นราธิชาติ รหัสนักศึกษา 6506810051
คำนำ วิชาจิตวิทยาสำหรับครู จัดเป็นวิชาที่มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้เรียนในสาขาวิชาชีพครู และนักวิชาการศึกษาเนื่องจากมีเนื้อหาสาระสาคัญๆเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาแก้ไขและ พัฒนาส่งเสริมนักเรียนโดยใช้เทคนิควิธีการทางจิตวิทยาการแนะแนวการให้คาปรึกษาการ ศึกษารายกรณีเพ่ือช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนไม่เฉพาะใช้สาหรับประกอบการ เรียนในวิชานี้เท่านั้นวัตถุประสงค์หลักคือต้องการให้ผู้อ่านใช้เป็นคู่มือสู่การเป็นครูมืออาชีพที่ มีจิตวิทยาในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพในสถานการณ์จริง นางสาวนูรซาฟีกา นราธิชาติ 6505810051
สารบัญ บทที่ เรื่อง 01 02 ความรู้เบื้องต้นสำหรับจิตวิทยา 03 04 ปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์ 05 พัฒนาการมนุษย์เเต่ละช่วงวัย 06 ความจำเเละการลืม 07 การคิดและเชาว์ปัญญา 08 ทฤษฎีการรับรู้เเละการเรียนรู้ 09 การเรียนรู้และทฤษฎีของการเรียนรู้ 10 การเเนะเเนวเเละให้คำปรึกษา 11 การศึกษาเป็นรายกรณี 12 ปรัชญาเเนวคิดทฤษฎีตามจิตวิทยา สติปัญญา การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นสำหรับจิตวิทยาสำหรับครู
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นสำหรับจิตวิทยาสำหรับครู ความหมายจิตวิทยาสำหรับครู จิตวิทยาสำหรับครู เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเพื่อให้ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจ เข้าใจความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียนในอันที่สามารถเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้เรียนไปสู่แนวทางอันพึงประสงด์ได้ โดยผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจ จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาสำหรับครู การให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบ ทั้งด้านทฤษฎี หลักการเเละสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำ เทคนิคและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
01 จิตวิทยาสำหรับครู ความสำคัญของจิตวิทยาและระเบียบวิธีการศึกษาทางจิตวิทยา ความสำคัญและคุณค่าของวิชาจิตวิทยา เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. จิตวิทยาช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง 2. จิตวิทยาช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจผู้อื่น 3. จิตวิทยาช่วยให้ได้แนวทางในการวางกฎเกณฑ์ทางสังคม 4. จิตวิทยาช่วยบรรเทาปัญหาพฤติกรรม และปัญหาสังคม 5. จิตวิทยาช่วยส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตลอดจน ศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามา ใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพ ของการจัดการเรียนการสอน โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ของการเรียนรู้และพัฒนาการ สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และประมวลนำเนื้อหา มาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้ จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียนเพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหา ทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
01 จิตวิทยาสำหรับครู จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา จุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนจิตวิทยาการศึกษา คือ เพื่อให้เข้าใจ เพื่อการทำนายและเพื่อ ควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ กู๊ดวินและคลอส ไมเออร์ได้กล่าวถึงจุดมุ่ง หมายที่สำคัญของการเรียนจิตวิทยา ไว้ดังนี้ 1.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ 2.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน 3.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหา ในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
01 จิตวิทยาสำหรับครู ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน เช่น ผู้บริหารการศึกษา นัก แนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ 1.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการ สอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย 2.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการ ศึกษาได้สอดคล้องกับวัย ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ 3.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ การให้ความร่วมมือ และให้การยอมรับซึ่งกันและกัน 4.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงาน กับเด็กได้อย่างราบรื่น 5.ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม 6.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้ เหมาะสม 7.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
01 ขอบข่ายสำหรับจิตวิทยาสำหรับครู 1.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา เป็นต้น 2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ 3.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม 4.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง 5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน 6.จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน 7.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ เป็นต้น 8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงานเเละมนุษย์ 9.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา 10.จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษา ส่วนใหญ่ใช้การสังเกต
ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการศึกษามีประโยชน์สำหรับบุคคลทุกวัยไม่เฉพาะครูผู้สอน เช่น ผู้บริหารการศึกษา นักแนะแนว ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งบิดา มารดา ผู้ปกครอง ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ 1.ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ ความเจริญเติบโตของเด็กและสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะ สมและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของเด็กแต่ละวัย 2.ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดจนใช้วิธีการวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้อง กับวัย ซึ่งเป็นการช่วยให้จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ 3.ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจ การให้ความร่วมมือ 4.ช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครู ผู้ปกครองและเด็ก ทำให้ปกครองเด็กง่ายขึ้นและสามารถทำงานกับเด็กได้ 5.ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไข ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม 6.ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและการบริหารงานได้เหมาะสม 7.ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
บทที่ 2 ปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์
บทที่ 3 ปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์ ปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์ การพัฒนาตนเป็นกระบวนการของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเราเอง ให้ไปสู่ภาวะที่ ดีกว่าและเป็น ที่ต้องการมากกว่า แต่กระบวนการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายทั้งนี้เพราะพฤติกรรมมนุษย์นั้นซับซ้อน มีองค์ประกอบ และปัจจัยเกี่ยวเนื่องจำนวนมากด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ผู้ศึกษาจะต้องทำความรู้จักสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเพื่อที่ จะได้จัดการให้มีอิทธิพล เชิงบวกหรือหลีกเลี่ยง หากมีอิทธิพลเชิงลบต่อการพัฒนาตนเอง การศึกษาปัจจัยพื้น ฐานของพฤติกรรมจะช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ประกอบด้วย 2)ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมวิทยา 1)ปัจจัยพื้นฐานด้านชีวภาพ -อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม -พันธุกรรม -กระบวนการสังคมประกิต -การทำงานของระบบในร่างกาย -อิทธิพลของกลุ่ม -ระบบต่อมไร้ท่อ 3)แรงจูงใจ -ระบบกล้ามเนื้อ 4)ทฤษฎีแรงจูงใจ 5)ทฤษฎีความต้องการ 6)การรับรู้ 7)การเรียนรู้ 8)เจตคติและความคิดรวบยอด 9)การตัดสินใจ 10)การมองทะลุแก่นแท้ของมนุษย์
ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์ ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์ นักจิตวิทยาแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนรู้มาก่อน ได้แก่ ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ เช่นการกระพริบตา และสัญชาตญาณ เช่นความกลัว การเอาตัวรอดเป็นต้น 2. พฤติกรรมที่เกิดจากอิทธิพลของกลุ่ม ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดจากการ ที่บุคคลติดต่อสังสรรค์และมีความสัมพันธ์กับ บุคคลอื่นในสังคม พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจิตวิทยา พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวจิตวิทยา นักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ส่วนใหญ่จะประพฤติปฏิบัติตามแบบแผนของกฏระเบียบหรือวิธีการ ที่มีอยู่ใน สังคม รวมทั้งวัฒนธรรมที่มีอยู่ในสังคมนั้น ๆ ซึ่งมนุษย์ย่อมเข้าใจในสถานภาพ และบทบาทตามที่กลุ่มสังคมคาดหวัง ดังนั้นพฤติกรรมมนุษย์ อาจจะเกิดขึ้นได้ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1. การติดต่อสื่อสาร 2. การขัดแย้ง 3. การแข่งขัน 4. การประนีประนอมผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน 5. การผสมผสานกลมกลืนเข้าหากัน 6. การร่วมมือสนับสนุนซึ่งกันและกัน
พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวสังคมวิทยา พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวสังคมวิทยา นักสังคมวิทยา เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมหรือสภาวะภายนอกทั้งปวงที่อยู่ รอบตัวของมนุษย์ ทั้งสิ่งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างตลอดจนพลังงานต่างๆที่จับต้อง รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ อากาศ แสงแดด ความร้อน ความเย็น แร่ธาตุ กระแสไฟฟ้า เครื่องมือ สื่อสาร เป้นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ทั้งในแง่ที่อำนวยให้เกิดผลดี และผลร้าย โดยที่มนุษย์ ไม่มีทางหลีกหนี เราอาจจะแบ่งประเภทของสิ่งแวดล้อม ออกเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ คือ 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ 2. สิ่งแวดล้อมทางสังคม 3. สิ่งแวดล้อมทางครอบครัว อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่จะหาทางต่อสู้และเอาชนะทำให้เกิดวัฒนธรรม รูปแบบต่าง ๆ ขึ้น เช่น การคิดประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ การเพาะปลูก การสร้างถนนหนทาง การสร้างเครื่องมือ สื่อสาร เป็นต้น พฤติกรรมมนุษย์ทางวิทยาศาสตร์
บทที่ 3 พัฒนาการมนุษย์เเต่ละช่วงวัย
บทที่ 3 พัฒนาการมนุษย์เเต่ละช่วงวัย “พัฒนาการของมนุษย์” ความหมาย พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆทั้งในด้านโครงสร้างและแบบแผนของ ร่างกายทุกส่วนอย่าง ขั้นตอนและเป็นระเบียบแบบแผน เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งเสียชีวิต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพเพื่อให้บุคคลนั้นพร้อมแสดงความสามารถในการกระ ทำกิจกรรมใหม่ๆที่เหมาะสมกับวัย “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคคล” 1.การเจริญเติบโต หมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางร่างกายที่มีความเกี่ยวข้องกับ ขนาด น้ำหนักส่วนสูง กระดูก กล้ามเนื้อ รูปร่าง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณ เช่น ส่วน สูงที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น 2.วุฒิภาวะ หมายถึง การเจริญเติบโตของโครงสร้างทางร่างกายอย่างเป็นลำดับขั้นตามธรรมชาติ จนถึงจุดสูงสุด มีผลให้เกิดความพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมได้เหมาะสมกับวัย เป็สภาวะที่เกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ใช่การเรียนรู้หรือประสบการณ์ 3.การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร อันเนื่องมาจากการ ฝึกฝน ฝึกหัดหรือประสบกรณ์เดิมที่มีอยู่การฝึกฝนหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาจะทำให้ เชี่ยวชาญหรือชำนาญพฤติกรรมนั้นๆ
พัฒนาการมนุษย์เเต่ละช่วงวัย ระยะพัฒนาการ พัฒนาการของมนุษย์แบ่งตามช่วงอายุได้เป็น 8 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะก่อนเกิด คือ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงระยะคลอด 2. วัยทารก เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2 ปี 3. วัยเด็ก เริ่มตั้งแต่อายุ 2 – 12 ปี 4. วัยย่างเข้าสู่วัยรุ่น ปกติหญิงเฉลี่ยมีอายุ 12 ปี ชายเฉลี่ยมีอายุ 14 ปี 5. วัยรุ่น ตั้งแต่อายุ 14 – 21 ปี 6. วัยผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 21 – 40 ปี 7. วัยกลางคน ตั้งแต่อายุ 40 – 60 ปี 8. วัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป
1. ระยะก่อนเกิด คือ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงระยะคลอด พัฒนาการในระหว่างการตั้งครรภ์แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะไซโกตหรือระยะที่ไข่ผสมแล้ว นับเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิจนถึงสัปดาห์ที่ 2 ปกติ การฝังตัวจะเกิดขึ้นภายใน 10 วันนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ 2. ระยะตัวอ่อน เริ่มตั้งแต่ zygote เคลื่อนตัวมาเกาะที่ผนังมดลูก ประมาณสัปดาห์ที่ 2 จนกระทั่งถึงสัปดาห์ที่ 8 ระยะนี้ถือเป็นระยะสำคัญที่สุดของทารกในครรภ์ตัวอ่อนจะมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและชัดเจน อวัยวะและระบบการทำงานในร่างกายจะพัฒนาขึ้น เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหารและอวัยวะต่างๆสุขภาพของมารดา ขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดในระยะนี้ 3. ระยะชีวิตใหม่หรือระยะที่เป็นตัวเด็กเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 จนกระทั่งคลอด ระยะนี้เป็น ระยะที่เปลี่ยนจากตัวอ่อนมาเป็นทารก มารดาจะรู้สึกว่ามีทารกอยู่ในครรภ์ โดยจะเริ่มรู้สึก ว่าทารกมีการเคลื่อนไหวในสัปดาห์ที่ 16 เป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด สัดส่วนโครงสร้าง ของร่างกาย อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การเจริญเติบโตจะเป็นไป อย่างรวดเร็วประมาณ 20 เท่าของตอนเป็นตัวอ่อน เริ่มมีการสร้างขน ผม เล็บ และอวัยวะ สืบพันธุ์ภายนอก กระดูกจะแข็งแรงขึ้น
2.วัยทารก เเบ่งออกเป็น 2 ระยะ 1) ทารกเเรกเกิด นับจากคลอดถึง 2 สัป2ด)าห์ ทารก 2 สัปดาห์ถึง 2ปี
3. วัยเด็ก เริ่มตั้งแต่อายุ 2 – 12 ปี วัยเด็ก เริ่มตั้งแต่อายุ 2 – 12 ปี แบ่งออกเป็น 2 ช่วงอายุ ได้แก่ 1. วัยเด็กตอนต้นหรือระยะวัยเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึง 6 ขวบ พัฒนาการทางร่างกาย ในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับระยะวัยทารกสัดส่วนของร่างกาย จะค่อยๆ เปลี่ยนไป ฉะนั้นจึงเป็นระยะที่เหมาะที่สุดที่จะฝึกได้เล่นกีฬาประเภทเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เหมาะกับ กำลังของเด็ก ซึ่งจะช่วยการเรียนรู้และพัฒนาพฤติกรรมด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กในวัยนี้จะมีอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าเด็กในวัยทารก ดื้อรั้นเอาแต่ใจเจ้า อารมณ์ในระยะนี้เด็กโกรธง่ายเนื่องจากอยากเป็นตัวของตัวเอง ความสำเร็จในการเป็นตัวของตัวเองได้สมใจ พัฒนาการทางภาษา ในระยะนี้เด็กใช้ภาษาพูดได้แล้วแต่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ดีเท่าผู้ใหญ่ เด็กจะพัฒนา ความสามารถในการใช้ภาษาจนใช้งานได้ดีในช่วงระยะวัยเด็กตอนต้น เมื่อสิ้นสุดระยะนี้ไม่ว่าเด็กชาติไหน สามารถพูดภาษาแม่ของตนได้ดีเท่าผู้ใหญ่ วัย 6 ขวบเป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการ ภาษาพูดนอกจากภาษา พูดแล้วเด็กบางคนเริ่มพัฒนาภาษาเขียนและเริ่มอ่านหนังสือ พัฒนาการทางสังคม เด็กจะเริ่มรู้จักเข้าหาผู้อื่นเริ่มแสวงหาเพื่อนร่วมวัยเดียวกันเด็กหญิงและเด็กชายเริ่ม มองเห็นความแตกต่างระหว่างเพศ เริ่มตระหนักว่าตนเป็นเพศหญิงหรือชาย และควรจะประพฤติตนอย่างไรจึงจะ สมกับเป็นผู้หญิง หรือสมกับเป็นผู้ชายการเรียนรู้เหล่านี้ นอกจากเด็กจะเรียนด้วยอาศัยการสังเกตและการเลียน แบบแล้วยังถูกอบรมแนะนำจากผู้ใหญ่ด้วย
4.วัยเด็กตอนต้นหรือระยะวัย เด็กก่อนเข้าโรงเรียน เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 6 ขวบ จนถึง 12 ขวบ พัฒนาการทางร่างกาย เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในระหว่างนี้เป็นระยะที่เด็กหญิงโตเร็วกว่าเด็กชายวัย เดียวกันในด้านความสูงและน้ำหนัก ลักษณะเช่นนี้ยังคงดำรงต่อไปจนกระทั่งย่างเข้าสู่ระยะวัยรุ่นตอนปลาย เด็กชายจะโตทันเด็กหญิงและล้ำหน้าเด็กหญิง เด็กในวัยนี้ไม่ชอบอยู่นิ่งชอบเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ พัฒนาการทางสังคม มีลักษณะพัฒนาการทางสังคมที่เด่นชัด คือ เด็กเริ่มออกจากบ้านไปสู่หน่วยสังคม อื่น จุดศูนย์กลางสังคมของเด็กคือโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้บทบาทใหม่คือการเป็นสมาชิกของกลุ่มเพื่อนรุ่นราว คราวเดียวกัน เด็กจะได้รับการเรียนรู้ระเบียบกฎเกณฑ์ ความประพฤติที่ต้องปฏิบัติในสังคม พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กรู้จักกลัวสิ่งที่สมเหตุสมผลมากกว่าวัยก่อน เพราะความสามารถในการใช้ เหตุผลของเด็กพัฒนาขึ้น มีความรู้สึกสงสารและเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกของบุคคลอื่นมากขึ้น พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กวัยนี้สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น รู้จักให้เหตุผลใน การแก้ปัญหา รับผิดชอบและตัดสินใจได้ด้วยตนเองรับฟังคนอื่นมากขึ้น กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เด็กวัยนี้จะสนใจในเรื่องของธรรมชาติ การท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ โดยทั่วไปเด็กผู้ชาย จะสนใจเรื่องการพิสูจน์ ทดลอง ส่วนเด็กผู้หญิงจะสนใจเรื่องการทำอาหาร เย็บปักถักร้อย การอ่านหนังสือต่างๆ พัฒนาการทางภาษา เด็กจะเรียนรู้คำศัพท์เพิ่มมากขึ้น ใช้ภาษาพูดแสดงความคิดความรู้สึกได้อย่างดี ความรู้สึกทางด้านจริยธรรมเริ่มพัฒนาการในระยะนี้ มีความรับผิดชอบมากขึ้นเริ่มสนใจสิ่งถูกสิ่งผิด
5. วัยย่างเข้าสู่วัยรุ่น ปกติหญิงเฉลี่ยมีอายุ 12 ปี ชายเฉลี่ยมีอายุ 14 ปี พัฒนาการทางร่างกาย เจริญเติบโตถึงขีดสมบูรณ์ เพื่อทำหน้าที่อย่างเต็มที่โครงสร้างกระดูกแข็งแรงขึ้น การ ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในเด็กชาย การมีประจำเดือนของเด็กหญิงสุขภาพโดยทั่วไปของเด็กในวัยนี้ดีกว่าวัยที่ผ่านมา พัฒนาการทางสังคม เด็กให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมวัยมากกว่าในระยะเด็กตอนปลาย และผูกพันกับเพื่อน ในกลุ่มมากขึ้น กลุ่มของเด็กไม่มีเฉพาะเพื่อนเพศเดียวกันเท่านั้นแต่เริ่มมีเพื่อนต่างเพศระยะนี้จึงเริ่มต้นชีวิตกลุ่ม ที่แท้จริงส่วนสัมพันธภาพระหว่างเด็กชายเด็กหญิงเปลี่ยนไปจากวัยเด็กต้อนปลายเด็กชายและเด็กหญิงเริ่มสนใจ ซึ่งกันและกันและมีความพอใจในการพบปะสังสรรค์กัน ร่วมเล่น เรียน ทำงาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน อ่อนไหว เด็กแต่ละคนเริ่มแสดงบุคลิกอารมณ์ ประจำตัวออกมาให้ผู้อื่นทราบได้บ้างแล้ว เช่น อามรณ์ร้อน อารมณ์ขี้วิตกกังวล อารมณ์อ่อนไหวง่าย เจ้าอารมณ์ ขี้อิจฉาฯลฯ เด็กสามารถรับรู้ลักษณะเด่นด้อยเกี่ยวกับตนเองพัฒนาการทางความคิดพัฒนาการทางความคิดของ เด็กอายุประมาณ 11 ขวบขึ้นไป มีชื่อเรียกรวมว่ารู้คิดถูกระบเด็กพยายามคิดให้เหมือนผู้ใหญ่แต่ว่าด้อยกว่าผู้ใหญ่ ในเชิงประสบการณ์และความชำนิชำนาญในการรู้คิด รู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผลไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ต้องการคิดนึกด้วย ตัวเอง ระยะนี้เด็กจึงรู้สึกชิงชังคำสั่งบังคับ คำสั่งให้เชื่อและต้องคล้อยตาม รู้จักคิดด้วยภาพความคิดในใจทำให้ สามารถคิดเรื่องนามธรรมยากๆ ได้
6.วัยรุ่น ตั้งแต่อายุ 14 – 21 ปี ลักษณะอารมณ์ ลักษณะของอารมณ์สืบเนื่องมาจากอารมณ์ของเด็กวัยแรกรุ่น จึงคล้ายคลึงกันมาก พฤติกรรมสังคม สังคมวัยรุ่นเป็นกลุ่มของเพื่อนร่วมวัย ประกอบด้วยเพื่อนทั้ง 2 เพศ เด็กรู้สึกปลอดโปร่ง สบายใจ ในการทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนร่วมวัยมากกว่ากับเพื่อนต่างวัย สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมวัยถึงความเข้ม ข้นสูงสุดประมาณระยะตอนกลางของวัยรุ่น การคบเพื่อนร่วมวัยเป็นพฤติกรรมสังคมที่มีความสำคัญต่อจิตใจของวัย รุ่น แต่การคบเพื่อนก็ย่อมมีทั้งคุณและโทษ กลุ่มมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นถ้า คบเพื่อนไม่ดีก็อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็น ปัญหาได้ การเลือกอาชีพ เด็กโตพอที่จะรู้ถึงความสำคัญของอาชีพ เช่น อาชีพนำมาซึ่งสถานทางเศรษฐกิจสังคม เป็นตัว บ่งชี้ถึงการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่แต่เด็กยังสับสนวุ่นวายใจเนื่องจากยังไม่รู้จักตัวเองดีพอในด้านบุคลิกภาพ ความ ถนัด ความสนใจ ความสนใจ ความสนใจมีขอบข่ายกว้างขวางสนใจหลายอย่างแต่ไม่ลึกซึ้งมาก เพราะเด็กยังไม่เข้าใจเรื่องตัวเอง ยังเป็นระยะลองผิดลองถูก ความสนใจของเด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้แก่ 7. วัยผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 21 – 40 ปี วัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นระยะที่ความเจริญเติบโตทางการพัฒนาเต็มที่สมบูรณ์ อวัยวะทุกส่วนทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพโดยทั่วไปบุคคลมักมีกายแข็งแรงในด้านอารมณ์นั้นผู้ที่จะเข้าถึงภาวะอารมณ์แบบผู้ใหญ่มีความคับ ข้องใจน้อย ควบคุมอามรณ์ได้ดีขึ้นมีความแน่ใจและมีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าในระยะวัยรุ่น ส่วนด้านความ สัมพันธ์กับผู้อื่นหรือลักษณะพัฒนาการทางสังคมนั้นระยะนี้การให้ความสัมพันธ์กับกลุ่มเริ่มลดน้อยลงเปลี่ยนมาสู่ การมีสัมพันธภาพและผูกพันกับเพื่อนต่างเพศแบบคู่ชีวิตจุดศูนย์กลางของสัมพันธภาพคือครอบครัว ส่วนผู้ใหญ่ที่ ยังไม่มีคู่ครองและครอบครัว ยังคงให้ความสำคัญต่อกลุ่มเพื่อนร่วมวัยแต่ความเข้มของความผูกพันและภักดีเริ่มลด น้อยลงจำนวนสมาชิกของกลุ่มมักจะน้อยลง
8. วัยกลางคน ตั้งแต่อายุ 40 – 60 ปี วัยกลางคน ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมลงเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะในเพศหญิง การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนอาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมาได้ใน วัยนี้ส่วนใหญ่บุคคลจะมีบุคลิกภาพและ อารมณ์มั่นคงมีความพึงพอใจใน ชีวิตที่ผ่านมาและควรได้มีการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต่อไป 7. วัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทาง อารมณ์และทางสังคม จึงเป็นวัยที่คนส่วนมากกลัว ดังนั้นการได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าวก็จะช่วยให้ ผู้สูงอายุได้ปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งบุตรหลานหรือผู้ใกล้ชิดมีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ท่านปรับตัวได้
บทที่ 4 ความจำและการลืม
บทที่ 4 ความจำเเละการลืม การจำและการลืม เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเรียนรู้และรับรู้ เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมนุษย์ทั้งการจำและการลืมล้วนมีความสำคัญกับ ชีวิตมนุษย์ การจำเพื่อนำประสบการณ์มาใช้บริหารชีวิตตน และการลืมบางครั้ง ก็จำเป็น เช่น เพื่อลืมความทรงจำที่ทุกข์ระทม ความหมายของความจำ การจำ (memory) เป็นกระบวนการที่บุคคลเก็บสะสมประสบการณ์จากอดีตเข้าไว้ แล้ว นำมาตอบสนองหรือมามีผลต่อการกระทำตอบสิ่งเร้าในปัจจุบันได้ *** การจำ มีหลายคำที่นักวิชาการใช้ เช่น Retention หรือ Memory หรือ Remembering
“ระบบของการจำ” ความจำเป็นระบบการทำงานที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาในการที่จำรับ เก็บ จัดการ เปลี่ยนแปลง และนำข้อมูลออกมา การทำงานของการจำคล้ายๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเริ่มจากการใส่รหัส ข้อมูลเข้าไป จากนั้นจะเก็บข้อมูลไว้ในระบบเมื่อต้องการข้อมูลใดก็เรียก ออกมาได้ เช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์เราสามารถเก็บข้อมูลที่ต้องการจำได้มากมายและสามารถนำข้อมูลที่ต้องากรออกมาได้ ทั้งนี้เพราะข้อมูลถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบและเป็นลำดับเสมือนเป็นห้องสมุดเคลื่อนที่ นักจิตวิทยาได้แบ่งความจำ เป็น 3 ระบบ การจัดเก็บข้อมูลใดๆ ต้องผ่านขั้นตอนทั้ง 3 นี้ 1.ความจำจากการรับสัมผัส Sensory memory (ความจำอาศัยความรู้สึก)เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความ รู้สึกที่เก็บไว้น้อยกว่า 1 วินาทีหลังจากเกิดการรับรู้สิ่งที่มากระทบประสาทสัมผัส ความสามารถใน การเห็นวัตถุหนึ่งแล้วจำได้ว่าเหมือนกับอะไร โดยดู(หรือจำ)ใช้เวลาเพียงไม่ถึงวินาทีเป็นตัวอย่าง ของความจำอาศัยความรู้สึกเป็นความจำนอกเหนือการควบคุม 2. ความจำระยะสั้น(short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่ นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน ซึ่งสิ่งที่สนใจเฉพาะอย่างจะ เคลื่อนจากความจำจากการรับสัมผัส สู่ความจำระยะสั้น (STM) ซึ่งจะอยู่ในช่วงสั้นๆพอกับระยะ แรกความจำระยะสั้นเก็บข้อมูลในลักษณะจิตภาพแต่บ่อยครั้งที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะของเสียง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้าเป็นคำพูด เช่น ถ้าได้รับการแนะนำให้รู้จักคนชื่อ แอ๊ด แต่เราจำไม่ได้อาจ เรียกเขาว่าแจ๊ดก็ได้เพราะเสียงคล้ายๆกัน
3. ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอทำให้เปลี่ยน จากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปีหรือตลอดชีวิตก็ได้การจำ ความหมายและการจำเหตุการณ์ การจำความหมาย การจำชื่อสิ่งของต่างๆ ชื่อของวันในสัปดาห์ ชื่อเดือนต่างๆทักษะการคำนวณง่ายๆการจำเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการจำเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง จะเป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิตวันต่อวันปีต่อปีเราจำเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ได้เพียงใด
“ระบบของการลืม” ระบบการลืม (Forgetting) การที่คนเราไม่สามารถเก็บสะสมสิ่งที่เรียนรู้หรือประสบการณ์ที่เคยได้ัรับไว้ได้หรือไม่สามารถ นำออกมาบอกเล่าหรือใช้ประโยชน์ได้อีก การลืมมีสาเหตุหลายประการ คือ 1.การไม่ได้ลงรหัส (Encoding Failure) การลืมอาจเกิดขึ้นเพราะไม่ได้มีการจำตั้งแต่แรก เช่น ถ้าถามว่าด้านหลังธนบัตรในละ 20 เป็นรูปอะไร มีลักษณะอย่างไร คงมีหลายคน ที่ ตอบไม่ได้ เพราะในการเรียนรู้ความแตกต่างของธนบัตรในละ 10, 20, 50 และ 100 บาทนั้น เรามักจะสังเกตที่สี, ขนาด และตัวเลขที่ระบุไว้ มักจะไม่ ได้สังเกต และลงรหัสบันทึกรูปที่อยู่ด้านหลังธนบัตรจึงจำไม่ได้
2.เสื่อมสลาย (Decay) การลืมเกิดจากการเสื่อมสลายของรอยความจำตามกาลเวลา การเสื่อม สลายนี้เป็นการลืมที่เกิดขึ้นในความจำจาก การรับสัมผัส และความจำระยะสั้น คือข้อมูลเก่า จะเลือนหายไป และถูกแทนที่โดยข้อมูลที่ใหม่กว่า 3. การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ (Cue-Dependent Forgetting) เช่น ถ้าถามว่าคุณทำ อะไรในวันที่ 20ธันวาคม 2565คุณอาจจะคิดไม่ออก แต่ถ้ามีการเตือนความจำว่าในวันนั้นมี การปฏิวัติเกิดขึ้น คุณอาจจะคิดออกทันที 4.การรบกวน (Interfere) เช่น อ่านหนังสือเตรียมสอบวิชาจิตวิทยาเสร็จแล้วก็อ่านเพื่อ เตรียมสอบวิชาสังคมวิทยาต่อ พบว่าจะจำวิชาสังคมวิทยาไม่ได้ดี แต่ถ้าจำวิชาจิตวิทยาไม่ได้ ดังนั้น ในการเตรียมตัวสอบจึงควรเตรียมตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่มาอ่านทุกวิชาในเดียวกัน 5. การเก็บกด (Repression) การเก็บกด หรือการจูงใจเพื่อลืมความจำที่เจ็บปวดหรือความ ละอายจะถูกเก็บกดให้อยู่ในจิตใต้สำนึก ตัวอย่างของการเก็บกดเช่น การลืมความล้มเหลว ในอดีต ลืมชื่อบุคคลที่ไม่ชอบ ลืมการนัดหมายที่ไม่ต้องการไป ฯลฯ
บทที่ 5 การคิดและเชาว์ปัญญา
บทที่ 5 การคิดและเชาว์ปัญญา การคิด หมายถึง การทำงานของกลไกสมอง ที่เกิดจากสิ่งเร้าต่างๆทั้งภายในและภายนอก เพื่อ ทำให้เกิดจินตนาการ สามารถทำให้เราแก้ไขปัญหา หาคำตอบ การตัดสินใจได้ ซึ่งก่อให้เกิดทั้ง พฤติกรรมภายในและภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่มีการคิดก็ไม่สามารถทำอะไร ต่างๆได้ สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา 1.การคิดในทางเดียว 1.การคิดแบบสร้างสรรค์ 2.การวิเคราะห์ แยกแยะ 2.การคิดแบบเส้นขนาน 3.การใช้ตรรกะศาสตร์และการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ 3.การคิดแบบสังเคราะห์ 4.การใช้ภาษา มีทั้งการอ่านและการเขียน 4.การเห็นเชิงมิติ กระบวนการของการคิด 5.การเคลื่อนไหวของร่างกาย 1.เป็นสิ่งเร้าที่ป็นปัญหา สถานการณ์ เหตุกรณ์ หรือสภาสะที่มากระทบแล้วจำปีนต้องคิด เพื่อกระทำการก ระบวนการของการคิดสิ่งหนึ่งให้ปัญหาหมดไป 2.สิ่งเร้าที่เป็นความต้องการ เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่อดประกอบด้วยความต้องการทางกายและใจ สังคม เป็นความต้องการที่จะให้ดีขึ้น 3.สิ่งเร้าชวนสงลัย สิ่งที่ทำให้บุคคลรู้สึกแปลกใจ เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่มากระตุ้นทำให้เกิดความสงสัยและ ต้องการหาคำตอบ
การคิดและเชาว์ปัญญา เชาวน์ปัญญา หมายถึงความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้ การปรับตัวต่อปัญหาอย่างเหมาะสมและความสามารถ ในอันที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและมีคุณค่าทางสังคม สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับเชาวน์ปัญญา การจัดระดับเชาวน์ปัญญาเป็นเพียงการแสดงการเปรียบเทียบให้ทราบว่าบุคคลหนึ่งมีความสามารถ อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยสูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับอายุเมื่อเทียบกับบุคคลที่อยู่ในระดับอายุเดียวกัน ระดับเชาวน์ปัญญาได้จากคะแนนที่มาจากการทดสอบเชาวน์ปัญญาด้วยแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา ซึ่งมีอยู่หลายชนิดเพื่อให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับผู้รับการทดสอบ มีทั้งแบบทดสอบเพื่อดู ความสามารถพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งและความสามารถทั่วไปหลายๆด้านรวมกัน ผลการทดสอบอาจให้คะแนนเป็นตัวเลข เช่น ไอคิวหรือคะแนนที่มีความหมายบอกระดับความ สามารถ เช่น เกรด และอายุสมอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีคำนวณหาค่าที่แสดงถึงระดับเชาวน์ปัญญาซึ่ง แตกต่างกันไปในทางทดสอบแต่ละแบบ
ไอคิว เป็นตัวเลขที่ได้จากการทดสอบเชาวน์ปัญญากับคะแนนเฉลี่ยที่คาดว่าผู้ถูกทดสอบสมควรจะทำได้ ตามระดับอายุที่แท้จริง วิธีคำนวณค่าไอคิวในการทดสอบเชาวน์ปัญญาแต่ละแบบขึ้นอยู่กับลักษณะ แบบทดสอบและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ฉะนั้นไอคิวจะเป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่าบุคคลนั้นมีระดับเชาวน์ ปัญญาอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นในระดับอายุเดียวกัน เชาวน์ปัญญาของคนเราจะเพิ่มขึ้นตามวัยในเรื่องของคุณภาพทั้งนี้เนื่องจากเรามีโอกาสได้เรียนรู้ กิจกรรมและแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น แต่เมื่อทดสอบเชาวน์ปัญญาคะแนนที่ ได้เพิ่มขึ้นจะต้องนำไปเปรียบเทียบกับอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย ตัวแปรบางอย่างมีอิทธิพลทำให้ผลการทดสอบเชาวน์ปัญญาหรือค่าของไอคิวในการทดสอบเชาวน์ ปัญญาแต่ละครั้งคลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลงหรือไม่คงที่ ตัวแปรดังกล่าวอาจมีได้หลายประการเช่นใน ระหว่างการทดสอบมีสาเหตุที่ทำให้ผู้ถูกทดสอบใช้ความสามารถได้ไม่เต็มที่จากการที่มีอาการเจ็บป่วย ทางกายหรือทางจิต อารมณ์เครียด ขาดแรงจูงใจและไม่มีสมาธิในการทดสอบขาดความชำนาญในการ ทดสอบหรือใช้แบบทดสอบไม่ถูกต้องเป็นต้น เชาวน์ปัญญา เป็นสิ่งที่สามารถกระตุ้น ส่งเสริมให้พัฒนาได้ถ้าพ่อแม่มีความเข้าใจเด็กและช่วย กระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กอย่างถูกต้องและเหมาะสมก็จะช่วยให้เด็กได้พัฒนา เชาวน์ปัญญาของเขาเท่าที่มีอยู่อย่างเต็มที่
ระดับเชาวน์ปัญญากับความสามารถรับการศึกษาประกอบอาชีพและการปรับตัว 130 ขึ้นไป ฉลาดมากเป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียนในระดับปริญญาเอก 120-129 ฉลาดเป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียนในระดับปริญญาโท 110-119 สูงกว่าปกติหรือค่อนข้างฉลาดเป็นไอคิวเฉลี่ยของผู้สามารถเรียนในระดับปริญญาตรี หรือมีโอกาส จบมหาวิทยาลัยได้ 90-109 ปกติหรือปานกลางเป็นไอคิวเฉลี่ยของประชากรปกติ ส่วนใหญ่มีความสามารถปานกลางเรียนจบ มัธยมศึกษาตอนปลายได้ 80-89 ต่ำกว่าปกติหรือปัญญาทึบเชาวน์ปัญญาต่ำที่สามารถรับการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กเรียนช้าๆ 70-79 ระดับเชาวน์ปัญญาก้ำกึ่งระหว่างปัญญาทึบกับปัญญาอ่อน และประกอบอาชีพประเภทช่างฝีมือได้ 50-69 ปัญญาอ่อนเล็กน้อยมีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 7-10 ปี อาจพอรับรู้การศึกษาได้ ในระดับ ประถมต้น ป.1-ป.4 โดยเรียนอยู่ในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียน การศึกษาพิเศษเฉพาะ ประกอบอาชีพที่ไม่ต้องความรับผิดชอบสูง หรืองาน ประเภทช่างฝีมือง่ายๆ 35-49 ปัญญาอ่อนปานกลางมีความสามารถเทียบเท่ากับเด็ก อายุ 4-7 ปี อาจอ่านเขียนได้เล็กน้อย แต่เรียนรู้ได้ช้า ไม่สามารถเรียน ในโรงเรียนปกติได้ควรเรียนในโรงเรียนการ ศึกษาพิเศษเฉพาะถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสมอาจพอดูแลตนเองในชีวิต ประจำวันได้และทำงานง่ายๆ ภายใต้การควบคุมดูแล 20-34 ปัญญาอ่อนมากมีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 3 ปีเรียนหนังสือไม่ได้มีความบกพร่องเห็นได้ ชัดในพฤติกรรมการปรับตัวและอาจมีพัฒนาการบกพร่องในด้านภาษาการรับรู้ การดำรงชีวิตต้องอยู่ภายใต้การดูแล เช่นเดียวกับเด็กเล็ก ต่ำกว่า 20 ปัญญาอ่อนมากที่สุดมีความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 1-2 ปีไม่สามารถช่วยตัวเองได้ต้องมีผู้ ให้การดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด
เชาว์ปัญญากับความสำเร็จ การที่บุคคลจะประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งด้านการเรียน การประกอบอาชีพต่างๆ นอกจากจะต้องมีเชาว์ ปัญญาดีแล้วจะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆด้วยเช่น ความมุมานะพยายาม มีความอดทน มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี กับบุคคลทั่วไป และมีคุณธรรม มีสุขภาพจิตดี และมีพื้นฐานทางบุคลิกภาพที่มั่นคง สภาพแวดล้อมที่ช่วยส่ง เสริมอย่างเหมาะสม ฯลฯ ดีงนั้นจะเห็นว่าบางคนมีเชาวน์ปัญญาดีแต่อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิตหรือมีปัญหาการเรียนเนื่องจากขาด องค์ประกอบที่เหมาะสมดังกล่าวข้างต้น เพราะฉะนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรมุ่งเน้น ส่งเสริมแต่เฉพาะในเรื่องการ เรียนหรือเชาวน์ปัญญาของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่ควรควบคุมไปกับการ ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางสังคม การปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ตลอดจนการอบรมเลี้ยงดู ให้มีพื้นฐาน ทางบุคลิกภาพที่มั่นคงร่วมด้วยก็จะช่วยให้เขาประสบความสำเร็จตามความสามารถของเชาวน์ปัญญาที่เขามีอยู่ จะเห็นว่าการเติบโตของเชาวน์ปัญญาไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว สิ่งแวดล้อม วิธีการอบรมเลี้ยงดู โอกาสในการเรียนรู้ตลอดจนภาวะสุขภาพล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ ต่อพัฒนาการด้านเชาวน์ปัญญา ซึ่งกล่าว ได้ว่า “กรรมพันธุ์กำหนดความสามารถของเชาวน์ปัญญานั้นสามารถแสดงออกมาได้มากน้อยต่างกัน” พ่อแม่ จึงไม่ควรมุ่งหวังในบุตรหลานของตนให้มีความสำเร็จเกินกว่าเชาวน์ปัญญาที่เขามีอยู่ เพราะจะทำให้เกิดปัญหา ทางสุขภาพจิตได้ แต่ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เขาได้พัฒนาความสามารถที่แท้จริงของเขาอย่างเต็มที่เท่าที่เขาจะสามารถ ทำได้ ก็จะสามารถทำได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวของเขาเองและสังคมโดยส่วนรวมและต่อการพัฒนาประเทศ ชาติ
บทที่ 6 ทฤษฎีการรับรู้เเละการรับรู้
บทที่ 6 ทฤษฎีการรับรู้เเละการรับรู้ ทฤษฎีการรับรู้ การรับรู้ป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคลเพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆจะขึ้นอยู่กับ การรับรู้จากสภาพแวดล้อม ของตน และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ ดัง นั้นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยการรับรู้และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพซึ่งปัจจัยการรับรู้ ประกอบด้วยประสาทสัมผัส และปัจจัยทางจิตคือความรู้เดิมความต้องการและเจตคติเป็นต้นการรับรู้ จะประกอบด้วยกระบวนการสามด้าน คือการรับสัมผัสการแปลความหมายและอารมณ์ การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้เราอยู่ใน ภาวะการรู้สึกคือลืมตาตื่นอยู่ในทันใดนั้นเรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล (การรู้สึกสัมผัส) แต่เรา ไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไรเราจึงยังไม่เกิดการรับรู้แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิด ของยางรถยนต์เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้นดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวนั้นเกิดขึ้นจากการรับรู้ของแต่ละบุคคล โดยมีอวัยวะรับ สัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เป็นตัวรับสัมผัสสิ่งต่างๆ เข้ามา จากนั้นก็จะส่งผลไปที่สมอง เพื่อทำการแปลผลจากการรับสัมผัสจากอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 ทำให้บุคคลนั้นเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้า นั้นๆ แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ความหมาย การรับรู้ หมายถึง การที่มนุษย์นำข้อมูลที่ได้จากความรู้สึกสัมผัส ซึ่งเป็นข้อมูลดิบ จากประสาทสัมผัสทั้ง5 อันประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น และกาย สัมผัสมาจำแนก แยกแยะ คัดเลือก วิเคราะห์ด้วยกระบวนการทำงานของสมอง แล้วแปลสิ่งที่ได้ออกเป็น สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมายเพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้ต่อไป ลักษณะสำคัญของการรับรู้ ลักษณะที่สำคัญของการรับรู้มี6ประการ คือ 1. ต้องมีพื้นฐานข้อมูลหรือความรู้ในเรื่องนั้นมาก่อนหรือถ้าไม่มีความรู้ อย่างน้อยก็ต้องมีประสบการณ์เดิมในเรื่องนั้นอยู่บ้าง 2. จะต้องประกอบด้วยข้อวินิจฉัยในขั้นตอนของกระบวนการรับรู้ ทั้งนี้เพราะใน การรับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง มนุษย์ไม่สามารถรับข้อมูลทุกชนิดในเรื่องนั้นพร้อมกันได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัย วิธีการวินิจฉัย โดยการตั้งสมมติฐานหรือปะติดปะต่อเรื่องต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้การรับรู้ในสิ่งนั้นเกิด ความสมบูรณ์มากที่สุด 3. จะต้องมีความสามารถในการแยกแยะลักษณะหรือคุณสมบัติที่สำคัญของข้อมูลนั้นได้อย่างถูกต้อง ซื่งในลักษณะนี้จะต้องอาศัยความจำจากประสบการณ์เดิมมาใช้ 4. ลักษณะของการรับรู้จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของข้อมูลต่าง ๆ หลายประเภท
การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น75% จากการได้ยิน13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3% การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพลหรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของ ผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้นก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐาน ของการเรียนรู้ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้นการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ ทำให้เกิดความคิดรวบยอดทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอน
“มนุษย์เมื่อพบสิ่งเร้าไม่ได้รับรู้ตามที่สิ่งเร้าปรากฏแต่จะนำมาจัดระบบตามหลักดังนี้” 1. หลักแห่งความคล้ายคลึง สิ่งเร้าใดที่มีความคล้ายกันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 2. หลักแห่งความใกล้ชิด สิ่งเร้าที่มีความใกล้กันจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 3. หลักแห่งความสมบูรณ์ เป็นการรับรู้สิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ขึ้น \"…การรับรู้เกิดขึ้นเมื่อ สิ่งเร้า มาเร้า ประสาทก็ตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสกับอวัยวะรับสัมผัสด้วยประสาท ทั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลางทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัย ประสบการณ์เดิมและอื่นๆ เรียกว่าการรับรู้เมื่อแปลความหมายแล้วก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็น ความคิดรวบยอดแล้วมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ได้แล้ว…\"
บทที่ 7 ทฤษฎีการเรียนรู้เเละการเรียนรู้
บทที่ 7 ทฤษฎีการเรียนรู้เเละการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนใน ห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำ เสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวย ต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มี ระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้อง พิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน การเรียนรู้ ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของ การเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้ เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
“องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้” ผู้เรียน มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้ สิ่งเร้า คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การตอบสนอง คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียน เกี่ยวกับอะไร กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้ เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ ซาบซึ้ง การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้ เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจจจ การนำไปใช้กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
ทฤษฎีการเรียนรู้เเละการเรียนรู้ “จิตวิทยาการจัดการเรียนรู้” จิตวิทยาการเรียนรู้ ( Psychology of learning) หมายถึงจิตวิทยาที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ โดยการ เรียนรู้จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือเกิดจากการฝึกฝน กระบวนการเรียนรู้จะเกิดได้จากขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอนคือ ตั้งใจจะรู้ กำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้ ลงมือ ปฏิบัติและได้รับผลประจักษ์ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยามี 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ 1.1 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov,1849-1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก(Classical Conditioning Theory)หรือแบบสิ่งเร้า 1.2 จอห์น บี วัตสัน (John B Watsonคศ. 1 878 - 1958) ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ 1.3 เบอร์รัส สกินเนอร์ (BurrhusSkinner) ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
ทฤษฎีการเรียนรู้เเละการเรียนรู้ 1.4 เพียเจท์ (Jean Piaget) การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับ ข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มาก เท่านั้น 1.5 กาเย่ (Gagne) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น 1.การจูงใจ 2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ 4.ความสามารถในการจำ 5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว 6.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว 7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ 8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน 1. 6 ธอร์นไดค์ ทฤษฎีการเชื่อมโยง
ทฤษฎีการเรียนรู้เเละการเรียนรู้ 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ คือ 1 2.1 เดวิค พี ออซุเบล ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 2.2 Gestalt Psychologist ทฤษฎีการใช้ความเข้าใจ 2 2.3 โคท์เลอร์ (Kohler, 1 925) การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ 3 5 2.4 Jerome Brooner ทฤษฎีการเรียนรู้แบบค้นพบ 4 2.5 Piaget ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้เเละการเรียนรู้ 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ 3.1 ศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ 3.2 Anthony Grasha กับ Shery! Riechmann ทฤษฎีการสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียนกับครูผู้สอน และสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับเพื่อนร่วมห้อง 3.3 เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม
ทฤษฎีการเรียนรู้เเละการเรียนรู้ 3.4 Robert Slavin และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมกันเรียนรู้ 3.5 David Johnson และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ 3.6 Shlomo และ Yael Sharan ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ในงานเฉพาะอย่าง
บทที่ 8 การเเนะเเนวเเละให้คำปรึกษา
Search