Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สรุปความรู้ วิชา การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา

สรุปความรู้ วิชา การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา

Published by nadear598, 2021-09-27 15:04:23

Description: สรุปความรู้ วิชา การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา

Search

Read the Text Version

สรุ ปความรู้ วิชา การจัดการเรี ยนรู้วิทยาศาสตร์ ร ะ ดั บ มั ธ ย ม ศึ ก ษ า

องค์ความรู้ที่ได้รับ ทฤษฎีการพัฒนา การศึกษางานวิจัย รูปเเบบการจัดการ เรียนรู้เเบบสืบเสาะ หาความรู้ เเผนการจัดการเรียนรู้

ทฤษฎีการพัฒนา ซิกมัน ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์มีแรงจูงใจมาจาก จิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้ง ปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เเละยังเชื่อ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับแรงขับ ทางสัญชาตญาณ และเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงและ เคลื่อนที่ได้ จิตจึงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลง และไม่หยุดนิ่ง บ้างจะแสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณ ทางเพศ แต่ฟรอยด์ไม่ได้หมายถึงความต้องการทางเพศ นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้อธิบายว่าสัญชาตญาณจะแสดงออกมา ในรูปของพลังทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพลังขับทางเพศเรียกว่า พลัง ลิบิโด พลังงานทางจิตเเบ่งเป็น 3 ประเภท 1.จิตไร้สำนึก 2.จิตสำนึก 3.จิตก่อนสำนึก

อีริคสัน ลักษณะของการศึกษาไปข้างหน้าโดยเน้นถึงสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของคน แบ่ง พัฒนาการด้านจิตสังคมของบุคคลเป็น 8 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ระยะทารก อายุ 0-2 ปี : ขั้นไว้วางใจและไม่ไว้วางใจผู้ อื่น ทารกจะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นในการดูแลเอาใจใส่ทุกด้าน ขั้นที่ 2 วัยเริ่มต้น อายุ 2-3 ปี : ระยะนี้เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะทำ กิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ขั้นที่ 3 ระยะก่อนไปโรงเรียน อายุ 3-6 ปี : เป็นระยะที่เด็กมี การเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ขั้นที่ 4 ระยะเข้าโรงเรียน อายุ 6-12 ปี : ระยะนี้เด็กเรียนรู้ที่จะ สร้างสรรค์ มีความคิดและพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง ขั้นที่ 5 ระยะวัยรุ่น อายุ 12-20 ปี : เป็นระยะที่เริ่มสนใจเรื่อง เพศเข้าไปผูกพันกับสังคมและต้องการตำแหน่งทางสังคม ขั้นที่ 6 ระยะต้นของวัยผู้ใหญ่ อายุ 20-40 ปี : ระยะนี้เริ่มมี การนัดหมาย การแต่งงาน และชีวิตครอบครัว หรือทำงานกับผู้อื่น ได้ ขั้นที่ 7 ระยะผู้ใหญ่ อายุ 40-60 ปี : เป็นระยะที่บุคคลหันมา สนใจกับโลกภายนอก ริเริ่มสร้างสรรค์งานต่างๆ เพื่อสังคม คิดถึงผู้ อื่น ไม่โลภหรือเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว ขั้นที่ 8 ระยะวัยสูงอายุ อายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป : วัยนี้เป็นวัย สุขุม รอบคอบ ฉลาด บุคคลจะยอมรับความเป็นจริงของชีวิต ระลึก ถึงความทรงจำในอดีต

ฌอง เพียร์เจต์ ทฤษฎีนี้เน้นถึงความสำคัญของความเป็นมนุษย์ การปรับตัวให้ เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญา ไว้ 4 ขั้นดังนี้ 1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว พัฒนาการระยะนี้อยู่ใน ช่วง 2 ปีแรกหลังเกิด ขั้นนี้พัฒนาการจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการ พัฒนาการเรียนรู้ มีการคิดก่อนที่จะทำ การกระทำจะทำอย่างมีจุด มุ่งหมายด้วยความอยากรู้อยากเห็น 2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ขั้นนี้จะอยู่ในช่วง 2-7 ปี ในระยะ 2-4 ปี เด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มีขีดจำกัดในการรับรู้ สามารถ เข้าใจได้เพียงมิติเดียว ในระยะ 5-6 ปี เป็นช่วงปรับเปลี่ยนการคิด ที่ ขึ้นอยู่กับการรับรู้กับการคิดอย่างมีเหตุผลตามความจริง 3.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ขั้นนี้จะอยู่ในช่วง 2-7 ปี ในระยะ 2-4 ปี เด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มีขีดจำกัดในการรับรู้ สามารถ เข้าใจได้เพียงมิติเดียว ในระยะ 5-6 ปี ระยะนี้เป็นช่วงปรับเปลี่ยน การคิด ที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้กับการคิดอย่างมีเหตุผลตามความจริง 4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม ตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงวัย ผู้ใหญ่เป็นช่วงที่เด็กจะสามารถคิดไม่เพียงแต่ในสิ่งที่เห็นหรือได้ยิน โดยตรงเหมือนระยะก่อน ๆ อีกต่อไป แต่จะสามารถจินตนาการ เงื่อนไขของปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน ได้ แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับแต่ละระดับแบ่งออก เป็น 2 ขั้น ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ - ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตาม ของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน “ถูก” หรือ “ผิด” - ขั้นที่ 2 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำ ตามกฎข้อบังคับ เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ - ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม ใช้เหตุผลเลือกทำ ในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน - ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบของสังคม จะใช้หลักทำตาม หน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ - ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคน ส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม - ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล ขั้นนี้เป็นหลักการ มาตรฐานจริยธรรมสากล เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความ เสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน

การศึกษางานวิจัย การวิจัย หมายถึง กระบวนการในการศึกษา ค้นคว้าเพื่อค้นหาความรู้เเละความจริง นำความรู้ เเละความจริงที่ได้มาช่วยเเก้ปัญหาหรือตัดสินใจใน ระบบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการวิจัยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การกำหนดปัญหาการวิจัย ซึ่งจะ คลอบคลุมถึงที่มาและความสำคัญของ ปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย และประโยชน์ที่จะ ได้รับ 2 .เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ว่ามีใครทำวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ไว้ บ้าง ผลการวิจัยได้ข้อค้นพบอะไรบ้าง การวิจัยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร ตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นอย่างไร เครื่องมือและ เทคนิคที่ใช้ทำวิจัยมีอะไร เป็นต้น

3. วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการกำหนดว่าการวิจัยมีประเด็น และสาระสำคัญ ขอบเขตการวิจัย ตัวแปรที่ศึกษามี นิยาม แบบแผนการวิจัย การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่ม ตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือการวิจัยและการตรวจสอบ คุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการ วิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างไรบ้าง 4. การรายงานผลการวิจัย เป็นการแสดง ผลลัพธ์จากการวิจัย แสดงผลจากการ วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลให้อยู่ในรูปแบบ ของรายงานการวิจัย 5. การสรุปและอภิปรายผล เป็นการสรุปการดำเนินงาน ทั้งหมดตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย จุดมุ่งหมายการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อ ผลการวิจัย และอภิปรายผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนข้อเสนอแนะในการประเด็นปัญหาวิจัยที่ ควรได้รับการวิจัยต่อไป

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามรูปแบบ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ Evaluation E5 Engagement E1 Elaboration E4 E2 Exploration E3 Explanation

1.ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) รูปเเบบการจัดการ เป็นการจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เรียนรู้เเบบสืบเสาะ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย หาความรู้ แล้วเกิดปัญหาหรือประเด็นที่จะศึกษา ซึ่งผู้เรียนจะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ด้วยตนเอง 2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ และ ลงมือปฏิบัติ ในการสำรวจตรวจสอบปัญหา หรือประเด็นที่ผู้เรียนสนใจใคร่รู้ ครูมีหน้าที่ให้ คำปรึกษาชี้แนะและอำนวยความสะดวกให้ผู้ เรียนดำเนินการสำรวจตรวจสอบเป็นไปด้วยดี 3.ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) นำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการสำรวจ ตรวจสอบ พร้อมทั้งวิเคราะห์ อธิบายและ เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายซักถามแลก เปลี่ยนเรียนรู้หรือโต้แย้งในองค์ความรู้ใหม่ ที่ได้สร้างสรรค์ 4.ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยง ความรู้เดิมสู่องค์ความรู้ใหม่เเละนำไป ประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ หรือในชีวิต 5.ขั้นประเมินผล (Evaluation) ประจำวัน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วย กระบวนการต่างๆว่านักเรียนมี ความรู้อะไรบ้าง

เเผนการจัดการเรียนรู้ 1.สาระสำคัญ เป็นการเขียนในลักษณะเป็นความคิดรวบยอด 2.จุดประสงค์การเรียนรู้ เขียนในลักษณะจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่งเมื่อผู้เรียนได้ลงมือ ปฏิบัติทุกพฤติกรรมในแต่ละแผนการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ แล้วบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด และมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วย 3.สาระการเรียนรู้ เป็นการเขียนเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นประเด็นสำคัญสั้นๆ สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ 4. กิจกรรมการเรียนรู้ ระบุกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิคการสอนที่ หลากหลาย เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครบถ้วนบรรลุวัตถุประสงค์ ในการเรียนรู้ เมื่อเรียนครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะได้ รับความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครบ ถ้วนตามเป้าหมายการเรียนรู้ของตัวชี้วัด และมาตรฐานการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้

5.สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้ เครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้ตามที่กำหนดในกิจกรรม การเรียนรู้ 6.การวัดและประเมินผล การประเมินผลผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งควรระบุ เครื่องมือวัดเเละเกณฑ์การให้คะเเนน ซึ่งสามารถศึกษาได้จาก คู่มือหลักสูตร 7.บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ เป็นการบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละแผนการ จัดการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ ให้บรรลุเป้าหมาย

หนูขอขอบคุณอาจารย์ สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างนะคะ ดู เ เ ล สุ ข ภ า พ ด้ ว ย น ะ ค ะ