Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สวนกล้วยไม้ GAP สำหรับเกษตรกร

สวนกล้วยไม้ GAP สำหรับเกษตรกร

Description: สวนกล้วยไม้ GAP สำหรับเกษตรกร

Search

Read the Text Version

เอกสารค�ำแนะนำ� ท่ี 6/2557 สวนกลว้ ยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร พิมพ์ครัง้ ท่ี 1 : ปี 2557 จำ� นวน 2,000 เล่ม พิมพท์ ่ี : โรงพิมพ์ชุมนมุ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จ�ำกดั





ค�ำนำ� ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพ้ืนที่ปลูกกล้วยไม้ ประมาณ 20,000 ไร่ แหลง่ ผลิตส�ำคญั ได้แก่ จงั หวัดนครปฐม สมทุ รสาคร กรงุ เทพมหานคร นนทบุรี ราชบุรี ชลบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปีท่ีผ่านมากล้วยไม้ท�ำรายได้ จากการส่งออกกวา่ 2,608 ล้านบาท ประกอบดว้ ยกลว้ ยไมต้ ดั ดอก 2,008 ล้านบาท และตน้ กลว้ ยไม้ 600 ล้านบาท กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายส่งเสริมการผลิตกล้วยไม้ เพ่ือให้ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานและสามารถส่งออกได้ปริมาณและมูลค่า มากขึ้น โดยถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในเรื่อง มาตรฐานและวิธีการปฏิบัติ ทางการเกษตรท่ีดีและเหมาะสม (Good Agricultural Practice) เอกสารค�ำแนะน�ำสวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรับเกษตรกร เล่มนี้จัดท�ำขึ้น เพ่ือเป็นคู่มือส�ำหรับเกษตรกรในการศึกษาวิธีการปฏิบัติทางการเกษตรท่ีดีและ เหมาะสมของกล้วยไม้ และน�ำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อตัว เกษตรกรเองในแง่ความปลอดภัยและผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ เป็นท่ีต้องการของ ตลาดท้ังในและต่างประเทศ ท�ำให้มีรายได้อย่างสม�่ำเสมอ อีกท้ังเป็นประโยชน์ ต่อการผลิตและสง่ ออกกลว้ ยไมข้ องประเทศ เอกสารเล่มน้ีส�ำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของเกษตรกร นักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ และแหล่งข้อมูลอื่นๆ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสน้ี หากมีข้อผิดพลาดประการใดขอได้แจ้ง กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและ ไม้ประดับ ส�ำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทรศัพท์หมายเลข 0 2579 1501 กลุ่มสง่ เสริมไม้ดอกและไมป้ ระดบั สำ� นกั สง่ เสรมิ และจัดการสินคา้ เกษตร สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร iกii

สารบญั หน้า 1 1. โรงเรอื นกลว้ ยไม ้ 2 2. โตะ๊ วางกล้วยไม ้ 2 3. บ่อพกั น้ำ� 3 4. การปลกู กล้วยไมส้ กลุ หวาย 3 4.1 การปลกู ต้นจากการเพาะเล้ยี งเนื้อเยอื่ 4 4.2 การปลกู ตน้ จากการแยกล�ำ 5 5. กลว้ ยไมส้ กลุ ม็อคคารา 5 5.1 การปลูกต้นจากการเพาะเลย้ี งเน้ือเย่อื 5 5.2 การปลูกตน้ จากการตดั ยอด 6 6. การให้น�้ำกล้วยไม ้ 6 6.1 คณุ ภาพนำ้� 6 6.2 วิธีการให้นำ้� 7 7. ปุ๋ยกลว้ ยไม ้ 7 7.1 ชนิดปยุ๋ 7 7.2 สตู รปยุ๋ 7 7.3 การใหป้ ุย๋ ข สวนกลว้ ยไม้ GAP ส�ำหรับเกษตรกร

8. การป้องกันก�ำจดั โรคและศตั รกู ล้วยไม ้ หนา้ 8.1 โรคทส่ี ำ� คญั 9 โรคเน่าด�ำ หรือโรคยอดเนา่ หรือ 9   โรคเนา่ เข้าไส้ (Black rot) 9 โรคดอกสนิมหรอื จดุ สนมิ โรคเกสรดำ� (แอนแทรคโนส) 11 โรคใบปน้ื เหลอื ง (Yellow leaf spot) 11 โรคเน่า (Bacterial brown rot) 12 โรคใบขีก้ ลาก/ใบจดุ 13 8.2 แมลง ไร สตั ว์ศัตรู ทส่ี �ำคญั 14 เพลีย้ ไฟ หรือ เพล้ียไฟฝ้าย 15 บ่วั กล้วยไม้ 15 หนอนกระทูผ้ กั 16 หนอนกระท้หู อม 17 หอยทากซคั ซิเนยี 18 ไรแมงมมุ เทยี มกลว้ ยไม ้ 19 9. การบนั ทึกข้อมูล 20 เอกสารอ้างองิ 21 22 สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรบั เกษตรกร ค



สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรับเกษตรกร 1. โรงเรือนกลว้ ยไม้ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จ�ำเป็นต้องสร้างโรงเรือนเพ่ือพรางแสง ซ่ึง กล้วยไมแ้ ต่ละชนดิ ต้องพรางแสงแตกต่างกัน คือ สกุลหวาย พรางแสง 50-60 % สกุลม็อคคารา่ พรางแสง 40-50 % สกุลออนซิเดียม พรางแสง 60-70 % นอกจากน้ีรูปแบบของโรงเรือนกล้วยไม้ยังต้องค�ำนึงถึงปัจจัยอ่ืนๆ ได้แก่ สภาพภูมอิ ากาศ ทิศทางและความเรว็ ลม ทิศทางขน้ึ ลงของดวงอาทิตย์ ลกั ษณะ ของดินและน�้ำ โดยต้องพยายามใช้ต้นทุนทต่ี ่ำ� ทส่ี ดุ สวนกลว้ ยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร 1

2. โตะ๊ วางกล้วยไม้ ขนาดของโตะ๊ กวา้ ง 1 เมตร และยาว 20-25 เมตร ทางเดนิ ระหวา่ งโตะ๊ กว้าง 1 เมตร ส�ำหรับความสูงของโต๊ะ กล้วยไม้สกุลหวายปลูกบนโต๊ะสูง 70 เซนติเมตร กล้วยไม้สกุลม็อคคาราปลูกบนโต๊ะสูง 30-50 เซนติเมตร ขาโตะ๊ เปน็ แทง่ คอนกรตี อัดแรง ขนาด 2 น้วิ x 2 นวิ้ สูง 1 เมตร ฝังลึกลงในดิน ลึก 30 เซนติเมตร มีคานยึดขาโต๊ะทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน แต่ละเสาห่างกัน 1 เมตร พืน้ โต๊ะทำ� ด้วยสายโทรศพั ท์ขงึ ตามความยาวของโต๊ะจำ� นวน 10 แถว 3. บ่อพักน้ำ� เป็นที่พักน้�ำให้ตกตะกอน ก่อนน�ำไปใช้ และกักเก็บน้�ำไว้ใช้ใน ช่วงท่ีขาดแคลน ขนาดของบ่อพักจะ พิจารณาจากปริมาณน�้ำที่ใช้ในช่วงที่ ขาดแคลน โดยความลึกของบ่อพัก ไม่ควรเกนิ 3 เมตร 2 สวนกลว้ ยไม้ GAP สำ� หรับเกษตรกร

4. การปลูกกลว้ ยไมส้ กุลหวาย 4.1  การปลูกตน้ จากการเพาะเลี้ยงเนอื้ เยอ่ื น�ำออกจากขวดเพาะเลี้ยง เน้ือเย่ือ ผึ่งไว้ 7 – 10 วัน แล้วน�ำ มาหุ้มรากด้วยกาบมะพร้าว รัดด้วย หนังยาง วางในโรงเรือนที่พรางแสง 80% มีพลาสติกกันฝน รดน�้ำวันละ คร้ัง 2 สัปดาห์แรกไม่ต้องให้ปุ๋ย และ จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 30-10-10 อัตรา การปลกู ในลูกอัด ครึ่งหน่ึงหรือหน่งึ ในส่ขี องทีใ่ หป้ กติ เมอ่ื ตน้ อายุประมาณ 2-3 เดือนขน้ึ ไป จงึ น�ำไป ปลกู เพอื่ ตัดดอก โดยปลูกบนกาบมะพรา้ วเรือใบ ระยะปลกู 25 x 25 เซนติเมตร แต่ละโตะ๊ ปลกู 4 แถว หรือปลกู บนกระบะกาบมะพรา้ วกระบะละ 4 ต้น กระบะกาบมะพรา้ ว สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรับเกษตรกร 3

4.2  การปลูกต้นจากการแยกล�ำ สามารถใช้ท้ังล�ำหน้าและล�ำหลัง โดย ในการตัดแยกล�ำควรจุ่มกรรไกรหรือมีดในน้�ำยา ฆ่าเช้ือโรคทุกคร้ัง และทาปูนแดงที่รอยตัด น�ำไปช�ำ โดยวางนอนบนโต๊ะท่ีปูพ้ืนด้วยซาแรน รดน�้ำ วันละครั้งเกษตรกรบางรายจะให้ปุ๋ยสูตร 20-20-20 ทุก 7 วัน เพ่ือเร่งให้แตกหน่อเร็วขึ้น หลังจาก ช�ำประมาณ 2 เดือนหน่อใหม่จะมีรากประมาณ 3-4 ราก พร้อมท่ีจะย้ายไปปลกู โดยตอ้ งยา้ ยกอ่ นที่ รากจะยึดติดกับซาแรน น�ำไปปลูกบนกาบมะพร้าว เรือใบ เรือใบ หรือปลูกบนกระบะกาบมะพร้าว เช่นเดยี วกับตน้ จากเพาะเล้ยี งเน้อื เยอ่ื 4 สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรับเกษตรกร

5. กลว้ ยไมส้ กุลม็อคคารา 5.1  การปลูกต้นจากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยอ่ื น�ำต้นออกจากขวดผ่ึงไว้ 7 – 10 วัน แล้วน�ำมาใส่ในกระถางนิ้วท่ีมี ใยมะพร้าวม้วนเป็นก้อน วางในที่พรางแสง 80% มีพลาสติกคลุมกันฝน ให้น้�ำ และปุ๋ยเช่นเดียวกับสกุลหวาย จนอายุ 6-8 เดือนจึงน�ำไปปลูก ระยะปลูกกล้วยไม้ ม็อคคาราพันธุ์ท่ีมีใบส้ันใช้ระยะปลูก 25x25 เซนติเมตร พันธุ์ที่มีใบยาวใช้ระยะ ปลูก 30x30 เซนติเมตร ในการปลูกม็อคคาราเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้ซาแรน เป็นวัสดุปลูก ในช่วงแรกต้นยังไม่แข็งแรง ต้องการความชื้นมาก อาจใช้ถ่านโรย หรอื ใยมะพรา้ วคลมุ กอ่ นในระยะนี้ เมื่อต้นแขง็ แรงดแี ลว้ ก็เอาออกได้ 5.2  การปลกู ตน้ จากการตัดยอด คัดต้นท่ีปลอดโรคและตัดยอดให้มีรากติดมาอยา่ งน้อย 2 ราก ทาปูนแดง ตรงรอยตัด ควรตัดดอกที่ติดมากับยอดเดิมทิ้ง ใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับต้น จากการเพาะเลี้ยงเน้ือเย่ือส�ำหรับการปลูกม็อคคารา โดยใช้กาบมะพร้าวเรือใบ อาจวางกาบตะแคง เพ่ือให้ระบายน�้ำดีกว่าปลูกสกุลหวาย หากเริ่มปลูกช่วง หน้าแล้ง ควรพรางซาแรน 50 % เพ่ิมอีก 1 ช้ัน เป็นเวลา 4-5 เดือน จนต้น ตง้ั ตวั ได้ สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรบั เกษตรกร 5

6. การใหน้ �ำ้ กลว้ ยไม้ น�้ำเป็นสิ่งจ�ำเป็นยิ่งในการผลิตกล้วยไม้ให้ได้คุณภาพดี ดังน้ันเกษตรกร จึงต้องใหค้ วามสำ� คญั กบั คณุ ภาพของน�้ำและวธิ กี ารให้น�้ำใหถ้ ูกตอ้ งและเหมาะสม 6.1  คณุ ภาพน้�ำ ส�ำหรบั คา่ มาตรฐานของน้�ำทีใ่ ช้สำ� หรบั กลว้ ยไมต้ ดั ดอก ต้องมคี ่าดงั นี้ มาตรฐาน หน่วย ความเป็นกรด-ดา่ ง pH 5.2 - 6.2 ความนำ� ไฟฟา้ NSEHCCOlCa-w+ 4O- 23 - ไมเ่ กนิ 750 ไมโครซีเมนส์ / เซนติเมตร โซเดียม SSP ไมเ่ กิน 3.0 มลิ ลอิ ีคววิ าเลนท์ / ลิตร คลอไรด์ ไม่เกนิ 3.0 มิลลอิ ีควิวาเลนท์ / ลติ ร ซลั เฟต ไมเ่ กนิ 10.0 มลิ ลิอีคววิ าเลนท์ / ลติ ร ไบคารบ์ อเนต ไม่เกิน 1.5 มิลลิอีควิวาเลนท์ / ลติ ร โซเดียมที่ละลายน้�ำ ไมเ่ กิน 60 เปอร์เซนต์ อัตราการดดู ซบั โซเดียม SAR ไมเ่ กนิ 2.0 ค่า ECw เราใช้มาตรฐานของกล้วยไม้หวายตัดดอกเป็นเกณฑ์คือ ไม่เกิน 750 ไมโครซีเมนส์/ซม. ถ้าค่าท่ีวัดได้เกิน ก็ควรจะเก็บตัวอย่างน้�ำส่งวิเคราะห์ เพื่อจะได้รู้ว่าในน�้ำมีเกลืออะไร มีมากน้อยเท่าไร เกลือท่ีมีอยู่เป็นอันตราย กับกล้วยไม้หรอื ไม่ ••6.2  วธิ ีการใหน้ ้�ำ การใหน้ ำ�้ โดยใชส้ ปรงิ เกลอร์ การให้น้�ำโดยใช้สายยางทผี่ ่านหัวฝกั บวั ขนาด 400 รู 6 สวนกลว้ ยไม้ GAP ส�ำหรับเกษตรกร

7. ปยุ๋ กล้วยไม้ ••7.1  ชนดิ ปุ๋ย ปยุ๋ เกล็ดท่ีใช้ฉีดพน่ ทางใบ หรือปยุ๋ ทีใ่ ห้ทางระบบนำ้� ปุ๋ยนำ�้ ไม่ไดร้ บั ความนยิ ม เนอ่ื งจากท�ำใหต้ ้นทนุ การผลติ สูง •7.2  สตู รปยุ๋ ปยุ๋ ทฉ่ี ีดพน่ กบั กล้วยไม้ มาตรฐานโดยทวั่ ไปมี 4 สตู ร ดังน้ี สูตรเอนกประสงค์ (all purpose) 20-20-20 และ 21-21-21 สตู รไนโตรเจนสงู (high N) 30-10-10, 28-14-14, 30-20-10 สตู รฟอสฟอรสั สูง (high P) 10-52-17, 13-40-13, 15-30-15, 10-30-20, 6-32-32 สูตรโพแทสเซียมสงู (high K) 10-20-30, 16-8-32, 16-21-27, 15-15-30 7.3 การให้ป๋ยุ ควรให้ปุ๋ยท่ัวถึงท้ังต้น ราก และใบ ยกเว้นดอก การให้ปุ๋ยควรให้ปุ๋ย •ในวนั ทม่ี แี สงแดด และควรเป็นดังน้ี ระยะอนุบาล กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลม็อคคารา สกุลอะแรนดา และสกุลแวนดา (ใบร่อง) ใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 20-20-20 หรือ สูตร 21-21-21 ••อตั รา 250 ถงึ 400 กรัมต่อนำ�้ 200 ลติ รตอ่ ไร่ ทกุ 7 วนั ระยะเจริญเติบโตทางลำ� ตันและใบ หรือ ระยะปลูกลงแปลง ระยะออกดอกถงึ ตดั ดอก สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรบั เกษตรกร 7

8 สวนกลว้ ยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร ตวั อยา่ งการใหป้ ุ๋ยกล้วยไม้ของเกษตรกร ระยะเจรญิ เติบโตทางล�ำตนั และใบ หรือ ระยะปลูกลงแปลง ระยะออกดอกถึงตัดดอก สกลุ กลว้ ยไม้ อัตราส่วน สตู รปุ๋ยที่แนะน�ำ อัตราทใี่ ช้ วธิ ใี ช้ อัตราสว่ นปยุ๋ สตู ร อัตรา N:P:K (กรัมต่อน�้ำ ท่ีแนะนำ� (กรัมตอ่ น้�ำ วธิ ใี ช้ ที่เหมาะสม 20 ลิตร) 20 ลิตร) หวาย 1:1:1 สลบั กับ 20-20-20 หรือ 25-30 ให้ทกุ ๆ 1:2:1 หรอื 15-30-15 หรือ 50-100 ให้ทุกๆ 3:1:1 หรือ 21-21-21 2 ครัง้ 7 วัน 1:4:1 สลบั กบั 13-40-13 สลับกับ 7 วนั 3:2:1 สลับกบั 30-10-10 1:1:1 20-20-20 หรอื หรอื 30-20-10 1 คร้ัง 21-21-21 ออนซเิ ดียม 1:1:1 หรือ 21-21-21 หรอื 15-25 ให้ทกุ ๆ 1:1:1หรอื 21-21-21 หรือ 25-35 ให้ทกุ ๆ 1:3.4:5 7-24-34 (ใหป้ ุย๋ 7 - 14 1:3.4:5 7-24-34 (ให้ป๋ยุ 7-14 ละลายชา้ 13-18-10 วนั ละลายช้า 13-18-10 วัน รว่ มดว้ ย อัตรา 15 กก. รว่ มด้วย อัตรา 15 กก. ต่อไร่ ทุกๆ 4 เดอื น) ต่อไร่ ทกุ ๆ 4 เดือน) มอ็ คคาราและ 1:1:1 สลับกบั 20-20-20 หรือ 25-30 ใหท้ กุ ๆ 1:1.3:1.7 หรือ 16-21-27 หรือ 50-100 ให้ทกุ ๆ อะแรนด้า 3:1:1 หรือ 21-21-21 สลบั กบั 7 วัน 1:2:1 สลับกับ 15-30-15 สลบั กบั 7 วัน 1:1:1 20-20-20 หรือ 3:2:1 30-10-10 หรือ 21-21-21 30-20-10

8. การป้องกันกำ� จดั โรคและศตั รูกล้วยไม้ 8.1  โรคทส่ี ำ� คัญ โรคเน่าด�ำ หรือโรคยอดเน่า หรือโรคเน่าเขา้ ไส้ (Black rot) เชอ้ื สาเหตุ  เช้อื รา Phythopthora palmivora ลักษณะอาการ  เกิดได้ ทุกส่วนของกล้วยไม้ มีลักษณะอาการ ท่สี ำ� คญั ดังน้ี ราก เป็นแผลสีด�ำ เน่า แห้ง ยบุ ตัวลง หรือรากเนา่ แห้งแฟบ ตอ่ มา จะลกุ ลามเข้าในล�ำต้น ลำ� ต้น เช้อื สามารถเขา้ ท�ำลาย ไดท้ งั้ ทางยอดใบและโคนตน้ ราก ทำ� ให้ ยอดเนา่ ดำ� ถา้ เขา้ สว่ นโคน ใบจะเหลอื ง และหลุดรว่ งเนา่ ตาย ใบ เป็นจุดใส ชุ่มนำ้� สีเหลอื ง ต่อมาเปลยี่ นเปน็ สนี �้ำตาลและดำ� ก้านช่อดอก เป็นแผลเน่าด�ำ ถ้ามีความชื้นสูงแผลจะขยายใหญ่ ลกุ ลามจนกา้ นช่อหักพบั ดอก เป็นจุดสีด�ำ มีสีเหลือง ลอ้ มรอบ หากเปน็ ทดี่ อกตมู ดอกจะเนา่ และหลุดจากกา้ นชอ่ สวนกลว้ ยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร 9

การป้องกันก�ำจัด ช่อื สาร อัตราการใช้ วิธีการใช/้ ข้อควรระวงั • ฟอสฟอรัส แอซิด ตอ่ นำ�้ 20 ลติ ร ควรพน่ ในชว่ งทีแ่ ดดไมจ่ ดั • เมทาแลกซิล + แมนโคเซบ 30-50 มิลลลิ ติ ร ไมค่ วรผสมกับปยุ๋ และสารเคมีอื่น ควรสลบั การใช้กบั สารเคมีกลุ่มอ่นื (68%WP) 30 กรมั ไมค่ วรผสมกับป๋ยุ • ฟอสอที ลิ อะลมู ิเนยี ม 25-50 กรัม (60%WP) 10 สวนกลว้ ยไม้ GAP สำ� หรับเกษตรกร

โรคดอกสนิมหรอื จดุ สนิม เช้ือสาเหตุ  เชอ้ื รา Curvularia eragrosstidis ลักษณะอาการ  เป็นโรคส�ำคัญส�ำหรับกล้วยไม้ส่งออก อาการของโรค จะปรากฏในระหว่างการขนส่ง โดยเกิดเป็นจุดขนาดเล็กสีเหลืองอมน้�ำตาล บนกลบี ดอก เม่ือจุดขยายโตข้ึนจะมีสเี ขม้ ขึ้นคล้ายสสี นมิ การปอ้ งกันก�ำจัด ชอ่ื สาร อัตราการใช้ ตอ่ น้ำ� 20 ลิตร • แมนโคเซบ (80%WP) 40 กรมั • โปรพเิ นบ (70%WP) 40 กรมั โรคเกสรดำ� (แอนแทรคโนส) เชื้อสาเหตุ  เช้ือรา Colletotrichum gloeosporioides ลักษณะอาการ  เป็นปัญหาส�ำคัญ ในกล้วยไม้ส่งออก อาการของโรคจะปรากฏ บนส่วนของเส้าเกสรเป็นแผลสีเทาอมด�ำ ยุบตัว จากเน้ือเย่ือปกติ ขอบแผลอาจมีสีน�้ำตาลเข้ม หรอื สีเทา การป้องกันก�ำจดั ชอื่ สาร อัตราการใช้ วธิ กี ารใช้/ขอ้ ควรระวงั • โปรคลอราท แมงกานสี ตอ่ น�ำ้ 20 ลติ ร คลอไรทค์ อมแพลก็ (50%WP) 20 กรัม ฤดฝู นพน่ ทกุ 5-7 วัน • อะซอ๊ กซสี โตรบนิ (25%EC) สลบั การสารประเภทดดู ซึม 5 มิลลิลิตร ไมค่ วรผสมกับปุย๋ สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรับเกษตรกร 11

โรคใบปืน้ เหลือง (Yellow leaf spot) เชอ้ื สาเหตุ  เช้อื รา Pseudocercospora dendrobii ลักษณะอาการ  เกิดจุดกลมสีเหลืองท่ีใบ บริเวณโคนต้น ถ้าอาการ รุนแรงจุดจะขยายติดต่อกันเป็นปื้นสีเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดู ด้านใต้ใบจะพบกลุ่มผงสีด�ำ ใบเปล่ียนเป็นสีน้�ำตาลแห้งหลุดร่วง สปอร์ แพร่ระบาดไปตามลมหรอื ตดิ ไปกบั ละอองนำ�้ ทร่ี ดกล้วยไม้ การปอ้ งกนั กำ� จัด ชอ่ื สาร อัตราการใช้ วิธกี ารใช/้ ขอ้ ควรระวัง ตอ่ น้�ำ 20 ลติ ร • คาร์เบนดาซมิ (50%WP) • โปรพเิ นบ (70%WP) 20 กรัม ควรพ่นใหท้ ่วั ทัง้ บนใบและใต้ใบ • แคปแทน (50%WP) โดยเน้นทีผ่ ิวใบท่มี ีสปอร์ ควรพ่น 40 กรัม สารสลับกับกลุ่มอ่ืน เพ่ือปอ้ งกนั 40 กรมั การต้านทานสารเคมี 12 สวนกลว้ ยไม้ GAP ส�ำหรบั เกษตรกร

โรคเนา่ (Bacterial brown rot) เช้ือสาเหตุ  เชื้อแบคทีเรีย Burkholderia gladioli sb. gladioli (Pseudomonas gladioli) และ Acidovora. x avenae pv. cattleyae (Pseudomonas cattleyae (Pavarino) Savulescu.) ลักษณะอาการ  เริ่มแรกเป็นจุดฉ่�ำน้�ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดข้ึนและเน้ือเย่ือมีลักษณะเหมือนถูกน้�ำร้อนลวก คือ ใบพองเป็นสีน�้ำตาลและเป็นจุดฉ�่ำน�้ำ ใบจะมีขอบสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ภายใน 2–3 วัน เน้ือเย่ือใบกล้วยไม้จะโปร่งแสงมองเห็นร่างแหของเส้นใบ ถ้าอาการรุนแรงใบจะเหลืองซีด และหลุดร่วงจากส่วนโคนสู่ส่วนยอด แผลเน่าเยิ้มน้อยกว่าบนล�ำต้นจะท�ำให้กล้วยไม้เน่ายุบตายทั้งต้น ส่วนยอดที่ ถูกท�ำลายสามารถดึงหลุดออกมาได้ง่ายคล้ายโรคเน่าด�ำ (Black rot) อาการ บนล�ำลกู กล้วยลักษณะเดยี วกับอาการทพ่ี บบนใบ การป้องกนั ก�ำจดั การใชส้ ารปอ้ งกนั กำ� จดั โรคพชื ใชส้ ารปฏิชวี นะ (Antibiotic) เช่นเดียวกนั กบั โรคเนา่ เละ เช่น แอกกรมิ ยั ซิน ไฟโตมยั ซนิ แอกริสเตรป อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อน้�ำ 20 ลิตร ข้อควรระวังในการใช้สาร อย่าใช้ในอัตราท่ีเข้มข้นสูงเกินไป จะท�ำให้ใบเหลืองและขาวซีด ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ เพราะจะท�ำให้เช้ือ แบคทเี รียสาเหตุของโรคดอ้ื ตอ่ สาร สวนกลว้ ยไม้ GAP สำ� หรับเกษตรกร 13

โรคใบข้กี ลาก/ใบจดุ เชอ้ื สาเหตุ  เช้อื รา Phyllostictina pyriformis Cash & Watson • ลกั ษณะอาการ สกุลแวนดา ลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้าย กระสวยถ้าเป็นมาก •แผลจะขยายตดิ กันรวมกนั เป็นแผ่น บรเิ วณตรงกลางแผลจะมตี ุ่มนนู สนี ้�ำตาลด�ำ สกุลหวาย ลักษณะแผลเป็น จุดกลมสีน้�ำตาลเขม้ หรือสดี ำ� ขอบแผล สีน้�ำตาลอ่อน บางครั้งแผลบุ๋มลึกหรือนูนเล็กน้อย หรือเป็นสะเก็ดสีด�ำ เกิดได้ ทั้งด้านบนและใต้ใบ บางคร้ังเห็นจุดกลม สีเหลืองก่อนแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยน เปน็ จุดสดี �ำทง้ั วงกลม การปอ้ งกันกำ� จดั เมื่อพบโรคระบาดให้พ่นสารในกลุ่มคลอโรทาโลนิล (chlorothalonil) อัตรา 20 กรัมต่อน้�ำ 20 ลิตร ผสมสารเสริมประสิทธิภาพด้วยส�ำหรับฤดูฝน จะท�ำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มข้ึนหรือจะใช้สารกลุ่มแคปเทน (captan) สลับกับ สารในกลุ่มคารเ์ บนดาซมิ (carbendazim) 14 สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร

8.2 แมลง ไร สตั ว์ศตั รู ทสี่ �ำคัญ เพลี้ยไฟ หรอื เพลีย้ ไฟฝา้ ย ช่ือวิทยาศาสตร ์ Thrips palmi Karny. ช่อื สามัญ  Cotton thrips. ลักษณะและการท�ำลาย เพล้ียไฟมีขนาดเล็กมาก ล�ำตัวยาว ประมาณ 0.8-1.0 มิลลิเมตร สีเหลือง มีวงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัย 14 วัน เข้าท�ำลายโดยดูดน�้ำเลี้ยงจากเน้ือเยื่อของกลีบดอก ท�ำให้สีดอกจางเกิดรอยด่าง ทั่วไปบนกลบี ดอก การปอ้ งกนั กำ� จัด ชอ่ื สาร อตั ราการใช้ วิธีการใช/้ ข้อควรระวงั • อมิ ิดาคลอพริด (10%SL) ตอ่ นำ้� 20 ลติ ร • อะบาเมคทรนิ (1.8%EC) • ฟิโพรนิล (5%SC) 10-20 มิลลลติ ร พ่น 5-7วนั ในฤดรู ้อน หรอื 7-10 • ไซเพอร์เมทรนิ /โฟซาโลน 30 มิลลิลติ ร วันในฤดูฝน เมอื่ พบเพลย้ี ไฟ 20 มลิ ลิลติ ร มากกว่า 10 ตวั ตอ่ 40 ช่อดอก (28.75 EC) 40 มิลลิลิตร สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรบั เกษตรกร 15

บั่วกลว้ ยไม้ ช่อื วทิ ยาศาสตร ์ Contarinia maculipennis ช่อื สามัญ  (Orchid midge) ลักษณะและการท�ำลาย บ่ัวกล้วยไม้เป็น แมลงวันชนดิ หนง่ึ ตัวเตม็ วยั วางไข่ในเนอื้ เย่อื ของก้านช่อดอก ตัวหนอนเม่ือโตเต็มที่ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร อาศัยอยู่ในกลีบดอกตูม กัดกินกลีบดอกดา้ นใน ท�ำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต ดอกตูมขนาดเล็กจะ มีอาการเน่าเหลืองฉ�่ำน้�ำ ส่วนดอกตูมขนาดใหญ่ท่ีบริเวณกลีบดอกจะมีลักษณะ ผิดปกติบิดเบี้ยว ต่อมาท่ีบริเวณโคนดอกจะเห็นรอยช้�ำ เน่าสีเหลือง และจะร่วง หลุดจากช่อดอกเกือบทั้งหมด ลักษณะของหนอนมีล�ำตัวค่อนขา้ งแบน หัวส้ันและ เล็กมากจนมองเกือบไม่เห็น ไม่มีตา ไม่มีขา แต่เคล่ือนไหวไปมาได้โดยอาศัยการ ขยับตัวของกล้ามเน้ือส่วนอกและท้อง เคลื่อนไหวได้ค่อนข้างรวดเร็วในที่ช้ืนแฉะ ท่บี รเิ วณสว่ นอกด้านล่างจะมีอวยั วะทีเ่ รียกว่ากระดูกอกใช้ในการดดี ตวั ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี หนอนแมลงวันชนิดน้ใี นระยะแรกมสี ีขาวใส เมอ่ื อายุมากขึน้ จะมสี ีขาวนวล และสีจะเข้มมากข้ึนเม่ืออยู่ในวัยสุดท้ายก่อนที่จะเข้าดักแด้ ตัวเต็มวัยจะมีลักษณะ คล้ายยุงแต่มีขนาดเล็กและบอบบางกว่าล�ำตัวและขามักจะปกคลุมด้วยขนละเอียด กระจายอยู่เต็ม ซึ่งลักษณะการท�ำลายของบ่ัวกล้วยไม้ที่ท�ำให้ดอกตูมร่วงหลุดจาก ช่อดอกอยา่ งรวดเร็วในเวลาเดียวกนั ชาวสวนจงึ เรยี กแมลงนีว้ ่า “ไอ้ฮวบ” การปอ้ งกันก�ำจัด ชือ่ สาร อตั ราการใช้ วิธีการใช้/ข้อควรระวัง ต่อนำ�้ 20 ลิตร • ไซเพอรเ์ มทรนิ /โฟซาโลน 40 มิลลิลติ ร พ่นทกุ 5-7 วนั จนกว่า (28.75 EC) การระบาดจะลดลง • คาร์โบซลั แฟน (20%EC) 60-100 มิลลลิ ิตร • อมิ ดิ าคลอพรดิ (10%SL) 20 มิลลิลติ ร 16 สวนกลว้ ยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร

หนอนกระทผู้ กั ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์  Spodoptera litura ชื่อสามญั   Cluster caterpillar ลักษณะและการท�ำลาย  หนอนกระทู้ผักมีล�ำตัวอ้วนป้อม มีจุดสีด�ำ ใหญต่ รงปล้องท่ี 3 ตวั เต็มวัยเปน็ ผเี ส้อื กลางคนื ขนาด 3.0-3.5 เซนตเิ มตร วางไข่ เปน็ กลุม่ ประมาณ 100 ฟอง ไข่ปกคลุมด้วยขนสีฟางขา้ ว ระยะไข่ 3-4 วัน ระยะ หนอน 10-14 วัน หนอนเข้าดักแด้ในดิน ระยะดักแด้ 7-10 วนั หนอนที่เกิดใหม่ จะอยรู่ วมกลมุ่ แทะกินผวิ ใบและดอก วัยต่อมาจะเคลอ่ื นยา้ ยกดั กนิ ส่วนต่าง ๆ การป้องกันก�ำจดั ชื่อสาร อัตราการใช้ วธิ กี ารใช้/ข้อควรระวัง ต่อน�้ำ 20 ลติ ร • เชือ้ ไวรัส NPV 30 มลิ ลลิ ติ ร พน่ ชว่ งเวลาเยน็ ทกุ 4-5 วัน ตดิ ต่อกนั 3-4 ครงั้ เมอื่ พบ • คลอฟลอู าซรู อน (5%EC) 20 มิลลลิ ิตร การระบาด • สารสะเดา 100 มิลลิลติ ร ‫‏‬พ่น 5-7 วนั จนกวา่ การระบาด จะลดลง ‫‏‬พ่นช่วงเวลาเยน็ ทุก 5-7 วัน ตดิ ต่อกัน สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรับเกษตรกร 17

หนอนกระทหู้ อม ชอื่ วิทยาศาสตร ์ (Spodoptera exiqua) ชื่อสามัญ  Beet armyworm ลกั ษณะและการทำ� ลาย  หนอนกระทหู้ อม หรอื ชาวสวนทว่ั ไปเรยี กวา่ หนอนหนังเหนียว หนอนหลอดหอม หนอนเขียว เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลาง 2.0-2.5 เซนติเมตร ตวั เต็มวัยวางไข่เป็นกลมุ่ ประมาณ 20-100 ฟอง ระยะไข่ประมาณ 2-3 วัน ระยะหนอนประมาณ 14-17 วัน และระยะดักแด้ 5-7 วัน โดยที่วางไข่เป็นกลุ่มคลุมด้วยขนบางๆ ท�ำให้รอดพ้นจากการถูกกับ สารเคมีท่ีพ่นลงไป หรือหลบซ่อนจากตัวห�้ำตัวเบียนได้ และมักวางไข่ใต้ใบ ท�ำให้ยากที่จะมองเห็นได้ชัดเจน ลักษณะของหนอนกระทู้หอมสังเกตได้งา่ ย คือ มีล�ำตัวอ้วน ผนังล�ำตัวเรียบ มีหลายสี ด้านข้างมีแถบสีขาวพาดตามยาวจากอก ถึงปลายสดุ ของล�ำตวั ข้างละแถว ตัวหนอนกัดกินดอก ต้นและใบเป็นรอยแหวง่ การระบาด ระบาดรุนแรงในชว่ งฤดูรอ้ น การป้องกนั กำ� จัด ชอื่ สาร อตั ราการใช้ วธิ ีการใช้/ข้อควรระวงั • เช้ือไวรสั NPV ตอ่ น้�ำ 20 ลิตร • เชื้อแบคทเี รีย BT 60 มิลลิลิตร ‫‏‬พน่ ช่วงเวลาเย็น ทกุ 4-5 วันตดิ ตอ่ กนั • เทบูฟีโนไซด์ 3-4 ครัง้ เมอ่ื พบการระบาด • สารสะกดั สะเดา 50 มลิ ลลิ ิตร ‫‏‬พ่น 5-7 วนั จนกว่าการระบาดจะลดลง 20 มลิ ลิลิตร พ‫ ‏‬น่ ช่วงเวลาเยน็ ทกุ 5-7 วนั 100 มิลลลิ ติ ร ใช้ตดิ ต่อกัน 18 สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรบั เกษตรกร

หอยทากซคั ซเิ นีย ชอื่ วิทยาศาสตร์  Succinea minuta ชือ่ สามญั   Amber snail ลักษณะและการท�ำลาย  หอยทากท่ีพบในสวนกล้วยไม้ส่วนมาก เป็นหอยทากบกขนาดเล็ก คือ หอยทากซัคซิเนีย และหอยเลขหนึ่ง ท�ำลายโดย กัดกินตาหน่อ ตาดอกและช่อดอก และปล่อยเมือกไว้ตามทางเดินเป็นสาเหตุ ท�ำให้เกิดเช้ือโรคหรือเชื้อราเข้าท�ำลายต่อได้ และยังสร้างปัญหาเป็นศัตรูพืช ทต่ี ิดไปกับดอกกล้วยไม้ที่ส่งดอก การปอ้ งกันก�ำจดั ชื่อสาร อัตราการใช้ วิธีการใช/้ ข้อควรระวงั ตอ่ นำ�้ 20 ลิตร • นิโคลซาไมด์ (70% WP) 40 กรัม ควรพ่นในตอนเยน็ ซ่งึ เปน็ เวลา • เมทโิ อคารบ์ (50% WP) 60 กรมั ทหี่ อยเริม่ ออกหากนิ โดยฉีดพน่ • เมทัลดีไฮด์ (80% WP) 40 กรัม นำ้� เปล่ากอ่ นพ่นสารประมาณ นาทเี พอ่ื ให้ความชื้นในอากาศสูง จะทำ� ใหห้ อยทากออกจากที่ หลบซ่อน สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรับเกษตรกร 19

ไรแมงมมุ เทียมกลว้ ยไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์  Tenuipalpus pacificus ช่อื สามัญ  Phalaenopsis mitl ลักษณะและการท�ำลาย  หลังกลีบดอกเป็นจุดแผลสีม่วงเข้ม หรือเป็นจุดนูนสีขาวและน�้ำตาล และ พบตัวไรเกาะกลุ่ม บนผิวใบเป็นจุด สีแดงเล็กๆ ขนาดเท่าปลายเข็มหมุด มีคราบสีขาวของไรคล้ายฝุ่น ผิวใบ ยบุ ลงและเปล่ียนเปน็ สีนำ้� ตาล • การป้องกนั กำ� จดั เม่ือพบการระบาด ให้ใช้อะมิทราซ อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้�ำ 20 ลิตรหรือโพรพาไจด์ อัตรา 30 กรมั ตอ่ น�้ำ 20 ลติ ร 20 สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร

9. การบนั ทึกขอ้ มลู 9.1 มีการบันทึกข้อมูลอย่างครบถ้วน ข้อมูลที่ต้องบันทึก เช่น แหล่ง ที่มาของต้นพันธุ์ การปฏิบัติดูแลรักษา การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร วันท่ี เก็บเก่ียว และปรมิ าณผลผลิตตามช้นั คุณภาพ 9.2 เก็บรักษาบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน และเอกสารส�ำคัญที่ เกีย่ วขอ้ งกบั การปฏบิ ตั ิงานไวเ้ พอ่ื การตรวจสอบอยา่ งน้อย 1 ปี สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรบั เกษตรกร 21

เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร. 2547. กล้วยไม.้ กรงุ เทพฯ. กรมวิชาการเกษตร. 2550. ระบบการจัดการคณุ ภาพ: GAP กลว้ ยไม้ ส�ำหรับ เกษตรกร. กรงุ เทพฯ. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2542. คู่มือการปฏิบัติปลูกเล้ียงกล้วยไม้. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์ชมุ นมุ สหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2554. การสลับกลุ่มสารเคมี เพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพ ในการป้องกันก�ำจัดแมลงศัตรูกล้วยไม้. จดหมายข่าวเทคโนโลยี กล้วยไม้ ฉบับท่ี 1. กรงุ เทพฯ. กลว้ ยไม้. คน้ เมือ่ 9 มกราคม 2556, จาก http://club-healthdee.blogspot. com/2012_01_01_archive.html ทวพี งศ์ สุวรรณโร. 2551. คูม่ ือนักวชิ าการสง่ เสริมการเกษตร: กล้วยไม้ตัดดอก สกุลหวาย. กรงุ เทพฯ. แมลงและไรศตั รทู สี่ ำ� คญั และการปอ้ งกนั กำ� จดั ของกลว้ ยไม.้ คน้ เมอื่ 9 มกราคม 2556, จาก http://www.oknation.net/blog/0908506784/2012/11/27/ entry-1 โรคใบป้ืนเหลือง. คน้ เมือ่ 9 มกราคม 2556, จาก http://naist_cpe.ku.ac.th/ doae/disease_kmfu.php?id=2 Leonhardt, K. and Kelvin Sewake. 1999. Growing Dendrobium Orchids in Hawaii. Production and Pest Management Guide. Hawaii College of Tropical Agriculture & Human Resources, University of Hawaii. ✤✤✤ 22 สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรับเกษตรกร

เอกสารค�ำแนะนำ� ท่ี 6/2557 สวนกล้วยไม้ GAP สำ� หรับเกษตรกร ทป่ี รกึ ษา อธบิ ดกี รมส่งเสรมิ การเกษตร นายโอฬาร พิทกั ษ ์ รองอธิบดกี รมสง่ เสรมิ การเกษตร ฝ่ายบรหิ าร นายน�ำชยั พรหมมีชัย รองอธบิ ดกี รมสง่ เสรมิ การเกษตร ฝา่ ยวชิ าการ นายไพรชั หวงั ด ี รองอธิบดีกรมสง่ เสริมการเกษตร ฝ่ายส่งเสริมและฝึกอบรม นายสุรพล จารุพงศ์ ผู้อ�ำนวยการสำ� นักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี นางสกุ ญั ญา อธปิ อนันต ์ ผอู้ ำ� นวยการส�ำนกั ส่งเสริมและจดั การสนิ ค้าเกษตร นางอรสา ดิสถาพร เรยี บเรียง นายทวพี งศ์ สุวรรณโร ผู้อ�ำนวยการกลุม่ สง่ เสริมไมด้ อกและไม้ประดบั นางสาวมารศรี วงศ์อนันทรพั ย์ นักวิชาการเกษตรช�ำนาญการ กล่มุ ส่งเสริมไมด้ อกและไมป้ ระดับ จดั ทำ� นางอมรทิพย์ ภิรมย์บูรณ์ ผอู้ �ำนวยการกลุ่มพฒั นาสอื่ ส่งเสรมิ การเกษตร นายพงษ์เพชร วงศ์โสภา นักวิชาการเผยแพร่ช�ำนาญการ กลมุ่ พัฒนาสอื่ สง่ เสริมการเกษตร สำ� นักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมสง่ เสรมิ การเกษตร