Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พัฒนาการในเเต่ละช่วงวัย (1)

พัฒนาการในเเต่ละช่วงวัย (1)

Published by sawanyaeye19, 2021-11-01 08:38:56

Description: พัฒนาการในเเต่ละช่วงวัย (1)

Search

Read the Text Version

พัฒนาการคุณภาพชีวิต ในเเต่ละช่วงวัย

พั ฒ น า ก า ร เ เ บ่ ง วัยทารก วัยเด็ก เ ป็ น 5 ช่ ว ง วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วั ย ท า ร ก วั ย เ ด็ ก วั น รุ่ น วั ย ผู้ ใ ห ญ่ วั ย ช ร า วัยชรา

วัยทารก ช่วงแรกเกิด - 2 ขวบ แบ่งเป็น 2 ช่วง ทารกวัยแรกเกิด ทารกตอนปลาย

ทารกวัยแรกเกิด,วัยทารกตอนปลาย ร่างกาย : วัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการท่างด้านร่างกายและสมองได้ อย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ปกครองควรให้เด็กได้รับประทาน อาหารที่มีคุณค่าและเพียงพอต่อความต้องการ อารมณ์ : เด็กในวัยนี้จะสร้างความผูกพันกับผู้ปกครอง ดังนั้นผู้ปกครองควรที่จะเล่นกับเด็กในวัยนี้เพื่อทำให้เด็กมี รอยยิ้ม เสียงหัวเราะและอารมณ์ที่แสดงความพึ่งพอใจ

ทารกแรกเกิด,ทารกวัยตอนปลาย สังคม : ผู้ปกครองควรที่จะเล่านิทานให้เด็กในวัยนี้ฟังเป็นอย่าง มากเพราะจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในหลายๆด้านทำให้ เด็กได้เพลิดเพลิน สติ/ปัญญา : เด็กนี้วัยนี้ชอบการที่จะเล่น การขีดเขียน และการ ดังนั้นผู้ปกครองควรที่จะอยู่เล่นกับเด็ก และคอย ส่งเสริมจิตนาการของเด็กๆ

เพราะอะไรถึงต้องเล่านิทานให้เด็กฟังเเละ ควรสร้างความผูกพันกับเด็กวัยทารกโดยการทำอะไร

วัยเด็ก แบ่งเป็น 2 ช่วง วัยเด็กตอนต้นช่วง 2 - 6 ปี วัยเด็กตอนปลายช่วง 6 - 11 ปี

วัยเด็กตอนต้น หรือ วัยก่อนเรียน ด้านร่างกาย พัฒนาการเป็นไปอย่างช้า ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยทารกเพราะเด็กวัยนี้จะห่วงเล่น ดังนั้นผู้ ปกครองควรจะเข้าใจ ให้อิสระในการลองทำสิ่งต่าง ๆ และปล่อยให้เด็กได้เล่นอย่าเต็มที่ ด้านอารมณ์ วัยนี้จะมีพัฒนาการการแสดงออกด้านอารมณ์ที่ชัดเจนมักจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง โมโหร้าย ชอบปฏิเสธ ผู้ปกครองจึงควรเข้าใจเด็กและคอยอบรมสั่งสอนอย่างใจเย็นอยู่เสมอ ด้านสังคม ครอบครัวควรมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น และควรพาไปเด็กไปพบเจอสังคมใหม่ ๆ เพื่อนใหม่ ๆ ด้านสติปัญญา วัยนี้เป็นวัยที่ชอบแก้ปัญหาตามความคิดและวิธีการของตนเอง ชอบอิสระ ชอบซักถาม ดังนั้นผู้ปกครองควรรับฟังทุกอย่างที่เด็กพูดและพยายามตอบคำถามของเด็ก

วัยเด็กตอนปลาย หรือ วัยเรียน ด้านร่างกาย เปลี่ยนแปลงด้านน้ำหนัก การเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน และการขยายออกของร่างกายซึ่งเปลี่ยนไปในด้านส่วน สูงมากกว่าส่วนกว้าง ซึ่งเด็กผู้หญิงจะเจริญเติบโตด้านร่างกายเร็วกว่าเด็กผู้ชาย ด้านอารมณ์ อารมณ์จะไม่ดีหรือร้ายจนเกินไป ละเอียดอ่อนมากขึ้น สามารถเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น ควบคุมอารมณ์ของตนได้ เรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์ได้เหมาะสมในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้ ด้านสังคม จะให้ความสำคัญกับเพื่อนมาก เด็กจะหาเพื่อนที่มีความคล้ายคลึงกันในด้านของบุคลิก ความชอบ และเป็นเพื่อนที่วางใจได้ เข้าใจกัน ยึดมั่นกับกลุ่มเพื่อน และมักเป็นสังคมเฉพาะของเพื่อนเพศเดียวกัน ด้านสติปัญญา สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น รู้จักการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา รับผิดชอบ และตัดสินใจได้ด้วยตนเอง รับฟังคนอื่นมากขึ้น กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้

ถ้าเด็กห่วงเล่นจนไม่ยอมกินข้าว จะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร

วัยรุ่นเเบ่งเป็น 2 ช่วง วัยรุ่นตอนต้น ช่วง 11 - 14 ปี วัยรุ่นตอน ปลาย ช่วง 15 - 20 ปี

วัยรุ่นตอนต้นช่วง 11 - 14 ปี ด้านร่ายกาย ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างมาก ด้านความสูงและนำ้หนักสูงใหญ่ ขึ้นจนทำให้รู้สึกว่ามี ความเก้งก้าง การเจริญเติบโตบางคน ไม่เท่ากัน ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเด็กผู้ชาย ประมาณ 1-2 ปี ระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนทำงานมากขึ้น ด้านอารมณ์ อารมณ์ค่อนข้างแปรปรวนอ่อนไหวง่าย ไม่มั่นคง อารมณ์ตรงไปตรงมา ควบคุมอารมณ์ได้ น้อย มีความเป็นตัวของตัวเอง อยากรู้อยากทดลอง ด้านสังคม วัยรุ่นตอนต้นคบเพื่อนเพศเดียวกัน เป็นกลุ่มใหญ่ ชอบทำกิจกรรมต่างๆเป็นกลุ่ม ต้องการ เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน ด้านสติปัญญา มีความสามารถคิดเป็นนามธรรม มากขึ้นมีเหตุผล สามารถ แก้ปัญหาที่สามารถทำได้ สามารถแยกแยะโลกแห่ง ความฝันและโลกแห่งความเป็นจริงได้ มีความคิด แบบผู้ใหญ่

วัยรุ่นตอนปลายช่วง 15 - 20 ปี ด้านร่ายกาย การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ร่างกายสมบรูณ์เต็มที่ มีความสนใจในอาชีพ ต้องการอิสรภาพ มีเเรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น มีความ ด้านอารมณ์ ต้องการทางเพศ ต้องการยอมรับจากสังคม ด้านสังคม สนใจเพศตรงข้าม เเละมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มีความต้องการตำเเหน่ง ทางสังคม ด้านสติปัญญา มีการให้เหตุผลในเชิงรูปธรรมในเชิงนามธรรม คิดเหมือนผู้ใหญ่ มีการเเก้ปัญหา คิดสลับซับซ้อนได้ เเต่จะคิดเเบบยึดติดอยู่กับกฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่เข้าใจว่าทุก อย่างเปลี่ยนแปลงได้

ด้านสังคมของวัยรุ่นตอนต้นกับตอนปลายต่างกันอย่างไร

วัยผู้ใหญ่ เเบ่งเป็น 2 ช่วง 1.วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (20-40 ปี) 2.วัยรุ่นตอนปลาย (41-60 ปี)

วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ช่วง 20-40 ปี ด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านร่างกาย สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้านอารมณ์ ด้านสังคม วัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีพัฒนาการของวุฒิภาวะด้านอารมณ์ ซึ่งมีความมั่นคงทางอารมณ์ ยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง ยอมรับอารมณ์ของตัวเอง มีความอดทน มีความเชื่อมั่นในการเเสดงออก รู้จักตัวเองอย่างถ่องเเท้ ด้านสติปัญญา ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพของอิริคสัน วัยผู้ใหญ่ตอน สติปัญญาจะมีพัฒนาการเต็มที่จนถึงวุฒิภาวะในระยะ ต้นอยู่ในขั้นพัฒนาการขั้นที่6 คือความใกล้ชิดสนิทสนมหรือ ผู้ใหญ่ตอนต้น มีความสามารถในการเรียนรู้ การคิดอย่าง การเเยกตัว สังคมของบุคคลวัยนี้คือ เพื่อนรัก คู่ครอง บุคคล รวดเร็วในช่วงอายุ 19-30 ปี ที่จะพัฒนาความรัก ความผูกผัน เเสวงหามิตรภาพที่สนิทสนม

วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย ช่วง 41-60 ปี ด้านร่างกาย ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวย่น ผมเเละขนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวเเละเริ่มหลุดร่วง กล้าเนื้อลีบลง ร่างกายฟื้นฟูยา ด้านอารมณ์ เกิดปัญหาทางอารมณ์ที่พบบ่อย เช่น เศร้า เบื่อหน่าย หงุดหงิด ท้อเเท้ เหงา น้อยใจง่าย สิ้นหวัง เครียด ขี้บ่น ด้านสังคม บทบาททางสังคมจะถูกจำกัดลง เนื่องจากสุขภาพไม่ค่อยเอื้ออำนวย ด้านสติปัญญา เซลล์สมองจะเริ่มเสื่อมลง บางรายอาจประสบปัญหา ทำให้ความจำเสื่อม สับสนในหลายๆเรื่อง

ด้านสติปัญญาของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นกับตอนปลายต่างกันอย่างไร

วัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่60ปีขึ้นไป ที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจและสังคม ไปในทางที่เสื่อมลง มีบทบาททางสังคม และกิจกรรมในการประกอบอาชีพลดลง เป็นบุคคลที่มากด้วยประสบการณ์ และควรได้รับการยกย่องดูแลจากบุตรหลาน

การแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ จากการกำหนดว่า บุคคลที่อายุ60ปีขึ้นไปเป็นผู้สูงอายุ ข้อมูลของ องค์การอนามัยโลก โดย อัลเฟรด เจ คาห์น(Professor Dr.Alfred J.Kahn)แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มีการแบ่งช่วงอายุที่ต่างเหมือนกัน คือ ผู้สูงอายุ(Elderly) มีอายุระหว่าง 60-74ปี คนชรา (old) มีอายุระหว่าง75-90ปี คนชรามาก (very old) มีอายุ90ปีขึ้นไป)

ด้านร่างกาย •ผิวหนัง ผิวหนังจะแห้ง บางลง เหี่ยวย่น และหลุดออกได้ง่าย •ผม ผมจะมีสีขาวหรือเรียกว่าผมหงอก เกิดจากรากผมไม่สร้างเม็ดสี อีกทั้งผม จะบางลงและหลุดร่วงง่าย •ริมฝีปาก ผู้สูงอายุจะมีริมฝีปากแห้งและลอกแตกง่าย ฟันหลุดหรือแตกหักง่าย •การรับรส การรับรสชาติอาหารลดลง •การรับกลิ่น การได้กลิ่นต่างๆลดลง •การมองเห็น ประสาทสัมผัสในการมองเห็นลดลง โดยเฉพาะในเวลากลาง คืน หรือที่ที่มีแสงสว่างน้อย หยิบจับสิ่งของไม่ถูก เลนส์ตาแข็งขึ้น ความ สามารถในการมองเห็นลดลง

ด้านร่า งกาย • ประสาทการรับเสียง เสื่อมลง หูตึง ได้ยินเสียงระดับต่ำชัดกว่าเสียงสูง • กระดูกและกล้ามเนื้อ จำนวนและเส้นใยของกล้ามเนื้อรวมไปถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง • หัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดแดงแข็งตัว มีความเสื่อมและยืดหยุ่นน้อยลงให้ผนังหลอดเลือด หนาตัวมากขึ้น ทำให้เกิดความดันโลหิต สูงได้ • ระบบหายใจ เมื่ออายุมากขึ้นความยืดหยุ่นและความจุปอดลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยหายใจลดลง • การย่อยอาหาร ในผู้สูงอาหารนั้นกรพเพาะอาหาร จะมีน้ำย่อยลดลง ลำไส้หย่อนตัวทำให้มักมีอาการท้องอืด แน่น ท้อง และท้องผูกได้ • ระบบฮอร์โมน ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุอาจทำให้ผู้สูงอายุบางคนเป็นโรคเบาหวานอ้วนง่าย อุณหภูมิ ร่างกายลดลงทำให้ขี้หนาว • ต่อมไทรอยด์ ทำงานแปรปรวนอาจทำให้เชื่องช้า หรือหงุดหงิดง่าย กระดูกผุง่าย

ด้านจิตใจ • การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความวิตกกังวล ความเครียดความรู้สึกกดดัน • เกิดความรู้สึกว่าคุณค่าในตนเองลดลงจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถ้าปรับตัวไม่ได้จะรู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า ขาดความพึงพอใจต่อสภาพชีวิตปัจจุบัน • ผู้สูงอายุต้องปรับตัวกับการสูญเสีย(Loss)ที่เกิดขึ้นทั้งร่างกายและติดใจอันได้แก่ การเสียอิสรภาพในการ ควบคุมตนเองจากที่เคยทำอะไรด้วยตัวเองกลับต้องเป็นฝ่ายพึ่งพิงคนอื่นๆ การสูญเสียรายได้ที่เคยได้รับการสูญ เสียบุคคลอันเป็ที่รัก การสูญเสียจากการตายของคู่สมรส เพื่อนฝูง และการพลัดพรากของบุตรที่ไปมีครอบครัว ใหม่ • ผู้สูงอายุหลายรายรู้สึกห่อเหี่ยวเนื่องจากขาดคนดูแล หรือที่เรียกว่าEmptiness syndrome และการสูญเสีย สถานภาพบทบาทหน้าที่ในสังคม เช่น การปลดเกษียณอายุราชการ การออกจากงาน ในขณะที่ได้รับสถานภาพ ใหม่ในฐานะผู้พึ่งพิง ผู้ป่วย หรือผู้เป็นภาระ หรือถูกตีตราว่าเป็นไม้ใกล้ฝั่ง

ด้านจิตใจ • การรับรู้ตนเองและความรู้สึกมีคุณค่า(Self concept and self-Esteem)ถ้าเป็นไปในทางบวกจะช่วยให้สามารถปรับตัว แก้ไขปัญหาได้ดีและรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีผลมาจากกระบวนการความคิดอารมณ์ ความปรารถนาคุณค่า และพฤติกรรมใน ขณะที่ผู้สูงอายุ มีแนวโน้มมองตนเองว่ามีความสามารถลดลง โดยเฉพาะความคิดเชิงนามธรรม(Fluid Intelligence)รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสามารถทางสมองโดยรวมจึงทำให้ผู้สูงอายุพยายามชดเชยโดยเพิ่มความ สนใจในงานที่จะแสดงถึงความสามารถเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ความเข้าใจด้านภาษา(crystallized Intelligence)ซึ่งทำให้ สามารถปรับตัวและมองตัวเองว่ายังมีค่า • นอกจากนี้ปัญหาด้านจิตใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ นอนไม่หลับ รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ความเครียด วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า สมองเสื่อม การฆ่าตัวตาย • ในกลุ่มผู้สูงอายุนอกจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง และการเป็นโรคซึมเศร้า ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในชุมชนที่มีอัตราการฆ่าตัวตาย สูงเกี่ยวข้องกับค่านิยม ได้แก่ ความเกรงใจ การเก็บความรู้สึก ไม่พูด ดื่มสุรา รักษาหน้าและนินทาในขณะที่ค่านิยมที่เปอน ปลายทางคือการรักษาหน้า

ด้านสังคม • ถอนบทบาทจากสังคมภายนอก ด้วยการเกษียณอายุจากการทำงาน ขาดการพบปะจากผู้คน บทบาท สังคมและการได้รับยกย่องจากบุคคลอื่นในสังคมลดลง • เกิดความรู้สึกว่ามีคุณค่าและศักดิ์ศรีลดน้อยลง เกิดความรู้สึกเหงาและว้าเหว่ ถ้าไม่มีบทบาท ใม่มาทดแทนจะส่งผลให้ความพึงพอใจในชีวิตลดลง รวมทั้งการขาดรายได้ รายได้พิเศษต่างๆก็ หมดไป ในขณะที่รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับการดูแล สุขภาพที่เสื่องลง มากขึ้นจากเดิม จึงก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจได้ • วัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อผู้สูงอายุ เช่น การเคารพ ให้เกียรติผู้สูงวัย เนื่องจากช่องว่างระหว่างวัย ผู้สูงอายุจึงไม่ได้รับการเคารพนับถือเหมทอนสมัยก่อน การที่ลูกหลานต้องไปทำงานต่างถิ่น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่โดยลำพัง เกิดความเหงา ว้าเหว่

ด้านสติปัญญา • วัยสูงอายุ สมองจะฝ่อและมีน้ำหนักลดลง เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงสมองน้อยลง เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและเซลล์ลดจำนวนลงตามอายุ ทำให้สมองเสื่อม ความจำ เสื่อม แต่ในส่วนความจำในอดีตจะไม่เสีย แต่ความคิดอ่านจะเชื่องช้าลง ตัวผู้สูงอายุเอง และลูกหลาน ควรใส่ใจในการเปลี่ยนแปลงของตนเอง รวมทั้งปรับตัวกับ สภาพที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สุขภาพจิตดี และสุขภาพแข็งแรงสมวัย

ยกตัวอย่างร่างกายที่เสื่อมสภาพ ลงในวัยชรา 3 อย่าง เเล้วเสื่อมสภาพลงอย่างไร

เราจะพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างไร?

แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา ให้ความสำคัญกับสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี สร้างการยอมรับ และยกย่อง เพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับ บริโภคอาหารอย่างถูก รู้จักควบคุมอารมณ์ โดยการ จากสังคม อันได้แก่ การเข้า ตนเอง เช่น การอ่านหนังสือ สุขลักษณะและ ครบ 5 หมู่ หมั่นฝึกให้ทาน การทำงาน ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆการใช้ หาเวลาพักผ่อนและออก อดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วม เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อ ศึกษาข้อมูลผ่านสื่อสาร กำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพ กิจกรรมสันทนาการ การฝึก ชุมชน และการปฏิบัติตนโดย สนเทศ รวมไปถึงการหัด ร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม สังเกตและการติดตามการ สมาธิ เป็นต้น เปลี่ยนแปลงของสิ่ง แวดล้อมเป็นต้น

เทคนิคการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีการวางแผนล่วงหน้า เพราะความสำเร็จที่ได้มามักมาจากแผนงานที่ชัดเจน มีเป้า หมาย วัตถุประสงค์ และกำหนดระยะเวลา การมีระเบียบแผนจะช่วยให้เราจัดการกับสิ่ง ต่างๆในชีวิตได้ดีขึ้น ขจัดความขี้เกียจ เพราะความขี้เกียจเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เรา ควรเริ่มสะกัดความขี้เกียจไว้ตั้งแต่เริ่ม โดยการไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ปล่อยงานเป็นดิน พอกหางหมู และควรลงมือปฏิบัติทันทีเมื่อพร้อม ใช้จ่ายอย่างเหมาะสม มีการวางแผน และ เตรียมพร้อมไว้เสมอ เป็นการช่วยสร้าง ระเบียบพื้นฐานให้แก่ตนเอง ไม่ให้ใช้เงินมากเกินไป หรือประหยัดจนเกินพอดี และเพื่อ ให้มีเงินเหลือไว้ใช้ยามฉุกเฉินด้วย

คิดเชิงบวก มองสิ่งต่างๆในมุมสร้างสรรค์ เป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆกับสิ่งรอบ กาย พัฒนากระบวนการคิดและสร้างทัศนคติให้ดีขึ้น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและปัญหาต่างๆ เมื่อเราคิดลงมือกระทำสิ่งใด ควรตั้งรับ และเตรียมใจว่า การไปสู่ความสำเร็จย่อมต้องมีอุปสรรคขวากหนามเสมอ แต่ หากเราพยายาม ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เราก็จะพบกับความสำเร็จ เคารพตนเอง โดยเชื่อมั่นในความสามารถ ให้โอกาสตนเองในการกล้าลอง ผิดลองถูก เพราะผู้ที่สามารถยืดหยัดอยู่บนความสำเร็จนั้นได้ ล้วนแล้วแต่ผ่าน บททดสอบ ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน

เพื่อนๆอยากพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านใดมาก ที่สุด เพราะอะไร ?

จัดทำโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 210201001 น.ส. กษิรา สฤษฎีชัยกุล 210201010 210201020 น.ส. อนงนาฎ ภัทรพงษาธิต 210201021 210201025 น.ส. วันวิสาข์ สถานพงษ์ 210201029 น.ส. สวรรยา นุชนา น.ส.ชญานิศ กองทัพธรรม น.ส.สุพรเทพ ตุ้มมาตร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook