Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือแบบเรียน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่ม 06 Sec.01

หนังสือแบบเรียน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่ม 06 Sec.01

Published by krakarndee2543, 2021-11-03 18:50:53

Description: หนังสือแบบเรียน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่ม 06 Sec.01

Search

Read the Text Version

1วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หนั งสือเรียนรายวิชาพื้ นฐาน ม. ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตครแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การดำรงชีวิตของพืช CO 2 ผู้เรียบเรียง กัญญภัส เพ็ชร์ชัย C 6 H12O6 อภิญญา กระการดีั O2 กัญญภัค เพ็ชร์ชัย ณัฐกานต์ แนบเนียน 99.-



หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตครแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้เรียบเรียง กัญญภัค เพ็ชร์ชัย กัญญภัส เพ็ชร์ชัย ณัฐกานต์ แนบเนียน อภิญญา กระการดี

คำนำ หนังสือเล่มนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อการดำรงชีวิตของพืช โดยดำเนินการจัด ทำให้สอดคล้องตามกรอบของหลักสูตรทุกประการ หนังสือประกอบการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเนื้อหา ทั้งหมดผู้จัดทำได้ส่งเสริมกระบวนการคิด การสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา การสร้างองค์ความ รู้ใหม่ การตัดสินใจ การนำไปใช้ในชีวิต พร้อมทั้งคำถามชวนคิด เกร็ดความรู้รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ เรียนมีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรม ค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม คณะผู้จัดทำจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาและเป็นสื่อ ประกอบการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ไม่มากก็น้อย เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) หากมีข้อ บกพร่องหรือข้อผิดพลาดประการใดโปรดกรุณาแจ้งคณะผู้จัดทำ เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นใน โอกาสต่อไป ขอขอบพระคุณอาจารย์ผู้ให้ความรู้และคำแนะนำ ในการสร้างหนังสือแบบเรียน วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับนี้ ตลอดจนบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำไว้ ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำ

สารบัญ 1หน่ วยการเรียนรู้ที่ การดำรงชีวิตของพืช หน้ า บทที่ 1 การสังเคราะห์ด้วยแสง 4 7 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 16 ปัจจัยที่สำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 18 23 คำถามท้ายบท 29 บทที่ 2 การลำเลียงสารในพืช 41 การลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร 44 49 การลำเลียงอาหาร 55 คำถามท้ายบท 58 61 บทที่ 3 การเจริญเติบโตของพืช 63 คำถามท้ายบท บทที่ 4 การลำเลียงสารในพืช การสืบพันธ์ุแบบไม่อาศัยเพศของพืช การสืบพันธ์ุแบบอาศัยเพศของพืช คำถามท้ายบท บทที่ 5 เทคโนโลยีชีวภาพของพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เทคโนโลยีการดัดแปรพันธุกรรมของพืช คำถามท้ายบท บรรณานุกรม

แผนผังสาระการเรียนรู้ การสังเคราะห์ด้วยแสง เทคโนโลยีชีวภาพของพืช การลำเลียงสารในพืช การดำรงชีวิตของพืช การสืบพันธ์ุของพืช การเจริญเติบโตของพืช

หน่ วยที่ 1 การดำรงชีวิตของพืช องค์ประกอบของหน่วย บทที่ 1 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง บทที่ 2 การลำเลียงสารในพืช บทที่ 3 การเจริญเติบโตของพืช บทที่ 4 การสืบพันธุ์ของพืช บทที่ 5 เทคโนโลยีชีวภาพของพืช ตั ว ชี้ วั ด ม.1/6 ระบุปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้หลัก ฐ า น เ ชิ ง ป ร ะ จั ก ษ์ ม.1/7 อธิบายความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ม.1/8 ตระหนักในคุณค่าของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันปลูกและดูแลรักษา ต้ น ไ ม้ ใ น โ ร ง เ รี ย น แ ล ะ ชุ ม ช น ม.1/9 บรรยายลักษณะและหน้าที่ของไซเล็มและ โฟลเอ็ม ม.1/10 เขียนแผนภาพที่บรรยายทิศทาง การลำเลียงสารในไซเล็มและโฟลเอ็มของพืช ม.1/11 อธิบายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และ ไม่อาศัยเพศของพืชดอก ม.1/12 อธิบายลักษณะโครงสร้างของดอกที่มีส่วน ทำให้เกิดการถ่ายเรณู รวมทั้งบรรยาย ก า ร ป ฏิ ส น ธิ ข อ ง พื ช ด อ ก การเกิดผลและเมล็ด การกระจายเมล็ด และการงอกของเมล็ด ม.1/13 ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ที่ช่วยในการ ถ่ายเรณูของพืชดอก โดยการไม่ทำลายชีวิตของสัตว์ที่ ช่ ว ย ใ น ก า ร ถ่ า ย เ ร ณู ม.1/14 อธิบายความสำคัญของธาตุอาหารบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช ม.1/15 เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหมาะสมกับพืชในสถานการณ์ที่กำหนด ม.1/16 เลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับ ความต้องการของมนุษย์โดยใช้ความรู้ เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ข อ ง พื ช ม.1/17 อธิบายความสำคัญของเทคโนโลยี การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการใช้ประโยชน์ ด้านต่าง ๆ ม.1/18 ตระหนักถึงประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช โดยการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน



บทที่ 1 การสั งเคราะห์ด้วยแสง พืชเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตที่ ตัวชี้วัด อาศัยอยู่บนโลกเพราะคนและสัตว์ใช้พืชเป็นอาหารเพื่อ ม.1/6 ระบุปัจจัยที่จำเป็นในการ ให้พลังงานแก่ร่างกาย และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ใน สังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่เกิด ชีวิตประจำวันพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเอง ขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสง โดย ได้ พืชที่เราพบเห็นอยู่ทั่ว ๆ ไปเป็นพืชที่มีสีเขียว ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถสร้างอาหารเพื่อการเจริญเติบโตเองได้การ ม.1/7 อธิบายความสำคัญของการ สร้างอาหารของพีชนี้เรียกว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง สังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชต่อสิ่งมี (chotosvitieas) ซึ่งเกิดขึ้นในคลอโรพลาสต์ ชีวิตและสิ่งแวดล้อม (chiloroplas) ที่บริเวณใบของพืชเป็นส่วนใหญ่ ม.1/8 ตระหนักในคุณค่าของพืชที่มี ต่อสิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อม โดย การร่วมกันปลูกและดูแลรักษา ต้นไม้ในโรงเรียนและชุมชน

4 I การสังเคราะห์ด้วยแสง 1 คำถามชวนคิด พืชใช้กระบวนการใดในการสร้างอาหาร 1 การสังเคราะห์ด้วยแสง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตเนื่องจากเป็นกระ บวนการที่ใช้ในการผลิตอาหารของพืช ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแหล่งอาหารและพลังงานที่สำคัญ ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ นอกจากนี้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชยังเป็นกระบวนการหลัก ในการสร้างแก๊สออกซิเจนให้กับรรยากาศซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิต

5 I การสังเคราะห์ด้วยแสง 1.1 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชคือกระบวนการที่อาศัยการประกอบ ธุรกิจที่อยู่ในคลอโรพลาสต์ช่วยดูดกลืนพลังงานจากดวงอาทิตย์มาเปลี่ยนให้เป็น พลังงานเคมีในรูปของสารอินทรีย์และเก็บสะสมไว้ในโครงสร้างต่าง ๆ ของพืชโดย มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยาและแก๊สออกซิเจนเป็น ผลิตภัณฑ์โดยการออกซิเจนจะถ่ายเทออกสู่อากาศภายนอกผ่านทางปากใบของพืช สวนพืชน้ำจะออกสู่น้ำทำให้น้ำไม่เน่าเสียและทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ภาพที่ 1.1 กระบวนการสัังเคราะห์ด้วยแสง

6 I การสังเคราะห์ด้วยแสง ใบเป็นส่วนประกอบของพืชที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสง ซึ่งโครงสร้างของใบพืชมีองค์ประกอบ ดังนี้ ภาพที่ 1.2 โครงสร้างของใบไม้

7 I การสังเคราะห์ด้วยแสง 1.2 ปัจจัยที่สำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ปัจจัยที่สำคัญที่สำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช มีดังนี้ 1. แสง เมื่อความเข้มของแสงเพิ่มขึ้นเพื่อสังเคราะห์ด้วยแสงได้มากขึ้น แต่ถ้าพืชได้รับความเข้มของแสงมากเกินไปจะส่งผลอย่างไรก็ตาม แต่ละชนิดเจริญได้ในที่ที่มีความเข้มของแสงแตกต่างกันเช่นพืชในร่ม จะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีความเข้มของแสงน้อย พืชกลางแจ้ง จะเจริญได้ดีในบริเวณที่มีความเข้มแข็งมาก ใช่ หรือ ไม่ > ภาพที่ 1.3 แสงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตอาหารของพืช พืชจึงเอนเข้าหาแสง 2. คลอโรฟิลล์ เป็นรงควัตถุสีเขียวทั้งที่ติดยาเสพติดโดยที่มาใช้ใน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

8 I การสังเคราะห์ด้วยแสง 3. น้ำ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปิดเปิดปากใบของพืชซึ่งควบคุม อัตราการคายน้ำและปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ใบ 4. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อความเข้มข้นของแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมากขึ้นเพื่อจะมีอัตราการสังเคราะห์ ด้วยแสงเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งแล้วจะไม่เพิ่มขึ้นอีกเนื่องจากสารเคมีที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อยู่ในพืชมีจำกัด ภาพที่ 1.4 การปิดปากใบของพืช ภาพที่ 1.5 การเปิดปากใบของพืช กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เกร็ดความรู้ ผลของอุณหภูมิต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช อุณหภูมิเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากเอนไซม์ หรือสารเคมีเป็นสารทีเกี่ยวข้องกับ กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น สารที่ทำหน้าที่ตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะทำงานได้ดีในอุณหภูมิที่เหมาะสม หาก อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะชะงักลง

1. บีกเกอร์ 7. คีมคีบ ทักษะกระบวนการทาง 2. ต้นผักบุ้ง 8. หลอดหยด วิทยาศาสตร์ - การสังเกต 3. กระจกนาฬิกา 9. หลอดทดลอง จิตวิทยาศาสตร์ 4.ถุงพลาสติกสีขาวขุ่น 10. ตะเกียงแอลกอฮอล์ - ความสนใจใฝ่รู้ 5. ถุงพลาสติกใส 11. สารละลายไอโอดีน - ความรับผิดชอบ 6. ถุงพลาสติกสีด า 12. สารละลายแอลกอฮอล์ - ความรอบคอบ - การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง สร้างสรรค์ 1. นำต้นผักบุ้งไปไว้ในห้องมืดเป็นเวลา 1 คืน แล้วนาถุงพลาสติกใส ถุงพลาสติกสีขาวขุ่น และถุงพลาสติก สีดำชนิดละ 1 ถุงคุมที่ใบของต้นผักบุ้งอย่างน้อย 1 ใบ ผูกปากถุงให้สนิท จากนั้นนาต้นผักบุ้งไปวางไว้ที่กลาง แจ้งเป็นเวลา 3 ชั่วโมง 2. เด็ดใบผักบุ้งที่อยู่ในถุงแต่ละใบมาเขียนหมายเลข 1 2 และ 3 กำกับไว้บนใบผักบุ้งที่คลุมด้วย ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกใส สีขาวขุ่น และถุงพลาสติกสีดาตามลาดับ จากนั้นนำแต่ละใบมาสกัดสารคลอโรฟิลล์ิ โดยนำไปต้ม เป็นเวลา 1 นาที 3. คีบไปผักบุ้งต้มสุกไปลงในหลอดทดลอง ใบละ 1 หลอด จากนั้นเติมแอลกอฮอล์ลงไปในหลอดทดลอง ให้ท่วม แล้วนำหลอดทดลองไปแช่น้าร้อนประมาณ 2 นาที จนกระทั่งใบซีด สังเกตสีของแอลกอฮอล์ใน หลอดทดลอง แล้วคีบใบผักบุ้ง มาจุ่มลงในน้ำเย็น 4. แผ่ใบผักบุ้งบนกระจกนาฬิกา แล้วหยดสารละลายไอโอดีนบนใบผักบุ้ง สังเกตและบันทึกผล 1. เพราะเหตุใดจึงต้องเก็บต้นผักบุ้งไว้ในห้องมืดเป็นเวลา 1 คืน 2. เพราะเหตุใดจึงต้องสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบผักบุ้ง ก่อนนาไปทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน 3. เมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนกับใบผักบุ้งทั้ง 3 ใบ ให้ผลต่างกันหรือไม่ อย่างไร จากกิจกรรมพบว่าเมื่อหยดสารละลายไอโอดีน ลงบนใบผักบุ้งที่คลุมด้วยพลาสติกใส และถุงพลาสติกสีขาวขุ่น ซึ่งได้รับแสง ปริมาณน้อยกว่า สารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนเป็น สีน้าเงินเข้ม แสดงว่ามีแป้งเกิดขึ้น แต่เมื่อหยดสารละลาย ไอโอดีนลงบนใบ ผักบุ้ง ที่คลุมด้วยถุงพลาสติกสีด า ซึ่งไม่ได้รับแสง สารละลายไอโอดีนไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง แสดงว่า ไม่มีแป้งเกิดขึ้นกับใบที่ ไม่ได้รับแสง ดังนั้น แสงจึงเป็นปัจจัยสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

1. น้ำ 4. หลอดทดลอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - การสังเกต 2. อ่างแก้ว 5. ต้นสาหร่ายหางกระรอก จิตวิทยาศาสตร์ 3. กรวยแก้วก้านสั้น - ความสนใจใฝ่รู้ - ความรับผิดชอบ - ความรอบคอบ - การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 1. ใส่ต้นสาหร่ายหางกระรอกไว้ในกรวยแก้วก้านสั้นแล้วคว่ำลงในอ่างแก้วซึ่งมีน้ำอยู่โดยให้ปากของกรวย แก้วจมอยู่ในน้ำ 2. ใส่น้ำจนเต็มหลอดทดลองที่มีขนาดใหญ่กว่าก้านกรวยแก้วเล็กน้อย คว่ำหลอดทดลองครอบก้านกรวย แก้ว ดังรูป(ระวังอย่าให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในหลอดทดลอง) 3. น้ำอ่างนี้ไปตั้งไว้กลางแดดประมาณ 3-4 ชั่วโมง สังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน หลอดทดลอง 4. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1-2 แต่น้ำชุดการทดลองนี้ไปไว้ในห้องมืด เปรียบเทียบผลการทดลอง และบันทึก ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลอดทดลอง 1. ผลการทดลองทังสองเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร 2. สาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำในหลอดทดลองลดลงคืออะไร เพราะเหตุใด 3. แก๊สที่ได้จากการทดลองคืออะไร มีวิธีทดสอบอย่างไร จากกิจกรรม พบว่า อ่างน้ำที่ตังไว้กลางแดดจะมีระดับน้ำในหลอดลดลง และมีฟองอากาศเกิดขึ้นที่ปลายโคนของกรวยแก้วและ ที่ใบของต้นสาหร่ายหางกระรอก หากน้ำแก๊สที่ได้มาทดสอบกับธูปที่ติดไฟจะทำให้เกิดเปลวไฟลุกขึ้นซึ่งเป็น คุณสมบัติของแก๊ส ออกซิเจนที่ช่วยให้ไฟติด ส่วนอ่างน้ำที่ตั้งไว้ในห้องมืด จะมีระดับน้ำในหลอดทดลองเท่าเดิม เพราะไม่มีแก๊สออกซิเจนเกิดขึ้น ดังนั้น ในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะได้แก๊สออกซิเจนเป็นผลิตภัณฑ์

11 I การสังเคราะห์ด้วยแสง ความสำคัญของการสั งเคราะห์ด้วยแสง ต่อสิ่ งมีชีวิตและสิ่ งแวดล้อม พืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น แมลง สัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง กัน เช่น ดิน ภูเขา แม่น้ำ อากาศ และ แร่ธาตุต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการ ที่พืช มีการเจริญเติบโตและขยายอาณาเขตออกไป ทำให้เกิดพันธุ์ไม้นานาชนิดเจริญเติบโตอยู่ร่วมกันอย่าง เหมาะสม และเกิดความสมดุลตามธรรมชาติขึ้น จนเป็นป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธาร สิ่งต่างๆเหล่านี้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ เนื่องจากทำให้เกิดธาตุอาหารในดินและการหมุนเวียนของแก๊ส ภาพที่ 1.6 ต้นไม้ ภาพที่ 1.7 ป่าไม้

12 I การสังเคราะห์ด้วยแสง ขณะที่พืชสร้างอาหารด้วยวิธี สังเคราะห์ด้วยแสงอาหารที่ได้จะถูก สะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช เมื่อสัตว์ กินพืชก็จะได้อาหารสะสมเป็นพลังงาน ในขณะเดียวกันเมื่อสัตว์และพืชตายลง จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายกลายเป็นธาตุ อาหารหมุนเวียนสู่ดินให้รากพืชดูดใช้ใน การสังเคราะห์ด้วยแสงเช่นนี้เรื่อยไป ภาพที่ 1.8 การหมุนเวียนของธาตุอาหารในดิน นอกจากนี้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ภาพที่ 1.9 การหมุนเวียนของแก๊สในธรรมชาติ ยังทำให้เกิดการหมุนเวียนของแก๊สในธรรมชาติ โดยขณะที่พืชสังเคราะห์ด้วยแสงจะใช้แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเป็นวัตถุดิบ แล้วได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สออกซิเจนที่ใช้ใน กระบวนการหายใจซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และผลจากการหายใจของพืชและสัตว์จะได้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งพืชสามารถใช้ใน การสังเคราะห์ด้วยแสงได้อีก

13 I การสังเคราะห์ด้วยแสง เราจะเห็นได้ว่าป่าไม้ช่วยอำนวยประโยชน์อย่างมากแก่มนุษย์ประโยชน์ ที่มนุษย์ได้รับจากป่าไม้นั้นสามารถแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.ประโยชน์ทางตรง เช่น นำไม้มาเป็นวัสดุในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ และของ ตกแต่งบ้าน นำส่วนต่าง ๆ ของพืชและผลผลิตจากป่าไม้มาทำเป็นยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม หรือเครื่องสำอาง นำส่วนต่าง ๆ ของพืชบางชนิดมาเป็นอาหาร เป็นวัตถุดิบในการสกัดสาร เคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใช้เป็นเชื้อเพลิง และทำเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่าง ประเทศ สร้างที่อยู่อาศัย ใช้สารจากพืช ทำของตกแต่งบ้าน เป็นเชื้อเพลิง ภาพที่ 1.10 ประโยชน์ทางตรงของป่าไม้

14 I การสังเคราะห์ด้วยแสง 2.ประโยชน์ทางอ้อม เช่น ป่าไม้ช่วยให้ช่วยฝนตกเพิ่มขึ้นหรือมีความชื้นในอากาศอย่างสม่ำเสมอ บรรเทา ความรุนแรงของลม ป้องกันการพังทลายของดิน ช่วยบรรเทาความรุนแรงของน้ำป่า และ ช่วยให้มีน้ำไหลอย่างสม่ำเสมอตลอดปี เพราะป่าไม้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำทางธรรมชาติที่จะ ค่อย ๆ ไหลออกจากลำห้วย ลำธาร และแม่น้ำ นอกจากนี้ป่าไม้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ป่า เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ช่วยให้มนุษย์สดชื่น ผ่อนคลาย ตลอดจนเป็นแหล่งให้การศึกษา ทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้จากการศึกษาวิจัยตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในป่าไม้ ต้นกำเนิดแม่น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แหล่งการเรียนรู้ ภาพที่ 1.11 ประโยชน์ทางอ้อมของป่าไม้

15 I การสังเคราะห์ด้วยแสง จากความสำคัญและประโยชน์ของป่าไม้ที่นักเรียนได้เรียนรู้ไปแล้วนั้น หากมนุษย์ยังมุ่งใช้ ประโยชน์จากป่าไม้ฝ่ายเดียว ไม่มีการปลูกเพิ่มหรืออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อาจทำให้เกิดการ เสียสมดุลทางธรรมชาติได้ เพราะถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับป่าไม้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อ สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับป่าไม้ เช่น ดิน น้ำ อากาศ และสัตว์ป่า ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้มีสภาพเสื่อมโทรมและมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก เนื่องมาจากสาเหตุ หลายประการ เช่น การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า การบุกรุกทำลายป่าเพื่อต้องการที่ดิน เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะปลูก การทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาในพื้นที่ต้นน้ำต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ ดินเพื่อดำเนินงานก่อสร้างเขื่อน การชลประทาน การก่อสร้างทางต่าง ๆ ทำให้พื้นที่ป่าไม้ทั่ว งานปเรสะร็เจทสศมไบทูรยณล์ดลงเป็นอย่างมาก ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างเห็นได้ชัดเจน การจัดการด้านทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนการอนุรักษ์ป่าไม้ควรเป็นความร่วมมือของ ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยกันรักษาให้ป่าไม้คงอยู่อย่างถาวร ปลูกฝังจิตสำนึก ตั้งสวนพฤกษศาสตร์ ปลูกป่าทดแทน ตั้งอุทยานแห่งชาติ ควบคุมไฟป่า ภาพที่ 1.12 วิธีการอนุรักษ์ป่าไม้

16 I การสังเคราะห์ด้วยแสง คำถามท้ายบทที่ 1 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง จงตอบคำถามให้ถูกต้อง พร้อมทั้งอธิบาย มาพอสังเขป 1. สารตั้งต้นของพืช คือสารชนิดใด 2. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คลอโรฟิลล์ ช่วยในการทำหน้าที่ใด 3. น้ำมีส่วนเกี่ยวข้องใดในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช 4. สารใดเป็นสารที่ทำหน้าที่ตรคงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 5 มนุษย์ได้รับประโยชน์จากป่าไม้ในด้านใดบ้าง ลีเบอร์ & โค. | เมืองแฟร์ฮิลล์ 081-234-5678 123 ถ.เลี่ยงเมือง ขอนแก่น [email protected]

บทที่ 2 การลำเลียงสารในพืช พืชมีไซเล็มและโฟลเอ็ม ซึ่งเป็น ตัวชี้วัด เนื้อเยื่อมีลักษณะคล้ายท่อเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ม.1/9 บรรยายลักษณะและ เฉพาะที่ โดยไซเล็มทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและธาตุ หน้าที่ของไซเล็มและ โฟลเอ็ม อาหาร มีทิศทางลำเลียงจากรากไปสู่ลำต้น ใบ ม.1/10 เขียนแผนภาพที่ และ ส่วนต่างๆของพืชเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ บรรยายทิศทาง การลำเลียง ด้วยแสง รวมถึงกระบวนการอื่น ๆส่วนโฟลเอ็ม สารในไซเล็มและโฟลเอ็ม ทำหน้าที่ ลำเลียงอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ ของพืช ด้วยแสง มีทิศทางลำเลียงจากบริเวณที่มีการ สังเคราะห์ด้วย แสงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช

18 I การลำเลียงสารในพืช 2 คำถามชวนคิด พืชจะนำน้ำและธาตุอาหารที่อยู่ในดินไปใช้อย่างไร 2 การลำเลียงสารในพืช การลำเลียงสารเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีวิธีการลำเลียงสารที่แตกต่างกัน พืชจำเป็นต้องมีระบบ ลำเลียงไว้ใช้ในการลำเลียงน้ำและลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยพืช จะอาศัยเนื้อเยื้อที่ทำหน้าที่เฉพาะในการลำเลียงสาร เรียกว่า เนื้อเยื่อลำเลียง

19 I การลำเลียงสารในพืช 2.1 การลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร ท่อไซเล็ม (xylem) มีหน้าที่ลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และกระบวนการอื่น ๆ ท่อไซเล็มมีลักษณะเป็นท่อกลวงยาวตั้งแต่รากจนถึงใบ ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ ไม่มีชีวิต บางเซลล์เมื่อเจริญเต็มที่ นิวเคลียสจะสลายไป ทำให้ภายในเซลล์กลวงซึ่งเหมาะแก่การลำเลียง น้ำและธาตุอาหารจากรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช นอกจากนี้ผนังเซลล์ยังมีช่องว่าง เรียกว่า พิธ (pith) ซึ่งทำให้เซลล์สามารถรับน้ำไปยังเซลล์ด้านข้างได้ โครงสร้างของท่อไซเลม น้ำและธาตุอาหาร ภาพที่ 2.1 น้ำจะแพร่เข้าสู่เซลล์ขนรากของพืชด้วยกระบวนการออสโมซิส ส่วนธาตุอาหารซึ่งอยู่ใน รูปของสารละลายจะแพร่เข้าสู่เซลล์ขนรากของพืชด้วยกระบวนการแพร่แบบแอกทีฟทรานสปอร์ต เกร็ดความรู้ ประเภทของการคายน้ำ พืชส่วนใหญ่จะอาศัยกระบวนการแพร่ของน้ำออกทางปากใบในรูปแบบของไอน้ำ หากในวันที่อากาศมีความชื้นมาก อุณหภูมิต่ำ และลมสงบ พืชจะคายน้ำในรูปแบบของหยดน้ำ เรียกว่า ไฮดาโทด บอกทางบริเวณรูเปิดเลขตามขอบใบ เรียก กระบวนการคายน้ำ กัตเตชัน นอกจากนี้พืชสามารถคายน้ำในรูปแบบของไอน้ำ ออกทางตำแหน่งอื่น ๆ ได้ เช่น บริเวณรอยแตก ของลำต้น และบริเวณผิวใบที่มีสารคิวตินเคลือบอยู่ เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปแบบการคายน้ำที่เกิดขึ้นกับพื้นค่อนข้างน้อย

20 I การลำเลียงสารในพืช การคายน้ำของพืชทำให้เกิดแรงดึงจากการคายน้ำ ส่งผลให้น้ำออสโมซิสเข้าสู่ราก มากขึ้น ซึ่งอัตราการคายน้ำของพืชจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความชื้น ถ้าความชื้นสูง อัตราการคายน้ำของพืชจะต่ำ 2. ความเข้มของแสง ถ้าความเข้มของแสงมากปากใบจะเปิดกว้าง อัตราการคายน้ำของพืชจะสูง 3. อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูง อัตราการคายน้ำของพืชจะสูง 4. กระแสลม ส่งผลให้ไอ้น้ำบริเวณโดยรอบปากใบมีปริมาณลดลง หรือ บริเวณนั้นมีความชื้นต่ำลง ซึ่งทำให้พืชมี อัตราการคายน้ำสูงขึ้น

ทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ 1. ต้นกระสัง 6. มดี โกน - การสังเกต 2. หลอดหยด 7. แว่นขยาย 3. สผี สมอาหาร 8. แผน่ สไลด์ จติ วิทยาศาสตร์ 4. แท่งแก้วคนสาร 9. กระจกปดิ สไลด์ 5. บีกเกอร์ขนาด 250 ml 10. กล้องจลุ ทรรศ์ - ความสนใจใฝ่รู้ - ความรบั ผดิ ชอบ - ความรอบคอบ - การทา้ งานร่วมกบั ผอู้ ่นื ไดอ้ ยา่ งสรา้ งสรรค์ 1. ใสน่ ้าลงในบีกเกอรข์ นาด 250 ml ประมาณ 3 ส่วน 4 ของบีกเกอร์ มะยมสผี สมอาหารสีแดงลงไป 20 หยด แล้วคนสารใหเ้ ข้ากัน 2. น้าตน้ จะสัง่ ที่มรี ากติดอยู่ มาสังเกตและบันทึกลกั ษณะของราก ลา้ ต้น และใบ 3. แชร์ตน้ กระสังจากข้อ 2 ลงในบกี เกอร์ข้อ 1 จนกระท่ังเหตสุ ขี นึ ไปยังบรเิ วณต่างๆของต้น 4. น้าตน้ กระสังขนึ จากน้าสี สังเกตและบนั ทกึ การเปลี่ยนแปลงของต้นกระสัง จากนนั ใช้มดี โกนแบ่งลา้ ตน้ ออกเปน็ 2 ท่อน แลว้ ปฏบิ ัตดิ งั นี ทอ่ นท่ี 1 ใช้มดี โกนตดั ตามแนวยาว แลว้ ใช้แวน่ ขยายสอ่ งดบู รเิ วณท่ตี ดิ สี สงั เกตและบันทึกผล ท่อนที่ 2 ใช้มดี โกนตดั ตามแนวขวางใหม้ คี วามบางทีส่ ุด แล้วนา้ ไปวางบนหยดนา้ บนสไลด์ ปดิ ด้วยกระจกปิดสไลด์ น้าไป สง่ เรณูดว้ ยกล้องจุลทรรศนก์ ้าลังขยายต้่า สังเกตส่วนท่ตี ดิ สี วาดภาพ และบนั ทึกผล 1. นา้ สมี ลี า้ ดบั การเคลอ่ื นทจี่ ากบรเิ วณใดไปยงั บริเวณใดของตน้ กระสัง 2. สว่ นของลา้ ตน้ ท่ีติดสีคืออะไร มหี นา้ ที่อย่างไร 3. ส่วนของลา้ ต้นทต่ี ดั ตามแนวยาว และตัดตามแนวขวางมีการตดิ สอี ยา่ งไร จากกจิ กรรม พบวา่ น้าสีจะเคลอื่ นทีจ่ ากสว่ นของรากและล้าต้น กง่ิ ก้าน และยอดของตน้ กระสังตามล้าดับ เมื่อ นา้ ส่วนล้าต้นมาตดั ตามแนวยาวแลว้ สอ่ งดูดว้ ยแวน่ ขยาย พบว่า บริเวณที่ตดิ สจี ะมีลกั ษณะเป็นเสน้ เล็กๆต่อเน่ืองกัน แต่ เมอ่ื นา้ สวนน้าตน้ มาตดั ตามแนวขวางใหบ้ างท่ีสดุ แลว้ ส่งดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า จะเห็นสีเปน็ จุดตดิ เนือเยอ่ื เฉพาะ บางส่วนของลา้ ตน้ แสดงให้เห็นวา่ พืชมีการล้าเลยี งนา้ ผา่ นเซลลข์ นรากขนึ ไปยงั ส่วนตา่ งๆของพืชโดยมเี นือเย่ือลา้ เลียงที่ทา้ หน้าทีเ่ ฉพาะ

ทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ 1. แผ่นสไลด์ - การสังเกต 2. ใบวา่ นกาบ 3. กระจกปิดสไลด์ จิตวทิ ยาศาสตร์ 4.กลอ้ งจลุ ทรรศน์ - ความสนใจใฝ่รู้ - ความรับผดิ ชอบ - ความรอบคอบ - การทางานรว่ มกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ 1. สังเกตแลว้ บันทกึ ลกั ษณะผิวใบดา้ นบนและผิวใบด้านลา่ งของใบว่านกาบหอย 2. นาใบใน ขอ้ 1 มาฉกี แฉลบ ใหเ้ นอื้ เย่ือผิวใบดา้ นลา่ งลอกออกเป็นแผ่นบางติดอยู่กบั รอยฉกี ตดั เนอ้ื เย่ือผวิ ด้านลา่ ง เป็นชิ้นเล็กๆนาไปวางบนแผ่นสไลด์ หยดน้าลงบนแผ่นสไลด์แลว้ ปดิ ดว้ ยกระจกปดิ สไลด์ 3. นาไปสอ่ งดดู ้วยกล้องจุลทรรศนก์ าลงั ขยายตา่ และกาลังขยายสงู ตามลาดับแล้ววาดภาพเซลลท์ เ่ี หน็ 4.ควรดูเนอ้ื เยือ่ ผิวใบดา้ นบนเขาโดยปฏบิ ัตติ ามข้อ 1-3 1. ลักษณะของผวิ ใบด้านบนและอธิบายด้านลา่ งแตกตา่ งกันหรือไม่ อย่างไร 2. ลักษณะของผิวใบดา้ นบนและผวิ ใบด้านล่าง แม่ศึกษาดว้ ยกล้องจุลทรรศน์แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร 3. จากการสอ่ งดูในเย่อื ผิวใบ พบเซลล์ทมี่ ีลักษณะแตกตา่ งกันของเซลลห์ รอื ไม่ อย่างไร และเซลล์นีพ้ บ มากทบี่ รเิ วณใดระหว่างผวิ ใบดา้ นบนกบั ผิวใบด้านลา่ ง จากกิจกรรม พบว่า ลักษณะผวิ ใบดา้ นบนมีสีเขียว เปน็ มนั สว่ นผิวใบด้านลา่ งมสี มี ว่ ง แสดงใหเ้ หน็ ว่า บรเิ วณท่ี เกิดการสงั เคราะหด์ ว้ ยแสงของใบวา่ นกาบหอย คือ ส่วนผิวใบดา้ นบนทีม่ ีสีเขยี ว และมไี ขเคลือบอยู่ เพ่ือป้องกนั การ ระเหยของนา้ ทาให้มองเห็นใบมีลกั ษณะเปน็ มนั แม่น้าพริกใบทง้ั สองไดม้ าศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบวา่ ผวิ ใบท้ังสอง ด้านมีเซลลเ์ รยี งตัวกนั เป็นแผ่น มีลักษณะเซลล์คล้ายกนั แต่บางเซลล์ที่มลี กั ษณะคลา้ ยเมลด็ ถั่วประกบกันเปน็ คู่ เรยี กว่า เซลล์คุม และมีช่องว่างอยู่ตรงกลางเซลลค์ ุม เรยี กเซลลค์ มุ กับช่องวา่ งระหว่างเซลล์คุมวา่ ปากใบ ซึ่งพบว่าบริเวณผิวใบ ด้านลา่ ง

2.2 การลำเลียงอาหาร 23 I การลำเลียงสารในพืช พืชลำเลียงอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วย ภาพที่ 2.2 โครงสร้างของท่อโฟลเอ็ม แสงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยใช้เนื้อเยื่อลำเลียง เรียกว่า โฟลเอ็ม ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิดคือ เซลล์ตะแกรง และคอมพาเนียนเซลล์ ซึ่งเป็นกลุ่ม ของเซลล์ที่มีชีวิต โดยเซลล์ตะแกรงเป็นเซลล์ที่มี ลักษณะเป็นแท่งยาว แต่ไม่มีนิวเคลียส หัวและท้าย เป็นรูพรุน ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารส่วน คอมพาเนียนเซลล์เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส และอยู่ ใกล้เซลล์ตะแกรง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ เซลล์ตะแกรง ภาพที่ 2.3 กระบวนการลำเลียงอาหารของพืช พืชจะลำเลียงอาหารในรูปของ น้ำตาลซูโครส โดยน้ำตาลซูโครสที่ผลิตขึ้น มาจากใบจะแพร่เข้าสู่โฟลเอ็ม ด้วยกระ บวนการแพร่แบบใช้พลังงาน โดยน้ำจาก ท่อไซเล็มจะออสโมซิสเข้าสู่ท่อโฟลเอ็ม ทำให้เกิดแรงดันภายในท่อโฟลเอ็ม ส่งผล ให้พืชลำเลียงน้ำตาลซูโครสเรียกเซลล์เป้า หมายได้ เรียกกระบวนการนี้ว่า ทรานส์โลเคชั่น

24 I การลำเลียงสารในพืช เมื่อพืชสังเคราะห์ด้วยแสงจะได้น้ำตาลกลูโคสและสารชนิดอื่น ๆ กระบวนการ เปลี่ยนแปลงน้ำตาลกลูโคส มี 2 ลักษณะดังนี้ 1. เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เมื่อพืชเกิดการหายใจระดับเซลล์ น้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นอาหารของพืชส่วนหนึ่งจะรวมกับแก๊สออกซิเจนที่พืชหายใจเข้าไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้สารใหม่ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงาน 2. อาหารที่ลำเลียงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช จะถูกนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ใหม่ ทำให้ เกิดการเจริญเติบโตของพืช สรุปได้ว่า อาหารที่พืชลำเลียงทางโฟลเอ็มจะนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้ 1. เปลี่ยนเป็น พลังงาน เพื่อนำไป 2. นำไปสร้างส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการดำรง กำลังเจริญเติบโต เช่น บริเวณปลาย ชีวิตและการเจริญเติบโต ยอด ปลายราก ปลายกิ่งดอกและผล 3. นำไปสะสมในรูปของแป้ง เช่น รากของ มันเทศ มันสําปะหลัง กระชาย และลำต้นของ แห้ว เผือก และมันฝรั่ง

25 I การลำเลียงสารในพืช จะเห็นว่า ระบบการลำเลียงในพืช มีกลไกการทำงานที่สัมพันธ์กัน เมื่อรากพืชดูดซับน้ำ และธาตุอาหารจากดินแล้ว พืชจะลำเลียงต่อไปยังลำต้นโดยใช้ ไซเล็มในการลำเลียงน้ำและ ธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง น้ำที่พืชดูดซับมาถ้าใช้ไม่หมดพืชจะ คายออกทางปากใบเพื่อเป็นการลดอุณหภูมิภายในใบและทำให้เกิดแรงดึงน้ำในไซเลมอาหาร ที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงที่บริเวณใบจะถูกลำเลียงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อใช้ใน กิจกรรมการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืชต่อไป ส่วนที่เหลือจะเก็บสะสมไว้ในรูปแบบ ของแป้งและน้ำตาล ต า ร า ง ที่ 2 . 1 ค ว า ม แ ต ก ต่ า ง ร ะ ห ว่ า ง ไ ซ เ ล็ ม แ ล ะ โ ฟ ล เ อ็ ม เกร็ดความรู้ พืชบางชนิดไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง เช่น มอส พืชเหล่านี้มีขนาดเล็ก ไม่มีราก ลำต้นและใบ เนื่องจากไม่มีเนื้อเยื่อ ลำเลียงอยู่ภายใน แต่มีโครงสร้างอย่างอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่คล้ายราก ลำต้นและใบ มักพบในบริเวณที่มีความชื้นสูง

26 I การลำเลียงสารในพืช เกร็ดความรู้ อาหารสะสมของพืช อาหารที่พืชสร้างขึ้นจะสะสมไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน โปรตีน เป็นต้น จะถูกนำมาใช้เป็นอาหารของมนุษย์ สัตว์ เพื่อจะลำเลียงอาหารไปเก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช ดังนี้ เกร็ดความรู้ ส่วนของผลที่สะสมอาหาร ได้แก่ 1. ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กล้วย 2. ส่วนของเมล็ดที่สะสมอาหาร เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น เงาะ เป็นต้น 1 3. ส่วนของรากที่สะสมอาหาร 4. ส่วนของลำต้นที่สะสมอาหาร เช่น ผักกาดหัว มันเทศ เป็นต้น เช่น อ้อย เป็นต้น 5. ส่วนของลำต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร เช่น เผือก มันฝรั่ง เป็นต้น ภาพที่ 2.4 ส่วนต่าง ๆ ของพืช

เกร็ดความรู้ 27 I การลำเลียงสารในพืช โครงสร้างของระบบลำเลียงในพืช ท่อไซเล็มและท่อโฟลเอ็มอยู่รวมกัน ลำต้น และเรียงตัวไม่เป็น ซึ่งเป็นระเบียบ ซึ่งอยู่กระจัดกระจายทั่วลำต้น เกร็ดความรู้ ราก ท่อไซเล็มเรียงตัวรอบพิธ ส่วนท่อโฟลเอ็ม จะแทรกตัวระหว่างท่อไซเล็ม ภาพที่ 2.5 ระบบลำเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

28 I การลำเลียงสารในพืช ท่อไซเล็มและท่อโฟลเอ็มอยู่ด้วยกัน และเรียง ตัวอย่างเป็นระเบียบ มีท่อโฟลเอ็มอยู่ด้านนอก เกร็ดความรู้ ส่วนท่อไซเล็ม อยู่ด้านใน และมีเนื้อเยื่อแคมเบียม โครงสร้างของระบบลำเลียงในพืช ลำต้น เกร็ดความรู้ ราก ภาพ ระบบลำเลียงในพืชใบเลี้ยงคู่ ท่อไซเล็มเรียงตัวเป็น 3-5 แฉก ออกมาจาก กึ่งกลางราก ส่วนท่อโฟลเอ็มจะแทรกตัวอยู่ ระหว่างแฉกของท่อไซเล็ม ภาพที่ 2.6 ระบบลำเลียงในพืชใบเลี้ยงคู่

29 I การลำเลียงสารในพืช คำถามท้ายบทที่ 2 เรื่อง การลำเลียงสารในพืช จงตอบคำถามให้ถูกต้อง พร้อมทั้งอธิบาย มาพอสังเขป 1. เนื้อเยื่อชนิดใดที่ทำหน้าที่เฉพาะในการลำเลียงสาร 2. ในการคายน้ำของพืชขึันอยู่กับปัจจัยใดบ้าง 3. โฟลเอ็ม ประกอบด้วยเซลล์กี่ชนิด อะไรบ้าง 4. พืชจะนำอาหารที่ลำเลียงทางโฟลเอ็มไปใช้ประโยชน์ใดบ้าง 5. พืชชนิดใดบ้างที่ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ลีเบอร์ & โค. | เมืองแฟร์ฮิลล์ 081-234-5678 123 ถ.เลี่ยงเมือง ขอนแก่น [email protected]

บทที่ 3 การเจริญเติบโตของพืช พืชต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นหลายชนิดใน ตั ว ชี้ วั ด การเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต ม.1/14 อธิบายความสำคัญ ข อ ง ธ า ตุ อ า ห า ร บ า ง ช นิ ด ที่ มี ผ ล พืชต้องการธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณ ต่ อ ก า ร เ จ ริ ญ เ ติ บ โ ต แ ล ะ ก า ร มากได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ดำ ร ง ชี วิ ต ข อ ง พื ช แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ซึ่งในดินอาจมี ม.1/15 เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุ ไม่เพียงพอ สำหรับการเจริญเติบโตของพืช จึงต้องมี อ า ห า ร เ ห ม า ะ ส ม กั บ พื ช ใ น การให้ธาตุอาหารในรูปของปุ๋ยกับพืชอย่างเหมาะสม ส ถ า น ก า ร ณ์ ที่ กำ ห น ด

31 I การเจริญเติบโตของพืช 3 คำถามชวนคิด สิ่งใดบ้างที่บ่งบอกว่าพืชมีการเจริญเติบโต 3 การเจริญเติบโตของพืช สิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนต้องมีการเจริญเติบโตพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถผลิตอาหาร ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้แก่พืช นอกจากนี้เพื่อต้องการ ธาตุอาหารที่จำเป็นหลายชนิดสำหรับการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต

32 I การเจริญเติบโตของพืช การเจริญเติบโตของพืช หมายถึง การที่พืชมีการเพิ่มจำนวนและขยาย ขนาดของเซลล์ จากนั้นเซลล์จะเปลี่ยนแปลงลักษณะใดเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ ซึ่งการเจริญเติบโตของพืชมี 3 กระบวนการ ดังนี้ 1. การแบ่งเซลล์ ทำให้มีจำนวนเซลล์ เพิ่มมากขึ้น โดยเซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จะมี ลักษณะไม่ต่างจากเซลล์เดิม แต่มีขนาด เล็กกว่า 2. การเพิ่มขนาดของเซลล์ ทำให้เซลล์มี ขนาดใหญ่ขึ้น 3. การเปลี่ยนรูปร่างของเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่เฉพาะต่าง ๆ เช่น เนื้อเยื่อลำเลียง เป็นต้น

33 I การเจริญเติบโตของพืช ตัวอย่างการเจริญเติบโตของต้นถั่ว ภาพที่ 3.1 การเจริญเติบโตของต้นถั่ว การเจริญเติบโตของต้นถั่วเริ่มจากไซโกต ที่อยู่ภายในเมล็ดมีการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ ไปเป็นเอ็มบริโอ และขยายขนาดใหญ่ขึ้น จนกระทั่งเอ็มบริโองอกจากเมล็ดแล้วเจริญเป็นต้นอ่อน จากนั้นเซลล์ที่อยู่ภายในต้นอ่อนจะแบ่งเซลล์ และพัฒนาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปร่างของเซลล์ ให้เหมาะสมกับหน้าที่ในแต่ละโครงสร้างนั้น ๆ เช่น ใบที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นต้น เกร็ดความรู้ การเจริญเติบโตของพืชมี 2 ขั้นตอนดังนี้ 1. การเจริญเติบโตขั้นแรก ทำให้พืชเจริญยืดยาวออกด้านบนและด้านล่าง ซึ่งพบได้ในส่วนของราก ทั้ง พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด ส่วนลำต้นจะพบเฉพาะในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น 2. เจริญเติบโตขั้นที่สอง ทำให้พืชเจริญออกทางด้านข้าง พบได้ในส่วนของรากและลำต้น ทั้งพืชใบ เลี้ยงคู่ เช่น ถั่ว มะม่วง เป็นต้น และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น ไผ่ ปาล์ม เป็นต้น

34 I การเจริญเติบโตของพืช ภาพที่ 3.2 น้ำสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช น้ำเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากน้ำจะละลายธาตุอาหารต่างๆที่อยู่ ในดิน ทำให้รากพืชดูดซึมธาตุอาหารในรูปของสารละลายและนำไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้น้ำมีส่วนช่วย ควบคุมอุณหภูมิภายในต้นพืช และช่วยรักษาสมดุลของต้นพืชทำให้พืชไม่เหี่ยวเฉา ภาพที่ 3.3 ปุ๋ยมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้พืชยังต้องพูดการธาตุอาหารหลายชนิดซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต แต่เนื่องจากในดินมี ปริมาณธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือสารที่มีธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของพืช โดยปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

35 I การเจริญเติบโตของพืช 1. ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการเน่าเปื่อยของซากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตาราง ข้อดี - ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ 2. ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากการสังเคราะห์แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แอมโมเนีย เป็นต้น แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ปุ๋ยเดี่ยวหรือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักของ พืช และปุ๋ยผสมที่ได้จากการทำปุ๋ยหลายๆชนิดมารวมกัน ตารางข้อดี - ข้อเสียของปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์

36 I การเจริญเติบโตของพืช ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ธาตุอาหารหลัก หรือธาตุปุ๋ย - เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ปริมาณมาก ธาตุไนโตรเจน ( N ) ช่วยสร้างความเจริญของผล และช่วยให้ใบของพืชมีสีเขียว หากพืชขาดธาตุไนโตรเจน ลำต้นและราก จะแคระแกร็น ใบมีขนาดเล็ก โดยมีสีเหลืองซีด เริ่มจากใบล่างก่อน ถ้าขาดมาก ๆ จะเหลืองซีดไป ทั้งต้นและอาจทำให้ตายได้ ธาตุฟอสฟอรัส( P ) ช่วยสร้างความเจริญของดอก และเมล็ด ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำให้รากเจริญเติบโต ได้เร็ว และทำให้ลำต้นแข็งแรง พืชขาดธาตุฟอสฟอรัส ลำต้นจะแคระแกร็น ใบเล็ก เหลือง ลำต้น เล็กลง ใบล่างเริ่มมีสีม่วงตามแผ่นใบ ทำให้ดอก ผลและรากไม่เจริญ เป็นต้น ธาตุโพแทสเซียม ( K ) ช่วยเ สริมสร้างเปลือกและลำต้นให้แข็งแรง ช่วยในการสร้างแป้งและน้ำตาล ช่วยให้ พืชมีความต้านทาน โรคได้ดียิ่งขึ้น หากพืชขาดธาตุโพแทสเซียม ส่วนปลายใบแก่ของพืชจะไหม้ และส่วนใบจะโค้งลงหรือม้วนจากปลายใบ นอกจากนี้ใบอ่อนจะมีจุดประสีแดงหรือเหลือง ระหว่างเส้นใบ คุณภาพของดอกและผลลดลง

37 I การเจริญเติบโตของพืช 2.ธาตุอาหารรอง - เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณที่น้อยกว่า ธาตุแคลเซียม ( CA ) ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด หากพืชขาดธาตุโพแทสเซียม จะทำให้ใบอ่อน บิดเบี้ยว ขอบใบม้วนลง ไม่เรียบ ขาดและแห้ง ยอดอ่อนตาย ธาตุแมกนีเซียม ( MG ) เป็นองค์ประกอบสำคัญของสารคลอโรฟิลล์ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหาร และโปรตีนของพืช หากพืชขาดธาตุแมกนีเซียม ระหว่างเส้น ใบแก่จะมีสีเหลือง แต่เส้นใบยังคงมีสีเขียวปกติ ใบร่วงเร็ว การเจริญเติบโตของพืชจะช้าลง ปริมาณและคุณภาพของดอกและผลต่ำลง ธาตุกำมะถัน ( S ) เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามิน หากพืชขาดธาตุกำมะถัน ใบจะเล็กลง มีสีเหลืองซีดเริ่มจากใบยอดก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการเหมือนกับ ใบยอด นอกจากนี้พืชยังต้องการธาตุอาหารเสริม แต่ต้องการในปริมาณน้อย เช่น เหล็ก ( Fe ) แมงกานีส ( Mn ) โบรอน ( B ) โมลิบดีนัม ( Mo ) ทองแดง ( Cu ) สังกะสี (Zn ) คลอรีน (CI )

38 I การเจริญเติบโตของพืช อาการขาดธาตุอาหารพืช

39 I การเจริญเติบโตของพืช อาการขาดธาตุอาหารพืช

ทกั ษะกระบวนการทาง ว-ทิ ทยักษาะศกาาสรรตะบรุ์ - ทกั ษะการใหเ้ หตุผล 1. ใหน้ กั เรียนแบ่งกลุ่มออกเปน็ 3 กลมุ่ แตล่ ะกลมุ่ ออกมาจบั ฉลาก - ทักษะการรวบรวมขอ้ มลู เลอื กสถานการณ์ ตอ่ ไป - ทกั ษะการนาความรูไ้ ปใช้ - เดก็ ชาย A ปลกู ตน้ ไมม้ าไดร้ ะยะหนง่ึ พบว่า ตน้ ไม้มลี าต้นแคระแกน ไมอ่ อกดอกและผล ใบมขี นาดเลก็ และใบบริเวณวนล่างของตน้ ไม้ จติ ว-ทิ คยวาามศสนาใสจตใฝร่รู้์ เรมิ่ มสี ีม่วง ซ่ึงเด็กชาย A มงี บประมาณในการปลกู มาก - ความรบั ผดิ ชอบ และต้องการให้ตน้ ไม้ได้รบั สารอาหารในทนั ที นกั เรียนคดิ ว่าต้นไม้ - การทางานรว่ มกับผู้อนื่ ได้อยา่ งสรา้ งสรรค์ ของเด็กชาย A ขาดสารอาหารประเภทใด และเด็กชาย A ควรเลือกใชป้ ๋ยุ ประเภทใด - เดก็ ชาย B ปลูกต้นไม้มาได้ระยะหนึ่ง พบว่า ดินบริเวณนั้นมีลักษณะแข็งเปน็ ก้อน และต้นไม้ เดก็ ชาย B มลี ักษณะผิดปกติ ใบอ่อนทเี่ กิดใหมม่ ีลกั ษณะบิดเบ้ยี ว ส่วนขอบใบแก่มว้ น ไม่เรยี บ นอกจากนี้บางใบ สีเหลอื งซีดรว่ มดว้ ย นักเรียนคิดว่าตันไม้ของเดก็ ชาย B ขาดสารอาหารประเภทใด และเดก็ ชาย B ควรเลือกใชป้ ุ๋ย ประเภทใด - เดก็ หญงิ C ปลกู ตน้ ไมม้ าได้ระยะหนง่ึ พบวา่ ต้นไมม้ ีลาต้นและรากแคระแกรน็ ใบมสี เี หลือง มีขนาดเล็ก บางใบมจี ดุ ประสแี ดง และปลายใบแกม่ ีรอยดาหรือนา้ ตาลคล้ายกบั รอยไหม้ อีกท้ังยงั พบวา่ โครงสรา้ งของดินบริเวณนัน้ ไมอ่ ุม้ นา้ นกั เรยี นคดิ ว่าดันไม้ของเดก็ หญงิ C ขาดสารอาหารประเภทใด และเด็กหญิง C ควรเลือกใชป้ ุ๋ยประเภทใด 2. ศึกษาและคันคว้าขอ้ มูลจากแหลง่ ตา่ ง ๆ แล้วเสนอแนวทางแก้ไขปญั หาจากสถานการณท์ กี่ าหนดให้ 3. สง่ ตวั แทนกลุ่มออกมานาเสนอแนวทางการเลือกใช้ป้ยุ หนา้ ชั้นเรยี น จากสถานการณ์ของเดก็ ชาย A ตันไม้มีอาการเหมือนขาดธาตฟุ อสฟอรสั (P) ชดั เจน โดยสังเกตได้จากบริเวณส่วนใบลา่ งของ ตน้ ไม้มสี ีมว่ ง และเน่อื งจากเด็กชาย A มงี บประมาณมากพอ และตอ้ งการให้ต้นไม้ได้รับธาตอุ าหารในทันที ดังน้ัน เด็กชาย A ควร เลือกใช้ปุ๋ยเคมหี รอื ป๋ยุ วทิ ยาศาสตรท์ ี่มีธาตุฟอสฟอรสั (P) อยู่ในสตู ร จากสถานการณข์ องเดก็ ชาย B ตน้ ไม้มีอาการเหมอื นขาดธาตุแคลเซียม (Ca) ชดั เจน โดยสังเกตไดจ้ ากใบอ่อนบิดมว้ น ส่วน อาการใบเลก็ มสี เี หลอื งซีด เป็นไปไดว้ า่ อาจขาดธาตุในโตรเจน (N) หรอื ธาตกุ ามะถนั (S) รว่ มดว้ ย และเน่ืองจากดินบริเวณน้ันเป็น ก้อนแขง็ จงึ ต้องใชป้ ยุ๋ อินทรยี เ์ พื่อปรบั ปรงุ โครงสร้างของดนิ ให้รว่ นซยุ ให้เหมาะแกก่ ารเพาะปลกู ดังน้ัน เดก็ ชาย B จงึ ควรเลือกใช้ป๋ยุ อินทรยี ท์ ม่ี ธี าตุแคลเซยี ม (Ca) ไนโตรเจน (N) และกามะถัน (S) อยู่ในสตู ร จากสถานการณ์ของเด็กหญิง C ต้นไม้มอี าการเหมอื นขาดธาตุโพแทสเซียม (K) ชดั เจน โดยสงั เกตไดจ้ ากใบมีจุดประสแี ดง และปลายใบมีรอยไหม้ ส่วนอาการใบเล็กมสี ีเหลืองซดี เป็นไปได้วา่ อาจขาดธาตุไนโตรเจน N) หรอื ธาตกุ ามะถนั (S) ร่วมดว้ ย และเนื่องจากดนิ บรเิ วณน้ันมีโครงไม่เหมาะแกก่ ารเพาะปลกู ดนิ อมุ้ นา้ ไม่ดี จงึ ต้องใชป้ ุ๋ยอินทรยี เ์ พื่อปรบั ปรุงโครงสรา้ งของดนิ ให้ดขี ้ึน ดงั นั้น เดก็ หญิง C ควรเลือกใชป้ ุ๋ยอินทรีย์ท่ีมธี าตุโพแทสเซยี ม (K) ไนโตรเจน (N) และกามะถัน (S) อยใู่ นสูตร

41 I การเจริญเติบโตของพืช คำถามท้ายบทที่ 3 เรื่อง การเจริญเติบโตของพืช จงตอบคำถามให้ถูกต้อง พร้อมทั้งอธิบาย มาพอสังเขป 1. กระบวนการเจริญเติบโตของพืชมีกี่กระบวนการ อะไรบ้าง 2. ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากอะไร 3. จงบอกข้อดี - ข้อเสีย ของปุ๋ยอินทรีย์ มีอะไรบ้าง 4. ธาตุอาหารใดที่พืชต้องการในปริมาณมาก 5. ธาตุอาหารชนิดใดที่ช่วยในการสร้างแป้งและน้ำตาลให้แก่พืช ลีเบอร์ & โค. | เมืองแฟร์ฮิลล์ 081-234-5678 123 ถ.เลี่ยงเมือง ขอนแก่น [email protected]

บทที่ 4 การสื บพันธ์ุ ของพืช การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นการสืบพันธุ์ที่มีการ ตัวชี้วัด ผสมกันของสเปิร์มกับเซลล์ไข่การสืบพันธุ์ แบบอาศัย ม.1/11 อธิบายการสืบพันธุ์แบบอาศัย เพศของพืชดอกเกิดขึ้นที่ดอกโดยภายใน อับเรณูของ เพศ และ ไม่อาศัยเพศของพืชดอก ส่วนเกสรเพศผู้มีเรณูซึ่งทำหน้าที่ สร้างสเปิร์ม ภายใน ม.1/12 อธิบายลักษณะโครงสร้างของ ออวุลของส่วนเกสรเพศเมีย มีถุงเอ็มบริโอ ทำหน้าที่ ดอกที่มีส่วน ทำให้เกิดการถ่ายเรณู สร้างเซลล์ไข่ รวมทั้งบรรยาย การปฏิสนธิของพืชดอก การเกิดผลและเมล็ด การกระจายเมล็ด การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเป็นการสืบพันธุ์ที่พืช และการงอกของเมล็ด ต้นใหม่ไม่ได้เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างสเปิร์ม กับ ม.1/13 ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ เซลล์ไข่แต่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น ที่ช่วยในการ ถ่ายเรณูของพืชดอก ใบ มีการเจริญเติบโตและพัฒนาขึ้นมา เป็นต้นใหม่ได้ โดยการไม่ทำลายชีวิต ของสัตว์ที่ช่วยใน การถ่ายเรณู

43 I การสืบพันธ์ุของพืช 4 คําถามชวนคิด ส่วนใดของพืชที่มนุษย์นำมาใช้ขยายพันธุ์ 4 การสืบพันธุ์ของพืช การสืบพันธุ์เป็นสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์พืชดอกทุกชนิด สามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ และบางชนิด สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ซึ่งการสืบพันธุ์ของพืช แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

44 I การสืบพันธ์ุของพืช 4.1 การสืบพันธ์ุแบบไม่อาศัยเพศของพืช การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช (asexual reproduction) เป็นการขยายพันธุ์ของพืชที่ไม่ได้ มานาน การปฏิสนธิระหว่างสเปิร์มกับเซลล์ไข่ แต่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ล้าต้น ใบ มีการ เจริญเติบโตและ พัฒนาขึ้นมาเป็นพืชต้นใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกับต้นเดิม ซึ่งมนุษย์นำความรู้เรื่องการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มาใช้ในการขยายพันธุ์พืช ดังนี้ 1. การปักชำ (cutting) คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชพันธุ์ดีมาตัด และปักชำในวัสดุเพาะชำให้งอก ราก ออกมากลายเป็นต้นใหม่ การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้สามารถนำไปใช้ได้กับไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ เช่น ชมพู่ กุหลาบ ชบา มะลิ เป็นต้น ขั้นตอนการขยายพันธ์ุพืชด้วยวิธีปักชำ นำกิ่งจากพืชพันธุ์ดีมาตัดเป็นท่อน ๆ ให้ยาว นำกิ่งไปปักชำให้เอียง 40-70 องศา และปักให้ลึก ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ประมาณ 1 ใน 3 ของกิ่งลงในกระบะเพาะชำ นำกิ่งไปปักชำให้เอียง 40-70 องศา และปักให้ลึก ประมาณ 1 ใน 3 ของกิ่งลงในกระบะเพาะชำ ภาพที่ 4.1 ขั้นตอนการปักชำ