Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รวมเล่มยุบสภา

รวมเล่มยุบสภา

Published by zeenate7, 2022-01-23 11:36:55

Description: รวมเล่มยุบสภา

Search

Read the Text Version

ยุทธนากรณ์ ผมหอม นิติกรชำนาญการพิเศษ

ก สารบญั หนา้ ผลทางกฎหมาย กรณีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ภายใต้บรบิ ทของรัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ๑. บทนำ ....................................................................................................................... ๑ ๒. ผทู้ รงอำนาจในการยุบสภาผแู้ ทนราษฎร .................................................................. ๓ ๓. รูปแบบของการยุบสภาผู้แทนราษฎร ....................................................................... ๔ ๔. ผลทางกฎหมายของการยุบสภาผแู้ ทนราษฎร ......................................................... ๔ ๕. บทสรุป ..................................................................................................................... ๖ บรรณานุกรม ................................................................................................................. ๘ กลมุ่ งานรองประธานวุฒสิ ภา คนที่หนง่ึ สำนักงานประธานวุฒสิ ภา สำนักงานเลขาธิการวุฒสิ ภา

ผลทางกฎหมาย กรณีการยบุ สภาผ้แู ทนราษฎร ภายใตบ้ รบิ ทของรฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ยทุ ธนากรณ์ ผมหอม๑ ๑. บทนำ การยุบสภาสภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารมีบัญญัติไว้เป็นครั้งแรก ในรฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรสยาม พุทธศกั ราช ๒๔๗๕ (มาตรา ๓๕) และมบี ัญญตั ไิ ว้ในทำนองเดียวกนั ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาจนถึงปัจจุบัน การยุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นเครื่องมือในการคานอำนาจ ระหว่าง ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ขณะเดียวกันการยุบสภาก็เป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร เพื่อส่งคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งรุนแรงในรัฐสภาหรือปัญหาความ ขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งการยุบสภาเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง การยุบสภา ผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา และให้กระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน เช่น รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายที่เป็นนโยบายสำคัญ แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่รับหลักการของ ร่างกฎหมายดังกล่าว นายกรัฐมนตรีอาจดำเนินการให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรได้และเมื่อมีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ นายกรัฐมนตรีคนเดิมได้กลับมาเป็นรัฐบาล จึงเสนอร่างกฎหมาย เดิมที่เคยเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร หากสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่รับหลักการของร่างกฎหมายนั้นอีก จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเพราะเหตุนั้นอีกไม่ได้ แต่การยุบสภาไม่จำเป็นต้องกระทำ เพราะเหตุที่ เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเสมอไป การยุบสภาอาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก ฝ่ายบริหารต้องการฟังเสียงประชาชนเมื่อมีปัญหาสำคัญ หรือหยั่งความนิยมที่ประชาชนยังมีต่อพรรค การเมอื งของรัฐบาล เพือ่ ความมั่นใจในการที่จะดำเนนิ นโยบายที่สำคญั ๆ ต่อไปก็ได้๒ นับตั้งแตมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย มาเปนการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภาที่ประกอบดวย สภาผูแทนราษฎรและวุฒิสภา เปนองคกรสําคัญ ทางการเมือง ตั้งแตป พ.ศ. ๒๔๗๕ จนกระท้ังปจจุบัน ปรากฏวามีการยุบสภาผูแทนราษฎรที่มาจาก การเลอื กตั้งของประชาชน รวม ๑๓ ครงั้ ๓ ดงั น้ี ครง้ั ท่ี วันท่ี ช่ือนายกรัฐมนตรี เหตผุ ล ๑ ๑๑ กนั ยายน ๒๔๘๑ พันเอก พระยาพหลพล ๒ ๑๕ ตลุ าคม ๒๔๘๘ พยุหเสนา รฐั บาลขัดแยง้ กบั สภา สภาผ้แู ทนยดื อายมุ านานในชว่ ง หม่อมราชวงศเ์ สนีย์ ปราโมช สงคราม จนสมควรแกเ่ วลา ๑ นติ ิกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานประธานวฒุ สิ ภา สำนกั งานเลขาธกิ ารวุฒสิ ภา ๒ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. “ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐” (สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร), หนา้ ๑๗๙ - ๑๘๐ ๓ การยบุ สภาผู้แทนราษฎรไทย - วิกิพีเดยี (wikipedia.org)

๒ ๓ ๑๒ มกราคม ๒๕๑๙ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ความขดั แย้งภายในรัฐบาล ปราโมช ๔ ๑๙ มนี าคม ๒๕๒๖ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สภาผู้แทนราษฎรขดั แย้งกับ วุฒิสภา กรณีแกไ้ ขรัฐธรรมนูญ ๕ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙ พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท์ รัฐบาลขดั แยง้ กับสภา กรณกี าร ตราพระราชกำหนด ๖ ๒๙ เมษายน ๒๕๓๑ พลเอก เปรม ติณสลู านนท์ ความขัดแยง้ ภายในรัฐบาล เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อยุบสภา ๗ ๓๐ มถิ ุนายน ๒๕๓๕ อานนั ท์ ปนั ยารชุน หลังจากเกิดวิกฤตการณท์ าง การเมือง ๘ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ชวน หลีกภัย ความขัดแย้งภายในรฐั บาล ๙ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๙ บรรหาร ศิลปอาชา ความขัดแยง้ ภายในรฐั บาล ๑๐ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ชวน หลกี ภัย ปฏิบตั ิภารกจิ ตามเป้าหมายเสร็จ แล้ว เกิดวิกฤตการณก์ ารเมอื งจากการ ๑๑ ๒๔ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๔๙ พันตำรวจโท ทักษิณ ชนิ วตั ร ชมุ นมุ ขบั ไลน่ ายกรัฐมนตรี ตอ่ มา เกดิ รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ๑๒ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ อภสิ ิทธิ์ เวชชาชวี ะ วกิ ฤตการณ์ทางการเมอื ง ปัญหาความขัดแย้งและความ แตกแยกของชนในชาติ ๑๓ ๙ ธนั วาคม ๒๕๕๖ ยง่ิ ลักษณ์ ชนิ วัตร (วิกฤตการณ์ทางการเมือง) ตอ่ มา เกิดรัฐประหาร ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้เปลี่ยนหลักการใหม่ โดยกำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปก่อน ส่วนวันเลือกตั้ง จะเป็นวันใดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ตามที่ได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา ๑๐๒ ดังนั้น ความในวรรคสาม แห่งมาตรานี้จึงได้กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องประกาศ กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษาภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกายุบสภามีผลใช้ บงั คบั โดยวนั เลือกต้ังที่กำหนดต้องไมน่ อ้ ยกว่าส่ีสิบห้าวนั แต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวใช้บังคับ เหตุที่กำหนดระยะเวลาวันเลือกตั้งยาวกว่าการเลือกตั้งทั่วไปกรณีอายุของ สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๒ ที่กำหนดไว้สี่สิบหา้ วันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ ก็เนื่องจากเหตุการณ์การยุบสภาไม่มีความแน่นอนดังเช่นการครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร จึงให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถกำหนดระยะเวลาของวันเลือกตั้งให้ยาวขึ้นได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองมีความพร้อมในการเลือกตั้งและไม่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกัน zee rice

๓ ในการเลือกตั้ง ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาความลักลั่นในทางปฏิบัติ๔ ดังที่ปรากฏในมาตรา ๑๐๒๕ ของ รฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ แล้ว ๒. ผทู้ รงอำนาจในการยุบสภาผแู้ ทนราษฎร การยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๐๓๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ถือเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยแท้เพียงแต่ต้องกำหนดให้กระทำโดย พระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ๗ ตามหลักของ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยในระบบรฐั สภา กําหนดใหฝายบริหารมอี ํานาจเสนอแนะใหประมุขของรัฐใช อํานาจยุบสภาผูแทนราษฎร สําหรับประเทศไทยมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข ในทางรัฐธรรมนูญและ การเมืองการปกครองเปนที่ยอมรับโดยทั่วไปวา พระมหากษัตริยไมทรงใชพระราชอํานาจยุบสภาผูแทน ราษฎรโดยลําพังดวยความรับผิดชอบของพระองคโดยตรง เนื่องจากจะตองมีรัฐมนตรีเปนผูรับผิดชอบ ตอการกระทําของพระมหากษัตริย หรือเปนผูลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามหลักที่วา “พระมหากษัตริย ทรงกระทําผิดมิได (The King can do no wrong) ตรงกับบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญวา “บทกฎหมายพระราชหัตถเลขาและพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับการบริหารราชการ แผนดินตองมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เวนแตที่มีบทบัญญัติไวเปนอยางอ่ืน ในรัฐธรรมนญู ”๘ การใหฝายบริหารมีอํานาจเสนอแนะใหประมุขของรัฐใชอํานาจยุบสภาผูแทนราษฎร เปนการใหอํานาจการตัดสินใจยุบสภาผูแทนราษฎรแกฝายบริหารกอนเสนอแนะประมุขของรัฐในทาง ปฏิบัติที่ผานมาหัวหนาของฝายบริหาร ไดแก นายกรัฐมนตรีจะเปนผูถวายคําแนะนําและลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผูแทนราษฎรทุกครั้ง แตพระมหากษัตริยอาจ ปฏิเสธการยุบสภาผูแทนราษฎรไดโดยการไมทรงลงพระปรมาภิไธยในรางพระราชกฤษฎีกาดังกลาว แมรัฐธรรมนูญมิไดบัญญัติถึงพระราชอํานาจดังกลาวไวก็ตาม ถือวาเปนพระราชอํานาจตามพระราช อัธยาศัยอยางหน่ึงตามประเพณีการปกครองแผนดิน เปนผลใหรางพระราชกฤษฎีกายุบสภาผูแทน ราษฎรตองตกไป การใชพระราชอํานาจปฏิเสธการยุบสภาผูแทนราษฎรเชนนี้ แตกตางกับการใชพระ ราชอํานาจยับย้ังรางพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ เพราะการใช พระราชอํานาจยับย้ังราง พระราชบัญญัตินั้น ไมมีผลใหรางพระราชบัญญัติตองตกไปทันทีหากรัฐสภามีมติยืนยันตามราง ๔ เร่ืองเดียวกัน, หน้า ๑๗๙ - ๑๘๐ ๕ มาตรา ๑๐๒ เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง สมาชกิ สภาผู้แทนราษฎรใหม่ เปน็ การเลอื กตงั้ ทัว่ ไปภายในสส่ี ิบหา้ วนั นบั แต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ การเลอื กตัง้ ตามวรรคหน่ึง ตอ้ งเปน็ วันเดยี วกนั ทัว่ ราชอาณาจักรตามที่คณะกรรมการการเลอื กตัง้ ประกาศกำหนดในราชกิจจานเุ บกษา ๖ มาตรา ๑๐๓ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ เปน็ การเลือกตง้ั ท่วั ไป การยุบสภาผแู้ ทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎกี า และให้กระทำไดเ้ พยี งคร้ังเดยี วในเหตุการณเ์ ดียวกัน ภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใชบ้ ังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทัว่ ไป ในราชกจิ จานุเบกษา ซ่งึ ต้องไม่น้อยกวา่ สสี่ ิบหา้ วันแตไ่ ม่เกินหกสบิ วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎกี าดังกลา่ วใช้บังคับ วนั เลอื กต้ังน้ันต้องกำหนด เปน็ วนั เดยี วกนั ทว่ั ราชอาณาจักร ๗ คณนิ บุญสวุ รรณ, “กระบวนการทำงานของระบบรัฐสภาตามรฐั ธรรมนญู ฉบบั ใหม่,กรุงเทพฯ : วิญญูชน, ๒๕๔๑ หนา้ ๓๐ ๘ วษิ ณุ เครืองาม, จุลสาร, “เร่อื ง ปญหาทางกฎหมายของการยบุ สภาผูแทนราษฎรในประเทศไทย”, หน้า ๘๔ zee rice

๔ พระราชบัญญัติเดิม ก็ใหนายกรัฐมนตรีนํารางพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกลาฯ ถวายใหทรงลงพระ ปรมาภิไธยอีกคร้ังหนึ่ง หากพระมหากษัตริยไมทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานคืนมาอีก ใหนายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัตินั้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษาใชบังคับเปนกฎหมายได สวนการ ใชพระราชอํานาจปฏิเสธการยุบสภาผูแทนราษฎรนั้น เมื่อพระมหากษัตริยซึ่งเปนผูมีอํานาจยุบสภา ผูแทนราษฎร ไมทรงลงพระปรมาภิไธยในรางพระราชกฤษฎีกายุบสภาผูแทนราษฎร การยุบสภา ผูแทนราษฎรก็เกิดข้ึนไมได้๙ ซึ่งที่ผ่านมายังไมเคยมีเหตุการณที่พระมหากษัตริยทรงปฏิเสธการยุบสภา ผูแทนราษฎรเชนเดียวกับประเทศอังกฤษ ดังที่ ม.ร.ว. คึกฤทธ์ิ ปราโมช ใหสัมภาษณไวในหนังสือพิมพ ไทยรัฐ วันท่ี ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙ หนา ๒๐ วา “การยุบสภาเปนพระราชอํานาจของพระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัว โดยนายกรัฐมนตรีเปนผูเสนอและสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรีมีอํานาจ ทําไดเสมอ นอกเสียจากวาพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไมยอมลงพระปรมาภิไธย…แตก็ไมเคยปรากฏ ลกั ษณะเชนนีม้ ากอน”๑๐ ๓. รปู แบบของการยุบสภาผูแ้ ทนราษฎร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยุบสภาผู แทนราษฎร ทุกฉบับไม่ได้บัญญัติรูปแบบของการยุบสภาผูแทนราษฎรเอาไว้ เพียงแต่บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกันกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๐๓ วรรคสองว่า “การยุบสภาผู้แทนราษฎร ใหก้ ระทำโดยพระราชกฤษฎีกา และใหก้ ระทำได้เพยี งครั้งเดียวในเหตกุ ารณเ์ ดยี วกัน” ๔. ผลทางกฎหมายของการยบุ สภาผูแ้ ทนราษฎร สำหรับกรณีมีเหตุการณ์ที่ทำให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประมุขของฝ่ายบริหารต้อง ยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผลทางกฎหมายของการยุบสภาผู แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ มดี ังต่อไปนี้ ๑) สมาชกิ ภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส้ินสุดลง (ตามมาตรา ๑๐๑ (๑)) ๒) รัฐมนตรีทั้งคณะผลจากตำแหน่ง (ตามมาตรา ๑๖๗ (๒) ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีที่พ้น จากตำแหน่งเพราะเหตุยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๖๘ (๑) อย่างไรก็ตามในกรณีที่พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้ เทา่ ท่จี ำเป็น ๓) ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ หรือที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วแต่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย หรือเมื่อพ้น เก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้เป็นอันตกไป (มาตรา ๑๔๗ วรรคหนึ่ง) แต่ถ้า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปร้องขอต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภา ๙ บวรศักด์ิ อุวรรณโณ, คําอธิบายกฎหมายมหาชน (เลม 2) การแบงแยกกฎหมายมหาชน เอกชนและพัฒนาการกฎหมายมหาชน ในประเทศไทย (กรงุ เทพมหานคร : สํานักพิมพนิตธิ รรม, ๒๕๓๗), หนา ๑๙๒. ๑๐ กาญจนา เกิดโพธ์ิทอง, เรือ่ งเดียวกนั , หนา้ ๔๔ zee rice

๕ สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี พิจารณาบรรดาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมหรือร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบที่ตกไปนั้นต่อไป ถ้ารัฐสภาเห็นชอบด้วยก็ให้รัฐสภาสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี พิจารณาต่อไปได้ แต่คณะรัฐมนตรีต้องร้องขอภายใน ๖๐ วันนับแต่วันเรียกประชุม รฐั สภาคร้ังแรกภายหลังการเลือกต้ังท่ัวไป (มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง) ๔) ภายใน ๕ วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า ๔๕ วันแต่ไม่เกิน ๖๐ วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ใช้บังคับ วันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร (มาตรา ๑๐๓ วรรคสาม) ๕) ในระหว่างที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าด้วยเหตุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ หรือเหตุอื่นใด จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ (มาตรา ๑๒๖ วรรคหนึ่ง) เว้นแต่กรณีที่บัญญัติในมาตรา ๑๒๖๑๑ (๑) และ (๒) เท่านั้นที่รัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีการประชุมวุฒิสภาในระหว่างที่อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือ สภาผแู้ ทนราษฎรถกู ยุบได้ ดงั นี้ กรณีตาม(๑)กำหนดใหว้ ุฒสิ ภาทำหน้าทร่ี ฐั สภาในเรือ่ งท่ีรฐั สภาตอ้ งดำเนินการได้แก่ - การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๗ - การปฏญิ าณตนของผู้สำเรจ็ ราชการแทนพระองคต์ อ่ รัฐสภาตามมาตรา ๑๙ - การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศกั ราช ๒๔๖๗ ตามมาตรา ๒๐ - การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตามมาตรา ๒๑ หรือ การประกาศสงครามตามมาตรา ๑๗๗ ทั้งน้ี กรณีให้ความเห็นชอบ ในการประกาศสงครามตามมาตรา ๑๗๗ ดังกล่าว จะต้องมีคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา (มาตรา ๑๒๖ วรรคสาม) ส่วนกรณีตาม (๒) เป็นกรณีที่วุฒิสภาต้องประชุมเพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดำรง ตำแหน่งใดตามบทบญั ญัตแิ ห่งรัฐธรรมนญู รฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ๑๑ มาตรา ๑๒๖ ในระหว่างท่ีไมม่ ีสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าด้วยเหตสุ ภาผู้แทนราษฎรส้ินอายุสภาผแู้ ทนราษฎรถูกยุบ หรอื เหตุอนื่ ใด จะมีการประชุมวุฒสิ ภามิได้ เว้นแต่ (๑) มีกรณีทร่ี ัฐสภาต้องดำเนนิ การตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๑๗๗ (๒) มกี รณีที่วุฒิสภาต้องประชุมเพื่อทำหน้าท่ีพจิ ารณาใหบ้ คุ คลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญตั แิ ห่งรัฐธรรมนญู เมื่อมีกรณีตามวรรคหน่ึง ให้วุฒิสภาดำเนินการประชุมได้ โดยให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบงั คมทูลเพือ่ มพี ระบรมราช โองการประกาศเรียกประชุมรฐั สภาเปน็ การประชุมสมัยวิสามัญ และให้ประธานวฒุ ิสภาเป็นผ้ลู งนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในกรณีตาม (๑) ใหว้ ุฒิสภาทำหนา้ ท่ีรฐั สภา แต่การให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๗๗ ต้องมคี ะแนนเสยี งไม่นอ้ ยกวา่ สองในสาม ของจำนวนสมาชิกทง้ั หมดเท่าที่มีอย่ขู องวุฒสิ ภา zee rice

๖ ๕. บทสรปุ จากการศึกษาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และรัฐธรรมนูญทุกฉบับของประเทศไทย อธิบายได้ว่าหลักการสำคัญในการยุบสภา ผแู้ ทนราษฎร ภายใตบ้ ทบญั ญัตแิ หง่ รฐั ธรรมนูญฯ มีดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ (มาตรา ๑๐๓ วรรคหนึ่ง) พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนั้นได้ก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีเสนอ เท่าน้ัน ๒. การยุบสภาผู้แทนราษฎรต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา ๑๐๓ วรรคสอง) พระราชกฤษฎีกาจะใช้บังคับเมื่อใดแล้วแต่กำหนดไว้ในนั้นเองแต่ต้องหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้เปลี่ยนหลักการใหม่ โดยกำหนดให้มีการตราพระ ราชกฤษฎีกาเลือกตัง้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเปน็ การทัว่ ไปก่อน ส่วนวันเลือกต้ังจะเป็นวันใด ภายใน ๕ วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรมีผลใช้บงั คับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดซ่ึงต้อง ไม่น้อยกว่า ๔๕ วันแต่ไม่เกิน ๖๐ วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ วันเลือกตั้งนั้นต้อง กำหนดเป็นวันเดียวกนั ทวั่ ราชอาณาจกั ร ตามทีไ่ ด้บัญญตั ิไวแ้ ล้วในมาตรา ๑๐๒ ๓. การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครง้ั เดียวในเหตุการณ์เดียวกนั (มาตรา ๑๐๓ วรรคสาม) หากมจี ะการยุบสภาอีกครง้ั มอิ าจอ้างเหตผุ ลทีใ่ ช้ในการยบุ สภาครั้งก่อนได้ ๔. การยุบสภาผู้แทนราษฎรมีได้เฉพาะก่อนสภาสิน้ อายุ การยุบสภากระทำในเวลาใด ก็ได้ก่อนสภาสิ้นอายุ แม้อยู่ในช่วงปิดสมัยประชุมสภา อย่างไรก็ตาม กรณีมีการเสนอญัตติเพื่อขอเปิด อภปิ รายท่วั ไปเพอ่ื ลงมติไม่ไว้วางใจนายกรฐั มนตรแี ลว้ ย่อมไม่สามารถยบุ สภาได้ ๕. การยุบสภาผู้แทนราษฎรทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง (ตามมาตรา ๑๐๑ (๑)) ๖. คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งจากการยุบสภา ผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด (ตามมาตรา ๑๖๙) ไดแ้ ก่ (๑) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้าง ความผูกพนั ตอ่ คณะรฐั มนตรชี ุดต่อไป เว้นแตท่ ี่กำหนดไว้แลว้ ในงบประมาณรายจา่ ยประจำปี (๒) ไมแ่ ต่งต้งั หรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมตี ำแหน่งหรอื เงนิ เดือนประจำหรือพนักงาน ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติ หน้าที่ หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการการเลอื กตง้ั ก่อน (๓) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณี ฉกุ เฉินหรอื จำเป็น เว้นแตจ่ ะได้รับความเหน็ ชอบจากคณะกรรมการการเลอื กตัง้ ก่อน zee rice

๗ (๔) ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดอันอาจมีผลต่อการ เลือกตงั้ และไมก่ ระทำการอันเปน็ การฝา่ ฝนื ข้อหา้ มตามระเบียบท่ีคณะกรรมการการเลอื กต้ังกำหนด ๖. ส่วนสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาหาได้สิ้นสุดลงจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ ดังน้นั จึงยงั คงตอ้ งปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ตี อ่ ไป แต่จะมกี ารประชุมวุฒิสภามไิ ด้ เวน้ แตเ่ ปน็ กรณดี ังตอ่ ไปนี้ (มาตรา ๑๒๖) ๑) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา เช่น การให้ความเห็นชอบในการแต่งต้ัง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๗ การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อ รัฐสภาตามมาตรา ๑๙ การรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ตามมาตรา ๒๐ การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติตาม มาตรา ๒๑ หรือ การประกาศสงครามตามมาตรา ๑๗๗ (มาตรา ๑๒๖ (๑)) ทั้งนี้ กรณีให้ความเห็นชอบในการประกาศสงครามตามมาตรา ๑๗๗ ดังกล่าว จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา (มาตรา ๑๒๖ วรรคสาม) เป็นตน้ ๒) การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตาม บทบัญญตั แิ หง่ รัฐธรรมนญู (มาตรา ๑๒๖ (๒)) zee rice

๘ บรรณานกุ รม หนงั สอื คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. “ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรารัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจกั รไทย พุทธศกั ราช ๒๕๖๐” (สำนักงานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร), หนา้ ๑๗๙ – ๑๘๐ คณิน บุญสุวรรณ, “กระบวนการทำงานของระบบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่,กรุงเทพฯ : วิญญูชน, ๒๕๔๑ หน้า ๓๐ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, คําอธิบายกฎหมายมหาชน (เลม 2) การแบงแยกกฎหมายมหาชน เอกชนและ พัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย (กรงุ เทพมหานคร : สาํ นักพิมพนิตธิ รรม, ๒๕๓๗), หนา ๑๙๒. บทความวารสารและบทความนิตยสาร วิษณุ เครอื งาม, จุลสาร, “เร่อื ง ปญหาทางกฎหมายของการยบุ สภาผูแทนราษฎรในประเทศไทย”, หนา้ ๘๔ เว็บไซต์ การยุบสภาผแู้ ทนราษฎรไทย - วกิ พิ เี ดีย (wikipedia.org) https://th.wikipedia.org zee rice

สำนกั งานประธานวุฒิสภา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook