Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสารประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

เอกสารประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

Published by filmnarirat, 2021-10-28 07:27:55

Description: เอกสารประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

Search

Read the Text Version

เเออกกสสาารรปปรระะกกออบบกกาารรสสออนน วันสำคัญ ทางพระพุทธ ศาสนา

วันมาฆบูชา \"วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓\" วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ และมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ๔ ประการ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ ๑. เป็นวันที่มีพระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ๒. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า ๓. พระสงฆ์ทุกรูปเป็นพระอรหันต์ ๔. เป็นวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ คือ วันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ๑. ปฏิบัติตนในการบำเพ็ญกุศลโดยทำบุญตักบาตร ไปวัด ฟังเทศน์ สวดมนต์ ถวายภัตตข้าอหาครแวด่ รปฏิบัติ พระสงฆ์ กลางคืนนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปเวียนเทียนเป็นพุทธบูชา เมื่อไปวัดควรแต่งกายให้เรียบร้อย สุภาพ มีกิริยาวาจาสุภาพ ไม่ตลกเฮฮา พยายามสำรวมกาย วาจา ใจ เรื่องที่คุยกันก็ควรเป็นเรื่อง ธรรมะ หรือเรื่องทางศาสนาอันชวนให้ใจสงบ ขณะเวียนเทียน ๓ รอบควรระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ๒. น้อมใจระลึกถึงเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในวันมาฆบูชาว่า เป็นวัน สำคัญก่อนส่งพระสาวกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์และ ความสุขแก่มนุษยชาติทั้งปวง และเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนด พระราชหฤทัยไว้ว่า ต่อจากวันนั้นไปอีก ๓ เดือนจะเสด็จปรินิพพาน

วันวิสาขบูชา \"วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖\" วันวิสาขบูชา เป็นวันที่มีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ ๑. ประสูติ พระพุทธเจ้าประสูติที่สวนลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ๒. ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ณ ตำบลพุทธคยา ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน 5 ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ๓. ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ณ ป่าไม้สาละทางเข้ากรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี ทำบุญ ตักบาตรพระสงฆ์ที่หน้าบ้านของ ตนเอง หรือในสถานที่ที่ได้รับการเชิญชวน กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้แก่ ข้อควรปฏิบัติ แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว รักษาศีล รับศีล ฟังพระธรรมเทศนา

วันอาสาฬหบูชา \"วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘\" วันอาสาฬหบูชา มีความสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการดังนี้ ๑. พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ แสดงธรรมเป็นครั้งแรก คือ \"ธัมมจักกัปปวัตนสูตร\" โปรด พระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณาสี ๒. ผลของการแสดงพระธรรมเทศนานี้ หัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ สำเร็จโสดา ปัตติผลเกิด มีพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ๓. เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบ คือ มีพระพุทธ พระธรรม ข้อควรปฏิบัติ - ทำบูญ ตักบาตรเสร็จแล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว - อาจนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัดรับศีลฟังพระธรรมเทศนาในตอนเช้าไปเวียน เทียนที่วัดหรือพุทธสถานอื่น ๆ ในตอนเย็น

วันเข้าพรรษา \"วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑\" วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระสงฆ์ตั้งใจจะอยู่ประจำที่วัดใดวัดหนึ่ง ไม่ไปค้างคืนที่ใดในช่วงฤดูฝน ตลอดเวลา ๓ เดือน วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือน 4 ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ พระสงฆ์ จะได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเต็มที่ได้ปฏิบัติวัตรในการกล่าวขอขมาโทษซึ่งกันและกัน และเคารพ กันตามหลักอายุพรรษา ระเบียบปฏิบัติ พุทธศาสนิกชนในการทำบุญ ตักบาตร ถือศีล ฟังธรรมเทศนางดอบายมุขและความชั่วต่างๆ ทำเครื่อง สักการะถวายพระสงฆ์ สามเณร เครื่องสักการะนั้นนิยมมีดอกไม้ ธูปเทียน ผ้าอาบน้ำฝน จัดเป็นสักกา ระถวายเฉพาะรูปนอกจากนี้ยังนิยมหล่อเทียนพรรษาขนาดใหญ่ถวายวัด ให้พระภิกษุได้ใช้จุดบูชาพระ ประธานในโบสถ์ได้นานตลอด ๓ เดือน โดยมีการแห่แหนกันก่อนนำมาถวายเป็นพุทธบูชา

ปฏิบัรตะิเบียบวันออกพรรษา \"วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑\" วันออกพรรษา หมายถึง วันที่พ้นจากข้อกําหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจําที่ หรือในวัดแห่งเดียว ตลอด ๓ เดือน ในช่วงฤดูฝนในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ คือ วันที่ครบกำหนดการอยู่พรรษา ป็นวันที่ พระสงฆ์ได้รับพุทธานุญาตให้ไปค้างแรมที่อื่นได้ และได้นำความรู้จากหลักธรรมที่ได้รับระหว่างพรรษา ไปเผยแผ่ให้แก่ประชาชน รวมไปถึงเป็นแบบอย่างให้ชาวพุทธได้นำหลักการปวารณาไปใช้เพื่อเปิด โอกาสให้ผู้อื่นได้ว่ากล่าวตักเตือนกันเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป พุทธศาสนิกชนในการทำบุญรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ และนิยมตักบาตรที่เรียกว่าตักบาตรเทโวบ้างก็ทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ บ้างก็ทำในวันรุ่งขึ้นคือวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ทั้งนี้แล้วแต่ความตกลงใจร่วมกันทั้งทางวัดและพุทธศาสนิกชน

วันสำคัญ ทางพระพุทธ ศาสนา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook