Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore tujue

tujue

Published by pramahapornpitak, 2018-07-04 00:05:31

Description: tujue

Search

Read the Text Version

6ก“สำ�าตเ๊.ุ น..เจดิ า้ ตคนบรุญูบปาิ๊กมคาเตกิดใิ ”ห: ม่ภาพสะทอ้ นการเปลี่ยนแปลงพทุ ธศาสนาทอ้ งถ่นิ ภาคเหนือของไทยณฐั พงศ์ ดวงแก้วเอกสารประกอบการสมั มนาวชิ าการประจำ�ปี 2559/2016 25 2559 2016

“สาตุ.๊ ..เจ้าตนบญุ ปก๊ิ มาเกดิ ” : กำ�เนิดครูบาคติใหม่ภาพสะทอ้ นการเปลย่ี นแปลงพุทธศาสนาทอ้ งถิ่นภาคเหนอื ของไทยณฐั พงศ์ ดวงแกว้เอกสารประกอบสัมมนาวชิ าการประจ�ำ ปี 2559/2016ASEAN: Siam-Thailand + Japan + China and + Indiaศกุ รท์ ี่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559ณ ห้องประชมุ ภูกามยาว อาคารเรยี นรวม (เดมิ ) มหาวทิ ยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยาพิมพ์คร้ังแรก : พฤศจิกายน 2559ออกแบบปกและรูปเลม่ : DREAM CATCHER GRAPHIC CO., LTD. โทร. 0 2455 3932, 0 2455 3995จดั พิมพ์โดย มูลนธิ ิโตโยต้าประเทศไทย Toyota Thailand Foundation 186/1 หมู่ 1 ถนนทางรถไฟเก่า ต. สำ�โรงใต้ อ. พระประแดง จ. สมทุ รปราการ 10130 โทรศัพท์ 0 2386 1393-5 โทรสาร 0 2386 2880 186/1 Moo 1 Old Railway Road, T. Samrong Tai, A. Prapadaeng, Samutprakan 10130 Tel. 0 2386 1393-5 Fax. 0 2386 2880 มลู นิธิโครงการตำ�ราสงั คมศาสตร์และมนษุ ยศาสตร์ The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks Project 413/38 ถนนอรุณอมรนิ ทร์ เขตบางกอกน้อย กรงุ เทพฯ 10700 โทร/โทรสาร 0 2433 8713 413/38 Arun-amarin Road, Bangkoknoi, Bangkok, Siam 10700 Tel./Fax. 0 2433 8713 http://www.textbooksproject.com | http://www.textbooksproject.org

“สาต.ุ๊ ..เจา้ ตนบุญปิก๊ มาเกดิ ” : กาเนดิ ครบู าคตใิ หม่ ภาพสะท้อนการเปล่ยี นแปลง พทุ ธศาสนาทอ้ งถน่ิ ภาคเหนือของไทย นายณฐั พงศ์ ดวงแก้ว นักศกึ ษาปริญญาโท ภาควชิ าประวตั ศิ าสตร์ คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์บทคดั ยอ่ ต้ังแต่ทศวรรษ 2530 จนถึงปัจจุบัน เกิดปรากฎการณ์สาคัญในพุทธศาสนาทางภาคเหนือของไทย คือ มีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งซึ่งบทความฉบับน้ีเรียกว่า “กลุ่มครูบาคติใหม่” กลุ่มพระสงฆ์กลุ่มน้ีมีลักษณะพิเศษกว่าพระสงฆ์อื่นๆ ในภาคเหนือ คือ เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียง (ในแง่การเป็นเกจิ-ผู้วิเศษ) มีผู้คนหลงใหลศรทั ธาจานวนมาก นามาซึ่ง วตั ถุปัจจัย ทุนปจั จัย จานวนมหาศาลด้วยเช่นกัน บทความฉบบั นี้ พยายามช้ีให้เห็นถงึ กาเนดิ ของกลุม่ ครูบาคติใหม่ โดยพบว่า กลุ่มพระสงฆ์เหลา่ น้ีพยายามอิงตัวเองกับภาพลักษณ์ครูบาศรีวิชัย (ในอุดมคติ) เป็นส่วนนาเสนอตัวตนกับสังคม เช่น การถือวัตรปฏิบัติแบบครูบาศรีวิชัย การเชื่อว่าเป็นครูบาศรีวิชัยกลับชาติมาเกิด ฯลฯ อีกท้ังยังพบว่าการสร้างบารมีของกลุ่มครูบาคติใหม่เหล่าน้ี ไม่เพียงแต่อิงแอบกับภาพลักษณ์ความเป็นครูบาศรีวิชัยในอุดมคติ การโชว์เงินปัจจัยจานวนมหาศาล หรือ การสร้างวัดท่ีสวยงามอลังการเท่านั้น แต่ยังมีการพยายามอิงตัวเองกับอานาจรัฐทั้งอานาจรฐั ฝ่ายสงฆ์ และ อานาจรัฐฝา่ ยฆราวาสด้วยเช่นกัน

2 “สาตุ๊...เจา้ ตนบญุ ปิก๊ มาเกิด”ฯ 2“เจา้ ตนบญุ ปิ๊กมาเกดิ ” : การสรา้ งบารมีผา่ นการองิ แอบกับความเป็นครูบาศรวี ิชัย (ในอดุ มคติ) ต้ังแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา จะพบว่าเป็นพระสงฆ์กลุ่มหน่ึงที่พยายามอิงตัวเองความเป็นครูบาศรีวิชัย โดยบทความฉบับนี้จะกล่าวถึงการอ้างอิงตัวเองกับความเป็นครูบาศรีวิชัยในอุดมคติอยู่3 ประการ คือ 1. การกล่าวอ้างว่าถือวัตรปฏิบัติแบบครูบาศรีวิชัย 2.การเป็นครูบาศรีวิชัยกลับชาติมาเกิด3.การแอบอิงภาพลักษณ์การเป็นพระนักพัฒนา โดยจะกล่าวอย่างละเอียดในลาดับต่อไป การอ้างอิงตัวเองดงั กล่าวลว้ นเชอื่ กันอยา่ งกว้างขวางว่า “ครูบาคติใหม่” เหลา่ นี้ คอื ครูบาศรวี ิชยั กลบั ชาติมาเกดิ และความเชื่อดังกล่าวน้ีด้วยเช่นกัน ท่ีเป็นปัจจัยท่ีทาให้ครูบาคติใหม่เหล่านี้มีชื่อเสียง และ เป็นที่ศรัทธาของผู้คนในภาคเหนอื จานวนมาก ข้อวัตรปฏิบัติของครูบาศรีวิชัย (ในอุดมคติ) ของกลุ่มครูบาคติใหม่ที่เห็นเป็นรูปธรรมและมีความสาคัญอย่างย่ิง เช่น “การนุ่งห่ม” ครูบาคติใหม่ส่วนใหญ่มักจะพยายามดึงเอาภาพลักษณ์ของครูบาศรีวิชัยจากภาพถ่ายที่เผยแพร่และเป็นที่รู้จักกันท่ัวไปในสังคมมาใช้อ้างอิงลักษณะการนุ่งห่มของตัวเอง เช่นการใส่ผา้ สกี รักแดง หรอื สีท่ีแตกต่างไปจากพระสงฆ์อ่ืนๆ หอ้ ยลูกประคา ถือพดั ทท่ี าจากใบลาน หรือ ขนนกยูงบ้างก็ถือไม้เท้าด้วย โดยเช่ือกันว่าลักษณะๆ ต่างนี้ถือเป็นวัตรปฏิบัติแบบครูบาศรีวิชัยในมโนทัศน์ของผู้คนจานวนมากในสังคม รวมถงึ ตัวครูบาคติใหม่ด้วย ยกตวั อย่าง เมอื่ ครั้งท่ีผวู้ จิ ยั ไดร้ ่วมสังเกตการณอ์ ยา่ งมีส่วนรวมในงานบุญต่างๆ ของครูบาคติใหม่หลายๆ รูป ครูบาคติใหม่เหล่านี้พยายามสร้างภาพลักษณ์เหล่าน้ีให้สอดคล้องกับความเข้าใจต่อภาพลักษณ์ครูบาศรีวิชัย โดยมักจะเดินไปไหนมาไหนโดยถือพัดและไม้เท้าตลอดเวลา ห้อยลูกประคาตลอดเวลา นุ่งผ้าแบบรัดอกตลอดเวลา1 โดยเฉพาะอย่างย่ิงเม่ือผู้วิจัยได้ไปกราบนมัสการครูบาน้อย เตชปัญโญ ท่ีวัดศรดี อนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เมื่อผ้วู ิจยั ไดร้ ว่ มใหค้ รูบาเปา่ หวั เสร็จ ได้ขอถ่ายรูปร่วมครูบา เมื่อเตรียมต้ังกล้อง ครูบาจะต้องจัดทา่ ทางโดยจะต้องยกพัดข้นึ มาประกอบกบั การถา่ ยภาพ 2หรือแม้กระท่ัง หากดูผ่านภาพถ่ายที่เหล่าครูบาคติใหม่นาเสนอตัวเอง จะเห็นว่ามีลักษณะที่คล้ายคลึงกับภาพลกั ษณ์ที่ปรากฏผา่ นในภาพถา่ ยของครูบาศรีวิชยั อย่างชัดเจน 1 สงั เกตการณ์งานกฐินครูบาอริยชาติ อริยจิตโต อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เม่ือ 7-9 พฤศจิกายน 2558 , สังเกตการณ์งานกฐินครูบาเทือง นาถสีโล วดั พระธาตุดงสีมา อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เม่ือ 29-30 ตุลาคม 2558 , สังเกตการณ์งานกฐินครูบานอ้ ย เชปัญโญ วดั ศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เมื่อ 28 กนั ยายน 2558 2 สงั เกตการณ์การมาทาบุญในวนั ปกติ และ สมั ภาษณ์ครูบานอ้ ย เตชปัญโญ เม่ือ 4 มีนาคม 2559

ณัฐพงศ์ ดวงแกว้ 33 ภาพที่ 1 : แสดงภาพลักษณะการนงุ่ หม่ ของครบู าคติใหม่ที่มีลักษณะคล้ายการนุ่งห่มของครบู าศรวี ชิ ัย การเป็นพระนักพัฒนา เป็นภาพลักษณ์สาคัญหนึ่งในการรับรู้ของผู้คนในสังคมต่อความเป็นครูบาศรวี ิชยั การสร้างวัดอย่างย่ิงใหญ่อลังการ เป็นอีกภาพลักษณ์หนงึ่ ทก่ี ลุ่มครูบาคติใหม่พยายามอ้างอิง โดยกลุ่มครูบาคติใหม่จะสร้างวัดของตนเองให้มีลักษณะท่ียิ่งใหญ่สวยงาม เนน้ การใช้ศิลปะล้านนาประยุกต์ เป็นที่รู้จักของกลุ่มนักท่องเที่ยว ความยิ่งใหญ่ของวัด และ การเป็นพระนักพัฒนา เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ท่ีแสดงให้เห็นถึงบารมขี องครูบาผเู้ ปน็ เจ้าอาวาสวัดนั้น ดังนั้นการสร้างวดั ของกลุ่มครูบาคติใหม่ จึงไม่ได้เป็นเพียงแต่การสร้างวัดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แต่ยังเป็นการสร้างวัดเพ่ือประกาศบารมีของตนเองด้วย ซ่ึงแน่นอนว่า ทุนปัจจัยจานวนมหาศาลที่ถูกนามาสร้างวัดของครูบาคติใหม่เหล่าน้ี ได้มาจากการทาบุญของผ้ทู ่ีมีความศรทั ธาต่อตัวครูบาคตใิ หมเ่ พยี งเท่านน้ั หรือ ไดม้ าจากชอ่ งทางอนื่ ๆ ดว้ ย (ซึง่ หวังว่าจะมผี ู้ศึกษาในมมุ มองน้ีตอ่ ไป) การอ้างอิงตัวเองผ่านว่าเป็นครูบาศรีวิชัยกลับชาติมาเกิด ผู้คนในสังคมหลายคนเช่ือว่าครูบาคติใหม่บางรูปเป็นครูบาศรีวิชัยกลับชาติมาเกิด โดยส่วนนีจ้ ะยกกรณีตัวอย่างอยู่ 2 กรณีหลักคือ กรณีครูบาเทืองนาถสีโล และ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสงฺวโร กรณีครูบาเทือง นาถสีโล โดยครูบาเทืองกล่าวว่า ท่านมีเหตุการณ์สาคัญ 3 ส่ิงในชีวิตท่านที่ทาให้คนเช่ือว่าท่านหนึ่งครูบาศรีวิชัยกลับชาติมาเกิด ประการแรกคือ ท่านเกิดวันเดียวกันวันท่ีครูบาศรีวิชัยมรณภาพ คือท่านเกิดเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2508 ส่วนครูบาศรีวิชัยมรณภาพเม่ือ 20กุมภาพันธ์ 2481 ประการท่ีสองคือ ตามมขุ ปาฐะเก่ียวกับอมมตะวาจาของครูบาศรวี ิชัยทวี่ ่า ภายหลังจากที่ครูบาศรวี ิชัยโดนขอ้ หาคร้ังสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2478 ท่านได้กล่าวไว้ว่า “...หากนา้ ปิงไม่ไหลย้อนขึ้นเหนือ จะไม่ขอกลับมาเหยยี บแผ่นดินเชียงใหม่...” อยา่ งไรก็ตามในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษด์ิ ไดม้ ีการสรา้ งเขื่อนภูมิพลขึ้นโดยสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2508 ซ่ึงตรงกับปีเกิดของครูบาเทือง และประการสุดท้าย เชื่อกันว่าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยสามารถกลับมาตั้งที่เชียงใหม่ได้ในปี 2508 เช่นกัน ดังน้ันจากเหตุการณ์สาคัญ 3 ประการน้ีครูบาเทืองกลา่ วว่าจึงทาให้คนในภาคเหนือเชอื่ กนั วา่ ท่านคอื ครูบาศรีวชิ ัยกลับชาติมาเกิด3 3 วดั บ้านเด่นสะหลีศรีเมืองแกน แม่แต่ง จ เชียนใหม่ครูบาเทือง (ให้สัมภาษณ์เพื่อทาบนั ทึกรายการ 2) (เผยแพร่เมื่อ 6ธนั วาคม 2014) ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=y0svjiYpV0Y

4 “สาต๊.ุ ..เจ้าตนบญุ ปก๊ิ มาเกดิ ”ฯ 4 ในกรณีของครบู าบุญชุม่ ญาณสงวฺ โร เช่นกัน ประวัตคิ รูบาบุญช่มุ บางเอกสารกล่าวว่าท่านเกิดในปี พ.ศ.2505 บางฉบับก็กล่าวว่าท่านเกิดในปี พ.ศ.2508 โดยเม่ือคร้ังท่ีท่านได้บวชเป็นสามเณรอยู่วัดบา้ นด้ายอ.แมส่ าย จ.เชยี งราย ท่านได้มีดารจิ ะสร้างพระธาตุดอยเวียงแกว้ ท่ี อ.เชยี งแสน จ.เชียงราย โดยเลา่ กันว่าท่านได้นิมิตเห็นเป็นสถูปเก่า และเช่ือว่าท่านเป็นผู้ท่ีจะได้เป็นผู้กลับมาบูรณะ แต่อย่างไรก็ตามการบูรณะพระธาตุดอยเวียงแก้วต้องใช้งบประมาณจานวนมาก และด้วยช่ือเสียงของท่านโด่งดังมาขึ้นพื้นที่เชียงใหม่ ชนช้ันนาเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้นิมนต์ท่านขึ้นมาโปรดเมตตาญาติโยมที่เชียงใหม่ แต่ท่านกับปฏิเสธแล้วกล่าวว่า“...เชียงใหม่ หนามนัก(เยอะ) หากเฮาไป หนามจะปัก(ตา)ตีนเฮา...”4 จากคากล่าวนี้ ทาให้คนเชียงใหม่หลายคนเช่ือกันว่า ท่านเป็นครูบาศรีวิชัยมาเกิด ตามความเชื่อเกี่ยวกับมุขปาฐะอมตะวาจาของครูบาศรีวิชัยดังที่กลา่ วไว้ข้างต้น จากท่ีกล่าวมาข้างต้น ทาให้เห็นลักษณะการอ้างอิงตัวเองของกลุ่มครูบาคติใหม่ กับ ภาพลักษณ์ครูบาศรีวิชัย การอ้างอิงดังกล่าวเป็นส่วนหน่ึงของการสร้างบารมีให้แก่กลุ่มครูบาคติใหม่ดว้ ย ทั้งการอ้างอิงว่าตนเองคือครูบาศรีวิชัยกลับชาติมาเกิด การอ้างอิงผ่านภาพลักษณ์จากภาพถ่าย หรือแม้แต่การอ้างอิงลักษณะของการเป็นพระนักพัฒนา ซึ่งเป็นภาพลักษณ์สาคัญของครูบาศรีวิชัย โดนการอ้างอิงกับภาพลักษณ์ของครูบาศรีวิชัย เป็นปัจจยั ทาให้ผู้คนในสังคมเกดิ ความศรัทธาต่อครูบาคตใิ หมอ่ ย่างย่ิง และเป็นที่มาของความเชื่อทวี่ ่า “...เจา้ ตนบญุ ป๊ิกมาเกดิ ...”“ครูบาศรวี ชิ ยั ในอดุ มคต”ิ : การผลติ ซาและการสรา้ งภาพลักษณค์ รบู าศรีวิชัย ทศวรรษ 2470 ช่วงทศวรรษหลัง 2490 เป็นต้นมา เกิดกระบวนการผลิตซ้า และสร้างภาพลักษณ์ให้ครูบาศรีวชิ ัยข้ึนหลายกระบวนการ เช่น การผลิตหนงั สอื ชีวประวตั ิ อนุสาวรีย์ เพลงซอ ภาพถ่าย เครื่องรางและของฝาก เรื่องเล่าตานานมุขปาฐะ และสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้เป็นการสร้างภาพจาของครูบาศรีวิชัยให้อยู่ในพ้ืนฐานการรับรู้และความเข้าใจของผู้คนในปัจจุบัน ซ่ึงรวมถึงกลุ่มครูบาคติใหม่ด้วย โดยถือวา่ เป็นกลุ่มคนท่ีอยู่ภายใต้กระบวนการผลิตซ้าภาพลักษณ์ดังกล่าวสร้างกรอบความเข้าใจต่อครูบา ศรีวิชัยในความทรงจา ท้ังที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้จริงว่า เรื่องราวของครูบาศรีวิชัยที่กระบวนการเหล่านี้ผลิตขึ้น มีความจริงแท้ประการใด มกี ารดดั แปลง หรือสรา้ ง ราวเรอื่ งอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับครบู าศรีวิชยั เพ่ิมมากนอ้ ยแคไ่ หน ซ่ึงบทความสว่ นน้จี ะกล่าวถงึ การผลติ ซา้ และการสร้างภาพลกั ษณ์ครูบาศรีวิชัย 3 ประการ คอื 1. การผลิตหนังสือชีวประวตั ิครูบาศรีวิชยั 2.ภาพถา่ ยครบู าศรีวิชัย 3.อนุสาวรียแ์ ละมขุ ปาฐะที่มาพร้อมการสรา้ งอนสุ าวรีย์ครบู าศรวี ิชัย เพ่ือตอบคาถามวา่ เหตุใดครูบาคตใิ หมจ่ งึ พยายามเชอ่ื มโยงกับความเปน็ ครูบา ศรวี ิชยั หนังสือชีวประวัติครูบาศรีวิชัย ณ ปัจจุบันสามารถรวบรวมได้ถึง 46 โดยฉบับแรกเขียนข้ึนในปี2472 โดยเจ้าสุริยวงศ์ วโรรส และ ล่าสุดในปี 2558 โดยสมาคมชาวลาพูน แต่ละฉบับยังได้รับการตีพิมพ์ซ้าหลายรอบ ยกตัวอยา่ งเช่น หนังสือประวัตยิ ่อและผลงานของครูบาศรีวิชัย ท่ีเขียนโดยหลวงศรีประกาศ ตพี ิมพ์ 4 เสมอชยั พลูสุวรรณ , รัฐฉาน (เมืองไต) พลวัตของชาติพันธ์ุในบริบทประวัติศาสตร์และสังคมการเมืองร่วมสมัย ,กรุงเทพฯ : ศูนยม์ านุษยวทิ ยาสิรินธร (องคก์ ารมหาชน) , 2552 , น.145-147

ณฐั พงศ์ ดวงแก้ว 55ถึง 5 ครงั้ รวมกวา่ 41,000 ฉบับ โดยเปน็ พมิ พ์เพอ่ื ถวายเป็นธรรมทาน5 อกี เล่มหน่ึงคอื หนงั สือประวัติครบู าศรีวิชัย รวบรวมเรียบเรียงโดย พระอานันท์ พุทธธัมโม ได้รับการตีพิมพ์ถึง 9 คร้ัง รวมกว่า 75,650 ฉบับ6 โดยมีการตีพมิ พ์อย่างต่อเนอ่ื ง และเพิ่มความถม่ี ากย่งิ ขน้ึ ส่วนเน้ือหาในหนังสือ ฉบับที่เนื้อหามีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้คนท่ัวไปเป็นงานเขียนของส.สุภาภา โดยเป็นการบรรยายเนื้อหาอย่างละเอียด และมีความเป็นวรรณกรรมสูง สามารถสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก ของเรื่องราวให้แก่ผู้อ่านด้วย ย่ิงไปกว่าน้ันเม่ือนาโครงเรื่อง และ เน้ือหามาเทียบกับบทประพันธ์เพลงซอประวัติครูบาศรีวิชัยที่ประพันธ์โดย แม่ครูบัวซอน ถนอมบุญ ในปี 25207 และการแสดง แสงสีเสียงล้านนาโอเปรา่ น้อมไหว้สาครบู าเจ้า ที่ประพนั ธ์โดย ผศ.วลิ ักษณ์ ศรีป่าซาง ซึง่ แสดงในงานสรงน้าพระบรมธาตุหริภุญชัยฯ จงั หวัดลาพูน เมอ่ื วนั ที่ 9 พฤษภาคม 25578 จะเห็นว่ามลี ักษณะโครงเรื่อง และเนื้อหาทค่ี ลา้ ยคลึงกัน แสดงให้เห็นวา่ หนังสือประวตั คิ รบู าศรีวิชยั ฉบบั ส.สุภาภา มอี ิทธพิ ลตอ่ การสร้างภาพลักษณ์ครูบาศรีวชิ ัยตอ่ การรับรูแ้ ละความเขา้ ใจของผคู้ นในสังคมทง้ั พ้ืนทภ่ี าคเหนือและต่างพ้ืนทเี่ ป็นอยา่ งมาก อยา่ งไรกต็ ามในแงข่ องเนื้อหา และโครงสร้างของหนังสือประวัติครูบาศรีวชิ ัย ใหค้ วามสาคญั ของเนื้อหาและเน้นย้าภาพลักษณ์ในบางประการตามเจตนาของผู้เขียนแตกต่างไป เช่น สุวัฒน์ วรดิลก เน้นความสาคัญกับการนาครูบาศรีวิชัยมาเป็นตัวแทนการต่อสู้ทางการเมือง9 แต่โดยส่วนมากแล้ว หนังสือชีวประวัติครูบาศรีวิชัยมักจะมีโครงเร่ืองเน้ือหาที่คล้ายคลึงกันเกือบทั้งหมด คือตั้งแต่ เกิด การเข้าสู่เพศบรรพชติ การบาเพ็ญ ผลงานของครบู าศรีวิชัย จนถงึ วาระสุดทา้ ยของชวี ิต หากสรุปเนื้อหาภาพรวมหนังสือประวัติครูบาศรีวิชัยทุกเล่ม ให้เห็นถึงลักษณะการผลิตซ้าภาพลักษณ์ครูบาศรวี ิชัยทสี่ าคญั ๆ คอื 1.เรือ่ งปาฏหิ าริยก์ ับการกาเนิด และ การต่อส้ดู ้ินรนตอ่ ความยากลาบากจากความยากจนต่างๆ 2.ความฝักใฝ่ต่อการเข้าสู่เพศบรรพชิต 3.ลักษณะจิตใจท่ีแตกต่างไปจากบุคคลท่ัวไปเช่น การมีเมตตาสูง ความสนใจในทางธรรม 4.กรณีของขอ้ ขัดแย้งระหวา่ งครูบาศรีวิชัยกบั รัฐสว่ นกลาง ในสว่ นน้มี ีความแตกต่างในการตีความบ้างในบางเล่ม เช่น อธิบายถึงความไม่เข้าใจกันระหว่างส่ิงใหม่และส่ิงเก่า การพน้ โทษจากพระเมตตาของสมเด็จสังฆราช10 หรือ มองวา่ ครูบาศรีวิชัยเปน็ ผู้นาในการต่อต้านอานาจกรงุ เทพฯและส่วนที่ถูกให้ความสาคญั มากทีส่ ุดคือ 5. การบูรณะ ซึ่งใหภ้ าพลกั ษณก์ ารเป็นพระนกั พัฒนาแกค่ รูบาศรีวิชัยโดยจะชใี้ หเ้ ห็นถึงจานวนสถานทท่ี ่คี รบู าศรวี ิชยั ไดเ้ ดินทางไปบูรณะ และสถานทท่ี ส่ี าคัญที่สุด และมกั ถกู มองว่าเป็นผลงานช้ินโบว์แดงของครูบาศรีวิชัยคือ การสร้างถนนข้ึนพระธาตุดอยสุเทพ เพราะฉะน้ัน จากเนื้อหา 5 ศรีประกาศ, หลวง , (พมิ พค์ ร้ังที่ 5) , ประวตั ยิ ่อและผลงานของครูบาศรีวชิ ัย, เชียงใหม่:ธนบรรณการพมิ พ์ ,2538 6 สมาคมชาวลาพนู , (พมิ พค์ ร้ังท่ี 9) , ครูบาเจ้าศรีวชิ ัย นักบุญแห่งลานนา ศรีหริภุญชัย , เชียงใหม่ : โรงพมิ พน์ นั ธ์ , 2559 7 พระจรินทร์ อินศวร , การสร้างสรรค์วรรณกรรมบทซอประวัติพระสงฆ์ในล้านนา , วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบณั ฑิต สาขาวชิ าภาษาและวรรณกรรมลา้ นนา บณั ฑติ วทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ปี การศึกษา 2557 8เ ท ป บั น ทึ ก ก า ร แ ส ด ง ล้ า น น า โ อ เ ป ร่ า น้ อ ม ห ห ว้ ส า ค รู บ า เ จ้ า ( The Master Edition) , ท่ี ม าhttps://www.youtube.com/watch?v=JfUYQvnkWzM , สืบคน้ เมื่อ 25/7/2559 , เผยแพร่เม่ือ 24 พ.ค. 2014 9 ศิวะ รณชิต (นามแฝง) , พระของประชาชน, กรุงเทพฯ: สารศึกษาการพมิ พ์ , 2519 10 ส.สุภาภา , ชีวติ และผลงานของครูบาศรีวชิ ัย , พระนคร : สานกั พมิ พค์ ลงั วทิ ยา , 2499

6 “สาต.ุ๊ ..เจา้ ตนบุญป๊ิกมาเกดิ ”ฯ 6เหล่านี้จะสะท้อนให้เหน็ การนาเสนอและผลิตซ้าภาพลักษณค์ รบู าศรีวิชัยอยู่หลายประการเช่น การเปน็ ตนบุญการเป็นพระผู้เมตตา การเป็นพระนักพัฒนา และเรื่องภาพลักษณ์เกี่ยวกับปาฏิหาริย์ต่างๆ ภาพลักษณ์ และเค้าโครงประวัติที่ถูกผลิตซ้าอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ กลายมาเป็นพ้ืนทางการรับรู้และความเข้าใจของผู้คนในปัจจุบัน รวมถึงกลุ่มครูบาคติใหม่ ต่อเร่ืองราวของครูบาศรีวิชัย อีกทั้งยังเป็นเค้าโครง และ ภาพลักษณ์ที่เป็นตน้ แบบทก่ี ลุ่มครบู าคตใิ หมน่ าไปเป็นสว่ นหนงึ่ ของการสรา้ ง และ การนาเสนอภาพลักษณ์ของตนเอง ท้งั แง่การเขียนประวัติตนเอง การเลา่ ต่อ และนาไปเปน็ วตั รปฏิบัติเช่นกนั อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ช่วยผลติ ซ้าและสร้างภาพลักษณ์ครูบาศรีวิชัยเชน่ กัน โดยสว่ นนีจ้ ะกล่าวถึงเฉพาะการสร้างอนุสาวรีย์ท่ีเชิงดอยสุเทพเปน็ หลกั โดยอนสุ าวรยี ค์ รูบาศรวี ิชัยเริ่มมีดาริสร้างเม่ือปี 249911 โดยคณะกรรมการจัดสร้างจากจังหวัดเชียงใหม่ นาโดย หลวงศรีประกาศ และ เจ้าแกว้ นวรัฐ การสร้างอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เป็นการประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ครูบาศรีวิชัย ให้ยืนเด่นอยู่คู่กับผลงานช้ินโบว์แดงของท่าน คือการสร้างถนนข้ึนดอยสุเทพ และแน่นอนว่าเรื่องราวการสร้างถนนข้ึนพระธาตุดอยสุเทพ เป็นอีกส่วนหน่ึงในชีวประวัติครูบาศรีวชิ ัยที่ถูกให้ความสาคัญมากส่วนส่วนหนึ่งในช่วงชีวิตและผลงานของครูบาศรีวิชัย ดังนั้นเร่ืองเก่ียวกับสร้างถนนข้ึนดอยสุเทพจึงกลายมาเป็นการรับรู้และความเข้าใจหลกั หน่งึ ของผู้คนในปจั จุบนั ต่อเร่ืองราวของครูบาศรวี ชิ ัย ในแง่ของภาพลักษณ์ท่ีปรากฏผ่านตัวอนุสาวรีย์ เช่น ลักษณะท่าทาง ลักษณะการนุ่งห่ม โดยภาพลักษณ์ที่อนุสาวรีย์ได้นาเสนอออกมาถือ การนุ่งผ้ารัดอก ห้อยลูกประคา ถือไม้เท้า ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นส่ิงหนึ่งท่ีเป็นความเข้าใจและการรับรู้ของคนในปัจจุบันต่อลักษณะภาพลักษณ์การนุ่ งห่มของครูบาศรีวชิ ัย และกลุ่มครูบาคติใหม่เหล่านี้จึงได้นาภาพลักษณ์เหลา่ นจ้ี ากการับรูแ้ ละความเข้าใจของตนเอง นาไปใช้เป็นวัตรปฏิบัติเพ่ือเช่ือมโยงตนเองเข้ากับความเป็นครบู าศรีวิชยั และกล่าววา่ สง่ิ เหล่านถ้ี ือสิ่งที่ครูบาศรีวิชัยถือเปน็ วัตรปฏบิ ัตขิ องท่าน ซ่ึงแน่นอนวา่ ภาพลกั ษณต์ า่ งๆ เหลา่ นน้ั ยงั ไมส่ ามารถยืนยันได้ตามหลกั ฐานร่วมสมัยว่าครบู าศรีวิชยั ได้ปฏิบตั ิอย่างนน้ั อยู่ตลอดเวลาหรือไม่ ครูบาศรีวิชยั ใส่ผ้ากรักแดงจริงหรอื ไม่ ส่ิงเหล่าน้ีกลายเป็นขอ้ สงสยั และข้อถกเถยี งกันในกลุ่มนักวิชาการทส่ี นใจประเดน็ เรอ่ื งครบู าศรวี ิชัยอยใู่ นปัจจุบัน ย่ิงไปกว่าน้ันในกระบวนการสร้างอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ปรากฏตานานท่ีเกี่ยวพันกับการก่อสรา้ งด้วย ตานานดงั กล่าวเกี่ยวโยงกับความเชื่อเร่ือง อมตะวาจาครูบาศรวี ิชยั ท่เี ช่อื ว่า ภายหลงั ครูบาศรวี ชิ ัยถูกอธิกรณ์คณะที่สรา้ งถนนขึ้นดอยสเุ ทพ และไม่ไดร้ ับความชว่ ยเหลือจากกล่มุ ชนชั้นนาเชียงใหม่ ครบู าศรีวิชัยกล่าวอมตะวาจาว่า “...หากน้าปิงไม่ไหลย้อนขึ้นเหนือ จะไม่ไปเหยียบแผ่นดินเชียงใหม่อีก...” ภายหลังจากการพ้นขอ้ กล่าวหาครบู าศรีวชิ ัยกไ็ ม่ได้ข้ึนมาเชียงใหม่อีกจนคราวมรณภาพ ภายหลังในปี 2507 รัฐบาลได้สรา้ งเช่อื มภูมิพลทจ่ี ังหวดั ตาก จึงทาให้นา้ เอ่อท่วม การสรา้ งอนุสาวรียค์ รูบาศรีวชิ ัยจึงเปรียบเสมอื นอมตะวาจาของ 11 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ,(4)ศธ.2.2.3.1/11 , การสร้างอนุสาวรีย์พระศรีวชิ ัยเพื่อนาไปประดิษฐานบริเวณเส้นทางขึ้นสู่ดอยสุเทพจังหวดั เชียงใหม่ (พ.ศ.2499-พ.ศ.2506)

ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว 77ครูบาศรีวิชัยนั้นได้เสื่อมและถอนไป12 ตามความเช่ือจึงเช่ือว่าอนุสาวรีย์จึงสามารถประดิษฐานได้ในปี 2508ทั้งที่จริงการสร้างอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยมีการดาริและเริ่มดาเนินการต้ังแต่ปี 2499 เป็นต้นมา และสาเร็จจนนามาประดิษฐานตั้งแต่ปี 2506 แล้ว13 ความเชื่อเกี่ยวกับตานานการสร้างอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ถูกนาไปเชื่อมโยงกับการขึน้ มาเปน็ ครบู าคติใหม่ของครูบารูปสาคญั ท่านหนง่ึ ดว้ ย 14 ดงั ทีก่ ล่าวมาขา้ งต้น ความสาคัญขององค์พระธาตุดอยสุเทพ ในฐานะสถานที่ท่องเท่ียวสาคัญของจังหวัดเชียงใหม่สังเกตจากคาขวัญจังหวัดเชียงใหม่ที่กล่าวว่า “...ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุพชาติล้วนงามตา งามล้าค่านครพิงค์...” นักท่องเที่ยวที่ไปเท่ียวเชียงใหม่จึงเชื่อกันว่าหากไม่ได้ไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพเปรียบเสมือนไปไม่ถึงเชียงใหม่ จากความสาคัญดังกล่าวขององค์พระธาตุดอยสุเทพ เป็นอีกอิทธิพลหน่ึงที่ทาให้ภาพลักษณ์ครูบาศรีวิชัยย่ิงไปตามไปด้วย เพราะหากข้ึนไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพก็จาเป็นต้องแวะไปกราบนมสั การอนุสาวรียค์ รูบาศรีวิชัย และทุกวนั น้ียงั คงมีใส่บาตรพระสงฆท์ ่ีลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชยั อกี ท้ังยังเป็นพ้ืนท่ีบนบานขอพรของผู้คนจานวนมากท่ีเคารพและศรัทธาในตัวครูบาศรีวิชัย15 จึงถือได้ว่า อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยเป็นอีกหน่ึงพ้ืนที่ที่ช่วยผลิตซ้าและสร้างภาพลักษณ์ รวมถึงตานานมุขปาฐะที่เกี่ยวข้องกับความเปน็ ครูบาศรีวชิ ยั ด้วย กลา่ วโดยสรปุ กระบวนการผลติ ซา้ และการสร้างภาพลกั ษณ์ใหแ้ ก่ครูบาศรวี ิชยั ต้ังแต่ 2499 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่ากระบวนการต่างๆ ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศคุณงามความดีของครูบาศรีวิชัย แต่อย่างไรก็ตามผลอีกด้านหนึ่งของกระบวนต่างๆ เหล่านั้นทั้ง หนังสือชีวประวัติ และ การสร้างอนุสาวรยี ์ ณ เชิงทางขน้ึ พระธาตดุ อยสเุ ทพ เป็นการผลติ ซา้ และสร้างภาพลักษณ์ของครูบา ศรีวชิ ยั ในกลายเป็นการรับรู้และความเข้าใจหลักของผู้คนในสังคม โดยไม่รู้ว่ากระบวนการเหล่านั้นมีการสร้างเสริมเติมแต่งภาพลักษณ์อะไรบ้าง หรือแม้แต่ตง้ั คาถามว่าภาพลักษณเ์ หล่าน้ันสามารถพิสูจน์ได้ตามหลกั ฐานประวัติศาสตร์มากน้อยแค่ไหน ดังน้ันจึงถือได้ว่าการรับรู้และความเข้าใจของผู้คนในสังคมปัจจุบันต่อเรื่องราวเกี่ยวกับครบู าศรีวชิ ัย อยภู่ ายใต้กระบวนการการและสร้างภาพลกั ษณใ์ หแ้ ก่ครบู าศรีวิชัยเป็นส่วนใหญ่ ดังน้นั จากการศึกษาพบว่า เมอ่ื ผู้คนในสงั คม รวมถึงกลุ่มครบู าคติใหม่ด้วย ซึ่งกถ็ ือว่าเป็นกลุ่มคนหนึ่งที่อยู่ภายใต้กระแสกระบวนการเหล่าน้ีด้วยเช่นกัน มีลักษณะความเข้าใจต่อภาพลักษณ์ของครูบาศรีวิชัย 12เพญ็ สุภา สุขะตะใจอินทร์ ,ปริศนาโบราณคดี “เง่ือนงาแห่งอมตะวาจาของครูบาศรีวชิ ัย หากน้าปิ งไม่ไหลย้อน จักไม่ขอเหยยี บนครเชียงใหม่ (1) , มติชนสุดสัปดาห์ปี ท่ี , 35 ฉบบั ท่ี 1795 [9-15 ธ.ค.2558] , ปริศนาโบราณคดี “เง่ือนงาแห่งอมตะวาจาของครูบาศรีวิชัย หากน้าปิ งไม่ไหลย้อน จักไม่ขอเหยียบนครเชียงใหม่ (2) , มติชนสุดสัปดาห์ปี ที่ , 35 ฉบบั ที่ 1796 [16-22 ธ.ค.2558] , ปริศนาโบราณคดี“เง่ือนงาแห่งอมตะวาจาของครูบาศรีวชิ ัย หากน้าปิ งไม่ไหลย้อน จักไม่ขอเหยยี บนครเชียงใหม่ (จบ) , มติชนสุดสปั ดาห์ปี ท่ี , 35ฉบบั ที่ 179 [23-29 ธ.ค.2558] 13 หอจดหมายเหตุเฉลมิ พระเกียรติจงั หวดั เชียงใหม่ , ชม.1.2.22/12 , เร่ืองการก่อสร้างอนุสาวรีย์ครูบาศรีวชิ ัย 2506-2508 14 ครูบาเทือง นาถสีโร วดั บา้ นเด่น อ. แม่แตง เชียงใหม่ ตอน1รายการบนั ทึกลบั แดนสยาม (ใหส้ ัมภาษณ์เพอ่ื ทาบนั ทึกรายการ) (เผยแพร่เม่ือ 1 ธนั วาคม 2014) ท่ีมา : https://www.youtube.com/watch?v=31nKy10sC20 15 สงั เกตการณ์ร่วมใส่บาตรพระสงฆ์ สามเณร ณ ลานอนุสาวรียค์ รูบาศรีวชิ ยั เม่ือ 18 พฤศจิกายน 2558

8 “สาตุ.๊ ..เจา้ ตนบุญป๊กิ มาเกิด”ฯ 8ตามกระแสของกระบวนการผลิตซ้าภาพลักษณ์เหล่านั้น ดังนั้นจึงเป็นส่ิงหน่ึงที่กลุ่มครูบาคติใหม่นาการรับรู้และความเขา้ ใจต่างๆ เกยี่ วกับครบู าศรีวชิ ัยเหล่าน้ไี ปใชเ้ ป็นส่วนหน่ึงในการเช่ือมโยงและสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ตนเอง เพ่ือเป็นจุดขายหนึ่งให้ผู้คนในสังคมที่มีพ้ืนฐานการับรู้และความเข้าใจต่อเร่ืองราวครูบาศรีวิชัยเช่นเดียวกันกับกลุ่มครูบาคติใหม่ มีความสนใจและศรัทธาต่อกลุ่มครูบาคติใหม่เหล่าน้ัน และพร้อมจะเช่ือกันว่า ส่ิงท่ีครูบาคติใหม่เหล่านั้นปฏิบัติเป็นวัตรปฏิบัติท่ีครูบาศรีวิชัยปฏิบัติ และเป็นภาพลักษณ์ของสาคัญของการเป็น “ครบู า” “ตนบญุ ” และ “เกจ”ิ ของกลุ่มครบู าคตใิ หม่ (ซึง่ จะกลา่ วต่อไป)“เฮง.. เฮง.. รวย.. รวย..” : การตอบนองความไม่มน่ั คงของคนในสงั คมปจั จุบัน ลักษณะสาคัญอีกประการหน่ึงของกลุ่มครูบาคติใหม่ คือ สามารถสนองความไม่มั่นของผู้คนในสังคมปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการพยายามปรับตัวเพื่อให้ตนเองสามารถตอบสนองความไม่ม่ันคงของผู้คนในสงั คม จงึ เป็นอีกปจั จัยหนงึ่ ทีท่ าใหค้ รูบาคตใิ หม่มีเชือ่ เสียง และมีผหู้ ลั่งไหลเขา้ มาศรทั ธาจานวนมาก กลุ่มคนท่ีเข้ามาศรัทธากับครูบาคติใหม่ มีอยู่หลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มท่ีเป็นชนชั้นกลางจากกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด กลุ่มคนในพ้ืนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ หรือ ชนกลุ่มน้อยจานวนมาก ซ่ึงแตกละกลุ่มต่างมีลกั ษณะของความไม่ม่ันคงในชีวิตที่แตกต่างกันไป เช่น กลุ่มชนชั้นกลางมักมีความไม่ม่ันคงในแง่ของอาชีพการงาน หรือ ปัญหาครอบครัว กลุ่มชาวบ้านท่ัวไปอาชีพการงานที่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายของรัฐท่ีไม่ม่ันคง หรือแม้แต่การเข้าไม่ถึงระบบสวัสดิการของรัฐ ส่วนชนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์ จากการลงพ้ืนท่ี หลายคนมักมีปัญหาเรื่องกับความม่ันคง และการถูกทาให้เป็นชายขอบของสังคม อย่างไรก็ตามเนื้อหาส่วนนี้ จะกล่าวถึงเพยี งความไม่ม่นั คงของกล่มุ คนชนช้ันกลางเป็นหลัก ความปัจเจกและความเป็นพหุนิยมทางศาสนา เป็นอกี ปัจจัยหน่ึงที่ทาให้กล่มุ คนเหลา่ นี้สามารถที่จะเข้าศรัทธากลุ่มครูบาคติใหม่ได้อย่างไม่รู้สึกแปลกใจในความเป็นพหุความเช่ือท่ีปรากฏในวัดของครูบาคติใหม่ อีกทั้งกลุ่มครูบาคติใหม่แต่ละรูปมีลักษณะท่ีแตกต่างกันไป เช่น ครูบาน้อย และ ครูบาอริยชาติ มักมีลักษณะไปในแนวทางเมตตามหานิยม อาจเรียกได้ว่า “พุทธพาณิชย์ และ ไสยพาณยิ ช์” ได้ ส่วน ครูบาบญุ ชุ่มญาณสงวโร มีลักษณะคล้ายกับพระป่า โดยครูบาบุญชุ่ม มักจะได้รับการเรียกขานว่า “อรัญวาสีภิกขุ”เชน่ เดยี วกัน รสนยิ มทางศาสนาของผูค้ นในสังคมปัจจบุ นั สามารถท่จี ะเลือกศรัทธาครูบารูปใดก็ได้ ตามรสนิยมทต่ี นเองชื่นชอบ ดังน้ันครูบาคติใหม่หนงึ่ องค์ จะไม่ได้มีเพียงกลุ่มลูกศษิ ย์เพียงกลุม่ เดียว และ ลูกศิษยห์ น่ึงคนก็ไมจ่ าเปน็ จะต้องศรัทธาครบู าคติใหม่เพียงรูปเดียวด้วยเช่นกัน หรือศรัทธาเพยี งครบู าคตใิ หมเ่ ท่านน้ั ความเป็นพหุนิยมทางศาสนา ซึ่งเป็นพ้ืนฐานความหลากหลายทางศาสนาในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้ว16 วัดของครูบาคติใหม่จึงไม่มีเพียงแค่รูปเคารพที่เป็นเพียงความเชื่อของพุทธด้วย ลักษณะพ้ืนฐานความเช่ือท่ีเป็นพหุนิยมของคนในสังคมจึงทาให้คนที่เข้าศรัทธาไม่รู้สึกแปลกกับการเห็นวัดทีม่ ีรปู เคารพหลายความเช่อื รวมถงึ ความหลากหลายลกั ษณะในตวั ครบู าคตใิ หม่16 ดู ปรานี วงษเ์ ทศ , สังคมและวฒั นธรรมในอุษาคเนย์ , กรุงเทพฯ : เรือนแกว้ การพพิ ม์ , 2539

ณัฐพงศ์ ดวงแกว้ 99 ลักษณะการปรับตัวของครูบาคตใิ หมท่ ่ีเนน้ สนองความหลากหลายทางความเชือ่ ของผคู้ นในสงั คมครูบาคติใหม่บางรูปจึงจาเปน็ ต้องสร้างรูปเคารพท่ีสามารถตอบสนองความเป็นพหุนิยมทางศาสนาของผูค้ นให้ได้ ดังกรณีวัดของครูบาอริยชาติ ปรากฏรูปป้ันเทวรูปสาคัญๆ จานวนมาก เช่น เจ้าแม่กวนอิม พระพิฆเนศพระพรหม เทพทันใจ เทพกระซิบ ซ่ึงเป็นผีนัตในความเช่ือของคนพม่า หรือแม้กระท่ังรูปปั้น นางกวักอ้วน17หรือแม้แต่ในวัดของครูบาเทือง วัดบ้านเด่นสะหลีศรีเมืองแกน มีการสร้างวัดอย่างย่ิงใหญ่ มีพระธาตุถึง 12องค์ แต่ละองค์จะเป็นพระธาตปุ ระจาปีนักษัตรตามความเชอ่ื ของผูค้ น18 ในแง่ความไม่ม่ันคงในครอบครัว เป็นอีกความไม่ม่ันคงหน่ึงที่ทาให้คนเหล่านี้เข้ามาศรัทธาตัวครูบาคติใหม่ มีผู้ศรัทธาครูบาคตใิ หมท่ ่านหนึ่ง เป็นผ้หู ญิงชนชั้นกลางจากรุงเทพฯ กลา่ วถงึ ปญั หาในครอบครวั ท่ีต้องแยกทางกับสามี เพราะสามีของเธอมีผู้หญิงอื่น เธอกล่าวช่วงเวลาดังกล่าวเธอเครียดมาก เครียดถึงข้ันคิดจะเอาปืนไปยงิ ผู้หญิงคนท่ีเข้ามามีสัมพันธ์กับสามีของเธอ แต่เธอตัดสินใจท่ีจะไม่ทา จึงหันมาทาบุญ ขอพรกับครูบาคติใหม่ทา่ นหนึ่ง โดยเธอกลา่ วว่าเธอได้ซื้อน้าต้นท่ีทาจากเงิน(คนโท) เพ่อื ขอให้ครูบาชว่ ยกรวดนา้ อทุ ิศให้เจ้ากรรมนายเวรช่วงท่ีครูบาเข้านิโรธกรรม เพื่อให้เขาพ้นจากเคราะห์กรรมที่เขากาลังประสบ เธอกล่าวว่าหลายหลังจากที่ครูบากรวดนา้ อุทิศให้ เธอรู้สึกวา่ ชีวิตของเธอโล่งและดีข้ึน พลิกจากหลังมือเป็นหน้ามือ ทาให้เธอใจเยน็ ข้นึ มีสติ มีสมาธมิ ากข้นึ เธอจึงเช่อื และศรทั ธาตัวครูบาคติใหมอ่ ยา่ งยิง่ กลุ่มชนช้ันกลางทเ่ี ป็นลูกศิษย์ครูบาคตใิ หม่ ส่วนใหญ่มกั เป็นกลุ่มนกั ธุรกิจ หรือ ข้าราชการ กลุ่มคนเหล่าน้ีต่างมีไม่ความมั่นคงในแง่ของการช่วงชิงแข่งขันในหน้าที่การงาน สภาวะความไม่ม่ันคงดังกล่าวเกดิ ขน้ึ จากระบบเศรษฐกิจทุนนยิ ม เพราะฉะนั้นความสามารถจึงอาจจะไม่ใช่เพียงปัจจัยสาคัญที่จะสามารถทาใหก้ ลุม่ คนเหล่านี้บรรลุถึงเป้าหมายหน้าท่ีการงาน ดังนั้นกลมุ่ คนเหล่านี้จึงหันมาพ่ึงพาสงิ่ ศักด์ิสิทธิ์ และกลุ่มครูบาคติใหม่เพ่อื เสริมสรา้ งความมั่นใจในการทางาน หากกล่าวถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจท่ีมีผลกระทบต่อสภาวะความไม่ม่ันคงต่อธุรกิจการงานของผู้ศรัทธากลุ่มครูบาคติใหม่ที่ชัดเจนท่ีสุด มักได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ปี 40 หรือที่รู้จักในช่ือ วิกฤติการณ์ตม้ ยากุ้ง และ วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ในช่วงทศวรรษ 2550 อย่างผู้ศรัทธาท่านหน่ึงกลา่ วว่ามีปัญหาเร่ืองที่ดิน ท่ีขายไม่ได้ และโดนโกง เมื่อได้เข้ามาศรัทธาครูบาคติใหม่ได้ขอบารมีครูบาช่วย โดยได้นาโฉนดที่ดินมาขอใหค้ รบู าคติใหม่ช่วยมนต์ และนาไปวางไวห้ นา้ พระขณะท่ีทา่ นสวดมนตเ์ ย็น หลังจากนั้นกท็ าให้เขาขายทีด่ ินได้ โดยเป็นการขายทเ่ี ขากลา่ ววา่ เปน็ เรอ่ื งบงั เอญิ และมหัศจรรย์มาก จากความไม่มั่นตา่ งๆ ของกลุ่มคนเหลา่ น้ี กลมุ่ ครบู าคตใิ หม่จึงมีการสร้างปรับพธิ ีกรรมและการให้ความหมายกับพิธีกรรมเพื่อตอบนองความไม่ม่ันคงน้ันๆ ของผู้คน โดยพิธีกรรมที่ถูกดึงมาใช้หลักๆ ทุกๆงานประเพณีที่จัดขึ้นท่ีวัดของครูบาคติใหม่คือ พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์-สืบชะตาหลวง ซ่ึงถือว่าเป็นพิธีกรรมของล้านนาเดิม เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คณะลูกศรัทธา อีกท้ังยังมีการให้ความหมายใหม่ๆ ในบางพิธีกรรมเช่น 17 สงั เกตการณ์งานกฐินครูบาอริยชาติ อริยจิตโต อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เมื่อ 7-9 พฤศจิกายน 2558 18 งานฉลองอายวุ ฒั นมงคล 51 ปี ครูบาเทือง นาถสีโล ณ วดั บา้ นเด่นสะหลีศรีเมืองแกน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เมื่อ 21-22มีนาคม 2558

10 “สาต๊.ุ ..เจ้าตนบุญปก๊ิ มาเกิด”ฯ 10การสร้างพระเจ้าทันใจ ในอดีตเป็นการสร้างเพื่อเสี่ยงทายสู่ความสาเร็จในงานใหญ่ๆ ข้างหน้า เช่น หากจะมีการสร้างพระวิหาร จะต้องมีการเสี่ยงทายว่าจะสามารถสร้างพระเจ้าทันใจได้สาเร็จภายใน 24 ชั่วโมงหรือไม่หากทาสาเร็จ กเ็ ชือ่ กันวา่ การสรา้ งวิหารในภายภาคหน้าจะสาเร็จตาม แตอ่ ย่างไรก็ตามในกลุ่มครูบาคตใิ หม่ ได้ให้ความหมายใหม่แก่พิธีกรรมดังกล่าว เช่น สร้างพระเจ้าโคตรทันใจ รวยทันใจ หรือรวมถึงพระเจ้ารวยมหาสาน(ศาล19) ซ่ึงในอดีตการสร้างพระจากไม้สานมีปรากฏอยู่แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ แต่จะให้ช่ือในอีกลักษณะหน่ึง เช่น พระเจ้าอินทร์สาน ซ่ึงหมายถึง พระพุทธรูปท่ีพระอินทร์เป็นผู้สาน การให้ความหมายใหม่ๆ เหล่าน้ีกับพิธีกรรม หรือการปรับพิธีกรรมเก่าให้มีลักษณะสามารถนามาตอบโจทย์ความไม่มั่นคงของผู้คนได้ เป็นอีกกระบวนการหนง่ึ ของครบู าคตใิ หม่เพ่ือดึงพลังศรัทธาจากกล่มุ คนในปัจจบุ ัน“เจา้ ใหญ่นายโตเป่นิ ยังมาไหว้” : การสรา้ งบารมผี ่านการอิงแบบกับ “อานาจรฐั ” การอิงกับอานาจรัฐเป็นอีกปัจจยั หนึ่งที่ช่วยเสรมิ สรา้ งบารมแี ก่ตัวครบู าคติใหมด่ ว้ ย โดยการองิแอบท่ีสงั เกตไดช้ ดั จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คอื การอิงกบั อานาจรฐั ฝา่ ยสงฆ์ และ การอิงอานาจรัฐฝ่ายฆราวาส กล่มุชนชน้ั สูง และ กลุ่มนักการเมือง กลุ่มครูบาคติใหม่พยายามจะอิงตัวเองอยู่กับอานาจของกลุ่มพระสงฆ์ที่มีอานาจฝ่ายปกครองโดยการรับตาแหน่งพระครูฐานานุกรมของพระราชาคณะที่สามารถแต่งตั้งตาแหน่งฐานานุกรมได้20 หรือรับตาแหน่งจากคณะสงฆ์ส่วนกลาง เช่นตาแหน่งพระครูต่างๆ 21เน่ืองจากลักษณะของกลุ่มครูบาคติใหม่ มักถูกมองในแง่ลบจากกลุ่มพระสงฆ์ทั่วไปบางกลุ่ม เช่นถูกมองว่าเป็นกลุ่มพระสงฆ์ที่ทาผิดครรลองของ พ.ร.บ.สงฆ์โดยเฉพาะเรื่องสีผ้าที่นุ่งห่ม ไม่เป็นไปตามการบัญญัติของคณะสงฆ์ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มครูบาคติใหม่ เชน่ การจัดงานพิธีกรรมบางอย่างทถ่ี ูกมองว่าเป็นกลุ่มลทั ธิพิธีท่ีแปลกใหม่ผดิ ครรลองพุทธศาสนาฝ่ายคณะสงฆ์ส่วนกลาง ดังนั้นการอิงแอบอานาจจากอานาจฝ่ายปกครองโดยการรับตาแหน่งพระครูฐานานุกรมจึงเป็นสิ่งหน่ึงท่ีจะสามารถปกป้องตัวครูบาคติใหม่ และ กิจกรรมต่างๆ บางอย่างของกลุ่มครูบาคติใหม่ได้ อีกท้ังการรับตาแหน่งต่างๆ ดังกล่าวของกลุ่มครูบาคติใหม่ เป็นอีกช่องทางหน่ึงท่ีทาให้ผู้คนเชื่อม่ันและได้รับการนับถือเพิ่มข้ึนจากผ้คู นในชุมชนใกล้เคยี ง ไม่เพียงแต่การอิงอานาจฝ่ายจากพระสงฆ์ฝ่ายปกครองเท่าน้ัน การอิงอานาจบุคคลของรัฐ เช่นชนช้ันสูง และ กลุ่มนักการเมือง เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยเสริมบารมีให้แก่ตัวครูบาคติใหม่และสามารถปกป้องการต่อต้านของกลุ่มคนท่ี ยกตัวอย่างกรณีสาคัญเช่น ในงานกฐินประจาปี 2558 ของครูบาอริยชาติอริยชาติโต ได้เชิญพล.เอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ในการเป็นประธานในบัตรพลีบวงสรวงและวางศิลาฤกษ์พระสมเด็จองค์ปฐมโพธิญาณ หน้า 19 สงั เกตการณ์งานกฐินครูบาอริยชาติ อริยจิตโต อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เม่ือ 7-9 พฤศจิกายน 2558 20 ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต หดต้ าแหน่งพระครูปลดั อริยชาติ อริยจิตโต และ ครูบาเจษฎา จิรสีโล หดต้ าแหน่ง พระครูวนิ ยั ธร ฐานานุกรมในพระเทพสิทธินายก เจา้ คณะจงั หวดั เชียงราย 21 ครูบานอ้ ย เตชปัญโญ พระครูสิริศีลสงั วร , ครูบาเทือง นาถสีโล หรือ พระครูหพศาลพฒั นโกวิท และ ครูบามนตรี ธมั มเมธี หรือ พระครูวฑิ ิตพพิ ฒั นาภรณ์

ณัฐพงศ์ ดวงแกว้ 1111ตกั 45 เมตร สงู 32 เมตร หรอื ในงานฉลองสมโภช 9 ปี 9 เดือน 9 วนั การสรา้ งวดั แสงแกว้ โพธิญาณ ครบู าได้เชิญพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เป็นประธานในพิธีและทรงเป็นประธานมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนในพ้ืนท่ีจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และลาพูน โดยทุนการศึกษาดังกล่าวได้รับทุนสนบั สนุนการธนาคารออมสินถึง สองล้านบาท22 ผลประโยชน์ท่ีจากการแอบอิงอานาจรัฐ การอิงอาศัยกันแบบระบบอุปถัมภ์ ระหว่างกลุ่มครูบาคติใหม่และกลุ่มอานาจรัฐทั้งฝ่ายฆราวาส และ ฝ่ายคณะสงฆ์ เป็นการอิงอาศัยและได้ประโยชน์ซึ่งกันและกันโดยผลประโยชน์ท่ีจะเกิดกับกลุ่มครูบาคติใหม่ท่ีสาคัญท่ีสุดคือการเสริมสร้างบารมีของตนเอง ดังผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เจ้าของโรงแรมครั้งเมื่อไปพักขณะลงพื้นที่สังเกตการณ์ กล่าวว่า “...เจ้าใหญ่นายโต เปิ่นลุกไหนลุกเบา่ มา เปน่ิ ยงั เสาะกั๋นมาไหว้ แสดงว่าบารมีเป่ินสูง ไหว้ก่อไคไ่ หว้ละกาน.ี้ ..”23 เพราะฉะนั้น การมาของกลุ่มชนชนั้ สงู และกลุ่มนกั การเมอื ง จึงเป็นการมาเพื่อชว่ ยเสริมบารมีใหแ้ ก่ครูบาคติใหม่รูปนนั้ ๆ ยิ่งกว่านัน้ ยังเป็นการเสริมสร้างแรงศรัทธาของผ้คู นทม่ี ตี ่อครูบาคตใิ หม่ดว้ ย ในกลุ่มนักการเมือง ผลประโยชน์ที่ไดร้ ับมักเป็นฐานอานาจการเมืองจากผู้คนในพ้ืนที่ หากดูจากกระแสความชัดแย้งทางการเมืองในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พื้นที่ภาคเหนือถือว่าเป็นพื้นท่ีกลุ่มการเมืองท่ีเป็นฐานเสียงของพรรคเพ่ือไทย ซึ่งคงความไม่พอใจต่อการทารัฐประหารครับคณะรักษาความแห่งชาติ (คสช.)ดังน้ันการมาของ พลเอก.ประวิตร วงศ์สุวรรณ หน่ึงในคณะรักษาความสงบ จึงไม่ได้มาเพียงเพราะเชื่อหรือศรัทธาต่อตัวครูบา แต่การมาคอื การยมื ช่ือเสียงและบารมีของครูบาในฐานะเกจิท่ีมีผู้คนศรัทธาจานวนมาก ท้ังท่เี ป็นคนในและนอกพน้ื ทภี่ าคเหนือ สร้างฐานอานาจทางการเมอื งของตนเอง อยา่ งไรก็ตามสิ่งท่ีน่าสนใจคือการวางตัวของครูบาคติใหมก่ ับความแตกตา่ งความคิดทางการเมืองของกลุ่มผู้ศรัทธา โดยพบว่าครูบาคติใหม่เหลา่ นี้จะพยายามทาตัวเป็นกลางทางการเมือง โดยจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เล่ียงที่จะกล่าวถึงการเมือง หรือแม้แต่เลี่ยงท่ีจะกล่าวถึงความขัดแย้งของคณะสงฆ์ท่ีเป็นอยู่ในทุกวันนี้ ส่วนกลุ่มผู้ศรัทธา จากการสังเกตการณ์พบว่ามีกลุ่มชนช้ันกลางบางคนที่เป็นผู้ศรัทธาครูบาคติใหมท่ ม่ี ีแนวคิดทางการเมืองท้งั สองขั้ว ผู้วิจัยไดพ้ ูดคุยกับชนชั้นกลางผูห้ ญงิ ท่านหนึ่ง ซงึ่ เป็นผู้ท่ีมีความศรัทธาและค่อยอุปัฏฐากครูบาอริยชาติ ตั้งแต่เป็นเณรแต่ผู้ศรัทธาท่านนี้มีแนวคิดทางการเมืองเป็นข้ัวตรงข้ามกับคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน รวมถึงเพ่ือนสนิทที่เป็นทหารระดับสูงเช่นกัน การมาของ พล.เอก ประวิตรจึงสร้างความขุ่นเคืองให้เธอและเพ่ือนสนิทของเธอ แต่อย่างไรก็ตามการจัดการของเธอเก่ียวกับการมาของพล.เอก ประวิตร เธอกล่าวว่า เธอจะไม่มาร่วมงานขณะท่ี พล.เอก ประวิตร อยู่ในงาน และเธอจะมาร่วมงานตอ่ เมอื่ พล.เอก ประวิตรกลับไปแล้วเท่าน้ัน24 22 สังเกตการณ์ปอยหลวงฉลองสมโภช 9 ปี 9 เดือน 9 วนั การสร้างวดั แสงแก้วโพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงรายเมื่อ 30 ธนั วาคม 2559 23 สัมภาษณ์เจา้ ของโรงแรมกาแล อ.แม่สรวย จ.เชียงราย , เมื่อ 7 พฤศจิกายน 2558 24 ป้าแดง(นามสมมติ) , สมั ภาษณ์โดยผวู้ จิ ยั , เม่ือ 20 กนั ยายน 2559

12 “สาต.ุ๊ ..เจา้ ตนบุญป๊ิกมาเกิด”ฯ 12 กล่าวโดนสรุป กลุ่มครูบาคติใหม่มีลักษณะของการอิงกับอานาจรัฐ และ คนของรัฐ ท้ังฝ่ายสงฆ์และ ฆราวาส ซึ่งการอิงอานาจดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้อิงและฝ่ายผู้ถูกอิง ทั้งแง่การเสริมสร้างบารมีและเพอื่ ป้องกันการถกู โจมตีจากกลมุ่ พระสงฆ์บางกล่มุ ในพน้ื ท่ีเดียวกัน หรืออีกด้านหน่ึงคือการสร้างฐานอานาจทางการเมอื งของกลุ่มนักการเมือง และผลประโยชน์ดา้ นทุนปัจจัยท่ีจะเกดิ กับพระสงฆ์ฝ่ายปกครอง สิ่งที่น่าสนในคือ กลุ่มครูบาคติใหม่พยายามจะวางตัวอยู่อย่างไม่เลือกข้าง และเลี่ยงท่ีจะกล่าวถึงปัญหาทางการเมืองทั้งการเมืองฝ่ายฆราวาส และการเมืองฝ่ายคณะสงฆ์ ลักษณะการวางตัวของครูบาคติใหม่ในลักษณะน้ีจึงมีจานวนผู้ท่ศี รทั ธาต่อตัวครูบาจานวนมาก และ สามารถตอบสนองผู้ศรัทธาได้ทกุ กลมุ่ แนวคดิ ทางการเมือง“ปา๊ ดด!! โทะ!! เป็นนาบญุ ของเปิน่ ” : ความมั่งคงั่ ของ วตั ถุปัจจยั และ ทนุ ปจั จัย ดังที่กล่าวมาข้างต้น กลุ่มคนที่ศรัทธาครูบาคติใหม่เกิดข้ึนจากหลายประการด้วยกัน เช่น ความเชื่อว่ากลุ่มครูบาคติใหม่เป็นตนบุญ-เกจิ ที่สืบทอดสิ่งที่เป็นครูบาศรีวิชัยในอุดมคติ ที่ผ่านกระบวนการผลิตซ้าและสร้างภาพลกั ษณ์ให้แก่ครบู าศรีวิชัยต้ังแตท่ ศวรรษ 2470 เป็นต้นมา ความศรทั ธาทีเ่ กิดขึ้นจากคาสอนหรือกิจกรรมที่สามารถตอบสนองความคาดหวังทางศาสนาของผู้คนในยุคปัจจุบันได้ หรือแม้แต่การอิงตัวเองกับอานาจรัฐและคนของรัฐ เพ่ือสรา้ งฐานบารมใี ห้แก่ตวั เอง จนทาให้ผู้คนหล่ังไหลมาศรัทธาอย่างมหาศาล ซง่ึ การหล่ังไหลมาของผ้ศู รทั ธาจานวนมหาศาลน้ี จะมาพรอ้ มกบั วตั ถปุ ัจจัย และ ทนุ ปจั จัยมหาศาลด้วยเช่นกัน ท่มี าของทนุ ปจั จยั ของครูบาคติใหม่ หลกั ๆ เทา่ ที่สามารถเห็นไดค้ อื ได้มาจากการบรจิ าคของกลุ่มผศู้ รัทธา อาทิ ต้นเงิน จะมีการติดป้ายเพอื่ รับบริจาคต้นเป็นเจ้าภาพต้นเงินต้นละแสน เมื่อถึงวันงานพิธี เงินท่ีได้รับการบริจาคจะถูกนามาแลกเป็นธนบัตรใบละยี่สิบบาทบ้าง หนึ่งร้อยบ้าง เพ่ือนามาปักเป็นต้นเงินโขว์พร้อมชื่อผู้บริจาค ในวัดงานพิธีที่กาหนดไว้เช่น งานกฐินประจาปี หรือ งานอายุวัฒนมงคลประจาปี โดยยอดกฐินแต่ละปีของกลุ่มครูบาคติใหม่เป็นจานวนเงินท่ีสุดมาก เช่นงานกฐินประจาปี 2556 ของครูบาอริยชาติอริยจิตโต สูงถึง 20 ล้านบาท25 ซึ่งเป็นเพียงข้อมูลเดียวท่ีสามารถเข้าถึงได้ ข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อีกเช่น จานวนเงินที่ได้จากการประมูลสิ่งของในงานพิธีสาคัญ ซึ่งผู้วิจัยได้ข้อมูลมาเพียงอย่างเดียวคือ การประมูลฟันของครูบาอริยชาติ จานวน 2 ซ่ี โดยซี่แรกเป็นเงินจานวน 1.2 ล้านบาท และ อีกซี่หนึ่งได้ 2 ล้าน26หรือจานวนเงินสุทธิที่ใช้ในการสร้างศาลาหลวงมาต๋ามหน้าบุญ 20 ปี บารมี พระครูบาเจ้าเทือง นาถสีโลพุทธศักราช 2549 โดยใช้งบประมาณทั้งหมดถึง 15 ล้านบาท27 ซ่ึงยังไม่รวมถาวรวัตถุอื่นๆ อีกจานวนมากในวัดของครูบาเทืองด้วย ส่ิงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นทุนปัจจัยและวัตถุปัจจัยจานวนมหาศาลท่ีหลั่งไหลเข้ามาจากความศรทั ธาของผู้คนทมี่ ีต่อครบู าคตใิ หม่ 25 ยอมรวมกฐินประจาปี พ.ศ.2556 วดั แสงแกว้ โพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ,http://www.watsangkaew.com/component/k2/item/82-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8-%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%99-2-3-%E0%B8%9E-%E0%B8%A2-56.html 26 สงั เกตการณ์งานฉลอง 9 ปี 9 เดือน 9 วนั การสร้างวดั แสงแกว้ โพธิญาณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เม่ือ 9 มกราคม 2558 27 สงั เกตการณ์งานฉลองอายวุ ฒั นมงคล ประจาปี 2558 ครูบาเจา้ เทือง นาถสีโล เม่ือ เม่ือ 21-22 กมุ ภาพนั ธุ์ 2558

ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว 1133 ส่ิงที่น่าสนใจคือ การบริหารจัดการเงินภายในวัด จะไม่ได้อิงอยู่กับฆราวาสผู้เป็นคณะกรรมการประจาหมู่บ้าน28 แต่จะเป็นการบริหารจัดการการเงินเองด้วยตัวของครูบาคติใหม่ จากการสัมภาษณ์บุคคลสาคัญท่านหนึ่ง กล่าวว่า หากวัดครูบาท่านใดมีกลุ่มกรรมการหมู่บ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัด มักจะเกิดความขัดแย้งระหว่างตัวครูบาและชาวบ้านข้ึนท่ีนั้น เพราะฉะนั้นจึงมักจะปรากฏว่า ครูบาคติใหม่หลายรูปต้องย้ายออกจากวัดที่ใกล้ชิดกับชุมชน29 และหันไปซื้อที่ดินเพ่ือสร้างวัดที่ตนเองสามารถบริหารจัดการได้เองอย่างสะดวก 30ยกตัวอย่างกรณีครูบาเทือง ทราบว่ามีการโจมตีครูบาท้ังสองรูปด้วยหนังสือสนเทศ ทีเ่ กิดจากปัญหาเรื่องการขยายที่ดินของวดั และกรณีของครูบาอรยิ ชาติ ซ่งึ เคยเป็นพระครบู าที่ใกล้ชดิ กบั ครูบาเทอื ง เกิดปญั หาเกี่ยวกับการยักยอกเงินซึ่งกันและกันด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยไม่สามารถจะเข้าถึงกลุ่มคนที่เป็นคู่ขดั แย้งกบั ครูบาเหล่านี้ได้ ขอ้ มูลดงั กล่าวไดม้ าจากบคุ คลท่ใี กล้ชิดกบั ครูบาเป็นส่วนใหญ่ การสร้างวัดท่ียิ่งใหญ่ และการโชว์ต้นเงนิ มหาศาล เฉพาะน้ันวดั ใหญ่ และ ต้นเงนิ ทสี่ ูงใหญ่จึงเป็นอกี ช่องสร้างหน่ึงที่สามารถสะทอ้ นใหเ้ ห็นถึงความมีบารมีของครบู าคติใหม่ และเป็นส่งิ ท่ชี ่วยสร้างความศรัทธาให้แก่ผู้คนได้ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างกรณีของคุณป้าสองท่าน ซึ่งเป็นผู้ศรัทธาที่มาจากจังหวัดลพบุรี ได้กล่าวกบั ผู้วิจัยว่า บารมีท่านสูงมาก ดูสิ่งที่ท่านทา ดูส่ิงท่ีท่านสร้าง หากไม่มีบารมีจะคิดสร้างอะไรใหญ่อลังการและสว่ นงามเช่นนี้ไม่ได้ 31จากคาสัมภาษณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ความศรัทธาของผูค้ นต่อครูบาคติใหมเ่ กิดข้ึนจากการแสดงบารมีผา่ นถาวรวัตถใุ นวัดของตนเองดว้ ย เปน็ ท่มี าของคาว่า “ปา๊ ดด!! โทะ!! เปน็ นาบญุ ของเปิ่น” ขอ้ เสนอแนะในการศึกษาต่อไป ในเร่ืองแหลง่ ที่มาของทุนปัจจัยของกลุ่มครูบาคติใหม่ ผู้วิจัยต้องขอกล่าวไว้ก่อนว่า เป็นการวิเคราะห์ผ่านส่ิงท่ีพบเห็น และ ได้จากคาสัมภาษณ์บางส่วน ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งท่ีมาหลักของทุนปัจจัยจานวนมหาศาลได้ อีกท้ังยังต้องกล่าวไว้ว่า ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเงินจานวนมหาศาลเหล่านี้ ถูกนาไปใช้ในลักษณะใดบ้างเช่นกัน เนื่องจากการบริหารจัดการเก่ียวกับทุนปัจจัยในวัดเป็นการบริหารโดยตัวครูบาคติใหม่เอง สิ่งเหล่าน้ีจึงถือเป็นปัญหาหน่ึงท่ีจะนาไปสู่การวิเคราะห์เร่ืองเก่ียวกับทุนปจั จยั อยา่ งลึกยงิ่ กว่าน้ี กล่าวโดยกระแสครูบาคติใหม่เกิดข้ึนจากอ้างอิงตัวเองกับภาพลักษณ์ครบู าศรีวิชัยหลายประการเช่น การนุ่งหุ่ม การเป็นพระนักพัฒนา โดยภาพลักษณ์ของครูบาศรีวิชัยท่ีกลุ่มครูบาคติใหม่นามาใช้เป็นสิ่งท่ีเรียกได้ว่า “เป็นภาพลักษณ์ครูบาศรีวิชัยในอุดมคติ” ซ่ึงเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตซ้าและสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ครูบาศรีวิชัยภายตั้งแต่ทศวรรษ 2470 โดยมีการแต่งเติม และ ลดทอนข้อเท็จจริงบางประการ อีกทั้งยังผสานเข้ากับเร่ืองเล่ามุขปาฐะต่างๆ จนกลายมาเปน็ พื้นฐานการรบั รู้และความเขา้ ใจหลักของคนในสงั คมที่มีต่อครบู าศรวี ิชัยปัจจุบัน อีกทงั้ กระบวนการผลิตซ้าและสร้างภาพลักษณ์ครบู าศรีวชิ ัยดังกล่าวยังเป็นอกี ปจั จยั หนึ่ง 28 สัมภาษณ์พระครูอดุลสีลกิตต์ิ , เม่ือวนั ท่ี 9 พฤษภาคม 2559 29 สมั ภาษณ์พอ่ หนานศรีเลา เกษพรหม , 23 มิถุนายน 2559 30 ครูบาเทือง นาถสีโล เกิดท่ี อ.สารภี ยา้ ยมาสร้างวดั นอยู่ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ , ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต เกิดที่อ.สารภี จ.เชียงใหม่ แต่ยา้ ยมาสร้างวดั ท่ี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย , ครูบาเจษฎา จิรสีโล เกิดที่ อ.แม่จนั จ.เชียงราย ยา้ ยหปสร้างวดั ที่ อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย , ครูบาบุญชุ่ม ญาณสงั วโร เกิดบา้ นดา้ ย อ.แม่สาย จ.เชียงราย ยา้ ยหปอยู่ เมืองพง รัฐฉาน ประเทศพม่า 31 สัมภาษณ์คุณป้าปรีดา ชูรส และ คุณป้าสุภาพ องั ศุกสิกร ชาวจงั หวดั ลพบุรี , เม่ือ 7พฤศจิกายน 2558

14 “สาตุ.๊ ..เจ้าตนบุญปก๊ิ มาเกิด”ฯ 14ท่ีสร้างช่ือเสียงให้แก่ครูบาศรีวิชัย ชื่อเสียงของครูบาศรีวิชัยจึงเป็นที่รู้จักในสังคมวงกว้าง ดังนั้นการอ้างอิงตนเองกับความเปน็ ครูบาศรวี ิชัยในอุดมคติจึงเป็นปจั จัยสาคัญในการสร้างเสริมบารมี และ เป็นที่รู้จกั ของผู้คนในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่การสร้างบารมีจากการอ้างอิงตนเองกับความเป็นครูบาศรีวิชัยเท่านั้น กลุ่มครูบาคติใหม่ยังพยายามอิงตนเองกับอานาจรัฐและบุคคลของรัฐด้วย ท้ังกลุ่มพระสงฆ์ฝ่ายปกครอง และ นักการเมืองซึ่งการสร้างอ้างองิ ดังกล่าวจะมผี ลประโยชน์ท่ีเกิดแตบ่ ุคคลทั้งสองฝา่ ย ผลประโยชน์ทเี่ กดิ แก่กลุ่มครบู าคตใิ หม่คือ การสร้างบารมีให้แก่ตนเองด้วย การปรับเปลี่ยนพิธีกรรม คาสอนบางประการเพ่ือตอบสนองความมั่นคงของผู้คนในยุคปัจจุบัน เปน็ อีกหนง่ึ ของทางหนึ่งที่ทาให้ช่อื เสียงของครบู าคติใหม่เป็นทีร่ ูจ้ ัก ปัจจัยการอ้างอิงทั้ง3 ดังท่ีกล่าวมานี้ นามาซ่ึงทุนปัจจัยและวัตถุปัจจัยจานวนมหาศาล โดยไม่สามารถสืบค้นหาต้นสายและปลายทางของเงินจานวนมหาศาลเหล่าน้ีได้ นอกจากเห็นได้จากการสร้างถาวรวัตถุในวัดของครูบาคติใหม่นนั้ ๆและการสร้างถาวรวัตถุใหญ่ๆ สวยงามและมีความอลังการ เป็นแสดงบารมีให้แก่ตัวเองด้วยเช่นกัน ดังน้ันสิ่งเหล่าน้ีท้ังการอ้างอิงตัวเองกับความเป็นครูบาศรีวิชัย การอ้างอิงตนเองกับอานาจรัฐและคนของรัฐ การสนองความต้องการของผู้คน การสร้างวัดที่ย่ิงใหญ่ ย่ิงเหล่าน้ีนามาซ่ึงจานวนผู้ศรัทธามหาศาล และถือเป็นสิ่งท่ีเป็นปจั จยั ตอ่ การกาเนิดกระแสครบู าคตใิ หม่ในปัจจบุ ัน

รายนามคณะกรรมการบรหิ ารมูลนิธโิ ครงการต�ำ ราสงั คมศาสตร์และมนษุ ยศาสตร์ ปี 2559นางเพช็ รี สุมิตร ประธานและผจู้ ัดการนายเกรกิ เกียรติ พิพฒั น์เสรีธรรม รองประธานกรรมการนายพนสั ทศั นยี านนท์ ทปี่ รกึ ษานายธเนศ อาภรณส์ วุ รรณ กรรมการนายรงั สรรค์ ธนะพรพนั ธ ุ์ กรรมการนายวิทยา สุจรติ ธนารกั ษ ์ กรรมการนางสาวศรปี ระภา เพชรมีศร ี กรรมการนายประจักษ์ ก้องกีรติ กรรมการนางสาวอบุ ลรัตน์ ศริ ยิ ุวศักด ์ิ กรรมการนายบดินทร์ อัศวาณิชย์ กรรมการนายชาญวิทย์ เกษตรศริ ิ กรรมการและเลขานกุ ารนายธำ�รงศกั ด์ิ เพชรเลิศอนันต ์ กรรมการและผ้ชู ว่ ยเลขานุการ

‡≈¢Õπÿ≠“µ ∑Ë’ µ. ˆ/ÚıÒ˘‡≈¢∑§Ë’ ”¢Õ ∑’Ë ˆ/ÚıÒ˘ „∫Õπ≠ÿ “µ®—¥µÈß—  ¡“§¡À√Õ◊ Õߧ°å “√ µ“¡∑’Ë π“¬ªÜ«¬ Õ÷Íß¿“°√≥剥â¢ÕÕπÿ≠“µ®¥— µÈß— ¡Ÿ≈π‘∏‘‚§√ß°“√µ”√“ ß— §¡»“ µ√å·≈–¡πÿ…¬»“ µ√å‚¥¬¡«’ µ— ∂ÿª√– ß§å‡æ◊ÕË Ò.  ßà ‡ √¡‘ °“√®¥— ∑”µ”√“¿“…“‰∑¬„π·¢πß ß— §¡»“ µ√·å ≈–¡π…ÿ ¬»“ µ√å ∑ßÈ— √–¥∫— ¡À“«‘∑¬“≈¬— ·≈–°Õà π¡À“«∑‘ ¬“≈¬— Ú. ‡º¬·æ√µà ”√“¢Õß¡≈Ÿ π∏‘ ‘„πÀ¡ºàŸ  Ÿâ Õπ«™‘ “ ß— §¡»“ µ√·å ≈–¡π…ÿ ¬»“ µ√å ∑«Ë— √“™Õ“≥“®—°√ Û.  à߇ √‘¡°“√‡√¬’ ∫‡√’¬ßß“π«®‘ ¬— ·≈–µ”√“™Èπ—  Ÿß ·≈–√«∫√«¡‡Õ° “√ ∑“ß«‘™“°“√ÕÕ°µæ’ ‘¡æå Ù.  ßà ‡ √¡‘ °‘®°√√¡∑“ß«™‘ “°“√¥â“π —ߧ¡»“ µ√·å ≈–¡πÿ…¬»“ µ√å ı. ‰¡à∑”°“√§â“°”‰√ ·≈–‰¡à‡°¬’Ë «¢Õâ ß°∫— °“√‡¡◊Õß·≈–¡∑’ µË’ ßÈ—  ”π°— ß“π·Àßà „À≠à ≥ ¡À“«∑‘ ¬“≈—¬∏√√¡»“ µ√å ‡¢µæ√–π§√ °√ßÿ ‡∑æ¡À“π§√ π—πÈ °√¡°“√»“ π“‰¥â殑 “√≥“·≈â« Õπ≠ÿ “µ„À⥔‡ππ‘ °“√®¥— µÈß— ‰¥â ·≈–¢Õ„Àªâ Ø∫‘ —µ‘µ“¡§” —ßË ·≈–¢âÕ∫ß— §∫— ¢Õß°√¡°“√»“ π“ ‚¥¬‡§√àߧ√—¥ Õπÿ≠“µ ≥ «—π∑’Ë Ú ¡°√“§¡ æ∑ÿ ∏»—°√“™ ÚıÒ˘ (𓬫—™√– ‡Õ’ˬ¡‚™µ‘) Õ∏‘∫¥’°√¡°“√»“ π“

สมั มนาประจ�ำ ปี 2559 ASEAN: Siam-Thailand + Japan + China and + India ศกุ ร์ท่ี 25 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2559 ณ ห้องประชุม ภกู ามยาว อาคารเรยี นรวม (เดมิ ) มหาวิทยาลยั พะเยา จังหวดั พะเยา08.00-09.00 ลงทะเบียน / รบั ประทานอาหารวา่ ง Registration / Tea and Coffee Break09.00–09.30 พธิ ีเปิดการสัมมนา / Opening Ceremony - ศ. พเิ ศษ ดร. มณฑล สงวนเสรมิ ศรี อธกิ ารบดมี หาวทิ ยาลยั พะเยา กลา่ วต้อนรบั / Welcoming - ศ. เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัย พะเยา กลา่ วแนะน�ำ มหาวทิ ยาลยั พะเยา - ศ. เกียรตคิ ุณ เพช็ รี สุมติ ร ราชบัณฑติ ประธานมลู นธิ โิ ครงการ ตำ�ราสังคมศาสตร์และมนษุ ยศาสตร์ กลา่ วรายงาน / Report - คุณนินนาท ไชยธรี ภิญโญ รองประธานกรรมการบริษัท โตโยตา้ มอเตอร์ ประเทศไทย จ�ำ กดั และกรรมการมลู นธิ โิ ตโยตา้ ประเทศไทย กลา่ วเปดิ งาน / Opening - มอบของทรี่ ะลึก และถ่ายภาพหมู่ / Souvenirs Exchange and Group Photos09.30–12.00 อภปิ รายรวม / Panel “ASEAN + Japan: Social-Economic- Cultural Connectivity” / อาเซยี น + ญปี่ นุ่ : ความเชอ่ื มโยงสงั คม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม คณุ สรุ ศกั ดิ์ สทุ องวนั | คณุ ซนิ ยา อาโอกิ | ดร. ชยนั ต์ วรรธนะภตู ิ | ผศ. ดร. ดวงใจ หลอ่ ธนวณชิ ย์ | คณุ อดศิ กั ดิ์ ศรสี ม ด�ำ เนนิ รายการ และน�ำ อภปิ ราย12.00–13.00 อาหารกลางวนั / Lunch13.00–14.30 แบ่งห้องสัมมนาหวั ขอ้ เฉพาะ / Panels ห้องท่ี 1 “ASEAN + China: ASEAN and SENO (sud/South, est/East, nord/North, ouest/West) Boundary” / อาเซียน + จนี : อาเซียน และ เขตแดนทางบก ทะเล และอากาศ ศ. ดร. ยศ สันตสมบตั ิ | รศ. ดร. อกั ษรศรี พานิชสาสน์ |

อ. อคั รพงษ์ คำ่�คณู | อ. ปองขวญั สวัสดภิ ักด์ิ ด�ำ เนนิ รายการ และนำ�อภปิ ราย หอ้ งท่ี 2 / Room 2 : “Water Scarcity: The Mekong, The Chao Phraya and The Salween Rivers” แมน่ �ำ้ โขง เจา้ พระยา สาละวนิ : ปัญหาน�้ำ ในอาเซียน คณุ เพยี รพร ดีเทศน์ | รศ. ดร. ป่ินแกว้ เหลอื งอร่ามศรี | ดร. รอยล จติ รดอน | ผศ. มนตรา พงษ์นิล ด�ำ เนนิ รายการ และน�ำ อภิปราย หอ้ งท่ี 3 “ASEAN Beyond Boundary” / อาเซียนไร้พรมแดน ดร. อุษามาศ เสียมภักดี | ผศ.ดร. ธำ�รงศกั ด์ิ เพชรเลศิ อนันต์ | คุณพิมพ์สริ ิ เพชรน้�ำ รอบ | อ. อกั ษราภคั ชัยปะละ | อ. พิพฒั น์ ธนากจิ ดำ�เนินรายการและนำ�อภปิ ราย14.30–15.00 อาหารวา่ ง / Tea and Coffee Break15.00–16.30 แบ่งห้องสมั มนาหัวขอ้ เฉพาะ / Panels หอ้ งท่ี 1 / Room 1 : “ASEAN + India: Mahabharata and Southeast Asia” / อาเซยี น + อนิ เดยี : มหาภารตะ และอษุ าคเนย์ ศ. พเิ ศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ | อ. คมกฤช อ่ยุ เตก็ เค่ง | คณุ ปยิ ณฐั สรอ้ ยค�ำ | ดร. สงิ ห์ สวุ รรณกจิ | ผศ. กาญจนี ละอองศรี ด�ำ เนนิ รายการและน�ำ อภปิ ราย หอ้ งที่ 2 / Room 2 : “State and Church: Buddhism in ASEAN”/ รฐั กับศาสนจักร : พทุ ธศาสนาในอาเซียน ภกิ ษุณีธัมมนนั ทา | คุณวิจักขณ์ พานิช | อ. สุรพศ ทวศี ักด์ิ | คุณณัฐพงศ์ ดวงแก้ว | อ. สมฤทธิ์ ลือชัย ดำ�เนินรายการและ นำ�อภิปราย หอ้ งท่ี 3 / Room 3 : “LGBT Rights in the ASEAN Community” / LGBT: เพศวถิ ีในอาเซยี น ผศ. ดร. วศนิ ปญั ญาวุธตระกูล | คณุ ชุมาพร แต่งเกลี้ยง | คณุ ชานันท์ ยอดหงษ์ | ผศ. ดร. อรรจน์ อิงคนินนั ท์ บณั ฑิตย์ | อ. ดารารัตน์ ค�ำ เปง็ | ดำ�เนินรายการและนำ�อภปิ รายพธิ กี รประจ�ำ ตลอดงาน สมฤทธิ์ ลือชยั


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook