Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มืออยู่กับผู้ป่วยวัณโรคอย่างไรให้ปลอดภัย

คู่มืออยู่กับผู้ป่วยวัณโรคอย่างไรให้ปลอดภัย

Published by lerdsin.hospital, 2022-08-22 08:21:31

Description: คู่มืออยู่กับผู้ป่วยวัณโรคอย่างไรให้ปลอดภัย

Search

Read the Text Version

อยู่กับผู้ป่วยวัณโรค อย่างไรให้ปลอดภัย ห อผู้ ป่ วย อ า ยุ ร ก รรมรวม โร งพย า บ า ล เ ลิ ดสิน

2 วัณโรคปอดคืออะไร เชื้อวัณโรคหรือเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) จัดเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรีย ที่มีการเจริญเติบโตช้า อาการจึงอาจมาได้ช้ากว่าปอดอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศ โดยผ่านทางการไอ จาม การพู ด และการหายใจเข้าไปภายใน ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด คนส่วนใหญ่มักคิดว่าวัณโรค เป็นโรคเกี่ยวกับปอด แต่ความจริงแล้ว เป็นได้กับอวัยวะทุก ส่วนของร่างกาย เช่น ที่ต่อมน้ำเหลือง กระดูก เยื่อหุ้มสมอง ปอด แต่ที่พบและเป็นปัญหามากที่สุดในปัจจุบัน คือ “วัณโรคปอด” วินิจฉัยวัณโรคปอดได้อย่างไร 1.ซักประวัติและการตรวจร่างกาย 2.การตรวจเลือด 3.การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย X-Ray 4.การตรวจเสมหะ 5.ฟังเสียงในปอดขณะหายใจ

3 ระยะของ \"วัณโรคปอด\" ระยะแฝง เมื่อได้รับเชื้อจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ภายใน 2-8 สัปดาห์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะทำหน้าที่ ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อโรค จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ผู้ติดเชื้อ วัณโรคระยะแฝง คือ มีเชื้ออยู่ในร่างกาย แต่ไม่มีอาการผิด ปกติใดๆ ไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ประมาณ 90% ที่เชื้อโรคอาจจะอยู่ในระยะนี้เป็นเวลาหลายสิบปีหรือตลอด ทั้งชีวิตเลย โดยไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมี 10% ของวัณโรค ระยะแฝงที่รอจังหวะ เมื่อร่างกายเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ และ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกำจัดหรือควบคุมเชื้อได้ เชื้อวัณโรคจะแบ่งตัว และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ผู้ติดเชื้อ วัณโรคระยะแฝงก็จะกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรค แต่หากผู้ป่วยมีการ ตรวจพบเจอเชื้อในช่วงระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษา และควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ ระยะแสดงอาการ เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่างๆ โดยอาการ ในระยะนี้จะปรากฎให้เห็นได้ชัดเจน เช่น มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็น เลือด เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ หรือไอ อ่อนเพลีย มี ไข้ หนาวสั่น มีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด และ ความอยากอาหารลดลง

4 อาการของวัณโรคปอด 1. ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ บางรายไอแห้งๆ บางรายอาจมี เสมหะสีเหลือง เขียว หรือไอปนเลือด 2. มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือเย็น นานกว่า 2 สัปดาห์ 3. เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอกและหายใจติดขัด 4. มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย 5. น้ำหนักลด นอกจากนี้ยังสามารถเกิดการติดเชื้อวัณโรคในอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายที่ไม่ใช่ปอดได้อีกด้วย ทำให้อาการที่แสดงออกมา แตกต่างไปจากนี้ ซึ่งอาการที่แสดงออกมาจะสัมพันธ์กับอวัยวะ นั้นๆ เช่น วัณโรคไขสันหลังจะมีอาการปวดหลัง วัณโรคไตอาจ ทำให้ปัสสาวะมีเลือดปน วัณโรคปอดติดต่อทางไหนได้บ้าง เชื้อวัณโรคจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจรับเชื้อโรคที่ปะปน อยู่ในอากาศขณะผ่านทางการไอ จาม การพู ด และการหายใจ เข้าไปภายในปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด เชื้อวัณโรคที่ตก ลงสู่พื้นหรือติดอยู่ที่ผิวสัมผัสของวัตถุอื่นๆ จะถูกทำลายไปได้ ง่าย โดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก ดั้งนั้นสมาชิกใน ครอบครัว ผู้ร่วมอาศัย รวมถึงเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย วัณโรค ควรพบแพทย์เพื่อตรวจคัดครองผู้สัมผัสโรค และรับการ รักษาแต่เนิ่นๆ

5 ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด“วัณโรคปอด” 1. สภาพร่างกาย ความแข็งแรงของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะเด็ก เล็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคได้ง่าย 2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง เอดส์ หรือผู้ที่ ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 3. ระยะเวลาและความใกล้ชิดกัลผู้ป่วยวัณโรค ในขณะที่ผู้ที่มี สุขภาพแข็งแรงจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้น้อยกว่า เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เองตามธรรมชาติ หรือหากเคยได้รับเชื้อมาก่อนแล้วผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง เชื้อ ก็จะไม่แสดงอาการใด ๆ เช่นกัน ภาวะแทรกซ้อนจากวัณโรค ภาวะแทรกซ้อนจากวัณโรคปอดและวัณโรคส่วนอื่นที่สำคัญ ส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงยิ่งขึ้น มักพบในผู้ป่วยวัณโรคที่ ได้รับการรักษาล่าช้าหรือรักษาไม่ต่อเนื่อง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ บ่อย ได้แก่ ปอดได้รับความเสียหาย เช่น ฝีในปอด มีน้ำในช่องหุ้มปอด ตับและไตมีปัญหา ส่งผลต่อการขับของเสียจากเลือดออก จากร่างกาย เนื้อเยื่อรอบหัวใจเกิดการอักเสบ ทำให้มีของเหลวในถุงเยื้อ หุ้มหัวใจ และส่งผลให้เกิด ภาวะบีบรัดหัวใจได้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะและอาจส่งผลต่อ สุขภาพจิตได้

6 การรักษา การรักษาวัณโรคในปัจจุบันใช้หลักการใช้ยาหลายชนิดร่วม กันโดยต้องทานยาต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน บางราย หรือสูตรยาบางชนิดอาจจะนานกว่านั้น ยารักษาวัณโรคปอดที่ ใช้บ่อยที่สุด : แพทย์อาจเลือกใช้ยารักษาผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค ดัง ต่อไปนี้ ไอโซไนอะซิด (Isoniazid), ริฟามพิน (Rifampin), เอทแทมบูท (Ethambutol), ไพราซีนาไมด์ (Pyrazinamide), สะเต็ปโตไมซิน Streptomycin (ยาฉีด) ทั้งนี้ แพทย์อาจสั่งยาเพิ่มเติมในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นวัณโรค ชนิดที่ดื้อยาแล้ว เช่น เบดาไคลีน (Bedaquiline), ไลน์โซลิด (Linezolid) สาเหตุที่พบว่า การรักษาวัณโรคล้มเหลวที่พบบ่อยที่สุด คือ ผู้ป่วยทานยาไม่ครบตามกำหนด ซึ่งอาจเกิดจากผลข้างเคียงของ ยาทำให้ไม่อยากทานต่อ หรือบางครั้งหลังรักษาได้ระยะหนึ่ง อาการดีขึ้นก็หยุดยาไปเอง เพราะมีความเข้าใจว่าหายแล้ว ซึ่งการ ทานยาวัณโรคไม่ครบจะมีอันตรายมาก เพราะนอกจากจะรักษาไม่ หายแล้วจะทำให้เชื้อที่เหลืออยู่มีโอกาสกลายเป็นเชื้อดื้อยามากขึ้น ถ้าทานยาต่อเนื่อง อาการจะดีขึ้นและเชื้อที่พบในเสมหะก็จะน้อยลง และก็จะไม่แพร่เชื้ออีกต่อไปไม่จำเป็นต้องรักษาให้ครบก่อนถึงจะ กลับไปทำงานได้ (ประมาณ 2-4 อาทิตย์ หลังการรักษาปริมาณ เชื้อก็จะน้อยลงมากจนไม่น่าจะแพร่เชื้อ)

7 อาการข้างเคียงหลังจาก รับประทานยารักษาวัณโรค อาการแพ้ยาเกิดได้บ่อยโดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรก อาการ การแก้ไข ผื่นคัน หยุดยาวัณโรคทุกตัว ส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล ตัวเหลือง ตาเหลือง หยุดยาวัณโรคทุกตัว ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที วิงเวียน ตาลาย หยุดยา Streptomycin หูอื้อหรือหนวก ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที ตามัว ตาบอดสี หยุดยา Ethambutol ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที ชาตามปลายมือ ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที ปลายเท้า ชัก หยุดยาวัณโรคทุกตัว ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที คลื่นไส้ อาเจียน ทานยาวัณโรคต่อแนะนำให้กินยาหลัง อาหารเย็นหรือก่อนนอน ปัสสาวะสีแดง แนะนำผู้ป่วยว่าเกิดจากสีของยา ไม่เป็นอันตราย

8 การปฏิบัติตนเมื่อมีผู้ป่วยวัณโรค อยู่ในบ้าน 1. ในระยะ 2 เดือนแรกหลังจากเริ่มการรักษา (เรียกว่า“ระยะแพร่ เชื้อโรค”) ควรให้ผู้ป่วยแยกห้องกับคนในครอบครัว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรก ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ ควรเป็นห้องที่เปิดหน้าต่างเพื่ อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและให้ แสงแดดส่องถึง รวมไปถึงการรับประทานอาหาร การใช้ถ้วย ชามและเสื้อผ้าควรแยกล้าง หรือแยกซักต่างหาก และต้องนำไป ตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค เพราะแสงแดดและความร้อนจะทำลาย เชื้อวัณโรคได้ดี 2. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ของเชื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรก 3. ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือกระป้องที่มีฝาปิดมิดชิด และนำ ทิ้งโดยผูกปากถุงให้สนิท 4. สมาชิกในครอบครัวควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่าง ต่อเนื่อง และพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง 5. แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม ไข่ ผักและผลไม้ 6. แนะนำให้ผู้ป่วยนอนกลางวันอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อ นำโปรตีนจากอาหารเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย หลังจากทานยาครบ 2 เดือน และตรวจไม่พบเชื้อจากเสมหะ แล้ว และไม่มีอาการต่างๆ เช่น ไอ มีไข้ หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด อีกต่อไป จึงจะถือว่าเข้าสู่ระยะไม่แพร่เชื้อแล้ว สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นปกติ นอนในห้องเดียวกันกับผู้อื่นได้ ทาน ข้าวร่วมกันได้ โดยในระยะนี้ผู้ป่วยต้องต้านทานยาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 เดือน (โรควัณโรคจะต้องใช้เวลาในการรักษาระยะสั้น ที่สุด 6 เดือน ยาวที่สุด 1-2 ปี)

9 วิธีป้องกันการติดเชื้อวัณโรค 1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคในระยะแสดงอาการ เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้มากที่สุด 2. รับประทานยาป้องกันตามแพทย์สั่ง ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อสูง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง 3. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ สุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์จะ ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อ โดยรับประทานอาหารที่มี ประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี 4. ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค BCG ตั้งแต่เด็ก สามารถป้องกันการติดเชื้อวัณโรคได้ถึง 80% ส่วนใหญ่จะฉีดบริเวณแขน ไหล่ สะโพก หลังฉีดอาจมีตุ่มนูน เกิดขึ้นและจะหายได้เอง ซึ่งในปัจจุบันเด็กไทยแรกเกิดสามารถ รับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากรับ บริการจากทางโรงพยาบาลของรัฐตามสิทธิการรักษา

10 ระหว่างการรักษา ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง 1. ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคตับอักเสบจากยาและผลข้างเคียงอื่นๆ 3. ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่สาธารณะที่มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนต์ ห้างสรรพสินค้าหรือการเดินทางด้วยยานพาหนะ ร่วมกับผู้อื่นเป็นเวลานานเกิน 8 ชั่วโมงขึ้นไป 4. ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในระหว่างรักษาวัณโรค เลี่ยงการใช้ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเอสโตเจน เพราะจะทำให้การคุมกำเนิด ไม่ได้ผล วัณโรคสามารถรักษาหายขาดได้ แต่ก็สามารถเป็นซ้ำได้ หาก รับประทานยาไม่ครบตามที่แพทย์สั่ง เนื่องจากมีเชื้อบางส่วนที่อาจ จะหลบซ่อนอยู่ในเซลล์ ซึ่งต้องใช้ยารักษาร่วมกันหลายขนานใน ช่วง 2-3 เดือนแรก และต้องรักษานานอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อ ลดโอกาสดื้อยาและกลับเป็นซ้ำ

โโ รร งงพพยยาาบบาาลลเเลลิิดดสสิินน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook