Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ANATOMY

ANATOMY

Published by katpitcha3, 2020-10-30 13:02:20

Description: Anatomy for beginner

Keywords: Anatomy,body,Muscle

Search

Read the Text Version

กายวิภาคศาสตร์ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ Anatomy of Musculoskeletal System อ.ดร.กภ.กู้เกียรติ ทุดปอ ความหมายของกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) กายวิภาคศาสตร์ (anatomy) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง รูปร่าง และลักษณะของสิ่ง มีชีวิตตลอดจนความสัมพันธ์ของโครงสร้างต่างๆเหล่านั้น คำว่า anatomy มีรากศัพท์ มาจากภาษา กรีก 2 คำ คือ ana หมายถึง apart หรือแยกจากกันเป็นส่วนๆ และ tomy หมายถึง a cutting หรือ การ ตัด เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันจึงหมายถึงการตัดออกเป็นส่วนๆ กายวิภาคศาสตร์มีความสำคัญต่อ การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต มหกายวิภาคศาสตร์เชิงระบบ (systematic gross anatomy) เป็นการศึกษากายวิภาคศาสตร์ระบบ อวัยวะของร่างกาย ที่สามารถศึกษาได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งมีทั้งหมด 11 ระบบ ดังนี้คือ 1. ระบบปกคลุมร่างกาย (integumentary system) 2. ระบบกระดูก (skeletal system) 3. ระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) 4. ระบบประสาท (nervous system) 5. ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) 6. ระบบไหลเวียนโลหิต (circulatory system) 7. ระบบน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกัน (lymphatic and immune system) 8. ระบบหายใจ (respiratory system) 9. ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal หรือ digestive system) 10. ระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary system) 11. ระบบสืบพันธุ์ (reproductive system) สำหรับเนื้อหาในวิชานี้จะกล่าวเฉพาะกายวิภาคศาสตร์ของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเท่านั้น ศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์ (anatomy terminology) ศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์มักจะมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ผู้ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์มี ความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์ เพราะจะช่วยทำให้การศึกษาและ ค้นคว้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สำหรับศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์ที่อธิบายเกี่ยวกับ ตำแหน่งและท่าทางต่างๆ ของร่างกายที่สำคัญๆ มีดังนี้ คือ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 1

รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ (anatomical position) และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง 1. ตำแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ (anatomical position) คือ ลักษณะของร่างกายที่อยู่ในท่ายืนตรง หน้ามองตรงไปข้างหน้า ส้นเท้าชิดกัน แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงแนบข้างลำตัว และมือทั้งสอง ข้างแบหันไปข้างหน้า (ให้นิ้วก้อยจรดกับโคนขา นิ้วหัวแม่มือหันไปด้านนอก) 2. Anterior หรือ ventral หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับด้านหน้า 3. Posterior หรือ dorsal หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับด้านหลัง 4. Superior หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับด้านบน 5. Inferior หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับด้านล่าง 6. Longitudinal หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับตามยาว 7. Transverse หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับตามขวาง กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 2

8. Medial หมายถึง ส่วนที่ใกล้กับเส้นผ่าศูนย์กลางของร่างกายหรืออวัยวะที่เรียกว่า median line 9. Lateral หมายถึง ส่วนที่ไกลออกไปจาก median line 10. Superficial หมายถึง ส่วนที่ตื้นหรือใกล้กับผิวภายนอก 11. Deep หมายถึง ส่วนที่ลึกหรือไกลจากผิวภายนอก 12. Central หมายถึง ส่วนที่เป็นศูนย์กลาง 13. Peripheral หมายถึง ส่วนที่ไกลออกไปจากศูนย์กลาง 14. Internal หมายถึง ส่วนภายในของร่างกาย 15. External หมายถึง ส่วนภายนอกของร่างกาย 16. Visceral หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับอวัยวะภายใน 17. Parietal หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวกับผนังของช่องหรือโพรง 18. Proximal หมายถึง ส่วนที่อยู่ใกล้ลำตัวหรือส่วนต้นของอวัยวะ 19. Distal หมายถึง ส่วนที่อยู่ไกลจากลำตัวหรือส่วนปลายของอวัยวะ 20. Cephalad หรือ cranial หมายถึง ส่วนที่ค่อนไปทางหัว 21. Caudad หมายถึง ส่วนที่ค่อนไปทางเท้า ระนาบของร่างกาย (body planes) ระนาบ (planes) ของร่างกายมีด้วยกัน 3 ระนาบ ดังนี้ คือ 1. Sagittal plane หรือ median plane หมายถึง ระนาบที่แบ่งร่างกายจากด้านหน้ามาด้าน หลัง แบ่งร่ายกายเป็นระนาบด้านซ้ายกับระนาบด้านขวา 2. Frontal plane หรือ coronal plane หมายถึง ระนาบที่แบ่งร่างกายจากด้านข้างหนึ่งไปอีก ข้างหนึ่ง แบ่งร่างกายเป็นระนาบด้านหน้ากับระนาบด้านหลัง 3. Transverse plane หรือ horizontal plane หมายถึง ระนาบที่แบ่งร่างกายออกตามขวาง แบ่งร่างกายเป็นระนาบด้านบนกับระนาบด้านล่าง ส่วนต่างๆของร่างกาย ร่างกายมนุษย์เราแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้คือ 1. ศีรษะ (head) แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้ดังนี้คือ 1.1 กระหม่อม (vertex) 1.2 หน้าผาก (frontal region) 1.3 ท้ายทอย (occiput) 1.4 ขมับ (temporal region) 1.5 หู (ears) 1.6 ใบหน้า (face) ประกอบด้วยตา (eyes) จมูก (nose) และปาก (mouth) กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 3

2. คอ (neck) 3. ลำตัว (trunk) แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้ดังนี้คือ 3.1) ทรวงอก (thorax) ประกอบด้วย ส่วนหน้าอก (breast) เต้านม (mamma) หลัง (back) และช่องอก (thoracic cavity) 3.2) ท้อง (abdomen) ประกอบด้วย สะดือ (umbilicus) สีข้าง (flank) ขาหนีบ (groin) เนื้อนูน เป็นสัน 2 ข้างของสันหลังตอนเอว (loin หรือ lumbus) และช่องท้อง (abdominal cavity) รูปที่ 2 แสดงระนาบของร่างกาย (body planes) 4 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

3.3) ท้องน้อย (pelvis) ประกอบด้วยช่องท้องน้อย (pelvic cavity) อวัยวะสืบพันธุ์ (genital organ) ฝีเย็บ (perineum) ก้น (buttocks) 4. แขนและขา (limbs หรือ extremities) 4.1) แขน (upper limbs หรือ extremities) ประกอบด้วย ต้นแขน (arm) ข้อศอก (elbow) ปลายแขน (forearm) มือ (hand) ซึ่งประกอบด้วยข้อมือ (wrist) ฝ่ามือ (palm) และ หลังมือ (back of hand) และนิ้วมือซึ่งประกอบด้วย นิ้วหัวแม่มือ (thumb) นิ้วชี้ (index finger) นิ้วกลาง (middle finger) นิ้วนาง (ring finger) และนิ้วก้อย (little finger) 4.2) ขา (lower limbs หรือ extremities) ประกอบด้วย ต้นขา (thigh) หัวเข่า (knee) ปลายขา (leg) หน้าแข้ง (shin) กับน่อง (calf) ข้อเท้า (ankle) เท้า (foot) ซึ่งประกอบด้วย ส้นเท้า (heel) ฝ่าเท้า (sole) และหลังเท้า (dorsum of foot) และ นิ้วเท้าซึ่งประกอบด้วยนิ้วหัวแม่เท้า (great toe) นิ้วเท้าอัน ที่สอง (second toe) นิ้วเท้าอันที่สาม (third toe) นิ้วเท้าอันที่สี่ (fourth toe) และนิ้วเท้าอันที่ห้า (little toe) ชั้นของร่างกาย (body layers) ร่างกายมนุษย์ตั้งแต่ชั้นนอกสุดถึงชั้นในสุด แบ่งออกได้ เป็น 6 ชั้น คือ 1. ชั้นนอกสุดของร่างกาย ได้แก่ ผิวหนัง (skin) 2. ชั้นพังผืด (fascia) เป็นชั้นที่ต่อจากผิวหนัง 3. ชั้นกล้ามเนื้อ (muscle layer) 4. ชั้นกระดูก (skeleton) 5. ชั้นทรวงอก (pleura) 6. ชั้นเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เป็นชั้นในสุดซึ่งเป็นที่อยู่ของอวัยวะภายในช่องท้องและ ภายในอุ้งเชิงกราน ช่องต่างๆ ในร่างกาย (cavities of the body) ภายในร่างกายมีช่องต่างๆ ซึ่งเป็นที่ตั้งและเป็นเสมือนเกราะป้องกันอวัยวะภายในร่างกายอยู่ เป็นจำนวนไม่น้อย โดยถ้าเราผ่าร่างกายออกตามแนวยาว (longitudinal section) คือจากศีรษะ อก จรดสันหลัง จะพบว่าร่างกายมีช่องใหญ่ๆ อยู่ 2 ช่อง ซึ่งถูกกั้นด้วยแนวกระดูกสันหลัง (vertebral column) ดังนี้ คือ 1. ช่องด้านหน้า (ventral cavity) เป็นช่องที่อยู่ด้านหน้าแนวกระดูกสันหลัง มีขนาดใหญ่กว่าช่องด้านหลังมาก ไม่มีกระดูกล้อม รอบอยู่ครบ โดยบางส่วนของฝากั้นเป็นกล้ามเนื้อ ภายในช่องด้านหน้ามีกะบังลม (diaphragm) กั้น แบ่งเป็นช่องอก (thoracic cavity) กับช่องท้องและเชิงกราน (abdominal cavity และ pelvic cavity) กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 5

รูปที่ 3 แสดงช่องต่างๆของร่างกาย (body cavities) 1.1) ช่องอก (thoracic cavity) เป็นช่องที่มีกระดูกซี่โครงเป็นเกราะป้องกัน ภายในช่องอก ประกอบด้วย หัวใจ (heart) ปอด (lungs) หลอดลม (trachea) หลอดอาหาร (esophagus) และหลอด เลือดใหญ่ เช่น หลอดเลือดใหญ่ที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ (Aorta) หลอดเลือดใหญ่ที่นำเลือดกลับสู่ หัวใจจากร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง (superior และ inferior vena cave) 1.2) ช่องท้อง (abdominal cavity) เป็นช่องที่อยู่ใต้กะบังลมลงมา ประกอบด้วย กระเพาะ อาหาร (stomach) ตับ (liver) ถุงน้ำดี (gall bladder) ตับอ่อน (pancreas) ม้าม (spleen) ลำไส้เล็ก (small intestine) ลำไส้ใหญ่ (large intestine) ไต (kidney) และหลอดไต (ureters) 1.3) ช่องท้องน้อยหรือช่องอุ้มเชิงกราน (pelvic cavity) ช่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของช่องท้องแต่อยู่ ต่ำลงมา มีกระดูกกั้นมากกว่าช่องท้อง ประกอบด้วย ส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ (sigmoid colon) กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ช่องทวารหนัก (rectum) และอวัยวะสืบพันธุ์บางอย่าง เช่น ในผู้ หญิงมีมดลูก (uretus) ท่อมดลูก (uterine tubes) รังไข่ (ovaries) ส่วนในผู้ชายมีท่ออสุจิ (vas deferens หรือ ductus deferens) ถุงเก็บน้ำอสุจิ (seminal vesicles) และต่อมลูกหมาก (prostate gland) 2. ช่องด้านหลัง (dorsal cavity) เป็นช่องที่อยู่ด้านหลังแนวกระดูกสันหลังมีกระดูกล้อมรอบอยู่โดยรอบเป็นช่องจากกระดูก กะโหลกศีรษะและกระดูกสันหลัง แบ่งออกเป็น กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 6

2.1) ช่องที่อยู่ในกระดูกกะโหลกศีรษะ (cranial cavity) ประกอบด้วยสมอง (brain) และช่อง เล็กๆ อีก 3 ช่อง คือ ช่องเบ้าตา (orbital cavity) มีลูกตา ประสาทตา กล้ามเนื้อตา และต่อมขับน้ำตา ช่องจมูก (nasal cavity) และช่องปาก (buccal cavity หรือ mouth) มีลิ้นและฟัน 2.2) ช่องที่อยู่ในกระดูกสันหลัง (spinal cavity) ช่องนี้ติดกับช่องกะโหลกศีรษะมีไขสันหลัง (spinal cord) ทอดอยู่โดยติดกับมันสมอง ช่องนี้มีความยาวไปตลอดกระดูกสันหลัง ระบบกระดูก ระบบกระดูก คือ ระบบที่ประกอบกันเป็นโครงร่างของร่างกาย นอกเหนือจากกระดูก (bone) ยัง ประกอบด้วยส่วนอื่นของร่างกาย ได้แก่ กระดูกอ่อน (cartilage) พังพืดยึดข้อต่อ (ligament) และข้อ ต่อ (joint) หน้าที่โดยทั่วไปของระบบกระดูก 1. เป็นโครงสร้างของร่างกายที่รองรับอวัยวะต่างๆ ให้อยู่ในตำแหน่งของอวัยวะนั้นๆ และรักษา ไว้ซึ่งรูปร่างของร่างกาย 2. ช่วยป้องกันอันตรายหรือการกระทบกระเทือนต่างๆ ที่อาจจะมีต่ออวัยวะภายในร่างกาย 3. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็น (tendon) 4. ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพราะกระดูกเปรียบเสมือนคานในการเคลื่อนไหว 5. ผลิตเม็ดโลหิต 6. เป็นแหล่งสำรองแคลเซียม 7. ปกป้องหลอดเลือดและเส้นประสาทที่ทอดอยู่ในแนวกระดูก รูปแบบของการเกิดกระดูก (formation of bone) กระดูกพัฒนามาจากมีโซเดิร์ม (mesoderm) ซึ่งเป็นส่วนกลางของเยื่อไข่ที่เกี่ยวข้องกับการ สืบพันธุ์ การเกิดของกระดูกมี 2 รูปแบบดังนี้ คือ 1. กระดูกที่เกิดขั้นในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (intramembrane ossification) โดยเซลล์ของเนื้อเยื่อ เกี่ยวพัน (mesenchymal cell หรือ fibroblast) จะพัฒนาเป็นเซลล์ที่จะเป็นกระดูก (osteoblasts) และ เซลล์ที่จะเป็นกระดูกก็จะพัฒนาต่อไปเป็นกระดูกในที่สุด กระดูกที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ กระดูกกะโหลกศีรษะ 2. กระดูกที่เกิดขึ้นในกระดูกอ่อน (endochondral ossification หรือ intracartilagenosa) กระดูกในร่างกายส่วนใหญ่ล้วนเกินขึ้นในกระดูกอ่อนทั้งสิ้น การเกิดกระดูกวิธีนี้พัฒนามาจากกลุ่มของ กระดูกอ่อนไฮยาลีน (hyaline cartilage) และพัฒนาต่อไปเป็นกระดูกในที่สุด กระดูกที่มีส่วนปลาย (epiphyseal plate) เป็นกระดูกอ่อนยังสามารถที่จะพัฒนาความยาวออกไปได้อีกจนกระทั่งกระดูก อ่อนที่ส่วนปลายกลายเป็นกระดูกแข็ง (ผู้หญิงอายุ 12-14 ปี และผู้ชายอายุ 14-16 ปี) กระดูกนั้นก็จะไม่ สามารถพัฒนาความยาวของกระดูกได้อีกต่อไป กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 7

ส่วนประกอบของกระดูก กระดูกประกอบด้วยสาร 2 ชนิด คือ 1. สารอินทรีย์ (organic matter) มีประมาณ 33% หรือ 1 ใน 3 ของน้ำหนักกระดูกเป็นส่วนที่ ทำให้กระดูกเหนียว มีความยืดหยุ่น ประกอบด้วย เซลล์กระดูก เส้นเลือดและสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้น เช่น คอลลาเจน (collagen) 2. สารอนินทรีย์ (inorganic matter) มีประมาณ 67% หรือ 2 ใน 3 ของน้ำหนักกระดูก เป็นส่วน ที่ทำให้กระดูกแข็ง ประกอบด้วย แคลเซียมฟอสเฟต (calcium phosphate) ประมาณ 58% แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) ประมาณ 7% แคลเซียมฟลูโอไรด์ (calcium fluoride) ประมาณ 1-2% โซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride) ประมาณน้อยกว่า 1% กระดูกเด็กจะมีส่วนที่เป็นสารอินทรีย์มากกว่า และมีสารอนินทรีย์น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ กระดูกผู้ใหญ่ ดังนั้นกระดูกเด็กจึงยึดหยุ่นมากกว่าและไม่หักง่ายเหมือนกระดูกผู้ใหญ่ ชนิดของกระดูก กระดูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะโครงสร้างของกระดูก แบ่งกระดูกเป็น 2 ชนิด คือ 1. กระดูกเนื้อโปร่ง (trabecular bone หรือ spongy bone หรือ cancellous bone) เป็นกระดู กที่มีลักษณะโครงสร้างเป็นรูๆคล้ายฟองน้ำ มักจะพบมากบริเวณปลายทั้งสองข้างของกระดูกยาว โดย รูๆ ที่เป็นช่องว่างจะเต็มไปด้วยไขกระดูกแดง (red bone marrow) ซึ่งมีบทบาทในการผลิตเม็ดโลหิต 2. กระดูกแข็ง (cortical bone หรือ compact bone) เป็นกระดูกที่แข็งแรงเพราะมีเนื้อกระดูก มากกว่ารูหรือช่องว่าง จะพบอยู่บริเวณภายนอกของกระดูก รูปที่ 4 แสดงกระดูกเนื้อโปร่ง (spongy bone) และ กระดูกแข็ง (compact bone) 8 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

การแบ่งส่วนต่างๆของโครงกระดูกร่างกาย กระดูกในร่างกายของมนุษย์ในช่วงแรกเกิดนั้นมีจำนวนประมาณ 270 ชิ้นแต่เมื่อร่างกายได้ เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจำนวนกระดูกในร่างกายจะมีจำนวน 206 ชิ้น กระดูกในร่างกายของเราไม่ได้ หายไป แต่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะว่าเมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่กระดูกบางชิ้น เช่น กระดูกก้นกบหรือ กระดูกกระเบนเหน็บจะเกิดจากการรวมตัวของกระดูกหลายชิ้นมารวมกัน กระดูกในร่างกายสามารถ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้คือ 1. กระดูกแกน (axial skeleton) 80 ชิ้น กระดูกแกนเป็นกระดูกที่ประกอบเป็นลำตัว และศีรษะตามแกนยาวของร่างกาย ประกอบด้วย กระดูกที่มีลักษณะและจำนวน ดังต่อไปนี้คือ 1.1) กระดูกกะโหลกศีรษะ (cranial bones) มีลักษณะกลมคล้ายลูกมะพร้าว มีหน้าที่ป้องกัน สมอง กระดูกกะโหลกศีรษะในเด็กแรกเกิดจะยังไม่เจริญเต็มที่ โดยมีบางส่วนยังคงเป็นเมมเบรนอยู่ซึ่ง เรียกว่ากระหม่อม (fontanelle) กระหม่อมมีส่วนหน้าและส่วนหลัง ส่วนหน้าจะปิดสนิทเมื่อเด็กมีอายุ ประมาณ 18 เดือน และส่วนหลังจะปิดสนิทเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ ระหว่างกระดูกกะโหลก ศีรษะจะดูมีลักษณะเป็นรอยเรียกว่า ซูเชอร์ (suture) รูปที่ 5 แสดงกระดูกกะโหลกศีรษะ (cranial bones) ทั้ง 8 ชิ้น กระดูกศีรษะมีจำนวน 8 ชิ้น ดังนี้ คือ จำนวน 1 ชิ้น 1.1.1) กระดูกหน้าผาก (frontal bone) จำนวน 2 ชิ้น 1.1.2) กระดูกด้านข้างกะโหลกศีรษะ (parietal bones) กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 9

1.1.3) กระดูกขมับ (temporal bones) จำนวน 2 ชิ้น 1.1.4) กระดูกท้ายทอย (occipital bone) จำนวน 1 ชิ้น 1.1.5) กระดูกรูปผีเสื้อ (sphenoid bone) จำนวน 1 ชิ้น 1.1.6) กระดูกส่วนบนช่องจมูก (ethmoid bone) จำนวน 1 ชิ้น 1.2) กระดูกหน้า (facial bones) มีจำนวน 14 ชิ้น เป็นกระดูกที่เคลื่อนไหวไม่ได้ 13 ชิ้น เคลื่อนไหวได้เพียงชิ้นเดียว คือ กระดูกขากรรไกรล่าง กระดูกหน้าประกอบด้วย รูปที่ 6 แสดงกระดูกหน้า (facial bones) ทั้ง 14 ชิ้น 1.2.1) กระดูกสันจมูก (nasal bones) จำนวน 2 ชิ้น 1.2.2) กระดูกตรงกลางจมูกภายใน (vomer bones) จำนวน 1 ชิ้น 1.2.3) กระดูกข้างในจมูก (inferior nasal concha) จำนวน 2 ชิ้น 1.2.4) กระดูกข้างถุงน้ำตา (lacrimal bones) จำนวน 2 ชิ้น 1.2.5) กระดูกโหนกแก้ว (zygomatic boes) จำนวน 2 ชิ้น 1.2.6) กระดูกเพดาน (palatine bones) จำนวน 2 ชิ้น 1.2.7) กระดูกขากรรไกรบน (maxillary bones) จำนวน 2 ชิ้น 1.2.8) กระดูกขากรรไกรล่าง (mandible bone) จำนวน 1 ชิ้น 1.3) กระดูกโคนลิ้น (hyoid bone) มีจำนวน 1 ชิ้น เป็นกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายเกือกม้าอยู่ บริเวณโคนลิ้น ด้านหน้าของคอ เหนือลูกกระเดือก เป็นกระดูกชิ้นเดียวของร่างกายที่ไม่ได้ติดกับ กระดูกชิ้นใดๆเลย กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 10

รูปที่ 7 แสดงกระดูกโคนลิ้น (hyoid bone) 1.4) กระดูกหู (auditory ossicles) มีจำนวน 6 ชิ้น อยู่ในหูชิ้นกลางดังนี้ คือ รูปที่ 8 แสดงกระดูกหู (auditory ossicles) ได้แก่ 1) กระดูกรูปค้อน (malleus) 2) กระดูกรูปทั่ง (incus) และ 3) กระดูกรูปโกลน (stapes) ในหูชั้นกลาง กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 11

1.4.1) กระดูกรูปค้อน (malleus) จำนวน 2 ชิ้น 1.4.2) กระดูกรูปทั่ง (incus) จำนวน 2 ชิ้น 1.4.3) กระดูกรูปโกลน (stapes) จำนวน 2 ชิ้น 1.5) กระดูกสันหลัง (vertebral columm หรือ vertebrae) ในวัยเด็กมีจำนวน 33 ชิ้น ในวัย ผู้ใหญ่มีจำนวน 26 ชิ้น เนื่องจากในวัยเด็กกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บมีจำนวน 5 ชิ้น แต่พอเป็น ผู้ใหญ่จะรวมกันเป็นชิ้นเดียว และกระดูกสันหลังส่วนก้นกบในวัยเด็กมีจำนวน 4 ชิ้น แต่พอเป็นผู้ใหญ่ จะรวมกันเป็นชิ้นเดียวเช่นกัน กระดูกสันหลังมีลักษณะโค้งประกอบด้วยกระดูกหลายๆ ชิ้น โดยแต่ละ ชิ้นจะมีหมอนรองกระดูก (intervertebral discs) รองรับน้ำหนักอยู่ กระดูกสันหลังมีหน้าที่ช่วยรองรับ ศีรษะและลำตัว ช่วยในการเคลื่อนไหว และช่วยป้องกันไขสันหลังที่ทอดอยู่ภายในอีกด้วย กระดูกสัน หลังแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้คือ 1.5.1) กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical vertebrae) 7 ชิ้น 1.5.2) กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebrae) 12 ชิ้น 1.5.3) กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar vertebrae) 5 ชิ้น 1.5.4) กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacral vertebrae) 5 ชิ้นในเด็ก และ 1 ชิ้นในผู้ใหญ่ 1.5.5) กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (coccyx vertebrae) 4 ชิ้นในเด็ก และ 1 ชิ้นในผู้ใหญ่ ปลายของกระดูกสันหลัง ส่วนก้นกบของผู้ชายจะชี้ไปทางด้านหน้าของร่างกายส่วน ของผู้หญิงจะชี้ลงล่าง รูปที่ 9 แสดงกระดูกสันหลังผู้ใหญ่ (vertebral columm) 26 ชิ้น ประกอบด้วย กระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical vertebrae) 7 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebrae) 12 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar vertebrae) 5 ชิ้น กระดูก สันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacral vertebrae) 1 ชิ้น และ กระดูกสันหลังส่วนก้นกบ (coccyx vertebrae) 1 ชิ้น กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 12

1.6) กระดูกหน้าอก (sternum) มีจำนวน 1 ชิ้น เป็นกระดูกที่มีลักษณะแบนอยู่ตรงกลางของช่องอก เป็นที่ยึดเกาะของกระดูกซี่โครงแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนบนสุดเรียกว่า มานูเบรียม (manubrium) ส่วนกลางเรียกว่า บอดี้ (body) และส่วนล่าง เรียกว่า ซิฟอยด์ (xiphoid) รูปที่ 10 แสดงกระดูกซี่โครง 1.7) กระดูกซี่โครง (ribs) มีจำนวน 24 ชิ้นหรือ 12 คู่ กระดูกซี่โครงด้านหลังทุกอันจะต่อกับ กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebrae) สำหรับกระดูกซี่โครงด้านหน้า 7 คู่บน แต่ละอันจะยึดติด กับกระดูกหน้าอกโดยตรง โดยมีกระดูกอ่อนคอสทัล (costal cartilage) เป็นตัวเชื่อมเรียกกระดูก ซี่โครง 7 คู่นี้ว่ากระดูกซี่โครงแท้ (true ribs) ส่วนกระดูกซี่โครงด้านหน้า 5 คู่ล่างไม่ได้ยึดติดกับ กระดูกหน้าอกโดยตรงเรียกว่ากระดูกซี่โครงไม่แท้ (false ribs) โดยคู่ที่ 8 9 และ 10 จะมารวมกันที่ กระดูกซี่โครงคู่ที่ 7 ส่วนกระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 ปลายด้านหน้าไม่ได้ยึดกับกระดูกใดๆ เลย เรียก ว่า กระดูกซี่โครงลอย (floating ribs) 2. กระดูกที่ประกอบเป็นแขนและขา (appendicular skeleton) 126 ชิ้น กระดูกที่ประกอบเป็นแขนและขาประกอบด้วย กระดูกแขน กระดูกขาและกระดูกที่ช่วยยึดแขน และขาให้ติดกับกระดูกแกน กระดูกที่ประกอบเป็นแขนและขาประกอบด้วยกระดูกที่มีลักษณะและ จำนวน ดังต่อไปนี้ คือ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 13

2.1) กระดูกไหล่ (pectoral girdle) เป็นกระดูกที่ยึดแขนให้ติดกับกระดูกแกน มีหน้าที่รองรับ แขน และช่วยในการเคลื่อนไหวของแขน กระดูกไหล่มีกระดูกจำนวน 4 ชิ้น ดังนี้คือ 2.1.1) กระดูกไหปลาร้า (clavicle) มีจำนวน 2 ชิ้น อยู่ด้านหน้าเหนือกระดูกซี่โครงคู่ที่ 1 ปลาย ด้านหนึ่งยึดติดกับกระดูกหน้าอกส่วนปลายอีกด้านหนึ่งยึดติดกับกระดูกสะบัก 2.1.2) กระดูกสะบัก (scapula) มีจำนวน 2 ชิ้น มีลักษณะแบนเป็นรูปสามเหลี่ยมแต่ละชิ้นอยู่ด้าน หลังทรวงอก ระดับซี่โครงคู่ที่ 2 และคู่ที่ 7 ผิวด้านหลังของกระดูกสะบักมีสันนูนตามขวาง เรียกว่า ส ไปน์ (spine) และตรงส่วนปลายของสไปน์จะมีลักษณะเป็นปุ่มเรียกว่า อะโครเมียน โพรเซส (acromion process) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยยึดกระดูกไหปลาร้า และกล้ามเนื้อบริเวณแขนและอก รูปที่ 11 แสดงกระดูกไหล่ (pectoral girdle) 2.2) กระดูกแขน (upper extremity bones) มีจำนวน 60 ชิ้น แบ่งเป็นข้างละ 30 ชิ้น ประกอบ ด้วย 2.2.1) กระดูกต้นแขน (humerus) เป็นกระดูกที่ใหญ่และยาวที่สุดของกระดูกแขนมีข้างละ 1 ชิ้น รวมเป็น 2 ชิ้น 2.2.2) กระดูกปลายแขน มี 4 ชิ้น ข้างละ 2 ชิ้นดังนี้คือ 2.2.2.1) กระดูกปลายแขนอันนอก (radius) ตั้งอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือสั้นกว่ากระดูกปลายแขน อันใน มีข้างละ 1 ชิ้น กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 14

2.2.2.2) กระดูกปลายแขนอันใน (ulna) ตั้งอยู่ทางด้านนิ้วก้อยยาวกว่ากระดูกปลายแขนอันนอก มีข้างละ 1 ชิ้น 2.2.2.3) กระดูกข้อมือ (carpal bones) เป็นกระดูกเล็กๆ มีข้างละ 8 ชิ้นเรียงเป็น 2 แถว แถวละ 4 ชิ้น ประกอบด้วย scaphoid bone, lunate bone, triquetrum, pisiform bone, trapezium, trapezoid bone, capitate bone และ hamate bone 2.2.2.4) กระดูกฝ่ามือ (metacarpal bones) เป็นกระดูกรูปร่างคล้ายทรงกระบอกมีข้างละ 5 ชิ้น 2.2.2.5) กระดูกนิ้วมือ (phalanges) แต่ละข้างมีจำนวน 14 ชิ้น โดยแต่ละนิ้วมี 3 ชิ้น ยกเว้นนิ้วหัว แม่มือมี 2 ชิ้น รูปที่ 12 แสดงกระดูกแขนและมือ (bones of upper extremity) 2.3) กระดูกเชิงกราน (pelvic girdle) ประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hip bones) 2 ชิ้น เชื่อมต่อ เข้าด้วยกันที่บริเวณด้านหน้า ส่วนด้านหลังกระดูกสะโพกแต่ละชิ้นจะเชื่อมต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ สำหรับกระดูกสะโพกนั้นประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ อิลเลียม (ilium) เป็นกระดูกชิ้นใหญ่สุดใน จำนวนกระดูกทั้ง 3 ส่วน อิสเคียม (ischium) เป็นกระดูกส่วนล่างสุดของกระดูกสะโพก บริเวณที่เรานั่ง ทับและ พิวบิส (pubis) เป็นกระดูกทางตอนล่างค่อนไปด้านหน้าอยู่เหนือบริเวณอวัยวะเพศขึ้นมา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 15

กระดูกเชิงกรานนอกจากจะประกอบด้วยกระดูกสะโพกแล้วยังเชื่อมต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ และก้นกบอีกด้วย อุ้งเชิงกรานของผู้หญิงจะกว้างกว่าของผู้ชายและมีลักษณะกลมส่วนอุ้งเชิงกรานของ ชายจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือหัวใจ 2.4) กระดูกขา (lower extremity bones) มีจำนวน 60 ชิ้น แบ่งเป็นข้างละ 30 ชิ้น ประกอบด้วย 2.4.1) กระดูกต้นขา (femur) เป็นกระดูกชิ้นที่ยาวที่สุดของร่างกาย มีข้างละ 1 ชิ้น รูปที่ 13 แสดงกระดูกขาและเท้า (bones of lower extremity) 2.4.2) กระดูกสะบ้า (patella) มีลักษณะแบนเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้านหน้าของเข่า พัฒนามา จากเอ็น (sesamoid bone) มีข้างละ 1 ชิ้น 2.4.3) กระดูกปลายขา มี 4 ชิ้น ข้างละ 2 ชิ้นดังนี้ คือ 2.4.3.1) กระดูกหน้าแข้ง (tibia) อยู่ด้านในของปลายขา มีข้างละ 1 ชิ้น กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 16

2.4.3.2) กระดูกน่อง (fibula) เป็นกระดูกเรียวยาวเล็กกว่ากระดูกหน้าแข้งอยู่ด้านนอกของปลาย ขาขนานกับกระดูกหน้าแข้งมีข้างละ 1 ชิ้น 2.4.4) กระดูกข้อเท้า (tarsals bones) มีข้างละ 7 ชิ้น น้อยกว่ากระดูกข้อมือข้างละ 1 ชิ้น แต่มี ขนาดใหญ่กว่าข้อมือ 2.4.5) กระดูกฝ่าเท้า (metatarsal bones) มีลักษณะคล้ายกระดูกฝ่ามือ มีข้างละ 5 ชิ้น แต่มี ลักษณะที่พิเศษคือ มีส่วนโค้ง (foot arch) ซึ่งช่วยในการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง 2.4.6) กระดูกนิ้วเท้า (phalanges) มีข้างละ 14 ชิ้น โดยแต่ละนิ้วมี 3 ชิ้น ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้ามี 2 ชิ้น มีลักษณะสั้นกว่านิ้วมือ 3. ข้อต่อ (joints) ข้อต่อเป็นส่วนที่เกิดจากกระดูกกับกระดูกมาเชื่อมต่อกันโดยมีผังผืดช่วยยึดกระดูกให้อยู่ติด กัน มีบทบาทช่วยในการเคลื่อนไหว ช่วยประกอบให้กระดูกต่างๆ เป็นโครงร่างของร่างกายและช่วย ป้องกันการเสียดสีระหว่างกระดูก ข้อต่อบางอันจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อ (synovial fluid) อยู่คอยหล่อ ลื่น การใช้ข้อต่อเป็นประจำจะช่วยให้น้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อไม่แห้ง ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ แต่ ถ้าขาดการใช้หรือขาดการเคลื่อนไหวข้อต่อจะทำให้น้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อหมดไปอันจะทำให้เกิดอาการ ข้อต่อยึดไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ การเคลื่อนไหวของข้อต่อ การเคลื่อนไหวของข้อต่อมีลักษณะและการเรียกลักษณะของการเคลื่อนไหวต่างๆ ดังนี้ 1. การงอ (flexion) คือ การทำให้ปลายกระดูกข้างหนึ่งเข้าหากระดูกอีกด้านหนึ่ง โดยมุม ระหว่างข้อต่อลดลง เช่น งอข้อไหล่ งอข้อเข่า 2. การเหยียด (extension) คือ การเคลื่อนไหวที่ตรงข้ามกับการงอ รูปที่ 14 แสดงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ได้แก่ การงอ (flexion) ข้อไหล่ ข้อเข่าและกระดูกสันหลัง และ การเหยียด (extension) ข้อเข่าและกระดูกสันหลัง กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 17

3. การกาง (abduction) คือ การเคลื่อนไหวในลักษณะที่ออกจากลำตัวหรือเส้น middle line เช่นการกางแขน และกางขา 4. การหุบ (adduction) คือ การเคลื่อนไหวตรงข้ามกับการกาง 5. การหมุนควง (circumduction) 6. การหมุน (rotation) คือ การเคลื่อนไหวรอบแกนใดแกนหนึ่ง รูปที่ 15 แสดงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ได้แก่ การกาง-การหุบ (abduction-adduction) และการการ หมุนควง (circumduction) ข้อไหล่ และ การหมุน (rotation) คอและข้อสะโพก 7. การคว่ำมือ (pronation) 8. การหงายมือ (supination) 9. การเปิดข้างเท้าด้านใน (inversion) 10. การเปิดข้างเท้าด้านนอก (eversion) 11. การกดฝ่าเท้าลง (plantar flexion) 12. การยกหลังเท้าขึ้น (dorsi flexion) 13. การยกขึ้นของส่วนต่างๆ (elevation) เช่น ยกกระดูกสะบักขึ้น 14. การกดลงของส่วนต่างๆ (depression) กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 18

รูปที่ 16 แสดงการคว่ำมือ-การหงายมือ (pronation-supination) และ การเปิดข้างเท้าด้านใน-นอก (inversion-eversion) (แถวกลาง) การกดฝ่าเท้าลง-การยกหลังเท้าขึ้น (plantar flexion- dorsiflexion) และ การยกขึ้น-การกดลง (elevation-depression) ของสะบัก กายวิภาคศาสตร์ของกล้ามเนื้อ (anatomy of muscles) โดยทั่วไปกล้ามเนื้อมัดหนึ่งจะมี 2 ปลาย ปลายด้านหนึ่งจะยึดติดกับส่วนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ คือ จะอยู่นิ่งเมื่อกล้ามเนื้อมัดนั้นมีการหดตัว เรียกปลายด้านนี้ว่า จุดเกาะต้น (origin) ส่วนปลายอีกด้าน หนึ่งจะยึดติดกับส่วนที่เคลื่อนไหวได้ คือจะเคลื่อนที่เมื่อกล้ามเนื้อมัดนั้นมีการหดตัวเรียกปลายด้านนี้ ว่า จุดเกาะปลาย (insertion) และเมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัวบริเวณ insertion จะถูกดึงเข้าหาบริเวณ origin กล้ามเนื้อบางมัดมี origin หรือ insertion มากกว่าหนึ่งแห่ง เช่น กล้ามเนื้อ biceps brachii การตั้งชื่อกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อในร่างกายมีจำนวนถึง 792 มัด ดังนั้นการที่จะเรียนรู้และจดจำชื่อกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากมายนี้ได้ จำเป็นต้องมีหลักในการตั้งชื่อกล้ามเนื้อขึ้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้ คือ 1. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามทิศทางของเส้นใยกล้ามเนื้อ (direction of muscle fibers) เช่น กล้ามเนื้อที่มี เส้นใยกล้ามเนื้อตรงหรือขนานกับแนวกลางของลำตัว เรียกว่า เร็คตัส (rectus) กล้ามเนื้อที่มีเส้นใจ กล้ามเนื้อขวางหรือตั้งฉากกับแนวกลางของลำตัวเรียกว่า แทรนซเวอซ (transverse) และกล้ามเนื้อที่ มีเส้นใยกล้ามเนื้อเฉียงกับแนวกลางลำตัวเรียกว่า อ๊อบลิค (obligue) 2. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามตำแหน่งของกล้ามเนื้อ (location) เช่น กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณกระดูกซี่โครง เรียกว่า อินเตอร์คอสตัล (intercostal) กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาเรียกว่า ฟีมอริส (femoris) และ กล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณแขนเรียกว่า เบรคิไอ (brachii) กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 19

รูปที่ 17 แสดงจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) ของกล้ามเนื้อ biceps brachii 3. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามขนาดของกล้ามเนื้อ (size) เช่นกล้ามเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เรียกว่า แม็กซิมัส (maximus) กล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า มินิมัส (minimus) กล้ามเนื้อที่มีขนาดยาว เรียกว่า ลองกัส (longus) และขนาดสั่นเรียกว่า เบรวิส (brevis) 4. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามรูปร่างของกล้ามเนื้อ (shape) เช่นกล้ามเนื้อที่มีรูปร่างสามเหลี่ยม เรียกว่า เดล ทอยด์ (deltoid) กล้ามเนื้อที่มีรูปร่างขนมเปียกปูนหรือสี่เหลี่ยมคาบหมูเรียกว่า ทราพิเซียส (trapezius) และกล้ามเนื้อที่มีรูปร่างเป็นรูปฟันเลื่อยเรียกว่า เซอร์เรทัส (serratus) 5. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ (action) เช่นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบแขนและ ขาหาลำตัวเรียกว่า แอดดักเตอร์ (adductor) กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กางแขนและขาออกจากลำตัวเรียก ว่า แอบดักเตอร์ (abductor) กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่งอเรียกว่า เฟลกเซอร์ (flexor) และทำหน้าที่เหยียด เรียกว่า เอกเทนเซอร์ (extensor) 6. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามตำแหน่งหรือจุดที่กล้ามเนื้อมัดนั้นไปยึดเกาะ (origin and insertion) เช่น กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid จะมีจุดยึดเกาะส่วนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (origin) ที่กระดูก sternum และกระดูก clavicle และมีจุดยึดเกาะส่วนที่เคลื่อนไหวได้ (insertion) ที่ mastoid process ของ กระดูก temporal 7. ตั้งชื่อกล้ามเนื้อตามจำนวนหัวของมัดกล้ามเนื้อที่ยึดกับจุดเกาะต้น (number of heads of origin) เช่นกล้ามเนื้อไบเซปส์ (biceps) มีจำนวนหัวของมัดกล้ามเนื้อ 2 หัว กล้ามเนื้อไตรเซปส์ (triceps) มี 3 หัว และ ควอไดรเซปส์ (quadriceps) มี 4 หัว ที่ยึดกับจุดเกาะต้น กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 20

กล้ามเนื้อมัดต่างๆของร่างกาย เนื่องจากกล้ามเนื้อของร่างกายมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงจะขออธิบายเฉพาะกล้ามเนื้อมัดที่ สำคัญๆ เท่านั้น โดยจะแบ่งการศึกษาตามตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้คือ 1. กล้ามเนื้อศีรษะ (muscles of head) ประกอบด้วย 1.1) กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า (muscles of facial expression) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ชั้นใต้ ผิวหนัง ดังนั้นเมื่อเกิดการหดตัวจึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผิวหนังกล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ กล้ามเนื้อออร์บิคิวลาริส ออคิวไล (orbicularis oculi muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็น รูปวงแหวนอยู่รอบขอบตา มีหน้าที่ช่วยในการหลับตาหรือกระพริบตา กล้ามเนื้อออร์บิคิวลาริส ออริส (orbicularis oris muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเป็นรูป วงแหวนอยู่รอบปาก มีหน้าที่ช่วยในการปิดปากหรือเม้นริมฝีปาก กล้ามเนื้อฟรอนตัล (frontal muscles) เป็นกล้ามเนื้อที่ปกคลุมบริเวณหน้าผาก มีหน้าที่ในการ ยักคิ้วหรือทำให้หน้าผากย่น รูปที่ 18 แสดงกล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร และกล้ามเนื้อคอ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 21

1.2) กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร (muscles of mastication) กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่ กล้ามเนื้อแม็สเซเตอร์ (masseter muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะแบนสัมผัสได้บริเวณข้าง หูขณะบดฟันมีหน้าที่ในการยกขากรรไกรล่างขึ้น เพื่อหุบปากหรือบดเคี้ยว กล้ามเนื้อเท็มโพราลิส (temporalis muscle) เป็นกล้ามเนื้ออยู่ที่บริเวณขมับ มีหน้าที่ในการ ยกขากรรไกรล่างขึ้น ทำให้หุบปาก กล้ามเนื้อบัคซิเนเตอร์ (buccinator muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณผนังแก้ว มีหน้าที่ใน การกดแก้ม และดึงมุมปากเวลาดูดหรือเป่า 2. กล้ามเนื้อคอ (muscles of the neck) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสทอยด์ (stermocleidomastoid muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ บริเวณด้วนข้างลำคอ ถ้าหดตัวทั่ง 2 ข้างจะทำให้ศีรษะก้มลงมาทางด้านหน้า แต่ถ้าหดตัวข้างเดียว ศีรษะจะเอียงไปด้านตรงกันข้าม เช่นถ้ากล้ามเนื้อข้างขวาหดตัวศีรษะจะเอียงไปข้างซ้าย กล้ามเนื้อทราพิเซียส (trapezius muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม อยู่บริเวณด้านบนของคอและหลัง มีหน้าที่ช่วยยกไหล่ขึ้นข้างบน รั้งสะบักและศีรษะไปข้างหลัง กล้ามเนื้อพลาติสมา (platysma muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณลำคอด้านหน้า มีหน้าที่ดึง มุมปากลงขณะเกร็งคอ 3. กล้ามเนื้อลำตัว (muscles of the trunk) ประกอบด้วย 3.1) กล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า (muscles of chest) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อเพ็คโทราลิส เมเจอร์ (pectoralis major muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ปกคลุม อยู่บริเวณด้านอก มีหน้าที่หุบและหมุนแขนเข้าข้างใน กล้ามเนื้อเซอร์เรตัส แอนทีเรีย (serratus anterior muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่และโค้ง อยู่บริเวณด้านข้างทั้งสองของอก มีหน้าที่ช่วยยึดสะบัก ดึงสะบักไปข้างหน้า รูปที่ 19 แสดงกล้ามเนื้อของทรวงอกด้านหน้า (muscles of chest) 22 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

3.2) กล้ามเนื้อลำตัวด้านหลัง (muscles of back) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อลาติสสิมุส ดอร์ไซ (latissimus dorsi muscle) เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ ปกคลุมอยู่ บริเวณด้านล่างของหลังทั้งหมด มีหน้าที่ช่วยดึงต้นแขนเข้าหาลำตัวไปข้างหลัง รูปที่ 20 แสดงกล้ามเนื้อลำตัวด้านหลัง (muscles of back) 3.3) กล้ามเนื้อท้อง (muscles of abdomen) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อเอ๊กซ์เทอร์นัล แอบโดมินอล อ๊อบลิค (external abdominal oblique muscle) เป็น กล้ามเนื้อชั้นนอกสุดและแข็งแรงที่สุดของกล้ามเนื้อท้อง มีหน้าที่หมุนลำตัวไปด้านตรงข้าม (contralateral trunk rotation) กล้ามเนื้ออินเทอร์นัล แอบโดมินอล อ๊อบลิค (internal abdominal oblique muscle) เป็น กล้ามเนื้อท้อง ชั้นกลาง อยู่ใต้กล้ามเนื้อ external abdominal oblique มีหน้าที่หมุนลำตัวไปด้าน เดียวกันกับกล้ามเนื้อ (ipsilateral trunk rotation) เกร็งผนังช่องท้อง ช่วยในการหายใจออก และ ป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้เป็นอันตราย กล้ามเนื้อเร็คตัส แอบโดมินิส (rectus abdominis muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะแบนยาว ทอดตัวเป็นปล้องๆ ขนานกับแนวกลางลำตัวบริเวณกลางหน้าท้อง มีหน้าที่ช่วยงอลำตัว (trunk flexion) กล้ามเนื้อทรานเวอร์ซัส แอบโดมินิส (transversus abdominis muscle) เป็นกล้ามเนื้อท้อง มัดลึกคือถัดสุด มีหน้าที่ เกร็งผนังช่องท้อง และช่วยในการหายใจออก กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 23

รูปที่ 21 แสดงกล้ามเนื้อท้อง (muscles of abdomen) 3.4) กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (muscles of respiration) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อไดอาแฟรม (diaphragm muscle) เป็นกล้ามเนื้อกะบังลม มีรูปร่างโค้ง คล้ายรูป โดมอยู่ระหว่างช่องอกกับช่องท้อง ถ้ากะบังลมหดตัวโดมของกะบังลมจะแบนลงทำให้ปริมาตรช่องอก เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดการหายใจเข้า แต่ถ้ากะบังลมคลายตัวโดมจะสูงขึ้นทำให้ปริมาตรช่องอกลดลง จะ ทำให้เกิดการหายใจออก กล้ามเนื้อเอ็กซ์เทอร์นัล อินเตอร์คอสตอล (external intercostals muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ ระหว่างช่องกระดูกซี่โครงทุกช่อง เกาะจากขอบล่างของกระดูกซี่โครงอันบนลงมายังขอบบนของ กระดูกซี่โครงอันล่างของช่องซี่โครงนั้นๆ เส้นใยกล้ามเนื้อเฉียงไปทางด้านหน้ามีหน้าที่ช่วยในการ หายใจเข้าโดยการยกกระดูกซี่โครงขึ้น ทำให้ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อสกาลีน (scalene muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะจากกระดูกคอลงมาที่ขอบบนของ กระดูกซี่โครงอันบนลงมายังขอบบนของกระดูกซี่โครงชิ้นที่ 1 และ 2 มีหน้าที่ช่วยในการหายใจเข้า โดยการยกกระดูกซี่โครงขึ้น ทำให้ช่องอกมีปริมาตรเพิ่มขึ้น เช่นกัน 4. กล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน (muscles of the pelvic floor) กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แอไน (levator ani muscles) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเล็ก 3 มัด ได้แก่ กล้ามเนื้อไอลิโอคอคซิเจียส (iliococcygeus muscle) กล้ามเนื้อพิวโบคอคซิเจียส (pubococcygeus muscle) และ กล้ามเนื้อพิวโบเร็คตาลิส (puborectalis muscle) ทำหน้าที่รองรับอวัยวะภายในอุ้ง เชิงกราน กล้ามเนื้อคอคซีเจียส (coccygeus muscle) ทำหน้าที่ ดึงกระดูกก้นกบกลับสู่ตำแหน่งปกติหลัง จากขับถ่ายอุจจาระ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 24

รูปที่ 22 แสดงกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (muscles of respiration) รูปที่ 23 แสดงกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกราน (muscles of the pelvic floor) 25 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

5. กล้ามเนื้อแขน (muscles of the upper extremities) 5.1) กล้ามเนื้อหัวไหล่ (muscles of shoulder girdle) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (deltoid muscle) มีหน้าที่กางแขนออก กล้ามเนื้อซูพราสไปเนตัส (supraspinatus muscle) มีหน้าที่ช่วยในการเริ่มกางแขนออก กล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (teres major muscle) มีหน้าที่หุบแขนเข้า กล้ามเนื้อเทเรส ไมเนอร์ (teres minor muscle) มีหน้าที่หมุนหัวไหล่ออก กล้ามเนื้ออินฟราสไปเนตัส (infraspinatus muscle) มีหน้าที่หมุนหัวไหล่ออก กล้ามเนื้อซับสแคพูลาริส (subscapularis muscle) มีหน้าที่หมุนหัวไหล่เข้า รูปที่ 24 แสดงกล้ามเนื้อหัวไหล่ด้านหลัง (muscles of shoulder girdle) รูปที่ 25 แสดงกล้ามเนื้อหัวไหล่กล้ามเนื้อซับสแคพูลาริส (subscapularis muscle) 26 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

5.2) กล้ามเนื้อต้นแขน (muscles of the arm) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อไบเซปส์ เบรคิไอ (biceps brachii muscle) มีหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis muscle) มีหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ กล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis muscle) มีหน้าที่ช่วยในการงอข้อศอก กล้ามเนื้อไทรเซปส์ เบรคิไอ (triceps brachii muscle) มีหน้าที่เหยียดข้อศอก รูปที่ 26 แสดงกล้ามเนื้อต้นแขน (muscles of the arm) 5.3) กล้ามเนื้อปลายหน้าแขน (muscles of the forearm : anterior group) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อโพรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres muscle) มีหน้าที่คว่ำมือ กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ คาร์ปาย เรเดียลิส (flexor carpi radialis muscle) มีหน้าที่งอข้อมือ กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ คาร์ปาย อัลนาริส (flexor carpi ulnaris muscle) มีหน้าที่งอข้อมือ กล้ามเนื้อพาลมาริส ลองกัส (palmaris longus muscle) มีหน้าที่งอข้อมือ กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ ดิจิทอรุม โพรฟันดัส (flexor digitorum superficialis muscle) มีหน้าที่ งอนิ้วมือ 5.4) กล้ามเนื้อปลายแขนด้านหลัง (muscle of the forearm : posterior group) ประกอบด้วย กล้ามเนื้อเอ๊คซ์เทนเซอร์ คาร์ปาย เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus muscle) มีหน้าที่เหยียดข้อมือ กล้ามเนื้อเอ๊คซ์เทนเซอร์ คาร์ปาย อัลนาริส (extensor carpi ulnaris muscle) มีหน้าที่เหยียด ข้อมือ กล้ามเนื้อเอ๊คซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (extensor digitorum muscle) มีหน้าที่เหยียดนิ้วมือ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 27

รูปที่ 27 แสดงกล้ามเนื้อปลายแขน (muscles of the forearm) 5.5) กล้ามเนื้อมือ (muscles of the hand) เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ สั้นๆ ทำหน้าที่ช่วยในการ เคลื่อนไหวของมือได้อย่างละเอียดอ่อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ ดังนี้คือ รูปที่ 28 แสดงกล้ามเนื้อฝ่ามือ (thenar and hypothenar muscles) 28 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

กล้ามเนื้อทีนาร์ (thenar muscle) เป็นกล้ามเนื้อมือที่ช่วยในการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อไฮโปทีนาร์ (hypothenar muscle) เป็นกล้ามเนื้อมือที่ช่วยในการเคลื่อนไหวนิ้วก้อย กล้ามเนื้ออินเตอร์รอชชิไอ (interossei muscle) มีหน้าที่ช่วยเคลื่อนไหวนิ้ว รูปที่ 29 แสดงกล้ามเนื้อภายในฝ่ามือ (interossei muscles) 6. กล้ามเนื้อขา (muscles of the lower extremities) ประกอบด้วย 6.1) กล้ามเนื้อก้น (muscles of the buttock) เป็นกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของ สะโพกและต้นขา ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ ดังนี้คือ กล้ามเนื้อกลูเทียส แม๊กซิมัส (gluteus maximus muscle) มีหน้าที่เหยียดสะโพก กล้ามเนื้อกลูเทียส มีเดียส (gluteus medius muscle) มีหน้าที่กางขาและหมุนขาเข้าด้านใน กล้ามเนื้อกลูเทียส มินิมัส (gluteus minimus muscle) มีหน้าที่กางขาและหมุนขาเข้าด้านใน รูปที่ 30 แสดงกล้ามเนื้อก้น (muscles of the buttock) 29 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

6.2) กล้ามเนื้อต้นขา (muscle of the thigh) ประกอบด้วย 6.2.1) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (muscle of the anterior thigh) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ ดังนี้คือ กล้ามเนื้อซาร์โทเรียส (sartorius muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ยาวที่สุดของร่างกาย มีลักษณะ พาดเฉียงเข้าด้านใน ทำหน้าที่ในการงอต้นขาและปลายขา กล้ามเนื้อควอไดรเซปส์ ฟีมอริส (quadriceps femoris muscles) ทำหน้าที่งอสะโพกและ เหยียดเข่า ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด คือ กล้ามเนื้อเร็คทัส ฟีมอริส (rectus femoris muscle) กล้ามเนื้อวาสทัส แลเทอราลิส (vastus lateralis muscle) กล้ามเนื้อวาสทัส มีเดียลลิส (vastus medialis muscle) และกล้ามเนื้อวาสทัส อินเตอร์มีเดียส (vastus intermedius muscle) รูปที่ 31 แสดงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (muscle of the anterior thigh) 6.2.2) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (muscle of the posterior thigh) ประกอบด้วยกลุ่มกล้ามเนื้อที่ เรียกว่า แฮมสตริง (hamstring muscles) ซึ่งทำหน้าที่เหยียดสะโพกและงอเข่า โดยกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อไบเซปส์ ฟีมอริส (biceps femoris muscle) กล้ามเนื้อเซมิเทนดิโนซัส (semitendinosus muscle) กล้ามเนื้อเซมิเมมเบรโนซัส (semimembranosus muscle) กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 30

รูปที่ 32 แสดงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (muscle of the posterior thigh) 6.3 กล้ามเนื้อปลายขา (muscles of the legs) ประกอบด้วย 6.3.1 กล้ามเนื้อปลายขาด้านหน้า เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของกระดูกหน้าแข้ง (tibia) มีหน้าที่ ช่วยกระดูกปลายเท้าขึ้นและเหยียดนิ้วเท้า ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญๆ คือ รูปที่ 33 แสดงกล้ามเนื้อปลายขาด้านหน้า-หลัง (muscle of the leg) 31 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข

กล้ามเนื้อทิเบียลิส แอนทีเรีย (tibialis anterior muscle) มีหน้าที่กระดกข้อเท้าขึ้น กล้ามเนื้อฟิบูลาริส เทอร์เทียส (fibularis tertius muscle) มีหน้าที่กระดกข้อเท้าขึ้น กล้ามเนื้อฟิบูลาริส ลองกัส (fibularis longus muscle) มีหน้าที่ตะแคงเท้าออกด้านนอก กล้ามเนื้อเอ๊คซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม ลองกัส (extensor digitorum longus muscle) มีหน้าที่ เหยียดนิ้วเท้า 6.3.2 กล้ามเนื้อปลายขาด้านหลัง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหลายมัดแต่ที่สำคัญมี 2 มัด คือ กล้ามเนื้อแก๊สทรอคนีเมียส (gastrocnemius muscle) มีหน้าที่ถีบเท้าลงและงอเข่า กล้ามเนื้อโซเลียส (soleus muscle) มีหน้าที่ถีบเท้าลง 6.4) กล้ามเนื้อเท้า (muscles of the foot) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญ คือ แอบดัคเตอร์ ฮอลลูซิส (abductor hallucis) แอบดัคเตอร์ ดิจิไท มินิไม (abductor digiti minimi) เฟล็คเซอร์ ดิจิทอรุม เบ รวิส (flexor digitorum brevis muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ที่ฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยค้ำจุนและ เคลื่อนไหวขณะทรงตัว เดินหรือวิ่ง รูปที่ 34 แสดงกล้ามเนื้อฝ่าเท้า (muscle of the plantar region) กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาพื้นฐานสำหรับงานสาธารณสุข 32


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook