Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ปัญหาประสาทสัมผัสในผู้สูงอายุ (ตอนที่ 1)

ปัญหาประสาทสัมผัสในผู้สูงอายุ (ตอนที่ 1)

Published by Nongnutch Chowsilpa, 2021-02-24 06:58:48

Description: ปัญหาประสาทสัมผัสในผู้สูงอายุ (ตอนที่ 1)

Search

Read the Text Version

ปญหาระบบประสาท สัมผัสในผู้สูงอายุ (ตอนที 1 ปญหาเกยี วกบั การมองเหน็ ) อาจารย์นงนุช เชาวน์ศิลป

บทท่ี 5 ปญั หาเกยี่ วกับประสาทสัมผสั ในผสู้ ูงอายุและการดูแล ตอนที่ 1: ปญั หาเกีย่ วกบั การมองเหน็ นงนชุ เชาวนศ์ ิลป์ การเปลย่ี นแปลงเกย่ี วกบั ประสาทสัมผัสในผสู้ ูงอายุ ผสู้ งู อายมุ ีแนวโน้มของการเปลยี่ นแปลงตามวยั ในระบบต่าง ๆ ของรา่ งกาย รวมถึงระบบประสาทสัมผัส พบวา่ มีการเปลยี่ นแปลงตา่ ง ๆ ดงั นี้ การมองเห็น มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้การมองเห็นไม่ดีเหมือนเช่นเคย เนื่องจากรูม่านตาเล็กลงและ ตอบสนองต่อแสงลดลง หนังตาตก แก้วตาเริ่มขุ่นมัว เกิดต้อกระจก ลานสายตาแคบ กล้ามเนื้อลูกตาเสื่อม ความไวในการมองภาพลดลง สายตายาว การมองเห็นในเวลามืดหรือกลางคืนจะไม่ดี ตาแห้งและเยื่อบุตา ระคายเคืองงา่ ย นอกจากน้ันการมองเหน็ สจี ะลดลง 25% เมอ่ื อายุ 50 ปี และจะลดลงถึง 50% เม่ืออายุ 70 ปี สามารถแยกสีแดง ส้ม และเหลืองได้ดี แต่แยกสีน้ำเงิน ม่วง และเขียวไม่ดี ผู้สูงอายุจึงมักชอบสีที่สดสว่าง มากกวา่ สีอ่นื การได้ยนิ จะลดลง มีอาการหูตงึ มากขึ้น เนือ่ งจากมีการเสือ่ มของอวยั วะในหชู ้นั ในและเส้นประสาทหูคู่ ท่ี 8 เนื้อเยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นกลางแข็งตัวมากขึ้น มีข้อมูลวิจัยระบุว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุ จะเสียที่ระดบั เสียงสงู ก่อน จึงได้ยินระดับเสยี งสูงน้อยกว่าระดับเสยี งตำ่ นอกจากนี้ยังพบว่า ขี้หูจะลดลง ช่องหู จะแคบลง จึงทำให้ผู้สูงอายุเกิดหูอุดตันได้บ่อย (ร้อยละ 57) ส่วนเสียงพูดเปลี่ยนไปเพราะกล้ามเนื้อเสียงและ สายเสียงบางลง รวมไปถึงพบวา่ มกี ารเปลย่ี นแปลงเก่ยี วกับการทรงตวั เกดิ อาการเวียนศีรษะ บา้ นหมุน และการ เคล่ือนไหวไมค่ ล่องตวั เนอื่ งจากหลอดเลือดท่ีไปเล้ยี งหูช้นั ในมภี าวะแข็งตัว การรับกลิ่น เยื่อบุโพรงจมูกเสื่อมลง จึงทำให้ความสามารถจำแนกกลิ่นได้ลดลง ไม่ได้กลิ่นอาหาร มลพิษ และกลน่ิ ท่ีทำใหเ้ กิดอันตรายต่าง ๆ เชน่ ไฟไหม้ แกส๊ รัว่ เปน็ ตน้ การรับรส เน่อื งจากตอ่ มรบั รสทล่ี นิ้ ลดจำนวนและฝ่อลีบลง ประกอบกับนำ้ ลายจะข้นขน้ึ ทำให้ช่องปาก แห้งได้ง่าย ความสามารถในการรับรสจึงด้อยประสิทธิภาพลง โดยจะสูญเสียความสามารถในการรับรสหวาน เปรี้ยว ขม และเค็ม ตามลำดับ ทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารรสจัดขึน้ มีความรู้สึกว่าอาหารรสชาติไม่อร่อย จงึ ทำให้เบอื่ อาหาร การรับสัมผัสและผิวหนัง น้ำและไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหนังบางเหี่ยวย่นแห้งแตกง่าย เป็น แผลงา่ ย จำนวนเซลลร์ ับการกระต้นุ ทผ่ี ิวหนังลดลง การไหลเวียนของเลอื ดลดลง ทำให้การทนต่ออุณหภูมิร้อน และเย็นลดลง ต่อมเหงื่อลดลง ฝ่อลง ทำให้ผู้สูงอายุขบั เหงื่อได้ไม่ดี จึงมีความสามารถในการระบายความร้อน ออกจากรา่ งกายไดไ้ ม่ดี ทำให้เป็นลมแดดได้ง่าย มผี มและขนลดลง เปลีย่ นเปน็ สีขาว

ปญั หาเกย่ี วกบั การมองเห็นในผ้สู ูงอายุ: ปัญหาทางสายตาและการดูแล ในขณะท่ีคนเรามีอายุมากขนึ้ กลา้ มเน้ือท่ีทำหน้าท่ยี ืดหดเลนส์ลูกตา จะออ่ นกำลังลงทำให้ลำบากในการ เพง่ ดสู งิ่ ของ โดยเฉพาะอย่างย่ิงวัตถุเล็ก ๆ สว่ นสายตาจะยาวออก คนที่มปี ระวัติสายตาสั้นเวลามองสิ่งของใกล้ ๆ จึงต้องถอดแว่นตาออก ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นธรรมดาของร่างกายมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน ปญั หาทางสายตาที่พบไดบ้ ่อย ในผ้สู ูงอายุ มดี ังน้ี อาการผิดปกติท่คี วรมาพบแพทย์ 1. ตามวั 2. อาการสู้แสงไม่ได้ 3. มองเหน็ จุด หรอื เสน้ สีดำลอยไปมา 4. เห็นแสงวาบ แสงฟา้ แลบ 5. การเหน็ ตอนกลางคืนผดิ ปกติ 6. มองเห็นภาพซ้อน 7. เหน็ แสงสรี งุ้ รอบดวงไฟ 8. มีอาการปวดตา 9. คนั ตา 10. อาการตาแดง ปญั หาทางสายตาทพี่ บบ่อยในผู้สงู อายุ สายตายาวสูงอายุ สายตายาวสูงอายุ (Presbyopia) คอื ภาวะท่เี กิดขน้ึ เม่ือดวงตาสูญเสียความสามารถในการมองเห็น สิ่งของระยะใกล้ โดยสาเหตุหลักของ Presbyopia มาจากการเสื่อมของดวงตาตามธรรมชาติเมื่ออายุเพิ่มมาก ขึ้น ภาวะสายตายาวสูงอายุ โดยทั่วไปอาจทราบได้ เมื่อต้องเริ่มถือหนังสือ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ในระยะสุด ปลายแขน มักเกิดขน้ึ ในชว่ งต้นอายุ 40 ปี เป็นตน้ ไป และการมองเห็นจะแย่ลงอย่างตอ่ เนอ่ื งจนถึงอายุ 65 ปี อาการของสายตายาวสูงอายุ ภาวะสายตายาวสงู อายุไม่ใช่ส่งิ ทเ่ี กิดขึ้นอยา่ งปจั จุบนั ทันดว่ น โดยอาการทีพ่ บบ่อย คือ - ตอ้ งอา่ นหนงั สือในระยะไกลกวา่ ปกติถึงจะมองเห็นตัวอักษรไดช้ ัด - มองเหน็ ไมช่ ัดเจนในระยะอา่ นหนังสือปกติ - ปวดตาหรือปวดศีรษะหลังอ่านหนงั สือหรือทำงานทตี่ ้องใช้สายตา อาการเหล่านี้อาจแย่ลงเมื่อมีอาการเหนื่อยล้า ดื่มแอลกอฮอล์ หรืออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ จึง ควรไปพบแพทย์ ถา้ พบวา่ สายตาเปน็ อปุ สรรคต่อการอ่านหนงั สือ สง่ ผลตอ่ การทำงานท่ีต้องใชส้ ายตา และกระทบ ต่อกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิต แพทย์สามารถตรวจได้ว่าผู้เกิดอาการมีภาวะสายตายาวสูงอายุหรือไม่ และจะแนะนำ ทางเลือก รวมถึงค้นหาวธิ กี ารรกั ษาโดยทนั ที ถ้าผเู้ ขา้ รับการตรวจมีอาการดงั ต่อไปนี้ - สญู เสยี การมองเห็นในดวงตาขา้ งหนึ่งอย่างกะทนั หัน 2

- เกดิ อาการสายตาพรา่ มวั อย่างกะทนั หัน - เห็นแสงสวา่ งวาบ เหน็ จุดดำ หรอื เห็นรัศมีรอบแสงไฟ สาเหตุของสายตายาวสงู อายุ กระบวนการรับภาพของคนเรานั้น ดวงตาต้องอาศัยกระจกตา ซึ่งมีรูปทรงคล้ายโดมใสที่อยู่บนพื้นผิว ด้านหนา้ ของดวงตา และเลนส์ดวงตา ซ่งึ มีลักษณะใส ทำหน้าท่ีรับแสงท่ีสะท้อนมาจากวัตถุต่าง ๆ ท้ังสองส่วนนี้จะ ชว่ ยหกั เหแสงที่เข้ามาผ่านดวงตาไปยังเรตินา ซึง่ ต้ังอยบู่ นผนงั ด้านหลังดวงตาของเรา และทำให้เห็นเป็นภาพตา่ ง ๆ เลนส์ดวงตานั้นไม่เหมือนกับกระจกตา เลนส์ดวงตามีความยืดหยุ่นและสามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ โดย อาศยั กล้ามเน้ือวงแหวนท่ีอยบู่ ริเวณโดยรอบ เม่ือคนเรามองวตั ถุในระยะไกล กลา้ มเน้อื วงแหวนสว่ นนี้จะคลายตัว ในทางกลบั กัน เม่ือคนเรามองวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ กล้ามเนอื้ นีจ้ ะหดตัว เพอ่ื ชว่ ยปรบั ระดบั ความโค้งงอของเลนส์ ดวงตา และปรบั ระดับความชดั เจนในการมองเห็นส่ิงตา่ ง ๆ สายตายาวสูงอายุเกิดขึน้ จากการทีเ่ ลนส์ดวงตามีความแข็งตัวมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น เมื่อเลนส์ดวงตา ของคนเรายืดหยุ่นน้อยลง จึงไม่สามารถเปลี่ยนรูปทรงเพื่อรับภาพในระยะใกล้ได้อีกแล้ว ผลที่ตามมาก็คือ เราจะ เห็นส่ิงท่อี ยใู่ นระยะใกล้เป็นภาพพรา่ มัวนน่ั เอง ปจั จยั เส่ียง ปัจจยั เส่ยี งของภาวะสายตายาวสงู อายุจากปจั จยั ดงั ตอ่ ไปนี้ - อายุ คือปัจจัยเสย่ี งท่ีใหญ่ทีส่ ุดสำหรับภาวะสายตายาวสงู อายุ เกอื บทุกคนต้องมภี าวะน้บี า้ งไม่มาก กน็ อ้ ย เม่ือมีอายุ 40 ปี - ภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ถ้าคนสายตายาวหรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ อยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรคหัวใจ ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการมีภาวะสายตา ยาวกอ่ นวยั อันควร ซ่ึงหมายถงึ การเกิดภาวะสายตายาวในผูท้ ม่ี ีอายุนอ้ ยกวา่ 40 ปี - การรับประทานยา การรับประทานยาเชื่อมโยงกับการเกิดภาวะสายตายาวสูงอายุได้ ยาเหล่าน้นั ประกอบด้วย ยาแกแ้ พ้ ยารกั ษาโรคซึมเศรา้ และยาขบั ปัสสาวะ เป็นตน้ การวนิ ิจฉัยและการรักษาโรค จักษุแพทย์จะสอบถามอาการเบื้องต้น ยาที่ใช้ และโรคประจำตัว จากนั้นจะตรวจตาด้วยวิธีต่าง ๆ โดยอาจตรวจด้วยวิธีใดวิธหี น่งึ หรือใช้รว่ มกัน เช่น - การตรวจวัดระดับการมองเห็น (Visual Acuity Test) โดยแพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็น กระดานทม่ี ตี วั เลขและตัวอักษร เพ่ือใหผ้ ้ปู ว่ ยบอกตัวเลขและตัวอักษรทเ่ี ห็น วธิ ีนีจ้ ะวัดระยะการมองเห็นว่าอยู่ ทรี่ ะดบั ใกลห้ รอื ไกล - การตรวจวดั คา่ สายตา (Refraction Test) จะชว่ ยบอกถงึ ค่าระดบั สายตาว่าสั้น ยาว หรอื เอียง - การตรวจด้วย Slit-lamp เพอ่ื ตรวจดเู ลนสห์ รือส่วนประกอบอนื่ ภายในดวงตาอยา่ งละเอยี ด - การตรวจส่วนหลังลูกตา (Dilated Fundus Examination) โดยหยอดยาขยายรูม่านตา เพื่อให้ ตรวจสอบลักษณะดา้ นในดวงตาไดช้ ัดเจนมากขนึ้ - การตรวจตาอน่ื ๆ เช่น ตรวจการตอบสนองของรมู ่านตา (Pupil Test) และการเคลอื่ นไหวลูกตา 3

การรักษาภาวะสายตายาวสูงอายุ - สวมแว่นตา การสวมแวน่ ตาเป็นวิธีทเี่ รียบงา่ ยและปลอดภยั ที่สุด สำหรบั แก้ปัญหาทางสายตาจาก ภาวะสายตายาวสงู อายุ - ใส่คอนแท็คเลนส์ ผู้ที่ไม่อยากสวมแว่นตามักนิยมใส่คอนแท็คเลนส์เพื่อแก้ปัญหาด้านสายตาจาก ภาวะสายตายาวสูงอายุ แต่อาจไมเ่ หมาะกบั ผู้ท่ีมีปัญหาเกยี่ วกบั เปลอื กตา ทอ่ น้ำตา และพนื้ ผิวของดวงตา - การผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive Surgery) การผ่าตัดรักษาภาวะสายตาผิดปกติ จะทำเพื่อเปลี่ยนรูปทรงกระจกตา สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตายาวสูงอายุการรักษาชนิดนี้จะช่วยแก้ไขการ มองเห็นระยะใกล้ในดวงตาข้างที่ไม่ถนัด เปรียบเสมือนการใส่คอนแท็คเลนส์แบบ โมโนวิชั่น (monovision) แม้ว่าหลงั จากผา่ ตัดแล้ว อาจจำเป็นตอ้ งใช้แว่นตาในการทำงานทีต่ อ้ งใช้สายตาเพง่ มอง - การฝังเลนส์ดวงตาเทียม จักษุแพทย์บางท่านจะใช้วิธีการนี้เปลี่ยนเลนส์ดวงตาแท้ของตาแต่ละ ขา้ งดว้ ยเลนสด์ วงตาเทียม วิธีการน้ีเรียกวา่ การฝังเลนส์ดวงตาเทยี ม - การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง เพื่อรับมือกับภาวะสายตายาวสูงอายุ เป็นเคล็ดลับท่ี อาจช่วยให้ป้องกนั ภาวะสายตายาวสงู อายไุ ด้ จอประสาทตาเสื่อม “โรคจอประสาทตาเสื่อม” หรือ “โรคจอตาเสื่อม” (Aged-related macular degeneration - AMD) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของจอประสาทตาในบริเวณจุดภาพชัด (Macula) เป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยมี สายตาเลือนรางหรือตาบอด โดยเฉพาะตรงกลางของภาพ (แต่ยังคงมองเห็นขอบดา้ นขา้ งของภาพได้ปกติ) ซ่ึง ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการเสื่อมของจอประสาทตาขึ้นอย่างช้า ๆ จนแทบไม่ทันสังเกตหรือไม่รู้สึกว่าผิดปกติ ในขณะทบ่ี างรายอาจเกิดการเสอื่ มของจอประสาทตาอย่างรวดเรว็ กไ็ ด้ โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) เป็นโรคที่เริ่มพบได้ในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี และพบได้บ่อยในผู้ที่มี อายุมากกว่า 65 ปี ในปัจจุบันประชากรโลกมีอายุเพิ่มขึ้น จึงพบว่า โรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขมากขึ้น เรื่อย ๆ และมีการประเมินว่า โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดได้มากกว่าครึ่ง (54%) และ คาดการณ์ว่ามคี วามชกุ ของโรคน้ีอยทู่ ป่ี ระมาณ 1.2-1.8% ในประชากรทม่ี ีอายุมากกว่า 50 ปขี ้ึนไป ชนิดของจอประสาทตาเสอื่ ม โรคนแ้ี บ่งออกเปน็ 2 ชนดิ ได้แก่ ชนดิ แห้ง (Dry) และชนิดเปยี ก (Wet) 1. โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแหง้ (Dry AMD หรือ Early AMD) เป็นชนิดที่พบไดม้ ากท่ีสุดในขน้ั เริ่มต้นหรือขั้นปานกลาง ซึ่งจะพบได้ประมาณ 85-90% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ อาการมักจะเกิดขึ้นแบบค่อย เป็นค่อยไป จึงทำให้ความสามารถในการมองเห็นของผ้ปู ว่ ยลดลงอย่างช้า ๆ โดยพบว่าเกดิ จากการเสื่อมสลาย และบางลงของจุดภาพชัด (Macula) จากกระบวนการเสื่อมตามอายุ โดยไม่มีรอยแผลเปน็ หรือมเี ลอื ดออก 2. โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (Wet AMD หรือ Late AMD) เป็นชนิดทีพ่ บไดน้ ้อยกว่าชนิด แห้งมาก คือ พบได้ประมาณ 10-15% และมีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีจอประสาทตาเสื่อม 4

ชนิดแห้งนำมาก่อน อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว และอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดได้ โดยพบว่าเกิดจากการที่เซลล์จอประสาทตาเส่ือม บางลง และมี หลอดเลือดผิดปกติที่งอกขึ้นใหม่ในผนังลูกตาชั้นกลาง (ชั้นเนื้อเยื่อคอรอยด์) บริเวณใต้จุดภาพชัด ซึ่งหลอด เลือดเหล่านี้จะมีความเปราะบางและแตก/รั่วซึมได้ง่าย เมื่อเกิดการแตกหรือรั่วซึมจึงทำให้มีเลือดและ ของเหลวค้างอยู่ใต้จอประสาทตา ทำให้จุดภาพชัดบวมและเกิดการทำลายจอประสาทตาอย่างรวดเร็ว และ การทำลายนี้อาจทำให้เกดิ แผลเป็นท่จี อประสาทตาได้ดว้ ย สาเหตุของโรคจอประสาทตาเสอื่ ม ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความเสื่อมของเซลล์ จอ ประสาทตามกี ารบางตัวลงของเซลล์ มกี ารสะสมของเสียจากเซลล์จอประสาทตา จึงทำใหเ้ กดิ ความเสียหายต่อ เซลล์รับภาพมากขึน้ และจากการที่มักพบโรคนีไ้ ด้ในผู้สูงอายุ จึงทำให้เชื่อว่าเป็นกระบวนการเสือ่ มสภาพของ ร่างกาย (Aging Process) นอกจากนี้ยังมีอีกหลายภาวะที่จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคจอ ประสาทตาเสือ่ ม ได้แก่ - อายุ เพราะมักพบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 50-60 ปีขึ้นไป (อายุยิ่งมากยิ่งมีความ เส่ียงสงู ขึ้น) - กรรมพันธุ์/พันธุกรรม เพราะพบว่าในฝาแฝดจะเกิดโรคนี้ได้เหมือน ๆ กัน และพบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีประวัติที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน (จากการวิจัยล่าสุดสามารถค้นพบ ยนี ท่ีมีความเกี่ยวขอ้ งกับโรคจอประสาทตาเส่ือม ดงึ นั้นจงึ มคี ำแนะนำให้ผู้ทมี่ ีความสัมพนั ธ์ทางพนั ธุกรรมของผู้ ทีเ่ ป็นโรคกับญาติสายตรงไปรับการตรวจเชก็ จอประสาทตาทุก 2 ปี) - เชอ้ื ชาติ เพราะพบอุบตั ิการณ์ของโรคน้ีได้มากท่ีสุดในคนผิวขาว (Caucasian) - เพศหญิง เพราะมักพบโรคน้ีในเพศหญิงมากกวา่ เพศชาย - โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึง่ รวมถงึ โรคเบาหวาน โรคความดนั โลหิตสงู และโรคไขมันในเลือดสูง ทเ่ี ปน็ ปจั จัยเสยี่ งของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง นอกจากนี้ในผปู้ ่วยท่ตี ้องรบั ประทานยาลดความดัน โลหิต และมีระดับของไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและระดับแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในเลือดต่ำ จะมี ความเสย่ี งสูงมากตอ่ การเกิดโรคจอประสาทตาเสอ่ื มชนิดเปยี ก (Wet Dry) - โรคอ้วน ผทู้ ม่ี นี ำ้ หนักตวั มากอาจทำใหโ้ รคจอประสาทตาเส่ือมเปน็ มากข้ึน - วัยหมดประจำเดือน หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมนเอสโตรเจนจะมี ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น (มีหลักฐานพบว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนน่าจะช่วยป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ ดังนั้นในผู้หญงิ วัยขาดฮอรโ์ มนน้จี งึ มีโอกาสเป็นโรคนี้ไดบ้ อ่ ยกวา่ ) - สายตาสั้นมาก ๆ (Pathologic myopia) แต่บางข้อมูลก็ระบุว่า ผู้ท่ีมีสายตายาว (Hyperopia) จะมีโอกาสเกิดโรคนไี้ ดม้ ากกวา่ ผ้ทู ี่มสี ายตาปกตหิ รือมสี ายตาสั้น - มา่ นตาสีออ่ น (Light iris coloration) - ตาได้รบั แสงแดดอยา่ งเรอื้ รงั 5

- การสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่เรื้อรัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะสารพิษในควัน บุหรี่สามารถทำลายเซลล์จอประสาทตาได้โดยตรง และก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ซึ่งรวมทั้งหลอดเลือดจอ ประสาทตา นอกจากน้ียังมหี ลักฐานการวิจัยพบว่า ผู้ท่สี บู บุหรี่จะมีโอกาสเส่ียงต่อการเป็นโรคน้ีมากกว่าผู้ท่ีไม่สูบ บุหร่อี ย่างน้อย 6 เท่า และการสูบบหุ ร่ียังมีโอกาสทำให้เกิดโรคน้ีได้เร็วกวา่ ผ้ทู ่ีไม่สูบบุหรี่ถึง 10 ปี โดยเฉพาะอย่าง ยง่ิ ในผู้สูบบุหรที่ ่ีมีประวตั มิ บี คุ คลในครอบครัวเป็นโรคน้รี ่วมดว้ ยจะมโี อกาสเพิ่มขึ้นถึง 30 เท่า - การด่ืมสุรา - ขาดอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ และอาจขาดสารต้านอนุมูลอสิ ระบางชนิด โดยเฉพาะลูทีน (Lutein) และซแี ซนทนี (Zeaxanthin) อาการของโรคจอประสาทตาเส่ือม อาการและอาการแสดงของโรคนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย และเป็นเรื่องยากที่ผู้ป่วยจะ สงั เกตเหน็ ถงึ ความผดิ ปกติในการมองเห็นได้ดว้ ยตัวเองในระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างหน่ึงยังมองเห็น ได้ดีอยู่ ผู้ป่วยก็อาจไม่ทันได้สังเกตเห็นถึงความผิดปกติกับตาอีกข้างไปหลายปีก็ได้ แต่ในรายที่จอประสาทตา เสื่อมเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผดิ ปกติในการมองเหน็ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น มองตรงกลางภาพไม่ ชดั หรอื มดื ดำไป มองเหน็ ภาพบดิ เบยี้ ว เปน็ ต้น ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ “ผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-64 ปี ที่ไม่มีอาการผิดปกติในการมองเห็น ควรได้รับ การตรวจสุขภาพตา/จอประสาทตาทุก 2-4 ปี ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจทุก 1-2 ปี แม้ จะไม่พบอาการผดิ ปกติอะไรก็ตาม” เนื่องจากการที่ผปู้ ว่ ยจะรูถ้ งึ ความผดิ ปกติในระยะเร่ิมแรกเปน็ สิง่ ทยี่ าก แต่ ในขณะเดียวกันการตรวจพบและให้การรักษาในระยะแรกเริ่มก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด เพราะจอประสาทตาท่ี เสอื่ มไปแล้วมีแต่จะเป็นมากข้นึ เรื่อย ๆ การรกั ษาหลักในปัจจุบันทำได้เพียงแคห่ ยุดหรือชะลอการเส่ือมของจอ ประสาทตาใหช้ า้ ที่สุด และอาจรกั ษาไมไ่ ด้เลยถ้าเปน็ รนุ แรง สำหรบั อาการของโรคจอประสาทตาเสอื่ มทีอ่ าจพบได้ คือ - ในระยะแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติหรอื ผู้ปว่ ยอาจไม่ทนั ไดส้ งั เกตเห็น และจกั ษุแพทยม์ ักตรวจพบ การเปลยี่ นแปลงต่าง ๆ ของจอประสาทตาไดโ้ ดยบงั เอญิ เชน่ จากการตรวจสขุ ภาพตาเพือ่ วดั สายตา การตรวจ สุขภาพตาประจำปี - มองเห็นภาพไม่ชัดหรือตามัวลงเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกลางของภาพ ซึ่งผู้ป่วยอาจ มองเห็นได้ไม่ชัด มองเห็นเป็นเงาดำ ๆ บังอยู่ตรงกลางภาพ หรือมองไม่เห็น จึงทำให้ผู้ป่วยมองภาพ อ่าน หนังสือ ขับรถ จำหน้าคน หรือทำงานที่ต้องใช้ความละเอียดได้ยากกว่าปกติ ซึ่งอาจกระทบต่อคุณภาพชีวิต และความปลอดภัยในการเดินทางได้ จึงควรระวังในการเดินทางและควรมคี นคอยช่วยดูแลอยู่เสมอ อย่างไรก็ ตาม โรคนี้จะทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะตรงกลางของภาพเท่านั้น โดยที่ภาพด้านข้างหรือตรงขอบยัง มองเห็นได้ดีอยู่ (เกิดความผิดปกติของการมองเห็นตรงส่วนกลางของลานตา แต่ไม่กระทบต่อลานสายตาส่วน รอบนอก) เชน่ ผปู้ ่วยอาจมองเหน็ ตัวคน แตส่ ว่ นของใบหน้าจะเบลอมองเห็นได้ไมช่ ัด หรือมองเห็นเฉพาะขอบ ของนาฬิกา แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเวลาอะไร ดังนั้น โดยตัวของโรคจอประสาทตาเสื่อมแล้วจะไม่ทำให้ 6

การมองเห็นมืดสนิทไปหมด แม้แต่ในรายที่เป็นมากก็ตาม ผู้ป่วยจึงยังพอมองเห็นภาพทางด้านขอบข้างของ ภาพ และพอทีจ่ ะช่วยเหลอื ดูแลตัวเองไดบ้ ้าง - มองเห็นภาพบิดเบี้ยว (จะเห็นภาพบิดเบี้ยวชัดเจนมากขึ้นเมื่อมองภาพในระยะใกล้ ๆ) มองเห็น เส้นตรงเป็นคลื่นหรือเป็นเส้นคด มองเห็นป้ายสัญญาณจราจรผิดเพี้ยนไป มองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นขาด มองเห็นลดลงไมต่ รงกลางเสน้ - สายตาไม่ดเี มือ่ อย่ใู นที่สลัว เวลาอ่านหนังสอื หรือทำงานที่ประณีต หรือต้องมองใกล้ ๆ จำเป็นต้อง อาศยั แสงสวา่ งมากขน้ึ - มองเห็นสีได้ไม่ชัดเจน (สีจางหรือมืดมัวกว่าปกติ) มองเห็นสีผิดเพี้ยนไป เนื่องจากบริเวณจุดรับ ภาพชัดมเี ซลล์ประสาทรับรู้แสงและสี (Cones) อยู่หนาแน่น - มองเหน็ ขนาดภาพเปลีย่ นไป เห็นวตั ถมุ ีขนาดเล็กลงกว่าปกติ หรอื อยู่ห่างกว่าปกติ - ตามัวลงอย่างฉับพลัน มักพบในผู้ป่วยที่มีเลือดออกเข้าสู่น้ำวุ้นลูกตาและใต้จอประสาทตา หรือ เปน็ โรคจอประสาทตาเสือ่ มที่รนุ แรงแลว้ - อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นที่ตาข้างหนึ่งก่อน ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่ทันได้สังเกตหรือไม่รู้สึกว่าผิดปกติ เนอ่ื งจากตาอีกขา้ งหนึง่ ยังดอี ยู่ ต่อมาเมือ่ เปน็ ทัง้ 2 ข้าง ผู้ปว่ ยจงึ จะสงั เกตเหน็ ความผดิ ปกติไดอ้ ยา่ งชัดเจน ภาวะแทรกซอ้ นของโรคจอประสาทตาเสอื่ ม โรคนี้มักไม่ทำให้เกิดตาบอด แต่จะทำให้มองเห็นภาพไม่ชัด และ/หรือมองเห็นภาพผิดปกติดังที่กลา่ วมา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานที่ละเอียด อ่านหนังสือ ขับรถ จำหน้าคน และในการมอง ระยะไกล การวนิ ิจฉยั โรคจอประสาทตาเสื่อม สามารถตรวจหาภาวะนไ้ี ด้หลายวิธี ดงั น้ี 1. ทดสอบจอประสาทตาด้วยตารางตรวจจุดภาพชัด หรือ แผ่นภาพแอมสเลอร์ (Amsler grid) เป็น วิธกี ารทดสอบจอประสาทตาและการมองเหน็ ทีง่ ่ายดาย ซงึ่ สามารถตรวจเช็กได้เองท่บี ้าน โดยไม่ตอ้ งถอดแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ที่ใส่อยู่ออก โดยมีวิธีการทดสอบ คือ ให้ถือแผ่นภาพแอมสเลอร์ในระยะเดียวกับเวลาที่อ่าน หนังสือ (ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอด้วย) และให้ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งเอาไว้ แล้วมองไปที่จุดสีดำตรงกลางแผ่น ภาพดว้ ยตาขา้ งท่ีเปิดอยู่ และใหท้ ำซำ้ แบบเดียวกันกับตาอีกขา้ งหนง่ึ ถ้าพบว่าสายตามองเห็นเส้นบนแผ่นภาพมี ลักษณะเป็นคลนื่ หงิกงอ ขาดจากกนั พร่ามัว หรือมีบางพ้ืนท่หี ายไป แสดงว่าอาจเปน็ โรคจอประสาทตาเสื่อมได้ จึงควรรีบไปพบจักษุแพทยท์ นั ที 2. จักษุแพทย์จะทำการตรวจจอประสาทตาโดยการใชเ้ ครื่องตรวจตา (Ophthalmoscopy) และอาจ มีการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพมิ่ เติมดว้ ย โดยขึน้ อยู่กบั ดลุ ยพนิ ิจของแพทย์ เชน่ การถ่ายภาพรังสีจอประสาทตาด้วย การฉดี สี (Fluorescein angiography) การตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางของจอประสาทตาดว้ ยเลเซอร์ (Optical coherence tomography) เพื่อดูลักษณะและขอบเขตของความผิดปกติที่เกิดขึ้น และเพื่อใช้ในการกำหนด แนวทางการรกั ษาและการพยากรณ์การดำเนินโรค 7

วิธรี กั ษาโรคจอประสาทตาเส่ือม ในปัจจุบันยังไม่มวี ิธีการรักษาที่จะทำให้การมองเห็นกลบั มาดีดังเดิมหรือรักษาให้หายขาดได้ แต่พอจะ มีวธิ กี ารรกั ษาท่ชี ่วยชะลอความรุนแรงของโรคเพ่ือลดการสูญเสยี การมองเห็นได้ ซง่ึ การรักษาจะแบ่งไปตามชนิด ของโรคดังนี้ การรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง (Dry AMD) ในปจั จุบนั ยังไมม่ ีวธิ ีการรักษาโรคจอประสาท ตาเสื่อมชนิดแห้งให้หายขาดได้ การรักษาจะเป็นเพียงการป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้นหรือเพื่อป้องกันไม่ให้ กลายเป็นโรคจอประสาทตาเสอ่ื มชนดิ เปียก 1. ไปพบแพทย์ตามนัด แม้การเสื่อมของจอประสาทตาจะเป็นไปอย่างช้า ๆ และผู้ป่วยยังคงสามารถ ดำเนินชีวติ ได้ตามปกติ แต่กค็ วรไปพบจกั ษแุ พทย์ตามนดั เพื่อตรวจเช็กสายตาเป็นระยะ ๆ 2. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น (ในหัวข้อสาเหตุ) เพื่อป้องกันการเสื่อมลงของจอประสาทตา หรืออาจใช้อปุ กรณช์ ว่ ยตา่ ง ๆ สำหรบั ผทู้ ี่มีปัญหาทางดา้ นสายตาก็ได้ 3. ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอาการด้วยตัวเองเป็นระยะ ๆ เพื่อจะได้ทราบถึงอาการที่บ่งว่าโรค ลุกลาม เช่น ภาพบิดเบ้ียวมากขึ้น ขนาดภาพเปลี่ยนไป ฯลฯ และหากพบความผิดปกติดงั กลา่ วจะต้องรีบไปพบ จกั ษแุ พทยก์ ่อนนดั ทันที 4. หลกี เลี่ยงแสงแดด โดยการใชแ้ ว่นกนั แดดท่ีมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียวู ีได้อย่างน้อย 90% เพราะจะชว่ ยลดหรือชะลอการลุกลามของโรคน้ีได้ 5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารท่ีมสี ารต้านอนมุ ูลอสิ ระสูงอย่างผัก ใบเขียวและผลไม้ต่าง ๆ และอาหารที่มีสารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) สูง เช่น ผักคะน้า ผกั ปวยเลง้ ฯลฯ 6. รับประทานอาหารเสริมท่ีมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี, วิตามินอี, เบต้าแคโรทีน สังกะสี และทองแดง ซึ่งอาจช่วยชะลอและลดโอกาสการกลายเป็นโรคจอประสาทตาชนดิ เปียกทร่ี นุ แรงกว่าได้ 7. การรักษาดว้ ยแสงเลเซอร์อาจได้ประโยชน์และมีความจำเปน็ ในผปู้ ว่ ยบางราย 8

การรักษาโรคจอประสาทตาเส่ือมชนิดเปียก (Wet AMD) การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำลายหลอด เลอื ดที่ผดิ ปกตซิ ง่ึ แตกได้งา่ ย (เกดิ เลือดออกและทำให้การมองเห็นลดลง) ไม่ให้ลุกลามมากขน้ึ 1. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ จะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ลงบนจอประสาทตาส่วนที่มีพยาธิสภาพเพ่ือ ยับยั้งหรอื ชะลอเส้นเลือดทผ่ี ิดปกตทิ ี่ทำใหเ้ กิดเลือดออกใต้จอประสาทตาได้ ซง่ึ แพทย์จะพิจารณาทำกับผู้ป่วยเป็น ราย ๆ ไป ข้ึนอย่กู บั ว่าหลอดเลือดทีผ่ ิดปกติมีมากน้อยอยู่ในระดบั ไหน เกิดขึน้ ในบริเวณใด และแม้วา่ การรักษาจะ ไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปกลับคืนมาหรือรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็สามารถช่วยคง สภาพการมองเห็นที่เหลืออยไู่ ว้ได้มากกว่าการที่ไม่ไดร้ ับการรักษาเลย ซง่ึ โดยหลกั ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ • การรักษาด้วยการฉายแสงเลเซอร์ (Laser Photocoagulation) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้มานานแล้ว โดยเป็นการฉายแสงเลเซอร์ที่ก่อให้เกิดความร้อนเพ่ือทำลายหลอดเลือดทผี่ ิดปกติใต้จอประสาทตา ซึ่งนอกจากจะ ทำลายหลอดเลอื ดทีผ่ ิดปกติแล้ว ยังทำลายหลอดเลือดท่ีปกติและจอประสาทตาปกตดิ ้วย ทำใหก้ ลายเป็นแผลเป็น และเกิดเป็นจุดมืดดำอย่างถาวร การมองเห็นภาพจะลดลงทันทีหลังการรักษา แต่โดยทั่วไปแล้ว การสูญเสียการ มองเห็นจะไม่รุนแรงเท่ากบั ที่เกิดขนึ้ เองจากโรคจอประสาทตาเส่ือมที่ไม่ได้รับการรักษาดว้ ยการฉายแสงเลเซอร์ • การรักษาด้วยวิธีโฟโตไดนามิก (Photodynamic therapy - PDT) เป็นการฉีดยาเวอร์ทิพอร์ฟิน (Verteporfin) ท่ีมคี ุณสมบตั เิ ปน็ Photosensitizer ซง่ึ เป็นสารสีทีไ่ วแสงเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อให้ยาผ่านไปตาม ระบบไหลเวียนเลือด เข้าสู่จุดภาพชัด (Macular) และจับกับเซลล์ที่มีการแบ่งตัวที่ผนังหลอดเลือดที่ผิดปกติใต้ จอประสาทตา แล้วจึงตามด้วยการฉายแสงเลเซอร์ที่ไม่ก่อให้เกิดความร้อนเฉพาะกับเนื้อเยื่อที่จับกับสารสีนี้ เท่านั้น (ตัวยาจะทำปฏิกิริยากับแสงเลเซอร์ที่ได้คำนวณระดับความเข้มข้นของยาและปริมาณแสงเลเซอร์ไว้ ตั้งแต่แรก เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาที่มากพอจะทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติได้) จึงทำให้แสงเลเซอร์ไม่ไปกระทบกับ จอประสาทตาส่วนที่ดีเหมือนการฉายแสงเลเซอร์แบบ Photocoagulation หลังการรักษาผู้ป่วยยังคงมีการ มองเห็นได้เหมือนก่อนการฉายแสงเลเซอร์ ซึ่งในบางรายท่ีโรคยังไม่รุนแรงมากนัก การมองเห็นที่ลดลงก่อนการ รักษาอาจฟื้นกลับขึ้นมาใกล้เคียงกับปกติได้ วิธีนี้จึงจัดว่าเป็นการรักษาที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่สารที่ฉีดนั้นก็มี ราคาแพงมากและตอ้ งให้การรักษาซำ้ ๆ หลายคร้ังจึงจะเหน็ ผล • สำหรับผปู้ ่วยที่จะเข้ารับการรักษาด้วยการยิงแสงเซอร์ ก่อนทำควรงดการขับรถมาทำการรักษาด้วย ตัวเอง เนื่องจากหลังทำตาจะมัวจากฤทธิ์ของยาขยายม่านตา ส่วนหลังทำให้งดการทำกิจกรรมทุกชนิดที่อาจเกิด ความรุนแรงหรือกระทบกระเทือนต่อตาเป็นเวลา 1 เดือน และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตาม อาการหลังการยิงเลเซอร์ สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการยิงเลเซอร์คือ ปวดตาตุบ ๆ (พบได้เล็กน้อย ในผู้ปว่ ยบางราย) และมีอาการตามวั เท่าก่อนการยิงเลเซอร์ หรือจะค่อย ๆ ดีขนึ้ ภายหลังการรักษาหลายเดือน ซ่ึง ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นในผู้ป่วยแต่ละราย และการรักษาจะต้องใช้เวลานานและทำหลายครั้ง เพื่อป้องกันการสูญเสีย การมองเห็นอย่างถาวร และลดปัญหาการเกดิ ภาวะต้อหินรนุ แรง 2. การรักษาด้วยการฉีดยากลุ่ม Anti-VEGF (Anti-vascular endothelial growth factor) เป็นวิธี รักษาแนวใหม่ที่สามารถยับยั้งสาเหตุของการเกิดโรคได้ตรงจุดมากขึ้น โดยเป็นการใช้นวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์ ทางชีววิทยา (Biological Product) ที่นำมาใช้กับตาโดยเฉพาะ ซึ่งแพทย์จะฉีดยาดังกล่าวเข้าไปในน้ำวุ้นลูกตา ภายในเย่อื บุตาขาว เพื่อยบั ยงั้ กระบวนการสร้างหลอดเลือดจากหลอดเลือดท่ีงอกใหม่บริเวณจุดรับภาพน้ัน ซ่ึงยาใน 9

กลุม่ นีจ้ ะทำหน้าท่ีไปจับกับสาร VEGF ท่ีเปน็ ตน้ เหตุของการเกิดโรค จงึ ช่วยลดการงอกของหลอดเลือดใหม่ และลด การอักเสบที่เป็นส่วนหนึ่งของการลุกลามของโรค ในปัจจุบันยากลุ่มนี้มีใช้กันอยู่หลายตัวด้วยกันและยังมีราคาท่ี แพงมาก ๆ เช่น Pegaptanib sodium ของ MACUGEN® (ยาตัวนี้จับกับสาร VEGF เฉพาะตัวที่เป็นต้นเหตุของ การเกิดโรค), Ranibizumab ของ LUCENTIS® (ยาตัวนี้จะจับกับสาร VEGF ทั้งหมด), Bevacizumab ของ Avastin® เปน็ ต้น ซ่ึงจากการวิจัยโดยการฉดี ยานี้ในกลุ่มผปู้ ่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกทุก ๆ 4-6 สัปดาห์ ติดตอ่ กันเปน็ เวลา 2 ปี พบวา่ ผู้ปว่ ยประมาณ 33% ท่ีไดร้ บั การฉดี ยากลุ่มนีม้ ีการมองเห็นทีช่ ดั ขึน้ เมื่อเทียบกับกลุ่ม ที่ไดร้ ับการรกั ษาดว้ ยเลเซอร์ท่มี ีเพียง 6% เทา่ น้ันที่มีการมองเห็นได้ชดั ข้ึน IMAGE SOURCE: www.drshahidamirza.com 3. การผ่าตัด Submacular surgery เป็นการผ่าตัดน้ำวุ้นในลูกตา จอประสาทตา เพื่อทำลายหรือ นำหลอดเลือดที่ผิดปกติออกจากใต้จอประสาทตา รวมทั้งแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรค เช่น ภาวะ เลือดออกใต้จอประสาทตา เป็นต้น (แม้ว่าผลการผ่าตัดจะดี แต่ผู้ป่วยจะมีการมองเห็นลดลงหลังการรักษา เหมอื นการฉายแสงเลเซอรแ์ บบ Photocoagulation) 4. การใช้เครือ่ งมือช่วยการมองเห็น (Low vision aids) ในกรณีที่เป็นโรคทั้ง 2 ตา และได้ลองการ รักษาต่าง ๆ แล้วไม่ได้ผล ทำให้มีสายตาเลือนราง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้เครื่องมือช่วยการมองเห็นเพื่อช่วย เพิ่มคุณภาพการมองเห็น เช่น การใช้แว่นขยาย แว่นตาอ่านหนังสือ กล้องส่องทางไกล การใช้สีต่าง ๆ และการ เพิ่มแสงสวา่ ง เป็นต้น 5. การพฒั นาวิธกี ารรกั ษาใหม่ ๆ ในปัจจบุ นั ได้มคี วามพยายามที่จะพัฒนาวธิ กี ารรักษาโรคจอประสาท ตาเสื่อมให้ได้ผลที่ดีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางยา เช่น การพัฒนายาที่มีคุณสมบัติ Photosensitizer ตัว ใหม่ที่ให้การรักษาที่ดีกว่าเดิม การพัฒนายาที่เป็น Angiostasis ที่ใช้ฉีดเข้าด้านหลังลูกตาเพื่อให้ผลในการยับยั้ง และรักษาโรคโดยไม่ต้องใช้แสงเลเซอร์ เปน็ ตน้ สว่ นในดา้ นของการผ่าตัด ได้มีวธิ ีการผ่าตัดใหม่ ๆ เช่น การผ่าตัด เพื่อย้ายจุดภาพชัดบนจอประสาทตา (Macular translocation), การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อชั้นเซลล์พี่เลี้ยงของจอ ประสาทตา (RPE transplantation) การใชแ้ กส๊ ไล่เลือดที่อยู่ใตจ้ ุดภาพชัดออกไป เปน็ ต้น แตว่ ิธีการผ่าตัดเหล่านี้ 10

ยังมีข้อจำกัดและผลข้างเคียงอยู่มาก จึงยังต้องมีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการรักษาเพื่อให้ดียิ่งขึ้นต่อไปจนสามารถ นำมาใช้รักษาได้จริง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามในการพัฒนาวิธีการรักษามากขึ้น แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ เป็นโรคนี้ก็ยังคงมีการสูญเสียการมองเห็นอยู่ไม่มากก็น้อย และมักจะอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะสายตาเลือนราง (Low vision) ดังนั้น การให้ผู้ป่วยพยายามปรับตัวให้ได้กับภาวะสายตาเลือนรางและหัดใช้เครื่องมือช่วยการ มองเห็น (Low vision aids) จึงยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้การมองเห็นที่เหลืออยู่ช่วยให้ สามารถดำเนนิ ชีวิตต่อไปได้ การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม เมื่อมีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาในหัวข้ออาการ ควรรีบไป พบจักษุแพทย์ภายใน 1-2 วัน หรืออาจต้องไปโรงพยาบาลฉุกเฉินถ้าการมองเห็นภาพมีความผิดปกติที่เกิดขึ้น อย่างฉับพลนั และหากพบว่าเปน็ โรคนี้ ในการดแู ลตนเองทส่ี ำคญั ใหป้ ฏิบัตติ ามคำแนะนำต่อไปนี้ 1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด ถูกต้อง ครบถ้วน รวมทั้งในการใช้ยาต่าง ๆ และตอ้ งไม่ขาดยา (เม่อื มียาทแ่ี พทย์สัง่ จ่าย) 2. รกั ษาสุขภาพจติ ให้ดี ปรับการใช้ชีวติ ใหเ้ ข้ากับสายตา เพ่อื พึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สดุ 3. ไปพบจักษุแพทย์ตามนัดเสมอ และควรไปพบก่อนนัดถ้าอาการต่าง ๆ เลวลง หรือเมื่อมีอาการ ผดิ ปกตไิ ปจากเดมิ หรอื เม่ือมีความกงั วลในอาการท่ีเป็นอยู่ วิธปี ้องกันโรคจอประสาทตาเสือ่ ม ถงึ แม้สาเหตขุ องโรคน้ียงั ไม่ทราบแน่ชดั และอาจสัมพนั ธก์ บั ปัจจัยหลายอย่าง เชน่ อายุ กรรมพนั ธุ์ ท่ีไม่ สามารถแก้ไขได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้ ซึ่งการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ ตอ่ ไปน้ี อาจชว่ ยลดความเสยี่ งหรอื ชะลอความรนุ แรงของโรคได้ เชน่ 1. เขา้ รบั การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยอาจเริ่มตรวจได้ต้งั แต่ยังเป็นเด็กอายุประมาณ 2-3 ขวบ แตห่ ลังจากนั้นใหข้ นึ้ อย่กู บั คำแนะนำของจักษุแพทย์ หรอื เร่มิ ตรวจได้เลยในทกุ อายุถ้ายังไม่เคยพบจักษุแพทย์มา ก่อน และหลังจากนั้นความถี่ในการพบจักษุแพทย์ให้เป็นไปตามที่จักษุแพทย์แนะนำ (ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50- 60 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ ควรได้รับการตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์ เปน็ ประจำ เพื่อประเมินวา่ มคี วามเสี่ยงต่อการเกดิ โรคจอประสาทตาเส่ือมหรือไม่) 2. งดการสบู บุหรี่ และหลกี เลย่ี งควนั บุหรี่ 3. ไมด่ ม่ื เคร่อื งด่ืมที่มแี อลกอฮอล์ 4. หมั่นออกกำลงั กายและควบคุมนำ้ หนักตัวให้อยูใ่ นเกณฑ์ 5. หลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นระยะเวลานาน และป้องกันดวงตา จากการถกู แสงแดดดว้ ยการใช้แว่นกนั แดดที่มปี ระสิทธิภาพในการป้องกันรงั สยี วู ีไดต้ ัง้ แต่ 90% ขนึ้ ไป 6. ป้องกันรักษาหรือควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ดี เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมถึง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง ซ่งึ เป็นปจั จยั เสย่ี งของโรคหวั ใจและโรคหลอดเลือด แดงแข็งด้วย) และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเมื่อเริ่มอายุได้ 18-20 ปี เพื่อคัดกรองโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัย เสีย่ ง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดนั โลหิตสงู และโรคไขมันในเลอื ดสงู 11

7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) สงู ได้แก่ ผักใบเขยี วและผลไม้ต่าง ๆ เมล็ดธญั พชื กินปลาเปน็ ประจำ (เพราะในเนือ้ ปลาจะมีกรด ไขมันชนิด Omega-3 มาก ซึ่งสามารถช่วยป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้) และจำกัดการรับประทาน อาหารประเภทไขมัน แป้ง น้ำตาล เกลือ และเพิ่มการรับประทานผักผลไม้ให้มาก ๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มความ แขง็ แรงให้กับเซลลจ์ อประสาทตา และป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ทเ่ี ป็นปัจจัยเสีย่ งต่อการเกิดโรคจอประสาทตา เสอื่ มในผสู้ งู อายุ เชน่ โรคเบาหวาน โรคความดนั โลหติ สงู โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน 8. เน้นการรับประทานอาหารทมี่ เี บต้าแคโรทนี โดยเฉพาะอาหารท่มี ีสารลทู ีน (Lutein) และซแี ซนทีน (Zeaxanthin) สูง เช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักกาดแก้ว ผักโขม บรอกโคลี ข้าวโพด ฟักทอง ถั่วลันเตา แขนง กะหล่ำ กะหล่ำปลี แตงกวา พริก ส้ม แอปเปิล อง่นุ มะม่วง และไข่แดง เป็นตน้ 9. รับประทานอาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระ เพราะมีงานวิจัยพบว่า การรับประทานสารต้านอนุมูล อิสระ (วิตามินซี, วิตามินอี, เบต้าแคโรทีน) และสังกะสี/ซิงค์ (Zinc) ในปริมาณสูงจะสามารถช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมอย่างรุนแรงลงได้ประมาณ 25% ในผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมระยะที่ 3 หรือ 4 (เปน็ กลุ่มความเส่ยี งสูง) และช่วยลดความเสย่ี งของการสูญเสียการมองเห็นจากภาวะจอประสาทตาเสื่อม อย่างรุนแรงลงได้ประมาณ 19% อีกด้วย แต่จะไม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรค หรือมีประโยชน์ในผู้ป่วยท่ี เริ่มเปน็ โรคจอประสาทตาเสื่อมเล็ก (ระยะท่ี 1 หรือ 2) - ขนาดของอาหารเสริมที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ วิตามินซี 500 มิลลิกรัม, วิตามินอี 400 IU, เบต้าแคโรทีน 15 มิลลิกรัม, สังกะสี/ซิงค์ 80 มิลลิกรัม ของซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide) และทองแดง/คอป เปอร์ 2 มลิ ลกิ รมั ของ คอปเปอรอ์ อกไซด์ (Copper oxide) เพราะคนทรี่ บั ประทานซิงค์ในขนาดสูงจะมีการขาด คอปเปอรไ์ ด้ - อาหารเสริมที่วา่ น้ีไมส่ ามารถป้องกัน รักษา หรือช่วยให้การมองเหน็ ที่สูญเสยี ไปแล้วดีข้ึนได้ แต่จะ ช่วยลดความเสี่ยงที่โรคจะดำเนินไปสู่ระยะรุนแรงจนทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นในผู้ป่วยที่จัดอยู่ในกลุ่ม เสยี่ งสงู ได้ - ควรปรึกษาจกั ษุแพทยก์ ่อนวา่ มีความจำเป็นทีต่ ้องรบั ประทานอาหารเสริมทวี่ า่ นหี้ รือไม่ - ยังไม่พบผลข้างเคียงของการรับประทานอาหารเสริมในระหว่างการศึกษาที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย ประมาณ 6 ปี แตก่ ารศึกษาในระยะยาวที่มากกวา่ 10 ปี ยงั ไมท่ ราบ - ผู้ที่สูบบหุ รีไ่ มค่ วรรับประทานอาหารเสริมที่มีเบต้าแคโรทีนรวมอยูด่ ้วย เพราะพบความสัมพันธ์ของ การเกดิ มะเร็งปอดในผทู้ ี่สูบบหุ รท่ี ี่รับประทานอาหารเสริมท่ีมีเบต้าแคโรทีนเป็นประจำ ต้อกระจก ต้อกระจก (Cataract) หมายถึง การขุน่ ของแกว้ ตา ซง่ึ สง่ ผลให้แสงทะลุผา่ นได้นอ้ ยลง ทำให้ตามัวหรือ อาจมองไมเ่ ห็น เป็นปัญหาทางสายตาทพี่ บมากทสี่ ุดในผ้สู งู อายุ เนอ่ื งจากเม่อื อายุมากขน้ึ แก้วตาจะเปลย่ี นจากสี ใส ๆ เปน็ สนี ำ้ ตาล หรอื สีขาวขุน่ มากข้ึนเรือ่ ย ๆ ทำใหแ้ สงผา่ นเข้าไปในตาไม่ได้ มผี ลทำให้ตามัวลง 12

สาเหตุ/ปจั จัยเสย่ี ง 1. ปจั จัยทั่วไป ไดแ้ ก่ อายุ โดยทวั่ ไปเปน็ การเปลยี่ นแปลงตามอายทุ ี่เพิ่มขน้ึ รอ้ ยละ 80 เปน็ ตอ้ กระจก ชนดิ ในผู้สงู อายุ ดา้ นภูมปิ ระเทศส่วนใหญ่พบในประเทศเขตร้อนและในผทู้ ี่ทำงานกลางแจ้ง 2. ปจั จัยทางด้านสุขภาพ ไดแ้ ก่ พนั ธกุ รรม ผสู้ ูงอายุเร้ือรัง เช่น โรคเบาหวาน ยาหรือสารพิษ เช่น ยา ฆ่าแมลง ยาสเตอรอยด์ ยาขบั ปัสสาวะ ยาฆ่าเซลลม์ ะเร็ง 3. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ได้แก่ การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตบ่อย ๆ หรือแสงแดดจ้า การ กระทบกระเทือนหรอื บาดเจบ็ บรเิ วณลูกตาโดยตรง ชนิดของต้อกระจก 1. ต้อกระจกในวัยสูงอายุพบมากที่สุด มักเป็นทั้งสองตาแต่ความขุ่นของแก้วตาอาจไม่เท่ากัน ท่ีพบ ทวั่ ไปมี 3 ประเภท คือ ขนุ่ บรเิ วณนิวเคลียสหรอื แก้วตา ขุ่นบรเิ วณรอบนอก และแคปซูลส่วนหลังของแกว้ ตา 2. ต้อกระจกโดยกำเนิด มักเกิดเนื่องจากพันธุกรรมหรือเกิดจากการพัฒนาที่ผิดปกติเน่ืองจากมารดา ตดิ เช้ือไวรสั พวกหดั เยอรมัน (Rubella) ขณะตัง้ ครรภ์ 3 เดอื นแรก 3. ต้อกระจกทุติยภูมิสาเหตุจากภยันตราย จากโรคเบาหวาน จากการได้รับยาสเตอรอยด์ และได้รับ แสงอุลตราไวโอเลตเปน็ เวลานาน ๆ ระยะของต้อกระจกในผ้สู ูงอายุ 1. ต้อกระจกเร่มิ เปน็ อาจมกี ารขุ่นขาวบริเวณเนื้อสว่ นรอบนอกของแกว้ ตาหรือคอร์แทกซ์ แตเ่ น้ือตรง กลางหรือนิวเคลียสยงั ใส 2. ต้อกระจกสุก แรงดันออสโมติกในตาสงู ขน้ึ ทำใหม้ ีการดึงน้ำผ่านเข้าเซลล์ ทำให้แกว้ ตาบวมนำ้ ส่งผล ใหแ้ กว้ ตาสญู เสยี ความใส เกดิ การข่นุ ขาวขนึ้ 3. ต้อกระจกสุกงอม น้ำในตาถูกขับออกนอกตา ทำให้แก้วตาขุ่นขาวทัว่ ไปหมด เป็นระยะทีเ่ หมาะแก่ การผ่าตัดเอาแก้วตาออก อาการและอาการแสดง อาการนำในผู้สูงอายุต้อกระจก ได้แก่ สายตามัวลงเนื่องจากแก้วตาขุ่น โดยเริ่มจากอาการตามัวน้อย ๆ จนกระทั่งตามัวมากขึ้นจนมองไม่เห็น ทั้งนี้ขึ้นกับการขุ่นของแก้วตาว่า เริ่มขุ่นบริเวณไหน มากเพียงใด ใน ผู้สูงอายุที่เริ่มขุ่นตรงกลางแก้วตา การมองเห็นในที่สลัวจะดีกว่าทีส่ ว่าง เนื่องจากรูม่านตาขยายกวา้ งแสงผ่าน เขา้ ตาได้มากขึ้น อาการและอาการแสดงโดยท่วั ไปมีดังนี้ 1. ตามวั ลงช้า ๆ โดยไมร่ ้สู ึกเจ็บปวด ผทู้ ี่เปน็ ตอ้ กระจกจะให้ประวตั วิ ่าตาจะมัวมากข้ึนในที่สว่างหรือเห็น ในที่สลัว ๆ ดีมากกว่าที่สว่าง ที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากขณะที่อยู่สว่างรูม่านตาเล็กลง ส่วนอยู่ในที่มืดจะเห็นชัดขน้ึ เพราะรูมา่ นตาขยาย 2. มองเห็นภาพซ้อน เนื่องจากการหักเหของแสงในแต่ละส่วนของแกว้ ตาเปลี่ยนไป หรืออาจมีอาการ กลวั แสง 3. สายตาสั้นลง เนื่องจากแก้วตามีความนนู มากข้ึน แก้วตาเริ่มขุ่นทำให้กำลังหักเหของแสงเปลี่ยนไป จึงมองในระยะใกล้ได้ชัด ขณะเดยี วกันมองไกลจะไม่ชัด เม่ือใชไ้ ฟฉายช่องรูมา่ นตา จะเหน็ แสงสะท้อนสขี าว 13

การรกั ษา ต้อกระจกบางส่วนสามารถป้องกัน หรือชะลอการเกิดได้ แต่เมื่อเป็นต้อกระจกแล้ว จะไม่มียาหยอดตา หรอื ยารับประทานทชี่ ว่ ยสลายต้อกระจก การรกั ษาต้องทำการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียม ซ่ึงในปัจจุบนั นิยมใช้คล่นื เสยี งความถสี่ ูง (Ultrasound) เรียกว่าวิธี “สลายต้อกระจก” หรอื เรียกย่อ ๆ ว่า “เฟโค” (Phacoemulsification) สามารถรักษาต้อกระจกได้โดยไม่ต้องรอให้ต้อสุกก่อน เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและ ได้ผลดี โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปสลายเลนส์แก้วตาท่ีขุ่น แล้วดูดออกจนหมด เหลือแต่เยื่อหุ้มเลนส์ ด้านหลังไว้เป็นถุงสำหรับให้จักษุแพทย์สอดเลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนท่ี แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กมากเพียง 3 ม.ม. สมานตัวเป็นปกติได้เร็วไม่จำเป็นต้องเย็บแผล ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้อย่างรวดเร็ว และมักจะกลับมา มองเหน็ เป็นปกติ ถ้าไม่มีโรคอนื่ ๆ ที่ทำให้ตามัว ข้อควรปฏบิ ัติ ถ้าคิดว่าเป็นต้อกระจกในระยะแรก ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่า สายตาที่มัวลงนั้น เป็นเพราะต้อกระจกจริง ไม่ใชเ่ กิดจากโรคอนื่ เช่น ต้อหินเร้อื รงั หรือโรคของจอประสาทตา ถา้ พบวา่ ต้อกระจกอยู่ในระยะที่สกุ แลว้ คือ รูมา่ นตามีสีขนุ่ ขาว หรือสนี ำ้ ตาลเข้มแลว้ ควรไปพบแพทย์ เพ่อื รับการลอกตอ้ กระจกออกก่อนทีจ่ ะมโี รคแทรกซ้อน การปฏิบัตติ วั หลังผา่ ตดั ต้อกระจก อธบิ ายการปฏบิ ัติตัวเมื่อกลบั ไปอยู่บ้าน ไดแ้ ก่ 1. ขณะอาบนำ้ ให้ใช้ขันตกั ราดจากไหล่ลงมา ระวงั อย่าให้นำ้ กระเด็นเข้าตา 2. ไม่ก้มหน้าสระผม แต่ควรนอนหงายให้ผู้อื่นสระให้ ไม่ให้เกาแรง และระมัดระวังน้ำไม่ให้ กระเดน็ เข้าตา 3. แนะนำเวลาแปรงฟันคอ่ ย ๆ แปรง ไม่ส่นั ศีรษะไปมา 4. สามารถรบั ประทานอาหารได้ทุกอย่าง หลีกเลย่ี งอาหารแข็ง เหนียว ทีต่ อ้ งออกแรงเค้ียวมาก ไม่ ควรให้ท้องผูก หลกี เล่ยี งการเบ่งถา่ ยอจุ จาระ ดังน้ันพยายามรบั ประทานผกั ผลไม้ เปน็ ประจำ 5. หลกี เลย่ี งการยกของหนัก การออกกำลังกายประเภทกระโดด หรอื เล่นโยคะหรือกิจกรรมต่าง ๆ ท่ตี อ้ งกม้ หน้านาน ๆ โดยเฉพาะไม่ควรก้มหน้าตำ่ กว่าระดับเอว 6. ใช้สายตาตามปกตไิ ด้ เช่น ดูโทรทัศน์ หรอื อ่านหนังสอื แต่ถา้ เมื่อยตากใ็ หห้ ยดุ พัก 7. เช็ดตาวันละครั้ง หยอดตาและป้ายตาตามแผนการรักษา ที่สำคัญต้องปิดที่ครอบตาโดยเฉพาะ เวลานอน เพราะอาจเผลอขยี้ตาได้ ในตอนกลางวันถ้าไม่ปิดที่ครอบตาต้องสวมแว่นตาไว้ตลอดเวลา ถ้าต้องออก นอกบา้ นควรสวมแวน่ ตากนั แดด 8. สอนผ้สู งู อายุและญาติเก่ียวกับการเช็ดตา ยาหยอดตา ยาป้ายตา ตามแผนการรักษา แนะนำให้ ผู้สูงอายุทราบเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ทันที ได้แก่ ตาแดง หรือมีขี้ตา หรือปวดตามากผิดปกติ ถงึ แมร้ ับประทานยาแก้ปวดที่ไดร้ ับจากโรงพยาบาลแล้วไม่ทเุ ลา และมาตรวจตามแพทยน์ ัดทุกครัง้ 14

ต้อหิน ต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคของเส้นประสาทตา ซ่ึงเป็นตัวนำกระแสประสาทจากลกู ตาไปยังสมอง ทำให้สามารถมองเห็นภาพต่าง ๆ ได้ ความผิดปกติของต้อหิน คือ มีความดันลูกตาเพิ่มขึ้น ทำให้การมองเห็น ลดลง และลานสายตาผิดปกติ ถา้ ไม่ไดร้ ับการแก้ไขหรอื รกั ษา จะทำให้เกดิ การตาบอดถาวรได้ สาเหตุ/ปัจจยั เสีย่ ง ปัจจัยเสี่ยงหลักเกิดจากความผิดปกติของระบบการไหลเวียนของน้ำเอเควียส ทำให้ความดันลูกตาสูงกว่า ปกติ ไปกดทำลายเส้นประสาทตา สว่ นปัจจัยอื่น ๆ เช่น มคี นในครอบครัวเป็นโรคต้อหิน มีอายุ 40 ปีขน้ึ ไป สายตา ผิดปกติมาก ๆ เช่น สั้นมากๆ การสูบบุหรี่เป็นประจำ การใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ การได้รับอุบัติเหตุอย่างแรงท่ี กระทบต่อลูกตาโดยตรง มีการผ่าตดั ตามาก่อน หรอื เคยมปี ระวัตเิ สียเลือดอย่างมากจนช็อค ชนดิ ของต้อหนิ 1. ต้อหนิ มมุ ปิด 2. ตอ้ หินมมุ เปิด 3. ตอ้ หินแทรกซ้อน 4. ตอ้ หินในเด็กเลก็ และทารก อาการและอาการแสดง โดยทว่ั ไปชว่ งแรกของโรคมักไม่มีอาการ ต่อมาจะสูญเสยี การมองเห็นภาพจากด้านขา้ ง เข้ามาตรงกลาง เรอื่ ย ๆ และตาบอดในทีส่ ุด อาจมตี ้อหนิ บางประเภท เช่น ต้อหินมุมปิดเฉียบพลันท่ีมีอาการปวดตามาก เห็น แสงรงุ้ รอบดวงไฟ ตามัวลงมากและตาแดง ซ่ึงเปน็ อาการเร่งด่วนที่ตอ้ งรีบมาพบแพทยท์ ันที การรักษาและการป้องกนั การรักษาต้อหินส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการใช้ยาลดความดันตา หรือการยิงเลเซอร์โดยผู้ป่วยจะต้องมา ตรวจและติดตามอย่างสม่ำเสมอ ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลแพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดต่อไป ในปัจจุบัน ไม่มีการรักษาที่ สามารถทำใหก้ ารมองเห็นกลับคนื มาเท่าคนปกติแตส่ ามารถชะลอไมใ่ หโ้ รคแย่ลงได้ แนวทางการดูแลผู้สงู อายทุ ีเ่ ป็นต้อหิน 1. ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องโรคต้อหินและผลเสียที่จะตามมาถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อให้ ผู้สงู อายุเข้าใจและยอมรบั การรกั ษา 2. กรณีที่ผู้สูงอายุได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาและหยอดยา ควรอธิบายถึงความจำเป็นใน การใช้ยาว่า จะช่วยควบคุมความดันลูกตาให้อยู่ในภาวะปกติ ห้ามขาดยา ไม่หยุด หรือซื้อยาหยอดเอง เพราะ ยาหยอดตาบางชนิดทำให้เป็นโรคต้อหนิ 3. แนะนำให้ผู้สูงอายุสังเกตตัวเองว่า มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยารักษาต้อหินหรือไม่ และหากมี อาการเปลี่ยนแปลงทางตา เชน่ ปวดตา ตาแดง นำ้ ตาไหล ตามวั ต้องรบี บอกเจา้ หน้าท่ี หรอื ผูด้ แู ล 4. จัดสถานที่ภายในที่อยอู่ าศัยของผูส้ งู อายใุ ห้เป็นระเบียบ และมีแสงสว่างเพยี งพอ เพราะการมองใน ที่สลวั ๆ จะยากข้ึน เนื่องจากยารกั ษาต้อหินเมื่อหยอดตาแล้วจะทำใหร้ มู า่ นตาหดเล็กลง 5. แนะนำให้ผสู้ ูงอายุระมัดระวังการเดนิ ท่ีอาจสะดุดหรือหกล้มได้ 15

ภาวะเบาหวานข้ึนจอตา เบาหวาน (diabetes mellitus) เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนของร่างกายตามมาในหลายระบบ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไตวาย เบาหวานข้ึนจอตา แผล ที่เท้า เป็นต้น ในปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นปัญหาสำคัญ ทั่วโลก โรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาหลายอย่าง เช่น ผิวกระจกตาหลุดลอก โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรค ปลายประสาทเสื่อม เป็นต้น แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุของตาบอดที่สำคัญคือ ภาวะเบาหวานข้ึนจอตา (diabetic retinopathy) การมรี ะดบั น้ำตาลสูงในเลือดเป็นเวลานานทำใหเ้ กิดความผิดปกติของหลอดเลือดของจอตา ไดแ้ ก่ 1. มีการอ่อนแอของผนังหลอดเลือดของจอตา ทำให้หลอดเลือดฝอยโป่งพอง เรียกว่า ไมโครอะนูริซึม (microaneurysms) เปน็ สงิ่ ตรวจพบอย่างแรกในผู้ป่วยท่ีเริ่มมีเบาหวานขนึ้ จอตา ไมโครอะนูรซิ ึมมักแตกทำให้ เกิดจดุ เลือดออกเล็ก ๆ กระจายท่ัวไป นอกจากนี้ไมโครอะนูรซิ ึม มักมรี รู ่ัวทำให้มนี ำ้ เหลืองและไขมันร่ัวออกมา ทำใหจ้ อตาบวมน้ำ และมจี ุดไขมนั สีเหลอื ง ถ้าจอตาบวมน้ำบรเิ วณจดุ ภาพชัด จะทำใหม้ อี าการตามวั 2. ในรายที่เป็นเบาหวานมานานและรุนแรง จะทำให้หลอดเลือดฝอยเล็กมีการอุดตัน ทำให้จอตาขาด เลือด ถ้ามีการขาดเลือดบริเวณจุดภาพชัด ก็จะทำให้ตามัวมาก ในรายที่จอตาขาดเลือดรุนแรงจะเกิดหลอด เลือดฝอยงอกใหม่แผ่เป็นร่างแหคล้ายพัด (neovascularization) หลอดเลือดฝอยที่ผิดปกติเหล่าน้ี อาจแตก ทำใหเ้ กดิ เลือดออกในช่องน้ำวุ้นตารนุ แรงตามมา หรือเสน้ เลือดผิดปกตเิ หล่าน้อี าจมีพงั ผดื มาหุม้ และดงึ รงั้ ให้จอ ประสาทตาหลดุ ลอกรุนแรง เบาหวานข้ึนจอตาแบง่ เป็น 2 ระยะ คือ 1. เบาหวานขนึ้ จอตาระยะตน้ หรอื ระยะทย่ี ังไม่มหี ลอดเลอื ดฝอยงอกใหม่ (non-proliferative diabetic retinopathy หรือ NPDR) 2. เบาหวานขนึ้ จอตาระยะรุนแรง หรือระยะที่มีหลอดเลือดฝอยงอกใหม่ (proliferative diabetic retinopathy หรอื PDR) การมจี อตาบวมน้ำ บริเวณจุดภาพชัดเป็นสาเหตขุ องตามัวท่ีพบไดบ้ ่อยในผู้ป่วยท่ีมีเบาหวานขน้ึ จอตา สามารถพบได้ท้ังเบาหวานขน้ึ จอตาในระยะตน้ และระยะรุนแรง ดังนั้น แมว้ ่าเบาหวานขนึ้ จอตาโดยรวมจะยัง ไมร่ ุนแรงแต่ถา้ มจี อตาบวมน้ำบริเวณจดุ ภาพชัดก็อาจทำให้ตามัวมากได้ซึ่งต้องการการรักษา ปจั จัยเสี่ยงของการเกดิ เบาหวานขึ้นจอตา ปจั จยั ที่มีผลต่อการมเี บาหวานข้นึ จอตามากหรือน้อย มีดังนี้ 1. ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ยิ่งเป็นเบาหวานมานาน ยิ่งมีโอกาสพบเบาหวานขึ้นจอตาได้บ่อย และ รนุ แรงมากขึ้น 2. การคุมระดบั น้ำตาลย่ิงคุมได้ดี ยง่ิ ลดโอกาสเกดิ และลดความรนุ แรงของเบาหวานขึ้นจอตา 3. การมีไตวายจากเบาหวานเป็นตัวบ่งชี้ว่า น่าจะมีเบาหวานขึ้นจอตาด้วยเช่นกัน การรักษาโรคไตมี ส่วนชว่ ยให้เบาหวานขึ้นจอตาดขี ึ้น 16

4. ความดันโลหติ สงู อาจทำใหเ้ กดิ ความผิดปกตขิ องหลอดเลือดของจอตาซ้ำเติม ภาวะเบาหวานขึ้นจอ ตามากยิ่งขึน้ 5. การมีไขมันในเลือดสงู การรักษาภาวะไขมันในเลอื ดสูงอาจชว่ ยลดการร่วั ของไขมันสะสมทจ่ี อตาได้ 6. ผู้หญิงที่มีโรคเบาหวานและมีการตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดเบาหวานขึ้นจอตาได้ หรือทำให้เบาหวานข้ึน จอตาท่มี อี ยู่แล้วรนุ แรงมากขึน้ ได้ อาการเบาหวานขึ้นจอตา ระยะแรก ๆ จะไมม่ ีอาการ แตถ่ า้ เปน็ มากขึ้นมักทำให้มีอาการตามมัว เห็นเงาดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว หรือมีม่านมาบัง แต่บางรายก็อาจไม่มีอาการเลยแม้จะมีเบาหวานขึ้นจอตาอย่าง รุนแรง การตรวจตาโดยจักษุแพทย์เทา่ นั้น จงึ จะทราบว่า มเี บาหวานขึ้นจอตา การตรวจตาโดยจักษแุ พทย์ การตรวจตาโดยจักษุแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ประวตั ิการคุม เบาหวาน โรคประจำตวั อื่น ๆ ทพ่ี บรว่ มด้วย ประวัติเบาหวานในครอบครวั อาการทีน่ ำมาพบแพทย์ หลังจากน้ันจึงตรวจการ มองเห็น ตรวจส่วนหน้าของตาและวัดความดันลูกตา แล้วจะต้องมีการขยายม่านตาเพื่อตรวจจอตาอย่างละเอียด เพื่อตรวจดูว่ามีเบาหวานขึ้นจอตาหรือไม่ การขยายม่านตามักทำให้มีอาการตามัวประมาณ 4-6 ชั่วโมง ดังนั้นจึง ไม่ควรขบั รถเองในชว่ งเวลาดังกล่าว และควรพาญาติไปดว้ ย ผ้ปู ่วยเบาหวานท่ีไม่ต้องพึ่งยาฉีดอินซูลิน ควรได้รบั การตรวจตาทันทีที่ทราบว่าเป็นเบาหวาน ส่วนผู้ป่วย เบาหวานท่ีต้องพึ่งอินซูลิน ในระยะ 5 ปีแรกอาจยังไม่จำเป็นต้องตรวจตา (แต่จะตรวจก็ได้) ถ้าผลการตรวจคร้ัง แรกพบว่า เบาหวานยังไม่ขึ้นตา ควรตรวจซ้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้าพบมีเบาหวานขึ้นจอตาแล้ว อาจ จำเปน็ ตอ้ งตรวจบอ่ ยข้ึน เชน่ ทุก 3-6 เดือน แล้วแต่ความรนุ แรง การรกั ษาและการป้องกนั วธิ ีการรักษาเบาหวานขึ้นจอตาขน้ึ กับระยะของเบาหวานขึ้นจอตา 1. เบาหวานขึน้ จอตาระยะตน้ 1.1 ถ้ามเี พยี งจดุ ไมโครอะนรู ิซมึ และจดุ เลือดออกเพยี งเลก็ นอ้ ย การมองเห็นยังดีอยยู่ ังไมจ่ ำเป็นตอ้ ง รกั ษาทางตา เพียงแตใ่ ห้คุมเบาหวานใหด้ ี 1.2 แตถ่ ้าเปน็ มากข้นึ จนกระทัง่ มีจดุ ภาพชดั บวมน้ำ จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ 2. เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง 2.1 ผู้ป่วยกล่มุ น้มี คี วามเส่ียงตอ่ การเกดิ เลอื ดออกจากการแตกของหลอดเลอื ดฝอย ทำใหเ้ กดิ เลือดออกในช่องน้ำวุ้นตารนุ แรงตามมา หรือบางรายเกิดพังผดื ดงึ รั้งให้จอตาหลดุ ลอก 2.2 ในระยะท่ีพบมเี พยี งหลอดเลอื ดฝอย แตย่ ังไม่มีเลือดออกในน้ำวุ้นตาหรือจอตาหลุดจากพงั ผดื ดึง รั้งแพทยจ์ ะให้การรักษาดว้ ยการฉายแสงเลเซอร์ ซง่ึ จะทำให้หลอดเลอื ดฝอยดังกลา่ วฝอ่ ไป 2.3 แตใ่ นรายท่มี ีเลือดออกในน้ำวุ้นตาหรอื จอตาหลดุ จากพังผืดดึงร้งั ตามักจะมัวมาก แพทย์จะ แนะนำให้ผา่ ตัดน้ำวุ้นตา บางรายอาจต้องใสแ่ ก๊สหรอื น้ำมนั ซลิ ิโคนเพือ่ กดจอตาท่ีหลุดลอกใหต้ ดิ กลบั คนื 17

ผลการรกั ษา จอตาเป็นอวัยวะท่บี อบบางและละเอยี ดอ่อนมาก จอตาทบ่ี วมหรือขาดเลือดไปเลี้ยง มัก เสื่อมไปบางส่วนตามความรุนแรงของโรคแม้ได้รับการรักษาอย่างเต็มท่ีแล้วก็ตาม การมองเห็นอาจไม่กลับคืน เป็นปกติดังเดิม โดยทั่วไปหลังการรักษาด้วยเลเซอร์ การมองเห็นมักพอ ๆ เดิม เมื่อเทียบกับก่อนเลเซอร์ การ ผ่าตัดน้ำวุ้นตา ในรายที่มีเพียงเลอื ดออกในน้ำวุ้นตา แต่จอตายังเสื่อมไม่มาก การมองเห็นอาจดีขึ้นได้มาก แต่ รายที่จอตาหลุดลอกจากพังผืดดึงรั้ง มักมีการพยากรณ์โรคไม่ดี (บางรายอาจดีขึ้น แต่หลายรายก็ไม่ดีข้ึน หรือ ส่วนน้อยอาจตาบอดสนิทได้) ปัจจุบันมีการนำยาฉีดท่ียับยั้งการรั่วของหลอดเลือดฝอย (anti-vascular endothelial growth factor) มาใช้ในการรักษาโดยการฉีดเขา้ไปในน้ำวุ้นตา แต่ยังมีการใช้ในวงจำกัด และ เปน็ เพียงทางเลือกทางหนึง่ เทา่ น้ัน การปอ้ งกัน เบาหวานขึ้นจอตาพบไดบ้ ่อยในปัจจุบัน และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นโรคที่ร้ายแรงถึง ขั้นตา บอดได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประสานงานกันเป็นทีมในการรักษา ระหว่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน อายุรแพทย์ และจักษุแพทย์ตลอดจนแพทย์ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น แพทย์โรคหัวใจ โรคไต และศัลยแพทย์ (ถ้ามีแผลที่เท้า) ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจำเป็นตอ้ งได้รับการตรวจตาเป็นระยะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือบ่อยกว่า ตามความรุนแรง ของภาวะเบาหวานข้ึนจอตา รบี ไปพบจักษุแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติเก่ียวกบั การมองเหน็ ผูป้ ว่ ยจะต้องควบคุม ระดับน้ำตาล ความดันโลหิตและไขมัน ให้อยู่ในระดับท่ีเหมาะสม ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยง การสูบบุหร่ีโดยเด็ดขาด เน่อื งจากการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มคี วามสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินของโรค ในระยะ ยาว การตรวจน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นการตรวจหาน้ำตาลในขณะน้ันและมีการแปรปรวนได้มาก ในปัจจุบันมี การตรวจหา Hemoglobin A1c ซ่ึงเป็นการตรวจค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ค่าปกติของคน ที่ไม่เป็นเบาหวานอยู่ที่ 5 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ดีควรควบคุมให้น้อยกว่า 7 มิลลิกรัม เปอร์เซน็ ต์ หากคา่ มากกว่า 8 มิลลิกรมั เปอร์เซ็นต์ จะต้องเปล่ยี นแปลงการรักษา เชน่ ยา การควบคุมอาหาร การ ออกกำลังกาย ความเครยี ด โรคตาแหง้ โรคตาแห้งเป็นโรคท่ีพบได้บ่อย ส่วนหน่ึงเกิดจากอายุท่ีมากข้ึน และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนรวมถึง โรคต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์ โรคไทรอยด์ โรคต้อกระจก หรือในบุคคลที่ทำเลสิก ใส่ คอนแทคเลนส์มานานเป็นสิบปี นอกจากนี้ ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต ก็ทำให้เกิดตาแห้งได้ เช่นกัน อาการ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตา คันตา ไม่สบายตา หรือตาแดงบ่อย ๆ การเคืองตาหรือคันตา เม่ือทำงานหนา้ คอมพิวเตอร์นาน ๆ ในบางรายอาจมนี ้ำตาไหลตลอดเวลา ซงึ่ มักเปน็ อาการที่ทำให้ผู้ป่วยสงสัยเมื่อ ไดร้ บั การวินิจฉยั วา่ เป็นตาแห้ง ทั้งน้ีเนอ่ื งจากภาวะตาแห้งทำให้มีการระคายเคืองตา เม่อื มีการระคายเคืองเรื่อย ๆ 18

จะไปกระตุ้นปฏิกิริยาของร่างกายให้มีการสร้างน้ำตาขึ้นมามาก ดังนั้นสาเหตุของการมีน้ำตาไหล คือ ตาแห้ง ผู้ปว่ ยจึงจำเปน็ ต้องหยอดนำ้ ตาเทยี มเพื่อรักษาอาการน้ำตาไหลทเี่ กิดเน่ืองจากภาวะตาแห้ง การรักษาและการป้องกัน ผู้ป่วยสามารถเริ่มต้น ได้จากการป้องกันดวงตาด้วยตนเอง เช่น กะพริบตา บ่อย ๆ ในขณะอ่านหนังสือหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ ใส่แว่นตากันลม หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นและควัน และหยอดน้ำตาเทียม ซง่ึ ในปัจจบุ ัน มี 2 ชนิด คือ ชนิดท่มี ีสารกันเสีย สว่ นใหญจ่ ะใชใ้ นคนที่เป็นไม่มาก และชนิด ท่ไี ม่มีสารกันเสีย ใช้ในผู้ปว่ ยที่ตอ้ งหยอดตาบ่อย ๆ ในกรณีที่ใช้น้ำตาเทียมแล้ว ยังมีอาการตาแห้งรุนแรงอยู่ แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยการอุดท่อน้ำตา เพอื่ ลดการระบายออกของน้ำตา ในรายท่ีเป็นไม่มากอาจใช้การอุดแบบช่ัวคราวแต่ถา้ เปน็ รุนแรงมากอาจใช้วิธีการ อดุ แบบถาวร วธิ ีปอ้ งกนั ไมใ่ ห้สายตาเส่ือมเร็ว 1. ไมอ่ ยู่ในท่ีมีแสงสวา่ งมาก เช่น ถา้ แสงแดดจ้าควรใส่แว่นกนั แสง 2. รบั ประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การขาดวติ ามนิ เอ หรอื ขาดโปรตีน จะทำให้ตาเส่ือมเร็ว 3. ระวังอย่าให้แสงแดด หรอื แสงเชอื่ มโลหะเข้าตาต้องใชแ้ ว่นกันแสง 4. การดโู ทรทัศน์ ต้องนั่งระยะห่าง 5 เทา่ ของขนาดจอโทรทัศน์ จงึ จะไมเ่ กิดอันตราย เพราะภาพจะ ตกทจ่ี อรับภาพพอดโี ดยไมต่ ้องเพ่ง 5. ผู้สูงอายุควรใช้แว่นตาช่วยสำหรับอ่านหนังสือระยะใกล้ มิฉะนั้นจะมีอาการปวดตา และปวด ศรี ษะเพราะเพง่ สายตามากเกนิ ไป อาหารบำรุงสายตาสำหรับผูส้ งู อายุ ปจั จยั ทส่ี ำคัญในชวี ิตอย่างหนึ่งคืออาหาร ฉะน้นั ผู้ดูแลควรให้ความสำคัญในการเลือกวตั ถดุ ิบมาปรุงอาหาร ให้กบั ผู้สูงอายุ ควรจะเปน็ อาหารที่มีคุณสมบัตชิ ่วยบำรุงสายตา เพราะนอกจากช่วยให้ไม่เป็นโรคตาในผู้สูงอายุแล้ว ยังช่วยใหผ้ ้สู ูงอายุไดร้ บั สารอาหารท่ีมปี ระโยชน์ และถูกหลักโภชนาการอีกด้วย อาหารช่วยบำรุงสายตา ไดแ้ ก่ 1. ผลไม้ตระกูลเบอร์ร่ี เป็นกลุ่มผลไม้รสเปรี้ยวที่เป็นแหล่งของวติ ามนิ ซี เช่น โกจิเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ มัลเบอร์รี่ ในผลไม้เหล่านี้จะมีสารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีสารที่ช่วยบำรุง สายตา ชว่ ยปอ้ งกนั ไม่ใหเ้ ซลล์ดวงตาถูกทำลายและลดความเส่ยี งของการเกดิ ตอ้ กระจกได้ 2. ผกั ใบเขยี ว เช่น ผักบุ้ง ตำลึง กวางตงุ้ คะน้า ผกั เหลา่ นจ้ี ะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคญั อยา่ ง ลทู นี และ ซแี ซนทีน ซง่ึ เปน็ สารตา้ นอนุมลู อสิ ระและช่วยลดความเสื่อมของจอประสาทตาและการเกิดต้อกระจกได้ 3. ไข่ ในไข่แดงจะเป็นแหล่งของสารอาหารลูทีน และซีแซนทีน รวมไปถึง ซิงค์ ด้วย ทั้งหมดนี้ช่วย ลดความเส่ียงของการเสือ่ มของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในดวงตาแข็งแรงอยเู่ สมอ 4. แครอท แครอทขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงสายตาชั้นดี ที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ และลูทีน ช่วยบำรงุ กระจกตา ป้องกันไม่ให้เซลล์ดวงตาถูกทำลายจากแสงแดดและรงั สีอันตรายต่าง ๆ และยัง ช่วยส่งเสรมิ การทำงานของจอประสาทตาไมใ่ หเ้ สอื่ มสภาพก่อนวัยอนั ควร 19

5. อโวคาโด มีประโยชน์ในการบำรุงสายตามาก ๆ เพราะมีสารอาหารจำเป็น เช่น ลูทีน เบต้าแคโรทีน วติ ามนิ บี 6 และวติ ามนิ ซี โดยจะช่วยบำรงุ สายตา ป้องกันอาการตาฝา้ ฟาง ชว่ ยชะลอการเส่อื มสภาพดวงตา 6. อัลมอนด์ ในอลั มอนดอ์ ุดมไปด้วยวติ ามนิ อี อกี ทงั้ ยังชว่ ยชะลอความเส่ือมของจอประสาทตาอีกดว้ ย 7. ปลาท่มี ีไขมันสูง ปลาทม่ี ไี ขมนั ประเภทดีมีอย่จู ำนวนมาก เช่น ปลาทูนา่ ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอ เรล ปลาแอนโชวี่ ปลาเทราต์ ปลาสวาย ปลาเหล่านี้จะอุดมไปด้วยกรดไขมัน DHA ที่เข้าไปช่วยซ่อมแซมดวงตา ของเราใหม้ ีนำ้ หล่อลน่ื เพียงพอ และยังชว่ ยให้หา่ งไกลจากโรคตาแห้งอีกด้วย บทสรุป เมื่ออายุมากข้ึนอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเกิดความเสื่อม ดวงตาก็เช่นกัน เมื่อเกิดความเสื่อมของ ดวงตาจะส่งผลตอ่ การมองเห็น การปฏบิ ัติกจิ วตั รประจำวัน ซึง่ กอ่ ใหเ้ กดิ ความเครยี ดต่อผู้สงู อายุได้ ความเสื่อม ทางตาจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งผู้สูงอายุอาจจะไม่ทันได้สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อเกิด ความเปลี่ยนแปลงแล้วมักจะละเลยเพราะคิดว่าไม่น่ามีปัญหา ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขก็ส่งผลให้เกิดอาการท่ี รนุ แรงมากขึน้ เมือ่ เข้าพบจกั ษุแพทยข์ ณะทีอ่ าการของโรครุนแรง อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ โรคทางตา ท่ีสามารถพบได้ในผสู้ ูงอายุอยา่ งเช่น โรคตาแห้ง ต้อหนิ ตอ้ กระจก จอตาเสือ่ ม และเบาหวานขน้ึ จอตา เป็นต้น ดังนน้ั จงึ ไมค่ วรนง่ิ นอนใจ เม่อื พบว่าผูส้ ูงอายมุ ีปัญหาทางสายตา ควรรบี ปรึกษาจักษแุ พทย์ เพ่อื หาสาเหตุ เอกสารอ้างองิ ณฐั ฐติ า เพชรประไพ. (2556). เอกสารคำสอนวชิ า 702203 การพยาบาลผใู้ หญ่ 1. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสี รุ นาร.ี พิชิต สทิ ธิไตรย์ และคณะ. (2553). ตำรา หู คอ จมูก สำหรับเวชปฏิบัติท่ัวไป. เชยี งใหม่: Trick Think. มณี รัตนไชยานนท์ และคณะ. (2553). เวชศาสตร์ทนั ยุค 2553. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตรศ์ ิรริ าช พยาบาล มหาวิทยาลยั มหดิ ล. เมดไทย (Medthai). (2017). จอประสาทตาเสอ่ื ม อาการ สาเหตุ การรักษาโรค. เขา้ ถึงได้จาก https://medthai.com/ สบื คน้ เมื่อ 16 มกราคม 2564 วสี ตลุ วรรธนะ. (2552). ตำราจกั ษพุ ยาธิวิทยา. ภเู กต็ : หจก.เวิลดอ์ อฟเซท็ . ศรีสนุ ทรา เจิมวรพิพัฒน.์ (2552). การพยาบาลหู คอ จมูก (ฉบับปรับปรุงคร้ังท่ี 1). กรงุ เทพฯ: ธนาเพรส. ศกั ดิ์ชัย วงศกติ ตริ ักษ์ และ กิตติชยั อัครพิพฒั น์กลุ . (2551) ตำราพยาบาลเวชปฏิบตั ิทางตา. กรงุ เทพฯ: หมอ ชาวบา้ น. สัญญา ปิลกศิร.ิ (2552) จกั ษุวทิ ยาพ้นื ฐาน. กรุงเทพ: ไทยวฒั นาพานิช. เอื้องพร พิทกั ษส์ งั ข.์ (2554). การพยาบาลและหตั ถการทางตา. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอนิ เตอรพ์ ริ้นท์. Christensen Kockrow. (2011). Foundations and Adult Health Nursing. Missouri: Mosby Elsevier. 20


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook