Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore งานกลุ่มเปรีบยเทียบห้องสมุดดิจิทัล

งานกลุ่มเปรีบยเทียบห้องสมุดดิจิทัล

Published by AREENA SAROENG, 2022-08-21 16:37:35

Description: งานกลุ่มเปรีบยเทียบห้องสมุดดิจิทัล

Search

Read the Text Version

421-354การตัดการสารสนเทศดิจิทัล เปรีบยเทียบห้องสมุดดิจิทัล เสนอ ดร.ร่มฉัตร ขุนทอง

สมาชิกในกลุ่ม นางสาว รอบีอะห์ แป นางสาว อัลรอยฮัน แมเร๊าะ นางสาว นูรุลอาฟีกัฟ มิมอ นางสาว โซเฟีย ดาเด๊ะ 6220210324 6220210352 6320210482 6320210001

ศูนย์วิทยทรัพยากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักบริการวิทยมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ศูนย์วิทยทรัพยากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.car.chula.ac.th

ประวัติ สำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง) จัดตั้งขึ้นเมื่อแรกตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2453 หลังจากที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้องสมุดโรงเรียน ข้าราชการพลเรือนจึงเปลี่ยนชื่อเป็นหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 โดยตั้งอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ ต่อมา มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยการรวมหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน คือ หอสมุดกลาง ศูนย์เอกสาร ประเทศไทย และศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง

นโบบาย/พันธกิจ 1.สร้างและพัฒนาคน สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีกระบวนการ คิดแบบผู้ประกอบการและความยั่งยืน 2.สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมกระตุ้นธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม เกิดผลงานวิจัยบูรณาการเชิงลึกและกว้าง เพิ่มนวัตกรรมหลักสูตรและกา รบูรณาการข้ามศาสตร์ 3.ชี้นำขับเคลื่อนสังคมไทยและสังคมโลกเน้นเพิ่มความร่วมมือ สังคม รัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์สุขต่อประชาชน เศรษฐกิจและสังคมที่ ยั่งยืน

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ (วิเคราะห์ความเหมาะ สม)โปรแกรม CDS/ISIS ใช้สำหรับประมวลผลและจัดการระบบฐาน ข้อมูลตัวอักษรที่ไม่จำกัด และมีความรวดเร็วในการค้นคืนทรัพยากร ช่วย ให้นิสิต อาจารย์ นักวิชาการ สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุด ทุกแห่งได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ทั้งการสืบค้น สารสนเทศและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระดับชาติและนานาชาติ โดยให้ บริการ 24 ชั่วโมงทุกวัน ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเข้าใช้บริการพร้อมกันได้ โดยไม่จำกัดจำนวนการสืบค้น ซึ่งมีสมาชิกห้องสมุดเครือข่ายรวม 38 แห่ง

ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ การใช้เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเพื่อสร้างฐานข้อมูลเฉพาะต่างๆ การใช้เป็นโปรแกรมระบบงานห้องสมุดทั้งกรณีการใช้เฉพาะงานสืบค้นฐาน ข้อมูล การใช้เป็นระบบงานห้องสมุดพื้นฐาน(วิเคราะห์และทํารายการ สืบค้น ยืมคืน)หรือการใช้เป็นโปรแกรมระบบงานห้องสมุดเฉพาะด้าน เช่น การควบคุม วารสาร การสํารวจหนังสือ การจัดทําเป็นระบบสํารองข้อมูลของห้องสมุด การใช้เป็นเครื่องมือช่วยงานบรรณารักษ์ เช่น กรณีฐานข้อมูลและโปรแกรม จัดการหัวเรื่องภาษาไทยแบบศัพท์สัมพันธ์ ฐานข้อมูลรูปแบบการลงรายการ นิติบุคคลของไทย การใช้เป็นเครื่องมือสําหรับการศึกษาและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์โดยเฉพาะ ประเด็นการศึกษาที่เกี่ยวกับระบบจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ

กลุ่มผู้ใช้ พนักงาน นักศึกษาปริญญาเอก อาจารย์ นักศึกษาปริญญาโท นักศึกษาระดับปริญญา ตรี

ข้อจำกัดของห้องสมุด จำนวนฐานข้อมูลที่ใช้ได้ ไม่จำกัด เก็บข้อมูลได้ประมาณ 16,000,000 ระเบียน (record) หรือ 500 Mb แต่ละระเบียนเก็บข้อมูลได้ 8,000 ตัวอักษร (character)กำหนดเขตข้อมูลได้ 200 เขตข้อมูล แต่ละเขตข้อมูล เก็บได้ 8,000 ตัวอักษร แผ่นงานบันทึกข้อมูล (Workshcct) พิมพ์ข้อความได้มากที่สุด 4,000 ตัว อักษร มีจำนวนหน้าได้มากที่สุด 20 หน้า แต่ละหน้ามีเขตข้อมูลได้ 19 เขต มีจำนวนคำ Stop word ได้มากที่สุด 799 คำ

แนวโน้มในอนาคต มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมากขึ้นช่วยให้ผู้ใช้บริการฐาน ข้อมูลออนไลน์ จากต่างประเทศ มีโอกาสใช้สื่อความรู้ หลาก หลายรูปแบบเพิ่มมากขึ้น ประการสำคัญ คือ สามารถได้รับ ชัอมูลฉบับเต็มทันที แต่มีเพียงบางฐานเท่านั้นที่มี ให้ทุก รายการ ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตหลายแห่งได้เสริมบริการนำส่ง เอกสาร (document delivery service - DDS) ในฐาน ข้อมูลของตน หรือเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานบริการ นำส่ง เอกสารอื่นๆ ตลอดจนสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียง

สำนักบริการวิทยมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา http://library.cpu.ac.th/

ประวัติ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ได้เปิดดำเนินในปีพุทธศักราช 2541 เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยให้ บริการยืม-คืนทรัพยากร งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า งานบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ โดย มีพื้นที่ใช้สอย 1,710 ตารางเมตร เพื่อรองรับผู้ใช้บริการ จำนวน 550 คน ส่วนอาคารหลังที่ 2 เป็นอาคาร 3 ชั้น โดยทำการเชื่อมต่อกัน จัดให้บริการหนังสือภาษาไทยและต่างประเทศ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และสื่อโสต ทัศน์ พื้นที่การให้บริการ ชั้น 1 บริการยืม-คืน บริการหนังสือ นวนิยาย เรื่องสั้น ห้องวารสาร และมุมดิจิทัล โซน ชั้น 2 ห้องหนังสือทั่วไป ห้องสมุดวิจัย ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม-เดี่ยว ห้องเรียนของ บัณฑิตศึกษา ห้องปฏิบัติการสาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว ชั้น 3 ห้องประชุม

นโบบาย/พันธกิจ 1.แสวงหา พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศทุก ประเภท 2.การบริการที่เป็นเลิศ มุ่งเน้นผู้ใช้บริการ (User Focus) 3.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ 4.พัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดวิจัย (Research Excellence) 5.พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้ สํานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alice for Windows มีฐานข้อมูลโคยเฉพาะกับงานห้องสมุด \"Alice\"for Windows มีฐานข้อมูลพร้อมกับส่วนการ บริหารข้อมูลสำหรับงานห้องสมุดโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้มั่นใจ ได้ว่ามีฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับงาน และสามารถบริหารจัดการระบบได้เอง อีกทั้งยังเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายลงอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องซื้อลิขสิทธิ์ การใช้ฐานข้อมูลเพิ่มเติมและไม่ต้องจัดเศรียมบุคคลากรเป็นการ เฉพาะอีกด้วยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการคันคว้าอย่างกว้างขวาง ขสิทธิ์การใช้แบบไม่ จำกัดจำนวนผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม \"Alice\" for Windowsรีรุ่น ที่สนับสนุนฐานข้อมูลเชิงพานิชย์ ที่จัดจำหน่ายโดยทั่วไป ด้วยเช่นเดียวกัน

ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ 1. ระบบการจัดการระกอบด้วย - การจัดทำครรชนีและข้อมูลหลัก - การจัดการข้อมูลสำคัญหรือข้อมูล - การจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น แผนผังห้องสมุด ชั้นวาง จัด เก็บข้อมูลหลายสื่อ ฯลฯ - จัดเก็บและแคตาลอกไฟล์ต่างๆ เช่น Word, Excel, Power point, WWW 2. ระบบการบริการเป็นส่วนการควบคุมและให้บริการ จอง ยืม คืน และการควบคุมรายการ โดยสามารถเลือกใช้บริการจากหน่วยบริการหรือบริการด้วยตนเอง ได้ระบบจะทำ งานกับรหัส แท่งและสามารถมีรูปสมาชิกห้องสมุดปรากฏได้

ลักษณะการทำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ 3.ระบบการสืบค้น Inquiry or OPACITY เป็นส่วนการให้บริการค้นหาข้อมูลของห้องสมุด เพียงแต่ป้อนคำที่ต้องการค้นหาระบบก็จะทำการค้นหาข้อมูลตามที่บันทึกไว้ 4. ระบบช่วยจัดทำครรชนีและข้อมูลหลัก เป็นระบบที่จะช่วยให้งานแคตตาลอกทำได้ง่ายและ มีความสะดวกรวดเร็วเป็นการนำข้อมูลที่ทำการแคตตาลอกไว้ใน CD-ROM หรือจากแฟ้ม ข้อมูลมาใช้ 5. ระบบการจัดซื้อช่วยควบคุมงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรของห้องสมุดควบคุมการ ออกใบสั่งซื้อ สั่งพิมพ์ใบทวงถาม จัดการกับการสั่งซื้อที่ยังไม่ได้รับรัของการต่ออายุสมาชิก ดิดตามรายการที่ขออนุมัติจัดซื้อ การควบคุมการใช้จ่าย

กลุ่มผู้ใช้ นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ตลอดจนบุคคลทั่วไป

ข้อจำกัดของห้องสมุด ฐานข้อมูลประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ต้องมีการทำสำเนาโครงสร้างของ ฐานข้อมูลนั้น เก็บไว้พร้อมกับสำเนาข้อมูลในรูปแฟ้มข้อมูล ios ที่ทันสมัยเสมอด้วย การทำครรชนีอย่างละเอียดเสียเวลาและกินเนื้อที่มาก ถ้ำาไม่ใช้ครรชนีสืบคั้นอาจช้าและยุ่งยากสำหรับผู้ใช้

แนวโน้มในอนาคต ในอนาคตสำนักบริการวิทยมหาวิทยาลัยเจ้าพระยาเป็นผู้สร้างสรรค์ข้อมูลด้วย: แต่เดิม ห้องสมุดมีลักษณะทางเดียว คืออัดแน่นไปด้วยข้อมูลความรู้ แล้วผู้ใช้งานก็เข้ามาตักตวง ดึงความรู้ออกไป แต่ห้องสมุดในอนาคตสามารถเป็นสถานที่เปิด และสนับสนุนให้ผู้ใช้ห้อง สมุดมีลักษณะที่เป็น Maker หรือคนที่เข้ามาสร้างสรรค์เรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น เกิด ข้อมูลแบบ User-Generated ที่ผู้ใช้ห้องสมุดเป็นผู้สร้างขึ้น แล้วเก็บไว้ในฐานข้อมูล ขนาดมหึมาของห้องสมุดได้ ห้องสมุดแห่งอนาคตเลยจะกลายเป็นสถานที่สำหรับสร้าง ทักษะให้นักศึกษาได้ด้วย

ขอบคุณ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook