Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กัมพูชา-cambodia

กัมพูชา-cambodia

Published by E-Book Library NFE Bangnamphueng, 2019-08-26 04:55:10

Description: กัมพูชา-cambodia

Search

Read the Text Version

ระบบบริหารราชการของ ราชอาณาจกั รกัมพชู า ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกมั พูชา 1

ระบบบริหารราชการของ ราชอาณาจักรกัมพูชา จดั ทำ�โดย : สำ�นักงานคณะกรรมการขา้ ราชการพลเรือน (ก.พ.) 47/111 ถนนติวานนท์ ต�ำ บลตลาดขวัญ อำ�เภอเมอื ง นนทบรุ ี 11000 โทรศัพท์ 0 2547 1000 โทรสาร 0 2547 1108 หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร.จริ ประภา อัครบวร ท่ีปรึกษาโครงการ : นายสรุ พงษ์ ชยั นาม ผู้เช่ยี วชาญดา้ นระบบราชการใน ASEAN นักวจิ ยั : นางสาวนพรัตน์ พาทีทิน นางสาวมนฑกานต์ วรนติ กิ ุล บรรณาธกิ าร : ดร.ประยูร อคั รบวร ผปู้ ระสานงานและตรวจทานคำ�ผดิ : นางสาวเยาวนชุ สมุ น เลขมาตรฐานประจำ�หนงั สือ : 978-616-548-146-5 จ�ำ นวนพิมพ์ : 5,400 เลม่ จำ�นวนหนา้ : 200 หน้า พิมพท์ ่ี : กรกนกการพิมพ์ 2

คำ�น�ำ สำ�นักงาน ก.พ. ในฐานะองค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ภาครัฐ และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบตามแผนงานการจัดต้ังประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในการเพ่ิมขีดความสามารถของทรัพยากร บุคคลในระบบราชการ จากการด�ำ เนนิ การทผี่ า่ นมาแมว้ า่ ส�ำ นกั งาน ก.พ. ไดด้ �ำ เนนิ การจดั อบรม หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่ ข้าราชการหลายครั้ง แต่ก็ยัง ไม่ครอบคลมุ บคุ ลากรภาครฐั ซง่ึ มจี ำ�นวนมากกวา่ 2 ลา้ นคน สำ�นกั งาน ก.พ. จงึ เห็นควรพัฒนาชุดการเรียนรู้ “อาเซยี น กูรู” เพื่อเสรมิ สรา้ งความรู้ ความ เข้าใจ เก่ียวกับระบบราชการ ซึ่งมีความหลากหลายของประเทศสมาชิก อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้แก่บุคลากรภาครัฐซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการ ปฏิบตั งิ านของบุคลากรภาครัฐ ท้ังน้ีทางสำ�นักงาน ก.พ. จึงทำ�ความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒน- บรหิ ารศาสตร์ (นดิ า้ ) จดั ท�ำ หนงั สอื เรอ่ื ง “ระบบบรหิ ารราชการของประเทศ อาเซียน” เพ่ือเสริมทักษะความรู้เก่ียวกับการบริหารราชการให้แก่บุคลากร ภาครัฐทุกระดับ หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้รับความรู้และเพลิดเพลินไปกับ หนังสือชดุ นี้ สำ�นักงาน ก.พ. ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจักรกมั พชู า 3

ขอ้ คดิ จากบรรณาธิการ หนังสือเรื่อง “ระบบบริหารราชการของประเทศอาเซียน” เป็นหนังสือ ท่ีจัดทำ�ขึ้นเพ่ือเสริมทักษะความรู้แก่ข้าราชการไทย เพื่อเรียนรู้และเข้าใจ ระบบการบรหิ ารงานภาครฐั ของประเทศตา่ งๆ ในอาเซยี น อนั จะเปน็ ประโยชน์ ในการตดิ ตอ่ ประสานงานกับข้าราชการของประเทศเหล่านใี้ นอนาคต โดยรปู แบบของหนังสอื ได้ปคู วามรใู้ ห้ผ้อู ่านต้ังแตป่ ระวัติ ขอ้ มูลเก่ยี วกับ ประเทศ วสิ ัยทศั น์ รวมถึงความเป็นมาของระบบราชการ นโยบายการเข้าสู่ ประชาคมอาเซยี น และทน่ี า่ จะเปน็ ประโยชนใ์ นการเรยี นรรู้ ะบบราชการของ ประเทศเหล่าน้ีคือเนื้อหาในส่วนของยุทธศาสตร์และภารกิจของแต่ละ กระทรวง ระบบการพัฒนาข้าราชการ ท้ายเล่มผู้เขียนได้รวบรวมกฎหมาย สำ�คัญท่ีควรรู้ และลักษณะเด่นของระบบราชการที่น่าเรียนรู้ไว้ได้อย่าง นา่ สนใจ หนังสือระบบบริหารราชการของประเทศในอาเซียนทั้ง 10 น้ี อาจมี เนื้อหาแตกต่างกันไปบ้าง เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของ บางประเทศได้ด้วยข้อจำ�กัดด้านภาษา และบางประเทศยังไม่มีการจัดทำ� ยุทธศาสตร์ของรายกระทรวง ทางคณะผู้จัดทำ�หนังสือหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนงั สอื เลม่ นจ้ี ะมสี ว่ นในการตดิ อาวธุ องคค์ วามรภู้ าครฐั ใหก้ บั ขา้ ราชการไทย ไม่มากก็น้อย สุดท้ายต้องขอขอบคุณเจ้าของรูปภาพและเว็ปไซต์ที่ช่วยกัน เผยแพรใ่ หอ้ าเชยี นเปน็ หนึง่ เดียวรว่ มกนั ดร.ประยรู อัครบวร บรรณาธิการ 4

สารบญั 1.ประวัตแิ ละขอ้ มูลประเทศและรัฐบาลโดยย่อ 9 1.1 ประวัตแิ ละขอ้ มลู ประเทศโดยย่อ 10 1.1.1 ขอ้ มูลท่ัวไป 10 1.1.2 ลกั ษณะทางภมู ศิ าสตร ์ 12 1.1.3 ประวัตศิ าสตร ์ 16 1.1.4 ลักษณะประชากร 22 1.1.5 ขอ้ มลู เศรษฐกจิ 24 1.1.6 ข้อมลู การเมอื งการปกครอง 42 1.1.7 ลักษณะทางสงั คมและวัฒนธรรม 45 1.1.8 โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 47 1.1.9 ระบบสาธารณสขุ 51 1.1.10 ระบบการศกึ ษา 53 1.1.11 ระบบกฎหมาย 57 1.1.12 ความสมั พนั ธ์ระหว่างไทยกบั กัมพูชา 61 1.2 ประวตั ิและขอ้ มลู รัฐบาลโดยยอ่ 68 2. วิสัยทศั น์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร ์ 71 2.1 วิสยั ทศั น ์ 72 2.2 เป้าหมาย 73 2.3 ยทุ ธศาสตร์ 74 3. ประวตั ิความเปน็ มาของระบบราชการ 77 3.1 กมั พูชาภายใตก้ ารปกครองของฝรั่งเศส (พ.ศ. 2406 – 2496) 78 3.2 กัมพูชาภายใตก้ ารปกครองของสมเด็จสหี น(ุ พ.ศ. 2496 – 2513) 79 3.3 กัมพูชาภายใตก้ ารปกครองของลอน นอล (พ.ศ. 2513 – 2518) 80 3.4 กัมพูชาภายใต้การปกครองของพอล พต(พ.ศ. 2518 – 2521) 82 3.5 กมั พูชาภายใต้การยดึ ครองของเวียดนาม(พ.ศ. 2522 – 2534) 84 3.6 กมั พูชาในความอปุ ถัมภข์ องสหประชาชาติ(พ.ศ. 2534 – 2536) 86 ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจักรกัมพชู า 5

4 . ภ 444า ...พ 123ร วรหจจม ัฐำำ��รข444บนนืออ...าววค333งลนน...ุณร123ะขนลแ บ้าักโลเคจครบยขษะ�ำุณณุาบ้ารนรชณสาลลาาวกชปู่ักักยะยนากรหษษรชขระาัฐลณณือ่ท้าชรบกัรกวั่ะะ าาาใรหหปคนชละมลลรกกทะแอกัักาารเลาขขรรทวเทออะเซงศขนงง่วัพียพ้าขขปโนรสย้้าารร้อ รรู่ป้อบะมาามรเาชชททะยคกกศช่ตีกณุ าา าิดารรลครตใ กัเมน่อขษอก า้ ณาาสรเปู่ซะหยีระนลชัก าคมอาเซียน 998905 111000555 107 5. ยทุ ธศาสตร์ และภารกจิ ของแตล่ ะกระทรวงและ 109 ห5น.่ว1ย งยาุทนธหศลาักสทตรี่ รบั ์ แผลดิ ะชภอาบรงกาิจนขทอเี่ งกแีย่ ตว่ลกะับกรAะSทEรAวNง 110 5.2 หนว่ ยงานหลักทรี่ ับผิดชอบงานท่ีเก่ียวกบั ASEAN 120 6. ระ6บ.1บก ภาารพพฒัรวนมาขขอ้างรกาาชรกพาัฒร นาข้าราชการ 121 6.2 วธิ ีพฒั นาขา้ ราชการ 122 6.3 หนว่ ยงานท่รี ับผิดชอบดา้ นการพัฒนาขา้ ราชการ 127 131 7. กฎหมายส�ำ คญั ท่ีควรร ู้ 135 7.1 กฎระเบียบข้าราชการ 136 7.2 กฎหมายแรงงาน 150 77..43 กกฎฎหหมมาายยเเขก้า่ยี เวมกอื ับงก ารลงทนุ 161 164 8. ลกั ษณะเด่นของระบบราชการที่นา่ เรยี นร ู้ 181 8.1 ปญั หาการคอรปั ช่นั 182 8.2 การปฏริ ูปการบริหารประเทศของกัมพูชา 184 บรรณานกุ รม 186 6

สารบญั ภาพ ภาพท่ี 1 แผนท่ีประเทศกมั พชู า 12 ภาพท่ี 2 นครวดั 19 ภาพที่ 3 ภาพสลกั พระเจา้ สรุ ิยวรมนั ท่ี 2 ทป่ี ราสาทนครวดั 20 ภาพท่ี 4 พนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชาปัจจุบัน 22 ภาพที่ 5 แผนท่ตี งั้ สหี นวุ ลิ ล์ 38 ภาพท่ี 6 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี 38 ภาพท่ี 7 ป้ายเชิญชวนเลอื กตง้ั ในกมั พูชา 43 ภาพท่ี 8 สภา ECCC 61 ภาพที่ 9 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สหี นุ 80 ภาพท่ี 10 นายพลลอน นอล อดีตนายกรฐั มนตรีกัมพูชา 82 ภาพที่ 11 นายพอล พต อดตี ผนู้ ำ�เขมรแดง 83 ภาพท่ี 12 นายเฮง สมั รนิ 85 ภาพที่ 13 สมเด็จอัครมหาเสนาบดเี ดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรคี นปัจจุบัน 85 ภาพที่ 14 เป้าหมายหลักของข้าราชการกัมพูชา 134 ภาพที่ 15 The hierarchy of norms in Cambodia 137 ภาพท่ี 16 แผนภาพการจา่ ยเงนิ เดือนข้นั ต� แก่ขา้ ราชการ ตามลำ�ดับต�ำ แหนง่ 148 ภาพที่ 17 สาย 48(R–10) ถนนสายเศรษฐกิจการคา้ ไทย–กัมพูชา 169 ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกมั พชู า 7

สารบญั ตาราง ตารางท่ี 1 ความส�ำ คัญทางเศรษฐกิจ และสินคา้ / บรกิ ารที่ส�ำ คญั ในแตล่ ะจังหวัดของกมั พูชา 32 ตารางท่ี 2 ปัญหา/อปุ สรรคและแนวทางแก้ไขปญั หาการคา้ และการลงทุนระหวา่ งไทย-กัมพูชา 40 ตารางที่ 3 รปู แบบการแบ่งขั้นตำ�แหน่งของราชการ ในกมั พชู า 139 ตารางที่ 4 รูปแบบการแบง่ ลำ�ดบั ตำ�แหน่งราชการ ตามหน่วยงาน 141 ตารางที่ 5 รูปแบบการเล่ือนตำ�แหนง่ ในระบบราชการ กมั พูชา 144 ตารางท่ี 6 ตารางการจ่ายเงินเดอื นข้ันต�ของข้าราชการ กัมพูชาตามล�ำ ดบั ข้ัน 147 ตารางท่ี 7 อัตราคา่ จ้างในกัมพูชา 157 ตารางที่ 8 ปัจจัยท่เี ป็นปัญหาต่อการประกอบธรุ กิจ ในกมั พชู า 174 8

1 ประวตั ิและข้อมูลประเทศ และรัฐบาลโดยย่อ ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรกมั พชู า 9

1.1 ประวัติและขอ้ มลู ประเทศโดยย่อ ประเทศกมั พชู าเปน็ ประเทศทม่ี ปี ระวตั อิ นั ยาวนานมาหลายรอ้ ยปี เป็นประเทศเพ่ือนบ้านที่ประเทศไทยได้มีการหยิบยืมภาษาจากกัมพูชา มาใช้ จนแยกเปน็ หวั ขอ้ ศกึ ษาได้ การเรยี นรปู้ ระเทศกมั พชู าจงึ มคี วามนา่ สนใจ ท่ีตอ้ งเรียนรูใ้ นฐานะเพ่อื นบา้ นดังนี้ 1.1.1 ขอ้ มลู ทั่วไป ชอื่ ประเทศอยา่ งเป็นทางการ ราชอาณาจักรกัมพชู า (Kingdom of Cambodia) เมืองหลวง พนมเปญ พื้นท ่ี 181.035 ตารางกิโลเมตร[47] เขตแดน ทิศเหนือตดิ กับสปป.ลาวและไทย ทิศใต้ตดิ กบั เวยี ดนามและอ่าวไทย ทิศตะวนั ตกตดิ กบั ไทย ทศิ ตะวนั ออกติดกับเวยี ดนาม ประชากร 14.4 ล้านคน (2012) [56] วนั ชาต ิ 9 พฤศจิกายน ภาษาในราชการ เขมร ระบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรฐั สภา โดยมีพระมหากษตั ริย์เปน็ ประมขุ ภายใต้รฐั ธรรมนญู 10

ธงชาติ มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาว อยู่ตรงกลางร้ิวท่ีอยู่ด้านนอกทั้ ง สองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน พ้ืนสีน�เงินความหมายของสัญลักษณ์ ในธงนนั้ สะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของ ประเทศ ดงั ปรากฏในค�ำ ขวญั ประจ�ำ ชาติ ว่า“ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” พนื้ สแี ดง มคี วามหมายถงึ ชาติ ปราสาท นครวัด สีขาวหมายถึงสันติภาพ และ ศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนา พราหมณ-์ ฮนิ ดู และไดเ้ ปลยี่ นแปลงมา เ ป็ น พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ใ น ปั จ จุ บั น สนี � เงนิ หมายถงึ สถาบนั พระมหากษตั รยิ ์ ตราแผน่ ดนิ เป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพาน แว่นฟ้า อัญเชิญพระแสงขรรค์และ เ ค ร่ื อ ง ห ม า ย อุ ณ า โ ล ม ภ า ย ใ ต้ พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีลายช่อต่อ ออกมาจากกรรเจียกจรทัง้ สองข้าง ดอกไมป้ ระจ�ำ ชาต ิ ดอกลำ�ดวน(Rumdul) เป็นดอกเดี่ยว มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นช้ัน โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็ก สขี าวปนเหลอื งนวล กลน่ิ หอมเยน็ ทเ่ี ปน็ คำ�ชมหรือ เปรียบด่ังสตรีกัมพูชา ในยุคโบราณ เห็นได้ทั่วไปในกัมพูชา ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจกั รกมั พชู า 11

สกุลเงินตรา เรียล (Riel หรือ CR) อตั ราแลกเปลี่ยน 4,145 เรยี ล (KHR) ตอ่ 1 ดอลลา่ รส์ หรฐั [35] ผลิตภัณฑม์ วลรวมในประเทศ (GDP) 15.64 พนั ล้านดอลลาร์สหรฐั [41] รายไดป้ ระชาชาตติ อ่ หวั (GDP per Capita) 911.73 ดอลลารส์ หรฐั [35] 1.1.2 ลกั ษณะทางภมู ิศาสตร์ ทีม่ า: http://wwwภ.hาพotทe่ี l1sthแaผilนaทnีป่dร.cะoเทmศ/กcมัamพชู bาodia-hotels.html ลักษณะภูมปิ ระเทศของกมั พชู า มีลักษณะคล้ายชามหรืออ่าง ซ่ึงตอนกลางของประเทศมีลักษณะ เปน็ แอง่ ทะเลสาบและทร่ี าบลมุ่ โดยมชี อ่ งระบายน� ออกทางภาคตะวนั ออก เฉียงเหนือ ส่วนภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและ ภาคตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาล้อมรอบที่ราบลุ่มตอนกลาง จากลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว จึงทำ�ให้อาณาบริเวณตอนกลางของ 12

ประเทศ ซึ่งมีพื้นท่ีประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ท่ัวประเทศ มีความอุดม สมบูรณ์และเป็นท่ีอยู่อาศัยของประชากรประมาณร้อยละ 90 ของ พลเมอื งกมั พชู า แม่น�และทะเลสาบ แมน� โขงและทะเลสาบ (Tonle Sap แปลว่า แม่น�จดื ) เป็นอู่น� ทส่ี �ำ คญั ของแมน่ � ล�ำ ธารอน่ื ๆ ของกมั พชู าอกี มากมาย แมน่ � โขงมกี �ำ เนดิ จากยอดเขาสูงในทิเบตและซิงไห่ของจีนไหลผ่านมณฑลยูนนานของจีน เมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนออกสู่ทะเลจีนใต้ใน อ่าวตังเกี๋ยมีความยาวตลอดสายประมาณ 4,667 กิโลเมตร โดยส่วนท่ี ไหลผ่านกัมพูชายาวประมาณ 500 กิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 11 ของความยาวแมน่ � โขง แมน่ � โขงในกมั พชู ามสี าขามากมาย โดยแมน่ � โขง ตอนล่างต้ังแต่กรุงพนมเปญลงไปแยกออกเป็นสองสาย ด้านตะวันออก เฉียงเหนือยังเรียกว่า “แม่โขง” แต่สายที่อยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า “แม่น�บาสัก” (Tonle Bassac) และมีแม่น� “ทะเลสาบ” (Tonle Sap River) เปน็ สาขาใหญท่ สี่ ดุ ทเี่ ชอ่ื มโยงระหวา่ งแมน่ � โขงและ ทะเลสาบ มคี วามยาวเพยี ง 155 กโิ ลเมตร แตเ่ ปน็ แมน่ � กวา้ งกง่ึ ทะเลสาบ และมีสาขาหลายสาย แม่น�ทะเลสาบนี้มีส่วนช่วยรักษาระดับน�ของ ทะเลสาบและแม่น�โขงได้อย่างมากในฤดูน�ข้ึนในแม่น�โขง แม่น�ทะเลสาบจะรับน�ส่วนหนึ่งไหลสู่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือไปยัง ทะเลสาบ ในฤดูแล้งน�ในแม่น�โขงลดลง แม่น�ทะเลสาบก็จะไหลจาก ทะเลสาบลงสแู่ ม่น� โขง และเพิม่ ปริมาณให้กบั แมน�โขงตอนล่าง ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกมั พูชา 13

โตนเลสาบทะเลสาบน� จืดของชาวกัมพูชา ทม่ี า: http://www.mcot.net ทะเลสาบในกมั พชู าถอื วา่ เปน็ ทะเลน� จดื ทใ่ี หญท่ สี่ ดุ ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ เปน็ อา่ งเกบ็ น� ธรรมชาตทิ ม่ี คี ณุ คา่ ยงิ่ ของประชาชนกมั พชู า เป็นแหล่งท่ีอยู่อาศัยและทรัพยากรอาหารอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่ง ชลประทานทสี่ �ำ คญั ในการประกอบอาชพี เกษตรกรรมและอตุ สาหกรรม ประมง แต่ทว่ากัมพูชาได้รับเอกราชต้ังแต่ปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) นกั พฒั นาชาวตะวนั ตกไดม้ องเหน็ ถงึ ศกั ยภาพของการใชน้ � เพอ่ื ปน่ั กระแส ไฟฟา้ และการชลประทาน จงึ ไดม้ กี ารสรา้ งเขอื่ นเปรกทโนต (Prek Thnot) และเข่ือนคีรีรมย์ ขึ้นในสมัยรัฐบาลสมเด็จนโรดม สีหนุ ใน พ.ศ.2503 (ทศวรรษ 1960) และต้ังแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา มี คณะกรรมการ 14

แมน่ � โขงทสี่ นบั สนนุ โดยสภาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ภมู ภิ าคเอเซยี แปซฟิ กิ ของสหประชาชาติ (ESCAP) ไดท้ �ำ การศกึ ษาถงึ ศกั ยภาพของแมน่ � ตา่ งๆ ในกัมพูชาเพื่อสร้างเชื่อนสำ�หรับผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน และไดข้ อ้ สรปุ วา่ แมน่ � และแมน่ � สาขาในกมั พชู าเออ้ื อ�ำ นวยตอ่ การสรา้ ง เขอื่ นพลังน�ไฟฟา้ และการชลประทานไม่ต�กวา่ 18 แหง่ [10] ลักษณะภมู ิอากาศ ภมู อิ ากาศของกมั พชู าอยภู่ ายใตอ้ ทิ ธพิ ลลมมรสมุ ประจ�ำ ปมี ลี กั ษณะ รอ้ นชน้ื และมฤี ดฝู นยาวนาน โดยมอี ณุ หภมู เิ ฉลย่ี 20 – 36 องศาเซลเซยี ส ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดพาฝน ท�ำ ใหฝ้ นตกหนกั เกอื บทกุ วนั สว่ นลมมรสมุ ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ซง่ึ พดั มา ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมน้ัน จะพัดพาอากาศเย็นสบายและ ลมฝนมาใหพ้ อประปราย ชว่ งเปลยี่ นฤดทู อ้ งฟา้ จะมเี มฆแปรปรวน อากาศ ร้อนจัดและมีพายุฤดรู ้อนเกดิ ข้นึ ได้ เดอื นท่ีอากาศเย็นที่สดุ คือชว่ งเดือน พฤศจกิ ายนถงึ มกราคม โดยทว่ั ไปแลว้ กมั พชู ามอี ากาศรอ้ นกวา่ ไทยและ สปป.ลาวประมาณ 2 – 3 องศาเซลเซียส เดือนที่แล้งที่สุดคือช่วงเดือน มกราคมและกมุ ภาพนั ธ์ ในขณะทเ่ี ดอื นกนั ยายนและตลุ าคมจะมฝี นตกชกุ ซง่ึ ปรมิ าณน� ฝนทไี่ ดร้ บั ในแตล่ ะพนื้ ทก่ี แ็ ตกตา่ งกนั ไป โดยพน้ื ทเ่ี ขตขนุ เขา ทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีพื้นที่ด้านหน่ึงหันออกสู่ทะเลมีปริมาณน�ฝน เฉลย่ี มากกวา่ 5,000 มลิ ลเิ มตรตอ่ ปี ในขณะทพ่ี น้ื ทใี่ นเขตทรี่ าบภาคกลาง มปี รมิ าณน� ฝนเพยี ง 1,400 มลิ ลเิ มตรตอ่ ปี ซง่ึ หากปใี ดทล่ี มมรสมุ ตะวนั ตก เฉียงใต้พัดมาไม่ถึงเขตทะเลสาบหลวงและพ้ืนท่ีทำ�นาใกล้เคียง มักจะ ประสบปญั หาทุพภกิ ขภยั ร้ายแรงเสมอ ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกมั พชู า 15

น� ทว่ มพน้ื ทท่ี �ำ นาของชาวกมั พชู า ท่มี า: http://www.manager.co.th 1.1.3 ประวตั ศิ าสตร์ บรเิ วณทเี่ ปน็ ทต่ี ง้ั ของกมั พชู าในปจั จบุ นั นกั ประวตั ศิ าสตรส์ นั นษิ ฐาน ว่าเรมิ่ มผี ้คู นเขา้ มาตงั้ ถ่ินฐานอาศัยอยูต่ ง้ั แตย่ ุคกอ่ นประวัติศาสตร์ (230 – 500 ปกี อ่ นครสิ ตกาล) โดยอาศยั หลกั ฐานเกา่ แก่ คอื เครอื่ งมอื หนิ กรวด ท่ีค้นพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการค้นพบกระโหลกศีรษะ และกระดกู มนุษย์ทีแ่ หลง่ โบราณคดสี �ำ โรงเซน (Samrong Sen) ซง่ึ เป็น สง่ิ ทชี่ ใี้ หเ้ หน็ วา่ ชาวกมั พชู าในยคุ กอ่ นประวตั ศิ าสตรม์ คี วามคลา้ ยคลงึ กบั ชาวกมั พชู าในปจั จบุ นั ซง่ึ จดั อยใู่ นกลมุ่ ออสโตรเอเชยี ตกิ (Astroasiatic) 16

ประวัตศิ าสตร์ความเป็นมาของกัมพชู า ประเทศกมั พชู ามหี ลกั ฐานทางโบราณดดวี า่ มมี นษุ ยอ์ าศยั อยอู่ ยา่ ง ต่อเน่ืองมาต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นดินแดนต้นกำ�เนิดของ อาณาจกั รโบราณหลายอาณาจกั ร ทมี่ ีความเชอื่ มโยงและมีความเปน็ มา ในประวัตศิ าสตร์ โดยแบ่งออกเปน็ สมัยทส่ี �ำ คัญ คือ สมัยฟูนัน (Funan) เป็นห้วงเวลาที่ได้รับวัฒนธรรมจากศาสนา พราหมณ์ฮินดู ประเทศอินเดีย เม่ือประมาณพุทธศตวรรษท่ี 6 นับถือ พระศิวะ และพระวิษณุ (พระนารายณ์) มีการดัดแปลงตัวอักษรของ อินเดียมาเป็นตัวอักษรเขมร ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่มณฑลไปรเวียง ทางตอนใต้และลุ่มน�ทะเลสาป รวมดินแดนที่เป็นของไทย สปป.ลาว และเวยี ดนาม ในปจั จบุ นั บางสว่ น สว่ นพลเมอื งมเี ผา่ ฟนู นั เขมร และจาม ซ่ึงมอี ยู่ทั่วไปในบรเิ วณตอนใตข้ องลมุ่ แม่น�โขง สมัยเจนละ (พ.ศ. 1078 – 1345) ในระหว่างท่ีอาณาจักรฟูนัน มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น มีดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นอยู่อาณาจักรหนึ่ง ซ่ึงขอมเรียกว่า อาณาจักรเจนละ ช่ือ “กัมพูชา” เริ่มในยุคน้ีเนื่องจาก กษตั รยิ ส์ มยั เจนละ ชอื่ วา่ “กมั พ”ู อาณาจกั รเจนละแบง่ ดนิ แดนออกเปน็ อาณาจกั รยอ่ ยๆคอื อาณาจกั รตอนเหนอื ชอ่ื “กมุ พปู รุ ะ”อาณาจกั รตอนใตช้ อ่ื “วชิ ยั ปรุ ะ” ตอ่ มากษตั รยิ ข์ องกมั พปู รุ ะองคห์ นง่ึ ท�ำ สงครามมชี ยั ชนะ แลว้ สง่ กองทพั ไปตอี าณาจกั รฟนู นั ไดส้ �ำ เรจ็ จงึ รวมเขา้ มาอยใู่ นอาณาจกั รเจนละ อาณาจกั รเจนละเจรญิ รงุ่ เรอื งอยรู่ ะยะหนง่ึ ตอ่ มาอาณาจกั รศรวี ชิ ยั ได้แผ่อำ�นาจเข้าไปในอินโดจีน อาณาจักรเจนละจึงตกเป็นเมืองขึ้นของ อาณาจักรศรีวชิ ัย ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจักรกมั พชู า 17

สมัยขอมหรือนครวัด (พ.ศ. 1345 – 1735) เมื่อประมาณ พ.ศ. 1345 กษตั รยิ ก์ มั พปู รุ ะองคห์ นงึ่ ทรงพระนามวา่ “พระเจา้ ชยั วรมนั ที่ 2” ครองราชยอ์ ยรู่ ะหวา่ ง พ.ศ. 1345 – 1412 ไดร้ วบรวมอาณาจกั รกมั พปู รุ ะ และวชิ ยั ปรุ ะเขา้ ดว้ ยกนั ตง้ั เปน็ อาณาจกั รใหมเ่ รยี กวา่ “อาณาจกั รขอม” พระองค์ได้กู้อิสรภาพของอาณาจักรขอมจากอาณาจักรศรีวิชัยเป็น ผลสำ�เรจ็ พระองคท์ รงเป็นกษัตริย์ที่ตงั้ อาณาจกั รขอมและมอี �ำ นาจมาก สามารถแผ่กระจายอำ�นาจออกไปจนทำ�ให้อาณาจักรขอมแผ่ขยายออก ไปกวา้ งขวางกนิ พน้ื ทถี่ งึ หนง่ึ ในสามของอนิ โดจนี เปน็ ระยะเวลาประมาณ 400 ปี ราชวงศข์ องพระเจา้ ชัยวรมนั ท่ี 2 ได้ครองอาณาจักรขอมจนถึงปี พ.ศ. 1420 จงึ ไดข้ าดสายลง และไดม้ รี าชวงศใ์ หม่ โดยมปี ฐมราชวงศ์ คอื พระเจา้ อนิ ทรวรมนั ท่ี 1 มรี าชโอรสเปน็ พระเจา้ ยโศวรมนั ที่ 1 ครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ. 1432 – 1451 กษัตริย์องค์น้ีได้สร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่ นครธมต่อมาได้มีกษัตริย์อีกหลายราชวงศ์ จนถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1655 – 1695 เป็นกษัตริย์ที่มีอำ�นาจ สงู สดุ ในประวตั ศิ าสตรข์ อม พระองคไ์ ดท้ รงใหส้ รา้ งนครวดั และท�ำ สญั ญา ไมตรีกับจามและจนี สมัยเป็นเมืองข้ึนของเมียนมาร์และไทย (พ.ศ. 1600 – 2410) อาณาจักรขอมรุ่งโรจน์สูงสุด แล้วก็ค่อยๆ เส่ือมอำ�นาจลง เน่ืองจากถูก เมยี นมารส์ มยั พระเจา้ อโนรธามงั ชอ่ เขา้ มารกุ รานและยดึ เปน็ เมอื งขน้ึ ซง่ึ ในหว้ งเวลาดงั กลา่ ว อาณาจกั รขอมยงั ไมย่ บั เยนิ มากนกั ยงั พอตง้ั ตวั ไดใ้ หม่ ในระยะอีกเกือบประมาณร้อยปี ต่อมาจนถึงรัชสมัยพ่อขุนรามคำ�แหง มหาราชของไทย ขอมถูกขับไล่ออกจากดินแดนที่เป็นของประเทศไทย ในปัจจุบันได้หมด อำ�นาจของอาณาจักรขอมได้หมดลงประมาณปี 18

ภาพที่ 2 นครวัด ท่มี า: http://www.manager.co.th พ.ศ. 1890 นับแต่น้ันมาอาณาจักรสยามก็รุ่งโรจน์ข้ึนแทนที่อาณาจักร ขอมในดินแดนสุวรรณภมู ิ สมยั ตกเป็นเมอื งขน้ึ ของฝรั่งเศส (พ.ศ. 2400 – 2497) อาณาจักร กมั พชู าไดเ้ สอ่ื มลงเปน็ ล�ำ ดบั จนตกเปน็ ประเทศราชของไทย ตอ่ มาฝรง่ั เศส ไดเ้ ขา้ มารกุ รานและแสวงเมอื งขน้ึ ในอนิ โดจนี กมั พชู าไดต้ กเปน็ เมอื งขนึ้ ของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2406 กัมพูชาถูกควบคุมท้ังในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2407 รัชกาลสมเด็จ พระนโรดมบรมรามเทวาวตารได้ทรงย้ายราชธานีของกัมพูชาจาก กรุงอุดงคม์ ีชัยมาตั้งอย่ทู ีก่ รงุ พนมเปญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2410 ฝร่ังเศส ได้บีบบังคับให้ไทยทำ�สัญญายินยอมรับรองอำ�นาจของฝร่ังเศสใน ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจกั รกัมพูชา 19

ภาพที่ 3 ภาพสลกั สมเด็จพระเจ้าสุริยวรมนั ท่ี 2 ท่มี า: http://www.manager.co.th การคุ้มครองอารักขากัมพูชา หลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ฝรั่งเศสกับกัมพูชาได้ทำ�ความตกลงเมื่อปี พ.ศ. 2489 ให้กัมพูชา ปกครองดินแดนตนเอง โดยรวมอยู่ในสหภาพฝรั่งเศส กัมพูชาได้จัดต้ัง สภารา่ งรฐั ธรรมนูญเมอ่ื ปี พ.ศ. 2490 เมื่อปี พ.ศ. 2497 ฝร่ังเศสปราชัยในการรบกับเวียดมินห์ ที่เมือง เดียนเบียนฟู เปน็ เหตใุ ห้ต้องเปดิ การประชมุ 14 ชาติ ท่เี มืองเจนวี า เพอื่ น�ำ สนั ตภิ าพมาสอู่ นิ โดจนี ความตกลงเจนวี าในครง้ั นนั้ ก�ำ หนดใหฝ้ รงั่ เศส มอบเอกราชแกเ่ วยี ดนาม สปป.ลาว และกมั พชู า กมั พชู าจงึ ไดเ้ ปน็ เอกราช อยา่ งสมบรู ณ์ โดยมสี มเดจ็ พระนโรดมสหี นทุ รงเปน็ กษตั รยิ ใ์ นชว่ งรอยตอ่ ของประวตั ิศาสตร์ ครน้ั ถึงปี พ.ศ. 2498 ทรงสละราชสมบตั ิ แต่ยังคงกมุ อ�ำ นาจไวใ้ นฐานะนายกรฐั มนตรี ประมขุ ของประเทศ และประธานาธบิ ดี 20

ในปี พ.ศ. 2513 นายพลลอน นอล กอ่ รฐั ประหาร สมเดจ็ พระนโรดมสหี นุ ต้องเสด็จลี้ภัยไปยังปักก่ิง และได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับคอมมิวนิสต์ เขมรแดง เม่ือรฐั บาลเขมรแดงยึดอำ�นาจไดใ้ นปี พ.ศ. 2518 จงึ ทรงเสดจ็ กลับคนื สู่พนมเปญ แตพ่ ระองค์กลับถูกพันธมติ รกักตวั ไว้ หลังเวยี ดนาม ขับไล่รัฐบาลเขมรแดงออกไปในปี พ.ศ. 2522 พระองค์ทรงตั้งตนเป็น ประธานาธบิ ดพี ลดั ถน่ิ ของแนวรว่ มตอ่ ตา้ นเวยี ดนาม ทรงใชเ้ วลาสว่ นใหญ่ อยู่ในประเทศจนี และเกาหลเี หนือ สงครามในกัมพูชาท่ีเรียกว่า “สงครามเขมรสามฝ่าย” ได้ยุติลง จนสหประชาชาติเข้าไปช่วยเหลือจัดการเลือกต้ังในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 ซ่ึงพรรคของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ชนะเลือกตั้ง แตท่ างฝา่ ยสมเดจ็ ฮนุ เซน ไมย่ อมรบั แตใ่ นทส่ี ดุ กเ็ กดิ การประนปี ระนอม ตง้ั รฐั บาลรว่ มกนั ประเทศกมั พชู าจงึ เปน็ ประเทศแรกในโลกทม่ี หี นงึ่ รฐั บาล แต่มีสองนายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธ์ิ และ สมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีร่วมกัน ซ่ึงปัจจุบันสมเด็จฮุน เซน ยังคงเปน็ นายกรัฐมนตรขี องกัมพชู า[14] ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจักรกัมพูชา 21

ภาพที่ 4 พนมเปญ เมืองหลวงของกมั พูชาปัจจบุ นั ที่มา: http://www.indochinaexplorer.com 1.1.4 ลกั ษณะประชากร ปัจจุบันประเทศกัมพูชามีประชากรถึง 14.4 ล้านคน[56]ประกอบ ไปด้วยชนหลายเช้ือชาติ ซ่งึ แยกออกไดเ้ ปน็ เชอื้ สายกัมพูชา ร้อยละ 96 มุสลิม ร้อยละ 2.2 เวียดนาม ร้อยละ 0.49 จีน ร้อยละ 0.2 ท่ีเหลือ เปน็ ชนกลมุ่ นอ้ ยหรอื ชาวเขา รวม 17 เผา่ [1] สว่ นในดา้ นศาสนา มผี นู้ บั ถอื ศาสนาพทุ ธเถรวาท รอ้ ยละ 95 นบั ถอื ศาสนาอสิ ลาม รอ้ ยละ 3 นบั ถอื ศาสนาครสิ ต์ รอ้ ยละ 1.7 นบั ถอื ศาสนา พราหมณ-์ ฮนิ ดู รอ้ ยละ 0.3 [6] 22

ทั้งน้ีโครงสร้างอาชีพหลักของชาวกัมพูชา คือ ภาคเกษตรกรรม ประมาณรอ้ ยละ 70 ภาคบริการประมาณร้อยละ 17 ภาคอุตสาหกรรม โรงงานประมาณร้อยละ 8 และภาคการก่อสร้างประมาณร้อยละ 5 ชาวกัมพูชาประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก พืชท่ีปลูก ส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกบริเวณ ที่ราบภาคกลางรอบทะเลสาบกัมพูชา รองลงมาคือ ประมง โดยบริเวณ รอบทะเลสาบกัมพูชาเป็นแหล่งประมงน�จืดที่สำ�คัญที่สุดในภูมิภาค มีการทำ�ป่าไม้บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือโดยล่องมาตามแม่น�โขง อตุ สาหกรรมในประเทศเปน็ อตุ สาหกรรมขนาดยอ่ ม สว่ นใหญเ่ ปน็ โรงสขี า้ ว และทำ�รองเท้า[26] ปัจจุบันประเทศกัมพูชามีประชากรถึง 14.4 ล้านคน[56]ประกอบ ไปด้วยชนหลายเช้ือชาติ ซง่ึ แยกออกได้เปน็ เชื้อสายกัมพชู า รอ้ ยละ 96 มุสลิม ร้อยละ 2.2 เวียดนาม ร้อยละ 0.49 จีน ร้อยละ 0.2 ที่เหลือ เปน็ ชนกลุม่ น้อยหรอื ชาวเขา รวม 17 เผ่า [1] สว่ นในดา้ นศาสนา มผี นู้ บั ถอื ศาสนาพทุ ธเถรวาท รอ้ ยละ 95 นบั ถอื ศาสนาอสิ ลาม รอ้ ยละ 3 นบั ถอื ศาสนาครสิ ต์ รอ้ ยละ 1.7 นบั ถอื ศาสนา พราหมณ-์ ฮินดู ร้อยละ 0.3 [6] ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกัมพูชา 23

1.1.5 ขอ้ มลู เศรษฐกิจ นับต้ังแต่ปี พ.ศ. 2542 ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาเริ่มดีข้ึนเม่ือ สงครามภายในประเทศสงบลง และด�ำ เนนิ การฟน้ื ฟเู ศรษฐกจิ ของประเทศ โดยการเปดิ การคา้ ระหวา่ งประเทศมากขนึ้ สนบั สนนุ การทอ่ งเทยี่ ว พฒั นา ศักยภาพการผลิต พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน และสาธารณูปโภค มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ ในปัจจุบันเศรษฐกิจกัมพูชามีการขยายตัวเพิ่มข้ึน โดยในปี พ.ศ. 2554 และปี พ.ศ. 2555 การเตบิ โตของผลติ ภณั ฑม์ วลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชาเพิ่มสูงถึงร้อยละ 7.1 และร้อยละ 6.5 ตามลำ�ดับ ซ่ึงมากกว่าการเจริญเติบโตของ GDP กลุ่มอาเซียนที่มีการเติบโตเฉล่ีย เพยี งรอ้ ยละ 5.2 นอกจากนน้ี กั ลงทนุ ตา่ งชาตยิ งั ใหค้ วามสนใจทจี่ ะเขา้ ไป ลงทนุ ในกมั พชู าเพม่ิ ขน้ึ เพราะกมั พชู าเปน็ ประเทศทมี่ ที รพั ยากรธรรมชาติ ทอ่ี ุดมสมบูรณ์ การเมืองในปัจจุบันมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ ประกอบกบั นโยบายสง่ เสรมิ การลงทนุ จากตา่ งประเทศของรฐั บาลกมั พชู า ซ่ึงให้สิทธิประโยชน์หลายประการแก่โครงการลงทุนจากต่างประเทศ ทไ่ี ดร้ บั การสง่ เสรมิ การลงทนุ ตลอดจนอตั ราคา่ จา้ งแรงงานทอ่ี ยใู่ นระดบั ต� ราว 61 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน จึงทำ�ให้ประเทศกัมพูชาเป็นประเทศ เปา้ หมายทชี่ าวตา่ งชาตสิ นใจเขา้ ไปลงทนุ เพม่ิ ขนึ้ ในระหวา่ งเดอื นมกราคม จนถึงกันยายน พ.ศ. 2555 มีการจดทะเบียนธุรกิจใหม่โดยชาวกัมพูชา และตา่ งชาตทิ ง้ั หมด 2,606 แหง่ [27] คดิ เปน็ รอ้ ยละ11.6 เมอ่ื เปรยี บเทยี บ จากปีที่ผ่านมา โดยท่ีธุรกิจใหม่น้ีส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเส้ือผ้า การกอ่ สร้าง และการคา้ 24

กัมพูชาเปิดเสรีทางการตลาดท้ังในส่วนภูมิภาคและระดับโลก ดงั เหน็ ไดจ้ ากการเขา้ รว่ มเปน็ สมาชกิ สมาคมประชาชาตแิ หง่ เอเชยี ตะวนั ออก เฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ซ่ึงสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน ปี พ.ศ. 2558 เพอ่ื ทจ่ี ะใหอ้ าเซยี นรวมกนั เปน็ ตลาดเดยี ว และมฐี านการผลติ รว่ มกนั ระหวา่ งสมาชกิ อาเซยี น นอกจากนกี้ มั พชู ายงั ไดเ้ ขา้ รว่ มเปน็ สมาชกิ ในองค์การระหว่างประเทศที่สำ�คัญ เช่น องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และองคก์ ารแรงงานสากล (International Labour Organization: ILO)[27] การค้าขายในกัมพูชา ทีม่ า: http://region4.prd.go.th ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกมั พชู า 25

กมั พชู ายงั เปน็ แหลง่ ทรพั ยากรธรรมชาตทิ สี่ �ำ คญั เชน่ อญั มณเี หลก็ ฟอสเฟต ซิลิคอน ถ่านหิน แมงกานีส น้าํ มนั แกส๊ และไม้สกั นอกจากน้ี ยงั มแี หลง่ ประมงนา้ํ จดื ทสี่ �ำ คญั และใหญท่ สี่ ดุ ในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออก เฉียงใต้ คือ บริเวณรอบทะเลสาบโตนเล (Tonle Sap) หรือทะเลสาบ เขมร ซง่ึ มี ลกั ษณะทางกายภาพ[25a] ทตี่ งั้ อยบู่ รเิ วณตอนกลางคอ่ นไปทาง ตะวนั ตกเฉยี งเหนอื ของประเทศกมั พชู า ลอ้ มรอบดว้ ยจงั หวดั เสยี มเรยี บ จงั หวดั พระตะบอง จงั หวดั โพธสิ ตั จงั หวดั กมั ปงชนงั และจงั หวดั กมั ปงทม ทป่ี ลายทะเลสาบดา้ นตะวนั ออกเฉยี งใตม้ แี มน่ าํ้ โตนเลสาบไหลไปบรรจบ กบั แมน่ าํ้ โขงและแมน่ า้ํ บาสกั ทกี่ รงุ พนมเปญ ซง่ึ หา่ งจากปลายทะเลสาบ สภาพบ้านเรือนในเมอื งพนมเปญเมอื งหลวงของกัมพชู า ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/% 26

100 กโิ ลเมตร บรเิ วณนกี้ ระแสนาํ้ ของแมน่ าํ้ โตนเลสาบจะสลบั ทศิ ทาง การไหลตามฤดกู าล จนไดช้ อื่ วา่ เปน็ “River with Return” ปรากฏการณ์ น้ีส่งผลให้ท้องน้ําโตนเลสาบในช่วงฤดูน้ําหลากขยายวงกว้างไปจนเกิด เป็นแหล่งเกบ็ นาํ้ ธรรมชาตขิ นาดใหญ่ และจะค่อย ๆ ระบายออกในช่วง ฤดแู ลง้ นอกจากน้ี การไหลสลบั ทศิ ทางของแมน่ า้ํ ยงั ชว่ ยใหเ้ กดิ การพดั พา ตะกอนอันอุดมสมบูรณ์มาทับถมเป็นบริเวณกว้างก่อให้เกิดพ้ืนที่ ท่ีเหมาะสมแกก่ ารเพาะปลูกบรเิ วณโดยรอบทะเลสาบ จากธรรมชาตทิ ส่ี รา้ งสมมาอยา่ งยาวนาน โตนเลสาบจงึ มคี วามส�ำ คญั ในดา้ นตา่ งๆ ทส่ี ง่ ผลตอ่ วถิ ชี วี ติ และการพฒั นาประเทศกมั พชู าดงั น[้ี25a] 1.เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติท่ีส�ำ คัญต่อระบบนิเวศ เป็นทะเล สาบนํ้าจืดท่ีอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์นํ้านานาชนิด เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุ ปลานํ้าจืดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีพันธ์ุปลามากกว่า 200 ชนิด และเปน็ แหลง่ ก�ำ เนดิ ทรพั ยากรธรรมชาตปิ ระเภทอน่ื ๆ จ�ำ นวนมาก เชน่ พืชพันธุ์ท่ีมีมากกว่า 200 ชนิด สัตว์เล้ียงลูกด้วยนมกว่า 46 สายพันธ์ุ และนกอีกกว่า 255 สายพันธุ์ ในจำ�นวนนี้มีหลายสายพันธุ์เป็นสัตว์ปีก อนรุ กั ษ์ของโลก 2. เปน็ แหลง่ ทรพั ยากรประมงทสี่ �ำ คญั ตอ่ เศรษฐกจิ และสงั คม โดย เฉพาะปลาน้ําจืดซึ่งเป็นสินค้าอาหารสำ�คัญอันดับ 2 ของกัมพูชา รองจากขา้ ว และเปน็ แหลง่ โปรตนี ส�ำ คญั ของชาวกมั พชู า ปจั จบุ นั กมั พชู า เปน็ แหลง่ ประมงนาํ้ จืดขนาดใหญ่อนั ดบั 4 ของโลก รองจากจนี อินเดยี และบังคลาเทศ โดยมีผลผลิตประมงน้ําจืดกว่า 4,000,000 ตันต่อปี (คดิ เปน็ สดั สว่ นรอ้ ยละ 10-20 ของ GDP) ซง่ึ เปน็ ผลผลติ ทไ่ี ดจ้ ากโตนเลสาบ ประมาณ 230,000 ตันต่อปี หรือร้อยละ 60 ของผลผลิตประมงนํ้าจืด ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรกมั พชู า 27

ท้ังหมดของกัมพูชา กัมพูชามีปลาน้ําจืดอย่างน้อย 300 ชนิด พบใน โตนเลสาบกวา่ 200 ชนิด ทีส่ �ำ คัญ ได้แก่ Perch, Carp, Lungfish และ Smelt สาเหตทุ ที่ �ำ ใหป้ ลาชกุ ชมุ มาจากการไหลของกระแสนา้ํ ทมี่ ลี กั ษณะ เฉพาะ และระบบนิเวศท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ ซ่ึงเห็นได้จากปลาท่ีมี ความสำ�คัญเชิงเศรษฐกิจ เช่น ปลาเตรเรียล (Trey Riel) โตนเลสาบ จงึ เปน็ แหลง่ ทรพั ยากรประมงทม่ี คี วามส�ำ คญั อยา่ งยงิ่ ตอ่ การด�ำ เนนิ ชวี ติ ของประชากรทอี่ าศยั อยบู่ รเิ วณลมุ่ แมน่ า้ํ โขงตอนลา่ ง รวมทงั้ การด�ำ เนนิ กจิ กรรมทางเศรษฐกจิ อน่ื ๆ เช่น การแปรรูปผลผลติ ประมง (โดยเฉพาะ ปลารา้ และปลากรอบ) 3. เป็นแหล่งเพาะข้าวและพืชเศรษฐกิจสำ�คัญท่ีสุดของกัมพูชา พื้นทเี่ กษตรกรรมของกมั พูชาที่มีอยรู่ าว 2.8 ลา้ นเฮกตาร์ เป็นพื้นท่ีปลกู ข้าวถึง 2.3 เฮกตาร์ การปลูกข้าวในกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นลักษณะ Rain fed lowland rice ที่มีมากถงึ รอ้ ยละ 86 ของพื้นทีป่ ลูกข้าวทัง้ หมดของ กมั พชู า ซงึ่ ใหผ้ ลผลติ คอ่ นขา้ งต� เนอื่ งจากขอ้ จ�ำ กดั เรอ่ื งชลประทาน และ เทคโนโลยีการผลิต ขณะท่ีการปลูกข้าวในลักษณะ Deep water หรือ Floating rice ซงึ่ ท�ำ ไดเ้ ฉพาะบรเิ วณโตนเลสาบ และจะท�ำ การเพาะปลกู ในช่วงน้ําลดมีเพียงร้อยละ 4 ของพื้นที่ปลูกข้าวท้ังหมด แต่ให้ผลผลิต ราวรอ้ ยละ 12 ของผลผลติ ขา้ วทงั้ หมด นอกจากขา้ วแลว้ ยงั มพี ชื เศรษฐกจิ ส�ำ คญั ทน่ี ยิ มปลูกรอบบรเิ วณโตนเลสาบ ไดแ้ ก่ ยางพารา และพริกไทย 4. เป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้ ปัจจุบันกัมพูชามีพ้ืนท่ีป่าไม้ร้อยละ 60 ของพื้นท่ีทั้งประเทศ ทรัพยากรป่าไม้มีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ทั้งในพื้นที่ป่าไม้ท่ีสำ�คัญของกัมพูชา นอกจากป่าไม้บริเวณเทือกเขา ดงรักทางภาคเหนอื และเทือกเขาช้างทางภาคตะวนั ตก และพน้ื ทปี่ ่าไม้ 28

ทางภาคตะวนั ออกแลว้ บรเิ วณพน้ื ทน่ี า้ํ ทว่ มถงึ โตนเลสาบ รวมถงึ ปา่ ชายเลน และปา่ ไมใ้ นพน้ื ทช่ี มุ่ นาํ้ บรเิ วณลมุ่ นาํ้ โตนเลสาบกเ็ ปน็ พน้ื ทป่ี า่ ไมท้ ส่ี �ำ คญั เชน่ เดยี วกับป่าไมบ้ ริเวณเทือกเขาในภมู ภิ าคอนื่ ๆ ของประเทศ อย่างไร ก็ตาม พ้นื ทีป่ ่าไมข้ องกัมพูชาได้เร่ิมลดลงอยา่ งนา่ เป็นห่วงจากอตั ราการ ตดั ไมท้ ำ�ลายปา่ สูงถงึ 300,000 เฮกตารต์ อ่ ปี เพื่อทำ�การคา้ และนำ�ไปใช้ เป็นเช้อื เพลิงส�ำ หรับหงุ ตม้ ในครัวเรอื น 5. เปน็ แหลง่ ทอ่ งเทย่ี วทางธรรมชาติ โตนเลสาบจดั เปน็ แหลง่ ทอ่ งเทย่ี ว ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เน่ืองจากนักท่องเที่ยว สว่ นใหญ่นิยมเดินทางไปชมความสวยงามของทะเลสาบและทัศนยี ภาพ โดยรอบ รวมทง้ั วถิ ชี วี ติ ของชาวบา้ นทอ่ี าศยั อยใู่ นบรเิ วณดงั กลา่ ว นอกจากน้ี โตนเลสาบยังเป็นพ้ืนที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และมีระบบ นิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์ อีกท้ังยังมีพันธุ์ไม้ และสัตว์บางชนิดท่ีพบเห็นได้ เฉพาะบรเิ วณโตนเลสาบเทา่ นน้ั จงึ ถอื เปน็ จดุ ดงึ ดดู การทอ่ งเทย่ี วทส่ี �ำ คญั อกี แหง่ หนงึ่ ของกัมพชู า 6.เปน็ ปราการปอ้ งกนั น้าํ ท่วม โตนเลสาบเปรียบเสมือนปราการที่ ธรรมชาติสร้างข้นึ เพ่อื ป้องกนั นํา้ ทว่ มในบริเวณล่มุ แมน่ ํ้าโขงตอนใต้ โดย ทำ�หน้าท่ีดูดซับและเก็บกักนํ้าในช่วงฤดูนํ้าหลาก และปล่อยนํ้าออกมา ในชว่ งฤดแู ล้ง ท้ังนี้ พืน้ ทล่ี ุ่มนํ้าโตนเลสาบสามารถดูดซับนาํ้ ได้ประมาณ 46 ลา้ นลกู บาศกเ์ มตร ในจ�ำ นวนนร้ี อ้ ยละ 62 เปน็ นา้ํ ทไ่ี หลมาจากแมน่ า้ํ โขง ส่วนทเี่ หลือเป็นนํ้าทไ่ี หลมาจากแม่นํา้ โตนเลสาบ 7.เปน็ เสน้ ทางคมนาคมทางนา้ํ ทเี่ ชอ่ื มจงั หวดั ตา่ งๆรอบโตนเลสาบ ผา่ นแมน่ ้าํ บาสักไปยังกรุงพนมเปญ ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกัมพชู า 29

จากความอดุ มสมบรู ณข์ องทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละความหลากหลาย ของระบบนเิ วศนบ์ รเิ วณโตนเลสาบจงึ เปน็ อขู่ า้ วอนู่ า้ํ และรากฐานส�ำ คญั ทางเศรษฐกิจและสังคมของกัมพูชานับต้ังแต่อดีต จนถึงปัจจุบันที่มี ประชากรอาศัยอยู่กว่า 1.2 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของ ประชากรกัมพูชาทั้งประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณ ดงั กลา่ วประกอบอาชพี ประมงและแปรรปู ผลผลติ ประมงเปน็ หลกั ขณะ เดียวกันก็มีการทำ�เกษตรกรรม และเก็บของป่าขาย ประเทศกัมพูชานี้ นอกจากมีความอุดมสมบูรณ์รอบโตนเลสาบแล้วยังมีทรัพยากรป่าไม้ที่ คอ่ นขา้ งอดุ มสมบรู ณท์ างภาคเหนอื ของประเทศ โดยการลงทนุ ในปี พ.ศ. 2554 นั้น ได้มีการลงทุนหลายภาคส่วน คิดเป็นด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 46.89 อุตสาหกรรมโรงงานตัดเย็บเส้ือผ้าร้อยละ 32 การท่องเที่ยวร้อยละ 5.13 การทำ�เหมืองแร่ร้อยละ 3.52 และ การโทรคมนาคมรอ้ ยละ 0.2 ส่วนในด้านเศรษฐกิจการลงทุนอ่ืนๆของกัมพูชาสำ�นักงาน คณะกรรมการสง่ เสรมิ การลงทนุ แหง่ ประเทศไทย ไดห้ ลายงานใหเ้ หน็ ถงึ ศักยภาพการพัฒนาและแหล่งเศรษฐกิจที่สำ�คัญของกัมพูชา โดยแยก ใหเ้ หน็ ภาพละเอยี ดของในแตล่ ะจงั หวดั มศี กั ยภาพแตกตา่ งกนั ตามสภาพ ภูมิประเทศ ซ่ึงความสำ�คัญทางเศรษฐกิจและสินค้าหรือการบริการ ทสี่ �ำ คัญใน แต่ละเมอื งสรุปได้ดงั ตารางที่ 1 30

ตารางท่ี 1: ความสำ�คญั ทางเศรษฐกจิ และสินค้า/บรกิ ารท่ีส�ำ คญั ในแตล่ ะจังหวัดของกัมพูชา จงั หวัด/กรุง ความสำ�คญั สนิ ค้า/บริการทสี่ ำ�คัญ กรงุ พนมเปญ เมอื งหลวง - อตุ สาหกรรมการผลติ เครอ่ื งนงุ่ หม่ สงิ่ ทอ และรองเทา้ - ศนู ย์กระจายสนิ ค้าไปทว่ั ประเทศ และศนู ย์ราชการ กรงุ สหี นวุ ิลล์ เมืองทา่ - ทา่ เรือน�ลึกนานาชาตอิ อกสทู่ ัว่ โลก ทางทะเลอา่ วไทย - แหล่งอาหารทะเล เชน่ กงุ้ ปู หอย - สถานทีท่ อ่ งเท่ยี วทางทะเล - แหล่งขุดเจาะกา๊ ซ และน� มัน จังหวัดเสียมเรียบ เมอื งเศรษฐกจิ ส�ำ คญั - สถานทต่ี ั้งของนครวัด-นครธม ซง่ึ ได้รับการขนึ้ ทะเบียนเป็นมรดกโลก - มอี ตุ สาหกรรมการบรกิ ารท่ีส�ำ คญั คอื ทพี่ ัก โรงแรมรา้ นอาหารเพอ่ื ให้ บรกิ ารแกน่ กั ท่องเทีย่ ว จงั หวดั พระตะบอง เมอื งเศรษฐกิจส�ำ คญั - แหล่งผลิตข้าว - ผลิตไม้ผล เชน่ สม้ - และพชื ไร่ เชน่ มันสำ�ปะหลัง ถว่ั เหลือง และงา จงั หวดั เกาะกง เมืองเศรษฐกจิ สำ�คญั - สนิ คา้ ประมง - การทอ่ งเท่ยี วทางทะเล จังหวดั กัมปงจาม เมอื งเศรษฐกจิ ส�ำ คัญ - แหล่งผลิตยางพารา เงาะ มงั คดุ ทเุ รยี น และผลไม้อ่นื ๆ เชน่ มะมว่ งหิมพานต์ รวมถึงพืชไร่ เชน่ ขา้ วโพด ถั่ว งา ท่ีมา: สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสรมิ การลงทุนแหง่ ประเทศไทย(25a) ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจกั รกัมพูชา 31

จากตารางขา้ งตน้ จะเห็นวา่ รัฐบาลกมั พูชาได้ดำ�เนินการอย่าง จรงิ จังโดยดูรายละเอียดที่พัฒนา กรงุ และจังหวดั ตา่ งๆได้ดังต่อไปน้ี กรุงพนมเปญ รัฐบาลได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (Phnom Penh Special Economic Zone – PPSEZ) เปน็ หนึ่งใน การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZs) ที่รัฐบาลสนบั สนนุ เพอ่ื ดงึ ดดู นกั ลงทนุ ตา่ งชาตใิ หเ้ ขา้ มาตง้ั ฐานการผลติ เพื่อการสง่ ออกอันจะนำ�มาซึ่งรายได้ท่เี ป็นเงนิ ตราต่างประเทศดว้ ยการ ให้สทิ ธปิ ระโยชน์นักลงทนุ ต่างชาตสิ ามารถเช่าท่ีดินไดน้ านถงึ 99ปีและ สามารถขอตอ่ อายุการเชา่ ใหมไ่ ด้ นอกจากน้ี ยังไดร้ ับการยกเว้นภาษี เงนิ ไดน้ ติ บิ คุ คลสงู สดุ เป็นเวลา 9 ปี การยกเวน้ ภาษีน�ำ เข้าสนิ คา้ วัตถุดบิ และเครื่องจักร และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำ�หรับสินค้าส่งออก อกี ดว้ ย ซง่ึ สทิ ธปิ ระโยชนด์ า้ นภาษีและอ�ำ นวยความสะดวกในดา้ นตา่ งๆ ที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา (Cambodian Special Economic Zone Board - CSEZB) ท�ำ หนา้ ที่ คอยกำ�กับควบคุมดูแล คอยอำ�นวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนใน ดา้ นต่างๆ ทง้ั มกี ารบรหิ ารจัดการเขตเศรษฐกิจพเิ ศษ (Administration of Special Economic Zone) ซงึ่ เป็นผูใ้ หบ้ รกิ ารครบวงจร (One Stop Service) ในเร่ืองการจดทะเบียนบรษิ ทั การออกใบอนุญาตการลงทุน (Conditional Registration Certificate: CRC) และการใหค้ วามชว่ ยเหลอื ดา้ นกฎหมาย มีระบบสาธารณปู โภคข้นั พื้นฐานตา่ งๆ ครบครัน อาทิ ไฟฟ้า ประปา ระบบบำ�บดั นํา้ เสีย ระบบโทรคมนาคม และท่าเรือสินค้า เทกอง รวมทั้งมสี ่ิงอ�ำ นวยความสะดวกต่างๆ เชน่ ธนาคาร โรงแรม อพารท์ เมนท์ และคลนิ กิ 32

เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญนี้ เปน็ โครงการทพี่ ัฒนาขนึ้ โดย Japan Cambodia Development Corporation ท่ีเปน็ บริษทั รว่ มทุน ระหว่าง Zephyr Co., Ltd. ของญีป่ ุ่นและ Attwood Investment Group ของกัมพูชา มเี ปา้ หมายเพื่อดงึ ดูดใหน้ กั ลงทุนต่างชาตเิ ข้าไป ตงั้ ฐานการผลติ อตุ สาหกรรมท่ีเน้นการใช้แรงงานเปน็ หลกั เชน่ สิง่ ทอ และเครอ่ื งนุง่ หม่ รองเทา้ อาหารแปรรูป เฟอรน์ ิเจอร์ จกั รยาน สินคา้ อปุ โภคและบริโภคอ่นื ๆ ฯลฯ ส่วนในด้านที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) น้ี มคี วามสะดวกในดา้ นการคมนาคมขนส่ง โดยตั้งอยบู่ นทางหลวง หมายเลข 4 ห่างจากสนามบินนานาชาตพิ นมเปญเพียง 8 กิโลเมตร และห่างจากทา่ เรอื พนมเปญ 18 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางรถไฟ ท่ีเช่ือมระหวา่ งกรงุ พนมเปญและกรุงสหี นวุ ิลล์ซงึ่ มที ่าเรอื น� ลกึ สำ�หรบั ขนสง่ สนิ คา้ ต่อไปยังทา่ เรอื กรงุ เทพฯทา่ เรอื แหลมฉบังหรือประเทศอนื่ ๆ ได้สะดวก และการขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยสามารถทำ�ได้ หลายช่องทาง เช่น การใช้ทางหลวงหมายเลข 5 ที่เชื่อมต่อระหว่าง กรุงพนมเปญ-ปอยเปต เข้าสู่ประเทศไทยที่ด่านอำ�เภออรัญประเทศ จังหวดั สระแกว้ จังหวัดเสียมเรียบเหมาะสำ�หรับการลงทุนด้านธุรกิจการ ทอ่ งเทย่ี วมีมรดกโลกอย่างนครวัด-นครธม เป็นแหลง่ ดึงดดู นกั ท่องเทยี่ ว ดว้ ยเป็นหน่งึ ในสง่ิ มหัศจรรยข์ องโลกทตี่ ้องไปดู มีสายการบินบางกอก แอร์เวย์ จากกรงุ เทพฯ บนิ ลงสนามบนิ นานาชาตเิ สยี มเรยี บ-องั กอร์ (Siem Reap-Angkor International Airport) ทกุ วนั ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรกัมพชู า 33

จังหวัดพระตะบองเหมาะสำ�หรับการลงทุนด้านการเกษตร สามารถจดั ท�ำ ระบบการเกษตร การเล้ียงสตั ว์ หรือการเพาะปลูกพชื ท่ีมีการทำ�สัญญาซ้ือขายผลผลิตล่วงหน้าระหว่างฝ่ายเกษตรกรหรือ เจ้าของฟาร์ม (Contract Farming) เนื่องจากมีลักษณะของพื้นที่ ท่คี ลา้ ยกบั จังหวัดพระนครศรอี ยุธยา กรุงสหี นุวิลล์ (Sihanouville) หรอื กัมปงโสม (Kampong Som) ซงึ่ เปน็ เมืองใหญอ่ ันดับ 4 และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกจิ ตอนใต้ ของกมั พูชา ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 246 กิโลเมตร ทิศเหนอื ติดกบั เกาะกง (Kok Kong) ทิศตะวันออกตดิ กับจงั หวดั กมั ปอต (Kam- Pot) ทิศตะวันตกและทิศใต้ติดกับอ่าวไทย กรุงสีหนุวิลล์เป็นเมือง ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจของกัมพูชาและกำ�ลังทวีบทบาทสำ�คัญ มากขึ้นเป็นลำ�ดับ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งตอนใต้ ของประเทศแล้ว ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมเศรษฐกิจของ กัมพชู า (กรงุ พนมเปญ-จงั หวัดเสยี มเรียบ-กรงุ สหี นวุ ิลล)์ ท�ำ ให้รฐั บาล ให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นถนน ท่าเรือ ไฟฟ้า ระบบบำ�บัดน�เสีย และการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ ทง้ั นี้ โครงการพัฒนาต่าง ๆ ไดร้ ับการสนบั สนนุ ทาง การเงินจากองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง ไม่วา่ จะเป็นธนาคาร เพอ่ื ความรว่ มมือระหวา่ งประเทศแห่งญป่ี นุ่ (Japan Bank for Inter- national Cooperation: JBIC) ธนาคารเพือ่ การพฒั นาแหง่ เอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และธนาคารโลก (World Bank) ซ่ึงอาจกล่าวได้ว่ากรุงสีหนุวิลล์เป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่ง 34

ทางน� ของกัมพชู า เนื่องจากเป็นที่ตั้งของท่าเรือน�ลึกทางทะเล เพียงแห่งเดียวของประเทศ ทสี่ ามารถรองรบั การขนส่งสินคา้ ระหวา่ ง ประเทศได้มากถึงร้อยละ 70 ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมด ทง้ั ยงั มคี วามไดเ้ ปรยี บทางภมู ศิ าสตรจ์ ากระดบั น� ทะเลชายฝง่ั ทม่ี คี วามลกึ มากพอท่ีจะสามารถรองรับเรือสินค้าและเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ได้ รวมท้ังยงั มหี มเู่ กาะตา่ ง ๆ ทีเ่ สมือนเปน็ ปอ้ มปราการทางธรรมชาติ ใหก้ ับท่าเรือสีหนุวิลล์ได้เป็นอย่างดี สินค้าส่วนใหญ่เป็นประเภทน�มัน เหล็ก ไม้แปรรูป ข้าว และสินค้าทางการเกษตรอื่นๆ รวมทั้งสินค้า ทั่วๆ ไป ที่บรรจุในตู้คอนเทรนเนอร์ ท่าเรือสีหนุวิลล์มีเส้นทางเดินเรือ ที่สามารถเชื่อมโยงได้กับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เชน่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน เกาหลีใต้ บรูไน และฮ่องกง อกี ท้ังการใชท้ างหลวงหมายเลข 4 ซึ่งเปน็ ถนนทม่ี ีสภาพดที ี่สดุ และเปน็ เส้นทางขนส่งสินคา้ สายสำ�คญั ท่สี ุดของกมั พูชา สามารถสง่ สินคา้ ไปยงั กรุงพนมเปญซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าท่ีสำ�คัญของประเทศ โดยมีระยะทางจากท่าเรอื สีหนวุ ิลล์ถงึ กรงุ พนมเปญเพียง 230 กิโลเมตร รัฐบาลกมั พชู ามีนโยบายสง่ เสริมการขนสง่ ทางทางอากาศ ได้มี การพัฒนาสนามบนิ สีหนวุ ิลล์โดยให้เปิดบริการไดอ้ กี ครงั้ หนึ่ง หลังจาก ปิดให้บริการ เนื่องจากประสบปัญหาทางการเงิน ทั้งนี้ เพื่อรองรับ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างรวดเรว็ รฐั บาลจึงอนุญาตใหบ้ รษิ ัทSocie- teConcessionairedesAeroport(SCA)ซงึ่ เปน็ บริษทั รว่ มทนุ ระหว่าง นักลงทุนชาวฝรงั่ เศสและมาเลเซยี เขา้ มาปรบั ปรงุ และบรหิ ารสนามบิน และได้ขยายทางวิ่งให้สามารถรองรับเคร่ืองบินโดยสารขนาดใหญ่ แ ล ะ ป รั บ ป รุ ง ร ะ บ บ ก า ร ใ ห้ บ ริ ก า ร ภ า ย ใ น ส น า ม บิ น ใ ห้ ดี ขึ้ น ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกมั พชู า 35

ทั้งนี้สนามบินสีหนุวิลล์ได้เปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ ซง่ึ ท�ำ ใหส้ นามบนิ สหี นวุ ลิ ลเ์ ปน็ สนามบนิ นานาชาตแิ หง่ ท่ี 3 ของประเทศ ซึ่งการสนองนโยบายการท่องเท่ียวที่กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ได้พยายามผลักดันให้กรุงสีหนุวิลล์กลายเป็นเมืองท่องเท่ยี วชายฝ่งั ทะเล เพอ่ื แขง่ ขนั กบั จงั หวดั ภเู กต็ และเกาะบาหลี โดยชจู ดุ เดน่ ในดา้ นทศั นยี ภาพ ของหาดทรายนอ้ ยใหญห่ ลายแหง่ อาทเิ ชน่ Sokha Beach และ Victory Beach โดยเฉพาะ Ochheuteal Beach ซงึ่ มีทรายละเอยี ดนุ่ม และ น� ใส รวมท้ังได้มกี ารสง่ เสรมิ ให้มีการลงทนุ สร้างโรงแรมในระดับ 5 ดาว สนามกอลฟ์ รา้ นอาหาร และสง่ิ อ�ำ นวยความสะดวกตา่ งๆ ทง้ั มที รพั ยากร ทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ จงึ มีอาหารทะเลสดใหม่ และราคาถูกไวบ้ รกิ าร นักท่องเที่ยวอีกด้วย ส่งผลให้กรุงสีหนุวิลล์เป็นเมืองชายทะเลที่ได้รับ ความนิยมมากที่สุดในกัมพูชา และมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวกัมพูชาและ ชาวต่างชาติเดนิ ทางมาเท่ยี วเพมิ่ ข้ึนอย่างต่อเนือ่ ง มสี ายการบิน PM Air ของกัมพูชาได้เปิดให้บริการเท่ียวบินตรงจากจังหวัดเสียมเรียบมายัง กรุงสีหนุวิลล์ 3 เที่ยวบินต่อสปั ดาห์ เพ่อื สนบั สนุนนักท่องเทย่ี วทม่ี า เที่ยวใหไ้ ดร้ ับความสะดวกในการเดนิ ทางได้รวดเรว็ ยิ่งข้ึน รัฐบาลกัมพูชาได้พัฒนาธุรกิจน�มันและก๊าซธรรมชาติ โดย เริ่มสำ�รวจแหล่งน�มันดิบและก๊าซธรรมชาติบริเวณนอกชายฝ่ังทะเล ของกรุงสีหนุวิลล์มากว่า 40 ปี แต่ยังพบน�มันดิบและกา๊ ซธรรมชาติ จำ�นวนไม่มากพอที่จะขุดเจาะมาใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2548 กัมพูชาก็เริ่มมีความหวังว่าน�มันและ ก๊าซธรรมชาติจะกลายเป็นแหล่งรายได้ที่สำ�คัญในอนาคตเมื่อบริษัท Chevron ของสหรัฐอเมรกิ า ซ่ึงไดร้ บั สมั ปทานในการส�ำ รวจน� มนั และ 36

ก๊าซธรรมชาติใน Block A (เป็นแหล่งน�มันนอกชายฝั่ง ห่างจาก แผ่นดินใหญ่ของกัมพูชาราว 120 กิโลเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ 6,278 ตารางกโิ ลเมตร ได้ประกาศว่าพบน�มันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ อยา่ งน้อย 3 แห่ง ห่างจากชายฝงั่ ของกรุงสหี นุวลิ ล์ไมไ่ กลนกั โดยคาดวา่ จะมีปริมาณน�มันสำ�รองราว 400 - 500 ล้านบาร์เรล และในขณะน้ี รฐั บาลกมั พชู ามแี ผนจะสรา้ งระบบทอ่ สง่ น� มนั ความยาว 140 กโิ ลเมตร จาก Block A เขา้ สกู่ รงุ สีหนวุ ิลล์ โดยบรษิ ทั Chevron ของสหรฐั อเมรกิ า บรษิ ทั Mitsui ของญป่ี นุ่ และบรษิ ทั LG Electronics ของเกาหลีใต้ อยรู่ ะหวา่ งการรว่ มศกึ ษาความเปน็ ไปไดใ้ นโครงการดงั กลา่ ว ท�ำ ใหค้ าดวา่ ในชว่ งอกี 2-3 ปขี า้ งหนา้ กรงุ สหี นวุ ลิ ลจ์ ะกลายเปน็ ศนู ยก์ ลางอตุ สาหกรรม น�มันของกมั พชู า(25a) ภาพที่ 5 แผนทตี่ ้งั สหี นุวิลลล์ ์ ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกมั พูชา 37

จงั หวดั เกาะกง รฐั บาลกมั พชู าสนบั สนนุ ใหส้ รา้ งนคิ มอตุ สาหกรรม NearngKok เปน็ โครงการทเ่ี นน้ การสง่ เสรมิ การลงทุน จากต่างประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ACMECS โดยจะเปน็ นคิ มอตุ สาหกรรม และเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของกัมพูชาที่มีมาตรฐาน และมี สิ่งอำ�นวยความสะดวกครบถ้วนสมบูรณ์และใหบ้ รกิ ารไดใ้ นระดบั สากล ขณะเดยี วกนั ยงั มคี วามส�ำ คญั ในฐานะเปน็ โครงการน�ำ รอ่ งเพอ่ื เปน็ แมแ่ บบ ใหก้ บั นคิ มอตุ สาหกรรมอน่ื ๆ ทจ่ี ดั ขน้ึ ตามมาในอนาคต นคิ มอตุ สาหกรรมน้ี มขี อ้ ไดเ้ ปรยี บหลายประการ ทส่ี �ำ คญั ไดแ้ ก่ 1. ทำ�เลที่ตั้ง นิคมอุตสาหกรรม NearngKok ตั้งอยู่ในอ�ำ เภอ มณฑลสีมา จังหวัดเกาะกง ครอบคลุมพื้นที่ราว 2,000 ไร่ ห่างจาก จดุ ผา่ นแดนไทย-กมั พชู า (บา้ นหาดเลก็ -จามเยย่ี ม) ประมาณ 2 กโิ ลเมตร และหา่ งจากตวั เมอื งจงั หวดั เกาะกงราว 4 กโิ ลเมตร มเี สน้ ทางหมายเลข 48 จากนคิ มอตุ สาหกรรมเชอ่ื มตอ่ ไปยงั ทางหลวงหมายเลข 4 เพอ่ื ตอ่ ไปยังกรุงพนมเปญและกรุงสีหนุวิลล์ ซึ่งถือเป็นเมืองเศรษฐกิจสำ�คัญ ของกัมพูชา ทั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลาง สามารถเชื่อมต่อไป ยงั เมอื งส�ำ คญั ๆ ของไทยและกมั พชู า นอกจากนี้ เกาะกงยังมีพื้นท่ตี ดิ กบั ชายฝั่งทะเลและมีท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำ�คัญ ไดแ้ ก่ ท่าเรือเกาะกง ทร่ี ฐั บาลมโี ครงการปรบั ปรงุ และขยายทา่ เรอื เพอ่ื รองรบั การขยายตวั ของ นิคมอุตสาหกรรมบริเวณโดยรอบ ซึ่งจะเกื้อหนุนให้พัฒนาไปสู่ การเปน็ แหลง่ ผลติ สนิ คา้ แบบครบวงจร ตง้ั แตก่ ารผลติ ไปจนถงึ การสง่ ออก 2. ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมีครบครันและได้มาตรฐาน ทงั้ ท่ดี ินราคาถกู ท�ำ ใหน้ า่ ลงทนุ 38

3. รัฐบาลส่งเสริม ให้นิคมอุตสาหกรรม NearngKok เป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนหลายประการ เช่น การยกเวน้ ภาษนี ำ�เขา้ วตั ถุดบิ และปัจจัยการผลติ ถึงแมว้ า่ สิง่ ทนี่ า่ ลงทุน ในหลายๆด้านในกัมพูชา แต่ยังมีอุปสรรค ซึ่งสำ�นักงานส่งเสริมการ ลงทนุ แหง่ ประเทศไทย(25a)สรปุ ไดด้ งั ตารางท่ี 2 ตารางที่ 2: ปัญหา/อปุ สรรค และแนวทางแกไ้ ขปญั หาการคา้ และ การลงทุนระหวา่ งไทย-กัมพชู า ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจกั รกมั พชู า 39

ท่มี า: ส�ำ นักงานส่งเสรมิ การลงทุนแหง่ ประเทศไทย[25a] 40

ท่ามกลางพัฒนาเศรษฐกิจที่ทำ�ให้เกิดรายได้ของประเทศกัมพูชา ไดเ้ กดิ จากการสรา้ งบอ่ นคาสโิ นทมี่ เี งนิ หมนุ เวยี นปลี ะหลายหมนื่ ลา้ นบาท และท่ีสำ�คัญทำ�ให้กัมพูชามีสถานะท่ีประเทศที่มีบ่อนคาสิโนมากที่สุด ในอนภุ มู ภิ าคลมุ่ แมน่ � โขง หรอื กลา่ วไดว้ า่ เปน็ ประเทศ ศนู ยก์ ลางของการพนนั ท่ีใหญ่ท่ีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซ่ึงสะท้อนให้เห็นได้ว่าคาสิโน เป็นวาระสำ�คัญ หรอื ยุทธศาสตรเ์ ศรษฐกิจชาตขิ องกัมพชู าและ แน่นอน เงนิ ทหี่ ลอ่ เลย้ี งบอ่ นคาสโิ นเหลา่ นตี้ า่ งผา่ นจากพรมแดนของประเทศไทย ด้วยคาสิโนตัง้ อยลู่ ้อมรอบชายแดนประเทศไทย ดงั ปรากฏตามภาพ ชอ่ งจอม-โอรเ์ สมด็ ช่องสะงำ�-อัลลองเวง ศรีโสภณ บา้ นคลองลึก-ปอยเปต บา้ นแหลม-กรุมเรยี ง บ้านผักกาด-ไพลนิ บา้ นหาดเลก็ -จามเยยี ม ทมี่ า: oknation จากภาพขา้ งตน้ มบี อ่ นคาสโิ นทถ่ี กู กฎหมายถงึ สบิ แหง่ ซงึ่ ยงั ไมน่ บั รวมที่เปิดได้ตามอิทธิพลของคนในท้องถิ่นบ่อนคาสิโนจึงนับว่าเป็นอีก รายไดห้ น่ึงทท่ี �ำ รายไดท้ ี่น่าจับตาในทกุ ๆดา้ น ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจกั รกมั พูชา 41

เมื่อเศรษฐกิจมีการเปล่ียนแปลงจึงเกิดปัจจัยบวกจากการฟ้นื ตัว ของเศรษฐกิจโลก ทำ�ให้การส่งออกของกัมพูชามีแนวโน้มดีขึ้น ที่สำ�คัญ กมั พชู าไดเ้ รมิ่ ใหก้ ารสนบั สนนุ การลงทนุ ภาคสาธารณะมากขน้ึ เพอื่ รองรบั เศรษฐกจิ ทจ่ี ะฟน้ื ตวั ภายในอนาคต อาทิ การสรา้ งถนน โรงไฟฟา้ พลงั งาน แสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน สร้างท่าอากาศยาน การบริหารจัดการ ระบบรถไฟ เป็นตน้ ดา้ นสนิ คา้ สง่ ออกทส่ี �ำ คญั ของกมั พชู า ไดแ้ ก่ เสอ้ื ผา้ ดบี กุ ยาง ขา้ ว ปลา ยาสูบ และรองเท้า ส่วนสินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม บุหร่ี ทอง อุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องจักร รถจักรยานยนต์ ผลติ ภัณฑ์ยา[13][17] 1.1.6 ขอ้ มูลการเมืองการปกครอง ประเทศกัมพูชามีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มี พระมหากษตั รยิ ์เปน็ ประมุข มีนายกรฐั มนตรเี ปน็ ผูบ้ รหิ ารประเทศ เป็น การปกครองที่มีรปู แบบรฐั เดียว กษตั รยิ อ์ งคป์ จั จบุ นั ของกมั พชู า คอื “พระบาทสมเดจ็ พระบรมนาถ นโรดมสีหมุนี” (His Majesty King Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni) ขนึ้ ครองราชยเ์ มอ่ื วนั ที่ 14 ตลุ าคม พ.ศ. 2547 42

ภาพที่ 6 พระบาทสมเดจ็ พระบรมนาถนโรดมสหี มุนี ท่มี า: http://www.asean-info.com ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรกมั พูชา 43

ตามโครงสร้างการปกครองของประเทศกัมพูชาได้กำ�หนดใน กฤษฏีกา เมื่อวันท่ี 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ให้มีการแบ่งเขตปกครอง เปน็ 1 ราชธานี (พนมเปญ) และ 23 จงั หวดั ไดแ้ ก่ กรแจะ เกาะกง กนั ดาล กำ�ปงจาม กำ�ปงชนัง กำ�ปงธม กำ�ปงสะปือ กัมปอต ตาแก้ว รัตนคีรี พระวิหาร พระตะบอง โพธิสัต บันเตียเมียนเจย ไปรแวง มณฑลคีรี สตึงแตรง สวายเรียง เสียมราฐ อุดรมีชัย ไพลิน แกบ และพระสีหนุ ซง่ึ แต่ละจังหวดั มีศนู ยก์ ลางการปกครอง เรียกวา่ “กรงุ ” (อำ�เภอเมือง) นอกจากน้ัน ยังมีเมืองสำ�คัญท่ีมีฐานะเป็นกรุงอีก 3 แห่ง คือ กรุงปอยเปต (จังหวัดบันเตียเมียนเจย) กรุงบาวัด (จังหวัดสวายเรียง) และกรุงสวง (จังหวัดกำ�ปงจาม) แต่ละจังหวัดหรือกรุงปกครองโดยผู้ว่า ราชการจังหวัด และรองผู้ว่าราชการจังหวัดอีก 7 – 9 คน ซึ่งได้รับการ แต่งตั้งตามวาระของรัฐบาล โดยจังหวัดแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น อำ�เภอ (สะร็อก) และตำ�บล (คุ้ม) ขณะที่กรุงแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็นคานและสังกัด นอกจากน้ีในหมู่บ้านจะแบ่งออกเป็นชุมชนย่อยอีก เรยี กว่า “ภูม”ิ โดยในปัจจุบันประเทศกัมพูชามีการกระจายอำ�นาจแบ่งเขต การปกครองออกเป็น 20 จังหวัด (เขต : Provinces; Khet) และ 4 เทศบาล (กรุง: Municipalities; Krung)[10] 44

ภาพที่ 7 ป้ายเชญิ ชวนเลือกต้ังในกมั พูชา ทีม่ า: http://transbordernews.in.th/home/?p=2672 1.1.7 ลกั ษณะทางสงั คมและวฒั นธรรม ประเทศกมั พชู าเปน็ ดนิ แดนทเี่ กบ็ อารยธรรมบนแผน่ ดนิ ไวม้ ากมาย อย่างความใหญ่โตมโหฬารของนครวัดนครธม จึงไม่แปลกที่มีประชากร นับถือศาสนาพุทธกว่าร้อยละ 95 แต่ประชาชนยังมีความเชื่อตาม ชาวเขมรโบราณที่มีความเชื่อในอำ�นาจเร้นลับที่มีอยู่กับธรรมชาติ (Animism) เมอ่ื ชาวบา้ นมปี ฏสิ มั พนั ธก์ บั ชาวตา่ งถน่ิ กอ็ าจไดร้ บั อทิ ธพิ ล จากความเชื่ออื่นๆ เพิ่มข้ึน โดยไม่จำ�เป็นต้องละทิ้งความเชื่อดั้งเดิม ซง่ึ ในเงอื่ นไขของเวลาและสถานทตี่ า่ งกนั ชาวกมั พชู าไดร้ บั เอาความเชอ่ื ทางศาสนาและลัทธิต่างแดนมากมายที่สำ�คัญ คือ ศาสนาพุทธ ศาสนา อสิ ลาม ลทั ธขิ งจื้อ และลทั ธเิ ตา๋ สังคมกัมพูชาจึงเป็นสังคมที่หลากหลายทางวัฒนธรรมที่คล้ายกับ สังคมไทย มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก ทำ�ให้ประเพณีปฏิบัติต่างๆ ระบบบรหิ ารราชการของราชอาณาจกั รกัมพูชา 45

ของประชาชนชาวกัมพูชาสอดคล้องใกล้เคียงกับไทยเป็นอย่างมาก โดยผสู้ งู อายจุ ะเขา้ วดั ฟงั ธรรมเมอ่ื มงี านบญุ ตามประเพณี ประชาชนหนมุ่ สาว และเด็กจะร่วมแรงช่วยเหลือจัดการงานอย่างสม�เสมอ ท้ังน้ี จะมีงาน บุญประเพณีท่สี ำ�คัญทางพระพุทธศาสนาตามจันทรคติเช่นเดียวกับไทย เปน็ วนั หยดุ ราชการ ไดแ้ ก่ วนั มาฆบชู า วนั ปใี หมเ่ ขมร (Khmer New Year) ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์จะหยุดราชการในวันท่ี 14 – 16 เมษายน ของทุกปี วันวสิ าบูชา วนั สารท์ เขมร ซ่งึ ตรงกับวันแรม 15 ค� เดือน 10 เรียกว่า งานวันปรอจุมเบณ (Pchum Benday) โดยจะเป็นวันหยุด ราชการ 3 วัน ตั้งแต่วันแรม 14 ค� เดือน 10 จนถึงวันขึ้น 1 ค� เดือน 11 และงานวันลอยกระทง (Water Festival) เรียกว่า งานบุญอมตุก ฯลฯ หากจะกล่าวโดยภาพรวมแล้ว ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และ ประเพณีของกัมพูชาและไทยจะใกล้เคียงกันในทุกเร่ือง รวมท้ังภาษา ถ้อยคำ� พยัญชนะ สระ ตัวอักษร คำ�ศัพท์ต่างๆ ซ่ึงที่ผ่านมาได้ถูกหยิบ ยมื แลกเปลย่ี นใชส้ ืบเนอ่ื งกันมา ทม่ี า: http://divivu.com 46

1.1.8 โครงสร้างพ้นื ฐานและระบบสาธารณปู โภค กมั พชู ายงั ขาดแคลนระบบสาธารณปู โภคพน้ื ฐาน และยงั ตอ้ งไดร้ บั การพฒั นาอกี มากปจั จบุ นั รฐั บาลกมั พชู าใหค้ วามส�ำ คญั กบั การเรง่ พฒั นา ระบบโครงสร้างพ้ืนฐานต่างๆ เพื่อให้พร้อมรองรับการลงทุนจาก ต่างประเทศ ปัจจุบันสภาพโครงสร้างพ้ืนฐานและระบบสาธารณูปโภค ของกมั พูชาสรปุ ได้ดังนี้ [27] การคมนาคมทางบก จดุ ผา่ นแดนถาวรทางบกมี 3 จดุ ส�ำ คญั คอื ดา่ นบาเวท็ ตรงขา้ มกบั ด่านหมกบ่ายของเวียดนาม ด่านปอยเปตตรงข้ามด่านคลองลึก อำ�เภอ อรัญประเทศของไทย และด่านจำ�เยียมตรงข้ามกับด่านบ้านหาดเล็ก จงั หวัดตราดของไทย การเดินทางในกมั พูชา ท่ีมา: http://www.npc-se.co.th ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกัมพูชา 47

การคมนาคมโดยทางถนน ถนนในกัมพูชามีความยาวรวมกัน 14,790 กิโลเมตร แต่ถนนท่ี อยู่ในสภาพดีและสามารถใช้งานได้ดีมีเพียง 2,600 กิโลเมตร เส้นทาง สำ�คญั ไดแ้ ก่ 1. เสน้ ทางหมายเลข 1 กรงุ พนมเปญ–บาเวท็ (ชายแดนเวยี ดนาม) ระยะทาง 165 กิโลเมตร และจากบาเว็ทไปถึงโฮจิมินท์ของเวียดนาม อีกประมาณ 68 กิโลเมตร 2. เสน้ ทางหมายเลข 4 กรงุ พนมเปญ จงั หวดั พระสหี นุ (กมั ปงโสม) ระยะทาง 246 กิโลเมตร 3. เส้นทางหมายเลข 5 กรุงพนมเปญ–ปอยเปต ระยะทาง 402 กโิ ลเมตร 4. เสน้ ทางหมายเลข 6 เสยี มราฐ–ศรโี สภณ ระยะทาง 106 กโิ ลเมตร ทม่ี า: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=533871 48

การคมนาคมโดยทางรถไฟ กมั พชู ามเี สน้ ทางรถไฟทสี่ �ำ คญั 2 สาย คอื กรงุ พนมเปญ-ศรโี สภณ และกรงุ พนมเปญ-กำ�ปงโสม มคี วามยาวรวมทัง้ สน้ิ 702 กิโลเมตร การคมนาคมทางอากาศ กัมพูชามีสนามบินพาณิชย์ทางเด่ียว (Single Runway) ที่ได้ มาตรฐานสากลและเปิดให้เคร่ืองบินพาณิชย์ท่ีบินเป็นประจำ�และ เครอ่ื งบนิ เหมาล�ำ ระหวา่ งประเทศลงจอดได้ 2 แหง่ คอื สนามบนิ นานาชาติ พนมเปญหรือสนามบินโปเชนตง และสนามบินนานาชาติเสียมราฐ ซ่งึ องค์การยูเนสโก (ผใู้ หท้ นุ ในการอนุรักษ์นครวัด นครธม ได้กำ�หนดให้ สนามบนิ รองรบั เครอ่ื งบนิ ได้ไมเ่ กนิ ขนาดโบองิ้ 757 (200 ทน่ี ง่ั )[27] ท่มี า: http://magictravelblog.com ระบบบริหารราชการของราชอาณาจกั รกมั พชู า 49


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook