Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การบริหารจัดการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

การบริหารจัดการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Published by Ople Papatsara, 2019-05-30 05:54:26

Description: การบริหารจัดการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Search

Read the Text Version

91 บทท่ี ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และส่อื สารการศกึ ษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ๓.๑.๕ แผนกล้ิง (Rolling Plan) หมายถึง แผน ระยะสน้ั บวกกับแผนระยะปานกลางหรอื แผนระยะยาว เพราะแผน ระยะสน้ั หรือแผนระยะยาวตา่ งก็มีทงั้ ข้อดีและขอ้ เสีย ถ้านาแผน ทงั้ สองมารวมกนั อาจลดข้อเสยี ออกไปได้ ดงั นั้น แผนประเภท Rolling Plan จึงมีลกั ษณะเปน็ แผนประจาปีตรงทวี่ ่ามีการวางแผน ทกุ ๆ ปี มีลกั ษณะเป็นแผนระยะปานกลางหรอื ระยะยาวกต็ รงท่ี แผนมรี ะยะเวลายาว เชน่ แผนระยะยาวหรือแผน ๕ ปี ของประเทศ ไทย จะมี - แผนประจาปี ๒๕๒๕ – ๒๕๒๙ - แผนประจาปี ๒๕๒๖ – ๒๕๓๐ - แผนประจาปี ๒๕๒๗ – ๒๕๓๑ - แผนประจาปี ๒๕๒๘ – ๒๕๓๒ ๓.๒ ประเภทของแผนตามสถานท่ี ๓.๒.๑ แผนระดบั ชาติ อนั ไดแ้ ก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบบั ท่ี ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๙)ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๔) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาติฉบบั ที่ ๓ (พ.ศ. กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานดา้ นเทคโนโลยี และสื่อสารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอรศ์ ึกษา 92 ๒๕๑๕-๒๕๑๙) ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๔) ฉบับท่ี ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๙) ฉบบั ที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔) ๓.๒.๒ แผนระดบั ภาค อนั ไดแ้ ก่ การแบ่งพน้ื ท่ปี ระเทศ ไทยไปเป็นภาค เช่น แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนอื แผนพัฒนาระดับภาคนี้ อยู่ในความ รบั ผิดชอบของศนู ย์พฒั นาภาค ๓.๒.๓ แผนระดบั จังหวัด อันได้แก่ แผนแต่ละจังหวดั (ยกเวน้ กรงุ เทพฯ) แผนพัฒนาจงั หวัดเรม่ิ มตี ง้ั แตป่ ี ๒๕๒๐-๒๕๒๔ แตม่ แี ผนประจาปจี รงิ ๆ ตัง้ แต่ ๒๕๒๒ และ ๒๕๒๓ เพราะรัฐบาล ได้ผนั เงิน ๘๓๔ ล้านบาท และ ๕๐๐ ล้านบาท ให้กับการพัฒนา จังหวดั ในปี ๒๕๒๒ และ ๒๕๒๓ ตามลาดบั ตอ่ มาในปี ๒๕๒๔ รฐั บาลไดผ้ นั เงิน ๓,๕๐๐ ล้านบาทไปพัฒนาจงั หวดั ในรปู ของ กสช. (การสรา้ งงานในชนบท) แทนเงนิ พฒั นาจงั หวดั การจดั ทาแผน ระดบั จงั หวัดจะอยู่ในความรบั ผดิ ชอบของผ้วู ่าราชการจังหวัดทีท่ า หน้าท่ีเปน็ ประธาน กพจ. ประธานองคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวดั และ นายอาเภอซึ่งทาหน้าทเี่ ป็นประธานองค์การบรหิ ารส่วนอาเภอและ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

93 บทที่ ๑ หนว่ ยงานดา้ นเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศึกษาและคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา ประธานสุขาภิบาล แต่การจัดสรรเงิน กสช. เงินส่วนใหญ่อยใู่ น ความรับผิดชอบของสภาตาบล ซ่งึ มีกาลังเปน็ ประธาน แผนพัฒนา จงั หวัดจะอย่ใู นความรับผิดชอบของ กพจ. (คณะกรรมการพัฒนา จังหวดั ) โดยมีผ้วู า่ ราชการจงั หวดั เปน็ ประธาน ๓.๒.๔ แผนระดับอาเภอ แผนระดบั อาเภอเรม่ิ มี แผนพฒั นา ฉบบั ที่ ๕ ทัง้ น้ีก็เพราะตามแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และ สงั คมแห่งจงั หวดั ฉบับที่ ๔ มีแผนระดับจังหวดั และมแี ผนระดับ ตาบล และขาดแผนระดบั อาเภอ ดงั นน้ั ในแผนพฒั นาจงั หวดั ฉบับ ท่ี ๕ จงึ จัดให้มีแผนระดบั อาเภอเกดิ ข้ึน แผนพฒั นาระดบั อาเภออยู่ ในความรบั ผิดชอบของ กพอ.(คณะกรรมการพฒั นาอาเภอ) โดยมี นายอาเภอเปน็ ประธาน ๓.๒.๕ แผนระดบั ตาบล เป็นหนว่ ยงานท่ีเร่ิมพัฒนาขึ้น มาตงั้ แต่ปี ๒๕๒๐ เป็นต้นมา เป็นหน่วยงานทมี่ ีความสาคัญในการ พฒั นา เพราะเข้าถึงประชาชนอย่างแทจ้ ริง เร่ิมตน้ เกิดจากพรรค การเมืองไดน้ าเงิน ๒,๕๐๐ ลา้ นบาท และ ๓,๕๐๐ ล้านบาท ไปผนั ให้แก่ตาบล ตาบลละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมารัฐบาลในชดุ หลังๆ จึง กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทท่ี ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศกึ ษา และคอมพิวเตอรศ์ ึกษา 94 ได้ดาเนนิ ตามแผนพัฒนาระดับตาบลอยูใ่ นความรับผดิ ชอบของ กสต. (คณะกรรมการสภาตาบล) มีกานนั เปน็ ประธาน คณะกรรมการประกอบดว้ ยผู้ใหญ่บ้าน และ กพบ. (คณะกรรมการ พฒั นาหม่บู า้ น) มเี จ้าหนา้ ท่ีของรฐั ระดับตาบลเป็นกรรมการท่ี ปรกึ ษา มีพฒั นากร ระดบั ตาบลเป็นผู้รับผดิ ชอบช่วยเหลือในการจัดทาแผน ๓.๓ ประเภทของแผนตามสายงาน ๓.๓.๑ แผนระดบั ชาติ หมายถึง แผนรวมของประเทศ ๓.๓.๒ แผนระดบั กระทรวง หมายถึง แผนของ กระทรวงต่างๆ ๓.๓.๓ แผนระดบั กรม หรือสานักงาน หรอื องค์การ หมายถงึ แผนยอ่ ยของแผนระดับกระทรวงในหนว่ ยราชการทั่วๆ ไป จะได้แก่ แผนระดบั กรม แตบ่ างหนว่ ยงานมีสานกั งานซ่ึงสงั กัดอยู่ กบั สานกั นายกรฐั มนตรหี รือสังกดั อยูก่ ับสานักงานปลดั กระทรวง จะเปน็ แผนระดบั สานักงานๆ หรือถ้าเปน็ รัฐวสิ าหกจิ กจ็ ะมแี ผน ระดบั องค์การ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

95 บทท่ี ๑ หน่วยงานดา้ นเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศกึ ษาและคอมพวิ เตอรศ์ ึกษา ๓.๓.๔ แผนระดบั กองหรอื แผนระดบั ฝา่ ย ในหนว่ ย ราชการหน่วยงานท่รี องลงมาจากกรม คอื กอง จากกองจงึ เป็นฝา่ ย จากฝ่ายจงึ เปน็ งาน แตใ่ นหนว่ ยงานรฐั วสิ าหกจิ หน่วยงานท่ี รองลงมาได้แก่ ฝา่ ย-กอง-แผนก ตามลาดับ ๓.๔ ประเภทแผนตามหลกั เศรษฐศาสตร์ ๓.๔.๑ แผนมหาภาค (Macro plan) เปน็ แผน ระดับสูงหรือแผนใหญ่บางครงั้ เรยี กว่าMaster plan ตามปกติจะ หมายถึง แผนระดบั ชาติ ๓.๔.๒ แผนรายสาขา (Sectoral plan) เป็นแผน เฉพาะสาขา ไดแ้ ก่ แผนสาขาเกษตร แผนสาขาอุตสาหกรรม แผน พาณิชย์ แผนคมนาคม แผนสาธารณสขุ แผนการศกึ ษา ฯลฯ เชอร์เมอฮอนร์ (๒๐๐๑. pp. ๑๔๐-๑๔๑) ได้กล่าวถึง ประเภทของแผนไว้ดังนี้ ในองค์การต้องมีแผนซึ่งครอบคลุม ระยะเวลาที่แตกต่างกนั ๑. แผนระยะสัน้ ครอบคลุมภายใน ๑ ปหี รอื สัน้ กว่า ๒. แผนระยะกลางครอบคลมุ ๑-๒ ปี กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานดา้ นเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศกึ ษา และคอมพิวเตอร์ศกึ ษา 96 ๓. แผนระยะยาวมากกวา่ ๓ ปีขน้ึ ไป ผบู้ รหิ ารระดับสูงตอ้ งมีส่วนเก่ียวขอ้ งในการจดั ทาแผน ระยะยาว และกาหนดทิศทางให้องค์การโดยรวม ขณะท่ผี ู้บรหิ าร ระดบั ลา่ งเนน้ ไปท่กี ิจกรรมระยะสน้ั เพ่ือใหส้ อคล้องกับ วตั ถุประสงค์ของแผนระยะยาว ดังน้นั สรปุ ไดว้ ่า การวางแผนสามารถแบง่ ได้หลายประเภท ได้แก่ ประเภทของแผนตามระยะเวลา ประเภทของแผนตามสถานทหี่ รือ หน่วยงาน ประเภทของแผนตามสายงาน ประเภทแผนตามหลกั เศรษฐศาสตร์ ประเภทของแผนตามวัตถุประสงค์ หรอื เปา้ หมาย ประเภทของแผนตามลักษณะการใช้ และประเภทของแผนตาม ความถ่ขี องการนาแผนไปใช้ ดงั นั้นในองค์การจะเลือกการใช้งาน ประเภทใดข้ึนอยู่กับความต้องในการใช้งานและความเหมาะสมของ แตล่ ะองคก์ าร การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

97 บทท่ี ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศึกษาและคอมพวิ เตอรศ์ กึ ษา ๔. การวางแผนกับการบริหารงานอย่างมรี ะบบ ในการจดั ทาแผนและการดาเนนิ งานตามแผนอยา่ งมี ระบบนนั้ วลั ลภ กันทรพั ย์ (๒๕๒๕ : ๓) ไดใ้ หข้ ้อคดิ ว่า ควร ปฏบิ ตั เิ ปน็ ขัน้ ๆ ดงั น้ี ๑. กาหนดปญั หาหรือความต้องการ ซ่งึ อาจใชว้ ิธีสารวจ ปัญหาหรือความต้องการดว้ ย เทคนิควิธตี า่ งๆ เช่น การจัด ประชุมอภปิ ราย เพ่ือเสนอความคิด การสารวจความเหน็ ตลอดจน การวจิ ยั เปน็ ตน้ ๒. กาหนดแผนเพือ่ แกป้ ัญหาหรอื เพื่อสนองความ ตอ้ งการซึง่ อาจประกอบด้วยขั้นตอนย่อยลงไปดังน้ี ๒.๑ กาหนดวตั ถุประสงค์ของการแก้ปัญหาหรือการ สนองความต้องการ ๒.๒ หาวธิ ีแก้หลายๆ วธิ ี พร้อมทง้ั สรปุ ขอ้ ดี-ข้อเสีย หรอื ขอ้ จากัดของแต่ละวิธี แล้วพิจารณาตดั สนิ ใจเลือกวิธที ่ี เหมาะสมกับสภาพของปญั หา และขอ้ จากัดต่างๆ มากท่สี ุด เพือ่ ให้ สามารถแก้ปญั หาได้ กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานดา้ นเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศึกษา และคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา 98 ๒.๓ กาหนดขนั้ ตอนในการดาเนนิ งาน เพ่ือ แก้ปญั หาหรือสนองความตอ้ งการตามวธิ ที ่ไี ด้เลอื กแล้ว ๒.๔ ลงมือแก้ปัญหาหรอื ดาเนินการตามแผนที่ กาหนดไว้ ๒.๕ จดั ใหม้ ีการติดตามและควบคมุ ดาเนนิ งานและ ทาการประเมินผลเม่อื ดาเนนิ งานเสร็จแลว้ วโิ รจน์ สารรัตนะ (๒๕๔๖, หนา้ ๕๗-๖๖) กลา่ วว่า การ วางแผนเปน็ กระบวนการของการกาหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ สาคัญ เริม่ จาก ๑. ภารกิจ (Mission) เปน็ ข้อความประกาศอยา่ งกวา้ ง ๆ เก่ียวกบั จดุ มุ่งหมายหรือเหตุผลพ้นื ฐานในการดารงอยขู่ อง องคก์ าร และขอบขา่ ยงานทเ่ี ป็นลกั ษณะเฉพาะขององค์การ ซึ่ง กาหนดไวอ้ ยา่ งง่ายตอ่ การแปลความและเข้าใจจากสมาชิกทุกฝ่าย ขององคก์ าร การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

99 บทที่ ๑ หนว่ ยงานดา้ นเทคโนโลยี และสือ่ สารการศึกษาและคอมพวิ เตอรศ์ กึ ษา ๒. จุดหมาย (Goals) เป็นเป้าหมายแหง่ อนาคต หรือ ผลลัพธส์ ุดท้ายท่อี งคก์ ารต้องการให้บรรลุผล ๓. แผน (Plans) หมายถงึ วถิ ที าง (Means) ที่จะทาให้ บรรลผุ ลลัพธท์ ่พี ึงปรารถนา สนานจิตร สุคนธทรพั ย์ (๒๕๓๔, หนา้ ๔๕) กล่าวว่า กระบวนการวางแผนแบง่ เปน็ ๓ ข้ันตอน คือ ๑. ข้นั วางแผน เปน็ ขัน้ ตอนการกาหนดอนาคตท่ี ตอ้ งการ คือ ส่งิ ท่ีต้องการจะใหเ้ ป็นในระยะเวลาท่ีกาหนด วธิ ีการ ดาเนินงานใหบ้ รรลุผลตามท่ีต้องการ ไปจนถงึ วิธกี ารตรวจสอบวา่ การดาเนนิ งานได้ผลตามทก่ี าหนดวตั ถปุ ระสงคไ์ วห้ รือไม่ ๒. ขัน้ ปฏบิ ตั ติ ามแผน เปน็ การนาแผนไปปฏิบัติ ๓. ขน้ั ประเมินผล เปน็ การตรวจสอบผลกบั วตั ถปุ ระสงค์ ท่วี างไว้ เพอ่ื การปรับปรงุ เปลี่ยนแปลง กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทท่ี ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และส่อื สารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอรศ์ ึกษา 100 ๕. ขอ้ คดิ สาหรับผู้วางแผนและผู้ปฏิบัตติ ามแผน ในการวางแผนและนาแผนหรือโครงการไปปฏบิ ตั นิ ้นั อนันต์ เกตวุ งศ์ (๒๕๒๓ : ๑๘-๒๐) ได้ใหข้ อ้ คิดว่า ในฐานะนัก วางแผนควรได้ทราบลักษณะตา่ งๆ เก่ยี วกบั พฤตกิ รรมของมนษุ ยไ์ ว้ พอสงั เขป เพือ่ เปน็ แนวทางในการพจิ ารณาให้การปฏิบตั ิตามแผน เปน็ ไปได้ตามแผนมากยิ่งข้นึ โดยปกติหากแผนมลี ักษณะท่ีจะ เปล่ียนแปลงพฤตกิ รรมของมนุษย์ เขามกั จะตอ่ ต้านหรอื โต้แย้งเป็น อนั ดับแรก ซงึ่ เป็นเร่อื งธรรมดา ทีม่ ีอยู่ทัว่ ไป โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในสงั คมประชาธิปไตย ทงั้ น้ดี ้วย เหตผุ ลสาคญั คือ ๕.๑ ความเฉอื่ ย (Inertia) มนุษยม์ ักจะต่อต้าน พฤตกิ รรมใหมๆ่ ที่เกดิ ขนึ้ เพราะเคา้ มคี วามเคยชินกบั วิธกี ารหรือ สง่ิ เกา่ ๆ ที่มอี ยเู่ ดิม ซง่ึ คนุ้ เคยและกระทากันมาเช่นน้ันเป็นเวลานาน การศึกษาวิธีการใหมๆ่ ก็คอื การปรบั ปรงุ ส่ิงใหม่อันเป็นสง่ิ ท่ไี มค่ อ่ ย มีผู้ใดชอบนกั เพราะเป็นเรื่องทีย่ งั ไมท่ ราบวา่ จะดีหรือไมอ่ ยา่ งไร และไม่แน่นอน ยงั ไมท่ ราบวา่ ผลของการกระทาจะเปน็ อย่างไร และ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

101 บทที่ ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และส่อื สารการศกึ ษาและคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา จากการเปลย่ี นแปลงนจี้ ะมีอะไรทีจ่ ะต้องเปลี่ยนแปลงอกี มากมาย แคไ่ หน จึงเป็นเร่ืองทีห่ วาดหว่นั ไม่กลา้ เสีย่ งและมีความรสู้ กึ ตอ่ ต้าน ๕.๒ แบบแผนของสังคมและความเชือ่ (Mores and beliefs) มนุษย์จะต่อตา้ นโต้แย้งแผนอย่างแรง ถา้ แผนน้ัน กาหนดใหเ้ ขากระทาในวิธีทเี่ ขาคิดว่าไม่ถกู ต้อง หรือเขามีความเชือ่ จารัตประเพณี และอดุ มการณ์แตกต่างไปจากวัตถุประสงค์ นโยบายและวิธีการปฏบิ ตั ิของแผน บคุ คลเหล่านจ้ี ะต่อต้านและไม่ ปฏิบัติตามแนวทางของแผนย่างเต็มทอ่ี นั อาจเกดิ ผลเสยี แกแผนใน ทกุ ๆ ดา้ นเท่าท่ีบุคคลดงั กล่าวจะเก่ียวข้อง ถ้าเขาเป็นผู้ที่จะต้อง ปฏิบตั ิงานตามแผน เม่ือเกดิ สภาวะเชน่ นก้ี ารดาเนนิ การตามแผน ยอ่ มจะมปี ัญหาอย่างแน่นอน ๕.๓ ผลประโยชน์สว่ นตัว (Personal self-interest) พฤติกรรมของมนษุ ย์ที่เปน็ ไปตามจารตี ประเพณีหรอื หลักปฏบิ ัติสืบ ตอ่ กนั มานานตงั้ แต่ปู่ยา่ ตาทวดสมัยนั้น มกั จะเปน็ สงิ่ ทป่ี ราศจาก ความคดิ และเหตุผลท่ีเหมาะสม การยอมรับกม็ ักจะมิได้ใช้เหตผุ ล ไตรต่ รองอย่างถกู ตอ้ ง อยา่ งไรกต็ ามเหตุผลส่วนตวั ของแตล่ ะบคุ คล กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานดา้ นเทคโนโลยี และสือ่ สารการศกึ ษา และคอมพิวเตอรศ์ ึกษา 102 กย็ ังมอี ยู่เสมอ และมกั จะปรากฏออกมาในรูปของผลประโยชนแ์ ละ คา่ นยิ มเปน็ ส่วนใหญ่ หากแผนมลี ักษณะท่กี ระทบต่อสง่ิ เหลา่ น้ีเปน็ ส่วนตวั แลว้ การต่อต้านก็มกั จะตามมาเสมอ ๕.๔ การต่อตา้ นข้อเสนอทขี่ าดเหตุผล (Resistance to irrational proposals) แมค้ นสว่ นใหญ่จะคดิ และปฏิบตั ใิ นสง่ิ ท่ี ปราศจากเหตผุ ลอยู่บ่อยๆ แต่เขากไ็ ม่ประสงค์ให้คนอืน่ ว่าเขาเปน็ คนเชน่ นัน้ ตรงขา้ มเขกลบั ตอ้ งการความนิยมชมชอบจากผ้อู ืน่ เสมอ ดงั นนั้ ถ้าแผนหรือสว่ นของแผนไปกระทบถงึ พฤตกิ รรมของคน ประเภทนี้ เขาจะร้สู ึกและคดิ ทันทีวา่ แผนน้ีไม่มีความหมาย ไมม่ ี คณุ ค่า การตอ่ ต้านจะตามมาโดยมิได้ศกึ ษา และเข้าใจรายละเอียด ของแผน ซ่งึ เปน็ การต่อต้านแรกพบเหมอื นคนสองคนท่ีพบ หนา้ กนั ยงั ไม่ทันไดพ้ ดู คุย รูน้ ิสัยใจคอ เพยี งแต่เห็นรูปร่างหนา้ ตาก็ ไม่ชอบกนั แล้ว เปน็ ต้น ๕.๕ การตอ่ ตา้ นท่เี กดิ จากการเป็นผ้อู ย่ใู ต้บังคบั บญั ชา (Resistance to subordination) ลกั ษณะนสิ ัยอกี อยา่ งของมนษุ ย์ กค็ ือ ไมป่ ระสงค์ท่ีจะไดร้ ับการปฏิบตั ิที่ปราศจากความเคารพ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

103 บทท่ี ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศกึ ษาและคอมพิวเตอรศ์ ึกษา เชือ่ ถือ คือ มคี วามหยง่ิ ในตวั เอง คนประเภทนม้ี ักจะไม่กระทา ตามท่สี ่งั และจะต่อตา้ นทนั ที ยิ่งผู้ทสี่ ่ังมีฐานะต่ากวา่ เขาจะไม่ ปฏิบตั ติ ามแน่นอน ฐานะในที่นีค้ งหมายถงึ ฐานะกวา้ งๆ เช่น ฐานะ ทางการศกึ ษา ทางเศรษฐกจิ ทางสังคม และประสบการณ์ในการ ทางาน เป็นต้น ๖. แผนงานและโครงการ ๖.๑ แผน (Plan) คอื แนวทางหรอื วิธีการหรอื กลุ่มของ แผนงานรวม เชน่ แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมแห่งชาตฉิ บบั ที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔) แผนพัฒนาการศกึ ษา ฉบับท่ี ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔) แผนพัฒนาโรงเรียน (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔) เป็นตน้ โดยจะรวมแผนงาน โครงการและกิจกรรมตา่ งๆ เข้าไว้ด้วยกัน ๖.๒ แผนงาน (Program) คือ กลุ่มของโครงการท่จี ะ ดาเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงคห์ รอื เป้าหมายที่กาหนดไวใ้ น แผน เชน่ แผนงานพฒั นาการผลติ รถยนต์ ซ่ึงอยใู่ นแผนพัฒนาของ บริษทั แผนงานพัฒนางานผลติ รถยนต์มีโครงการหลายโครงการ กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หนว่ ยงานดา้ นเทคโนโลยี และส่อื สารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอรศ์ ึกษา 104 เชน่ โครงการผลิตรถยนต์ท่ีนง่ั โครงการผลติ รถน่งั และบรรทุกได้ เป็นตน้ ๖.๓ โครงการ (Project) คอื กิจกรรมหรอื กลมุ่ กจิ กรรม ทีจ่ ะจัดดาเนินการเพ่ือใหบ้ รรลุวตั ถุประสงค์หรือเปา้ หมายทีก่ าหนด ไว้ในแผน เช่น โครงการผลติ รถยนตท์ น่ี ัง่ ประกอบด้วยกจิ กรรม ออกแบบรถยนต์นั่ง กิจกรรมทดลองสร้างรถยนตน์ ัง่ และกิจกรรม ทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ เปน็ ตน้ ๖.๔ แผนปฏบิ ตั ิการ (Operation plan) คอื ข้อกาหนดในรายละเอยี ดในการดาเนนิ งานตามแผนในช่วงเวลา ส้ันๆ เช่น ๑ ปี แผนปฏบิ ัตกิ ารจะมีรายละเอยี ดของขั้นตอนการ ปฏบิ ตั งิ านจาแนกเปน็ โครงการหรอื กิจกรรมตา่ งๆ ตามระยะเวลา ของแต่ละกิจกรรม ตลอดจนกาหนดคา่ ใช้จ่ายตามรายการกิจกรรม ด้วย สว่ นใหญม่ ักนิยมเสนอแผนปฏิบตั กิ ารไวใ้ นรูป Gantt chart การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

105 บทท่ี ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศกึ ษาและคอมพวิ เตอร์ศึกษา แผนปฏบิ ัตกิ ารบริหารงานบุคคล ภาพ ๑๔ แสดงแผนปฏบิ ตั ิการบรหิ ารงานบคุ คล ๖.๕ ปฏทิ ินปฏิบตั ิงาน (Working calendar) เป็นการ นาเอากจิ กรรมต่างๆ ของทุกงาน ทุกโครงการในชว่ งเวลา ๑ ปี มา เรียงลาดับตามวนั ที่ในปฏิทนิ ตั้งแตต่ ้นปถี งึ ปลายปี เพื่อให้ทราบว่า ในวันใดเดอื นใดจะมีกิจกรรมอะไรบา้ งซง่ึ ละเอียดกว่าแผนปฏิบตั ิ การ ท้ังนีเ้ พ่อื ประโยชนใ์ นการบริหารงานและการประสานงานของ องค์การ ๖.๖ ความสมั พันธ์ระหวา่ งแผนงานและโครงการ ใน การวางแผนพัฒนางานใดๆ กต็ าม ควรจะสัมพันธ์กบั การวางแผน พฒั นาองค์การด้วยตามปกติ แผนพัฒนาควรประกอบด้วย แผนงาน กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หนว่ ยงานดา้ นเทคโนโลยี และส่อื สารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอรศ์ กึ ษา 106 หลายๆ แผนงานและแต่ละแผนงานควรประกอบดว้ ยกล่มุ โครงการ ซึ่งแตล่ ะโครงการจะประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ เช่น ภาพ ๑๕ แผนภูมิแสดงความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งแผนงานและโครงการ หากมองโครงการในลกั ษณะดังกลา่ วน้ี ความสาเร็จของ นโยบาย แผน และแผนงาน ข้นึ อยกู่ บั ความสาเร็จของโครงการซึ่ง เปน็ ไปไดท่คี วามสาเรจ็ ของโครงการไมไดหมายถึงความสาเรจ็ ของ แผนงาน และความสาเรจ็ ของแผนงานไมไดหมายถงึ ความสาเรจ็ ของแผน และความสาเร็จของแผนไมไดหมายถงึ ความสาเรจ็ ของ นโยบาย แม้แต่โครงการเอง ซ่ึงประกอบดว้ ยองคป์ ระกอบต่างๆ แมว้ าองค์ประกอบต่างๆ อาจมีคุณสมบัติครบ แต่กไ็ มไดทาให้ โครงการและแผนงานประสบความสาเร็จ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

107 บทที่ ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และสือ่ สารการศึกษาและคอมพวิ เตอร์ศึกษา ความสมั พนั ธ์ระหว่างแผนงาน โครงการ และองคป์ ระกอบ ของโครงการ เป็นไปดังภาพ ๑๖ ภาพ ๑๖ แผนภมู ิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแผนงาน โครงการ และ องคป์ ระกอบของโครงการ อาจสรุปได้วา่ แผนงาน (Program) จะประกอบด้วย โครงการหลายโครงการที่ประสานกนั ไว้อยา่ งดี และ มุง่ ท่ี วัตถปุ ระสงค์เดียวกนั สว่ นโครงการ (project) เป็นองคป์ ระกอบ ของแผนท่ีเปน็ วธิ กี ารจะนาไปสู่ความสาเร็จหรอื บรรลุวัตถุประสงค์ กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทท่ี ๑ หนว่ ยงานดา้ นเทคโนโลยี และส่ือสารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอรศ์ กึ ษา 108 ของแผนซ่ึงจะตอ้ งปฏบิ ัตกิ จิ กรรม (Activity) หลายกิจกรรมที่ระบุ ไวใ้ นโครงการ ๗. วงจรการบริหารแผนงานและโครงการ ในการวางแผนหรอื กาหนดโครงการใดๆ ก็ตาม จะต้อง ดาเนนิ การเปน็ ขน้ั ๆ รวม ๔ ข้ัน และอาจจัดเป็นวงจรได้ ดงั น้ี ๑. ขั้นวางแผน (Planning) ๒. ขัน้ ปฏิบัติตามแผน (Implementing) ๓. ข้ันติดตามผลและประเมินผล (Monitoring and Formation Evaluation) ๔ . ขั้ น ป ร ะ เ มิ น ผ ล ค ว า ม ส า เ ร็ จ ( Summation Evaluation) (๑) การวางแผน จะตอ้ งกาหนดวัตถปุ ระสงค์ให้ชัดเจน กาหนดวิธีปฏิบตั ิ บุคลากร หน้าท่ี เวลาให้ชัดเจน กาหนดทรพั ยากร การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

109 บทท่ี ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสอื่ สารการศกึ ษาและคอมพวิ เตอรศ์ กึ ษา เชน่ เงิน วัสดุอปุ กรณ์ และเทคโนโลยตี ่างๆ แผนปฏิบัติงานย่อยๆ ควรแสดงด้วย Gantt chart (๒) การปฏิบตั ติ ามแผน เป็นขน้ั ลงมือปฏิบตั งิ านหรอื กจิ กรรมต่างๆ ท่ีระบุไวซ้ ง่ึ ผู้รับผิดชอบจะตอ้ งประสานงาน ควบคุม การปฏบิ ตั ิงาน ให้บุคลากรและหน่วยงานย่อยปฏบิ ตั ิไปตามแผนให้ ครบถว้ น (๓) การตดิ ตามผลและประเมินผล เปน็ ขนั้ ตดิ ตาม ตรวจสอบการปฏบิ ัติงานและการใช้ทรัพยากรตามแผนและ กาหนดเวลาของแผนอย่างต่อเน่อื ง ในขณะที่มีการปฏิบตั ิงานเพอ่ื ควบคุมและตรวจสอบหาขอ้ บกพรอ่ ง ปัญหา อุปสรรค เพอ่ื นา ขอ้ มูลไปปรบั ปรุงแก้ไขการปฏบิ ัตติ ่อไป (๔) การประเมนิ ผลความสาเรจ็ เปน็ ขั้นตรวจสอบว่า งานสาเรจ็ ไปตามวตั ถุประสงค์หรือเป้าหมายไปมากน้อยเพียงใด เพ่อื ใช้ตกลงใจว่างานนั้นควรยุบเลิก หรอื ปรบั ปรงุ แก้ไขไปใช้ใน โอกาสตอ่ ไปหรอื ไม่ กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานดา้ นเทคโนโลยี และส่ือสารการศึกษา และคอมพิวเตอรศ์ ึกษา 110 จากท่ีกล่าวมาจะเหน็ ไดว้ า่ กระบวนการวางแผนและ กระบวนการปฏิบตั ติ ามแผนมคี วามต่อเน่ืองสบื ตอ่ กนั คอื เรม่ิ ดว้ ย การเตรยี มการวางแผน การวางแผน การอนมุ ัตแิ ผน ซ่งึ อยใู่ น กระบวนการวางแผนแล้วต่อด้วยกระบวนการปฏบิ ัติตามแผน คอื รบั แผนไปจากผวู้ างแผนหรอื ผอู้ นมุ ัตแิ ผนไปปฏบิ ัติ ตดิ ตามการ ปฏบิ ตั ติ ามแผน ประเมินผลความสาเร็จและรายงานผล ดังภาพ ต่อไปน้ี ภาพ ๑๗ แสดงกระบวนการวางแผนการดาเนินงาน การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

111 บทท่ี ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศกึ ษาและคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา ๘. การประเมนิ ผลงานโครงการ ในการบรหิ ารหรือจดั การองค์การทกุ ระดับ จาเปน็ ต้องมี การวางแผน นาแผนไปปฏบิ ัติและประเมนิ ผลจะได้ทราบวา่ ผลการ บริหารหรอื จดั การในรอบปเี ป็นอย่างไร ไดก้ าไรหรอื ขาดทุนเทา่ ไร และเปน็ ทพ่ี อใจแก่ผ้เู กีย่ วขอ้ งหรอื ไมเ่ พียงใด ในขน้ั ของการนาแผน ไปปฏบิ ัติจะตอ้ งเดินตามแผนงานและโครงการ โครงการทีก่ าหนด ไวเ้ มอ่ื นาไปปฏิบัตจิ ะบรรลเุ ปา้ หมายตามแผนทกี่ าหนดไว้หรอื ไมน่ น้ั จาเปน็ ต้องมีการประเมินผลงานโครงการ จงึ จะโอกาสทราบได้ ๘.๑ ยึดวัตถปุ ระสงคข์ องโครงการเป็นหลกั การประเมนิ ผลงาน โครงการจาเปน็ จะตอ้ งยึดวัตถุประสงคข์ องโครงการเป็นหลัก และ ควรประเมนิ ตามแนวของวัตถุประสงคข์ องโครงการท่กี าหนด ใน การประเมินนน้ั นอกจากจะประเมนิ วา่ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ได้หรอื ไม่แล้ว ในกรณที ี่พบวา่ สามารถบรรลวุ ตั ถุประสงคไ์ ดแ้ ล้ว ควรจะต้องประเมินเพิม่ เตมิ ด้วยวา่ บรรลไุ ดด้ ีเด่นเพยี งใดดว้ ยดังภาพ ตอ่ ไปนี้ กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทท่ี ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และสือ่ สารการศึกษา และคอมพิวเตอรศ์ ึกษา 112 การวางแผน บรรลุตาม การประเมินผล การนาแผนไป ภาพ ๑๘ แสดงจุดเนน้ ของการประเมินผลงานโครงการ ๘.๒ เปน็ กจิ กรรมตอ่ เนอ่ื ง การประเมนิ ผลงานโครงการ ควรเป็นกจิ กรรมทีก่ ระทาต่อเนือ่ งกนั ตลอดโครงการ นับตง้ั แต่การ ประเมินตัวโครงการวา่ จะสามารถดาเนนิ การไดห้ รือไม่ โดย พจิ ารณาท่ีวตั ถปุ ระสงคว์ ธิ ีดาเนนิ การ งบประมาณและระยะเวลา ของโครงการ เม่ือพบวา่ โครงการนสี้ ามารถจะดาเนินการได้ ดังนน้ั เมอื่ โครงการดาเนนิ การไประยะเวลาหน่งึ แลว้ กค็ วรทาการ ประเมินผลได้ จนกระท่ังสนิ้ สุดโครงการกค็ วรทาการประเมนิ ขน้ั สุดทา้ ย เปน็ การสรุปได้ว่าการประเมินโครงการอาจทาได้ ๓ ข้ัน คือ กอ่ นเร่ิมโครงการ (Appraisal) หลังจากทโ่ี ครงการไดเ้ รม่ิ แล้ว การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

113 บทที่ ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และส่อื สารการศกึ ษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา ระยะเวลาหนงึ่ (Monitoring) และเมือ่ สิ้นสุดโครงการ (Post evaluation) ๘.๓ นาผลการประเมนิ ไปปรับปรงุ โครงการ ในการ ประเมินผลงานโครงการอาจทาได้โดยการประเมนิ ผลงานโครงการ ในขณะทีโ่ ครงการกาลงั ดาเนินอยู่ซึง่ เรยี กได้ว่าเป็นการประเมนิ ผล งานเพ่ือนาผลไปปรับปรงุ โครงการให้ดีย่ิงขึ้น การประเมินผลงาน โครงการในลักษณะนเี้ ปน็ การประเมนิ ผลงานโครงการเพ่อื คน้ หา จดุ ออ่ นหรือขอ้ บกพร่องของโครงการเพอ่ื ปรับปรงุ แก้ไข ซ่ึงเป็นการ เน้นกระบวนการหรอื วธิ ีการมากกวา่ ผลผลิตของโครงการ ๘.๔ เนน้ ทั้งดา้ นปริมาณและคุณภาพ ในการ ประเมนิ ผลงานโครงการควรจะเนน้ ทัง้ ดา้ นปริมาณและคุณภาพ ทั้งนี้ ควรนาไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานกลางด้วย การบรหิ ารและ การจัดการตา่ งกม็ ุง่ หวังใหไ้ ด้ท้งั ปรมิ าณและคณุ ภาพ ดังนัน้ ในการ ประเมนิ ผลงานโครงการจึงควรเนน้ ทั้งดา้ นปริมาณและคุณภาพของ งานควบคู่กันไปดว้ ย กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทท่ี ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และส่ือสารการศกึ ษา และคอมพิวเตอรศ์ กึ ษา 114 ๙. การบรหิ ารแผนและโครงการดา้ นเทคโนโลยีและสอ่ื สาร การศกึ ษาและคอมพิวเตอรศ์ ึกษา ๙.๑ ความหมายของการวางแผนงานเทคโนโลยแี ละ ส่ือสารการศกึ ษา นักวชิ าการไดใ้ ห้ความหมายของการบรหิ ารจัดการ แผนงานเทคโนโลยีและส่อื สารการศกึ ษาดงั นี้ โดยสรุป การแผนงานเทคโนโลยีและส่อื สารการศึกษา เปน็ กระบวนการตดั สนิ ใจโดยการจดั ทาโครงการ แผนปฏิบตั กิ าร และ วิธปี ฏิบัตงิ านเทคโนโลยีและสื่อสารการศกึ ษาล่วงหน้า ว่าทาอะไร ที่ไหน เม่ือไหร่ และอย่างไร ๙.๒ ความสาคญั ของการวางแผนงานเทคโนโลยีและ ส่ือสารการศึกษา ๙.๒.๑ ชว่ ยให้องคก์ รมีแนวทางการดาเนนิ งานที่ ชดั เจน การวางแผนงานจะกาหนดทศิ ทางและแนวทางการ ดาเนนิ งาน องค์กรหรือหนว่ ยงานไดว้ างแผนชดั เจน ย่อมนาผลท่ี การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

115 บทท่ี ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และส่อื สารการศึกษาและคอมพวิ เตอร์ศึกษา กาหนดไว้มาปฏิบตั ิท้งั ผูบ้ รหิ ารและบคุ ลากรจะปฏิบตั งิ านตาม แผนงาน ๙.๒.๒ ช่วยใหอ้ งคก์ รปรบั เปลี่ยนตามบรบิ ทของ สังคมหรือทาให้เกดิ ความยืดหยนุ่ ตอ่ องค์กร การวางแผนเป็นการ คาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต เพอ่ื รบั กับสภาวการณท์ ี่ เปลี่ยนแปลง ดงั นนั้ สภาวะแวดล้อมหรอื บรบิ ทสังคมที่ เปล่ยี นแปลงไป องคก์ รก็ยงั อยไู่ ด้ ๙.๒.๓ เป็นเครอ่ื งมือใช้วัดความสาเรจ็ ขององค์กร ในการวางแผนมกี ารกาหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานนามาใชเ้ ปน็ หลกั การในการเปรยี บเทียบกับผลการดาเนินงานทีเ่ กิดข้ึนจรงิ ๙.๒.๔ ชว่ ยให้เกดิ การประสานงานในแตล่ ะ หนว่ ยงาน เน่ืองจากทุกหน่วยงานรู้หนา้ ท่ีความรบั ผิดชอบอย่าง ชัดเจน ทาใหเ้ กิดการประสานงานทีด่ ีโดยเฉพาะองค์กรเทคโนโลยี และสือ่ สารการศกึ ษาขนาดใหญ่ ๙.๒.๕ ชว่ ยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมและ ตรวจสอบการปฏิบัติงานไดต้ ลอดเวลา กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทท่ี ๑ หน่วยงานดา้ นเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศกึ ษา และคอมพิวเตอรศ์ ึกษา 116 ๙.๒.๖ ช่วยประหยัดคาใช้จ่ายและเวลา ๙.๓ องค์ประกอบของการวางแผนงานเทคโนโลยแี ละ สอ่ื สารการศกึ ษา องคป์ ระกอบของการวางแผนงานเทคโนโลยีและ ส่ือสารการศกึ ษาหมายถงึ สิง่ ท่ตี ้องพัฒนาและตดั สินใจลว่ งหนา้ เพ่อื กาหนดแนวทางกจิ กรรมที่ต้องดาเนินการและประเมนิ ผลงาน เมอ่ื สาเรจ็ ลลุ ่วงไปแลว้ ๙.๔ ประเภทของแผน ๑. การแบ่งตามระยะเวลา (Time horizon) การแบง่ ตามเกณฑ์นใ้ี ช้วิธีงา่ ยๆ ๓ ประเภท คือ แผน ระยะส้ัน (Short-range plan) หมายถึง แผนที่ครอบคลมุ เวลาการ ใช้แผนไมเ่ กนิ ๑ ปี แผนระยะกลาง (Intermediate-range plan) เปน็ แผนท่คี รอบคลุมเวลา ๑ ถึง ๒ ปี และแผนระยะยาว (Long- range plan) คอื แผนทม่ี รี ะยะเวลาการใชแ้ ผนครอบคลุมเวลาเกนิ ๒ ปขี น้ึ ไปจนถงึ ๕ ปหี รือเกินกวา่ น้ัน การแบง่ ตามระยะเวลาทาให้ มีความแตกตา่ งกันในเรอ่ื งตา่ งๆ เช่น การกาหนดวตั ถปุ ระสงค์ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

117 บทที่ ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศกึ ษา สาหรับแผนระยะสัน้ จะตอ้ งชัดเจน ขณะท่ีวัตถปุ ระสงคส์ าหรบั แผน ระยะยาวจะเปดิ กวา้ งขวางมากกวา่ การมสี ่วนรว่ มในการวางแผนก็ แตกตา่ งกันกลา่ วคอื หากเป็นแผนระยะยาวผ้บู ริหารระดบั สูงจะเข้า มาเกย่ี วข้อง แตถ่ า้ เปน็ แผนระยะสน้ั ผ้บู ริหารระดบั กลางและระดับ ล่างเข้ามามีส่วนมากกวา่ ๒. การแบง่ ตามขอบเขตของกิจกรรมทท่ี า (scope of activity) การติดสินใจท่สี าคัญของแผนกลยทุ ธ์ก็คือการเลือก วธิ กี ารในการดาเนนิ งานและการจดั สรรทรพั ยากรทม่ี ีอยู่อย่างจากดั ใหเ้ หมาะสมเพ่ือทจี่ ะนาพาองค์การใหก้ ้าวไปข้างหน้าอยา่ ง สอดคลอ้ งกับสถานการณ์ แวดลอ้ มภายนอกที่เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลาแผนดาเนนิ งานเปน็ แผนทกี่ าหนดข้นึ มาใช้สาหรบั แต่ละ กิจกรรมโดยเฉพาะ แผนดาเนนิ งานท่ีแยกเปน็ แตล่ ะกิจกรรมกไ็ ด้แก่ กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา 118 แผนการผลิต (production plan) เปน็ เรอื่ งเกี่ยวกบั การกาหนดวธิ กี ารและเทคโนโลยที ี่จะนาไปใช้กบั การผลิตสินคา้ และบรกิ ารขององค์การ แผนการเงนิ (financial plan) เปน็ เรือ่ งเก่ียวกับเงินที่ นาไปใช้สนบั สนนุ การดาเนินงานตา่ งๆ ขององคก์ าร แผนการตลาด (marketing plan) เป็นเรอื่ งเก่ียวกับ การขายและการจัดจาหนา่ ยสนิ ค้าและบรกิ ารขององค์การ แผนทรัพยากรมนุษย์ (human resource plan) เปน็ เร่อื งเกย่ี วกนั การจัดทา การคัดเลอื ก และการบรรจคุ นให้ทางานใน ตาแหนง่ ตา่ งๆ แผนอปุ กรณ์ (facilities plan)เป็นเรอ่ื งเกย่ี วกับ อุปกรณ์และการวางผังทใ่ี ช้สนบั สนนุ กิจกรรมต่างๆ ในองค์การ การแบง่ ตามการนาไปใช้ (frequency of use) การแบ่งตามเกณฑ์นแ้ี ยกเปน็ ๒ ประเภทคอื แผนท่ใี ช้ ครัง้ เดยี ว (single-use plan) กับแผนท่ใี ช้ประจา (standing-use plan) การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

119 บทท่ี ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศกึ ษา ๑. แผนที่ใช้คร้ังเดียว หมายถงึ แผนที่หมดไปกับการใช้ หน่ึงครัง้ แล้วบรรลวุ ัตถุประสงค์ของแผนงานนั้น การใช้แต่ละครงั้ ถอื ตามเวลา เช่น ๓ เดือน ๑ ปี เป็นตน้ ตวั อย่างของแผนทใ่ี ชค้ รง้ั เดียวคือ งบประมาณและโครงการ งบประมาณเป็นแผน กาหนดการใชท้ รพั ยากรใหก้ ับกิจกรรมแต่ละอย่างภายในเวลาท่ี กาหนด งบประมาณแบง่ เป็น ๓ ประเภทคอื งบประมาณคงท่ี (fixed budget) งบประมาณยืดหยุ่น (flexible budget) และ งบประมาณฐานศูนย์ (zero-based budget) งบประมาณท่จี ัดสรร ทรพั ยากรใหจ้ านวนคงที่แนน่ อนกบั โครงการหรือหนว่ ยงานตาม ระยะเวลาทีก่ าหนด แตจ่ ะใช้เกินกว่าจานวนทีจ่ ัดสรรไมไ่ ด้ เชน่ กาหนดเงนิ จานวน ๒๐,๐๐๐ บาท ในการซ้อื เครื่องจกั รภายใน ๑ ปี ๒. แผนท่ีใชป้ ระจา เป็นแผนที่ใชซ้ ้าๆ กนั ตลอดเวลา เมื่อใช้ไปแลว้ ก็กลับมาใชอ้ ีกซง่ึ ไม่เหมือนกบั แผนทีใ่ ชค้ ร้งั เดยี วอย่าง งบประมาณ เม่อื ใชแ้ ล้วก็หมดไปหรือจบโครงการ หากจะใชอ้ ีกก็ ตอ้ งต้ังงบประมาณข้ึนมาใหม่ ซงึ่ เปน็ คนละแผนกนั แต่แผนประจา กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานดา้ นเทคโนโลยี และสอื่ สารการศึกษา และคอมพิวเตอร์ศกึ ษา 120 เกดิ ข้ึนซา้ ๆ กันอยา่ งเช่น นโยบาย กระบวนการปฏบิ ตั งิ าน และ กฎเกณฑ์ เปน็ ตน้ นโยบาย (policy) เปน็ คาแถลงอยา่ งกว้างๆ สาหรบั ใช้เป็นแนวในการบรหิ ารงานหรอื แนวทางการทางานซึง่ ผ้บู ริหารหรอื ผ้ปู ฏิบัตสิ ามารถใช้ดุลพนิ จิ ตัดสินใจได้ นโยบายจะ กาหนดขอบเขตหรือแนวทางในการตดั สนิ ใจไม่ใชเ่ ปน็ การกระทาว่า ต้องทาอยา่ งนนั้ อยา่ งนี้ แตจ่ ะเน้นเฉพาะเรื่องท่สี าคญั ทจี่ ะทาใหก้ าร ตัดสินใจเปน็ ไปในแนวทางเดยี วกัน เช่น นโยบายของบริษัท McDonald’s ระบวุ ่าจะไมใ่ ช้สมั ปทานแก่บุคคลท่ีเปน็ เจา้ ของ รา้ นอาหาร fast-food อยกู่ ่อนแล้ว เป็นต้น ๕. วิธกี ารวางแผน ผู้บริหารจะตอ้ งม่งุ ท่ีประสทิ ธิผลของการวางแผนคือทาให้ บรรลเุ ปา้ หมายท่รี ะบไุ ว้ในแผน ขณะเดยี วกันก็มงุ่ ใหเ้ กดิ ประสิทธิภาพของการวางแผนคอื ตอ้ งเสยี คา่ ใชจ้ ่ายตา่ สุดด้วย นอกจากนกี้ ารวางแผนจะตอ้ งก่อให้เกิดความพอแก่ตัวบคุ คลและ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

121 บทท่ี ๑ หนว่ ยงานดา้ นเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศกึ ษาและคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา กลุ่มในองคก์ ารด้วย การจะทาใหไ้ ดแ้ ผนทม่ี ี ลักษณะดังกล่าว ผบู้ ริหารจะต้องเลอื กวิธีการวางแผนใหเ้ หมาะสม ซง่ึ มีหลายวิธีคอื ๕.๑ การวางแผนจากข้างในไปขา้ งนอก และจากขา้ ง นอกมาข้างใน (inside-out and outside-in planning) การ วางแผนจากข้างในไปขา้ งนอกจะเน้นการวางแผนใหด้ ีที่สดุ เท่าที่ ความสามารถของบรษิ ัทมอี ยู่ ความสามารถของบรษิ ทั หมายถงึ ทรพั ยากรท่ีบรษิ ัทเปน็ เจ้าของอยู่ขณะนน้ั กอ่ นวางแผนผ้บู ริหาร จะต้องสารวจทรพั ยากรต่างๆ ที่มอี ยแู่ ล้ววางแผนใหเ้ หมาะสมกบั ทรัพยากรนนั้ แมว้ ่าจะมีวิธีการทด่ี กี วา่ ผบู้ รหิ ารกท็ าไม่ไดเ้ พราะไม่มี ทรัพยากรพอ วธิ กี ารวางแผนจากข้างในไปขา้ งนอกเปน็ การ พิจารณาจากขดี ความสามารถขององค์การแลว้ วางแผนใหด้ ที ี่สดุ ตามขดี ความสามารถน้ัน ๕.๒ การวางแผนจากบนลงล่างและจากลา่ งขึ้นบน (top-down and bottom-up planning) การวางแผนจากบนลงลา่ งเป็นวธิ ที ่ผี ูบ้ รหิ ารกาหนด นโยบายวัตถปุ ระสงคแ์ ล้วใหว้ างแผนตามกรอบที่กาหนดขึ้นมานัน้ กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสือ่ สารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา 122 การวางแผนวธิ นี ี้มีขอ้ กาหนดตา่ งๆ เพราะผูบ้ รหิ ารระดบั สูงจะเป็นผู้ เริ่มต้นแล้วกล่ันกรองลงมายังผู้บรหิ ารระดับกลางแล้วลงมายังผู้ ปฏบิ ตั ิ เปน็ วธิ กี ารวางแผนเพ่ือเนน้ ความเป็นอย่างเดยี วกันหรอื เน้น ท่นี โยบายเปน็ ใหญ่ จึงก่อให้เกิดผลเสียในความร่วมมอื ของผู้ปฏบิ ตั ิ จากระดับล่าง ผู้ปฏบิ ตั มิ ักจะไม่พอใจเพราะไมม่ ีส่วนร่วมในการ วางแผน ๕.๓ การวางแผนเพ่อื ความไม่แน่นอน (contingency planning) การวางแผนเปน็ เรือ่ งของการคดิ ล่วงหนา้ เป็นเรื่องของ การคาดคะเนสถานการณแ์ ละต้องเผชญิ กบั ความเสี่ยงและความไม่ แน่นอนในเหตกุ ารณอ์ ันอาจเกดิ ข้ึน ดังนน้ั จึงต้องมกี าร เตรียมพร้อมกบั ความเปล่ียนแปลงในอนาคต การวางแผนเพอื่ ความ ไม่แนน่ อนเปน็ การกาหนดทางเลือกที่จะดาเนินงานไว้หลายๆ ทางเลือกหากแผนเดิมทก่ี าหนดไว้ไม่สามารถนาไปใช้ไดอ้ ันเกิดจาก การเปล่ียนแปลงสถานการณ์ แทนที่จะวางแผนไวเ้ ดิมเมอ่ื มคี วาม เปล่ยี นแปลงเกิดขน้ึ ก็แก้แผนหรือปรับปรุงแผนเดิมให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขนึ้ อาจไม่ทนั การ สู้การเตรยี มพร้อม การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

123 บทที่ ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และสอื่ สารการศกึ ษาและคอมพิวเตอร์ศกึ ษา ลว่ งหน้าไมไ่ ด้ โดยการเตรยี มการกระทาไว้หลายๆ อยา่ งเมือ่ สถานการณเ์ กิดขนึ้ อยา่ งหนง่ึ ก็นาเอาแผนท่เี ตรยี มไว้ออกมาใช้ ๖. เครอ่ื งมือในการวางแผน การวางแผนที่ดียอ่ มขึน้ อยกู่ บั เคร่ืองมือท่ีใช้ชว่ ยในการ วางแผนไมว่ ่าการวางแผนนน้ั จะกระทารว่ มกนั หรอื บคุ คลใดบุคคล หน่ึงจัดทาขน้ึ การเลือกเครือ่ งมอื จะตอ้ งพจิ ารณาใหเ้ หมาะสมกับ การวางแผนแตล่ ะเร่อื งและตามท่กี ล่าวมาแล้วว่าการวางแผนมี ประโยชนห์ ลายอย่าง ถา้ วางแผนไม่ดีกอ็ าจทาใหแ้ ผนล้มเหลวได้ สาเหตุที่ทาใหแ้ ผนลม้ เหลวก็คือ ๑. แผนท่วี างไว้ไม่สอดคลอ้ งกับลกั ษณะงานขององคก์ าร งานบางอยา่ งท่เี กดิ ขึ้นเป็นประจาอาจเปน็ สาเหตุให้แผนไม่สาเรจ็ ก็ ไดห้ รอื ไม่จาเป็นตอ้ งใช้แผนกไ็ ด้ ๒. คนวางแผนไมม่ ีความร้ใู นการวางแผน ไมม่ คี วาม เชีย่ วชาญพอท่จี ะวางแผนในแตล่ ะขัน้ ตอนให้สอดคลอ้ งกันได้อย่าง เหมาะสม กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทท่ี ๑ หนว่ ยงานด้านเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอรศ์ กึ ษา 124 ๓. ขาดขอ้ มูลท่ีสาคัญและจาเปน็ ในการวางแผนทาให้ การนาแผนไปใช้ผิดพลาดต้ังแต่เรม่ิ ต้น ๔. ขาดการสนับสนุนจากบุคคลท่ีเกย่ี วข้องกบั แผนทา ให้แผนที่นาไปใช้มีอุปสรรค ๕. ผบู้ ริหารเนน้ ในรายละเอยี ดมากเกนิ ไปซึง่ ไม่ใช่ เป้าหมายของการวางแผน ๖. ไม่มีการปรับแผนหรือเปล่ียนแปลงแผน และ วัตถุประสงคเ์ พอ่ื เอาแผนใหมห่ รอื วัตถุประสงคใ์ หมม่ าใช้แทน ๗. มกี ารต่อตา้ นจากคนในองคก์ ารซ่งึ เป็นพฤติกรรม ปกติของคนท่มี กี ารตอ่ ต้านการ เปลยี่ นแปลง ทาให้ไมอ่ าจนาแผน ไปใช้ได้ การจะปอ้ งกันไมใ่ ห้เกิดความลม้ เหลวในการนาแผนไปใช้ จะตอ้ งพยายามทาให้คนทเ่ี กย่ี วขอ้ งมคี วามเข้าใจอย่างแทจ้ รงิ เกี่ยวกับแผนนั้น และทสี่ าคญั จะต้องให้เคร่อื งมอื ในการวางแผนท่ี เหมาะสมดว้ ย เครือ่ งมอื ในการวางแผนมีดงั น้ี การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

125 บทท่ี ๑ หนว่ ยงานดา้ นเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศึกษาและคอมพวิ เตอร์ศึกษา ๑. การพยากรณ์ (forecasting) ไดแ้ ก่ การมองไปใน อนาคตด้วยการกาหนดสมมตฐิ านว่าอะไรจะเกิดขน้ึ ในอนาคต การ พยากรณ์ทาได้ ๔ วิธีคอื ๑.๑ พยากรณ์เชงิ คุณภาพ (Qualitative forecasting) คือ การใชค้ วามเหน็ ของผเู้ ช่ียวชาญคาดคะเนสิง่ ท่ีจะ เกิดขนึ้ ในอนาคต ความเหน็ อาจเปน็ ของผเู้ ชยี่ วชาญคนเดยี วหรือ ผ้เู ช่ียวชาญหลายคน แสดงความเห็นกันในทปี่ ระชุมสัมมนา จาก ความเห็นตา่ งๆ กน็ ามาปรับเปลยี่ นให้เหมาะอกี ครั้งสาหรับใช้ใน การวางแผน ๑.๒ การพยากรณ์เชิงปรมิ าณ (Quantitative forecasting) คอื การใช้วิเคราะห์เชิงสถิติและการคานวณข้อมูล ต่างๆ ท่เี กยี่ วข้องมาคาดคะเนเหตกุ ารณ์ในอนาคต มเี ทคนิคตางๆ หลายอยา่ ง เชน่ การวเิ คราะหอ์ นกุ รมเวลา (Time-series analysis) ซง่ึ อาศยั ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งตวั แปรต่างๆ ทีเ่ กิดข้นึ ตาม เวลาที่ช้ใี ห้เห็นสง่ิ ที่จะเกดิ ขน้ึ ในอนาคต กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสือ่ สารการศึกษา และคอมพิวเตอรศ์ ึกษา 126 ๑.๓ รูปแบบทางเศรษฐกิจ (economic model) ซง่ึ อาศัยความน่าจะเปน็ และสมมติฐานต่างๆ ที่ใช้ในการคาดคะเน เหตกุ ารณ์ในอนาคตอนั แสดงให้เหน็ ถงึ แนวโนม้ ทางเศรษฐกิจในวนั ข้างหนา้ ๑.๔ การสารวจทางสถติ ิ (statistic survey) เปน็ การใช้การวิเคราะห์เชิงสถิติสารวจความเหน็ และทัศนคติของคนมา คาดคะเนเหตกุ ารณ์ เช่น รสนิยมในการบริโภค การเลอื กต้งั ในทาง การเมอื ง และ ทศั นคติทางสงั คม เป็นตน้ ๒. การหาจุดเดน่ (benchmarking) ความสาเรจ็ และ ความล้มเหลวของการวางแผนที่สาคญั อีกอยา่ งหนึ่งคือ การใช้ มาตรฐานมาวัดแผนขององคก์ าร หากผู้วางแผนมีความร้นู ้อยอาจใช้ มาตรฐานทไ่ี ม่ดนี ักมาวดั แต่ถ้าผวู้ างแผนมีความรู้ความเชี่ยวชาญก็ จะสามารถหามาตรฐานท่ีดีมาเปรยี บเทียบ ปกติมาตรฐานทีใ่ ช้วดั มกั จะมาจากภายนอกองคก์ ารและมาตรฐานท่ีดตี ้องเปน็ มาตรฐานที่ ดที ี่สุดจากภายนอก วธิ ีหนึ่งของการวางแผนกค็ อื การหามาตรฐาน จากขา้ งนอกองค์การทด่ี ที ่สี ุดมาใช้เปรียบเทียบหรือเรียกว่าการหา การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

127 บทท่ี ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสอ่ื สารการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา จดุ เด่น (benchmarking) ขององคก์ ารอืน่ มาใชเ้ พอ่ื ทาใหอ้ งค์การ ของเรามมี าตรฐานสูงขน้ึ แต่ถ้าองค์การของเราทาขนึ้ มาเองยงั ไม่ดี ขนึ้ อกี เทียบเทา่ องคก์ ารอ่นื กใ็ หซ้ ื้อหรือแสวงหาสงั่ น่นั จากองค์การ อื่นท่ีดที ี่สุดหรืออยา่ งนอ้ ยกด็ กี วา่ องคก์ ารของเราที่จะทาสง่ิ นั้นได้ ๓. การใหม้ ีส่วนร่วมในการวางแผน (participative planning) การใหค้ นทกุ ระดับมสี ว่ นรว่ มในการวางแผนมี ความสาคัญมาก เพราะคนทกุ คนล้วนกระทบตอ่ การวางแผนไม่ทาง ใดกท็ างหน่ึง การใหค้ นมีสว่ นร่วมจะทาใหไ้ ดข้ อ้ มูลมากขึน้ ทาให้ เกดิ ความคิดริเรมิ่ และความคิดสร้างสรรค์ในการวางแผนกจ็ ะได้ แผนที่ดีและสมบูรณ์ เม่อื มีการนาแผนไปใช้คนกจ็ ะมีความผูกพัน กันแผน มคี วามเข้าใจและยอมรับแผนดว้ ยเชน่ กนั ซง่ึ ทาใหแ้ ผน ดาเนนิ ต่อไปจนเสรจ็ ๔. การใช้ภาพ (use of scenario) การวางแผนทีด่ ี จะต้องทาให้เหน็ ภาพหรอื ฉากเหมอื นกันของจรงิ ทเี่ กิดข้นึ การใช้ ภาพคอื การทาให้เห็นสถานการณท์ จ่ี ะเกิดขนึ้ ให้เป็นฉากเป็นรปู ร่าง หรอื เรอื่ งราวต่าง เหมอื นการดูภาพยนตรห์ รือละคร ฉากหรอื ภาพ กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทท่ี ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และส่ือสารการศึกษา และคอมพวิ เตอรศ์ กึ ษา 128 จะทาใหเ้ ห็นความแตกต่างของแต่ละสถานการณ์ และเมือ่ เกดิ การ เปล่ยี นแปลงกจ็ ะเห็นว่าเปล่ยี นแปลงไปอย่างไร เปน็ วิธีการทที่ าให้ เข้าใจได้วา่ ตอ้ งปรบั ตวั หรือยืดหยุน่ แผนให้เข้ากับสถานการณ์แต่ละ อย่างจะทาอยา่ งไร ๕. การใชท้ ี่ปรกึ ษาวางแผน (use of staff planner) การวางแผนเปน็ เรื่องยุ่งยากซบั ซ้อน และตอ้ งอาศยั ผเู้ ชยี่ วชาญในการวางแผนโดยเฉพาะ องค์การอาจจ้างผเู้ ชี่ยวชาญ วางแผนใหต้ ง้ั คณะท่ปี รกึ ษาเป็นผวู้ างแผน ผู้เช่ียวชาญในการ วางแผนจะทาหนา้ ที่ประสานงานหน่วยงานต่างๆ ทง้ั องค์การ จะ ดาเนินขน้ั ตอนตา่ งๆ ในการวางแผนโดยการใชเ้ คร่ืองมือทม่ี ี ประสิทธภิ าพในการวางแผนจนสาเร็จ สง่ิ ท่คี ณะท่ีปรึกษาวางแผน ทาก็คอื ๕.๑ ชว่ ยเหลอื ฝ่ายบริหารในการจัดเตรยี มแผน ๕.๒ พฒั นาแผนแต่ละแผนขน้ึ มาตามท่ีได้รบั การ รอ้ งขอ ๕.๓ เก็บรวบรวมและเตรียมขอ้ มลู ในการวางแผน การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

129 บทที่ ๑ หนว่ ยงานดา้ นเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษาและคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา ๕.๔ ชว่ ยในการส่อื หรือแจ้งให้คนในองคก์ ารรบั รู้ ๕.๕ ตรวจสอบการใช้แผนและเสนอแนะแก้ไข เปลีย่ นแปลงแผน ๗. การบรหิ ารโดยยดึ วัตถุประสงค์ (Management by Objectives) การบรหิ ารโดยยึดวตั ถุประสงค์หรือเรียกยอ่ ๆ ว่า MBO เปน็ กระบวนการรว่ มกันกาหนดวตั ถุประสงคแ์ ละการควบคมุ ระหว่างผูบ้ ังคบั บญั ชากับผู้ใต้บงั คบั บัญชา ซึ่งเปน็ การเช่อื มหน้าท่ี ทางการบรหิ ารระหว่างการวางแผน และการควบคมุ เขา้ ดว้ ยกนั ซึง่ มีแนวคดิ สาคญั ๔ อย่างคือ ๑. ผู้บังคบั บัญชากับผู้ใต้บงั คับบัญชาตกลงรว่ มกนั กาหนดวัตถุประสงคห์ รอื เปา้ หมายในการทางานของ ผู้ใตบ้ ังคับบัญชาแต่ละคนว่าจะทางานให้ได้ผลตามเป้าหมายเทา่ ไร ภายในระยะเวลาทก่ี าหนด กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสือ่ สารการศกึ ษา และคอมพวิ เตอร์ศกึ ษา 130 ๒. ผ้บู งั คบั บญั ชากบั ผู้ใตบ้ งั คับบญั ชาตกลงรว่ มกนั วางแผนงานโดยผู้ใตบ้ งั คบั บญั ชาจะทางานใหส้ าเร็จได้ดว้ ยวิธีการ ของแตล่ ะคน ๓. ผู้บงั คบั บัญชากบั ผู้ใต้บังคับบญั ชาตกลงรว่ มกนั ใน การกาหนดมาตรฐานที่ใชว้ ัดผลการปฏบิ ัตงิ านของผู้ใต้บังคับบญั ชา ๔. ผู้บงั คบั บญั ชากับผู้ใต้บังคบั บัญชาตกลงรว่ มกนั ใน การวดั ผลงานทเ่ี กดิ ขึ้นจรงิ ทบทวนแกไ้ ขผลการปฏิบตั งิ านและ กระบวนการ MBO ใหม่ การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา

บรรณานุกรม กิดานันท์ มลทิ อง. (๒๕๔๘). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพ่อื การศึกษา. กรงุ เทพ : โรงพมิ พ์อรุณการพิมพ.์ ชยั ยันต์ เล็กบำ�รุง(๒๕๕๖).. องคป์ ระกอบของหนว่ ยงานด้านคอมพิวเตอร์ ศกึ ษา. สบื ค้นเม่ือ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๖. จาก http://www.gotoknow.org/ user/lekbumlung/profile ชยั ยงค์ พรหมวงศ์ (๒๕๔๑) “องค์กรเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา” ใน เอกสารการสอนชุดวชิ าการบรหิ ารศูนยส์ อ่ื การศกึ ษา หนว่ ยที่ ๑. นนทบุรี สำ�นกั พิมพม์ หาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช. ดเิ รก ธีระภูธรและคณะ. (๒๕๕๐). การจดั การเรยี นการสอนทางไกล : กรณี ศึกษามหาวทิ ยาลัยนเรศวร หลกั สตู รบรหิ ารธรุ กจิ บณั ฑติ สาขาวิชาการท่อง เท่ียว ระบบการศกึ ษาทางไกล. กรงุ เทพ :รายงานวิจยั , สำ�นักงานคณะกรรมการ การอุดมศกึ ษา. ตวงแสง ณ นคร. การใชส้ ื่อการสอน. สำ�นักพมิ พม์ หาวิทยาลัยรามคำ�แหง. กรุงเทพฯ. ๒๕๔๒ เทคโนโลยีมหานคร. ความหมายหน่วยงาน. สบื ค้นเมือ่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๖ จาก www.noc.mut.ac.th/document/rule.htm ไพรัช ธัชยพงษแ์ ละพิเชษ ดรุ งค์เวโรจน์. (๒๕๔๑). เทคโนโลยสี ารสนเทศเพือ่ การศกึ ษา. ศนู ยเ์ ทคโนโลยอี ีเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แหง่ ชาติ . ปัทมาพร เยน็ บำ�รุง และคณะ (๒๕๔๓) เอกสารประกอบการสอนชดุ วิชาการบริหารศนู ย ์ ส่อื การศกึ ษา. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). นนทบรุ ี : สำ�นกั พมิ พ์ มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช. มหาวทิ ยาลัยนอร์ท เชียงใหม.่ จดั การระบบสารสนเทศเพือ่ การจดั การ. สบื คน้ เม่อื ๒ เมษายน ๒๕๕๖. จาก http://elearning.northcm.ac.th/mis/de- fault.aspร กากราบรรบหิ ราหิ ราจรดั จกดั ากราเทรเคทโคนโโนลโยลแี ยลแีะลสะอ่ื สสอ่ื าสรากรากราศรกึ ศษกึ าษา

บทที่ ๑ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา และคอมพวิ เตอรศ์ กึ ษา 132 การบรหิ ารจดั การเทคโนโลยแี ละสอ่ื สารการศกึ ษา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook