Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Tourist attractions in Pattani Province

Tourist attractions in Pattani Province

Published by hateh.9002, 2021-09-24 03:34:06

Description: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ เป็นหนังสือที่นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดปัตตานี

Keywords: ปัตตานี,ท่องเที่ยว

Search

Read the Text Version

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ที่เที่ยวสุดฮิต จังหวัดปัตตานี

คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง ที่เที่ยวสุดฮิต จังหวัดปัตตานี ผู้จัดมี เป้าหมายเพื่อนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิต ในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะสำคัญ และตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ โดยพัฒนาสื่อออกมาในรูปแบบของ INFOGRAPHIC และรวบรวมทำเป็นหนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ สะดวกต่อการนำไปใช้และการเผยแพร่ ผู้จัดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง ที่เที่ยวสุด ฮิต จังหวัดปัตตานีเล่มนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ชื่นชอบด้าน การท่องเที่ยว และผู้ที่กำลังวางแผนการท่องเที่ยวในจังหวัดปัตตานี สามารถนำข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปประยุกต์ใช้ได้ นางสาวฮายาตี เจะเตะ ผู้จัดทำ

เนื้อหาการเรียนรู้ ปลายสุดแหลมตาชี ป่าชายเลนยะหริ่ง สกายวอล์ก หาดตะโละกาโปร์ น้ำตกทรายขาว ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มัสยิดกรือเซะ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เกาะโลชิน

ปลายสุดแหลมตาชี แหลมตาชี หรือแหลมโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลตะโละกาโปร์ ต่อเนื่อง ไปจนถึงตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง เกิดจากการก่อตัวของ สันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะจะงอย [SAND SPIT] ทำให้เกิดอ่าวปัตตานีด้านในของแหลม ปัจจุบันแหลมโพธิ์ มีความ ยาวประมาณ 16 กิโลเมตร โดยปกติแล้วปลายแหลมงอกเพิ่มขึ้น ทุกปี ปีละประมาณ 20-40 เมตร และชายฝั่ งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อันเนื่องมาจากคลื่นลม และกระแสน้ำชายฝั่ งด้านนอกเป็นหาด ทรายตลอดแนวจนถึงปลายแหลม มีภูมิทัศน์สวยงาม ส่วนด้านใน ติดกับอ่าวเป็นที่ตั้งของชุมชนหลายแห่งเช่น บ้านดาโต๊ะ บ้านตะโละ สะมิแล บ้านบูดี ประชากรประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก นอกจาก นั้นยังมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลาดุก ปลากะพง หอยแครง หอยแมลงภู่ ฯลฯ เป็นอาชีพเสริม

ป่าชายเลนยะหริ่ง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง บนสะพานที่สร้างด้วย ไม้ตะเคียนทอง (HOPEA ODORATA) ระยะทางยาวโดยรอบ 1,250 เมตร และตลอดเส้นทางเดินจะได้สนุกไปกับกลุ่มไม้ในสังคม ป่าชายเลน ทั้งไม้ยืนต้นม ไม้พุ่ม ทไม้เถาและไม้พื้นล่าง ซึ่งพันธุ์ไม้ แต่ละชนิดมีความสามารถขึ้นอยู่ได้ในบริเวณที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ระหว่าง ระดับน้ำทะเลต่ำสุดและระดับน้ำทะเล สูงสุด เช่น กลุ่มไม้ถั่วขาว กลุ่มไม้ตะบูนดำ กลุ่มไม้ตาตุ่มทะเล ฝาดดอกขาว เหงือกปลาหมอดอกขาว เป็นต้น เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ บางจุดมีระเบียงสำหรับ นั่งพักและมีซุ้มสื่อความหมายเพื่ออธิบายเรื่องราวของป่าชายเลน พร้อมภาพประกอบ นอกจากนี้ยังมีศาลาพักผ่อนและหอชมนก สำหรับชมทัศนียภาพเหนือเหนือยอดไม้บนความสูง 13 เมตรอีก ด้วย

สกายวอล์ก สกายวอล์ก (SKY WALK) แห่งแรกของจังหวัดปัตตานี ที่ตั้ง อยู่ในสวนสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ก็มีนักท่อง เที่ยวและประชาชนจำนวนมาก พากันขึ้นไปชมสวยงามตลอดทั้งวันม โดย ผู้สร้างยังหวังให้ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่จะเป็นศูนย์รวมคนต่าง วัฒนธรรม ต่างศาสนา มองเห็นความงดงามของท้องทะเลอ่าวไทยที่ มีแหลมตาชีคั่นกลาง ส่วนเบื้องล่างเป็นทิวป่าโกงกางขึ้นหนาแน่น เป็นอีกมุมมองใหม่ที่จะสัมผัสได้ จากการขึ้นมายืนบน SKY WALK ปัตตานีแห่งนี้

หาดตะโละกาโปร์ หาดตะโละกาโปร์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 18 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอยะหริ่ง เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่ งทะเล มีเรือกอและของชาว ประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก หาดทรายแห่งนี้งอกยาวออกไป เรื่อยๆ เพราะเกิดจากกระแสน้ำพัดเอาตะกอนทรายมาทับถม พอกพูน เหมาะแก่การไปนั่งพักผ่อนชมความสวยงามมีทิวสนและต้นมะพร้าว ให้ความร่มรื่นสวยงาม

น้ำตกทรายขาว อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว มีเนื้อที่ประมาณ 68,750 ไร่ หรือ 110 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขา ใหญ่ ในท้องที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองยะลา อำเภอ ยะหา จังหวัดยะลา และป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ใน ท้องที่ตำบลบ้านโหนด ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พื้นที่ทั้งหมดอยู่บริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี มียอด เขานางจันทร์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นต้นกำเนิดของห้วยทราย ขาว ห้วยโผงโผง ห้วยบอน ห้วยแกแดะ ห้วยลำหยัง ห้วยคลองเรือ ห้วยต้นตะเคียน ห้วยลำชิง ห้วยลำพะยา ที่จะไหลมารวมกันเป็น แม่น้ำเทพา

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ตั้งอยู่เลขที่ 63 ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปตามถนนสาย ต่าง ๆ ภายในตัวเมืองปัตตานีทำพิธีลุยไฟบริเวณหน้าศาลเจ้าเล่งจู เกียง ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำตานีบริเวณสะพานเดชานุชิต ในงานนี้มีผู้ที่เคารพ ศรัทธามาร่วมงานเป็นจำนวนมากทุกปี

มัสยิดกรือเซะ มัสยิดกรือเซะ หรือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ เป็นมัสยิดเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปีในจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองปัตตานี ห่าง จากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานที่ สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตู มัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบโกธิคของชาวยุโรป และ แบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง รูปลักษณะเป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูน สาทรงกลมเลียนรูปลักษณะแบบเสาโกธิคของยุโรป ช่องประตู หน้าต่างมีทั้งแบบโค้งแหลม และโค้งมนแบบโกธิค โดม และหลังคายังก่อสร้างไม่เสร็จ อิฐที่ใช้ก่อมีรูปลักษณะเป็นอิฐสมัย อยุธยา ตรงฐานมัสยิดมีอิฐรูปแบบคล้ายอิฐสมัยทวารวดีปะปนอยู่บ้าง

มัสยิดกลางจัดหวัดปัตตานี มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง- ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลา ดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของชาวไทยมุสลิม ในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาล ของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถง ด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ

เกาะโลชิน เกาะโลซิน เป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศไทย เป็นเกาะหินปูนขนาดเล็ก มาก อยู่ด้านใต้สุดของอ่าวไทย จุดเด่นและสัญลักษณ์ของที่นี่คือ ประภาคารที่ตั้งตระหง่านอยู่บนเกาะ ซึ่งตัวประภาคารนี้กินพื้นที่เกือบจะ ครึ่งเกาะเข้าไปแล้ว ประภาคารไม่ได้มีไซส์ใหญ่ผิดปกติ แต่เกาะนี้มีขนาด ที่เล็กมาก เกาะนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี ทำหน้าที่เป็นจุดสร้าง เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook