Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นำเสนอ(คติชน)

นำเสนอ(คติชน)

Published by daidai.pai1234, 2022-07-02 04:00:49

Description: นำเสนอ(คติชน)

Search

Read the Text Version

คติชนด้านศิลปะการแสดง

ศิลปะการแสดงดูศิลปะการแสดงพื้นบ้านหมายถึงข้อมูลคติชนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ การแสดงต่างๆได้แก่ดนตรีการรำการเต้นละครและการเล่นแบบพื้นบ้านลักษณะ เด่นของศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่ต่างจากศิลปะการแสดงทั่วไปคือมันเป็นการ แสดงอย่างไม่ตั้งใจมากกว่าจะจงใจนำเสนออย่างเป็นพิธีการ ศิลปะการแสดงมีทั้งที่เป็นการแสดงตามขนบแบบแผนและมีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงส่วนการแสดง ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นการแสดงต่อหน้าผู้ชมและมีจุดมุ่งหมายเพื่อความงามความบันเทิงหรืออาจก่อ ให้เกิดการคิดวิพากษ์นำไปสู่การพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงสังคมก็ย่อมได้ที่มาของศิลปะการแสดงคือ ความต้องการในการถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์จุดเริ่มต้นอาจเนื่องมาจาก ความเคารพและเกรงกลัวในธรรมชาติและอำนาจเหนือธรรมชาติจึงมีการถวายสิ่งของหรือเครื่อง สังเวยพร้อมกับการขับคำสรรเสริญบูชาเพื่อให้เทพเจ้าพอใจการขับคำสรรเสริญจึงเป็นที่มาของ ทำนองสวดและเกิดการขับร้องขึ้นจากนั้นจึงมีการพัฒนาด้วยการใช้วัตถุต่างๆมากระทบกันเป็น จังหวะดนตรีและแสดงท่าทางประกอบให้สอดคล้องกับบทที่ขับร้อง

คติชนประเภทศิลปะการแสดงพื้นบ้านสามารถจำแนกประเภทได้ ดังนี้ 1 การฟ้อนรำแบบพื้นบ้าน 2 การละเล่นพื้นบ้าน 3 ละครชาวบ้าน 4 ดนตรีพื้นบ้าน

การฟ้อนรำแ บบพื้ นบ้าน การฟ้อนรำแบบพื้นบ้านเป็นการร่ายรำเป็นการแสดงออกทาง พฤติกรรมที่เป็นสากลอย่างหนึ่งของมนุษย์ทั่วโลกโดยมีลักษณะ ของการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายให้ไปตามจังหวะการ ฟ้อนรำแบบพื้นบ้านจึงหมายถึงการแสดงออกทางร่างกาย ท่วงท่าลีลาการเคลื่อนไหวและการร้องรำที่เป็นแบบฉบับทาง วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงเพื่อ สร้างความบันเทิงแล้วยังอาจเป็นส่วนประกอบของพฤติกรรมที่ สัมพันธ์กับศาสนาและความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะของ การได้ทำสิ่งที่ดีกำลังกึ่งนันทนาการ

ตัวอย่างศิลปะการฟ้อนรำใน วัฒนธรรมไทยภาคต่างๆ ภาคเหนือ เช่นฟ้อนเล็บ ฟ้อนแง้น ฟ้อนปั่นฝ้าย ฟ้อน หางนกยูง ฟ้อนเทียน ภาคกลาง เช่น การเล่นกลองยาวหรือเถิดเทิง รำวง ภาคอีสาน ฟ้อนแมงตับเต่า ฟ้อนเรือมอัมเร ภาคใต้ รองเง็ง ซัมเปง

ก้านกกิงกะหร่า มีความหมายถึงการฟ้อนรำนกกิ่งกะหร่านับเป็นการแสดงวัฒนธรรมที่ สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยใหญ่ส่วนสำคัญของการแสดงประกอบด้วย ผู้นำที่แต่งกายเป็นตัวนกกิ่งกะลาหรือตัวกินนอนกินรีส่วนท่ารำจะเป็นการ เรียนแบบอากัปกิริยาของนกเช่นการขยับปีกขยับหางการบินและการกระโดด โลดเต้นไปมาตามจังหวะของดนตรีดนตรีที่ใช้ประกอบนิยมวงกลองก้นยาวตี ประกอบจังหวะและใช้ท่วงทำนองเป็นสิ่งกำหนดท่ารำเรื่องการรำนกกิ่งกะห ร่าในอดีตจะเป็นการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลออกพรรษาเรียกว่าปลาย เดือน 11 หรือออกหว่าว่าแปลว่าพรรษาโดยเนื้อหาตามตำนานพุทธชาติระบุ ว่าเมื่อฟังพุทธเจ้าเสด็จนี่วัดโลกมนุษย์มีเหล่าเทวดามนุษย์และสัตว์ใน หิมพานต์ต่างๆไปรับเสด็จด้วยความยินดีในการรับเสด็จมีการแสดงต่างๆ รวมทั้งการแสดงรำก้านกกิงกะหร่าด้วยในปัจจุบันการรำก้านกกิงกะหร่าได้มี การประยุกต์ใช้กับเทศกาลงานบุญอื่นๆเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวรวมไป ถึงงานรับรองแขกสำคัญของเมืองจบ

การละเล่นพื้ นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านเป็นข้อมูลคติชนที่เป็นรูปแบบหนึ่งของกิจกรรมการ แสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อความ สนุกสนานเพลิดเพลินนันทนาการการแข่งขันและการประกอบพิธีกรรม การละเล่นพื้นบ้านจึงหมายรวมทั้งเกมและการเล่นประเภทต่างๆการละ เล่นพื้นบ้านจะมีความแตกต่างกันในแต่สังคมและวัฒนธรรมส่วนใหญ่จะ เกิดขึ้นจากความสมัครใจตามลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นเน้นความ สนุกสนานเพลิดเพลินและเพื่อให้เกิดความรักและความสามัคคีในหมู่คณะ มากกว่าการแข่งขันอย่างจริงจังหากเป็นเกมก็จะมีการตั้งกฎกติกาแบบ ง่ายๆเพื่อให้ผู้เล่นยอมรับหากเป็นการเล่นก็จะไม่มีกติกาที่แน่นอนแต่ เป็นการตกลงกันในกลุ่มผู้เล่นแต่ละครั้งการละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้เล่นในยามว่างในแต่ละท้องถิ่นจะมีขนบ นิยมแตกต่างกันการละเล่นบางประเภทอนิยมเล่นในปัจจุบันในขณะที่บาง ประเภทอาจสูญหายไปตามกาลเวลาปรากฏเพียงชื่อการละเล่นที่บันทึกไว้

บรุนแวนด์ได้ศึกษาการละเล่นและได้แบ่งประเภทของการละเล่นโดยใช้เกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของ การเล่นเช่นการเคลื่อนไหวร่างกายการใช้วัตถุหรือการใช้ความคิดได้ 4 ประเภทดังนี้ 1 การละเล่นที่เป็นเครื่องหย่อนใจ 2 การละเล่นที่เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกาย 3 การละเล่นที่ต้องใช้วัตถุสิ่งของและ 4 การละเล่นเกี่ยวกับความคิด

ธิดาโมสิกรัตน์ระบุว่าการละเล่นเป็นกิจกรรมที่ควบคู่กับคนไทยมาตั้งแต่อดีตและมีการ เปลี่ยนแปลงการได้ในเรื่อยมาตามลำดับทั้งนี้สามารถแยกประเภทของการละเล่นพื้นบ้าน ในสังคมไทยโดยใช้เกณฑ์เรื่องโอกาสและลักษณะสำคัญของการละเล่นมาจัดจำแนกได้ 3 ประเภทได้แก่ 1 การละเล่นพื้นบ้านเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เป็นการละเล่นที่สัมพันธ์กับการประกอบอาชีพและวัสดุที่มีอยู่ในสภาพ แวดล้อมของท้องถิ่นบ่งบอกถึงการทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสภาพแวดล้อม 2 การละเล่นพื้นบ้านเกี่ยวกับการสวมบทบาท เป็นการละเล่นเกี่ยวกับการสวมบทบาทเพื่อเลียนแบบพฤติกรรมตลอด จนกิริยาท่าทางของคนในชุมชนรวมทั้งสัตว์บางชนิดในขณะเล่นผู้เล่นจะสวมบทบาทและแสดงอากัปกิริยาเลียนแบบ ตามบทบาทตัวละครที่เล่นโดยจะไม่แสดงบทบาทเป็นตัวของตัวเองตัวอย่างการเล่นสวมบทบาทเป็นสัตว์ 3 การละเล่นพื้นบ้านเกี่ยวกับกลยุทธ์หรือกีฬาพื้นบ้าน เป็นการเล่นแข่งขันในลักษณะของการต่อสู้ระหว่างบุคคลสอง ฝ่ายเพื่อหวังผลแพ้ชนะ

จากการจำแนกประเภทการละเล่นพื้นบ้านทั้งของนักวิชาการตะวันตกและนักวิชาการไทย ที่ยก ตัวอย่างมาจะเห็นได้ว่าการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นหรือในแต่ละสังคม จะมีความแตกต่างกัน ไปตามนิเวศวิทยาและบริบททางสังคมวัฒนธรรม สามารถจำแนกประเภทของการละเล่นพื้นบ้าน ของไทยได้ 3 ประเภทได้แก่ 1 การละเล่นทั่วไป 2 การละเล่นเพื่อประกอบพิธีกรรม 3 การละเล่นเพื่อเฉลิมฉลองในเทศกาลต่างๆ

ละครชาวบ้าน ละครชาวบ้านหมายถึงคติชนที่มีการแสดงเป็น เรื่องราวซึ่งเป็นศิลปะการแสดงของชาวบ้านใน ท้องถิ่นต่างๆโดยปกติในทุกสังคมหรือทุก วัฒนธรรมจะมีวัฒนธรรมการแสดงละครที่ แตกต่างกันยกตัวอย่างละครชาวบ้านใน ประเทศไทยเช่นละครนอกละครชาตรีลิเกทรง เครื่องหนังสดละครซอหมอลำละครชาวบ้านยัง หมายรวมถึงการแสดงละครที่มีการใช้อุปกรณ์ ประกอบการแสดงด้วยเช่นหนังตะลุงหนังประ โมทัย

หนังประโมทัย หนังประโมทัยเป็นการละเล่นชนิดหนึ่งในภาคอีสานที่ได้รับแรงบันดาลใจมา จากคณะหนังตะลุงจากอยุธยาและการเล่นหนังตะลุงของภาคใต้นะว่าจะ ไม่ใช่การแสดงดั้งเดิมของชาวอีสานแต่ก็มีการดัดแปลงให้เข้ากับรสนิยม ของท้องถิ่นเห็นได้จากการเรียกชื่อที่แตกต่างกันเช่นหนังบักตื้อตื้อหนังบัก ปอดบักเจ้าบักปอบบักแก้วขึ้นอยู่กับคตินิยมในแต่ละท้องถิ่นอย่างไรก็ตาม หนังประโมทัยในแต่ละถิ่นเข้าจะมีลักษณะร่วมกันคือการนำหมอลำกับหนัง ตะลุงมาผนวกเข้าด้วยกันโดยที่ตัวเอกตัวพระตัวนางหรือตัวที่แสดงเป็นเจ้า พูดภาษากลางส่วนตัวตลกและเหล่าเสนาอำมาตย์จะพูดภาษาถิ่นอีสานเรื่อง ที่นิยมนำมาแสดงคือเรื่องรามเกียรติ์สำนวนภาคกลางและวรรณกรรมท้อง ถิ่นอีสานเรื่องต่างๆเช่นสังข์ศิลปชัยจำปาสี่ต้นการะเกดผาแดงนางไอ่ท้าวก่ำ กาดำการแสดงหนังประโมทัยนิยมเรียกเป็นคณะคณะหนึ่งมีสมาชิก ประมาณ 5 ถึง 10 คนโดยทำหน้าที่เป็นคนชอบหนังคนพากย์คนเจรจาและ นักดนตรีเครื่องดนตรีประกอบด้วยกลองสองหน้าแทนกลองชุดฉิ่งพิณ ฉาบ

ดนตรีพื้ นบ้าน ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารความหมายและความคิดประเภทหนึ่งของมนุษย์ทุกสังคมทั่วโลกจึงมีการถ่ายทอดความหมายทาง ดนตรีควบคู่ไปกับการใช้ภาษาส่งผลให้เกิดความแตกต่างเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นหรือภาษาถิ่นคติชนประเภทดนตรีพื้นบ้านมีความหมาย ถึงดนตรีและเพลงร้องเฉพาะถิ่นที่ชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นด้วยการร้องหรือการบรรเลงสืบทอดด้วยการจดจำและเลียนแบบดนตรี พื้นบ้านส่วนใหญ่มีจุดกำเนิดและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรมซึ่งเป็นเพลงที่มีท่วงทำนองและเนื้อหาที่เรียบง่ายมีเอกลักษณ์ด้าน สำเนียงทำนองและจังหวะลีลาเฉพาะท้องถิ่นดนตรีพื้นบ้านในฐานะคติชนประเภท 1 นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคติชนประเภท เพลงพื้นบ้านเนื่องจากดนตรีเป็นการกล่าวถึงท่วงทำนองและจังหวะลีลาของเพลงเป็นส่วนเสริมให้เพลงพื้นบ้านซึ่งเป็นเรื่องของ เนื้อหาหรือเนื้อร้องของเพลงมีความสมบูรณ์ขึ้นด้วยเหตุนี้การกล่าวถึงดนตรีพื้นบ้านในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะอภิปรายถึงดนตรีพื้น บ้านในความหมายเกี่ยวกับพวกทำนองจังหวะลีลาและเสียงที่เกิดจากการบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นบ้านจะไม่ได้กล่าวถึงเนื้อหาของ เพลงเนื่องจากได้อธิบายไว้แล้วในหัวข้อเพลงพื้นบ้าน

เสนอ อาจารย์ ภาณุวัฒน์ สกุลสืบ สมาชิกผู้จัดทำ นางสาววิมพ์ วิภา อินศรี รหัสนักศึกษา : 63123010101 นางสาวปัณฑารีย์ ปินตาเรือน รหัสนักศึกษา : 63123010109


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook