Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ARC-โลงศพอีสาน

ARC-โลงศพอีสาน

Published by phudindanchanathip, 2021-12-20 09:11:56

Description: ARC-โลงศพอีสาน

Keywords: โลงศพอีสาน

Search

Read the Text Version

โลงศพอสี าน : ภมู ิปญั ญาเชงิ ชา่ งโบราณกับคตคิ วามเช่ือเรอื่ งชวี ิตหลังความตาย จกั รกฤษณ์ จนั ทเรอื ง สาขาวิจยั วัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น บทคัดย่อ โลงศพอีสาน ถือเป็นภูมิปัญญาเชิงช่างโบราณ ทีม่ อี ายุนบั พันปี สืบทอดจากคตคิ วามเช่อื เร่ืองชีวิตหลัง ความตาย ท่ีเชือ่ ว่าคนตายขวญั ไมต่ าย แต่ขวญั จะเคลือ่ นย้ายไปอกี ภพภูมหิ น่งึ จึงมีการสรา้ งภาชนะบรรจุภัณฑ์ โลงศพเพ่อื รองรบั ขวญั ไปสู่เมืองฟา้ การสร้างโลงศพจึงมีการสอดแทรกคติความเชื่อทง้ั เรือ่ งชวี ิตหลังความตาย และคติทางพระพุทธศาสนาไว้อยา่ งเนียนสนทิ การสือ่ ความหมายทางวัฒนธรรมไวใ้ นโลงศพ คอื กระบวนการ สร้างเกราะปอ้ งกันภยั คุกคามอนั อาจเกิดตอ่ จิตใจของคนในสงั คม ภาวะทุกขโ์ ศก ความสญู เสีย ความโดดเดี่ยว ความหมายทางวฒั นธรรมจะทำหนา้ ท่เี กาะเก่ยี วจติ ใจมนษุ ยแ์ ละสังคมให้เข้มแข็ง และเปน็ ปกึ แผน่ นอกจากนั้น โลงศพ ยังสะท้อนสภาพสังคมในแต่ละยุคสมัย ที่มีการให้คุณค่ากับวัตถุไปตามวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม สถานะทางสังคม มุ่งเน้นไปถึงคุณค่าของวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการความแตกต่าง ความโดดเด่น มากกกว่าเชงิ อรรถประโยชน์ โลงศพจึงมีเพียงเป็นบรรจภุ ณั ฑ์หอ่ ห้มุ สงั ขารศพเท่านนั้ หากแต่ยัง เปน็ เครอื่ งหมายแหง่ ความผูกพนั ความมงั่ คั่ง คุณงามความดีอีกด้วย ความเจริญรุดหน้าของนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ทำให้วิธีคิด และวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม เปลย่ี นไป เทคโนโลยีสมัยใหมเ่ ข้ามาทดแทนภูมิปัญญาแบบดงั้ เดิม เชน่ เตาเผาแบบไรม้ ลพิษ อาจส่งผลต่อการ เลือกใช้โลงศพแบบเอวขัน หรือการเลือกเอาความสะดวกสบาย จึงเป็นผลให้ภูมปิ ัญญาต้องมีการปรับตัวเพอื่ รองรับกระแสการผลัดเปลีย่ นของโลกาภิวฒั น์ ซ่ึงภูมปิ ัญญาทม่ี ีศกั ยภาพ เลื่อนไหลไดต้ ามบรบิ ทสงั คม ก็จะไม่ แน่น่งิ ยงั คงดำรงอยู่ได้ แมจ้ ะเปล่ยี นแปลงไปตามกาลเวลา คำสำคัญ : โลงศพ, ชวี ิตหลงั ความตาย, ความหมายทางวัฒนธรรม, คุณค่า ในภาคพ้นื อุษาคเนย์ หรอื เอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้ ผลพวงจากสงครามกวาดตอ้ น มกี ารอพยพโยกย้าย ถ่ินฐานของผู้คน จึงมกี ารประสมประสานชาตพิ นั ธ์ุและวฒั นธรรม บรรดาประเทศในอุษาคเนย์จึงมีวัฒนธรรม ร่วมกัน ได้แก่ ความเชื่อเรื่องการนับถือศาสนาผี คติเรื่องขวัญ พิธีกรรมความเชื่อ ฯลฯ (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2559) ซ่ึงหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ท่ีปรากฏในประเทศไทย สะทอ้ นสภาพสังคม วถิ ชี ีวติ ประเพณี พิธีกรรม คติความเชื่อของผู้คนในอดีต ที่ยังคงเลื่อนไหลดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คติความเชื่อท่ี เก่ยี วข้องกับชวี ติ ตั้งแต่เกิดจนตาย และความเชือ่ เร่อื งชีวติ หลงั ความตาย เมอื่ หลายพนั ปกี ่อน ผคู้ นในแถบอษุ าคเนย์มคี วามเชื่อเรือ่ งขวญั ที่มใิ ชเ่ พียงจิตและวิญญาณ แต่ยังเช่ือ ว่าขวัญจะสถิตอยู่ทุกส่วนของร่างกาย ก่อนการเข้ามาของศาสนาและอิทธิพลตะวันตก คนอุษาคเนย์เชื่อว่า ความตายไม่ใช่เรื่องทุกข์โศก แต่เป็นเพียงการเดินทางของผีขวัญจากโลกมนุษย์ หรือที่เรียกว่าเมืองลุ่ม เคล่ือนย้ายสถานะไปอยูเ่ มืองฟ้าของแถน ซึ่งในเมอื งฟ้ากม็ ที ุกสรรพสิ่งเหมอื นโลกมนุษย์ เมื่อมีลูกหลานมีการ เรียกขวัญหรือสู่ขวัญ เพื่อให้ผีขวัญปกปอ้ งรักษา ผีขวัญ จึงมีสถานะเป็นผีบรรพบุรุษ (ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ, 2563) บรรพบุรุษในเมืองฟ้าที่ว่านี้มีสถานะเสมือน \"พลังชีวิต\" มีอานุภาพบันดาลให้บังเกิดความงอกงาม บนพื้นโลก สื่อสารกับคนเป็น ลูกหลาน ญาติมิตรโดยมีพิธีกรรมเป็นสื่อกลาง และตราบใดที่คนเป็นยังรักษา ความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณกับบรรพบุรุษไว้ได้ พลังชีวิตก็สถิตอยู่กับชีวิตและแผ่นดินของลูกหลานต่อไป ตราบนนั้ (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2551) พิธีกรรมเก่ยี วกบั ศพและความตายในอดีตจึงเปน็ การเฉลิมฉลอง มิใช่การ

ร้องไห้ ไว้ทกุ ข์ ดงั หลกั ฐานทปี่ รากฏบนร่องรอยทางวฒั นธรรม เชน่ กลองมโหระทกึ มีภาพการเฉลิมฉลองด้วย การบรรเลงดนตรเี ปา่ แคน (ยทุ ธพงศ์ มาตยว์ เิ ศษ, 2563) พิธีกรรมเกี่ยวกับศพ จึงเชื่อได้ว่าเปน็ พธิ ีกรรมแรกเริ่มของมนุษย์ ซึ่งการจดั การศพมีหลายรูปแบบวธิ ี ตง้ั แต่ท้งิ ศพ ฝงั ศพ เผา รมควัน อาบนำ้ ยา ดอง กินท้งั ดิบ หรอื สกุ ปล่อยใหเ้ น่า ตามแตค่ ่านยิ มทางวัฒนธรรม และปัจจัยอื่นทางสังคม พิธีกรรมเกี่ยวกับความตายเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นวา่ ความตายมิเป็นเพียงจุดสิ้นสดุ ของชีวิตโดยสมบูรณ์เท่านั้น แต่นั่นคือกระบวนการแปรสภาพจากโลกสามัญ ไปสู่อีกโลกหน่ึง หรืออีกสภาวะ หนึ่ง (ปราณี วงษ์เทศ 2543) ซึ่งพิธีกรรมนั้นเองได้สร้างบทบาทสถานะภาพใหม่ให้กับผู้ตาย ทำให้เกิดรอย แบ่งระหว่างคนตายและคนเป็น การจัดการเกี่ยวกับศพตามหลักฐานทางโบราณคดีที่ถูกค้นพบในประเทศไทย มีการค้นพบว่า การจัดการศพหรือการปลงศพในอดีต ยุคแรกเริ่มยังไม่มีการจดั การที่เปน็ แบบแผน ไม่มีพิธีกรรมเกีย่ วกับศพ เป็นการท้ิงศพ ปล่อยใหเ้ ปน็ อาหารใหเ้ หยี่ยว แรง้ กา จกิ กินเป็นอาหาร สร้างความอุจจาดตาแก่ผู้พบเห็น และ ส่งกลิ่นเน่าเหม็นไปท่ัวพ้นื ที่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลายเรื่อยมาจนถงึ ยุคโลหะ ราว ๓๐,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี พบว่าเรม่ิ มีวธิ กี ารฝังศพ (Interment) ทั้งในลกั ษณะจบั ศพเหยียดยาว นอนตะแคง งอตัว งอเข่า มีการมัดหรือ หอ่ ศพ บรรจุสิ่งของให้ผู้ตาย ใชด้ ินและหินฝงั กลบเพ่อื ปอ้ งกันสตั ว์มารบกวน เม่ือถึงยคุ หนิ ใหม่ยังคงมกี ารฝงั ศพ แบบเดิม แต่เพิ่มสิ่งของที่ฝังเพ่ืออุทิศมากขึ้น เช่น เปลือกหอย ลูกปัด กระดองเต่า เป็นต้น ในยุคโลหะนั้น มี การบรรจศุ พทัง้ รา่ งในภาชนะ (primary Jar burial) นำศพไปฝงั ให้เนา่ เป่อื ยกอ่ น แล้วจึงนำกระดูกมาบรรจุใน ภาชนะ (secondary jar burial) เพื่อประกอบพิธีกรรมอีกครัง้ หน่ึง พิธีกรรมนี้เรียกว่า พิธีการฝังศพคร้ังที่ ๒ (secondary burial) มักพบในแถบอีสานของไทย ทั้งยังปรากฏในจีน ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซยี ญป่ี ุ่นและเกาหลี พิธีกรรมหลังความตายมีความซับซอ้ นมากข้นึ ในยคุ โลหะ บางแห่งขุดไมเ้ ปน็ รูปเรอื เพอ่ื ใช้เป็นโลงบรรจุ ศพ กอ่ นท่ีจะนำไปฝังหรือเก็บไว้ในถ้ำ ทง้ั ยังพบวา่ บางแหง่ หอ่ ศพและมัดท่ีข้อมือ หวั เข่า และข้อเท้า หักข้อมือ ข้อเท้า นำมามัดประสานกันคล้ายลักษณะประนมมือ ลักษณะการมัดศพเพื่อบรรจุในโลงเช่นนี้ เชื่อว่าเป็น ตน้ แบบของการมัดตราสงั ทย่ี งั พบเหน็ ในพิธบี รรจุศพในปัจจุบนั (ยทุ ธพงศ์ มาตย์วิเศษ, 2564) วัฒนธรรมโลง ศพไม้ เริ่มขึ้นในยุคเหล็ก อายุราว 2,600 – 1,000 ปีมาแล้ว ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีในทุกภูมิภาค ภาคเหนือ แหล่งโบราณคดีออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคกลางแหล่งโบราณคดีโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี ภาคอสี าน แหลง่ โบราณคดีบา้ นเชียง จังหวัดอุดรธานี และยังมีอหี ลายแหล่งขุดค้นท่ีมีการคน้ พบวัฒนธรรมโลง ไมใ้ นการบรรจศุ พ (รัศมี ชทู รงเดช, 2557) เมื่อสังคมมีการพัฒนา เกิดการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก การไหลบ่าของวัฒนธรรม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งวัฒนธรรมจากอินเดีย ที่นำพาอิทธิพลเรื่องคติการฝังสิ่งของเพื่ออุทิศให้คนตายลงไปในหลุมศพ เช่น ลกู ปดั แกว้ ลูกปดั หนิ ลูกปดั ทอง กำไลสำรดิ กำไลดินเผา กาน้ำ คนโท ตะคนั เป็นตน้ นอกจากการฝงั แล้ว ยังมี การจัดการศพแบบเผา ทั้งเผาแห้ง (Dry Cremation) และเผาสด (Flesh Cremation) แล้วจึงนำกระดูกมา บรรจใุ นภาชนะ กอ่ นจะนำไปฝังในพิธีการศพครั้งที่ ๒ รอ่ งรอยที่ปรากฏจากหลกั ฐานทางโบราณคดีเชน่ นี้ คอื ภาพสะทอ้ นวถิ ีวฒั นธรรมของชาวอุษาคเนย์ ท่ี มีพิธีกรรม คติความเชื่อเกี่ยวกับความตาย ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม สิ่ง แวดล้อม ความเชื่อ ค่านยิ ม ความเชอื่ ของคนอษุ าคเนยเ์ ก่ยี วกบั พิธีกรรมเก่ียวกบั ศพและชวี ิตหลังความตาย สะทอ้ นผา่ นหบี ศพหรือ โลงศพ ที่ใช้แทนเรือ เป็นพาหนะนำสง่ ผีขวัญไปยังเมืองฟ้าผ่านทางน้ำ มีลักษณะเป็นรปู นาค หรือ พญานาค ดว้ ยคติท่เี ช่ือว่านาค คอื สง่ิ ศักดิส์ ทิ ธม์ิ อี ทิ ธิฤทธิ์ นำพาผีขวญั ไปส่เู มืองฟ้า

“โลงศพ” ได้ชื่อว่าเป็นบรรจุภัณฑ์แห่งความตาย (ติ๊ก แสนบุญ, 2552) ใช้บรรจุศพเพื่อนำไป ประกอบพิธีทางศาสนาตามความเช่ือในแต่ละพื้นที่ ในแถบลุ่มแมน่ ้ำโขงท่ามกลางสังคมวฒั นธรรมไทย - ลาว โลงศพ มลี ักษณะรว่ มที่เหมอื นกันโดยเฉพาะรูปแบบ รายละเอยี ดแตง่ กันไปตามพื้นท่ี ลกั ษณะบางส่วนมีความ คลา้ ยและเหมอื น และยงั มกี ารสรา้ งตามคติความเชื่อ ทสี่ ื่อความหมายทางวฒั นธรรมผ่านภูมิปญั ญาการต่อโลง ศพของชาวอสี าน ซ่ึงได้ช่ือว่าเปน็ อตั ลกั ษณเ์ ชิงช่างสกลุ ไทลาว (ตก๊ิ แสนบญุ , 2552) ซึ่งมีรายละเอียดและช่ือ เรียกที่เป็นศัพท์เฉพาะของท้องถิน่ ดังเช่นภูมิปัญญาการต่อโลงศพชุมชนในพื้นท่ีเขตเทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ที่มีพื้นที่ติดอยู่กับริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นพื้นที่ผสานกันทางวัฒนธรรมไทยและลาว ทั้งภูมิ ปัญญา วิถีชวี ติ ประเพณี พธิ ีกรรม คติความเช่ือ ซึง่ ลกั ษณะการต่อโลงศพของชาวหนองคาย ส่วนมากยังคงมี ลักษณะเป็นโลงศพแบบอีสาน ที่เรียกว่า “โลงเอวขันปากพาน” หรือ “แอวขัน” มีลักษณะตัวเรือน เอวคอด ปากผาย ก้นตอบ สร้างตามคติความเชื่อว่าโลงศพเสมือนบ้านหรือวิมานหลังสุดท้าย (ณัฐวุฒิ พรหมเขจร, สมั ภาษณ์ 5 กันยายน 2564) ภมู ิปญั ญาการตอ่ โลงศพของชาวอีสานในอดีต ใช้ไม้จากฝาบา้ น หรือเถียงนา เชน่ ไมป้ ระดู่ ไมม้ ะค่า ไม้ ยาง มาตอ่ เป็นโลงศพรูปสี่เหล่ียมผนื ผ้า บุพ้นื ดา้ นนอกด้วยกระดาษมนั ปู และประดับดว้ ยกระดาษกุดจี่ ในยุค หลงั มกี ารใชไ้ มอ้ ัดแทนเพ่อื ความสะดวกรวดเรว็ วัสดอุ ุปกรณ์ท่ีใช้ในการต่อโลงศพ ประกอบด้วย ๑) ไม้แผ่นอัด ๒) ไม้เสน้ ๓) กาวลาเทก็ ๔) สรี องพืน้ ๕) สีทาภายนอก ๖) กระดาษมนั ปู ๗) กระดาษกุดจี่ ๘) ตะปู ๙) แมก็ ยงิ ๑๐) คอ้ น ๑๑) เลอ่ื ย ๑๒) คตั เตอร์ ๑๓) โฟมแผ่น ขนาดหนา ๑ น้ิว ขั้นตอนการต่อโลงศพอีสาน ภาพท่ี ๑ การประกอบส่วนฐานโลง

1. ส่วนฐาน ต่อไม้เส้นโดยใช้ตะปูยึดมมุ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 0.40 - 0.60 เมตร ยาวประมาณ 1.80-2.10 เมตร ฐานแต่ละชั้นสูงประมาณ 14 เซนติเมตร มีลักษณะ แบบทีเ่ รียกวา่ “ฐานหีบ” มแี ม่คไี ฟ 3 ชิน้ หรือท่ีเรียกว่าไมข้ ้ไี ฟ (ภาคกลางเรียกสว่ นนี้ว่า “ฐานเขยี ง”) ภาพที่ 2 ส่วนตวั เรือนโลงศพ 2. สว่ นตัวเรือนโลงศพ ส่วนนี้ภาษาช่างเรียกว่า “เอวขันปากพาน” ประกอบด้วยส่วนโบกคว่ำ (บัวคว่ำ) โบก หงาย (บัวหงาย) ประกบกันทั้งส่วนบนและส่วนล่าง และส่วนท้องไม้ (ถ้าท้องไม้มีเส้น ลวดบัวขนาดใหญจ่ ะเรียกวา่ “ดูกง”ู ) ประกอบกันในลกั ษณะเฉียงใหป้ ากผายข้ึนดา้ นบน มีขนาดกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.80 – 2.10 เมตร สูงประมาณ 60 เซนติเมตร ภาพท่ี ๒ ส่วนยอดโลง 3. ส่วนยอด เรียกรวมทั้งหมดนี้ว่า “ตีนโลง” มีลักษณะเป็นหนา้ จั่วหลังคาเรือนยอด นิยม หน้าจั่ว ๓ หน้าจั่ว ๔ หน้าจั่ว ๘ (ณัฐวุฒิ พรหมเขจร, 2564) ในแถบจังหวัด อุบลราชธานี นยิ มปากขนั แบบนพศลู 3 ยอด” ลดหล่ันตามความสงู ของหีบ ส่วนยอดน้ี บางแห่งนิยมทำแบบ “ยอดปราสาทผึ้ง” คล้ายกับส่วนยอดธาตุปูนพื้นถิ่นอีสาน โดยมี ความสงู จากระดับพนื้ ถึงยอดสูงสดุ ประมาณ 2.20 เมตร (ต๊ิก แสนบุญ, 2549)

ภาพที่ 4 การทาสีโลง 4. ทาสี ใช้สขี าวทางรองพนื้ ทุกส่วนของโลง บภุ ายในด้วยผา้ ยางพลาสตกิ ในอดีตใช้ยางบง อุดรอยต่อหรือรรู ่วั และใสป่ นู ขาวไว้สำหรับดูดซับน้ำเหลืองจากศพ ปูด้วยใบชา ใบยาสูบ เสอื่ นุน่ หรือฟกู เพื่อปอ้ งกนั กล่ินเน่าเหมน็ 5. ใช้สที าภายนอกทาสโี ลง ตามแตท่ ่เี จา้ ภาพกำหนด นิยมใช้สีขาว, ครีม, ดำ ภาพท่ี 5 การประดับลายโลงศพ (ทม่ี าภาพ : ณฐั วฒุ ิ พรมเขจร)

ภาพท่ี 6 ตัวอย่างการประดับลายโลงศพ (ที่มาภาพ : ณัฐวุฒิ พรมเขจร) 6. การประดับตกแตง่ ลาย ใช้กระดาษกุดจี่ ฉลลุ าย ตามความต้องการ ส่วนใหญใ่ ชล้ ายกนก ลายเทพพนม วดั ตามขนาดไม้ แล้วทากาวติดทตี่ วั โลงให้เกิดความสวยงาม โลงศพอีสานในด้านสกัดด้านแคบคล้ายกับธาตุปูน ส่วนที่เป็น “เอวขัน” ลักษณะปากผายออกของ โลงศพ คล้ายกบั โลงศพแบบพม่า หรอื ฝาเรือนทางภาคเหนือของไทย การต่อโลงแบบปากผายกเ็ พอ่ื ให้สามารถ รับแรงอัดและการถ่ายเทน้ำหนักของโลงได้ อีกทั้งยังเพิ่มจังหวะ (ส่วนเอวขันปากพาน) ในรูปทรงที่สูงชันข้นึ เพิ่มความสง่างามในตำแหน่งทตี่ ้งั เพมิ่ นยั ยะสำคญั ในการจดั วางหีบศพกับตัวเมรุ สมยั โบราณ คตคิ วามเชื่อเกี่ยวกบั การต่อโลงศพ มีความเชื่อว่าเมอื่ เจบ็ ไข้ได้ป่วย ญาติพน่ี อ้ งก็จะต่อโลง ศพเพื่อทำพิธีต่อดวงชะตาหรือสะเดาะเคราะห์ต่ออายุให้คนป่วย เมื่อหายเจ็บไข้ ก็จะถวายโลงศพเป็น สาธารณะกุศล ในพิธีกรรมเผาศพของชาวญ้อ จะทำการแผ่ฟืนเพื่อนำไปก่อเป็นเชิงตะกอน โดยใช้ป่าแอ้วเป็น ฌาปนกิจสถาน ใช้คานหามเคลือ่ นศพ ใช้ดุ้นไฟชวนเผาศพ โปรยข้าวตอกระหว่างทาง และใช้น้ำมะพร้าวลา้ ง หนา้ ศพ โลงศพอสี าน : การสอ่ื ความหมายทางวฒั นธรรมผา่ นสญั ลกั ษณ์ Clifford Geertz กลา่ วถึงกล่าวถงึ วฒั นธรรมวา่ “วฒั นธรรมบง่ ชีถ้ งึ รูปแบบของความหมาย (pattern of meanings) ซึ่งสืบต่อกันมาในรูปแบบของสัญลักษณ์และเป็นระบบของแนวคิดที่สืบทอดต่อกันมา (inherited conceptions) และแสดงออกในรูปของสัญลักษณ์ที่ผู้คนในสังคมใช้ติดต่อสื่อสารกัน เก็บรักษา และพัฒนา เพือ่ เพิม่ พนู ความร้แู ก่ชวี ติ และทศั นวิสยั ทม่ี ตี อ่ ชีวิตและสงั คม” (อคิน รพีพฒั น์, 2551) เกยี ร์ซ มีมุมมองว่า การรจู้ ักและเข้าใจวฒั นธรรมอย่างลุ่มลกึ นนั้ เกดิ จากการค้นหาและตีความหมาย แปลหรือดึงเอาความหมายที่ซุกซ่อนอยู่ในสิ่งที่คนได้สร้างขึ้นนั่นคือ สัญลักษณ์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ สอื่ สาร สร้างความร้คู วามเขา้ ใจ และทศั นคตทิ ่ีมตี อ่ ชีวิต มุง่ สนใจทร่ี ูปแบบของอัตวสิ ยั หรอื ความรู้สึกส่วนตัวท่ี

การสนทนาและการกระทำ ซงึ่ สะทอ้ นและรวบรวมจัดระเบียบข้นึ และสัญลกั ษณ์ หมายรวมไปถึงการกระทำ เหตุการณ์ คุณลักษณะ หรือความสัมพันธ์ ที่ใช้สื่อแทนความคิด (conception) และรูปแบบของความคิดน้ัน ตอ้ งสามารถสมั ผสั ไดจ้ ากประสบการณ์ เป็นความคิดท่ีเปน็ รปู ธรรม นอกจากนั้น ออร์ตเนอร์ ยังได้สรุปความคิดของเกียร์ซ ที่ปรากฏในศาสนาในฐานะที่เป็นระบบ วัฒนธรรมหนึง่ (Religion as a Cultural System) ว่า มนุษยม์ คี วามเปราะบาง ตอ้ งการความหมาย ทมี่ ีความ เปน็ ระเบียบ มีเป้าหมาย อยบู่ นหลักการของเหตุผล เปน็ ไปเพือ่ ความอยู่รอด ใชต้ ่อสู้กับภยั คุกคามอันเกิดจาก ความสับสนวุ่นวาย ความไร้ระเบียบ และความชั่วร้ายท้ังปวง ซึ่งศาสนาเป็นระบบของความหมายท่ีมีอย่แู ล้ว รอคอยให้เกิดการตีความหมายอย่างลึกซงึ้ และกว้างขวางขนึ้ เหล่านค้ี ือ สายใยแหง่ ความหมายทางวัฒนธรรม ทถ่ี กั ทอดว้ ยทรัพยากรทางวฒั นธรรมที่รายรอบอยู่บริบทพนื้ ที่น้นั ๆ (อคนิ รพพี ฒั น์, 2551) มนุษย์ได้เพียรพยายามสร้างความหมายของชีวิต แล้วเกาะเกี่ยวความหมายนั้นไว้อย่างแนบแนบ กระบวนการสร้างความหมายนี้ ก็เพื่อใช้ตอ่ รอง ต่อสู้กับความโหดร้าย ความโกรธแค้น การแบ่งแยก ความไร้ ระเบียบแบบแผนและปา่ เถือ่ น การส่อื ความหมายทางวฒั นธรรมผ่านสญั ลกั ษณ์ในโลงศพอีสาน มกี ารซ่อนความหมายทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวขอ้ งกบั คติความเช่อื เรอ่ื งชีวิตหลงั ความตาย และศาสนา ซง่ึ ไดร้ บั อิทธพิ ลเริ่มต้นมาจากศาสนาผี จนการ เข้ามาของศาสนาพุทธและพราหมณ์ มคี ตคิ วามเชอ่ื ว่าโลงศพคือบ้านหลงั สุดทา้ ย ทีจ่ ะนำพาขวญั ไปสู่เมืองฟ้า หรอื ทร่ี จู้ ักกันดีว่าสมั ปรายภพ การต่อโลงศพของชาวอีสาน มีสัญลกั ษณท์ ส่ี ่ือความหมายทางวฒั นธรรมแทบทกุ ส่วนขององคป์ ระกอบ ตง้ั แตต่ วั ฐาน ขนั เอว และปากพาน หลงั คาเรอื นยอด ซึ่งส่วนใหญจ่ ะเป็นคติธรรมจากพทุ ธศาสนา สว่ นฐาน การต่อฐานโลง ใช้ไม้คีไฟ (ขี้ไฟ) วางสามแผ่น รองเป็นฐาน เพื่อเป็นพื้นสำหรับนอน จำนวน ๓ แผ่น หรือท่อนของไม้คีไฟ มคี ติธรรมทางศาสนา คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนตั ตา เป็นธรรมะท่ีทำให้ถึงพร้อม แกก่ ารเป็นพระอรยิ ะ (อริยกรธรรม) มลี กั ษณะ 3 ประการ สามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ ตลอดไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ ดังนั้น ไตรลักษณ์ คือ การเกิดข้ึน ตั้งอยู่ และ ดบั ไป ทุกสิง่ ในโลกนี้ ลว้ นแล้วอย่ใู น กฎไตรลักษณ์ (สารานุกรมเสร,ี 2564) ส่วนท่ี ๓ ส่วนยอด ตีนโลง หรอื ฝาโลง การต่อโลงศพอีสานของชาวหนองคาย ส่วนฝาโลงหรือยอดบนสุดนั้น เรียกว่า หลังคาเรือนยอด มีลกั ษณะเปน็ หนา้ จ่ัว นยิ มทำหลงั คาเรือนยอดหน้าจั่วเป็นเลขคู่ เชน่ หนา้ จว่ั ๔ หรอื ๘ หลงั คาเรือนยอดหนา้ จวั่ ๔ มีคตธิ รรมทางศาสนาท่ีหมายถงึ พรหมวหิ าร ๔ หลงั คาเรอื นยอดหน้าจัว่ ๘ หมายถงึ อรยิ มรรคมีองค์ ๘ คติธรรมที่ปรากฏในส่วนยอดหรือฝาโลงนั้น เพื่อสื่อให้เห็นถึงการมีธรรมะเป็นสรณะ อยู่ใต้ร่มธรรม เป็นที่พึ่ง บางพื้นที่ในภาคอีสานนิยมใช้ฝาโลงแบบฝามีช้ัน หรือที่เรยี กวา่ ฝาบารมี พบมากในจังหวัดร้อยเอด็ มหาสารคาม ขอนแก่น มีตั้งแต่ ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น เพื่อแสดงถงึ บารมีหรือลำดับความสำคัญของ ผตู้ าย

สว่ นท่ี ๔ ลวดลายประดบั โลงศพ โลงศพอีสาน ในเขตพืน้ ทจี่ ังหวัดหนองคาย มีการใชก้ ระดาษกุดจ่ีสเี งนิ สีทอง สีเขียว สแี ดง สีน้ำเงนิ สี เขียว สีชมพู ฉลุลวดลายต่าง ๆ แล้วทากาวติดประดับทุกส่วนของโลงศพ ซึ่งการตกแต่งลวดลาย ขึ้นอยู่กับ ความตอ้ งการของเจ้าภาพ หรือลวดลายท่ีมคี วามสมั พันธก์ ับผู้ตาย เชน่ ศพของผ้หู ญิง มกี ารประดบั ลายดว้ ยรูป เทวดาผหู้ ญงิ มีลักษณะอ่อนช้อยงดงาม นอกจากนั้นในพน้ื ทีจ่ งั หวัดหนองคายยงั มีการใช้ลายทเ่ี กยี่ วเน่อื งกับคติ ความเชือ่ หรือวฒั นธรรมของสงั คมเชน่ การประดบั ลายพญานาค เพือ่ ส่อื ให้เห็นถงึ ความเชอื่ ของคนหนองคายท่ี มีความศรัทธาต่อพญานาค หรือลวดลายจากความสัมพันธ์ทางเชื้อสายของผู้ตาย ที่สืบเชื้อสายจากต้นตระกู ของเจ้าเมอื งหนองคาย พระปทมุ เทวาภิบาล (บญุ มา ณ หนองคาย) กม็ กี ารฉะลุลวดลาย เป็นเทพพนมประทับ บนดอกบัวบาน เพือ่ แสดงเหน็ เส้นสายความสัมพันธ์และท่ีมาของผู้ตาย ในส่วนของหวั โลง ทอี่ ยทู่ ิศเหนือหัวของศพ เมื่อต้ังโลงจะอยู่ทางทิศตะวนั ตก มักประดับลายเป็นเทพ พนมถือดอกบัว เพื่อนำพาไปสักการะพระเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อให้ขวัญของผู้ตายไปสู่ เมอื งฟ้า ไดพ้ บกับดินแดนแหง่ พระศรีอารยิ เมตไตร เมื่อมาประกอบรวมกัน ตามคติความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ว่าขวัญจะย้ายจากเมืองลุ่มไปยัง เมอื งฟา้ ยา้ ยสถานะจากโลกสามัยไปสู่อกี โลกหนึง่ จงึ เกิดเปน็ ภมู ปิ ญั ญาการตอ่ โลงศพ ที่มคี ติความเชื่อว่าเป็น บ้านหลังสุดท้าย การต่อโลงเพื่อเป็นภาชนะรองรับขวัญและนำพาไปสู่เมืองฟ้า จึงเป็นกระบวนการสร้าง ความหมายทางวัฒนธรรมของสังคมผ่านสัญลกั ษณ์ที่สร้างขน้ึ อย่างเป็นรปู แบบ โดยอาศัยแนวคิดจากคติธรรม ทางศาสนา มิเพียงใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ผู้ตายไปสู่สัมปรายภพเท่านั้น แต่ยังสื่อความหมายทางธรรมเป็น ข้อคดิ เปน็ คตธิ รรมคำสอนให้คนเป็น ได้พงึ ระลกึ ถงึ หลกั ธรรมะ และการมสี ติรตู้ วั การใชช้ ีวิตอย่างไม่ประมาท ระลึกถงึ ธรรมะเป็นที่ต้ัง มนุษย์ได้สร้างเสน้ ใยความหมายเหล่าน้ีไว้ แล้วเกาะเก่ียวใช้ประโยชน์และคุณค่าจาก ความหมายน้ัน โลงศพอีสานกบั คณุ ค่าและสญั ญะ โลงศพอสี าน เป็นหน้าทข่ี องคนเปน็ ในฐานะครอบครวั ลูกหลาน หรือญาติมติ ร ท่จี ะตอ้ งจดั หา เพ่ือใช้ ประกอบพิธกี รรมสำหรับผู้ลว่ งลับ การจดั หาบ้านหลงั สดุ ท้ายให้คนท่ีรัก เคารพเทดิ ทูน จงึ เปน็ ส่ิงที่คนในสังคม ยังคงให้ความสำคัญ เพื่อเลือกสี่งที่ดีและมีคุณค่ามากที่สุด โลงศพจึงมิเพียงวัตถุที่ใช้สอยเชิงอรรถประโยชน์ เพยี งเท่านั้น แตย่ ังเปน้ วัตถุทรี่ องรับระบบคุณค่าของสงั คมทัง้ ทางจิตใจ และฐานะทางสังคมอีกดว้ ย สอดคล้อง กับทฤษฎีการบริโภคเชิงสัญญะ (Consumption of Sign) ของ ฌอง บาวดริลลารด์ (1981) นักทฤษฎี วิพากษ์สังคม ท่ีเชื่อว่าสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการบริโภค (The Social of Consumption) เขาเสนอว่า สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมแห่งการบริโภควัตถุ ซึ่งวัตถุนั้นจะมีคุณค่าตามระบบหรือโครงสร้างในสังคมนั้น ๆ ซึ่งนอกจากอรรถประโยชน์ใช้สอยและราคาแล้ว วัตถุยังถูกกำหนดในฐานะที่เป็นส่วนประกอบในการสร้าง บรรยากาศของระบบคุณคา่ ใดระบบคุณคา่ หน่ึงที่มอี ยมู่ ากมายในสังคมสมัยใหม่ การบริโภคสญั ญะ อดุ มไปด้วย ระบบคุณค่าที่ถูกสร้างขึ้น สัญญะถูกผลิตขึ้นมาอย่างไม่รู้จบสิ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะแตกต่าง (Difference) จากผอู้ ่ืนของมนษุ ย์ ภายใต้ตรรกะทีม่ ่งุ เน้นและแสวงหาความแตกต่าง มนุษย์อยทู่ ่ามกลาง ระบบ คุณค่าที่สร้างค่านิยมมากมายเป็นสัญญะให้มนุษย์ได้บรโิ ภคอย่างไม่มที ี่สิ้นสุด สังคมสมัยใหม่จึงเป็นสังคมท่ี แหล่งอ้างอิง (Reference) สูญหายไปจนหมดสิ้น เพราะเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพยี ความสัมพนั ธเ์ ชิงสัญญะเท่านั้น สญั ญะทงั้ หลายเหล่านก้ี จ็ ะสะท้อนความหมายด้วยกันเอง จนกระท่งั ไม่ สามารถสืบสาวกลบั ไปใหถ้ ึงความหมายที่แท้จริงได้อกี ดังเช่น การเลือกโลงศพของชาวอีสานในพื้นที่จังหวัดหนองคาย รูปแบบ รูปทรง ขนาดและความ ละเอยี ด การประดับตกแต่ง กข็ ้ึนอยกู่ บั ทนุ ทรพั ยข์ องผู้บรโิ ภค ผู้ท่ีมีกำลังทรัพย์มากกจ็ ะสามารถเลือกใชโ้ ลงศพ

ที่มีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรสวยงาม เต็มรูปแบบ มีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น การประดับบมเพียง เพื่อประดับให้เสมือนวิมานบนเมืองฟ้า หรือการประดับลวดลายพิเศษที่เกี่ยวข้องกับผูต้ าย เพื่อยกย่องเชิดชู เกียรติ ระลึกถึงคุณงามความดี เจ้าภาพที่มีทุนทรัพย์น้อยก็จะใช้หีบศพธรรมดาหรือโลงศพที่ไม่ได้ประดับ ตกแต่งเต็มรูปแบบ โลงศพจงมิใช่เพยี งบรรจุภณั ฑ์ทีม่ ีประโยชน์ใช้สอยในการบรรจุศพเท่านั้น หากแต่ยังเป็น วัตถุที่แสดงคุณค่าทางสังคม เพื่อแสดงให้เห็นเกียรติยศศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูล ฐานะทางสังคม ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่เกิดจากโครงสร้างที่ฝังรากลึก เช่น โครงสร้างเรื่องระบบอาวุโส การให้เกียรติและ เคารพนับถือผู้ตายว่าเป็นผู้มีพระคุณ หรือผู้มีคุณูปการต่อสังคม จึงมีการเลือกใช้โลงศพที่ประดับตกแต่ง อลังการ สญั ญะทถี่ ูกสรา้ งขึ้นใหม้ ีความหมายเช่นนี้ จึงแสดงใหเ้ หน็ กระบวนการทางสงั คมท่มี ุ่งเน้นไปถึงคุณค่า ของวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการความแตกต่าง ความโดดเด่น มากกกว่าเชิงอรรถประโยชน์ อันเป็นคุณ ค่าที่แท้จริงว่าโลงศพใช้สำหรับห่อหุ้มร่างกายอันเน่าเหม็นเท่านั้น ยศถาบรรดาศักดิ์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พิธีกรรมศพในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานะทางสังคมมีผลต่อรูปแบบการจัดงานศพ ทำให้พิธีกรรม เก่ยี วกับศพเชอื่ มโยงกับระบบเศรษฐกจิ ปจั จัยทีอ่ าจคกุ คามภูมปิ ญั ญาการตอ่ โลงศพอสี าน กับการปรบั ตัวทางวัฒนธรรมเพื่อความอยู่รอด ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมในการจัดการศพอย่างรวดเร็ว มีการใช้พลังงานสะอาด มาช่วยในการสร้างเครื่องมือเผาศพ จึงมีการสร้างเมรุและเตาเผาศพแบบพลังงาน สะอาด ไร้มลพิษเกิดขึ้น เพื่อกำจัดเขม่าควันและกลิ่นจากการเผาศพมีอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะในเขตชุมชน มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการเผาศพ ได้แก่ กลิ่น ฝุ่นละออง ซึ่งรวมถึงฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และขี้เถ้าจากการเผาไหม้เช้ือเพลิง ซึ่งมักเกิดขึ้น เนื่องจากการเผาไหมท้ ่ไี มส่ มบูรณห์ รืออุณหภูมไิ มส่ งู พอ ซง่ึ กอ่ ให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญและมีผลกระทบต่อ สุขภาพจิตของประชาชนด้วย สำหรับองค์ประกอบของกลิ่นจากการเผาศพนั้นจะประกอบไปด้วยก๊าซหลาย ชนิด เช่น แอมโมเนีย ไฮโดเจนซลั ไฟด์ เมอร์แคปแทน และฟอร์มาลดีไฮด์ (จากนํ้ายารักษาศพ) เป็นต้น และ ก๊าซเหล่านี้จะสามารถถูกกำจดั ได้โดยการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสงู ในห้องเผาไหม้ (ประลอง ดำรงไทย, 2562) จากความกา้ วหนา้ ทางเทคโนโลยีนนั้ สง่ ผลกระทบตอ่ ภูมปิ ัญญาการต่อโลงศพอีสาน ท่มี รี ูปแบบเป็นโลงเอวขัน ปากพาน ที่จะต้องใช้ประกอบพิธีเผาศพบนเชียงตะกอนเท่านั้น จึงจะสามารถตั้งโลงศพได้ ชุมชนที่มีการใช้ เตาเผาพลังงานสะอาด จึงหันมาใช้หีบศพที่แช่ไว้ในโลงเย็น เมื่อถึงวันเผาก็ถอดออกมาประกอบพิธีได้ทันที การใช้โลงเอวขันปากพานจึงมีในชุมชนรอบนอก ที่ยังคงใช้เมรุเผาแบบเชิงตะกอนอยู่ การรักษามรดกภูมิ ปัญญาเชงิ ช่างการตอ่ โลงศพอีสาน ผู้ประกอบการจึงต้องมีการปรับรปู แบบเพ่ือให้ตอบสนองความต้องการของ ผ้บู ริโภค แต่ยงั สามารถรกั ษาความดัง้ เดมิ ไวไ้ ด้ เช่น การใชโ้ ลงศพแบบเอวขนั ปากพานต้งั แต่งเพ่ือประดับขณะ ที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้านหรือที่วัด เมื่อถึงพธิ ีเผาศพจงึ ใช้หีบศพธรรมดา การสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดของ ผคู้ ้าจงึ มสี ่วนสำคัญในการรกั ษาภมู ิปญั ญาไวด้ ว้ ย กระแสโลกาภิวัฒนพ์ ดั พาสังคมสงั คมอีสานให้เกดิ การเปล่ยี นแปลง บางส่งิ สญู หาย บางสิ่งกำลังปะทะ สังสรรค์กับวัฒนธรรมอ่ืน โลงศพอีสาน เป็นภูมิปัญญา ที่ยังคงไดร้ ับการรักษาทั้งในด้านรูปแบบและคติความ เชื่อเน่อื งจากถกู ยึดโยงไวก้ ับพธิ ีกรรมสำคัญของชีวิต นัน่ คอื ความตาย แต่ก็มีไดถ้ ูกรักษาไว้อย่างคงทนถาวรใน ทุกพื้นที่ บางแห่งสามารถคงไว้ซึ่งรูปแบบดั้งเดิมแม้จะถูกปรุงแต่งด้วยลวดลายแบบภาคกลางไปแล้วก็ตาม สำหรับฐานานุศักด์ิอาจแตกต่างในรูปแบบ เชน่ การทำนกหัสดีลิงค์ ซง่ึ ในปจั จบุ ันจะทำเฉพาะพระเถระผู้ใหญ่ ของเมือง แต่โดยรูปแบบของหีบศพนั้นไม่ต่างกันมากนัก (ติ๊ก แสนบุญ, 2549) โลงศพอีสานมิใช่เพียงภูมิ ปัญญาที่ใช้บรรจุศพ เป็นบ้านหลังสุดท้ายของคนตายเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นวัตถุที่สะท้อนสภาพสังคม วิถีชีวิตความเปน็ อยู่ของครอบครัวคนอสี านที่มีความผกู พัน เกื้อกูลกนั อยา่ งแนบแน่น คติความเชื่อของสังคม

อีสานทั้งทางศาสนา และเรื่องชวี ิตหลงั ความตาย ทสี่ ื่อสารผา่ นสญั ลักษณ์ท่ีปรากฏในโลงศพ อันเปน็ คณุ ค่าทาง สงั คมท่ปี ระกอบขน้ึ อย่างมรี ะเบียบแบบแผน ตามโครงสรา้ งของสังคมน้นั ๆ เอกสารอ้างองิ ตกิ๊ แสนบุญ, (2549). “โลงศพ หีบศพอสี าน” อัตลักษณร์ ่วมในเชงิ ชา่ งสกุลไท-ลาว กบั การผลติ ซ้ำทาง วฒั นธรรมในบรบิ ทใหม่. ศลิ ปวัฒนธรรม ฉบบั มิถนุ ายน. กรงุ เทพฯ ณฐั วฒุ ิ พรมเขจร. ผ้ใู ห้สัมภาษณ.์ สมั ภาษณ์เม่ือ 5 กนั ยายน 2564 รัศมี ชูทรงเดช, (2557). “งานชา่ งฝีมือในยคุ เหล็กของวัฒนธรรมโลงไมบ้ นพืน้ ทสี่ งู ใน อ.ปางมะผา้ จ.แมฮ่ ่องสอน. วารสารดำรงวิชาการ. คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศลิ ปากร. กรงุ เทพฯ สุจติ ต์ วงษ์เทศ. (2564). งานศพ New Normal ลดขัน้ ตอนพธิ กี รรมหลังความตาย. กรงุ เทพฯ : มตชิ น ยทุ ธพงศ์ มาตยว์ ิเศษ. (2560). นิตยสารทางอศี าน ฉบบั ที่ ๖๗ ประจำเดือนพฤศจกิ ายน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook