Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สังฮอมศาสตร์ สังฮอมศิลป์ ศิลปินมรดกอีสาน

สังฮอมศาสตร์ สังฮอมศิลป์ ศิลปินมรดกอีสาน

Published by phudindanchanathip, 2022-01-06 08:13:25

Description: สังฮอมศาสตร์ สังฮอมศิลป์ ศิลปินมรดกอีสาน

Keywords: สังฮอมศาสตร์ สังฮอมศิลป์ ศิลปินมรดกอีสาน

Search

Read the Text Version

สงั ฮอมศาสตร์ สังฮอมศลิ ป์ ศิลปินมรดกอีสาน วรินทร ทองด้วง1 ปูมหลัง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ส่วนภูมิภาค ภายใต้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนอื โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพ่ือ ออกไปรับใช้ท้องถิ่นและประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำความรู้มาแก้ไขปัญหาภัยแล้งและผลผลิต ทางการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่นมิได้เพียงมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพยี งเท่านน้ั แตย่ ังผลิตบัณฑติ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนสาขาอ่ืน ๆ ท่มี ีความจำเป็นต่อการ พัฒนาประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับการผลักดันกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ตาม พนั ธกจิ แบบองค์รวม 4 ดา้ น คอื การผลิตนกั ศึกษา การวจิ ยั การบรกิ ารวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ทรงวิทย์ พมิ พะกรรณ,์ และมารศรี สอทิพย.์ (บรรณาธิการ), 2557) ภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในพันธกิจหลักสำคัญที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยเล็งเห็นว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอสี าน เป็นภมู ิภาคหนึง่ ทมี่ ีความรมุ่ รวยทางด้านศิลปวัฒนธรรม อันเกิดจากการสง่ั สมองค์ความรู้ ถ่ายทอด พัฒนา และต่อยอดจากคนรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นมูลมังมรดกอันล้ำค่า ดังที่สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน (2557) ได้ ให้ความหมายของคำว่า “มรดก” ไว้วา่ ส่งิ ทต่ี กทอดมาจากบรรพบรุ ุษหรือทส่ี ืบทอดมาแตบ่ รรพกาล โดยมรดกทาง วัฒนธรรมล้วนมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งยึดโยงกับสภาพทาง ภูมิศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมนั้น ๆ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ความหลากหลายที่กล่าวมานี้ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่สอดประสานกันอย่างกลมกลืน และดำรงอยู่ร่วมกันมาอย่าง เหนียวแน่น 1 นกั ศึกษาปฏบิ ัตสิ หกจิ ศึกษา หลกั สตู รศิลปศาสตรบัณฑติ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติองค์ขัตติยะนารี ผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ งานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ และทรงเปี่ยมพระปรีชาสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรมหลากหลายแขนง มหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะสถาบันอุดมศึกษาสำคัญของภูมิภาค ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ทางวิชาการควบคู่ไปกับ การผลกั ดันงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการอนรุ ักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไดเ้ ล็งเหน็ ถงึ ความสำคัญของมรดกทาง วัฒนธรรม อันเป็นฐานความรู้สำคัญในการทำความเข้าใจความเป็นรากเหง้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความ เข้มแข็งของคนในสังคม ด้วยมูลเหตุข้างต้น มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ สรา้ งสรรค์ และศนู ย์ศิลปวัฒนธรรม จงึ ไดจ้ ดั โครงการยกย่องเชดิ ชูเกยี รติศิลปินมรดกอสี าน และผู้ที่มีผลงานดีเด่น วัฒนธรรมสัมพันธ์ เพื่อคัดเลือกบุคคลผู้เป็นต้นแบบของการรงั สรรค์ผลงานอันทรงคุณคา่ ให้กับแผ่นดินอีสาน และ ถือเอาวันที่ 2 เมษายนของทุกปีเปน็ วันแห่งเกียรติยศในการจัดพิธีมอบโล่รางวัล “ศลิ ปินมรดกอสี าน” เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติศิลปินผู้เป็นแบบอย่างให้กับแผ่นดินอีสานต่อไป (ชาญชัย พานทองวิริยะกุล, 2563; วรศักดิ์ วรยศ, 2563; ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น, ม.ป.ป.) สังฮอมศาสตร์และศิลป์ สู่การยกยอ่ งเชดิ ชูศลิ ปินมรดกอีสาน ปรชี า พณิ ทอง (2532) อธิบายความหมายของ “สงั ฮอม” ไว้ว่า การเกบ็ สิง่ ของรวมกนั ไว้ และความหมาย ทส่ี องหมายถงึ ระวงั , รกั ษา ดงั นน้ั การสงั ฮอมศาสตร์และศิลป์ ในท่นี ี้ จึงหมายถึงการเกบ็ รวบรวมองค์ความรู้ด้าน ศาสตร์และศิลป์ในแขนงต่าง ๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันให้คงอยู่ การประกาศยกย่อง เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานเป็นการยกย่องในคุณงามความดีของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าทาง ความงามเป็นที่ประจักษ์ใน 3 สาขา คือ สาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ และสาขาศิลปะการแสดง การสังฮอม องค์ความรู้ในศาสตร์และศิลป์แห่งความงามเหล่านี้จึงเป็นการรวบรวมความรู้ที่เป็นองค์รวม ซึ่งสัมพันธ์กันใน หลากหลายสาขาจนเกิดเป็นมิติรอบด้าน และยังเป็นสิ่งท่ีสะท้อนความคิด ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม จารีต ประเพณีต่าง ๆ ซึ่งเป็นรากฐานการดำรงชีวติ ของคนในสังคมอีสาน ตลอดจนเป็นสรรพวิชาความรู้ที่คนในสังคมใช้ จรรโลงชีวิต ขัดเกลาจิตใจ เพื่อให้สังคมของตนผ่านพ้นวิกฤตและดำรงความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันไว้ได้ (นันธวัช นุนารถ, 2560) ภูมิปัญญาของชาวอสี านไดห้ ล่อหลอมให้เกิดการรังสรรคผ์ ลงานท่ีมีคุณค่าทางความงามในด้านต่าง ๆ ดังที่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กำหนดสาขาของผู้สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน

มรดกอีสาน ทั้งในด้านทัศนศิลป์ อาทิ จิตรกรรม ประติมากรรม หัตถกรรม วรรณศิลป์ อาทิ ประพันธ์กลอนลำ ประพันธ์เพลงลูกทุ่งอีสาน วรรณกรรมร่วมสมัย และศิลปะการแสดง อาทิ ลำเรื่อง ลำกลอน ขับร้องเพลงลูกทุ่ง ดนตรีพื้นบ้าน นักแสดงภาพยนตร์ ตัวอย่างเหล่าน้ีจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ความเป็น คนอีสานได้อย่างเด่นชัด ตลอดจนเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงรากเหง้าและความเป็นมาของท้องถิ่นหรือสังคม ภูมิปัญญาอีสานจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท่ีมีคณุ ค่าและความงาม ควรค่าที่จะอนุรักษ์ บูรณาการ พัฒนาต่อยอด ให้เหมาะสมกับองค์ความรู้ด้านอื่น ๆ ด้วยรากฐานทางวัฒนธรรม กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร (ม.ป.ป.) กล่าวว่า วัฒนธรรม หมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญในชีวิตมนุษย์ ซึ่งปรากฏเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศลิ ปวทิ ยาการ ความเชอื่ การศาสนา เปน็ ต้น และไดถ้ า่ ยทอดจากคนรุ่นหน่ึงไปยัง รุ่นหลัง ๆ ต่อไปจนถึงปัจจุบัน จากข้อความข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมคือวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมที่ได้ เลือกสรร สั่งสม ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพสังคม สภาพแวดล้อม และอนุรักษ์รักษาไว้มาแต่บรรพบุรุษ วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมล้วนมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนา และสร้างสรรค์ให้เจริญงอกงามโดยการสืบทอดจาก ภูมิปัญญาที่มีมาในอดีต นอกจากน้ี วัฒนธรรมยังใช้เป็นเครื่องมือในการยึดโยงให้คนในสังคมเกิดความรัก ความ สามัคคี ความหวงแหนและความภาคภูมใิ จในมรดกภมู ิปัญญาอันงดงามท่ีบรรพชนได้คิดค้นไว้ ซึ่งถือเป็นการสร้าง ความมั่นคงให้กับสังคมนั้น ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 16 ปีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มุ่งมั่นส่งเสริม ดูแล สืบสานศิลปวัฒนธรรมอีสานให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และทำหน้าที่เป็นผู้สังฮอมบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในศาสตร์และศิลป์แขนงต่าง ๆ โดยการเลือกเฟ้นศิลปินต้นแบบผู้สรา้ งสรรค์ผลงานอันเปรียบเสมือนเพชรเม็ดเอก ในด้านศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งล้วนแต่เป็นบุคคลที่สร้าง คุณูปการให้กับสังคมและประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ด้านศาสตร์และศิลป์จาก บรรพบุรุษแก่คนรุ่นหลัง ดังที่เขม เคนโคก และมารศรี สอทิพย์ (บรรณาธิการ, 2563) ได้นิยามศิลปินมรดกอีสาน ว่าเป็น “ผู้สืบทอดภูมิปัญญาความดีงามดั้งเดิม” การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีบทบาทในด้านการ สืบทอด สร้างสรรค์ และส่งเสริมภูมิปัญญาอันเป็นศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาค จึงมิใช่เพียงการสร้างขวัญกำลังใจ ให้กับผู้ที่ได้อุทิศชีวิตและจิตใจในการรังสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าและเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็น การสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อให้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์แก่แวดวง ศิลปวัฒนธรรม และพรอ้ มท่ีจะเป็นกำลังสำคัญในอนาคตที่จะสืบสานและอนรุ ักษ์มรดกอีสานใหค้ งอยู่ต่อไป นอกจากนี้ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้จัดทำฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน โดย รวบรวมประวัติ ผลงาน ของศิลปินมรดกอีสานตั้งแต่อดีต เพื่อเก็บรักษาองค์ความรู้สำคัญและเผยแพร่ให้นักวิจัย

นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้า ตลอดจนศิลปนิ รุ่นหลงั ท่ีใช้องคค์ วามรู้เหล่านั้นเปน็ แนวทางในการสบื สาน งานด้านศิลปวัฒนธรรมตามอย่างศิลปินรุ่นก่อน ที่ได้ก่อร่างสร้างแนวทางไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด ทั้งนี้ ภูมิปัญญา ต่าง ๆ อันเป็นองค์ความรู้ที่ศิลปินมรดกอีสานแต่ละท่านได้สั่งสมและถ่ายทอดต่อจากบรรพชน ยังสามารถนำมา ประยุกต์ใช้กับองค์ความรู้ด้านอื่น ๆ ในลักษณะของการพัฒนาและบูรณการณ์ศาสตร์และศิลป์ด้วยรากฐานด้าน วัฒนธรรมอีสาน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ร่วมกับการพัฒนาและยกระดับจิตใจผู้คนในสังคม เพื่อให้เกิดความรัก ความหวงแหน ความภาคภูมิใจในรากเหง้าและวัฒนธรรมของตน นำไปสู่การทำนุบำรุง อนุรักษ์ พัฒนา ต่อยอด และสืบสานงานด้านศลิ ปวฒั นธรรมอันเป็นมูลมังมรดกอันล้ำค่า ให้คงอยู่ในแผ่นดินอีสาน สืบไป เอกสารอ้างอิง กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร. (ม.ป.ป.). ทำไมต้องรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม?. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565, จาก https://www.finearts.go.th/promotion/view/7333-ทำไมต้องรกั ษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม- เขม เคนโคก, และมารศรี สอทิพย์. (บรรณาธิการ). (2563). ศิลปินมรดกอีสาน สืบสาน วัฒนธรรมสัมพันธ์ 2563. ขอนแก่น: โรงพิมพม์ หาวิทยาลยั ขอนแกน่ . ชาญชัย พานทองวิริยะกุล. (2563). สาร รักษาการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ใน เขม เคนโคก, และมารศรี สอทิพย์ (บรรณาธิการ), ศลิ ปนิ มรดกอสี าน สบื สาน วฒั นธรรมสัมพันธ์ 2563 (หน้า 4). ขอนแกน่ : โรงพมิ พ์มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ . ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, และมารศรี สอทิพย์. (บรรณาธิการ). (2557). ศิลปินมรดกอีสาน สืบสาน วัฒนธรรมสัมพันธ์ 2557. ขอนแก่น: โรงพมิ พแ์ อนนาออฟเชต. นันธวัช นุนารถ. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการและวิจัย สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภฏั นครสวรรค์, 12(34), 17-26. ปรีชา พิณทอง. (2532). สารานุกรม ภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ. อุบลราชธาน:ี โรงพมิ พศ์ ริ ิธรรม. วรศักดิ์ วรยศ. (2563). วิเคราะห์การสรรหาและคัดเลือกศิลปินมรดกอีสาน . ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565, จาก https://cac.kku.ac.th/cac2021/บทความ-amazing-sukhothai-light-up-night-2021-กบั การท่องเ-2/ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564, จาก https://sites.google.com/view/morradokisan-db/ความเปนมา สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานกุ รม ฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554 (พมิ พค์ ร้งั ที่ 2). กรงุ เทพฯ: นานมีบุ๊คส.์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook