Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความ-อมรศิลปินมรดกอีสาน-ธนาภรณ์

บทความ-อมรศิลปินมรดกอีสาน-ธนาภรณ์

Published by phudindanchanathip, 2022-01-06 06:46:54

Description: บทความ-อมรศิลปินมรดกอีสาน-ธนาภรณ์

Keywords: อมรศิลปินมรดกอีสาน

Search

Read the Text Version

อมรศลิ ปนิ มรดกอสี าน : “อมรศาสตร์” และ “อมรศลิ ป์” บนผืนแผน่ ดินอสี าน1 ธนาภรณ์ อทุ ธารนิช2 คำว่า \"อีสาน\" เป็นชื่อเรียกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งคนที่อาศัยอยู่ในภาคนี้มักเรียก ขานตนเองวา่ เปน็ คนอีสาน และใชภ้ าษาถิน่ อสี านในการส่ือสารแสดงอัตลักษณ์ของแต่ละพ้นื ท่ี ภูมิปัญญาอีสานน้ัน มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกันอย่างกลมกลืนระหว่างศาสนาชาวบ้าน ส ภาพภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม และกระบวนการทางสังคม ส่งผลให้ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม นำไปสู่การ สบื สาน และถา่ ยทอดภมู ปิ ัญญาในแต่ละท้องถน่ิ จนกลายเปน็ มรดกทางวฒั นธรรม (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2561) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่มีภารกิจหลักสำคัญประการหน่ึง คือ การทำนุบำรุง ศิลปวฒั นธรรม ตามแผนยทุ ธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2563-2566 เพือ่ ขับเคล่ือนภารกิจด้านศิลปวัฒนธรรมให้สอดคล้อง กบั ประเดน็ ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 11 เสริมสร้างความร่วมมอื เพอื่ การพฒั นา(Collaboration/Coordination Projects) จึง ได้ร่วมกับศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดโครงการยกย่องศิลปินมรดกอีสาน และผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวนั อนุรกั ษ์มรดกไทย โดยเร่ิมต้ังแตป่ ี พ.ศ. 2548 (วรศักดิ์ วรยศ, 2563) ปัจจุบันการมอบรางวลั เชิดชูเกยี รติศลิ ปนิ มรดกอสี าน และผู้มผี ลงานดีเด่นวฒั นธรรมสมั พันธ์ประกอบด้วย รางวัลอมรศิลปินมรดกอีสาน รางวัลศิลปินมรดกอีสาน และผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ ซึ่งรางวัล เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน และสร้างกำลังใจให้ศิลปินผู้เป็นตำนานของชาวอีสานท่ีอุทิศตนเพื่องาน ด้านศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ศิลปินรุ่นหลังผู้จะสืบสานศิลปวัฒนธรรมต่อไป โดย รางวัล “อมรศิลปินมรดกอีสาน” เป็นอีกหนึ่งรางวัลเชิญชูเกียรติที่มีขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2556 สืบเนื่องมาจนถึง ปจั จุบนั (พ.ศ. 2563) แบง่ เป็น 3 สาขา คอื 1. สาขาวรรณศิลป์ 2. สาขาศิลปะการแสดง และ 3. สาขาทัศนศลิ ป์ 1บทความนี้เป็นสว่ นหนง่ึ ของการปฏบิ ัติสหกิจศกึ ษา ณ ศนู ยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแก่น ปีการศึกษา 2564 2 นักศกึ ษาปฏบิ ัติสหกจิ ศึกษา สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

สำนกั งานราชบัณฑติ ยสถาน (2557) ไดใ้ หค้ วามหมาย คำวา่ อมร หรอื อมร- (อ่านวา่ อะมอน, อะมอนระ , อะมะระ) ไว้ทั้งสิ้น 2 ความหมาย ความหมายแรกใช้ในบริบทของคำนาม หมายถึง ผู้ไม่ตาย หรือ เทวดา และ ความหมายที่สองใช้ในบริบทของคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่ตาย ไม่เสื่อมสูญ หรือ ยั่งยืน ดังนั้น “อมรศิลปินมรดก อีสาน” จึงหมายถึง ศิลปินผู้เป็นอมตะ หรือ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นอมตะ และอยู่ในความทรงจำของคน รุ่นหลังตลอดมา สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรางวัลอมรศิลปินมรดกอีสานซึ่งมอบแด่ “ศิลปินต้นแบบ รากฐาน แห่งแรงบันดาลใจ ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และอยู่ในใจของคนรุ่นหลังไม่เสื่อมคลาย” (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ , 2561) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2563 มีศิลปินผู้ได้รับรางวัลอมรศิลปินมรดกอีสานมาแล้วจำนวน 13 ท่าน แบง่ เป็นสาขาวรรณศิลป์ 4 ท่าน สาขาศลิ ปะการแสดง 8 ท่าน และสาขาทัศนศลิ ป์ 1 ท่าน ซ่งึ ทกุ ทา่ นล้วนแลว้ แต่มี บทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ของภูมิปัญญาอันเป็นอมตะให้แก่ลูกหลานชาวอีสานมา อย่างยาวนาน ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมรายนาม และคุณูปการโดยสังเขปของอมรศิลปินมรดกอีสาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2563 ไวด้ งั ตารางตอ่ ไปนี้ ทำเนยี บอมรศลิ ปนิ มรดกอสี าน ปี รายนาม สาขา คณุ ูปการ 2556 นายตมุ้ ทอง โชคชนะ ศิลปะการแสดง นกั ร้อง นกั แต่งเพลง เจา้ ของฉายา “ราชา 2557 (เบญจมินทร์) (ประพนั ธ์เพลง) เพลงรำวง” ผู้เป็นท่ีรู้จกั จากเพลงรำวง และโด่งดังจากเพลงแนวเกาหลี 2558 นายสนุ ทร ไชยรัตนโชติ ศิลปะการแสดง กวหี มอลำชน้ั ครู ผูเ้ ปน็ ตน้ แบบของการ (กลอนลำ) แสดงกลอนลำเพื่อสงั คม นายพนู สามสี ศลิ ปะการแสดง ครดู นตรผี เู้ ป็นตน้ แบบของการอนรุ ักษ์ (ดนตรพี ื้นบ้านอสี าน และฟน้ื ฟูการแสดงพ้นื บ้านอีสานใต้ นายคำพนู บุญทวี ใต้) วรรณศลิ ป์ นักเขียนผู้ถา่ ยทอดประวัตศิ าสตร์ ศ.พเิ ศษ เฉลิม (นวนยิ าย-สารคดี) และรากเหง้าของสงั คมอีสาน นาครี กั ษ์ ทศั นศลิ ป์ ศิลปินผบู้ กุ เบิกศลิ ปะไทยร่วมสมัย และ (จติ รกรรมไทย สร้างสรรค์ศลิ ปะแบบประเพณีประยุกต์ มหาสิลา วีระวงศ์ ประยุกต์) ถ่ายทอดวถิ ชี ีวิตชนบทอสี าน วรรณศิลป์ นกั ปราชญ์ผวู้ างรากฐาน และสืบสานภูมิ ปญั ญาแหง่ “ลมุ่ น้ำโขง”

2559 นายสงเคราะห์ วรรณศิลป์ นักประพันธต์ ้นแบบบทเพลงพูด ผู้ สมัตถภาพงศ์ (ประพนั ธเ์ พลงลกู ทงุ่ ) สะทอ้ นภาพสังคม และวัฒนธรรมไทย ผ่านบทเพลงลูกทงุ่ 2560 - 2561 นายป่นิ ดีสม ศิลปะการแสดง ยอดนกั แสดงผู้วางรากฐานการสร้างสรรค์ ดนตรี และศลิ ปะการแสดงพ้ืนบา้ นอีสาน ใต้ ดร. พมิ พ์ วรรณศลิ ป์ กวีกลอนลำชน้ั ครู เจา้ ของสมญานาม รตั นคณุ ศาสน์ “พิมพก์ วศี รีอสี าน” 2562 นายสมชาย คงสุขดี ศลิ ปะการแสดง ตน้ แบบของศลิ ปนิ กนั ตรึมประยุกต์ (ดาร์ก้กี ันตรมึ ร็อค) (กนั ตรึม) ผู้นำพาเพลงกนั ตรมึ พ้นื บา้ นสู่สากล นายสุรยิ พงศ์ กาลวิบูลย์ ศิลปะการแสดง นกั ร้อง นกั แต่งเพลง ผู้ถ่ายทอดภาพ (หยาด นภาลัย) (นกั ร้องเพลงลูกกรุง) สังคม และวฒั นธรรมไทยผา่ นบทเพลงลูก กรงุ นายอนิ ตา บตุ รทา ศลิ ปะการแสดง บรมครูหมอลำผใู้ ห้กำเนดิ ทำนองลำพ้ืน (หมอลำเร่ืองต่อ สงั วาสอินตา และหมอลำคณะรัตนศิลป์ กลอน) อนิ ตาไทยราษฎร์ 2563 นางบญุ ถม นามวันทา ศิลปะการแสดง แมค่ รูผู้ก่อตง้ั หมอลำคณะประถมบนั เทงิ (หมอลำเร่ืองต่อ ศิลป์ กลอน) จากตารางดังกลา่ ว แสดงให้เหน็ ชดั เจนวา่ อมรศลิ ปนิ มรดกอสี านทุกทา่ นล้วนมบี ทบาทในการวางรากฐาน ของ “อมรศาสตร์” หรือศาสตร์แห่งความรู้ที่ยั่งยืน อันเป็นต้นแบบให้ศิลปินรุ่นหลังได้ใช้ต่อยอดสร้างสรรค์ ศลิ ปวัฒนธรรมอสี านในแขนงตา่ ง ๆ เรื่อยมาจนถึงปจั จุบนั ขณะเดยี วกนั ศาสตรท์ ่ีท่านสร้างไว้นัน้ กไ็ ดส้ ะท้อน “อมร ศิลป์” หรือความประณีตงดงามของศิลปวัฒนธรรมอีสานให้ประจักษ์แก่สายตา และประทับในหัวใจของคนอีสาน มาทกุ ยคุ ทุกสมยั และจะยงั คงอย่เู ปน็ “อมร” คู่ผืนแผ่นดนิ อีสานสืบไป...

บรรณานุกรม กรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม. (2561). มรดกภูมิปญั ญาอสี าน. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย. วรศักดิ์ วรยศ. (2563). วเิ คราะหก์ ารสรรหาและคัดเลอื กศลิ ปนิ มรดกอสี าน. ศูนย์วัฒนธรรม สำนักงานอธิการบดี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ . คน้ เมื่อ 25 ธนั วาคม 2564, จาก https://cac.kku.ac.th/cac2021/%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8 ศนู ย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแกน่ . (ม.ป.ป.). ฐานขอ้ มลู ศิลปินมรดกอสี าน. คน้ เม่ือ 2 ธันวาคม 2564, จาก https://cac.kku.ac.th/cac2021/%e0%b8%a8%e0%b8%b4%e0%b8 . (2561, เมษายน 5 ). พิธมี อบโล่เชิดชเู กียรติศลิ ปนิ มรดกอสี าน และผู้มีผลงานดีเด่น วัฒนธรรมสัมพันธ์ [Video file]. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564, จาก https://youtu.be/6eo8H82iZDE สำนกั งานราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรม ฉบับราชบณั ฑิตยสภา พ.ศ. 2554. พิมพค์ รง้ั ที่ 2. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส.์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook